• วันนี้รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส เซบาสเตียน เลอกอร์นู ประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000-5F ลำแรกของฝรั่งเศสได้ส่งมอบให้กับยูเครนแล้ว

    จำนวนเครื่องบินที่จะส่งมอบยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 ลำ

    ตามรายงานระบุว่า เครื่องบินของฝรั่งเศสเหล่านี้จะไม่ถูกใช้ทำหน้าที่หลักในการป้องกันภัยทางอากาศเช่นเดียวกับ F-16 แต่จะมาเข้าร่วมกองทัพในฐานะเครื่องบินทิ้งระเบิดที่แนวหน้าร่วมกับเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทัพอากาศยูเครน

    มีรายงานด้วยว่าเครื่องบินเหล่านี้จะเป็นรุ่นอัปเกรดที่สามารถติดตั้งและยิงขีปนาวุธ Storm Shadow (สหราชอาณาจักร) และ SCALP-EG (ฝรั่งเศส) ที่มีระยะโจมตีเกิน 250 กม. ซึ่งยูเครนมีขีปนาวุธทั้งสองประเภทนี้ในคลังแสงอยู่แล้ว

    นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน รุสเตม อูเมรอฟ ยังรายงานอีกว่า เครื่องบินรบ F-16 จากเนเธอร์แลนด์ ก็มาถึงยูเครนแล้วเช่นกัน

    ทางด้านผู้สนับสนุนรัสเซียประกาศเสนอรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเครื่องบิน Mirage 2000 ลำแรกที่ถูกยิงตก
    วันนี้รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส เซบาสเตียน เลอกอร์นู ประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000-5F ลำแรกของฝรั่งเศสได้ส่งมอบให้กับยูเครนแล้ว จำนวนเครื่องบินที่จะส่งมอบยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 ลำ ตามรายงานระบุว่า เครื่องบินของฝรั่งเศสเหล่านี้จะไม่ถูกใช้ทำหน้าที่หลักในการป้องกันภัยทางอากาศเช่นเดียวกับ F-16 แต่จะมาเข้าร่วมกองทัพในฐานะเครื่องบินทิ้งระเบิดที่แนวหน้าร่วมกับเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทัพอากาศยูเครน มีรายงานด้วยว่าเครื่องบินเหล่านี้จะเป็นรุ่นอัปเกรดที่สามารถติดตั้งและยิงขีปนาวุธ Storm Shadow (สหราชอาณาจักร) และ SCALP-EG (ฝรั่งเศส) ที่มีระยะโจมตีเกิน 250 กม. ซึ่งยูเครนมีขีปนาวุธทั้งสองประเภทนี้ในคลังแสงอยู่แล้ว นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน รุสเตม อูเมรอฟ ยังรายงานอีกว่า เครื่องบินรบ F-16 จากเนเธอร์แลนด์ ก็มาถึงยูเครนแล้วเช่นกัน ทางด้านผู้สนับสนุนรัสเซียประกาศเสนอรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเครื่องบิน Mirage 2000 ลำแรกที่ถูกยิงตก
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 149 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อกลับลำข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับการเข้ายึดฉนวนกาซา หลังมันโหมกระพือเสียงโวยวายจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึงเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เตือนเกี่ยวกับการ "ล้างเผ่าพันธุ์" ในฉนวนปาเลสไตน์
    .
    หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุดๆ จากทั้งชาวปาเลสไตน์ บรรดารัฐบาลอาหรับและพวกผู้นำโลก ทาง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่าการย้ายชาวกาซาใดๆ จะเป็นเพียงชั่วคราว ในขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่ายังไม่มีการรับปากว่าจะส่งทหารอเมริกาเข้าไปยังฉนวนแห่งนี้
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยืนยันว่า "ทุกคนชอบแผนนี้" ซึ่งเขาเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมกับผู้มาเยือนอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีอิสราเอล
    .
    ในถ้อยแถลงดังกล่าว ทรัมป์ ให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทางที่สหรัฐฯ จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากฉนวนกาซาหรือแนวทางเข้าควบคุมดินแดนที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ แห่งนี้ โดยเขาเพียงประกาศในวันอังคาร (4 ก.พ.) ว่า "สหรัฐฯ จะยึดฉนวนกาซาและเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย เราจะเป็นเจ้าของมัน"
    .
    รูบิโอ ชี้แจงว่าความคิดดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟูและรับหน้าที่ของการฟื้นฟู
    .
    ในเวลาต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว แถลงว่าวอชิงตันจะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ตามหลังดินแดนแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามระหว่างอิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐฯ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน "ความเกี่ยวข้องของอเมริกาไม่ได้หมายถึงการส่งกองกำลังไปยังภาคพื้นหรือใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐฯ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว"
    .
    คำชี้แจงของทำเนียบขาวมีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง "รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ" ส่วนสเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษก อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของเลขาธิการใหญ่รายนี้ ในเวลาต่อมาในวันพุธ (5 ก.พ.) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์"
    .
    ในเวลาต่อมา เลวิตต์ บอกว่า ทรัมป์ เพียงต้องการให้ชาวปาเลสไตน์แค่ย้ายออกจากกาซาเป็นการชั่วคราว "เวลานี้มันกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทำลายล้าง มันไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย"
    .
    เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ พวกผู้นำโลกอาหรับและกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลายออกมาประณามความคิดเห็นของทรัมป์อย่างรวดเร็ว ส่วน ฮามาส ที่ยึดครองควบคุมกาซาในปี 2007 ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตราหน้ามันว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ รุกรานและซ้ำเติมสถานการณ์
    .
    สงครามที่โหมกระพือขึ้นจากการที่พวกฮามาสบุกโจมตีเล่นงานอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ทำลายล้างพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉนวนกาซา ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างกล่าวความดีความชอบซ้ำๆ สำหรับการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    เนทันยาฮู ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนวอชิงตัน สำหรับพูดคุยเกี่ยวกับขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ขานรับด้วยความยินดีต่อความคิดของทรัมป์ บอกว่ามันจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์และควรค่าได้รับความสนใจ
    .
    ทรัมป์ ซึ่งบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจเดินทางเยือนกาซา ดูเหมือนจะพูดเป็นนัยว่าการฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ แต่ทาง เลวิตต์ ชี้แจงว่า "ประธานาธิบดีมีความชัดเจนมากๆ ต่อกรณีคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะอียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นการชั่วคราว เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา"
    .
    อย่างไรก็ตาม มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เรียกมันว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และยืนกรานว่าสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์ไม่อาจต่อรองได้
    .
    ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ ชี้แนะให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาได้กล่าวอ้างถึงอียิปต์และจอร์แดน ในฐานะดินแดนจุดหมายปลายทางที่เป็นไปได้ แต่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ประกาศกร้าวว่าพวกเขาจะไม่ออกจากฉนวนกาซา
    .
    ขณะเดียวกัน อียิปต์ และ จอร์แดน ก็ปฏิเสธอนุญาตให้มีการตั้งรกรากใดๆ ของชาวกาซา โดย บาดร์ อับเดลลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ เรียกร้องฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา ส่วนกษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดน ตรัสหลังจากพบปะกับอับบาส ปฏิเสธความพยายามใดๆ ในการควบคุมดินแดนของปาเลสไตน์และโยกย้านถิ่นฐานผู้คน
    .
    ในวอชิงตัน เนทันยาฮู ยกย่อง ทรัมป์ ว่าเป็นพันธมิตรยอดเยี่ยมที่สุดของอิสราเอล และยกย่องผู้นำสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ เขายังแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในการคืนความสัมพันธ์กันเป็นปกติระหว่างกัน
    .
    อย่างไรก็ตาม ริยาด บอกว่าพวกเขาจะไม่มีความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับอิสราเอล หากปราศจากความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ และปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของพวกเขา
    .
    สหภาพยุโรปเน้นย้ำว่ากาซาเป็นส่วนสำคัญสำหรับรัฐปาเลสไตน์หนึ่งๆ ในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธความพยายามโยกย้ายถิ่นฐานใดๆ โดยบอกว่าเสถียรภาพในภูมิภาคจะบรรลุได้ผ่านทางออก 2 รัฐคู่ขนานเท่านั้น ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน บอกว่า "เราคัดค้านการบีบบังคับโยกย้ายพลเมืองของกาซา" ขณะที่สันนิบาตอาหรับ เรียกข้อเสนอของทรัมป์ว่าเป็น "สูตรแห่งความไร้เสถียรภาพ"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011933
    ..............
    Sondhi X
    รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อกลับลำข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับการเข้ายึดฉนวนกาซา หลังมันโหมกระพือเสียงโวยวายจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึงเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เตือนเกี่ยวกับการ "ล้างเผ่าพันธุ์" ในฉนวนปาเลสไตน์ . หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุดๆ จากทั้งชาวปาเลสไตน์ บรรดารัฐบาลอาหรับและพวกผู้นำโลก ทาง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่าการย้ายชาวกาซาใดๆ จะเป็นเพียงชั่วคราว ในขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่ายังไม่มีการรับปากว่าจะส่งทหารอเมริกาเข้าไปยังฉนวนแห่งนี้ . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยืนยันว่า "ทุกคนชอบแผนนี้" ซึ่งเขาเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมกับผู้มาเยือนอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีอิสราเอล . ในถ้อยแถลงดังกล่าว ทรัมป์ ให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทางที่สหรัฐฯ จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากฉนวนกาซาหรือแนวทางเข้าควบคุมดินแดนที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ แห่งนี้ โดยเขาเพียงประกาศในวันอังคาร (4 ก.พ.) ว่า "สหรัฐฯ จะยึดฉนวนกาซาและเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย เราจะเป็นเจ้าของมัน" . รูบิโอ ชี้แจงว่าความคิดดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟูและรับหน้าที่ของการฟื้นฟู . ในเวลาต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว แถลงว่าวอชิงตันจะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ตามหลังดินแดนแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามระหว่างอิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐฯ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน "ความเกี่ยวข้องของอเมริกาไม่ได้หมายถึงการส่งกองกำลังไปยังภาคพื้นหรือใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐฯ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว" . คำชี้แจงของทำเนียบขาวมีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง "รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ" ส่วนสเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษก อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของเลขาธิการใหญ่รายนี้ ในเวลาต่อมาในวันพุธ (5 ก.พ.) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์" . ในเวลาต่อมา เลวิตต์ บอกว่า ทรัมป์ เพียงต้องการให้ชาวปาเลสไตน์แค่ย้ายออกจากกาซาเป็นการชั่วคราว "เวลานี้มันกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทำลายล้าง มันไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย" . เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ พวกผู้นำโลกอาหรับและกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลายออกมาประณามความคิดเห็นของทรัมป์อย่างรวดเร็ว ส่วน ฮามาส ที่ยึดครองควบคุมกาซาในปี 2007 ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตราหน้ามันว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ รุกรานและซ้ำเติมสถานการณ์ . สงครามที่โหมกระพือขึ้นจากการที่พวกฮามาสบุกโจมตีเล่นงานอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ทำลายล้างพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉนวนกาซา ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างกล่าวความดีความชอบซ้ำๆ สำหรับการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่แล้ว . เนทันยาฮู ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนวอชิงตัน สำหรับพูดคุยเกี่ยวกับขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ขานรับด้วยความยินดีต่อความคิดของทรัมป์ บอกว่ามันจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์และควรค่าได้รับความสนใจ . ทรัมป์ ซึ่งบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจเดินทางเยือนกาซา ดูเหมือนจะพูดเป็นนัยว่าการฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ แต่ทาง เลวิตต์ ชี้แจงว่า "ประธานาธิบดีมีความชัดเจนมากๆ ต่อกรณีคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะอียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นการชั่วคราว เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา" . อย่างไรก็ตาม มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เรียกมันว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และยืนกรานว่าสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์ไม่อาจต่อรองได้ . ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ ชี้แนะให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาได้กล่าวอ้างถึงอียิปต์และจอร์แดน ในฐานะดินแดนจุดหมายปลายทางที่เป็นไปได้ แต่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ประกาศกร้าวว่าพวกเขาจะไม่ออกจากฉนวนกาซา . ขณะเดียวกัน อียิปต์ และ จอร์แดน ก็ปฏิเสธอนุญาตให้มีการตั้งรกรากใดๆ ของชาวกาซา โดย บาดร์ อับเดลลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ เรียกร้องฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา ส่วนกษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดน ตรัสหลังจากพบปะกับอับบาส ปฏิเสธความพยายามใดๆ ในการควบคุมดินแดนของปาเลสไตน์และโยกย้านถิ่นฐานผู้คน . ในวอชิงตัน เนทันยาฮู ยกย่อง ทรัมป์ ว่าเป็นพันธมิตรยอดเยี่ยมที่สุดของอิสราเอล และยกย่องผู้นำสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ เขายังแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในการคืนความสัมพันธ์กันเป็นปกติระหว่างกัน . อย่างไรก็ตาม ริยาด บอกว่าพวกเขาจะไม่มีความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับอิสราเอล หากปราศจากความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ และปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของพวกเขา . สหภาพยุโรปเน้นย้ำว่ากาซาเป็นส่วนสำคัญสำหรับรัฐปาเลสไตน์หนึ่งๆ ในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธความพยายามโยกย้ายถิ่นฐานใดๆ โดยบอกว่าเสถียรภาพในภูมิภาคจะบรรลุได้ผ่านทางออก 2 รัฐคู่ขนานเท่านั้น ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน บอกว่า "เราคัดค้านการบีบบังคับโยกย้ายพลเมืองของกาซา" ขณะที่สันนิบาตอาหรับ เรียกข้อเสนอของทรัมป์ว่าเป็น "สูตรแห่งความไร้เสถียรภาพ" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011933 .............. Sondhi X
    Like
    Wow
    Sad
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1261 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้าน : กับดักที่ดึงจิตลงเหว

    การเสพติดข่าวสารเรื่องของคนอื่น เป็น "กับดักจิต" ที่ดูดพลังงานมหาศาลโดยไม่รู้ตัว

    🌀 ดูดความคิด → ทำให้สมองยุ่งเหยิง คิดไปเอง ตีความผิดเพี้ยน

    ⏳ ดูดเวลา → แทนที่จะใช้เวลาพัฒนาตัวเอง กลับหมดไปกับเรื่องไร้สาระ

    🔋 ดูดพลังจิต → จากที่จะใช้พลังงานกับสิ่งที่สร้างสรรค์ กลับไปจมอยู่กับเรื่องชาวบ้าน

    ---

    📌 3 กับดักใหญ่ของ "การเผือก" เรื่องชาวบ้าน

    1️⃣ หลงคิดว่าการรู้เรื่องชาวบ้าน = ฉลาดรอบตัว

    แท้จริงแล้วเป็นการ สะสมความเชื่อผิดๆ

    การรู้เยอะ แต่ไม่รู้จริง = เพิ่มอัตตา ลดปัญญา

    2️⃣ หลงคิดว่าการเผือก = ได้เปรียบ

    คิดว่ารู้เรื่องคนอื่นจะทำให้เรา มีอำนาจ

    สุดท้ายกลายเป็น ขี้เมาท์ ไร้สาระ คนไม่เชื่อถือ

    3️⃣ หลงคิดว่าความจริงต้องเป็นไปตามที่เราเชื่อ

    สร้าง "อุปาทาน" และ "มายาคติ" ขึ้นมาเอง

    ทำให้ ใจฟุ้งซ่าน กังวลไปกับเรื่องที่ไม่ใช่ของเรา

    ---

    📌 วิธีเลิกเสพติดเรื่องชาวบ้าน (หยุดเผือก = จิตเบิกบาน)

    ✔ 1. หันมาสังเกตใจตัวเองแทนที่จะสังเกตชีวิตคนอื่น

    ถามตัวเองว่า "เรื่องที่กำลังสนใจ มันมีผลอะไรกับชีวิตฉันไหม?"

