• 20 ธันวาคม 2567-รายงานข่าวNBT Connext ระบุว่าศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา คดีค้างค่าปรับใบสั่งจราจร สั่งกรมการขนส่งทางบกให้ต่อภาษีประจำปีได้ และต้องได้ป้ายหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ชี้ข้อตกลงที่ทำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ชี้ หลักการชำระภาษีรถเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวรถ แต่การทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องของบุคคล การนำสองเรื่องมาเชื่อมโยงกันจึงไม่ถูกต้อง เป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของรถต้องยินยอมชำระค่าปรับ

    20 ธันวาคม 2567-รายงานข่าวNBT Connext ระบุว่าศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา คดีค้างค่าปรับใบสั่งจราจร สั่งกรมการขนส่งทางบกให้ต่อภาษีประจำปีได้ และต้องได้ป้ายหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ชี้ข้อตกลงที่ทำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ชี้ หลักการชำระภาษีรถเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวรถ แต่การทำผิดกฎจราจรเป็นเรื่องของบุคคล การนำสองเรื่องมาเชื่อมโยงกันจึงไม่ถูกต้อง เป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของรถต้องยินยอมชำระค่าปรับ
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 135 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม

    วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร

    ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง"

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270

    #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม • วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร • ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง" • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270 • #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 205 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    Love
    Sad
    23
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1202 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    19
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1187 มุมมอง 1 รีวิว
  • ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดถกเครียด ปมคดี ‘บิ๊กโจ๊ก’ ขอคืนตำแหน่งหลังกระแสข่าวองค์คณะฯ ชุดเล็กมีมติเห็นว่าคำสั่งให้ออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

    วันนี้( 13 พ.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ ตั้งแต่เวลา 09.30น. นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยมีรายงานว่าจะมีการนำประเด็นข้อกฎหมายในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.117/2567 ที่ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. ยื่นฟ้อง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.), นายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมาเข้สพิจารณา

    ซึ่งปรากฏว่าตั้งแต่เช้ามีผู้สื่อข่าวมาติดตามผลการประชุมจำนวนมาก

    โดยเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุดและเป็นการประชุมภายใน มีตุลาการศาลปกครองสูงสุดเข้าร่วม 40-50 คน โดยวาระที่จะพิจารณาในวันนี้มี 4-5 วาระ เป็นความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000109260

    #MGROnline #ศาลปกครอง #บิ๊กโจ๊ก #ขอคืนตำแหน่ง
    ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดถกเครียด ปมคดี ‘บิ๊กโจ๊ก’ ขอคืนตำแหน่งหลังกระแสข่าวองค์คณะฯ ชุดเล็กมีมติเห็นว่าคำสั่งให้ออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย • วันนี้( 13 พ.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ ตั้งแต่เวลา 09.30น. นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยมีรายงานว่าจะมีการนำประเด็นข้อกฎหมายในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.117/2567 ที่ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. ยื่นฟ้อง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.), นายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมาเข้สพิจารณา • ซึ่งปรากฏว่าตั้งแต่เช้ามีผู้สื่อข่าวมาติดตามผลการประชุมจำนวนมาก • โดยเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุดและเป็นการประชุมภายใน มีตุลาการศาลปกครองสูงสุดเข้าร่วม 40-50 คน โดยวาระที่จะพิจารณาในวันนี้มี 4-5 วาระ เป็นความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000109260 • #MGROnline #ศาลปกครอง #บิ๊กโจ๊ก #ขอคืนตำแหน่ง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 471 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลปกครองกลาง ตอกตะปูปิดฝาโจ๊ก สะเทือนถึงไอ้ตั้ม นั่งน้ำตารินในซังเต เพราะไร้ที่พึ่งสุดท้ายจะมาช่วยให้พ้นผิด
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    ศาลปกครองกลาง ตอกตะปูปิดฝาโจ๊ก สะเทือนถึงไอ้ตั้ม นั่งน้ำตารินในซังเต เพราะไร้ที่พึ่งสุดท้ายจะมาช่วยให้พ้นผิด #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • จากหมาตื่นเป็นหมาหงอย หลังศาลปกครองกลางลงติชี้ขาดยกคำร้องบิ๊กโจ๊ก อดกลับสตช.
    #7คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    จากหมาตื่นเป็นหมาหงอย หลังศาลปกครองกลางลงติชี้ขาดยกคำร้องบิ๊กโจ๊ก อดกลับสตช. #7คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Haha
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 486 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ

    ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร

    เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป

    เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน

    เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว

    ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน

    ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้

    เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ

    ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว

    ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป

    เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้

    "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว.

    ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/

    #Thaitimes
    เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้ เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้ "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว. ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    มท.ปัดเอื้อที่ดินเขากระโดง ‘สุริยะ’ลั่นรฟท.ไม่ยอมแน่!
    "อนุทิน" ยัน “คดีเขากระโดง” ไม่มีแทรกแซง ไม่มีช่วยเพื่อน ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 743 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำนานยุคทักษิณ ใบสั่งปปง.สอบสื่อฯ

    การเสียชีวิตของสื่อมวลชนอาวุโส โสภณ องค์การณ์ มีเรื่องเล่าขานบนเส้นทางน้ำหมึก ในยุคที่ยังไม่มีสื่อโซเชียลฯ มีเพียงหนังสือพิมพ์ทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน สะท้อนความเป็นไปของบ้านเมือง ย้อนกลับไปในยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ปี 2544-2549 เสรีภาพสื่อมวลชนถูกกดดันจากโฆษณา สื่อไหนเชียร์รัฐบาลก็จะมีงบโฆษณาให้อย่างน้อย 20 ล้านบาท แต่ถ้าสื่อไหนวิจารณ์รัฐบาลก็จะถูกแทรกแซงต่างๆ นานา ตามไปกดดันนายทุนหนังสือพิมพ์ให้ปลดคอลัมนิสต์ หากไม่ทำตามก็จะสั่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจถอนโฆษณาให้หมด

    ปี 2545 มีการตีแผ่เอกสารที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ขณะเป็นผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ออกคำสั่งลงวันที่ 25 ก.พ. 2545 ให้ธนาคารแจ้งข้อมูลรายการฝาก-ถอนเงินและยอดคงเหลือในบัญชีของบุคคลและนิติบุคคล 35 ราย และครอบครัว หนึ่งในนั้นคือสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาลทักษิณ ได้แก่ เครือเนชั่น นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น นายเทพชัย หย่อง นายโสภณ องค์การณ์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ นายโรจน์ งามแม้น (เปลว สีเงิน) นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ผู้บริหารหนังสือพิมพ์แนวหน้า

    คำสั่งดังกล่าวเป็นที่วิจารณ์ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ผอ.ศูนย์สารสนเทศฯ ไม่มีอำนาจออกคำสั่ง และถ้าตรวจสอบต้องปรากฏว่ามีการทำความผิดอาญาใน 7 ความผิดมูลฐาน แม้นายทักษิณปฎิเสธว่าไม่มีการตรวจสอบทรัพย์สินสื่อมวลชนและครอบครัว แต่ก็มีรายงานว่า คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการ

    ต่อมานายสุทธิชัย นายเทพชัย และนายโสภณ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2545 ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตรวจสอบข้อมูลธุรกรรม พร้อมขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว กระทั่งวันที่ 14 มี.ค. 2545 ศาลปกครองกลางออกคำสั่งทุเลาให้ยุติการตรวจสอบธุรกรรมการเงิน จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่น โดยสำนวนคดีพบว่าในการไต่สวน พ.ต.อ.สีหนาท อ้างว่าได้รับการร้องเรียนจากบุคคลภายนอกเพราะสงสัยว่าจะฟอกเงิน แต่ศาลเห็นว่าเป็นบัตรสนเท่ห์ เชื่อถือไม่ได้ ซ้ำร้ายผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายอาจทำขึ้นมาเองเพื่อคุกคามสิทธิเสรีภาพ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2545 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้จำหน่ายคดี เนื่องจาก ป.ป.ง.มีหนังสือแจ้งต่อศาลว่าสั่งยุติการตรวจสอบกับธนาคารพาณิชย์แล้ว ขณะที่ พ.ต.อ.สีหนาท แก้เกมให้ พ.ต.อ.ยุทธบูล ดิสสะมาน แจ้งความดำเนินคดีบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เดอะเนชั่น และคมชัดลึก ข้อหาเผยความลับของทางราชการ แต่อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษสั่งไม่ฟ้อง