    ถ้ารู้แล้วไม่ได้พัฒนาตัวเอง → ไม่ต้องรู้

    ✔ 2. ฝึกสติ → ทุกครั้งที่อยากรู้เรื่องชาวบ้าน ให้ย้อนถามตัวเอง

    "ฉันกำลังจะรู้อะไร?" → เป็นเรื่องจริง หรือ แค่ข่าวลือ?

    "ฉันได้อะไรจากการรู้?" → ได้บุญหรือได้บาป?

    ✔ 3. ฝึกใจให้มีความสุขกับ "เรื่องของตัวเอง"

    ชีวิตคุณมีอะไรต้องพัฒนาอีกมาก ทำไมต้องเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่ใช่ของเรา?

    ใช้พลังไปกับ "การเรียนรู้" และ "การพัฒนาตัวเอง" ดีกว่า

    ---

    📌 สรุป : เลิกเผือก → ใจเบาสบาย → จิตเตรียมเบ่งบานเป็นพุทธแท้!

    เผือก = ฟุ้งซ่าน = เสียเวลา

    หยุดเผือก = มีสติ = ชีวิตดีขึ้น

    รู้เรื่องตัวเอง = พัฒนาได้

    รู้เรื่องชาวบ้าน = ได้อะไร?

    ✨ เลือกให้ดี ว่าจะเอาสติ หรือเอาอุปาทาน
    ✨ ถ้ารู้แล้วไม่มีประโยชน์ = ไม่ต้องรู้!
    ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้าน : กับดักที่ดึงจิตลงเหว การเสพติดข่าวสารเรื่องของคนอื่น เป็น "กับดักจิต" ที่ดูดพลังงานมหาศาลโดยไม่รู้ตัว 🌀 ดูดความคิด → ทำให้สมองยุ่งเหยิง คิดไปเอง ตีความผิดเพี้ยน ⏳ ดูดเวลา → แทนที่จะใช้เวลาพัฒนาตัวเอง กลับหมดไปกับเรื่องไร้สาระ 🔋 ดูดพลังจิต → จากที่จะใช้พลังงานกับสิ่งที่สร้างสรรค์ กลับไปจมอยู่กับเรื่องชาวบ้าน --- 📌 3 กับดักใหญ่ของ "การเผือก" เรื่องชาวบ้าน 1️⃣ หลงคิดว่าการรู้เรื่องชาวบ้าน = ฉลาดรอบตัว แท้จริงแล้วเป็นการ สะสมความเชื่อผิดๆ การรู้เยอะ แต่ไม่รู้จริง = เพิ่มอัตตา ลดปัญญา 2️⃣ หลงคิดว่าการเผือก = ได้เปรียบ คิดว่ารู้เรื่องคนอื่นจะทำให้เรา มีอำนาจ สุดท้ายกลายเป็น ขี้เมาท์ ไร้สาระ คนไม่เชื่อถือ 3️⃣ หลงคิดว่าความจริงต้องเป็นไปตามที่เราเชื่อ สร้าง "อุปาทาน" และ "มายาคติ" ขึ้นมาเอง ทำให้ ใจฟุ้งซ่าน กังวลไปกับเรื่องที่ไม่ใช่ของเรา --- 📌 วิธีเลิกเสพติดเรื่องชาวบ้าน (หยุดเผือก = จิตเบิกบาน) ✔ 1. หันมาสังเกตใจตัวเองแทนที่จะสังเกตชีวิตคนอื่น ถามตัวเองว่า "เรื่องที่กำลังสนใจ มันมีผลอะไรกับชีวิตฉันไหม?" ถ้ารู้แล้วไม่ได้พัฒนาตัวเอง → ไม่ต้องรู้ ✔ 2. ฝึกสติ → ทุกครั้งที่อยากรู้เรื่องชาวบ้าน ให้ย้อนถามตัวเอง "ฉันกำลังจะรู้อะไร?" → เป็นเรื่องจริง หรือ แค่ข่าวลือ? "ฉันได้อะไรจากการรู้?" → ได้บุญหรือได้บาป? ✔ 3. ฝึกใจให้มีความสุขกับ "เรื่องของตัวเอง" ชีวิตคุณมีอะไรต้องพัฒนาอีกมาก ทำไมต้องเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่ใช่ของเรา? ใช้พลังไปกับ "การเรียนรู้" และ "การพัฒนาตัวเอง" ดีกว่า --- 📌 สรุป : เลิกเผือก → ใจเบาสบาย → จิตเตรียมเบ่งบานเป็นพุทธแท้! เผือก = ฟุ้งซ่าน = เสียเวลา หยุดเผือก = มีสติ = ชีวิตดีขึ้น รู้เรื่องตัวเอง = พัฒนาได้ รู้เรื่องชาวบ้าน = ได้อะไร? ✨ เลือกให้ดี ว่าจะเอาสติ หรือเอาอุปาทาน ✨ ถ้ารู้แล้วไม่มีประโยชน์ = ไม่ต้องรู้!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 88 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน (IRGC) เปิดตัวฐานทัพใต้ดินแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่ไหนสักแห่งตามแนวชายฝั่้งทางใต้ของประเทศ ฐานทัพใหม่นี้ได้รับฉายาว่า "เมืองขีปนาวุธ" เป็นแหล่งซ่อนตัวของรถบรรทุกหลายสิบคนที่ใช้เป็นแท่นยิงขีปนาวุธ อ้างอิงภาพจากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่โดยกองทัพอิหร่านเมื่อวันเสาร์(1ก.พ.)
    .
    ในวิดีโอความยาว 2 นาที พลตรีฮอสเซน ซาลามี ผู้บัญชาการ IRGC และพลเรือตรีอาลิเรซา ทังซิรี ผู้บัญชาการกองทัพเรือ กำลังตรวจตราเครือข่ายอุโมงค์ใต้ดิน บริเวณที่แท่นยิงขีปนาวุธเคลื่อนที่ประจำการอยู่
    .
    ทังซีรี ระบุว่าฐานทัพแห่งนี้เป็นที่ตั้งของขีปนาวุธร่อน Qadr-380 ของอิหร่าน ซึ่งสามารถประจำการและยิงโจมตีได้ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที ขีปนาวุธนี้มีพิสัยทำการกว่า 1,000 กิโลเมตรและติดตั้งระบบต่อต้านสัญญาณรบกวน เพื่อตอบโต้การทำสงครามอิเล็กทรอนิก ตามรายงานของสำนักข่าวไออาร์เอ็นเอ
    .
    ฐานทัพแห่งใหม่ที่อวดโฉมในวันเสาร์(1ก.พ.) ถือเป็นฐานทัพใต้ดินแห่งที่ 3 แล้วในอิหร่าน หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อช่วงกลางเดือนมกราคม ทางกองทัพเรือแห่ง IRGC เพิ่้งเปิดตัวฐานทัพใต้ดินอีกแห่ง สำหรับขีปนาวุธต่อต้านเรือ ตามแนวชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย ขณะเดียวกันทางกองทัพอากาศของ IRGC ก็เคยเปิดเผยเกี่ยวกับฐานทัพแบบเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 10 มกราคม แต่ไม่ได้บอกตำแหน่งที่ตั้งอย่างชัดเจน
    .
    อิหร่าน บอกว่าโครงการขีปนาวุธของพวกเขามีไว้เพื่อป้องปรามบรรดาอริศัตรูอย่างสหรัฐฯและอิสราเอล และระหว่างการตรวจตราเมื่อวันเสาร์(1ก.พ.) ซาลามี เน้นย้ำว่าการเปิดตัวฐานทัพใต้ดินครั้งนี้ มีเจตนาเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูของเตหะราน คำนวณผิดพลาดจนนำมาซึ่งผลลัพธ์ร้ายแรง
    .
    ในช่วงต้นเดือนมกราคม อับบาส อารากชี รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน ยกย่องโครงการขีปนาวุธของประเทศ ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องปรามภัยคุกคามจากต่างชาติ "ผมเคยบอกมาหลายครั้งแล้ว และเชื่อย่างหนักแน่นว่า ถ้าเราไม่มีแสนยานุภาพด้านขีปนาวุธ ก็คงไม่มีใครเจรจากับเรา"
    .
    อารากชี อ้างว่าสหรัฐฯและพันธมิตรมีแต่จะตอบสนองอย่างแข็งกร้าว แต่แสนยานุภาพด้านขีปนาวุธของอิหร่านจะบีบให้พวกเขาหันหน้ามาใช้หนทางด้านการทูต แทนการเลือกใช้กำลัง ความเห็นของเขามีขค้นตามหลังความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยิงขีปนาวุธพิสัยไกลโจมตีตอบโต้กันไปมาระหว่าง 2 ชาติ เมื่อปีที่แล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010796
    ..................
    Sondhi X
    กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน (IRGC) เปิดตัวฐานทัพใต้ดินแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่ไหนสักแห่งตามแนวชายฝั่้งทางใต้ของประเทศ ฐานทัพใหม่นี้ได้รับฉายาว่า "เมืองขีปนาวุธ" เป็นแหล่งซ่อนตัวของรถบรรทุกหลายสิบคนที่ใช้เป็นแท่นยิงขีปนาวุธ อ้างอิงภาพจากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่โดยกองทัพอิหร่านเมื่อวันเสาร์(1ก.พ.) . ในวิดีโอความยาว 2 นาที พลตรีฮอสเซน ซาลามี ผู้บัญชาการ IRGC และพลเรือตรีอาลิเรซา ทังซิรี ผู้บัญชาการกองทัพเรือ กำลังตรวจตราเครือข่ายอุโมงค์ใต้ดิน บริเวณที่แท่นยิงขีปนาวุธเคลื่อนที่ประจำการอยู่ . ทังซีรี ระบุว่าฐานทัพแห่งนี้เป็นที่ตั้งของขีปนาวุธร่อน Qadr-380 ของอิหร่าน ซึ่งสามารถประจำการและยิงโจมตีได้ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที ขีปนาวุธนี้มีพิสัยทำการกว่า 1,000 กิโลเมตรและติดตั้งระบบต่อต้านสัญญาณรบกวน เพื่อตอบโต้การทำสงครามอิเล็กทรอนิก ตามรายงานของสำนักข่าวไออาร์เอ็นเอ . ฐานทัพแห่งใหม่ที่อวดโฉมในวันเสาร์(1ก.พ.) ถือเป็นฐานทัพใต้ดินแห่งที่ 3 แล้วในอิหร่าน หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อช่วงกลางเดือนมกราคม ทางกองทัพเรือแห่ง IRGC เพิ่้งเปิดตัวฐานทัพใต้ดินอีกแห่ง สำหรับขีปนาวุธต่อต้านเรือ ตามแนวชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย ขณะเดียวกันทางกองทัพอากาศของ IRGC ก็เคยเปิดเผยเกี่ยวกับฐานทัพแบบเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 10 มกราคม แต่ไม่ได้บอกตำแหน่งที่ตั้งอย่างชัดเจน . อิหร่าน บอกว่าโครงการขีปนาวุธของพวกเขามีไว้เพื่อป้องปรามบรรดาอริศัตรูอย่างสหรัฐฯและอิสราเอล และระหว่างการตรวจตราเมื่อวันเสาร์(1ก.พ.) ซาลามี เน้นย้ำว่าการเปิดตัวฐานทัพใต้ดินครั้งนี้ มีเจตนาเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูของเตหะราน คำนวณผิดพลาดจนนำมาซึ่งผลลัพธ์ร้ายแรง . ในช่วงต้นเดือนมกราคม อับบาส อารากชี รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน ยกย่องโครงการขีปนาวุธของประเทศ ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องปรามภัยคุกคามจากต่างชาติ "ผมเคยบอกมาหลายครั้งแล้ว และเชื่อย่างหนักแน่นว่า ถ้าเราไม่มีแสนยานุภาพด้านขีปนาวุธ ก็คงไม่มีใครเจรจากับเรา" . อารากชี อ้างว่าสหรัฐฯและพันธมิตรมีแต่จะตอบสนองอย่างแข็งกร้าว แต่แสนยานุภาพด้านขีปนาวุธของอิหร่านจะบีบให้พวกเขาหันหน้ามาใช้หนทางด้านการทูต แทนการเลือกใช้กำลัง ความเห็นของเขามีขค้นตามหลังความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยิงขีปนาวุธพิสัยไกลโจมตีตอบโต้กันไปมาระหว่าง 2 ชาติ เมื่อปีที่แล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010796 .................. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    18
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1045 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 30/1/68 รองชิงชนะเลิศ
    ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 30/1/68 รองชิงชนะเลิศ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 107 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 30/1/68 รองรองชนะเลิศ
    ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 30/1/68 รองรองชนะเลิศ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 93 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 29/1/68
    ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 29/1/68
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 91 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 28/1/68
    ผลการแข่งขันบาส 5x5 การแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี วันที่ 28/1/68
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 90 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสปล่อยตัวประกันอีกครั้งในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สี่ จำนวน 3 ราย แบ่งเป็นชาวอิสราเอล 2 ราย และชาวอิสราเอลสัญชาติอเมริกันอีก 1 ราย

    ตัวประกันชาวอิสราเอลสองรายแรก คือ ยาร์เดน บิบาส (Yarden Bibas) และโอเฟอร์ คัลเดรอน (Ofer Kalderon) ถูกปล่อยตัวให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลก่อน และได้ข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลเรียบร้อยแล้ว

    คีธ ซีเกล (Keith Siegel) ได้รับการปล่อยตัวเป็นรายล่าสุด (วิดีโอ1)

    อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์กว่า 180 คน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
    ฮามาสปล่อยตัวประกันอีกครั้งในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สี่ จำนวน 3 ราย แบ่งเป็นชาวอิสราเอล 2 ราย และชาวอิสราเอลสัญชาติอเมริกันอีก 1 ราย ตัวประกันชาวอิสราเอลสองรายแรก คือ ยาร์เดน บิบาส (Yarden Bibas) และโอเฟอร์ คัลเดรอน (Ofer Kalderon) ถูกปล่อยตัวให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลก่อน และได้ข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลเรียบร้อยแล้ว คีธ ซีเกล (Keith Siegel) ได้รับการปล่อยตัวเป็นรายล่าสุด (วิดีโอ1) อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์กว่า 180 คน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ ดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัย หลังเครื่องบินขับไล่ล้ำสมัย F-35 เกิดขัดข้อง ก่อนร่วงกระแทกพื้น ระเบิดไฟลุกท่วม ระหว่างภารกิจฝึกฝน ณ ฐานทัพอากาศไอเอลสัน ในรัฐอะแลสกา เมื่อวันอังคาร (28 ม.ค.)
    .
    นาวาอากาศเอกพอล ทาวน์เซนด์ ผู้บัญชาการกองบินที่ 354 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ระบุนักบินประสบปัญหาขัดข้องระหว่างทำการบิน แต่สามารถดีดตัวออกมาได้ทัน และเครื่องบินโหม่งโลกระหว่างขั้นตอนการลงจอด
    .
    "นักบินแจ้งเหตุฉุกเฉินระหว่างทำการบินก่อนประสบเหตุ และได้รับรายงานว่าเขาอยู่ในอาการทรงตัว หลังจากถูกพาตัวส่งสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง" นาวาอากาศเอกทาวน์เซนด์กล่ว "นักบินปลอดภัย และถูกส่งไปยังโรงพยาบาลทหารบาสเซตต์ เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติม ผมรับประกันกับคุณว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ จะทำการสืบนสวนอย่างละเอียด ในความหวังเพื่อลดโอกาส ไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก"
    .
    กองบินที่ 354 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ยืนยันในถ้อยแถลงว่า "อุบัติเหตุทางเครื่องบิน" เกิดขึ้นตอน 12.49 น.ตามเวลาท้องถิ่น "ผลก็คือก่อความเสียหายร้ายแรงแก่เครื่องบิน" ทั้งนี้ฐานทัพอากาศไอเอลสัน อยู่ห่างจากเมืองแฟร์แบงค์ ไปทางใต้ราว 40 กิโลเมตร โดยเมืองแห่งนี้ถูกใช้เป็นศูนย์กลางปฏิบัติการหนึ่งของเครื่องบิน F-35 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีล่องหน ยุคที่ 5 จำนวน 50 ลำ
    .
    ในเหตุการณ์อันน่าตื่นตะลึงที่ถูกจับภาพเอาไว้ได้ และเกิดขึ้นขณะที่เครื่องบินกำลังลงจอด พบเห็นเครื่องบินล้ำสมัยที่ผลิตโดยล็อคฮีด มาร์ติน หมุนเกลียวในวงแคบๆ ในสภาพที่กางล้อออกมา ระหว่างที่ร่วงเกือบในแนวดิ่งมุ่งสู่พื้นโลก จนกระทั่งกระแทกพื้น โหมกระพือเปลวไฟขนาดใหญ่ลุกท่วมเครื่องบิน อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง พบเห็นร่มชูชีพกางออก เป็นสัญญาณว่านักบินดีดตัวออกมาได้ทัน
    .
    เครื่องบิน F-35 เป็นเสาหลักแห่งกองบินของกองทัพสหรัฐฯ มันถูกคุยโวโอ้อวดเกี่ยวกับศักยภาพล่องหนล้ำสมัยและการสู้รบของมัน และมีประจำการทั้งในกองทัพอากาศ กองทัพเรือและนาวิกโยธินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มันถูกพินิจพิเคราะห์ตรวจสอบเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
    .
    ในเดือนพฤษภาคม เครื่องบิน F-35 ลำหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างเดินทางจากเทกซัสไปยังฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ดส์ ในแคลิฟอร์เนีย เกิดอุบัติเหตุโหม่งโลก ไม่นานหลังแวะเติมเชื้อเพลิงในนิวเม็กซิโก ตามรายงานของเอพี นักบินได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกลำเลียงไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
    .
    อีกเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม การสืบสวนของนาวิกโยธินสหรัฐฯ สรุปว่านักบินรายหนึ่งถูกดีดออกจากเครื่องบิน F-35 ทั้งที่เขาไม่ได้ออกคำสั่งใดๆ ส่งผลให้เครื่องบินลำดังกล่าวบินเองโดยอัตโนมัติเป็นเวลา 11 นาที ก่อนโหม่งโลก ในพื้นที่ห่างไกลแห่งหนึ่งในรัฐเซาท์แคโรไลนา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009489
    .........
    Sondhi X
    นักบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ ดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัย หลังเครื่องบินขับไล่ล้ำสมัย F-35 เกิดขัดข้อง ก่อนร่วงกระแทกพื้น ระเบิดไฟลุกท่วม ระหว่างภารกิจฝึกฝน ณ ฐานทัพอากาศไอเอลสัน ในรัฐอะแลสกา เมื่อวันอังคาร (28 ม.ค.) . นาวาอากาศเอกพอล ทาวน์เซนด์ ผู้บัญชาการกองบินที่ 354 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ระบุนักบินประสบปัญหาขัดข้องระหว่างทำการบิน แต่สามารถดีดตัวออกมาได้ทัน และเครื่องบินโหม่งโลกระหว่างขั้นตอนการลงจอด . "นักบินแจ้งเหตุฉุกเฉินระหว่างทำการบินก่อนประสบเหตุ และได้รับรายงานว่าเขาอยู่ในอาการทรงตัว หลังจากถูกพาตัวส่งสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง" นาวาอากาศเอกทาวน์เซนด์กล่ว "นักบินปลอดภัย และถูกส่งไปยังโรงพยาบาลทหารบาสเซตต์ เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติม ผมรับประกันกับคุณว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ จะทำการสืบนสวนอย่างละเอียด ในความหวังเพื่อลดโอกาส ไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก" . กองบินที่ 354 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ยืนยันในถ้อยแถลงว่า "อุบัติเหตุทางเครื่องบิน" เกิดขึ้นตอน 12.49 น.ตามเวลาท้องถิ่น "ผลก็คือก่อความเสียหายร้ายแรงแก่เครื่องบิน" ทั้งนี้ฐานทัพอากาศไอเอลสัน อยู่ห่างจากเมืองแฟร์แบงค์ ไปทางใต้ราว 40 กิโลเมตร โดยเมืองแห่งนี้ถูกใช้เป็นศูนย์กลางปฏิบัติการหนึ่งของเครื่องบิน F-35 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีล่องหน ยุคที่ 5 จำนวน 50 ลำ . ในเหตุการณ์อันน่าตื่นตะลึงที่ถูกจับภาพเอาไว้ได้ และเกิดขึ้นขณะที่เครื่องบินกำลังลงจอด พบเห็นเครื่องบินล้ำสมัยที่ผลิตโดยล็อคฮีด มาร์ติน หมุนเกลียวในวงแคบๆ ในสภาพที่กางล้อออกมา ระหว่างที่ร่วงเกือบในแนวดิ่งมุ่งสู่พื้นโลก จนกระทั่งกระแทกพื้น โหมกระพือเปลวไฟขนาดใหญ่ลุกท่วมเครื่องบิน อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง พบเห็นร่มชูชีพกางออก เป็นสัญญาณว่านักบินดีดตัวออกมาได้ทัน . เครื่องบิน F-35 เป็นเสาหลักแห่งกองบินของกองทัพสหรัฐฯ มันถูกคุยโวโอ้อวดเกี่ยวกับศักยภาพล่องหนล้ำสมัยและการสู้รบของมัน และมีประจำการทั้งในกองทัพอากาศ กองทัพเรือและนาวิกโยธินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มันถูกพินิจพิเคราะห์ตรวจสอบเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา . ในเดือนพฤษภาคม เครื่องบิน F-35 ลำหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างเดินทางจากเทกซัสไปยังฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ดส์ ในแคลิฟอร์เนีย เกิดอุบัติเหตุโหม่งโลก ไม่นานหลังแวะเติมเชื้อเพลิงในนิวเม็กซิโก ตามรายงานของเอพี นักบินได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกลำเลียงไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง . อีกเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม การสืบสวนของนาวิกโยธินสหรัฐฯ สรุปว่านักบินรายหนึ่งถูกดีดออกจากเครื่องบิน F-35 ทั้งที่เขาไม่ได้ออกคำสั่งใดๆ ส่งผลให้เครื่องบินลำดังกล่าวบินเองโดยอัตโนมัติเป็นเวลา 11 นาที ก่อนโหม่งโลก ในพื้นที่ห่างไกลแห่งหนึ่งในรัฐเซาท์แคโรไลนา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009489 ......... Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    Wow
    Sad
    15
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2111 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน! เครื่องบินขับไล่ F-35 ของสหรัฐ ตกที่บริเวณฐานทัพอากาศ Eielson ใกล้เมืองแฟร์แบงก์ส รัฐอลาสก้า

    นักบินรอดชีวิตจากการดีดตัวออกจากเครื่องบิน และถูกนำส่งโรงพยาบาลทหารบาสเซตต์

    ในวิดีโอสามารถเห็นนักบินกระโดดร่มออกมาได้อย่างปลอดภัย

    เครื่องบินขับไล่ F-35 มีราคาเกือบ 81 ล้านเหรียญสหรัฐ

    สาเหตุยังคงอยู่ระหว่างการสอบสวน
    ด่วน! เครื่องบินขับไล่ F-35 ของสหรัฐ ตกที่บริเวณฐานทัพอากาศ Eielson ใกล้เมืองแฟร์แบงก์ส รัฐอลาสก้า นักบินรอดชีวิตจากการดีดตัวออกจากเครื่องบิน และถูกนำส่งโรงพยาบาลทหารบาสเซตต์ ในวิดีโอสามารถเห็นนักบินกระโดดร่มออกมาได้อย่างปลอดภัย เครื่องบินขับไล่ F-35 มีราคาเกือบ 81 ล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุยังคงอยู่ระหว่างการสอบสวน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 233 มุมมอง 0 รีวิว
  • 22 ปี จากจลาจลกัมพูชา สู่ปฏิบัติการโปเชนตง เบื้องหลังความขัดแย้ง ปฏิบัติการที่โลกต้องจดจำ

    ย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงพนมเปญ
    ประเทศกัมพูชา ไม่เพียงแต่สร้างความสูญเสีย ทางกายภาพ แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุจลาจลครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากบทความ ในหนังสือพิมพ์กัมพูชา"รัศมี อังกอร์" ที่พาดพิงถึงนักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" ว่าได้กล่าวหากัมพูชาเรื่องนครวัด จนนำไปสู่ความโกรธแค้น และความรุนแรง ที่ลุกลามไปถึงการเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ

    จากบทความหนังสือพิมพ์ สู่ความโกลาหล
    ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 หนังสือพิมพ์ "รัศมี อังกอร์" ของกัมพูชา ได้ตีพิทพ์เผยแพร่บทความ ที่กล่าวอ้างว่า นักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" พูดว่านครวัดเป็นของไทย และกัมพูชาเป็นฝ่ายที่ "ขโมย" นครวัดไป ข้อความนี้แพร่กระจาย ออกไปอย่างรวดเร็ว สร้างกระแสความโกรธเคือง ในหมู่ชาวกัมพูชา แม้ว่ากบ-สุวนันท์ จะออกมาปฏิเสธว่า เธอไม่เคยพูดเช่นนั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้ง กระแสความไม่พอใจได้

    การตอบสนองของฮุนเซ็น
    นายกรัฐมนตรีกัมพูชา "ฮุนเซ็น" ได้กล่าวสนับสนุนข้อความ ในบทความดังกล่าว โดยเปรียบเทียบว่า นักแสดงชาวไทยคนนี้ "ไม่มีค่าเทียบเท่าใบหญ้า ที่ขึ้นใกล้นครวัด" พร้อมทั้งสั่งให้สถานีโทรทัศน์กัมพูชา หยุดการเผยแพร่ละครไทยทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการปลุกระดม ให้ประชาชนกัมพูชา ระลึกถึงรากเหง้าของตนเอง ซึ่งยิ่งกระพือความไม่พอใจ ในวงกว้าง

    จากชุมนุมสู่เหตุการณ์จลาจล เริ่มต้นที่สถานทูตไทย
    เช้าวันที่ 29 มกราคม 2546 กลุ่มชาวกัมพูชาหลายร้อยคน เริ่มรวมตัวกัน ที่หน้าสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ การประท้วงเริ่มจาก การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาธงชาติไทย และป้ายของสถานทูต ก่อนที่จะบานปลายไปสู่ความรุนแรง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกเข้าไป ในบริเวณสถานทูต

    อพยพเจ้าหน้าที่สถานทูต
    เอกอัครราชทูตไทย ประจำกัมพูชาในขณะนั้น "ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ" ตัดสินใจสั่งการ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูต อพยพออกจากอาคาร โดยปีนรั้วด้านหลังของสถานทูต ไปยังแม่น้ำบาสัก และบางส่วนหลบหนีไปยังสถานทูตญี่ปุ่น ที่อยู่ติดกัน การตัดสินใจที่เด็ดขาดนี้ ช่วยรักษาชีวิตของทุกคน ไว้ได้อย่างปลอดภัย