    #Newskit #ทักษิณชินวัตร #สื่อมวลชน
    ตำนานยุคทักษิณ ใบสั่งปปง.สอบสื่อฯ การเสียชีวิตของสื่อมวลชนอาวุโส โสภณ องค์การณ์ มีเรื่องเล่าขานบนเส้นทางน้ำหมึก ในยุคที่ยังไม่มีสื่อโซเชียลฯ มีเพียงหนังสือพิมพ์ทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน สะท้อนความเป็นไปของบ้านเมือง ย้อนกลับไปในยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ปี 2544-2549 เสรีภาพสื่อมวลชนถูกกดดันจากโฆษณา สื่อไหนเชียร์รัฐบาลก็จะมีงบโฆษณาให้อย่างน้อย 20 ล้านบาท แต่ถ้าสื่อไหนวิจารณ์รัฐบาลก็จะถูกแทรกแซงต่างๆ นานา ตามไปกดดันนายทุนหนังสือพิมพ์ให้ปลดคอลัมนิสต์ หากไม่ทำตามก็จะสั่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจถอนโฆษณาให้หมด ปี 2545 มีการตีแผ่เอกสารที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ขณะเป็นผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ออกคำสั่งลงวันที่ 25 ก.พ. 2545 ให้ธนาคารแจ้งข้อมูลรายการฝาก-ถอนเงินและยอดคงเหลือในบัญชีของบุคคลและนิติบุคคล 35 ราย และครอบครัว หนึ่งในนั้นคือสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาลทักษิณ ได้แก่ เครือเนชั่น นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น นายเทพชัย หย่อง นายโสภณ องค์การณ์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ นายโรจน์ งามแม้น (เปลว สีเงิน) นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ผู้บริหารหนังสือพิมพ์แนวหน้า คำสั่งดังกล่าวเป็นที่วิจารณ์ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ผอ.ศูนย์สารสนเทศฯ ไม่มีอำนาจออกคำสั่ง และถ้าตรวจสอบต้องปรากฏว่ามีการทำความผิดอาญาใน 7 ความผิดมูลฐาน แม้นายทักษิณปฎิเสธว่าไม่มีการตรวจสอบทรัพย์สินสื่อมวลชนและครอบครัว แต่ก็มีรายงานว่า คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการ ต่อมานายสุทธิชัย นายเทพชัย และนายโสภณ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2545 ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตรวจสอบข้อมูลธุรกรรม พร้อมขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว กระทั่งวันที่ 14 มี.ค. 2545 ศาลปกครองกลางออกคำสั่งทุเลาให้ยุติการตรวจสอบธุรกรรมการเงิน จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่น โดยสำนวนคดีพบว่าในการไต่สวน พ.ต.อ.สีหนาท อ้างว่าได้รับการร้องเรียนจากบุคคลภายนอกเพราะสงสัยว่าจะฟอกเงิน แต่ศาลเห็นว่าเป็นบัตรสนเท่ห์ เชื่อถือไม่ได้ ซ้ำร้ายผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายอาจทำขึ้นมาเองเพื่อคุกคามสิทธิเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2545 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้จำหน่ายคดี เนื่องจาก ป.ป.ง.มีหนังสือแจ้งต่อศาลว่าสั่งยุติการตรวจสอบกับธนาคารพาณิชย์แล้ว ขณะที่ พ.ต.อ.สีหนาท แก้เกมให้ พ.ต.อ.ยุทธบูล ดิสสะมาน แจ้งความดำเนินคดีบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เดอะเนชั่น และคมชัดลึก ข้อหาเผยความลับของทางราชการ แต่อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษสั่งไม่ฟ้อง #Newskit #ทักษิณชินวัตร #สื่อมวลชน
    Like
    Angry
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 691 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลปกครองพิพากษายกฟ้องคดีที่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีที่มอบพื้นที่ล่าช้า เพราะ ผู้ถูกฟ้องได้ให้สิทธิแก่ซิโน-ไทยขยายเวลาก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน

    17 กันยายน 2567-รายงานข่าวระบุว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 961/2563 หมายเลขแดงที่ 2042/2567ระหว่างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกฟ้องคดี

    โดยศาลพิเคราะห์ข้อกำหนดในเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างและข้อตกลงในสัญญาพิพาทแล้ว เห็นว่า ทั้งผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีต่างรับรู้และตระหนักถึงปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่อาจไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ในเบื้องต้น โดยเห็นได้จากในข้อ 1 วรรคสอง ของสัญญาพิพาท ตกลงกันว่า ในการดำเนินการตามสัญญานี้ ผู้ว่าจ้างจะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหรือตามความพร้อมของผู้ว่าจ้าง

    และในกรณีที่มีการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้ หรือหากผู้ว่าจ้างไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้เช่นกัน

    อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ฟ้องคดีได้ตามที่กำหนดไว้ หรือในกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่หรือผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปอันมีผลกระทบมาจากกรณีดังกล่าวเหล่านั้นให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามความเหมาะสม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีหน้าที่ชดเชยค่าใช้จ่ายใดๆ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิ้น

    เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้แก่ผู้ฟ้องคดี ไม่เป็นไปตามแผนการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างกำหนดไว้เบื้องต้น และผู้ฟ้องคดีประสบปัญหาอุปสรรคความล่าช้าในการขนดินออกจากพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถจัดหาที่พักดินให้ได้ตามสัญญาทำให้มีผลกระทบต่องานก่อสร้างฐานและอาคารชั้นใต้ดิน อันเป็นเหตุให้การดำเนินงานก่อสร้างของผู้ฟ้องคดีมีความล่าช้า ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้รับจ้างตามกำหนดไว้

    และปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการหาสถานที่ทิ้งดิน รวมถึงการที่ผู้รับซื้อดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีจัดหามา ไม่สามารถขนย้ายดินออกจากโครงการได้ทัน เป็นกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ตามนัยข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท ที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับการพิจารณาขยายเวลาก่อสร้างออกไป และผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปตามความเหมาะสม

    เมื่อผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปหลายครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีก็ได้ประชุมพิจารณาร่วมกับที่ปรึกษาบริหารโครงการ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน ผู้ฟ้องคดี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วได้ขยายเวลาทำการก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน

    กรณีจึงเห็นว่า ฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี ได้ทำหน้าที่พิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตามข้อ 1 วรรคสอง และข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท พิพากษายกฟ้อง

    #Thaitimes
    ศาลปกครองพิพากษายกฟ้องคดีที่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีที่มอบพื้นที่ล่าช้า เพราะ ผู้ถูกฟ้องได้ให้สิทธิแก่ซิโน-ไทยขยายเวลาก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน 17 กันยายน 2567-รายงานข่าวระบุว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 961/2563 หมายเลขแดงที่ 2042/2567ระหว่างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกฟ้องคดี โดยศาลพิเคราะห์ข้อกำหนดในเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างและข้อตกลงในสัญญาพิพาทแล้ว เห็นว่า ทั้งผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีต่างรับรู้และตระหนักถึงปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่อาจไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ในเบื้องต้น โดยเห็นได้จากในข้อ 1 วรรคสอง ของสัญญาพิพาท ตกลงกันว่า ในการดำเนินการตามสัญญานี้ ผู้ว่าจ้างจะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหรือตามความพร้อมของผู้ว่าจ้าง และในกรณีที่มีการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้ หรือหากผู้ว่าจ้างไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผู้รับจ้างไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากผู้ว่าจ้างได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ฟ้องคดีได้ตามที่กำหนดไว้ หรือในกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่หรือผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปอันมีผลกระทบมาจากกรณีดังกล่าวเหล่านั้นให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามความเหมาะสม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีหน้าที่ชดเชยค่าใช้จ่ายใดๆ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้แก่ผู้ฟ้องคดี ไม่เป็นไปตามแผนการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างกำหนดไว้เบื้องต้น และผู้ฟ้องคดีประสบปัญหาอุปสรรคความล่าช้าในการขนดินออกจากพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถจัดหาที่พักดินให้ได้ตามสัญญาทำให้มีผลกระทบต่องานก่อสร้างฐานและอาคารชั้นใต้ดิน อันเป็นเหตุให้การดำเนินงานก่อสร้างของผู้ฟ้องคดีมีความล่าช้า ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่ผู้รับจ้างตามกำหนดไว้ และปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการหาสถานที่ทิ้งดิน รวมถึงการที่ผู้รับซื้อดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีจัดหามา ไม่สามารถขนย้ายดินออกจากโครงการได้ทัน เป็นกรณีที่ผู้รับจ้างรายอื่นๆ ไม่สามารถส่งมอบผลงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานของผู้รับจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ตามนัยข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท ที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับการพิจารณาขยายเวลาก่อสร้างออกไป และผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องพิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปตามความเหมาะสม เมื่อผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปหลายครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีก็ได้ประชุมพิจารณาร่วมกับที่ปรึกษาบริหารโครงการ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน ผู้ฟ้องคดี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วได้ขยายเวลาทำการก่อสร้างตามสัญญาออกไป 4 ครั้ง รวมเป็นเวลา 1,864 วัน กรณีจึงเห็นว่า ฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี ได้ทำหน้าที่พิจารณาขยายระยะเวลาของงานส่วนที่ต้องล่าช้าออกไปให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตามข้อ 1 วรรคสอง และข้อ 24.2 ของสัญญาพิพาท พิพากษายกฟ้อง #Thaitimes
    Like
    Yay
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 792 มุมมอง 0 รีวิว