    ทำลายสถานทูตไทย
    ในช่วงเวลาต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมได้เผา และปล้นสดมสถานทูตไทย รวมถึงทำลายทรัพย์สิ นของธุรกิจไทยในกรุงพนมเปญ เช่น โรงแรม สำนักงาน และร้านค้าต่าง ๆ เหตุการณ์นี้ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อมีข่าวลือว่า คนกัมพูชาถูกทำร้ายในประเทศไทย ซึ่งทำให้การจลาจลในพนมเปญ รุนแรงขึ้นไปอีก

    ปฏิบัติการโปเชนตง ความช่วยเหลือจากฟากฟ้า
    หลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจล รัฐบาลไทยภายใต้การนำ ของนายกรัฐมนตรี "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ได้ตัดสินใจเปิดปฏิบัติการ "โปเชนตง" เพื่ออพยพคนไทยออกจากกัมพูชา โดยใช้สนามบินเก่า "โปเชนตง" ในกรุงพนมเปญ เป็นจุดรับส่ง โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลกัมพูชา ที่เริ่มเปลี่ยนท่าที และยินยอมให้เครื่องบินทหารไทยเข้าประเทศ

    รายละเอียดของปฏิบัติการ
    วันที่ 30 มกราคม 2546 เวลา 05.15 น. เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130H และ G-222 พร้อมหน่วยรบพิเศษ ได้บินจากฐานทัพดอนเมือง ไปยังสนามบินโปเชนตง เพื่ออพยพคนไทยกว่า 700 คน การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการคุ้มกันอย่างเข้มงวด โดยสามารถนำคนไทย กลับมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด ในวันเดียว

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา
    เหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เลวร้ายลงอย่างมาก ไทยตัดสินใจ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และปิดชายแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค

    เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญ ของการสื่อสารระหว่างประเทศ และการป้องกันการปลุกระดม ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง การตอบสนองที่รวดเร็ว และเด็ดขาดของรัฐบาลไทยในครั้งนั้น ยังเป็นตัวอย่างของการจัดการวิกฤต ที่มีประสิทธิภาพ

    22 ปี หลังเหตุการณ์จลาจลในพนมเปญ และปฏิบัติการโปเชนตง ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทยและกัมพูชา ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการจัดการวิกฤตระดับชาติ เหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึง ความสำคัญของความร่วมมือ ความเข้าใจ และการสื่อสารที่ถูกต้อง ระหว่างประชาชน และผู้นำของทั้งสองประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 290850 ม.ค. 2568

    #จลาจลกัมพูชา #ปฏิบัติการโปเชนตง #ไทยกัมพูชา #สถานทูตไทย #ประวัติศาสตร์ไทย #การเมืองระหว่างประเทศ #บทเรียนความขัดแย้ง #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เหตุการณ์ในอดีต







    22 ปี จากจลาจลกัมพูชา สู่ปฏิบัติการโปเชนตง เบื้องหลังความขัดแย้ง ปฏิบัติการที่โลกต้องจดจำ ย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ไม่เพียงแต่สร้างความสูญเสีย ทางกายภาพ แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุจลาจลครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากบทความ ในหนังสือพิมพ์กัมพูชา"รัศมี อังกอร์" ที่พาดพิงถึงนักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" ว่าได้กล่าวหากัมพูชาเรื่องนครวัด จนนำไปสู่ความโกรธแค้น และความรุนแรง ที่ลุกลามไปถึงการเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ จากบทความหนังสือพิมพ์ สู่ความโกลาหล ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 หนังสือพิมพ์ "รัศมี อังกอร์" ของกัมพูชา ได้ตีพิทพ์เผยแพร่บทความ ที่กล่าวอ้างว่า นักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" พูดว่านครวัดเป็นของไทย และกัมพูชาเป็นฝ่ายที่ "ขโมย" นครวัดไป ข้อความนี้แพร่กระจาย ออกไปอย่างรวดเร็ว สร้างกระแสความโกรธเคือง ในหมู่ชาวกัมพูชา แม้ว่ากบ-สุวนันท์ จะออกมาปฏิเสธว่า เธอไม่เคยพูดเช่นนั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้ง กระแสความไม่พอใจได้ การตอบสนองของฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา "ฮุนเซ็น" ได้กล่าวสนับสนุนข้อความ ในบทความดังกล่าว โดยเปรียบเทียบว่า นักแสดงชาวไทยคนนี้ "ไม่มีค่าเทียบเท่าใบหญ้า ที่ขึ้นใกล้นครวัด" พร้อมทั้งสั่งให้สถานีโทรทัศน์กัมพูชา หยุดการเผยแพร่ละครไทยทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการปลุกระดม ให้ประชาชนกัมพูชา ระลึกถึงรากเหง้าของตนเอง ซึ่งยิ่งกระพือความไม่พอใจ ในวงกว้าง จากชุมนุมสู่เหตุการณ์จลาจล เริ่มต้นที่สถานทูตไทย เช้าวันที่ 29 มกราคม 2546 กลุ่มชาวกัมพูชาหลายร้อยคน เริ่มรวมตัวกัน ที่หน้าสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ การประท้วงเริ่มจาก การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาธงชาติไทย และป้ายของสถานทูต ก่อนที่จะบานปลายไปสู่ความรุนแรง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกเข้าไป ในบริเวณสถานทูต อพยพเจ้าหน้าที่สถานทูต เอกอัครราชทูตไทย ประจำกัมพูชาในขณะนั้น "ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ" ตัดสินใจสั่งการ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูต อพยพออกจากอาคาร โดยปีนรั้วด้านหลังของสถานทูต ไปยังแม่น้ำบาสัก และบางส่วนหลบหนีไปยังสถานทูตญี่ปุ่น ที่อยู่ติดกัน การตัดสินใจที่เด็ดขาดนี้ ช่วยรักษาชีวิตของทุกคน ไว้ได้อย่างปลอดภัย ทำลายสถานทูตไทย ในช่วงเวลาต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมได้เผา และปล้นสดมสถานทูตไทย รวมถึงทำลายทรัพย์สิ นของธุรกิจไทยในกรุงพนมเปญ เช่น โรงแรม สำนักงาน และร้านค้าต่าง ๆ เหตุการณ์นี้ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อมีข่าวลือว่า คนกัมพูชาถูกทำร้ายในประเทศไทย ซึ่งทำให้การจลาจลในพนมเปญ รุนแรงขึ้นไปอีก ปฏิบัติการโปเชนตง ความช่วยเหลือจากฟากฟ้า หลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจล รัฐบาลไทยภายใต้การนำ ของนายกรัฐมนตรี "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ได้ตัดสินใจเปิดปฏิบัติการ "โปเชนตง" เพื่ออพยพคนไทยออกจากกัมพูชา โดยใช้สนามบินเก่า "โปเชนตง" ในกรุงพนมเปญ เป็นจุดรับส่ง โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลกัมพูชา ที่เริ่มเปลี่ยนท่าที และยินยอมให้เครื่องบินทหารไทยเข้าประเทศ รายละเอียดของปฏิบัติการ วันที่ 30 มกราคม 2546 เวลา 05.15 น. เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130H และ G-222 พร้อมหน่วยรบพิเศษ ได้บินจากฐานทัพดอนเมือง ไปยังสนามบินโปเชนตง เพื่ออพยพคนไทยกว่า 700 คน การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการคุ้มกันอย่างเข้มงวด โดยสามารถนำคนไทย กลับมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด ในวันเดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เลวร้ายลงอย่างมาก ไทยตัดสินใจ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และปิดชายแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญ ของการสื่อสารระหว่างประเทศ และการป้องกันการปลุกระดม ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง การตอบสนองที่รวดเร็ว และเด็ดขาดของรัฐบาลไทยในครั้งนั้น ยังเป็นตัวอย่างของการจัดการวิกฤต ที่มีประสิทธิภาพ 22 ปี หลังเหตุการณ์จลาจลในพนมเปญ และปฏิบัติการโปเชนตง ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทยและกัมพูชา ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการจัดการวิกฤตระดับชาติ เหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึง ความสำคัญของความร่วมมือ ความเข้าใจ และการสื่อสารที่ถูกต้อง ระหว่างประชาชน และผู้นำของทั้งสองประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 290850 ม.ค. 2568 #จลาจลกัมพูชา #ปฏิบัติการโปเชนตง #ไทยกัมพูชา #สถานทูตไทย #ประวัติศาสตร์ไทย #การเมืองระหว่างประเทศ #บทเรียนความขัดแย้ง #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เหตุการณ์ในอดีต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 458 มุมมอง 0 รีวิว
  • อับบาส อาราฆชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ล้อเลียนข้อเสนอของประธานาธิบดีทรัมป์ในการย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากฉนวนกาซา โดยแนะนำให้ส่งชาวอิสราเอลไปยังกรีนแลนด์แทนจะดีกว่า
    อับบาส อาราฆชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ล้อเลียนข้อเสนอของประธานาธิบดีทรัมป์ในการย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากฉนวนกาซา โดยแนะนำให้ส่งชาวอิสราเอลไปยังกรีนแลนด์แทนจะดีกว่า
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 229 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสน หลั่งไหลกันเดินทางไปตามถนนสายหลัก เพื่อมุ่งหน้ากลับสู่ตอนเหนือของฉนวนกาซาแล้วเมื่อวันจันทร์ (27 ม.ค.) หลังจากกลุ่มฮามาสตกลงส่งมอบตัวประกันชาวอิสราเอลอีก 3 คนในช่วงต่อไปของสัปดาห์นี้ และกองทหารรัฐยิวก็เริ่มถอนกำลังออกจากการปิดกั้นช่องทางซึ่งสกัดไม่ให้ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ได้เดินทาง
    .
    ประชาชนจำนวนมากมาย บางคนอุ้มทารกเอาไว้ในอ้อมแขน หรือไม่แบกสมบัติข้าวของที่ยังเหลืออยู่เอาไว้บนบ่า มุ่งหน้าเดินเท้าขึ้นเหนือ ไปตามถนนสายที่ทอดยาวเลียบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    .
    “มันเหมือนกับฉันเกิดใหม่ขึ้นครั้ง และเราได้รับชัยชนะอีกครั้ง” เป็นคำกล่าวของ อุมม์ โมฮัมเหม็ด อาลี คุณแม่ชาวปาเลสไตน์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนซึ่งเดินตามกันไปอย่างช้าๆ เป็นแถวยาวเหยียดหลายกิโลเมตรบนถนนเลียบทะเลสายดังกล่าว
    .
    พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ชาวบ้านคนแรกเดินมาถึงเมืองกาซาซิตี้ในตอนเช้าตรู่ หลังจากจุดข้ามจากตอนใต้ของกาซา เปิดขึ้นเมื่อเวลา 7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเที่ยงวัน เวลาเมืองไทย) สำหรับจุดข้ามอีกจุดหนึ่งเปิดขึ้นในอีก 3 ชั่วโมงถัดมา โดยเป็นทางสำหรับยวดยานต่างๆ
    .
    “หัวใจผมกำลังเต้นแรง ผมคิดว่าผมจะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว” เป็นคำพูดของ โอซามา วัย 50 ปี ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและเป็นคุณพ่อของลูก 5 คน ขณะที่เขาเดินทางถึงกาซาซิตี้ “ไม่ว่าการหยุดยิงนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เราก็จะไม่ยอมออกจากกาซาซิตี้และทางตอนเหนือนี่อีกแล้ว ถึงแม้อิสราเอลจะส่งรถถังมาเล่นงานพวกเราแต่ละคนก็ตาม ไม่มีการพลัดถิ่นที่อยู่กันอีกแล้ว”
    .
    หลังจากถูกสั่งให้ออกจากที่พำนักชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลา 15 เดือนของสงครามครั้งนี้ ก็มีเสียงเชียร์เสียงโห่ร้องยินดีปะทุขึ้นจากที่พักพิงหลบภัยและเต็นท์ค่ายพักต่างๆ เมื่อครอบครัวชาวปาเลสไตน์ได้ยินข่าวที่ว่าจุดข้ามจะเปิดให้เดินทางผ่านแล้ว
    .
    “นอนไม่หลับเลย ฉันเก็บข้าวของทุกอย่างและพร้อมเดินทางตั้งแต่แสงตะวันแรกของวันแล้ว” เป็นคำกล่าวของ กอดา คุณแม่ลูก 5 “อย่างน้อยที่สุดเราก็กำลังจะกลับบ้าน ตอนนี้ฉันพูดได้แล้วว่าสงครามยุติแล้ว และฉันหวังว่ามันจะอยู่ในความสงบต่อไปอีก” เธอบอกกับรอยเตอร์ผ่านแอปแชต
    .
    ทั้งพวกเจ้าหน้าที่ฮามาสและชาวกาซาที่เป็นประชาชนธรรมดา ต่างปฏิเสธไม่เอาด้วยกับคำแนะนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้จอร์แดนและอียิปต์ รับชาวปาเลไสตน์จากดินแดนที่พินาศยับเยินจากสงครามแห่งนี้ อพยพเข้าไปพำนักอาศัยให้มากขึ้น มิหนำซ้ำยังเป็นการกระตุ้นความหวาดกลัวซึ่งมีมายาวนานของชาวปาเลสไตน์ที่ว่า พวกเขากำลังจะถูกผลักไสให้ออกจากบ้านของพวกเขาไปตลอดกาล
    .
    ตามเงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิงที่กระทำกันคราวนี้ ผู้ที่พำนักอาศัยในตอนเหนือกาซา จะได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ท่ผ่านมา ทว่าในวันอาทิตย์ (26 ) อิสราเอลขัดขวางเรื่องนี้ โดยกล่าวหาฮามาสละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลง
    .
    อย่างไรก็ดี ถึงตอนค่ำวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแถลงว่า สามารถตกลงกับฮามาสได้แล้ว โดยฮามาสจะปล่อย อาร์เบล เยฮุด ตัวประกันที่เป็นพลเรือนหญิงที่เดิมคาดว่า จะได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมกับตัวประกันอีก 3 คนในวันพฤหัสฯ (30) และปล่อยเพิ่มอีก 3 คนในวันเสาร์ (1 ก.พ.)
    .
    คำแถลงยังระบุว่า อิสราเอลจะอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์เดินทางได้ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ซึ่งฮามาสระบุว่าเป็น “ชัยชนะสำหรับชาวปาเลสไตน์ และสัญญาณความล้มเหลวของแผนการยึดครองและบังคับย้ายถิ่นฐาน”
    .
    สำหรับคำแนะนำของทรัมป์นั้น อยู่ในลักษณะของการที่เขาเสนอไอเดียกับพวกผู้สื่อข่าวระหว่างเดินทางบนเครื่องบินประจำตำแหน่งแอร์ฟอร์ซ วัน เมื่อวันเสาร์ (25) ว่า จอร์แดนและอียิปต์ ควรอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ราว 2.4 ล้านคนจากกาซาที่พังพินาศจากสงครามที่ทำให้ประชาชนนับหมื่นเสียชีวิตและนำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมเลวร้าย
    .
    ประมุขทำเนียบขาวเสริมว่า จะดึงชาติอาหรับบางชาติเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างที่พักอาศัยเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ก่อนสำทับว่า แนวทางนี้อาจเป็นได้ทั้งแนวทางชั่วคราวหรือถาวร
    .
    ปัจจุบัน จอร์แดนรองรับชาวปาเลสไตน์หลายล้านคนอยู่แล้ว ขณะที่มีชาวปาเลสไตน์อีกหลายหมื่นคนอาศัยอยู่ในอียิปต์ อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศรวมถึงชาติอาหรับอื่นๆ ต่างปฏิเสธแนวคิดในการย้ายชาวปาเลสไตน์จากฉนวนกาซาไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ก็ต้องการให้กาซาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต
    .
    ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ก็แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ทางด้าน เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังอิสราเอลที่สังกัดพรรคขวาจัด บอกว่า “การคิดนอกกรอบ” เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้จริง และกล่าวยกย่องข้อเสนอของทรัมป์เป็น “ไอเดียเยี่ยมยอด” ซึ่งจะทำให้ชาวปาเลสไตน์มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นในประเทศอื่น พร้อมเสริมว่า จะวางแผนเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอนี้
    .
    สำหรับ ฟรานเชสกา อัลบานีส ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นการคิดนอกกรอบ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหนก็ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และไร้ความรับผิดชอบ
    .
    บาเซม นาอิม สมาชิกกลุ่มการเมืองของฮามาส ยืนกรานว่า ชาวปาเลสไตน์ไม่มีวันยอมรับข้อเสนอของทรัมป์ที่ดูเหมือนเจตนาดีภายใต้ข้ออ้างในการฟื้นฟูกาซา ขณะที่ซามี อาบู ซูฮ์รี เจ้าหน้าที่อีกคน เรียกร้องทรัมป์ไม่ให้เสนอไอเดียผิดพลาดแบบที่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยพยายามมาก่อน
    .
    สันนิบาตอาหรับคัดค้านไอเดียของทรัมป์เช่นเดียวกัน โดยเตือนว่า ความพยายามบังคับให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกจากถิ่นฐานเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์
    .
    อัยมาน ซาฟาดี รัฐมนตรีต่างประเทศจอร์แดน รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ ยืนยันจุดยืนในการต่อต้านการอพยพชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไม่ว่าระยะยาวหรือระยะสั้น
    .
    ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสของปาเลสไตน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ประณามไอเดียของทรัมป์ และประกาศว่า ชาวปาเลสไตน์จะไม่ยอมทิ้งบ้านเกิดอย่างแน่นอน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008688
    ..............
    Sondhi X
    ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสน หลั่งไหลกันเดินทางไปตามถนนสายหลัก เพื่อมุ่งหน้ากลับสู่ตอนเหนือของฉนวนกาซาแล้วเมื่อวันจันทร์ (27 ม.ค.) หลังจากกลุ่มฮามาสตกลงส่งมอบตัวประกันชาวอิสราเอลอีก 3 คนในช่วงต่อไปของสัปดาห์นี้ และกองทหารรัฐยิวก็เริ่มถอนกำลังออกจากการปิดกั้นช่องทางซึ่งสกัดไม่ให้ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ได้เดินทาง . ประชาชนจำนวนมากมาย บางคนอุ้มทารกเอาไว้ในอ้อมแขน หรือไม่แบกสมบัติข้าวของที่ยังเหลืออยู่เอาไว้บนบ่า มุ่งหน้าเดินเท้าขึ้นเหนือ ไปตามถนนสายที่ทอดยาวเลียบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน . “มันเหมือนกับฉันเกิดใหม่ขึ้นครั้ง และเราได้รับชัยชนะอีกครั้ง” เป็นคำกล่าวของ อุมม์ โมฮัมเหม็ด อาลี คุณแม่ชาวปาเลสไตน์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนซึ่งเดินตามกันไปอย่างช้าๆ เป็นแถวยาวเหยียดหลายกิโลเมตรบนถนนเลียบทะเลสายดังกล่าว . พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ชาวบ้านคนแรกเดินมาถึงเมืองกาซาซิตี้ในตอนเช้าตรู่ หลังจากจุดข้ามจากตอนใต้ของกาซา เปิดขึ้นเมื่อเวลา 7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเที่ยงวัน เวลาเมืองไทย) สำหรับจุดข้ามอีกจุดหนึ่งเปิดขึ้นในอีก 3 ชั่วโมงถัดมา โดยเป็นทางสำหรับยวดยานต่างๆ . “หัวใจผมกำลังเต้นแรง ผมคิดว่าผมจะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว” เป็นคำพูดของ โอซามา วัย 50 ปี ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและเป็นคุณพ่อของลูก 5 คน ขณะที่เขาเดินทางถึงกาซาซิตี้ “ไม่ว่าการหยุดยิงนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เราก็จะไม่ยอมออกจากกาซาซิตี้และทางตอนเหนือนี่อีกแล้ว ถึงแม้อิสราเอลจะส่งรถถังมาเล่นงานพวกเราแต่ละคนก็ตาม ไม่มีการพลัดถิ่นที่อยู่กันอีกแล้ว” . หลังจากถูกสั่งให้ออกจากที่พำนักชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลา 15 เดือนของสงครามครั้งนี้ ก็มีเสียงเชียร์เสียงโห่ร้องยินดีปะทุขึ้นจากที่พักพิงหลบภัยและเต็นท์ค่ายพักต่างๆ เมื่อครอบครัวชาวปาเลสไตน์ได้ยินข่าวที่ว่าจุดข้ามจะเปิดให้เดินทางผ่านแล้ว . “นอนไม่หลับเลย ฉันเก็บข้าวของทุกอย่างและพร้อมเดินทางตั้งแต่แสงตะวันแรกของวันแล้ว” เป็นคำกล่าวของ กอดา คุณแม่ลูก 5 “อย่างน้อยที่สุดเราก็กำลังจะกลับบ้าน ตอนนี้ฉันพูดได้แล้วว่าสงครามยุติแล้ว และฉันหวังว่ามันจะอยู่ในความสงบต่อไปอีก” เธอบอกกับรอยเตอร์ผ่านแอปแชต . ทั้งพวกเจ้าหน้าที่ฮามาสและชาวกาซาที่เป็นประชาชนธรรมดา ต่างปฏิเสธไม่เอาด้วยกับคำแนะนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้จอร์แดนและอียิปต์ รับชาวปาเลไสตน์จากดินแดนที่พินาศยับเยินจากสงครามแห่งนี้ อพยพเข้าไปพำนักอาศัยให้มากขึ้น มิหนำซ้ำยังเป็นการกระตุ้นความหวาดกลัวซึ่งมีมายาวนานของชาวปาเลสไตน์ที่ว่า พวกเขากำลังจะถูกผลักไสให้ออกจากบ้านของพวกเขาไปตลอดกาล . ตามเงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิงที่กระทำกันคราวนี้ ผู้ที่พำนักอาศัยในตอนเหนือกาซา จะได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ท่ผ่านมา ทว่าในวันอาทิตย์ (26 ) อิสราเอลขัดขวางเรื่องนี้ โดยกล่าวหาฮามาสละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลง . อย่างไรก็ดี ถึงตอนค่ำวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแถลงว่า สามารถตกลงกับฮามาสได้แล้ว โดยฮามาสจะปล่อย อาร์เบล เยฮุด ตัวประกันที่เป็นพลเรือนหญิงที่เดิมคาดว่า จะได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมกับตัวประกันอีก 3 คนในวันพฤหัสฯ (30) และปล่อยเพิ่มอีก 3 คนในวันเสาร์ (1 ก.พ.) . คำแถลงยังระบุว่า อิสราเอลจะอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์เดินทางได้ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ซึ่งฮามาสระบุว่าเป็น “ชัยชนะสำหรับชาวปาเลสไตน์ และสัญญาณความล้มเหลวของแผนการยึดครองและบังคับย้ายถิ่นฐาน” . สำหรับคำแนะนำของทรัมป์นั้น อยู่ในลักษณะของการที่เขาเสนอไอเดียกับพวกผู้สื่อข่าวระหว่างเดินทางบนเครื่องบินประจำตำแหน่งแอร์ฟอร์ซ วัน เมื่อวันเสาร์ (25) ว่า จอร์แดนและอียิปต์ ควรอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ราว 2.4 ล้านคนจากกาซาที่พังพินาศจากสงครามที่ทำให้ประชาชนนับหมื่นเสียชีวิตและนำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมเลวร้าย . ประมุขทำเนียบขาวเสริมว่า จะดึงชาติอาหรับบางชาติเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างที่พักอาศัยเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ก่อนสำทับว่า แนวทางนี้อาจเป็นได้ทั้งแนวทางชั่วคราวหรือถาวร . ปัจจุบัน จอร์แดนรองรับชาวปาเลสไตน์หลายล้านคนอยู่แล้ว ขณะที่มีชาวปาเลสไตน์อีกหลายหมื่นคนอาศัยอยู่ในอียิปต์ อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศรวมถึงชาติอาหรับอื่นๆ ต่างปฏิเสธแนวคิดในการย้ายชาวปาเลสไตน์จากฉนวนกาซาไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ก็ต้องการให้กาซาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต . ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ก็แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ทางด้าน เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังอิสราเอลที่สังกัดพรรคขวาจัด บอกว่า “การคิดนอกกรอบ” เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้จริง และกล่าวยกย่องข้อเสนอของทรัมป์เป็น “ไอเดียเยี่ยมยอด” ซึ่งจะทำให้ชาวปาเลสไตน์มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นในประเทศอื่น พร้อมเสริมว่า จะวางแผนเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอนี้ . สำหรับ ฟรานเชสกา อัลบานีส ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นการคิดนอกกรอบ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหนก็ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และไร้ความรับผิดชอบ . บาเซม นาอิม สมาชิกกลุ่มการเมืองของฮามาส ยืนกรานว่า ชาวปาเลสไตน์ไม่มีวันยอมรับข้อเสนอของทรัมป์ที่ดูเหมือนเจตนาดีภายใต้ข้ออ้างในการฟื้นฟูกาซา ขณะที่ซามี อาบู ซูฮ์รี เจ้าหน้าที่อีกคน เรียกร้องทรัมป์ไม่ให้เสนอไอเดียผิดพลาดแบบที่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยพยายามมาก่อน . สันนิบาตอาหรับคัดค้านไอเดียของทรัมป์เช่นเดียวกัน โดยเตือนว่า ความพยายามบังคับให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกจากถิ่นฐานเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ . อัยมาน ซาฟาดี รัฐมนตรีต่างประเทศจอร์แดน รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ ยืนยันจุดยืนในการต่อต้านการอพยพชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไม่ว่าระยะยาวหรือระยะสั้น . ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสของปาเลสไตน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ประณามไอเดียของทรัมป์ และประกาศว่า ชาวปาเลสไตน์จะไม่ยอมทิ้งบ้านเกิดอย่างแน่นอน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008688 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1190 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้เวลา 13.00 น. มีการประชุมผู้จัดการทีม นักกีฬา และผู้ตัดสิน โดยท่านผู้แทนสมาคมฯ นายอรรคพล กุลประดิษฐ์ ได้ต้อนรับเจ้าหน้าที่ นักกีฬา และผู้ตัดสินที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ประเภทวีลแชร์ ณ อาคารอเนกประสงค์ ได้ทราบข้อกำหนดและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งคอบข้อสงสัย จากนั้นวิทยากรสมาคมฯ ได้ทำความเข้าต่างในกฎกติกาประเภท 3x3 และ 5x5 เพื่อให้นำไปปฎิบัติได้ถูกต้อง คงความยุติธรรม เริ่มการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 26-31 มกราคม 2568 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลางจันทบุรี
    วันนี้เวลา 13.00 น. มีการประชุมผู้จัดการทีม นักกีฬา และผู้ตัดสิน โดยท่านผู้แทนสมาคมฯ นายอรรคพล กุลประดิษฐ์ ได้ต้อนรับเจ้าหน้าที่ นักกีฬา และผู้ตัดสินที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ประเภทวีลแชร์ ณ อาคารอเนกประสงค์ ได้ทราบข้อกำหนดและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งคอบข้อสงสัย จากนั้นวิทยากรสมาคมฯ ได้ทำความเข้าต่างในกฎกติกาประเภท 3x3 และ 5x5 เพื่อให้นำไปปฎิบัติได้ถูกต้อง คงความยุติธรรม เริ่มการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 26-31 มกราคม 2568 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลางจันทบุรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 211 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความรักในสังสารวัฏ

    ในวัฏสงสาร ความรักเป็นเพียงสิ่งลวงที่ดูเหมือนจะให้ความอบอุ่น แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของ อนิจจัง และ ทุกขัง เพราะไม่ว่าจะสมหวังหรือผิดหวัง ความรักก็มักนำมาซึ่งความยึดมั่น และความยึดมั่นนี้เองที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์

    แม้รักแท้ดูเหมือนมั่นคง แต่สุดท้ายก็ต้องพลัดพราก ไม่ว่าจะด้วยความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือความตาย


    ---

    อริยสัจ 4 เบื้องต้น ผ่านอาการ "อกหัก"

    1. ทุกข์
    ทุกข์เกิดขึ้นเพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือการไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา
    ทุกข์ในอาการอกหัก คือ ความเศร้า ความว้าเหว่ และการถวิลหาความรักที่จากไป


    2. สมุทัย
    เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา (ความทะยานอยาก)
    เราอยากให้คนรักอยู่กับเรา อยากให้เขาทำให้เรามีความสุข อยากให้ความสัมพันธ์เป็นไปตามที่เราคาดหวัง


    3. นิโรธ
    ความดับทุกข์เกิดจากการปล่อยวาง ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง
    เมื่อเรามองเห็นทุกข์และสาเหตุอย่างแจ่มชัด เราจะค่อยๆ คลายความยึดติด และพบกับความสงบในใจ


    4. มรรค
    ทางสู่ความดับทุกข์ คือการเจริญ สติ และ สมาธิ

    พิจารณาอารมณ์และความคิดของตนเอง

    ฝึกสังเกตอาการยึดมั่นและปล่อยวาง

    ใช้ปัญญาเห็นว่า ความรักและความทุกข์ทั้งปวงเป็นของชั่วคราว





    ---

    วิธีเจริญสติ เพื่อปล่อยวางความรักที่พลัดพราก

    1. ดูใจตนเอง
    เมื่อเกิดความเศร้า ให้พิจารณาว่าอารมณ์นั้นเป็นเพียง สภาวะของจิต ที่เกิดขึ้นชั่วคราว แล้วมันจะผ่านไป


    2. เห็นอารมณ์ตามจริง
    มองว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ความคิดถึงหรือความเศร้า เป็นเพียง "ปรากฏการณ์" ที่จิตปรุงแต่งขึ้น


    3. พิจารณาอนิจจัง
    ความรักที่เคยทำให้สุขใจ สุดท้ายก็กลายเป็นทุกข์ได้ เพราะทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง


    4. ฝึกปล่อยวาง

    ยอมรับว่า คนรักที่จากไป ไม่ได้เป็นของเรา

    เห็นว่าความยึดติดนั้นนำมาซึ่งความทุกข์





    ---

    จากความรัก สู่ความวิเวกอันสงบ

    เมื่อเราสามารถปล่อยวางความรักหรือความยึดมั่นได้ จิตใจจะเริ่มรู้สึกเบาสบาย และสงบเย็น นี่คือความสุขที่แท้จริง ความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพาใครหรือสิ่งใด

    จงฝึกเห็นความรักในฐานะธรรมชาติที่เกิดขึ้นและดับไป
    จงปลื้มใจในความวิเวก และค้นพบอิสรภาพทางใจแทน

    "เมื่อเราไม่ยึดติดในความรัก เราจะมอบความรักที่แท้จริงให้แก่ตนเองได้"

    ความรักในสังสารวัฏ ในวัฏสงสาร ความรักเป็นเพียงสิ่งลวงที่ดูเหมือนจะให้ความอบอุ่น แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของ อนิจจัง และ ทุกขัง เพราะไม่ว่าจะสมหวังหรือผิดหวัง ความรักก็มักนำมาซึ่งความยึดมั่น และความยึดมั่นนี้เองที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ แม้รักแท้ดูเหมือนมั่นคง แต่สุดท้ายก็ต้องพลัดพราก ไม่ว่าจะด้วยความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือความตาย --- อริยสัจ 4 เบื้องต้น ผ่านอาการ "อกหัก" 1. ทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นเพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือการไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ทุกข์ในอาการอกหัก คือ ความเศร้า ความว้าเหว่ และการถวิลหาความรักที่จากไป 2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา (ความทะยานอยาก) เราอยากให้คนรักอยู่กับเรา อยากให้เขาทำให้เรามีความสุข อยากให้ความสัมพันธ์เป็นไปตามที่เราคาดหวัง 3. นิโรธ ความดับทุกข์เกิดจากการปล่อยวาง ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง เมื่อเรามองเห็นทุกข์และสาเหตุอย่างแจ่มชัด เราจะค่อยๆ คลายความยึดติด และพบกับความสงบในใจ 4. มรรค ทางสู่ความดับทุกข์ คือการเจริญ สติ และ สมาธิ พิจารณาอารมณ์และความคิดของตนเอง ฝึกสังเกตอาการยึดมั่นและปล่อยวาง ใช้ปัญญาเห็นว่า ความรักและความทุกข์ทั้งปวงเป็นของชั่วคราว --- วิธีเจริญสติ เพื่อปล่อยวางความรักที่พลัดพราก 1. ดูใจตนเอง เมื่อเกิดความเศร้า ให้พิจารณาว่าอารมณ์นั้นเป็นเพียง สภาวะของจิต ที่เกิดขึ้นชั่วคราว แล้วมันจะผ่านไป 2. เห็นอารมณ์ตามจริง มองว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ความคิดถึงหรือความเศร้า เป็นเพียง "ปรากฏการณ์" ที่จิตปรุงแต่งขึ้น 3. พิจารณาอนิจจัง ความรักที่เคยทำให้สุขใจ สุดท้ายก็กลายเป็นทุกข์ได้ เพราะทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง 4. ฝึกปล่อยวาง ยอมรับว่า คนรักที่จากไป ไม่ได้เป็นของเรา เห็นว่าความยึดติดนั้นนำมาซึ่งความทุกข์ --- จากความรัก สู่ความวิเวกอันสงบ เมื่อเราสามารถปล่อยวางความรักหรือความยึดมั่นได้ จิตใจจะเริ่มรู้สึกเบาสบาย และสงบเย็น นี่คือความสุขที่แท้จริง ความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพาใครหรือสิ่งใด จงฝึกเห็นความรักในฐานะธรรมชาติที่เกิดขึ้นและดับไป จงปลื้มใจในความวิเวก และค้นพบอิสรภาพทางใจแทน "เมื่อเราไม่ยึดติดในความรัก เราจะมอบความรักที่แท้จริงให้แก่ตนเองได้"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 226 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกีเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องปฏิเสธข้อตกลงอิสตันบูล หลังการเจรจาสันติภาพกับรัสเซียในช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง เนื่องจากปูตินพยายามแทนที่เขาด้วยวิกเตอร์ เมดเวดชุก (Viktor Medvedchuk)

    ▪️รัสเซียเรียกร้องให้เซเลนสกีลาออก และให้วิกเตอร์ เมดเวดชุกเข้ารับตำแหน่งแทน

    ▪️ยูเครนต้องยอมรับดอนบาสทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย ยอมรับภาษาของรัสเซีย และปก้ไขรัฐธรรมนูญของยูเครนเพื่อกำหนดสถานะยูเครนให้เป็นกลางทางทหาร

    ▪️สหพันธรัฐรัสเซียยังเรียกร้องให้ลดจำนวนกองทัพยูเครนเหลือ 50,000 นาย รวมถึงการทำลายหรือโอนย้ายอาวุธทั้งหมดออกจากแนวหน้ารัสเซียในระยะ 20 กม.

    ▪️ช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง หน่วยงานความมั่นคงของยูเครนสามารถจับกุม วิกเตอร์ เมดเวดชุก ได้ เขาเป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่ต่อต้านเซเลนสกี และมีความสนิทสนมกับวลาดิเมียร์ ปูติน

    ▪️ต่อมา เมดเวดชุก เป็นหนึ่งในนักโทษที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเชลยสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะนี้เขาพักอาศัยอยู่ในรัสเซีย
    เซเลนสกีเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องปฏิเสธข้อตกลงอิสตันบูล หลังการเจรจาสันติภาพกับรัสเซียในช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง เนื่องจากปูตินพยายามแทนที่เขาด้วยวิกเตอร์ เมดเวดชุก (Viktor Medvedchuk) ▪️รัสเซียเรียกร้องให้เซเลนสกีลาออก และให้วิกเตอร์ เมดเวดชุกเข้ารับตำแหน่งแทน ▪️ยูเครนต้องยอมรับดอนบาสทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย ยอมรับภาษาของรัสเซีย และปก้ไขรัฐธรรมนูญของยูเครนเพื่อกำหนดสถานะยูเครนให้เป็นกลางทางทหาร ▪️สหพันธรัฐรัสเซียยังเรียกร้องให้ลดจำนวนกองทัพยูเครนเหลือ 50,000 นาย รวมถึงการทำลายหรือโอนย้ายอาวุธทั้งหมดออกจากแนวหน้ารัสเซียในระยะ 20 กม. ▪️ช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง หน่วยงานความมั่นคงของยูเครนสามารถจับกุม วิกเตอร์ เมดเวดชุก ได้ เขาเป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่ต่อต้านเซเลนสกี และมีความสนิทสนมกับวลาดิเมียร์ ปูติน ▪️ต่อมา เมดเวดชุก เป็นหนึ่งในนักโทษที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเชลยสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะนี้เขาพักอาศัยอยู่ในรัสเซีย
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 0 รีวิว
  • คำถามนี้ชี้ให้เห็นว่า การแผ่เมตตาอย่างแท้จริงต้องเริ่มต้นจากใจที่สงบและเป็นสุขก่อน และไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นสุขหรือเมตตาได้ทันทีหากยังมีโทสะหรือความเกลียดชังตกค้างอยู่ในใจ คุณอาจลองพิจารณาและปรับกระบวนการแผ่เมตตาให้ถูกต้องดังนี้:


    ---

    1. เริ่มต้นจากการ "รู้ตัวเอง"

    ก่อนจะแผ่เมตตา ให้ถามตัวเองก่อนว่า ใจเราสงบและเป็นสุขหรือยัง?

    หากใจยังร้อน ยังโกรธ หรือยังมีความไม่พอใจอยู่ อย่าเพิ่งพยายามแผ่เมตตา เพราะนั่นอาจกลายเป็นการ "แผ่ความร้อน" หรือ "แผ่ความทุกข์" ออกไปโดยไม่รู้ตัว


    แทนที่จะแผ่เมตตา ให้เริ่มด้วยการพิจารณา ความรู้สึกของตัวเอง ก่อน เช่น:

    ทำไมเราถึงโกรธหรือเกลียด?

    เรารู้สึกอย่างไรเมื่อโกรธ? ทุกข์ไหม?

    เมื่อเข้าใจว่าความโกรธทำให้เราทุกข์ เราจะเริ่มมีแรงจูงใจที่จะ "ปล่อยวาง" ความโกรธนั้น




    ---

    2. สร้างสุขในใจเป็นพื้นฐาน

    ก่อนแผ่เมตตา ให้ทำจิตใจตัวเองให้สงบและเป็นสุขด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น:

    การนั่งสมาธิและกำหนดลมหายใจเข้า-ออก

    การนึกถึงสิ่งดีๆ หรือคนที่เรารักและทำให้เรารู้สึกอบอุ่นใจ

    การระลึกถึงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพื่อให้ใจสงบและมั่นคง


    เมื่อจิตใจเริ่มสงบและเป็นสุข คุณจะรู้สึก "พร้อมที่จะแผ่เมตตา" อย่างแท้จริง



    ---

    3. การแผ่เมตตาอย่างถูกต้อง

    การแผ่เมตตาเริ่มต้นจาก การส่งความสุขในใจออกไป ให้แก่ผู้อื่น ไม่ใช่เพียงการท่องบทสวดมนต์แบบกลไก

    หากยังมีความรู้สึกเกลียดชังอยู่ การแผ่เมตตาแบบเจาะจง (เช่น แผ่ให้คนที่เราเกลียด) อาจทำได้ยาก แนะนำให้เริ่มจาก:

    1. แผ่เมตตาให้ตัวเองก่อน:

    อธิษฐานขอให้ตัวเองมีความสุข ปราศจากทุกข์ และหลุดพ้นจากความโกรธ



    2. แผ่เมตตาให้คนที่เรารัก:

    นึกถึงคนที่เรารักและรู้สึกดีด้วย เช่น ครอบครัวหรือเพื่อนสนิท แล้วส่งความปรารถนาดีให้พวกเขา



    3. แผ่เมตตาให้คนที่เราเกลียดเป็นลำดับสุดท้าย:

    เมื่อใจเริ่มสงบและเบาลง ค่อยลองแผ่เมตตาให้คนที่เรามีปัญหาด้วย โดยไม่ต้องบังคับใจตัวเอง






    ---

    4. ฝึก "ปล่อยวาง" แทนการบังคับให้เมตตา

    หากยังแผ่เมตตาไม่ได้ ให้เริ่มด้วยการ "ไม่ยึดติด" กับความเกลียดก่อน

    แค่รู้ว่าเรายังเกลียดเขาอยู่ก็พอ ไม่ต้องพยายามบังคับตัวเองให้เมตตา

    ค่อยๆ ฝึกปล่อยวางความคิดลบ และบอกตัวเองว่า "การเกลียดเขาไม่ได้ทำให้เราเป็นสุข"




    ---

    5. สังเกตผลของการแผ่เมตตา

    การแผ่เมตตาที่ถูกต้องจะทำให้ ใจเราสงบและเบาสบายขึ้น

    หากแผ่เมตตาแล้วรู้สึกหนักใจหรือเกลียดมากขึ้น นั่นอาจเป็นเพราะใจเรายังไม่พร้อม ให้กลับมาสงบจิตใจตัวเองก่อน


    เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ความโกรธหรือเกลียดที่มีต่อคนอื่นจะค่อยๆ ลดลงเอง โดยไม่ต้องเร่งรัด



    ---

    สรุป: แผ่เมตตาอย่างมีสุขเป็นทุน

    การแผ่เมตตาเริ่มต้นจาก การสร้างสุขในใจตัวเอง

    อย่าฝืนแผ่เมตตาให้คนที่เราเกลียดในทันที แต่ให้เริ่มจากการทำใจสงบ และแผ่เมตตาให้ตัวเองก่อน

    เมื่อทำบ่อยๆ ใจจะเริ่มปล่อยวางและรู้สึกเมตตาต่อผู้อื่นได้เองตามธรรมชาติ.


    คำถามนี้ชี้ให้เห็นว่า การแผ่เมตตาอย่างแท้จริงต้องเริ่มต้นจากใจที่สงบและเป็นสุขก่อน และไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นสุขหรือเมตตาได้ทันทีหากยังมีโทสะหรือความเกลียดชังตกค้างอยู่ในใจ คุณอาจลองพิจารณาและปรับกระบวนการแผ่เมตตาให้ถูกต้องดังนี้: --- 1. เริ่มต้นจากการ "รู้ตัวเอง" ก่อนจะแผ่เมตตา ให้ถามตัวเองก่อนว่า ใจเราสงบและเป็นสุขหรือยัง? หากใจยังร้อน ยังโกรธ หรือยังมีความไม่พอใจอยู่ อย่าเพิ่งพยายามแผ่เมตตา เพราะนั่นอาจกลายเป็นการ "แผ่ความร้อน" หรือ "แผ่ความทุกข์" ออกไปโดยไม่รู้ตัว แทนที่จะแผ่เมตตา ให้เริ่มด้วยการพิจารณา ความรู้สึกของตัวเอง ก่อน เช่น: ทำไมเราถึงโกรธหรือเกลียด? เรารู้สึกอย่างไรเมื่อโกรธ? ทุกข์ไหม? เมื่อเข้าใจว่าความโกรธทำให้เราทุกข์ เราจะเริ่มมีแรงจูงใจที่จะ "ปล่อยวาง" ความโกรธนั้น --- 2. สร้างสุขในใจเป็นพื้นฐาน ก่อนแผ่เมตตา ให้ทำจิตใจตัวเองให้สงบและเป็นสุขด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น: การนั่งสมาธิและกำหนดลมหายใจเข้า-ออก การนึกถึงสิ่งดีๆ หรือคนที่เรารักและทำให้เรารู้สึกอบอุ่นใจ การระลึกถึงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพื่อให้ใจสงบและมั่นคง เมื่อจิตใจเริ่มสงบและเป็นสุข คุณจะรู้สึก "พร้อมที่จะแผ่เมตตา" อย่างแท้จริง --- 3. การแผ่เมตตาอย่างถูกต้อง การแผ่เมตตาเริ่มต้นจาก การส่งความสุขในใจออกไป ให้แก่ผู้อื่น ไม่ใช่เพียงการท่องบทสวดมนต์แบบกลไก หากยังมีความรู้สึกเกลียดชังอยู่ การแผ่เมตตาแบบเจาะจง (เช่น แผ่ให้คนที่เราเกลียด) อาจทำได้ยาก แนะนำให้เริ่มจาก: 1. แผ่เมตตาให้ตัวเองก่อน: อธิษฐานขอให้ตัวเองมีความสุข ปราศจากทุกข์ และหลุดพ้นจากความโกรธ 2. แผ่เมตตาให้คนที่เรารัก: นึกถึงคนที่เรารักและรู้สึกดีด้วย เช่น ครอบครัวหรือเพื่อนสนิท แล้วส่งความปรารถนาดีให้พวกเขา 3. แผ่เมตตาให้คนที่เราเกลียดเป็นลำดับสุดท้าย: เมื่อใจเริ่มสงบและเบาลง ค่อยลองแผ่เมตตาให้คนที่เรามีปัญหาด้วย โดยไม่ต้องบังคับใจตัวเอง --- 4. ฝึก "ปล่อยวาง" แทนการบังคับให้เมตตา หากยังแผ่เมตตาไม่ได้ ให้เริ่มด้วยการ "ไม่ยึดติด" กับความเกลียดก่อน แค่รู้ว่าเรายังเกลียดเขาอยู่ก็พอ ไม่ต้องพยายามบังคับตัวเองให้เมตตา ค่อยๆ ฝึกปล่อยวางความคิดลบ และบอกตัวเองว่า "การเกลียดเขาไม่ได้ทำให้เราเป็นสุข" --- 5. สังเกตผลของการแผ่เมตตา การแผ่เมตตาที่ถูกต้องจะทำให้ ใจเราสงบและเบาสบายขึ้น หากแผ่เมตตาแล้วรู้สึกหนักใจหรือเกลียดมากขึ้น นั่นอาจเป็นเพราะใจเรายังไม่พร้อม ให้กลับมาสงบจิตใจตัวเองก่อน เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ความโกรธหรือเกลียดที่มีต่อคนอื่นจะค่อยๆ ลดลงเอง โดยไม่ต้องเร่งรัด --- สรุป: แผ่เมตตาอย่างมีสุขเป็นทุน การแผ่เมตตาเริ่มต้นจาก การสร้างสุขในใจตัวเอง อย่าฝืนแผ่เมตตาให้คนที่เราเกลียดในทันที แต่ให้เริ่มจากการทำใจสงบ และแผ่เมตตาให้ตัวเองก่อน เมื่อทำบ่อยๆ ใจจะเริ่มปล่อยวางและรู้สึกเมตตาต่อผู้อื่นได้เองตามธรรมชาติ.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 207 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตารางการแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 5x5 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 28-31 มค 68 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลาง จ.จันทบุรี
    ตารางการแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 5x5 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 28-31 มค 68 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลาง จ.จันทบุรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 189 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตารางการแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 26-27 มค 68 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลาง จ.จันทบุรี
    ตารางการแข่งขัน Wheelchairs Basketball ประเภท 3x3 ในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 26-27 มค 68 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลาง จ.จันทบุรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 197 มุมมอง 0 รีวิว
  • Wheelchairs Basketball มีกำหนดแข่งขันในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี แบ่งเป็นประเภท 5x5 และ 3x3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 26-31 มค 68 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลาง จ.จันทบุรี
    Wheelchairs Basketball มีกำหนดแข่งขันในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 อัญมณีเกมส์ จ.จันทบุรี แบ่งเป็นประเภท 5x5 และ 3x3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 26-31 มค 68 ณ โรงยิมบาสเกตบอล สนามกีฬากลาง จ.จันทบุรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • 232 ปี กิโยตินสำเร็จโทษ “พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส” ผิดข้อหาหนัก สมคบประทุษร้าย ต่อเสรีภาพปวงชน และความมั่นคงแห่งรัฐ

    เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หรือ 232 ปี ที่ผ่านมา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ถูกสำเร็จโทษด้วยเครื่องกิโยติน ณ ปลัสเดอลาเรวอลูซียง (Place de la Révolution) ใจกลางกรุงปารีส พระองค์ถูกตัดสินโทษ ในข้อหาสมคบคิด ต่อต้านเสรีภาพของประชาชน และบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐ เหตุการณ์นี้เป็นจุดพลิกผันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ซึ่งสะท้อนถึงความวุ่นวาย ทางการเมืองและสังคม ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ยิ่งใหญ่

    พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2317 ต่อจากพระอัยกา พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ในช่วงเวลานั้น ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับ ปัญหาทางเศรษฐกิจ และความไม่เท่าเทียมทางสังคม ระบบศักดินาที่ให้สิทธิพิเศษ แก่ชนชั้นสูงและศาสนจักร ทำให้ชนชั้นกลาง และประชาชนทั่วไป ตกอยู่ในภาวะกดดันอย่างหนัก ในขณะเดียวกัน หนี้สินมหาศาล ที่เกิดจากสงคราม และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของราชวงศ์ ยิ่งซ้ำเติมความยากลำบาก ของประชาชน

    พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับปัญหาของประเทศ
    พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความตั้งใจที่จะแก้ไข ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ทรงสนับสนุนการปฏิรูปบางอย่าง เช่น การยกเลิกภาษีบางประเภท สำหรับชนชั้นล่าง และการลดอำนาจของศาสนจักร แต่แผนการปฏิรูปดังกล่าว กลับถูกคัดค้านโดยชนชั้นสูง และชนชั้นอภิสิทธิ์ชน ซึ่งมีอิทธิพล ในสภาฐานันดร (Estates-General)

    เมื่อการปฏิรูปล้มเหลว ประชาชนเริ่มรวมตัวกัน และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ที่รุนแรงมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2332 เหตุการณ์บุกยึดคุกบาสตีย์ (Storming of the Bastille) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้ปะทุขึ้น และจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติทั่วประเทศ

    การสูญเสียอำนาจของราชวงศ์
    หลังจากการปฏิวัติเริ่มต้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) ถูกลดทอนอำนาจลงอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2334 ฝรั่งเศสประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่จำกัดอำนาจของกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบในประเทศ ยังคงดำเนินต่อไป และมีการต่อต้านจากฝ่ายกษัตริย์นิยม และชาติยุโรปอื่น ๆ ที่สนับสนุนราชวงศ์

    ความพยายามหลบหนีที่ล้มเหลว
    ในปี พ.ศ. 2334 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพยายามหลบหนีออกจากกรุงปารีส เพื่อไปรวมตัวกับ กองกำลังฝ่ายกษัตริย์นิยม ใกล้ชายแดนออสเตรีย แต่แผนการดังกล่าวล้มเหลว เมื่อพระองค์ถูกจับกุมที่เมืองวาแรน (Varennes) และถูกนำกลับมายังกรุงปารีส เหตุการณ์นี้ ยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้วางใจของประชาชน ที่มีต่อพระองค์ และทำให้กระแสต่อต้านราชวงศ์ เพิ่มมากขึ้น

    คำตัดสินประหารชีวิต
    ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2335 สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส (National Assembly) ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ และสถาปนาฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกจับกุมและตั้งข้อหา กบฏต่อชาติ และสมคบคิดกับชาวต่างชาติ โดยหลักฐานสำคัญคือ เอกสารลับใน “ตู้เหล็ก” (Armoire de fer) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระองค์มีการติดต่อกับชาติยุโรปอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ ในการต่อต้านการปฏิวัติ

    ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ
    ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2336 สภากงว็องซียง (Convention) ได้ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สมาชิกสภาทั้งหมด 721 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พระองค์มีความผิดจริง ในการลงคะแนนครั้งต่อมา สมาชิกส่วนใหญ่ เห็นชอบให้สำเร็จโทษ ด้วยการประหารชีวิต

    สำเร็จโทษด้วยกิโยติน
    เช้าของวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกนำพระองค์ไปยัง ปลัสเดอลาเรวอลูซียง พระองค์ทรงแสดงท่าทีสง่างาม และสงบนิ่ง พร้อมกล่าวพระดำรัสสั้น ๆ แสดงความบริสุทธิ์ และภาวนาให้ฝรั่งเศส พบกับสันติภาพ

    ผู้สำเร็จโทษ ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง (Charles-Henri Sanson) รายงานว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมรับชะตากรรมของพระองค์ อย่างสง่างาม ท่ามกลางฝูงชน ที่มาร่วมชมเหตุการณ์นับหมื่นคน บางคนได้นำผ้าเช็ดหน้าของตน ไปรองรับพระโลหิต ซึ่งตกลงบนพื้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวขานถึง ในหน้าประวัติศาสตร์

    "กิโยติน" เครื่องมือแห่งการปฏิวัติ
    "กิโยติน" กลายเป็นสัญลักษณ์ ของความเท่าเทียมทางกฎหมาย ในยุคปฏิวัติฝรั่งเศส อุปกรณ์นี้ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อใช้สำเร็จโทษ นักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีคุณลักษณะเด่นคือ ความรวดเร็วและ “ปราศจากความเจ็บปวด” ใบมีดน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม ถูกแขวนไว้เหนือโครงไม้และปล่อยลงมาอย่างรวดเร็ว เพื่อตัดศีรษะ

    ระหว่างปี พ.ศ. 2336–2337 หรือที่เรียกว่า ยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror) กิโยตินถูกนำมาใช้สำเร็จโทษ บุคคลสำคัญจำนวนมาก รวมถึงพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต และ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ผู้นำฝ่ายปฏิวัติ

    มรดกแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
    การสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่เพียงเป็นจุดจบ ของระบอบกษัตริย์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในฝรั่งเศส แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ ที่ประชาชนมีสิทธิและเสียงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ในช่วงการปฏิวัติ ได้สร้างคำถามเกี่ยวกับ การใช้ความรุนแรง ในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียง ถึงบทบาทและความผิดพลาด ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้เคราะห์ร้าย จากเหตุการณ์ที่ใหญ่กว่าพระองค์ หรือเป็นผู้นำที่ล้มเหลว ในการรับมือกับปัญหาของประเทศ

    เหตุการณ์สำเร็จโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยกิโยติน สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้ง ของสังคมฝรั่งเศส และเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความซับซ้อน ของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง มรดกที่พระองค์ทิ้งไว้ ไม่ใช่เพียงการสิ้นสุดของราชวงศ์ แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดการปฏิวัติ และการเปลี่ยนแปลง ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

    คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
    1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงมีบทบาทอย่างไร ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส?
    พระองค์ทรงพยายามรักษาอำนาจ และตำแหน่งของราชวงศ์ แต่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหลายครั้งทำให้สูญเสียความไว้วางใจ จากประชาชน

    2. เหตุใดกิโยติน จึงถูกใช้ในยุคปฏิวัติ?
    กิโยตินถูกมองว่า เป็นเครื่องมือที่ยุติธรรมและรวดเร็ว ในการสำเร็จโทษนักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียม

    3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกกล่าวหาว่าอะไร?
    ทรงถูกกล่าวหาว่า สมคบคิดกับชาวต่างชาติ และกบฏต่อประชาชนฝรั่งเศส

    4. ใครคือผู้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์?
    ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง เป็นผู้สำเร็จโทษพระองค์ ด้วยกิโยติน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 210947 ม.ค. 2568

    #พระเจ้าหลุยส์ที่16 #การปฏิวัติฝรั่งเศส #กิโยติน #ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส #การปลงพระชนม์ #MarieAntoinette #ReignOfTerror #FrenchRevolution
    232 ปี กิโยตินสำเร็จโทษ “พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส” ผิดข้อหาหนัก สมคบประทุษร้าย ต่อเสรีภาพปวงชน และความมั่นคงแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หรือ 232 ปี ที่ผ่านมา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ถูกสำเร็จโทษด้วยเครื่องกิโยติน ณ ปลัสเดอลาเรวอลูซียง (Place de la Révolution) ใจกลางกรุงปารีส พระองค์ถูกตัดสินโทษ ในข้อหาสมคบคิด ต่อต้านเสรีภาพของประชาชน และบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐ เหตุการณ์นี้เป็นจุดพลิกผันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ซึ่งสะท้อนถึงความวุ่นวาย ทางการเมืองและสังคม ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2317 ต่อจากพระอัยกา พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ในช่วงเวลานั้น ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับ ปัญหาทางเศรษฐกิจ และความไม่เท่าเทียมทางสังคม ระบบศักดินาที่ให้สิทธิพิเศษ แก่ชนชั้นสูงและศาสนจักร ทำให้ชนชั้นกลาง และประชาชนทั่วไป ตกอยู่ในภาวะกดดันอย่างหนัก ในขณะเดียวกัน หนี้สินมหาศาล ที่เกิดจากสงคราม และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของราชวงศ์ ยิ่งซ้ำเติมความยากลำบาก ของประชาชน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับปัญหาของประเทศ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความตั้งใจที่จะแก้ไข ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ทรงสนับสนุนการปฏิรูปบางอย่าง เช่น การยกเลิกภาษีบางประเภท สำหรับชนชั้นล่าง และการลดอำนาจของศาสนจักร แต่แผนการปฏิรูปดังกล่าว กลับถูกคัดค้านโดยชนชั้นสูง และชนชั้นอภิสิทธิ์ชน ซึ่งมีอิทธิพล ในสภาฐานันดร (Estates-General) เมื่อการปฏิรูปล้มเหลว ประชาชนเริ่มรวมตัวกัน และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ที่รุนแรงมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2332 เหตุการณ์บุกยึดคุกบาสตีย์ (Storming of the Bastille) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้ปะทุขึ้น และจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติทั่วประเทศ การสูญเสียอำนาจของราชวงศ์ หลังจากการปฏิวัติเริ่มต้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) ถูกลดทอนอำนาจลงอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2334 ฝรั่งเศสประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่จำกัดอำนาจของกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบในประเทศ ยังคงดำเนินต่อไป และมีการต่อต้านจากฝ่ายกษัตริย์นิยม และชาติยุโรปอื่น ๆ ที่สนับสนุนราชวงศ์ ความพยายามหลบหนีที่ล้มเหลว ในปี พ.ศ. 2334 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพยายามหลบหนีออกจากกรุงปารีส เพื่อไปรวมตัวกับ กองกำลังฝ่ายกษัตริย์นิยม ใกล้ชายแดนออสเตรีย แต่แผนการดังกล่าวล้มเหลว เมื่อพระองค์ถูกจับกุมที่เมืองวาแรน (Varennes) และถูกนำกลับมายังกรุงปารีส เหตุการณ์นี้ ยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้วางใจของประชาชน ที่มีต่อพระองค์ และทำให้กระแสต่อต้านราชวงศ์ เพิ่มมากขึ้น คำตัดสินประหารชีวิต ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2335 สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส (National Assembly) ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ และสถาปนาฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกจับกุมและตั้งข้อหา กบฏต่อชาติ และสมคบคิดกับชาวต่างชาติ โดยหลักฐานสำคัญคือ เอกสารลับใน “ตู้เหล็ก” (Armoire de fer) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระองค์มีการติดต่อกับชาติยุโรปอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ ในการต่อต้านการปฏิวัติ ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2336 สภากงว็องซียง (Convention) ได้ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สมาชิกสภาทั้งหมด 721 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พระองค์มีความผิดจริง ในการลงคะแนนครั้งต่อมา สมาชิกส่วนใหญ่ เห็นชอบให้สำเร็จโทษ ด้วยการประหารชีวิต สำเร็จโทษด้วยกิโยติน เช้าของวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกนำพระองค์ไปยัง ปลัสเดอลาเรวอลูซียง พระองค์ทรงแสดงท่าทีสง่างาม และสงบนิ่ง พร้อมกล่าวพระดำรัสสั้น ๆ แสดงความบริสุทธิ์ และภาวนาให้ฝรั่งเศส พบกับสันติภาพ ผู้สำเร็จโทษ ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง (Charles-Henri Sanson) รายงานว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมรับชะตากรรมของพระองค์ อย่างสง่างาม ท่ามกลางฝูงชน ที่มาร่วมชมเหตุการณ์นับหมื่นคน บางคนได้นำผ้าเช็ดหน้าของตน ไปรองรับพระโลหิต ซึ่งตกลงบนพื้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวขานถึง ในหน้าประวัติศาสตร์ "กิโยติน" เครื่องมือแห่งการปฏิวัติ "กิโยติน" กลายเป็นสัญลักษณ์ ของความเท่าเทียมทางกฎหมาย ในยุคปฏิวัติฝรั่งเศส อุปกรณ์นี้ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อใช้สำเร็จโทษ นักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีคุณลักษณะเด่นคือ ความรวดเร็วและ “ปราศจากความเจ็บปวด” ใบมีดน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม ถูกแขวนไว้เหนือโครงไม้และปล่อยลงมาอย่างรวดเร็ว เพื่อตัดศีรษะ ระหว่างปี พ.ศ. 2336–2337 หรือที่เรียกว่า ยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror) กิโยตินถูกนำมาใช้สำเร็จโทษ บุคคลสำคัญจำนวนมาก รวมถึงพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต และ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ผู้นำฝ่ายปฏิวัติ มรดกแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 การสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่เพียงเป็นจุดจบ ของระบอบกษัตริย์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในฝรั่งเศส แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ ที่ประชาชนมีสิทธิและเสียงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ในช่วงการปฏิวัติ ได้สร้างคำถามเกี่ยวกับ การใช้ความรุนแรง ในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียง ถึงบทบาทและความผิดพลาด ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้เคราะห์ร้าย จากเหตุการณ์ที่ใหญ่กว่าพระองค์ หรือเป็นผู้นำที่ล้มเหลว ในการรับมือกับปัญหาของประเทศ เหตุการณ์สำเร็จโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยกิโยติน สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้ง ของสังคมฝรั่งเศส และเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความซับซ้อน ของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง มรดกที่พระองค์ทิ้งไว้ ไม่ใช่เพียงการสิ้นสุดของราชวงศ์ แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดการปฏิวัติ และการเปลี่ยนแปลง ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก คำถามที่พบบ่อย (FAQs) 1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงมีบทบาทอย่างไร ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส? พระองค์ทรงพยายามรักษาอำนาจ และตำแหน่งของราชวงศ์ แต่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหลายครั้งทำให้สูญเสียความไว้วางใจ จากประชาชน 2. เหตุใดกิโยติน จึงถูกใช้ในยุคปฏิวัติ? กิโยตินถูกมองว่า เป็นเครื่องมือที่ยุติธรรมและรวดเร็ว ในการสำเร็จโทษนักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียม 3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกกล่าวหาว่าอะไร? ทรงถูกกล่าวหาว่า สมคบคิดกับชาวต่างชาติ และกบฏต่อประชาชนฝรั่งเศส 4. ใครคือผู้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์? ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง เป็นผู้สำเร็จโทษพระองค์ ด้วยกิโยติน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 210947 ม.ค. 2568 #พระเจ้าหลุยส์ที่16 #การปฏิวัติฝรั่งเศส #กิโยติน #ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส #การปลงพระชนม์ #MarieAntoinette #ReignOfTerror #FrenchRevolution
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 445 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพถ่ายตัวประกันทั้ง 33 ราย ที่ฮามาสควบคุมตัวไว้ ทั้งหมดนี้จะทะยอยปล่อยตัวภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อแลกกับนักโทษปาเลสไตน์ที่อิสราเอลคุมขังไว้จำนวน 1,890 คน

    จากข้อมูล วันนี้ฮามาสจะปล่อย 3 ตัวประกัน ได้แก่
    1. โรมี โกเนน (Romi Gonen) วัย 24 ปี ถูกจับตัวไปจากเทศกาลดนตรีโนวา
    2. เอมิลี่ ดามารี (Emily Damari) วัย 28 ปี สัญชาติอังกฤษ-อิสราเอล ถูกจับตัวไปจากบ้านของเธอในคฟาร์อาซา
    3. โดรอน สไตน์เบรเชอร์ (Doron Steinbrecher) วัย 31 ปี ถูกจับตัวไปจากบ้านของเธอในคฟาร์อาซา

    ตัวประกันทั้งสามจะถูกแลกเปลี่ยนกับนักโทษปาเลสไตน์ในอัตราส่วน 1 คน ต่อ 30 คน

    สำหรับตัวประกันชาวอิสราเอลที่ฮามาสจะปล่อยตัวตามข้อตกลงหยุดยิงระยะแรกนั้นรวมถึงตัวประกันที่อายุน้อยที่สุดคือ เคฟีร์ บิบาส (Kfir Bibas) ที่มีอายุเพียง 9 เดือนตอนที่เขาถูกพาตัวไป และตอนนี้มีอายุครบ 2 ขวบแล้ว ส่วนตัวประกันที่มีอายุมากที่สุดคือ ชโลโม มานต์ซูร์ (Shlomo Mantzur) อายุ 86 ปี ที่ถูกฮามาสจับตัวไปเมื่อ 7 ต.ค. 2023 ด้วย
    ภาพถ่ายตัวประกันทั้ง 33 ราย ที่ฮามาสควบคุมตัวไว้ ทั้งหมดนี้จะทะยอยปล่อยตัวภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อแลกกับนักโทษปาเลสไตน์ที่อิสราเอลคุมขังไว้จำนวน 1,890 คน จากข้อมูล วันนี้ฮามาสจะปล่อย 3 ตัวประกัน ได้แก่ 1. โรมี โกเนน (Romi Gonen) วัย 24 ปี ถูกจับตัวไปจากเทศกาลดนตรีโนวา 2. เอมิลี่ ดามารี (Emily Damari) วัย 28 ปี สัญชาติอังกฤษ-อิสราเอล ถูกจับตัวไปจากบ้านของเธอในคฟาร์อาซา 3. โดรอน สไตน์เบรเชอร์ (Doron Steinbrecher) วัย 31 ปี ถูกจับตัวไปจากบ้านของเธอในคฟาร์อาซา ตัวประกันทั้งสามจะถูกแลกเปลี่ยนกับนักโทษปาเลสไตน์ในอัตราส่วน 1 คน ต่อ 30 คน สำหรับตัวประกันชาวอิสราเอลที่ฮามาสจะปล่อยตัวตามข้อตกลงหยุดยิงระยะแรกนั้นรวมถึงตัวประกันที่อายุน้อยที่สุดคือ เคฟีร์ บิบาส (Kfir Bibas) ที่มีอายุเพียง 9 เดือนตอนที่เขาถูกพาตัวไป และตอนนี้มีอายุครบ 2 ขวบแล้ว ส่วนตัวประกันที่มีอายุมากที่สุดคือ ชโลโม มานต์ซูร์ (Shlomo Mantzur) อายุ 86 ปี ที่ถูกฮามาสจับตัวไปเมื่อ 7 ต.ค. 2023 ด้วย
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 236 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อจิตใจเบาสบาย
    ชีวิตคุณ
    ก็จะเต็มไปด้วย
    เรื่องดีๆในทุกวัน

    จากหนังสือ |ผ่อนคลายกับชีวิตบ้างแล้วเธอจะชอบตัวเองมากขึ้น

    #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน
    #ทัศนคติ #Thaitimes #ความคิดเชิงบวก
    #ผ่อนคลายกับชีวิตบ้างแล้วเธอจะชอบตัวเองมากขึ้น
    เมื่อจิตใจเบาสบาย ชีวิตคุณ ก็จะเต็มไปด้วย เรื่องดีๆในทุกวัน จากหนังสือ |ผ่อนคลายกับชีวิตบ้างแล้วเธอจะชอบตัวเองมากขึ้น #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน #ทัศนคติ #Thaitimes #ความคิดเชิงบวก #ผ่อนคลายกับชีวิตบ้างแล้วเธอจะชอบตัวเองมากขึ้น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 198 มุมมอง 0 รีวิว
  • การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า การตอบแทนบุญคุณของพระองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดคือการ ปฏิบัติธรรมเป็นบูชา เพราะพระองค์ทรงมุ่งหมายให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากความทุกข์ และการปฏิบัติธรรมคือหนทางที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายนี้โดยตรง


    ---

    วิธีปฏิบัติธรรมเป็นบูชา

    1. เริ่มต้นด้วยการทำจิตดีๆ ให้เกิดขึ้น

    ด้วยทาน: เปิดใจด้วยการแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น

    ด้วยศีล: รักษาความประพฤติของตนให้สะอาดบริสุทธิ์

    ด้วยสมาธิและสติ: ฝึกเจริญสติ รู้กายรู้ใจจนกระจ่างในความไม่เที่ยง



    2. การถวายจิตดีๆ เป็นบูชา

    หากสามารถทำจิตให้สงบและเบาสบายได้แม้เพียงชั่วครู่ ก็น้อมนำจิตดีๆ นั้นถวายแทนการบูชา

    การปฏิบัติที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ของตัวเรา คือสิ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยที่สุด





    ---

    ทางเลือกสำหรับผู้เริ่มต้น

    หากยังไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ลึกซึ้งนัก ก็สามารถแสดงความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้าได้ด้วยการ:

    นำรูปหรือพระพุทธรูปมาบูชา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในการปฏิบัติดี

    ทำบุญ ถวายทาน หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

    ศึกษาและเผยแผ่คำสอนของพระองค์



    ---

    การตอบแทนคุณครูบาอาจารย์

    ปฏิบัติตามคำสอน: งดเว้นจากสิ่งไม่ดีและลงมือปฏิบัติธรรม

    เผยแผ่คำสอน: ช่วยสืบทอดคำสอนของท่านให้กว้างไกล

    เคารพและระลึกถึงท่าน: ด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี



    ---

    สรุป

    การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เริ่มต้นได้จากใจจริง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ขอเพียงมีความตั้งใจจริง และลงมือทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทุกการกระทำที่ดีงาม ล้วนถือเป็นการตอบแทนคุณอันสมบูรณ์แล้ว.

    การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า การตอบแทนบุญคุณของพระองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดคือการ ปฏิบัติธรรมเป็นบูชา เพราะพระองค์ทรงมุ่งหมายให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากความทุกข์ และการปฏิบัติธรรมคือหนทางที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายนี้โดยตรง --- วิธีปฏิบัติธรรมเป็นบูชา 1. เริ่มต้นด้วยการทำจิตดีๆ ให้เกิดขึ้น ด้วยทาน: เปิดใจด้วยการแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยศีล: รักษาความประพฤติของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยสมาธิและสติ: ฝึกเจริญสติ รู้กายรู้ใจจนกระจ่างในความไม่เที่ยง 2. การถวายจิตดีๆ เป็นบูชา หากสามารถทำจิตให้สงบและเบาสบายได้แม้เพียงชั่วครู่ ก็น้อมนำจิตดีๆ นั้นถวายแทนการบูชา การปฏิบัติที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ของตัวเรา คือสิ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยที่สุด --- ทางเลือกสำหรับผู้เริ่มต้น หากยังไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ลึกซึ้งนัก ก็สามารถแสดงความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้าได้ด้วยการ: นำรูปหรือพระพุทธรูปมาบูชา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในการปฏิบัติดี ทำบุญ ถวายทาน หรือร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ศึกษาและเผยแผ่คำสอนของพระองค์ --- การตอบแทนคุณครูบาอาจารย์ ปฏิบัติตามคำสอน: งดเว้นจากสิ่งไม่ดีและลงมือปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน: ช่วยสืบทอดคำสอนของท่านให้กว้างไกล เคารพและระลึกถึงท่าน: ด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี --- สรุป การตอบแทนบุญคุณพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เริ่มต้นได้จากใจจริง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ขอเพียงมีความตั้งใจจริง และลงมือทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทุกการกระทำที่ดีงาม ล้วนถือเป็นการตอบแทนคุณอันสมบูรณ์แล้ว.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 347 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts