• ♣ พรรคพม่าเพิ่งตื่น พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา ออกอาการ ถามหาสัมปทานนายทุนพรรคทันที
    #7ดอกจิก
    ♣ พรรคพม่าเพิ่งตื่น พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา ออกอาการ ถามหาสัมปทานนายทุนพรรคทันที #7ดอกจิก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 9 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • “ปานเทพ” ย้ำพระบรมราชโองการ ร.9 ทรงประกาศเขตไหล่ทวีป ปี 2516 ยึดหลักการตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 แต่กรมสนธิสัญญาฯ กระทรวงการต่างประเทศ กล้าบังอาจแถลงข่าวตัดตอน กลายเป็นว่าเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ ชี้ MOU44 เท่ากับไทยเปลี่ยนจุดยืนจากการปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา กลายเป็นรับรู้และไม่ปฏิเสธ ซ้ำเปลี่ยนหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีปจากการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญาฯ กลายเป็นใช้มูลฐานอื่น

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106616

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ปานเทพ” ย้ำพระบรมราชโองการ ร.9 ทรงประกาศเขตไหล่ทวีป ปี 2516 ยึดหลักการตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 แต่กรมสนธิสัญญาฯ กระทรวงการต่างประเทศ กล้าบังอาจแถลงข่าวตัดตอน กลายเป็นว่าเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ ชี้ MOU44 เท่ากับไทยเปลี่ยนจุดยืนจากการปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา กลายเป็นรับรู้และไม่ปฏิเสธ ซ้ำเปลี่ยนหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีปจากการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญาฯ กลายเป็นใช้มูลฐานอื่น อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106616 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    Love
    26
    3 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 822 มุมมอง 1 รีวิว
  • ♣ เอ็มโอยูยกเลิกได้ ไม่มีผลทางกฎหมาย กัมพูชาฟ้องไทยไม่ได้
    #7ดอกจิก
    ♣ เอ็มโอยูยกเลิกได้ ไม่มีผลทางกฎหมาย กัมพูชาฟ้องไทยไม่ได้ #7ดอกจิก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 111 มุมมอง 65 0 รีวิว
  • นายกฯ คาด 2 สัปดาห์ชง ครม.ตั้งคณะกรรมการ JTC ไทย-กัมพูชา ตาม MOU2544 ได้ ส่วนจะมีใครเป็นกรรมการ - "ภูมิธรรม" นั่งประธานหรือไม่ รอบอกทีเดียว

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106497

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นายกฯ คาด 2 สัปดาห์ชง ครม.ตั้งคณะกรรมการ JTC ไทย-กัมพูชา ตาม MOU2544 ได้ ส่วนจะมีใครเป็นกรรมการ - "ภูมิธรรม" นั่งประธานหรือไม่ รอบอกทีเดียว อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106497 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Wow
    9
    6 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 875 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ภูมิธรรม" ท่องคำเดิมเกาะกูดเป็นของไทย จะรักษาไว้เท่าชีวิต เชื่อ MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด เป็นการรักษาสิทธิในเขตแดน ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ยกเลิก ย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เกี่ยว "ทักษิณ" ใกล้ชิดกัมพูชา

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106432

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    "ภูมิธรรม" ท่องคำเดิมเกาะกูดเป็นของไทย จะรักษาไว้เท่าชีวิต เชื่อ MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด เป็นการรักษาสิทธิในเขตแดน ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ยกเลิก ย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เกี่ยว "ทักษิณ" ใกล้ชิดกัมพูชา อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106432 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Wow
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 869 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 126 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกัมพูชาไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ UNCLOS 1982 ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับและยึดถือกว่า 160 ประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักในการเจรจาความเมืองใด ๆ เกี่ยวกับทะเล

    ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณได้เขียนเรื่อง “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้ ”เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567ไว้ว่า

    “กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแถบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ

    เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส

    เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ?

    ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย

    ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม!

    ที่มา https://www.facebook.com/share/15FAF2zRds/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ทำไมกัมพูชาไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ UNCLOS 1982 ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับและยึดถือกว่า 160 ประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักในการเจรจาความเมืองใด ๆ เกี่ยวกับทะเล ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณได้เขียนเรื่อง “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้ ”เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567ไว้ว่า “กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแถบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ? ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม! ที่มา https://www.facebook.com/share/15FAF2zRds/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Yay
    Angry
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 182 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา

    4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน

    ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป
    อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ

    หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

    ที่มา NBT CONNEXT

    #Thaitimes
    นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา 4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ที่มา NBT CONNEXT #Thaitimes
    Like
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 233 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย

    4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้

    อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

    อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต”

    เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า
    [“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป
    รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต

    “ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต…

    ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป]

    ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล

    แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม

    รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์”

    รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย

    “ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย

    ** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง
    การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน

    อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย

    ** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง
    การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป”

    สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง

    เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง!

    และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย

    กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

    จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน”

    ที่มา News1
    https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw

    #Thaitimes
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย 4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต” เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า [“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต “ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต… ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป] ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย “ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย ** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย ** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป” สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง! และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน” ที่มา News1 https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw #Thaitimes
    NEWS1LIVE.COM
    “ธีระชัย” เปิดข้อมูล กัมพูชาลากเส้นในทะเลผิดหลักสากล 2 เด้ง MOU44 ส่อผิดไปด้วย
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 332 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106288

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106288 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    25
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1305 มุมมอง 1 รีวิว
  • นายกฯ ผนึกพรรคร่วมรัฐบาล เดินหน้าเอ็มโอยู 44 อ้างยกเลิกจะถูกกัมพูชาฟ้องได้ ย้อนถามยกเลิกได้ประโยชน์อะไร ลั่นเกาะกูดไม่อยู่ในข้อตกลง ขอทุกคนสบายใจ ยันเป็นคนไทย 100% ประโยชน์ประเทศต้องมาก่อน อัดอย่าเอาเรื่องการเมืองมาทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอน ไม่คิดเป็นเผือกร้อน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106225

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นายกฯ ผนึกพรรคร่วมรัฐบาล เดินหน้าเอ็มโอยู 44 อ้างยกเลิกจะถูกกัมพูชาฟ้องได้ ย้อนถามยกเลิกได้ประโยชน์อะไร ลั่นเกาะกูดไม่อยู่ในข้อตกลง ขอทุกคนสบายใจ ยันเป็นคนไทย 100% ประโยชน์ประเทศต้องมาก่อน อัดอย่าเอาเรื่องการเมืองมาทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอน ไม่คิดเป็นเผือกร้อน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106225 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Sad
    Haha
    10
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1354 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106205

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106205 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    Love
    Yay
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1354 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา
    .
    วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2567) กระทรวงการต่างประเทศเชิญสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปข้อมูลภูมิหลัง รวมทั้งสถานะล่าสุดเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยนายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญนางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมให้ข้อมูล
    .
    อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้อธิบายถึงเขตทางทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 รวมทั้งชี้แจงที่มาของพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีขนาดประมาณ 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU 2544
    .
    MOU 2544 เป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป
    .
    แนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ (1) ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้ (2) จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ (3) ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    .
    ต่อกรณีที่มีการเชื่อมโยงเรื่อง “เกาะกูด” จ. ตราด เข้าไปพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ชี้แจงว่า เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบันไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100%
    .
    อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ยืนยันว่า MOU 2544 เป็นเพียง “กรอบการเจรจา” (Agreement to Negotiate) ประเทศไทยและกัมพูชาไม่ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายกำหนดขึ้นเอง และใน MOU ก็ระบุชัดเจนว่า การเจรจาจะไม่มีผลต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของประเทศคู่เจรจา
    .
    ในเรื่องของการยกเลิก MOU 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยมีมติให้ยกเลิกเมื่อปี 2552 นั้น กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามีปัญหา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และการปะทะกันที่ชายแดน ทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว เห็นว่า MOU ยังมีความจำเป็น จึงได้เสนอให้รัฐบาลในชุดต่อๆ มาทบทวนมติ ครม. ปี 2552 และทุกรัฐบาลต่อมาก็มีมติให้ใช้ MOU 2544 ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้.
    ..............
    Sondhi X
    กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา . วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2567) กระทรวงการต่างประเทศเชิญสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปข้อมูลภูมิหลัง รวมทั้งสถานะล่าสุดเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยนายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญนางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมให้ข้อมูล . อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้อธิบายถึงเขตทางทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 รวมทั้งชี้แจงที่มาของพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีขนาดประมาณ 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU 2544 . MOU 2544 เป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป . แนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ (1) ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้ (2) จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ (3) ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง . ต่อกรณีที่มีการเชื่อมโยงเรื่อง “เกาะกูด” จ. ตราด เข้าไปพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ชี้แจงว่า เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบันไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100% . อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ยืนยันว่า MOU 2544 เป็นเพียง “กรอบการเจรจา” (Agreement to Negotiate) ประเทศไทยและกัมพูชาไม่ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายกำหนดขึ้นเอง และใน MOU ก็ระบุชัดเจนว่า การเจรจาจะไม่มีผลต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของประเทศคู่เจรจา . ในเรื่องของการยกเลิก MOU 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยมีมติให้ยกเลิกเมื่อปี 2552 นั้น กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามีปัญหา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และการปะทะกันที่ชายแดน ทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว เห็นว่า MOU ยังมีความจำเป็น จึงได้เสนอให้รัฐบาลในชุดต่อๆ มาทบทวนมติ ครม. ปี 2552 และทุกรัฐบาลต่อมาก็มีมติให้ใช้ MOU 2544 ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้. .............. Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 361 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ เมื่อจอมฉีก MOU ไม่ยอมฉีก MOU ไทย-กัมพูชา
    #7ดอกจิก
    ♣ เมื่อจอมฉีก MOU ไม่ยอมฉีก MOU ไทย-กัมพูชา #7ดอกจิก
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 147 มุมมอง 58 0 รีวิว
  • ♣️ นพดลยังด้าน โต้อย่าโจมตีเพื่อไทยด้วยความเท็จ ทั้งที่เพื่อไทยยอมใช้ Mou 44 ที่กัมพูชาลากเส้นเท็จ อ้างอิงเขตแดนเท็จ เพื่อไทยกลับยอมเจรจาบนข้อเรียกร้องเท็จๆ
    #7ดอกจิก
    #นพดล
    #เกาะกูด
    ♣️ นพดลยังด้าน โต้อย่าโจมตีเพื่อไทยด้วยความเท็จ ทั้งที่เพื่อไทยยอมใช้ Mou 44 ที่กัมพูชาลากเส้นเท็จ อ้างอิงเขตแดนเท็จ เพื่อไทยกลับยอมเจรจาบนข้อเรียกร้องเท็จๆ #7ดอกจิก #นพดล #เกาะกูด
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 123 มุมมอง 0 รีวิว
  • หม่อมโจ้
    สิ่งที่ควรรู้เรื่องอิสราเอลหม่อมโจ้ โต้ทูตอิสราเอล ยันต้องเปิดความจริง ช่วยคนไทยพ้นภาวะทาส
    เพื่อนๆคงจะรู้จัก คุณปุ๊ก อาภัสรา หงสกุล อดีตนางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก ที่เรียกว่ามิสยูนิเวอร์ส คุณอาภัสราจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3) ปี 2506 จาก ร.ร.ศึกษาวิทยา ถนนสีลม แล้วไปเรียนอาชีวศึกษาที่ ร.ร.เลขานุการที่นครรัฐปีนัง ในมาเลเซีย จบชั้นปีที่ 2 เธอมาประกวดนางสาวไทย ได้ตำแหน่งปี 2507 จากนั้นไปเรียนต่อแล้วกลับมาปี 2508 เดินทางไปประกวดมิสยูนิเวอร์สที่นครไมอามี่ รัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ได้ตำแหน่งขณะมีอายุ18ปี คุณปุ๊กเกิดวันที่16 มกราคม 2490 ปีกุนปีเดียวกับผม ปี 2510 ขณะมีอายุ 20ปีได้สมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร มีบุตรชายคนแรกคือหม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร
    ปัจจุบัน หม่อมโจ้ บุตรชายคนแรกของคุณปุ๊ก อายุได้ 53 ปีแล้ว หม่อมโจ้เรียนจบจากต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเคยทำงานบริษัทต่างประเทศจนได้ลาออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายวัดป่าอยู่หลายปีได้มาซื้อที่ดินที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 45 ไร่ ปลูกพืชและผลไม้สายพันธุ์ของต่างประเทศที่ไม่มีใครทำมาก่อนจนผลไม้ขายได้ในราคาสูง หม่อมหลวงรุ่งคุณได้ศึกษาและวิเคราะห์เขียนหนังสือหลายเรื่องเกี่ยวกับอิสราเอล ไว้มากจนเป็นข่าวตอบโต้กับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยดังนี้
    เรียน ท่านเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย นายไซม่อน โรดเด็ด
    ข้าพเจ้ารับทราบถึงความไม่พอใจของท่านกับบทความของข้าพเจ้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าได้เขียน เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ อันเป็นสิทธิที่ข้าพเจ้าจะแสดงได้ โดยความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นไปตามข้อมูลหลักฐานอันมีจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีความพยายามในการกลบและบิดเบือน
    แม้กระนั้น ท่านอาจแปลกใจคิดว่า แล้วไฉนทั้งที่ข้าพเจ้าและประเทศไทยที่ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ข้าพเจ้าจึงต้องไปเขียนในเรื่องราวสร้างความบาดหมางให้แก่ท่าน ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะชี้แจงตรงนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนเพื่อที่จะก่อความบาดหมางให้แก่ท่านหรือแก่ผู้ใด และ เรื่องราวที่ข้าพเจ้าเขียนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง
    อย่างแรก 'กลุ่มทุนธนาคารยิว Zionist' ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวถึงคนเพียงกลุ่มหนึ่ง มิใช่ชาวยิวทั้งหมด โดยคำว่า 'Zionist' แม้แต่ชาวยิวแท้ Orthodox Jews ที่ยึดมั่นใน Torah จำนวนมากก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย ดังที่พวกเขาได้ออกมาประท้วง ประกาศว่า 'Zionism' ไม่ใช่ 'Judaism' เอง ท่านทูตน่าจะพอทราบอยู่ เพราะใน Israel ก็มีการจับชาวยิวแท้ ที่มีอัธยาศัยดีเหล่านี้ ไปจำคุกอยู่จำนวนหนึ่ง
    'ทุนธนาคาร Zionist' ที่ข้าพเจ้าพูดถึง หมายถึงกลุ่มทุนธนาคารที่เป็นผู้มีอำนาจที่สุดในโลก มีอำนาจเหนือรัฐหลายรัฐ รวมถึงมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา เขาคุมการเงินโดยกลุ่มของเขาเอง เป็นเจ้าของ Federal Reserve Bank ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์เงินให้รัฐบาลสหรัฐฯต้องกู้ มิใช่ของประชาชนชาวอเมริกันตามที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด กลุ่มทุนธนาคารของเขาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทยักษ์ใหญ่แทบทั้งสิ้นทั่วโลก รวมถึง 6 บริษัทที่คุม 90% ของสื่อในสหรัฐอเมริกา เขาคุมแหล่งนํ้ามันและก๊าซหลัก ๆ ทั่วโลก และกำลังรุกเพื่อควบคุมผูกขาดอาหารของโลกโดยการผลิต GMO แม้แต่องค์กรโลก เช่น UN ที่ให้กำเนิด World Bank และ IMF ล้วนเป็นองค์กรที่พวกเขาจัดตั้งขึ้น และควบคุมทั้งสิ้น
    ชื่อตระกูลที่โดดเด่นมีอิทธิพลสูงสุดใน 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ ได้แก่ 'Rothschild' และ 'Rockefeller' ชื่อ 'Rothschild' ท่านทูตย่อมรู้จักเป็นอย่างดี โดยใน 'Independence Hall' ที่ Tel Aviv เมืองหลวงของท่านเอง ก็มีนิทรรศการเอกสารชิ้นสำคัญมากชิ้นหนึ่งเรียกว่า 'The Balfour Declaration' เป็นจดหมายจากรัฐบาลอังกฤษ จ่าหัวถึง 'Lord Rothschild' ใน 1917 แสดงถึงการที่รัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้เกิด บ้านอยู่ (national home) ของชาวยิว ที่ Palestine แก่ 'Lord Rothschild' Baron Edmond (Abraham Benjamin) Rothschild จึงมีสถานะเป็น "the Father of the Settlements" (Avi ha-Yishuv) หรือบิดาแห่งอิสราเอล
    ใน4บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก หรือ 'The Four Horsemen of Oil' ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายการครอบครองน้ำมันของสหรัฐฯ 2 บริษัท คือ BP Amoco และ Royal Dutch/Shell อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูล Rothschild ที่ถือหุ้นใหญ่ ส่วน อีกสอง Exxon Mobil และ Chevron คือ บริษัทที่มาจาก Standard Oil ของ John D. Rockefeller โดยกรรมการของบริษัทน้ำมันเหล่านี้จำนวนหนึ่ง ไขว้กันเองเป็นใย และไขว้เป็นกรรมการของธนาคารยักษ์ใหญ่ เช่น JP Morgan Chase ของ Rockefeller และ Citigroup, Bank of America, Wells Fargo, N. M. Rothschild & Sons โดยตระกูล Rothschild ควบคุม และมีการเชื่อมโยงถือหุ้นไขว้กันกับกลุ่มทุนนอมินียักษ์ เช่น BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ที่ถือหุ้นใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ แทบทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
    ในการสร้างอำนาจเหนือรัฐต่าง ๆ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้จัดตั้งองค์กร Front ของเขา เช่น The Bilderberg Group, Council on Foreign Relations (CFR) และ The Trilateral Commission (TC) โดยองค์กรเหล่านี้จะรวมกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และบรรดาผู้มีอิทธิผล เช่น อดีตประธานาธิบดี บริวารมือขวาของเขา Henry Kissinger นักการเมืองทุกขั้ว ทหาร หัวหน้าหน่วยงานลับ ของประเทศสำคัญในยุโรป และสหรัฐฯ โดยใน Trilateral Commission จะมีสมาชิกเป็นบุคคลสำคัญของประเทศในทวีปเอเชียต่าง ๆ ที่รับใช้พวกเขา 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมีอิทธิพลอำนาจเหนือรัฐ เช่นมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา
    ด้วยความละโมบของพวกเขา ในการล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยกำลังก็ดี โดยวิธีแห่งการให้สินบนแก่ผู้ขายชาติตนเองก็ดี โดยการบีบบังคับด้วยหนี้สินก็ดี โดยการแทรกแซงการเมืองภายในก็ดี 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้เข้ายึดครองทรัพยากร พลังงาน เศรษฐกิจ และการเงิน ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ตกเป็นทาสของพวกเขา โดยในประเทศไทยเอง ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำ ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' พร้อมการร่วมมือของ 'คนไทย' ที่ได้ขายตัวขายจิตวิญญาณให้พวกเขา ได้ร่วมกระทำ ดังต่อไปนี้ (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงิน (3) การชักใยอยู่เบื้องหลังทุกฝ่าย ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' เพื่อการยึดครองประเทศเป็นเมืองขึ้นยิ่งขึ้นไป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :
    (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย โดย 'ทุนธนาคาร Zionist'
    ทั้งที่ประเทศไทย มีอธิปไตยของตนเอง โดยอธิปไตย นั้นเป็นของปวงชนชาวไทย อันหมายความว่าทรัพยากรของชาตินั้นเป็นของประชาชนคนไทย แต่ปรากฏว่า กฎหมายว่าด้วยน้ำมันและก๊าซ (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514) มิได้มีการเขียนขึ้นไม่ว่าจะ 'โดย' ประชาชน หรือ 'เพื่อ' ประชาชน แต่อย่างใด แต่ได้ถูกเขียนขึ้นโดย Walter James Levi สมาชิกทั้ง CFR และ The Trilateral Commission ผู้ทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขั้นขึ้นชื่อว่าเป็น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์พลังงานของสหรัฐอเมริกา (the dean of United States oil economists) และ ได้เป็นผู้บริหารบริษัทของตระกูล Rockefeller เองคือ Standard Oil Company of New York หรือ Socony (ปัจจุบันคือ Exxon) คนที่เขียนกฎหมายนี้ของประเทศไทย ไม่ใช่คนไทย แต่คือคนของ 'ทุนธนาคาร Zionist'
    เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวเอง ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยมีลักษณะของกฎหมายสำหรับเมืองขึ้นอันไม่เป็นธรรม คือ น้ำมันและก๊าซทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัมปทาน การได้สัมปทานเป็นไปโดยไม่มีการประมูลอย่างโปร่งใส ค่าตอบแทนเป็นไปอย่างต่ำ และ ประชาชนคนไทยที่เป็นเจ้าของโดยแท้จริง ไม่สามารถตรวจสอบรับทราบความจริงได้เลย โดยวิธีที่สามารถจะเรียกว่าโปร่งใสได้ ว่าปริมาณทรัพยากรที่มีการขุดไปนั้นมีปริมาณที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด ประเทศไทยมีพลังงานมากน้อยแค่ไหนโดยต้องยอมรับตามตัวเลข ที่บริษัทพลังงานต่าง ๆ แจ้งเท่านั้น
    การปล้นอธิปไตยโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นไปได้ด้วยการข่มขู่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมการให้สินบนแก่ 'คนไทยที่ขายชาติตัวเอง' ซึ่งจากนั้นมา การรุกครอบครองน้ำมันและก๊าซของประชาชนคนไทย โดยวิธีการดังกล่าวได้ขยายไปเรื่อย ๆ มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ให้เอื้ออำนวยแก่ผู้รับสัมปทานอย่างล้นพ้นโดยภายหลังจะเห็นได้ชัดเจนถึงผู้เข้ามามีอำนาจในไทย ไม่ว่าขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ได้สานต่อไปในทาง 'ขายชาติตัวเอง' ให้แก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้เพื่อค่าคอมมิสชั่น ถึงขั้นร่วมกันชง ส่งลูกกันข้ามรัฐบาล ยกดินแดนไทยให้กัมพูชา อันส่งผลให้พื้นที่ไทยในทะเลอ่าวไทย 27,000 ตารางกิโลเมตรอันอุดมด้วยน้ำมันและก๊าซที่สุดแห่งหนึ่ง ต้องตกกลายเป็นพื้นที่พิพาท ระหว่างไทยกับกัมพูชา
    ซึ่งในพื้นที่นี้ บริษัท Chevron คือบริษัทที่จ่อล็อกจะถือสัมปทานจากทั้ง 2 ประเทศ ในกรณีนี้ที่มีการพิพาทเรื่องพื้นที่ในอ่าวไทย หากไทยและกัมพูชา ให้สัมปทานในพื้นที่นี้ ผู้ที่จะมีอิทธิพลสูงสุดในการครอบครอง ย่อมมิใช่ไทยหรือกัมพูชาอีกทั้งนั้น แต่จะเป็นสหรัฐอเมริกาภายใต้กลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เพราะสัมปทานจะเป็นของ Chevron โดยเอกฉันท์ ฝ่ายใดที่ให้ประโยชน์แก่สหรัฐฯ สูงสุด สหรัฐฯ ย่อมสนับสนุนฝ่ายนั้น
    ในปัจจุบัน การถูกปล้นอธิปไตย การตกเป็นอาณานิคมของ 'ทุนธนาคาร Zionist' อย่างเต็มรูปแบบในเรื่องพลังงาน ก็ประจักษ์ชัดเจนอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในปัจจุบัน นาย ณรงค์ชัย อัครเศรณี ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง ได้เป็นสมาชิก The Trilateral Commission (TC) องค์กรของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ยาวนานถึง 30 ปี โดยเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไม่รีรอที่จะประกาศผลักดันเปิดสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจ และไม่มีการชี้แจงอันใดเกี่ยวกับการเสียดินแดนของประเทศไทย ทั้งที่มีการคัดค้าน
    ด้วยประการฉะนี้ การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมิได้ครอบคลุมเพียงแค่น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป แต่ได้ขยายไปเป็นการปล้นดินแดนไทย จากประชาชนคนไทย ไปโดยเรียบร้อย
    (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงินของประเทศ
    การที่เถ้าแก่สามานย์รายใดจะต้องการยึดที่ดินสวย ๆ ของชาวนา วิธีที่เขาจะกระทำคือ ให้ชาวนากู้เงิน ทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ เมื่อจ่ายช้าก็อายัดที่ดินนั้น บังคับขายในราคาต่ำกว่าจริงสิบเท่า แล้วเข้าซื้อเอง
    วิธีการของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ก็เป็นเช่นนั้น ทำให้ประเทศเป็นหนี้ หลังการปล่อยกู้เงินให้แก่ประเทศไทยจำนวนมากให้คน น้อยกว่า 1% อย่างฟุ่มเฟือย George Soros สมาชิกอาวุโส CFR ได้นำกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' มาโจมตีค่าเงินบาท จาก 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ กลายเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ เพราะกู้เงินจากต่างชาติมามาก เศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่วิกฤต มีการล่มสลายของธุรกิจจำนวนมาก(ในปี 2540 – 2542)
    ต่อมาก็เป็นไปตามแบบแผนวิธีการของ IMF และ World Bank ที่ 51% เป็นของ US Treasury ควบคุมโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ของ Rothschild ตามขั้นตอนที่ Joseph Stiglitz ผู้เป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจของ President Bill Clinton อดีตรองประธาน และ Chief Economist ของ World Bank ได้เปิดโปงให้แก่หนังสือ The Observer และ Newsweek หลังมีเอกสารลับหลุดออกมาจาก World Bank คือในการขอความช่วยเหลือทางการเงิน จำต้องเซ็นสัญญา โดยในสัญญาจะตกลงใน (a) Privatization การแปรรูป โดยรัฐจะต้องยินยอมขายสมบัติของชาติเกี่ยวเนื่องกับสิ่งจำเป็น เช่น น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ (b) Capital Market Liberalization การเปิดให้ทุนไหลเข้าออก โดยส่วนใหญ่มักจะไหลออก (c) Market-based pricing การขึ้นราคา อาหาร ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ โดยอ้างว่าเป็นราคาตลาดโลก (d) Free Trade การค้าเสรี ตามกฎของ WTO และ World Bank
    Stiglitz ได้ระบุในการสัมภาษณ์อย่างชัดเจนว่า การยินยอมในการตกลงนั้นเกิดขึ้นไม่ยากโดย (ก) World Bank IMF สามารถสั่ง Financial Blockage การกีดกันทางการเงินหากไม่ร่วมมือ และ (ข) นักการเมืองในประเทศนั้น ๆ ยินดีที่จะยกบริษัท น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ให้โดย 'เขาจะตาโตกันเลย เมือเขานึกถึงค่าคอมมิสชั่นที่เขาจะได้กัน จากการลดราคาเป็นพัน ๆ ล้านในการแปรรูป' โดยเขาจะสามารถใช้ข้ออ้างว่า ถูก World Bank IMF บังคับ
    แล้วการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ก็ได้ตามมา พร้อมการขายสมบัติชาติแบบล็อกสเปคในราคาที่ต่ำกว่าทุนถึง 5 เท่า ตามด้วยการแปรรูปบริษัทน้ำมัน-ก๊าซของชาติ โดยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าจะในกรณี การยกดินแดนให้ต่างชาติ หรือ การแปรรูป จะเกิดขึ้นโดยการร่วมมือของมากกว่าหนึ่งรัฐบาล โดยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชง อีกฝ่ายเป็นฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นไปเพื่อการสามารถโยนความผิดกันไปมาได้ โดยไม่มีใครผิดเต็ม ๆ โดยในกรณีนี้ แม้ขั้วนักการเมืองกลุ่มที่รับข้อตกลงรับรายละเอียดในการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับจาก 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้พยายามจะโยนความผิดให้ผู้ริเริ่มการตกลง แต่ก็ปรากฏให้เห็นได้ถึงการตอบแทน เมื่อคนของเขาได้ไปนั่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO
    โดยการโจมตีค่าเงิน การบีบข่มขู่ การให้สินบนแก่ผู้เข้ามามีอำนาจทุกขั้ว ที่ร่วมกันขายชาติตนเอง 'ทุนธนาคาร Zionist' เช่น JP Morgan Chase, BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ได้เข้ามายึดครองควบคุม บริษัทน้ำมันก๊าซ ธนาคาร และ เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย ไปจากคนไทย และยังรุกคืบยิ่ง ณ ปัจจุบัน ตามข่าวการแปรรูปที่ปรากฏอยู่
    (3) การชักใยอยู่เบื้องหลัง ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' (Divide and Conquer) เพื่อการยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ
    เป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ที่เข้ามามีอำนาจ ล้วนให้ความร่วมมือกับ 'ทุนธนาคาร Zionist' ในการขายทำลายชาติ โดยมีค่าคอมมิสชั่น ทั้งในทรัพยากรและในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม สามารถควบคุม ชักใยได้ทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์ แบ่งแยกแล้วปกครอง เป็นยุทธศาสตร์ที่มีตัวอย่างเห็นได้ในโลกปัจจุบันมากมายในการเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยการยุยงให้เหยื่อตีกันเอง บางกรณีให้อาวุธทั้ง 2 ฝ่าย ทำลายภูมิคุ้มกันความสามัคคีของชนชาตินั้น ๆ สร้างความแตกแยก โดยเมื่อมีรอยแตก ก็สามารถจะแทรกเข้าไป ยึดครองประเทศนั้น ๆ
    ความแตกแยก ปัญหาความขัดแย้งเสื้อสี ที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ล้วนมีการชักใย มีการสนับสนุน ทั้ง 2 ฝ่ายการเมือง โดยมีกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว โดยทั้ง 2 ขั้ว นั้นล้วนมีผลประโยชน์ในเรื่องคอมมิสชั่น จากกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และถูกชักใยให้ปลุกปั่นประชาชน ให้มาตีกันเองโดยการรู้ไม่เท่าทันของประชาชน ว่าโดยแท้จริงแล้ว นักการเมืองและผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ล้วนให้ความร่วมมือ ขายชาติตนเองแก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งสิ้น
    หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสมาชิก CFR ของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' อาทิ (a) Robert Blackville สมาชิก CFR มือขวาการต่างประเทศของ Henry Kissinger จาก Barbour Griffif & Rogers (CFR) (b) Keneth Adelman สมาชิก CFR อดีตทูต UN ของสหรัฐ จาก Baker & Botts Robert (CFR) (c) Robert Amsterdam จาก Amsterdam & Peroff (Chatham House) ได้ทำหน้าที่เป็น lobbyist ให้อดีตนักการเมืองที่หลบอยู่ที่ Dubai และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการเสื้อแดง และองค์กร NED ได้ให้เงินสนับสนุน Website ของเสื้อแดงจำนวนมาก โดยต้องเป็นที่กล่าวว่า นักการเมืองไทยที่หลบหนีอยู่ที่ Dubai นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงหุ่นเชิด ที่ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ชักใยอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโดยลำพังเขาไม่สามารถที่จะทำเองได้เลย (นั่นคือทักษิณ ชินวัตร)
    ส่วนนักการเมืองผู้เข้ามามีอำนาจ ฝ่ายอื่น ๆ ที่โหน อ้าง ปกป้อง สถาบันสำคัญ ๆ ฝ่ายนี้ โดยการขายตัวขายชาติ การปรารถนาได้ค่าคอมมิสชั่น ทั้งในน้ำมันก๊าซ และในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม ก็ไม่พ้นการอยู่ภายใต้อำนาจการชักใยของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ที่เป็นผู้กำกับการแสดง จูงทั้งสองสามฝ่าย ให้ชงและส่งลูกให้กัน เสี้ยมให้ชาติ ล่มสลาย เพื่อการปล้นยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างที่สหรัฐ แขนขวาของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง แขนซ้าย ก็ทำตัวเข้าสนับสนุนอีกฝ่าย
    ข้าพเจ้าจึงจะประกาศ ณ ที่นี้ว่าข้าพเจ้ามิได้รังเกียจประชาชนของชนชาติใด จะเป็นชาวอเมริกันหรือชาวยิวหรือชาติใด ๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารังเกียจ คือพฤติกรรม เอาเปรียบ เบียดเบียน แทรกแซง ปล้นทั้งทรัพยากรและดินแดน ทำลายชาติอื่น ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ได้กระทำทั่วโลก
    ดังนั้น กับคำกล่าวของท่านว่าข้าพเจ้าเหยียดชนชาติ เมื่อความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เดือดร้อนใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าในโลกปัจจุบัน เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีค่ายนักโทษอันใดที่กระทำความทารุณโหดร้ายเท่ากับที่สถานที่ชื่อ Gaza และในเมื่อประเทศของท่านเองยังกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว Palestine อย่างที่กระทำอยู่ ท่านยังจะกล้าบังอาจเรียกผู้ใดว่าเหยียดชนชาติได้เสียอย่างไร
    จะเรียกใครว่าอย่างไรท่านจงมองตัวเองบ้างเสียเถิด ท่านจงสำเหนียกเสียบ้างเถิดว่า พฤติกรรมร้องทำจะเป็นจะตายว่าพวกตนถูกทำร้าย ทั้งที่พวกตนนั่นแหละคือผู้ที่กระทำชำเราเขาไปทั่ว ท่านคิดว่าอย่างไร พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่น่าสมเพชหรือไม่
    ไม่ว่าจะประชาชนชนชาติใด เขาก็ย่อมปรารถนาความสงบสุข เขาย่อมปรารถนาอธิปไตยในชาติของเขาเอง เขาย่อมปรารถนาที่จะตัดสินอนาคตเขาเอง เขาย่อมปรารถนาว่าทรัพยากรของเขาจะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของเขาด้วยความเป็นธรรม เขาย่อมไม่ต้องการให้ใครมาเอาดินแดนของเขาไป แต่ในประเทศไทย ด้วยการชักใย การซื้อคนไทยที่ขายชาติตนเองทุกขั้ว การซื้อสื่อ การปลุกปั้นโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น
    ผลคือ คนไทย แทนที่จะรักใครสามัคคีกัน แทนที่จะได้รับผลประโยชน์จากสมบัติอันมีค่าของเขา แทนที่จะมีรัฐสวัสดิการ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่มีคุณภาพ แทนที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพความสุขที่พวกเขาควรได้รับ เขากลับต้องมาเกลียดชังกันเอง ทะเลาะสู้กันเอง เขากลับต้องมาเป็นทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ต้องมาเป็นทาสที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายสู้กันเอง แทนที่จะสามัคคีกันเพื่อปลดปล่อยพวกตนจากความเป็นทาส เพราะความไม่รู้เท่าทัน เพราะการหลอกลวงโดยนักการเมือง ผู้เข้ามามีอำนาจที่หิวโหย ที่ล้วนทำเพื่อตนเอง โดยรับใช้ ถูกชักใยจากนายคนเดียวกันคือ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งนั้น
    ข้าพเจ้าจึงมีความจำเป็นที่จะเปิดเผยความจริง ความจริงโดยรอบด้าน และความจริงที่จริงที่สุด โดย เมื่อประชาชนชาวไทยตื่นรู้กับความจริง การเป็นทาสที่ถูกหลอกให้สู้กันเองย่อมหมดไป ความสามัคคีย่อมกลับมา โดยสิ่งนี้สิ่งเดียว คือ การตื่นรู้เท่านั้น ที่จะทำให้ชนชาติไทยรอดพ้นภัยไปได้
    ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าประชาชนชาวไทยจะต้องไปเป็นศัตรูกับใคร การตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดังฉันใด และ เมื่อคนไทยตื่นรู้เลิกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันปราบปรามเหล่าคนไทยที่ขายชาติตนเองทั้งหลายแล้ว ประเทศและประชาชนชาวไทยย่อมพ้นจากการเป็นอาณานิคม พ้นจากการเป็นเป็นทาส ไม่ว่าจะเป็น ทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' หรือ กลุ่มทุนอื่นใด
    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
    หม่อมโจ้ สิ่งที่ควรรู้เรื่องอิสราเอลหม่อมโจ้ โต้ทูตอิสราเอล ยันต้องเปิดความจริง ช่วยคนไทยพ้นภาวะทาส เพื่อนๆคงจะรู้จัก คุณปุ๊ก อาภัสรา หงสกุล อดีตนางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก ที่เรียกว่ามิสยูนิเวอร์ส คุณอาภัสราจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3) ปี 2506 จาก ร.ร.ศึกษาวิทยา ถนนสีลม แล้วไปเรียนอาชีวศึกษาที่ ร.ร.เลขานุการที่นครรัฐปีนัง ในมาเลเซีย จบชั้นปีที่ 2 เธอมาประกวดนางสาวไทย ได้ตำแหน่งปี 2507 จากนั้นไปเรียนต่อแล้วกลับมาปี 2508 เดินทางไปประกวดมิสยูนิเวอร์สที่นครไมอามี่ รัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ได้ตำแหน่งขณะมีอายุ18ปี คุณปุ๊กเกิดวันที่16 มกราคม 2490 ปีกุนปีเดียวกับผม ปี 2510 ขณะมีอายุ 20ปีได้สมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร มีบุตรชายคนแรกคือหม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร ปัจจุบัน หม่อมโจ้ บุตรชายคนแรกของคุณปุ๊ก อายุได้ 53 ปีแล้ว หม่อมโจ้เรียนจบจากต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเคยทำงานบริษัทต่างประเทศจนได้ลาออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายวัดป่าอยู่หลายปีได้มาซื้อที่ดินที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 45 ไร่ ปลูกพืชและผลไม้สายพันธุ์ของต่างประเทศที่ไม่มีใครทำมาก่อนจนผลไม้ขายได้ในราคาสูง หม่อมหลวงรุ่งคุณได้ศึกษาและวิเคราะห์เขียนหนังสือหลายเรื่องเกี่ยวกับอิสราเอล ไว้มากจนเป็นข่าวตอบโต้กับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยดังนี้ เรียน ท่านเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย นายไซม่อน โรดเด็ด ข้าพเจ้ารับทราบถึงความไม่พอใจของท่านกับบทความของข้าพเจ้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าได้เขียน เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ อันเป็นสิทธิที่ข้าพเจ้าจะแสดงได้ โดยความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นไปตามข้อมูลหลักฐานอันมีจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีความพยายามในการกลบและบิดเบือน แม้กระนั้น ท่านอาจแปลกใจคิดว่า แล้วไฉนทั้งที่ข้าพเจ้าและประเทศไทยที่ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ข้าพเจ้าจึงต้องไปเขียนในเรื่องราวสร้างความบาดหมางให้แก่ท่าน ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะชี้แจงตรงนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนเพื่อที่จะก่อความบาดหมางให้แก่ท่านหรือแก่ผู้ใด และ เรื่องราวที่ข้าพเจ้าเขียนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง อย่างแรก 'กลุ่มทุนธนาคารยิว Zionist' ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวถึงคนเพียงกลุ่มหนึ่ง มิใช่ชาวยิวทั้งหมด โดยคำว่า 'Zionist' แม้แต่ชาวยิวแท้ Orthodox Jews ที่ยึดมั่นใน Torah จำนวนมากก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย ดังที่พวกเขาได้ออกมาประท้วง ประกาศว่า 'Zionism' ไม่ใช่ 'Judaism' เอง ท่านทูตน่าจะพอทราบอยู่ เพราะใน Israel ก็มีการจับชาวยิวแท้ ที่มีอัธยาศัยดีเหล่านี้ ไปจำคุกอยู่จำนวนหนึ่ง 'ทุนธนาคาร Zionist' ที่ข้าพเจ้าพูดถึง หมายถึงกลุ่มทุนธนาคารที่เป็นผู้มีอำนาจที่สุดในโลก มีอำนาจเหนือรัฐหลายรัฐ รวมถึงมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา เขาคุมการเงินโดยกลุ่มของเขาเอง เป็นเจ้าของ Federal Reserve Bank ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์เงินให้รัฐบาลสหรัฐฯต้องกู้ มิใช่ของประชาชนชาวอเมริกันตามที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด กลุ่มทุนธนาคารของเขาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทยักษ์ใหญ่แทบทั้งสิ้นทั่วโลก รวมถึง 6 บริษัทที่คุม 90% ของสื่อในสหรัฐอเมริกา เขาคุมแหล่งนํ้ามันและก๊าซหลัก ๆ ทั่วโลก และกำลังรุกเพื่อควบคุมผูกขาดอาหารของโลกโดยการผลิต GMO แม้แต่องค์กรโลก เช่น UN ที่ให้กำเนิด World Bank และ IMF ล้วนเป็นองค์กรที่พวกเขาจัดตั้งขึ้น และควบคุมทั้งสิ้น ชื่อตระกูลที่โดดเด่นมีอิทธิพลสูงสุดใน 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ ได้แก่ 'Rothschild' และ 'Rockefeller' ชื่อ 'Rothschild' ท่านทูตย่อมรู้จักเป็นอย่างดี โดยใน 'Independence Hall' ที่ Tel Aviv เมืองหลวงของท่านเอง ก็มีนิทรรศการเอกสารชิ้นสำคัญมากชิ้นหนึ่งเรียกว่า 'The Balfour Declaration' เป็นจดหมายจากรัฐบาลอังกฤษ จ่าหัวถึง 'Lord Rothschild' ใน 1917 แสดงถึงการที่รัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้เกิด บ้านอยู่ (national home) ของชาวยิว ที่ Palestine แก่ 'Lord Rothschild' Baron Edmond (Abraham Benjamin) Rothschild จึงมีสถานะเป็น "the Father of the Settlements" (Avi ha-Yishuv) หรือบิดาแห่งอิสราเอล ใน4บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก หรือ 'The Four Horsemen of Oil' ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายการครอบครองน้ำมันของสหรัฐฯ 2 บริษัท คือ BP Amoco และ Royal Dutch/Shell อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูล Rothschild ที่ถือหุ้นใหญ่ ส่วน อีกสอง Exxon Mobil และ Chevron คือ บริษัทที่มาจาก Standard Oil ของ John D. Rockefeller โดยกรรมการของบริษัทน้ำมันเหล่านี้จำนวนหนึ่ง ไขว้กันเองเป็นใย และไขว้เป็นกรรมการของธนาคารยักษ์ใหญ่ เช่น JP Morgan Chase ของ Rockefeller และ Citigroup, Bank of America, Wells Fargo, N. M. Rothschild & Sons โดยตระกูล Rothschild ควบคุม และมีการเชื่อมโยงถือหุ้นไขว้กันกับกลุ่มทุนนอมินียักษ์ เช่น BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ที่ถือหุ้นใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ แทบทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในการสร้างอำนาจเหนือรัฐต่าง ๆ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้จัดตั้งองค์กร Front ของเขา เช่น The Bilderberg Group, Council on Foreign Relations (CFR) และ The Trilateral Commission (TC) โดยองค์กรเหล่านี้จะรวมกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และบรรดาผู้มีอิทธิผล เช่น อดีตประธานาธิบดี บริวารมือขวาของเขา Henry Kissinger นักการเมืองทุกขั้ว ทหาร หัวหน้าหน่วยงานลับ ของประเทศสำคัญในยุโรป และสหรัฐฯ โดยใน Trilateral Commission จะมีสมาชิกเป็นบุคคลสำคัญของประเทศในทวีปเอเชียต่าง ๆ ที่รับใช้พวกเขา 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมีอิทธิพลอำนาจเหนือรัฐ เช่นมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ด้วยความละโมบของพวกเขา ในการล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยกำลังก็ดี โดยวิธีแห่งการให้สินบนแก่ผู้ขายชาติตนเองก็ดี โดยการบีบบังคับด้วยหนี้สินก็ดี โดยการแทรกแซงการเมืองภายในก็ดี 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้เข้ายึดครองทรัพยากร พลังงาน เศรษฐกิจ และการเงิน ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ตกเป็นทาสของพวกเขา โดยในประเทศไทยเอง ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำ ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' พร้อมการร่วมมือของ 'คนไทย' ที่ได้ขายตัวขายจิตวิญญาณให้พวกเขา ได้ร่วมกระทำ ดังต่อไปนี้ (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงิน (3) การชักใยอยู่เบื้องหลังทุกฝ่าย ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' เพื่อการยึดครองประเทศเป็นเมืองขึ้นยิ่งขึ้นไป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ : (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งที่ประเทศไทย มีอธิปไตยของตนเอง โดยอธิปไตย นั้นเป็นของปวงชนชาวไทย อันหมายความว่าทรัพยากรของชาตินั้นเป็นของประชาชนคนไทย แต่ปรากฏว่า กฎหมายว่าด้วยน้ำมันและก๊าซ (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514) มิได้มีการเขียนขึ้นไม่ว่าจะ 'โดย' ประชาชน หรือ 'เพื่อ' ประชาชน แต่อย่างใด แต่ได้ถูกเขียนขึ้นโดย Walter James Levi สมาชิกทั้ง CFR และ The Trilateral Commission ผู้ทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขั้นขึ้นชื่อว่าเป็น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์พลังงานของสหรัฐอเมริกา (the dean of United States oil economists) และ ได้เป็นผู้บริหารบริษัทของตระกูล Rockefeller เองคือ Standard Oil Company of New York หรือ Socony (ปัจจุบันคือ Exxon) คนที่เขียนกฎหมายนี้ของประเทศไทย ไม่ใช่คนไทย แต่คือคนของ 'ทุนธนาคาร Zionist' เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวเอง ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยมีลักษณะของกฎหมายสำหรับเมืองขึ้นอันไม่เป็นธรรม คือ น้ำมันและก๊าซทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัมปทาน การได้สัมปทานเป็นไปโดยไม่มีการประมูลอย่างโปร่งใส ค่าตอบแทนเป็นไปอย่างต่ำ และ ประชาชนคนไทยที่เป็นเจ้าของโดยแท้จริง ไม่สามารถตรวจสอบรับทราบความจริงได้เลย โดยวิธีที่สามารถจะเรียกว่าโปร่งใสได้ ว่าปริมาณทรัพยากรที่มีการขุดไปนั้นมีปริมาณที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด ประเทศไทยมีพลังงานมากน้อยแค่ไหนโดยต้องยอมรับตามตัวเลข ที่บริษัทพลังงานต่าง ๆ แจ้งเท่านั้น การปล้นอธิปไตยโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นไปได้ด้วยการข่มขู่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมการให้สินบนแก่ 'คนไทยที่ขายชาติตัวเอง' ซึ่งจากนั้นมา การรุกครอบครองน้ำมันและก๊าซของประชาชนคนไทย โดยวิธีการดังกล่าวได้ขยายไปเรื่อย ๆ มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ให้เอื้ออำนวยแก่ผู้รับสัมปทานอย่างล้นพ้นโดยภายหลังจะเห็นได้ชัดเจนถึงผู้เข้ามามีอำนาจในไทย ไม่ว่าขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ได้สานต่อไปในทาง 'ขายชาติตัวเอง' ให้แก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้เพื่อค่าคอมมิสชั่น ถึงขั้นร่วมกันชง ส่งลูกกันข้ามรัฐบาล ยกดินแดนไทยให้กัมพูชา อันส่งผลให้พื้นที่ไทยในทะเลอ่าวไทย 27,000 ตารางกิโลเมตรอันอุดมด้วยน้ำมันและก๊าซที่สุดแห่งหนึ่ง ต้องตกกลายเป็นพื้นที่พิพาท ระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งในพื้นที่นี้ บริษัท Chevron คือบริษัทที่จ่อล็อกจะถือสัมปทานจากทั้ง 2 ประเทศ ในกรณีนี้ที่มีการพิพาทเรื่องพื้นที่ในอ่าวไทย หากไทยและกัมพูชา ให้สัมปทานในพื้นที่นี้ ผู้ที่จะมีอิทธิพลสูงสุดในการครอบครอง ย่อมมิใช่ไทยหรือกัมพูชาอีกทั้งนั้น แต่จะเป็นสหรัฐอเมริกาภายใต้กลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เพราะสัมปทานจะเป็นของ Chevron โดยเอกฉันท์ ฝ่ายใดที่ให้ประโยชน์แก่สหรัฐฯ สูงสุด สหรัฐฯ ย่อมสนับสนุนฝ่ายนั้น ในปัจจุบัน การถูกปล้นอธิปไตย การตกเป็นอาณานิคมของ 'ทุนธนาคาร Zionist' อย่างเต็มรูปแบบในเรื่องพลังงาน ก็ประจักษ์ชัดเจนอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในปัจจุบัน นาย ณรงค์ชัย อัครเศรณี ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง ได้เป็นสมาชิก The Trilateral Commission (TC) องค์กรของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ยาวนานถึง 30 ปี โดยเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไม่รีรอที่จะประกาศผลักดันเปิดสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจ และไม่มีการชี้แจงอันใดเกี่ยวกับการเสียดินแดนของประเทศไทย ทั้งที่มีการคัดค้าน ด้วยประการฉะนี้ การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมิได้ครอบคลุมเพียงแค่น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป แต่ได้ขยายไปเป็นการปล้นดินแดนไทย จากประชาชนคนไทย ไปโดยเรียบร้อย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงินของประเทศ การที่เถ้าแก่สามานย์รายใดจะต้องการยึดที่ดินสวย ๆ ของชาวนา วิธีที่เขาจะกระทำคือ ให้ชาวนากู้เงิน ทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ เมื่อจ่ายช้าก็อายัดที่ดินนั้น บังคับขายในราคาต่ำกว่าจริงสิบเท่า แล้วเข้าซื้อเอง วิธีการของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ก็เป็นเช่นนั้น ทำให้ประเทศเป็นหนี้ หลังการปล่อยกู้เงินให้แก่ประเทศไทยจำนวนมากให้คน น้อยกว่า 1% อย่างฟุ่มเฟือย George Soros สมาชิกอาวุโส CFR ได้นำกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' มาโจมตีค่าเงินบาท จาก 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ กลายเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ เพราะกู้เงินจากต่างชาติมามาก เศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่วิกฤต มีการล่มสลายของธุรกิจจำนวนมาก(ในปี 2540 – 2542) ต่อมาก็เป็นไปตามแบบแผนวิธีการของ IMF และ World Bank ที่ 51% เป็นของ US Treasury ควบคุมโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ของ Rothschild ตามขั้นตอนที่ Joseph Stiglitz ผู้เป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจของ President Bill Clinton อดีตรองประธาน และ Chief Economist ของ World Bank ได้เปิดโปงให้แก่หนังสือ The Observer และ Newsweek หลังมีเอกสารลับหลุดออกมาจาก World Bank คือในการขอความช่วยเหลือทางการเงิน จำต้องเซ็นสัญญา โดยในสัญญาจะตกลงใน (a) Privatization การแปรรูป โดยรัฐจะต้องยินยอมขายสมบัติของชาติเกี่ยวเนื่องกับสิ่งจำเป็น เช่น น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ (b) Capital Market Liberalization การเปิดให้ทุนไหลเข้าออก โดยส่วนใหญ่มักจะไหลออก (c) Market-based pricing การขึ้นราคา อาหาร ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ โดยอ้างว่าเป็นราคาตลาดโลก (d) Free Trade การค้าเสรี ตามกฎของ WTO และ World Bank Stiglitz ได้ระบุในการสัมภาษณ์อย่างชัดเจนว่า การยินยอมในการตกลงนั้นเกิดขึ้นไม่ยากโดย (ก) World Bank IMF สามารถสั่ง Financial Blockage การกีดกันทางการเงินหากไม่ร่วมมือ และ (ข) นักการเมืองในประเทศนั้น ๆ ยินดีที่จะยกบริษัท น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ให้โดย 'เขาจะตาโตกันเลย เมือเขานึกถึงค่าคอมมิสชั่นที่เขาจะได้กัน จากการลดราคาเป็นพัน ๆ ล้านในการแปรรูป' โดยเขาจะสามารถใช้ข้ออ้างว่า ถูก World Bank IMF บังคับ แล้วการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ก็ได้ตามมา พร้อมการขายสมบัติชาติแบบล็อกสเปคในราคาที่ต่ำกว่าทุนถึง 5 เท่า ตามด้วยการแปรรูปบริษัทน้ำมัน-ก๊าซของชาติ โดยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าจะในกรณี การยกดินแดนให้ต่างชาติ หรือ การแปรรูป จะเกิดขึ้นโดยการร่วมมือของมากกว่าหนึ่งรัฐบาล โดยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชง อีกฝ่ายเป็นฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นไปเพื่อการสามารถโยนความผิดกันไปมาได้ โดยไม่มีใครผิดเต็ม ๆ โดยในกรณีนี้ แม้ขั้วนักการเมืองกลุ่มที่รับข้อตกลงรับรายละเอียดในการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับจาก 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้พยายามจะโยนความผิดให้ผู้ริเริ่มการตกลง แต่ก็ปรากฏให้เห็นได้ถึงการตอบแทน เมื่อคนของเขาได้ไปนั่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO โดยการโจมตีค่าเงิน การบีบข่มขู่ การให้สินบนแก่ผู้เข้ามามีอำนาจทุกขั้ว ที่ร่วมกันขายชาติตนเอง 'ทุนธนาคาร Zionist' เช่น JP Morgan Chase, BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ได้เข้ามายึดครองควบคุม บริษัทน้ำมันก๊าซ ธนาคาร และ เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย ไปจากคนไทย และยังรุกคืบยิ่ง ณ ปัจจุบัน ตามข่าวการแปรรูปที่ปรากฏอยู่ (3) การชักใยอยู่เบื้องหลัง ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' (Divide and Conquer) เพื่อการยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ เป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ที่เข้ามามีอำนาจ ล้วนให้ความร่วมมือกับ 'ทุนธนาคาร Zionist' ในการขายทำลายชาติ โดยมีค่าคอมมิสชั่น ทั้งในทรัพยากรและในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม สามารถควบคุม ชักใยได้ทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์ แบ่งแยกแล้วปกครอง เป็นยุทธศาสตร์ที่มีตัวอย่างเห็นได้ในโลกปัจจุบันมากมายในการเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยการยุยงให้เหยื่อตีกันเอง บางกรณีให้อาวุธทั้ง 2 ฝ่าย ทำลายภูมิคุ้มกันความสามัคคีของชนชาตินั้น ๆ สร้างความแตกแยก โดยเมื่อมีรอยแตก ก็สามารถจะแทรกเข้าไป ยึดครองประเทศนั้น ๆ ความแตกแยก ปัญหาความขัดแย้งเสื้อสี ที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ล้วนมีการชักใย มีการสนับสนุน ทั้ง 2 ฝ่ายการเมือง โดยมีกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว โดยทั้ง 2 ขั้ว นั้นล้วนมีผลประโยชน์ในเรื่องคอมมิสชั่น จากกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และถูกชักใยให้ปลุกปั่นประชาชน ให้มาตีกันเองโดยการรู้ไม่เท่าทันของประชาชน ว่าโดยแท้จริงแล้ว นักการเมืองและผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ล้วนให้ความร่วมมือ ขายชาติตนเองแก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งสิ้น หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสมาชิก CFR ของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' อาทิ (a) Robert Blackville สมาชิก CFR มือขวาการต่างประเทศของ Henry Kissinger จาก Barbour Griffif & Rogers (CFR) (b) Keneth Adelman สมาชิก CFR อดีตทูต UN ของสหรัฐ จาก Baker & Botts Robert (CFR) (c) Robert Amsterdam จาก Amsterdam & Peroff (Chatham House) ได้ทำหน้าที่เป็น lobbyist ให้อดีตนักการเมืองที่หลบอยู่ที่ Dubai และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการเสื้อแดง และองค์กร NED ได้ให้เงินสนับสนุน Website ของเสื้อแดงจำนวนมาก โดยต้องเป็นที่กล่าวว่า นักการเมืองไทยที่หลบหนีอยู่ที่ Dubai นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงหุ่นเชิด ที่ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ชักใยอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโดยลำพังเขาไม่สามารถที่จะทำเองได้เลย (นั่นคือทักษิณ ชินวัตร) ส่วนนักการเมืองผู้เข้ามามีอำนาจ ฝ่ายอื่น ๆ ที่โหน อ้าง ปกป้อง สถาบันสำคัญ ๆ ฝ่ายนี้ โดยการขายตัวขายชาติ การปรารถนาได้ค่าคอมมิสชั่น ทั้งในน้ำมันก๊าซ และในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม ก็ไม่พ้นการอยู่ภายใต้อำนาจการชักใยของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ที่เป็นผู้กำกับการแสดง จูงทั้งสองสามฝ่าย ให้ชงและส่งลูกให้กัน เสี้ยมให้ชาติ ล่มสลาย เพื่อการปล้นยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างที่สหรัฐ แขนขวาของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง แขนซ้าย ก็ทำตัวเข้าสนับสนุนอีกฝ่าย ข้าพเจ้าจึงจะประกาศ ณ ที่นี้ว่าข้าพเจ้ามิได้รังเกียจประชาชนของชนชาติใด จะเป็นชาวอเมริกันหรือชาวยิวหรือชาติใด ๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารังเกียจ คือพฤติกรรม เอาเปรียบ เบียดเบียน แทรกแซง ปล้นทั้งทรัพยากรและดินแดน ทำลายชาติอื่น ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ได้กระทำทั่วโลก ดังนั้น กับคำกล่าวของท่านว่าข้าพเจ้าเหยียดชนชาติ เมื่อความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เดือดร้อนใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าในโลกปัจจุบัน เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีค่ายนักโทษอันใดที่กระทำความทารุณโหดร้ายเท่ากับที่สถานที่ชื่อ Gaza และในเมื่อประเทศของท่านเองยังกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว Palestine อย่างที่กระทำอยู่ ท่านยังจะกล้าบังอาจเรียกผู้ใดว่าเหยียดชนชาติได้เสียอย่างไร จะเรียกใครว่าอย่างไรท่านจงมองตัวเองบ้างเสียเถิด ท่านจงสำเหนียกเสียบ้างเถิดว่า พฤติกรรมร้องทำจะเป็นจะตายว่าพวกตนถูกทำร้าย ทั้งที่พวกตนนั่นแหละคือผู้ที่กระทำชำเราเขาไปทั่ว ท่านคิดว่าอย่างไร พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่น่าสมเพชหรือไม่ ไม่ว่าจะประชาชนชนชาติใด เขาก็ย่อมปรารถนาความสงบสุข เขาย่อมปรารถนาอธิปไตยในชาติของเขาเอง เขาย่อมปรารถนาที่จะตัดสินอนาคตเขาเอง เขาย่อมปรารถนาว่าทรัพยากรของเขาจะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของเขาด้วยความเป็นธรรม เขาย่อมไม่ต้องการให้ใครมาเอาดินแดนของเขาไป แต่ในประเทศไทย ด้วยการชักใย การซื้อคนไทยที่ขายชาติตนเองทุกขั้ว การซื้อสื่อ การปลุกปั้นโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ผลคือ คนไทย แทนที่จะรักใครสามัคคีกัน แทนที่จะได้รับผลประโยชน์จากสมบัติอันมีค่าของเขา แทนที่จะมีรัฐสวัสดิการ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่มีคุณภาพ แทนที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพความสุขที่พวกเขาควรได้รับ เขากลับต้องมาเกลียดชังกันเอง ทะเลาะสู้กันเอง เขากลับต้องมาเป็นทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ต้องมาเป็นทาสที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายสู้กันเอง แทนที่จะสามัคคีกันเพื่อปลดปล่อยพวกตนจากความเป็นทาส เพราะความไม่รู้เท่าทัน เพราะการหลอกลวงโดยนักการเมือง ผู้เข้ามามีอำนาจที่หิวโหย ที่ล้วนทำเพื่อตนเอง โดยรับใช้ ถูกชักใยจากนายคนเดียวกันคือ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความจำเป็นที่จะเปิดเผยความจริง ความจริงโดยรอบด้าน และความจริงที่จริงที่สุด โดย เมื่อประชาชนชาวไทยตื่นรู้กับความจริง การเป็นทาสที่ถูกหลอกให้สู้กันเองย่อมหมดไป ความสามัคคีย่อมกลับมา โดยสิ่งนี้สิ่งเดียว คือ การตื่นรู้เท่านั้น ที่จะทำให้ชนชาติไทยรอดพ้นภัยไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าประชาชนชาวไทยจะต้องไปเป็นศัตรูกับใคร การตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดังฉันใด และ เมื่อคนไทยตื่นรู้เลิกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันปราบปรามเหล่าคนไทยที่ขายชาติตนเองทั้งหลายแล้ว ประเทศและประชาชนชาวไทยย่อมพ้นจากการเป็นอาณานิคม พ้นจากการเป็นเป็นทาส ไม่ว่าจะเป็น ทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' หรือ กลุ่มทุนอื่นใด จึงเรียนมาเพื่อทราบ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 52 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ปานเทพ” ย้ำหัวใจของปัญหา MOU 2544 อยู่ที่พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนมากเกินจริง โดยฝ่ายกัมพูชาไม่ยึดถือกฎหมายทะเลสากล ถ้าไทยยอมรับเท่ากับปฏิเสธพระบรมราชโองการ ร.9 ประกาศเขตไหล่ทวีปของไทยปี 2516 ที่ควรเป็นหลัก ไม่ใช่อ้างตาม MOU ที่นักการเมืองไปคุยกันเอง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105853

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ปานเทพ” ย้ำหัวใจของปัญหา MOU 2544 อยู่ที่พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนมากเกินจริง โดยฝ่ายกัมพูชาไม่ยึดถือกฎหมายทะเลสากล ถ้าไทยยอมรับเท่ากับปฏิเสธพระบรมราชโองการ ร.9 ประกาศเขตไหล่ทวีปของไทยปี 2516 ที่ควรเป็นหลัก ไม่ใช่อ้างตาม MOU ที่นักการเมืองไปคุยกันเอง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105853 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Yay
    33
    1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 1689 มุมมอง 3 รีวิว
  • ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย
    .
    เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544)
    .
    ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ
    .
    ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน
    .
    “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ”
    .
    สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ
    ..............
    Sondhi X
    ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย . เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) . ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ . ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน . “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ” . สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 335 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิโตรเลียมเกาะกูด น้ำมันแพงเหมือนเดิม

    มีคำกล่าวว่า "ข่าวลือมักจะมาก่อนข่าวจริงเสมอ" ประเด็นเกาะกูดเกิดขึ้นจากข่าวลือแบบปากต่อปากว่า นักการเมืองรายหนึ่งจะยกเกาะกูดให้เขมร กระทั่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พักการลงโทษจากคดีทุจริตไปแสดงวิสัยทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 เสนอให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา หรือ OCA (Overlapping Claims Area) อ้างว่ากัมพูชาลากเส้นจากไหล่ทวีป 200 ไมล์ทะเลแล้วเกยกัน ถือว่าเป็นเขตทับซ้อน ถ้ามีทรัพยากรอยู่ก็ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง

    แม้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 แต่เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย 200 ไมล์ทะเลฝ่ายเดียว โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 จ.ตราด ไปผ่ากลางครึ่งหนึ่งของเกาะกูด แต่ก็มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยในปี 2516 โดยแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 ระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสากล คือ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 แต่กัมพูชายังคงยึดถือเขตไหล่ทวีปของตนเอง หนำซ้ำรัฐบาลทักษิณไปเซ็น MOU 2544 ทำให้นายทักษิณอ้างว่าเป็นเขตทับซ้อน

    ต่อมาวันที่ 10 ต.ค. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ จะเริ่มเจรจากับกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่มีมูลค่าอย่างน้อย 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ควบคุมค่าไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะมีก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทั้งสองประเทศขัดแย้งทางการทูตและความอ่อนไหวเรื่องอธิปไตย ทำให้การเจรจาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 2544

    แม้เรื่องเกาะกูดจะไม่โด่งดัง แต่ก็เป็นที่พูดถึงในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล กังวลว่าไทยจะเสียสิทธิ์ทางทะเล และเสียดินแดนเช่นเดียวกับกรณีปราสาทพระวิหาร ส่วนรัฐบาลตอบโต้ว่าเป็นพวกคลั่งชาติ ทำร้ายผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ถึงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะร่วมกันนำพลังงานขึ้นมาใช้ แต่สุดท้ายคนไทยใช้น้ำมันแพงเหมือนเดิม เพราะอ้างอิงราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ แถมต้นทุนโรงกลั่นในไทยสูงกว่าสิงค์โปร์ ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังจำกัดอยู่ที่รายใหญ่ เชื่อไม่ได้ว่าค่าไฟฟ้าจะถูกลง คนที่ได้ประโยชน์ตัวจริงคือนักการเมือง กับกลุ่มทุนพลังงานบางกลุ่มเท่านั้น

    #Newskit #เกาะกูด
    ปิโตรเลียมเกาะกูด น้ำมันแพงเหมือนเดิม มีคำกล่าวว่า "ข่าวลือมักจะมาก่อนข่าวจริงเสมอ" ประเด็นเกาะกูดเกิดขึ้นจากข่าวลือแบบปากต่อปากว่า นักการเมืองรายหนึ่งจะยกเกาะกูดให้เขมร กระทั่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พักการลงโทษจากคดีทุจริตไปแสดงวิสัยทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 เสนอให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา หรือ OCA (Overlapping Claims Area) อ้างว่ากัมพูชาลากเส้นจากไหล่ทวีป 200 ไมล์ทะเลแล้วเกยกัน ถือว่าเป็นเขตทับซ้อน ถ้ามีทรัพยากรอยู่ก็ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง แม้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 แต่เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย 200 ไมล์ทะเลฝ่ายเดียว โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 จ.ตราด ไปผ่ากลางครึ่งหนึ่งของเกาะกูด แต่ก็มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยในปี 2516 โดยแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 ระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสากล คือ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 แต่กัมพูชายังคงยึดถือเขตไหล่ทวีปของตนเอง หนำซ้ำรัฐบาลทักษิณไปเซ็น MOU 2544 ทำให้นายทักษิณอ้างว่าเป็นเขตทับซ้อน ต่อมาวันที่ 10 ต.ค. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ จะเริ่มเจรจากับกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่มีมูลค่าอย่างน้อย 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ควบคุมค่าไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะมีก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทั้งสองประเทศขัดแย้งทางการทูตและความอ่อนไหวเรื่องอธิปไตย ทำให้การเจรจาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 2544 แม้เรื่องเกาะกูดจะไม่โด่งดัง แต่ก็เป็นที่พูดถึงในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล กังวลว่าไทยจะเสียสิทธิ์ทางทะเล และเสียดินแดนเช่นเดียวกับกรณีปราสาทพระวิหาร ส่วนรัฐบาลตอบโต้ว่าเป็นพวกคลั่งชาติ ทำร้ายผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ถึงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะร่วมกันนำพลังงานขึ้นมาใช้ แต่สุดท้ายคนไทยใช้น้ำมันแพงเหมือนเดิม เพราะอ้างอิงราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ แถมต้นทุนโรงกลั่นในไทยสูงกว่าสิงค์โปร์ ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังจำกัดอยู่ที่รายใหญ่ เชื่อไม่ได้ว่าค่าไฟฟ้าจะถูกลง คนที่ได้ประโยชน์ตัวจริงคือนักการเมือง กับกลุ่มทุนพลังงานบางกลุ่มเท่านั้น #Newskit #เกาะกูด
    Like
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 238 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ธีระชัย” โต้ “นพดล” ยัน MOU44 กระทบการอ้างสิทธิทางทะเลแน่นอน เหตุกัมพูชาลากเส้นไม่ถูกต้อง ส่งผลให้พื้นที่พัฒนาร่วมกว้างใหญ่เกินไป ไทยเสียสิทธิทางทะเล และอาจลามถึงขั้นเสียสิทธิ์บางส่วนของเกาะกูด ซ้ำมีหลักฐานกัมพูชาทำผิดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ต้องยกเลิก MOU44

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105667

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ธีระชัย” โต้ “นพดล” ยัน MOU44 กระทบการอ้างสิทธิทางทะเลแน่นอน เหตุกัมพูชาลากเส้นไม่ถูกต้อง ส่งผลให้พื้นที่พัฒนาร่วมกว้างใหญ่เกินไป ไทยเสียสิทธิทางทะเล และอาจลามถึงขั้นเสียสิทธิ์บางส่วนของเกาะกูด ซ้ำมีหลักฐานกัมพูชาทำผิดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ต้องยกเลิก MOU44 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105667 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    23
    2 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 1938 มุมมอง 1 รีวิว
  • นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า

    “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44

    ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า

    หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ

    ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป

    รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

    รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป

    รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน

    รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต

    ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้

    **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว

    ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์

    ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ

    ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์"

    ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว

    **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ

    ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้

    ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ

    การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ **

    **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน

    ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ

    ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ

    แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง

    ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์

    ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป

    ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน

    การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต

    ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ”

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

    https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44 ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้ **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์" ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ ** **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์ ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ” วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 426 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 402 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ เบื้องหลังแบ่งเค้กปิโตรเลียม ไทย-กัมพูชา มหาอำนาจคาดหวังมากกว่าเกาะกูด
    #7ดอกจิก
    #เกาะกูด
    ♣️ เบื้องหลังแบ่งเค้กปิโตรเลียม ไทย-กัมพูชา มหาอำนาจคาดหวังมากกว่าเกาะกูด #7ดอกจิก #เกาะกูด
    Angry
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 131 0 รีวิว
  • 'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้!

    31 ต.ค.2567 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้” ระบุว่า กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแทบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ

    เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส

    เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ?

    ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย
    ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม!

    ที่มา https://www.thaipost.net/x-cite-news/682589/

    #Thaitimes
    'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้! 31 ต.ค.2567 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้” ระบุว่า กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแทบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ? ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม! ที่มา https://www.thaipost.net/x-cite-news/682589/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้!
    ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 397 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ปานเทพ” เผย มติ ครม.ยุครัฐบาล “อภิสิทธิ์” ปี 52 เคยเห็นชอบหลักการยกเลิก MOU2544 ไว้แล้ว เพียงแต่รอขั้นตอนให้สภารับรอง หากรัฐบาลนี้จะนำไปใช้เป็นเจรจาแบ่งผลประโยชน์ทางทะเลกับกัมพูชา ต้องมีมติเปลี่ยนแปลงก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าทำผิดมติ ครม.และยังละเมิดพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปปี 2516 ย้อน “ภูมิธรรม” แทนที่จะกล่าวหาคนค้าน MOU2544 ว่าคลั่งชาติ ควรตั้งคำถามรัฐบาลตัวเองกำลังขายชาติหรือไม่

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105096

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ปานเทพ” เผย มติ ครม.ยุครัฐบาล “อภิสิทธิ์” ปี 52 เคยเห็นชอบหลักการยกเลิก MOU2544 ไว้แล้ว เพียงแต่รอขั้นตอนให้สภารับรอง หากรัฐบาลนี้จะนำไปใช้เป็นเจรจาแบ่งผลประโยชน์ทางทะเลกับกัมพูชา ต้องมีมติเปลี่ยนแปลงก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าทำผิดมติ ครม.และยังละเมิดพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปปี 2516 ย้อน “ภูมิธรรม” แทนที่จะกล่าวหาคนค้าน MOU2544 ว่าคลั่งชาติ ควรตั้งคำถามรัฐบาลตัวเองกำลังขายชาติหรือไม่ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105096 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Angry
    Yay
    93
    5 ความคิดเห็น 6 การแบ่งปัน 2921 มุมมอง 4 รีวิว
  • “หม่อมกร” ชี้จุดพึงระวัง MOU 2544 ไทยเปลี่ยนจุดยืนไม่รักษาสิทธิเขตแดนทางทะเลตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และหันไปยอมรับเส้นเขตแดนกัมพูชาที่ประกาศไม่มีกฎหมายสากลรองรับ จนเกิดพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ทำใหเไทยเสียเปรียบและเสี่ยงเสียดินแดนซ้ำรอยเขาพระวิหาร ชี้พิรุธเจรจารวบรัดแค่ 44 วันก็ลงนาม ขณะที่เขตทับซ้อนไทย-เวียดนาม ใช้เวลา 6 ปี ไทย-มาเลเซียใช้เวลา 7 ปี เพราะเจรจาอย่างรอบคอบ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105028

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “หม่อมกร” ชี้จุดพึงระวัง MOU 2544 ไทยเปลี่ยนจุดยืนไม่รักษาสิทธิเขตแดนทางทะเลตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และหันไปยอมรับเส้นเขตแดนกัมพูชาที่ประกาศไม่มีกฎหมายสากลรองรับ จนเกิดพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ทำใหเไทยเสียเปรียบและเสี่ยงเสียดินแดนซ้ำรอยเขาพระวิหาร ชี้พิรุธเจรจารวบรัดแค่ 44 วันก็ลงนาม ขณะที่เขตทับซ้อนไทย-เวียดนาม ใช้เวลา 6 ปี ไทย-มาเลเซียใช้เวลา 7 ปี เพราะเจรจาอย่างรอบคอบ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105028 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Love
    35
    4 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 2867 มุมมอง 1 รีวิว
  • #เส้นเขตแดน กัมพูชา ตลกมาก็ดี
    #เส้นเขตแดน กัมพูชา ตลกมาก็ดี
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 49 มุมมอง 22 0 รีวิว
  • สรุปข่าว เกาะกูด / MOU44 / พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา #เทรนด์วันนี้ #ไทย #กัมพูชา
    สรุปข่าว เกาะกูด / MOU44 / พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา #เทรนด์วันนี้ #ไทย #กัมพูชา
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 158 มุมมอง 68 0 รีวิว
  • อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า

    “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !

    ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2

    แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย

    นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้

    เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ

    ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121

    การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้

    - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)

    - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)

    - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)

    ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น

    ผิดทั้งหมด !

    เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว

    การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน

    แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !

    ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้

    นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554

    นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !

    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด

    “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้

    อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ

    เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา

    แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย

    จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !

    นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย

    โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน

    ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร

    ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…

    “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”

    การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก

    แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน

    พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U

    วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา

    MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี

    แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด

    หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง

    ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

    หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร

    ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !

    ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน

    ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย

    แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

    หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น

    เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !

    หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA

    #Thaitimes
    อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ! ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้ - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972) - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972) - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544) ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น ผิดทั้งหมด ! เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ ! ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้ นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด ! ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้ อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา ! นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ… “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้” การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ ! ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ ! หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้
    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 324 มุมมอง 0 รีวิว
  • การที่รัฐบาลนี้ไปพูดกับกัมพูชาว่า"จะใช้ศิลปวัฒนธรรมร่วม!!!"ซึ้งมันเป็นไปไม่ได้เลย คนไทยทุกคนคิดว่าอย่างไรกันคะ"บอกเป็นการเจรจาภาษาทางการฑูตคืออะไร?...บรรพบุรุษไทยสร้างสรรผลงานปราณีตละเอียดอ่อนสวยงามมาอย่างยาวนานจะยกให้ชาติอื่นมาเคลมง่ายๆจะได้หรือ ฟังยังไงก็รับไม่ได้หรอกทุกชนชาติเขาหวงแหนความเป็นอัตลักษณ์ในชาติตนทั้งนั้นไม่เช่นนั้นเขาจะจดสิทธิบัตรกันทำไม?"ใครจะว่าคลั่งชาติก็ดีกว่าขายชาติ....? 🤔"เพื่อนๆทนฟังเสียงบัวหน่อยนะต้องร้องเองเพราะไม่อยากติดลิขสิทธิ ดนตรีก็ไม่มี ต้องรอแอป"Thaitimes:นำเสียงเพลงมาใส่เพื่อเราจะได้สร้างคลิปวีดีโอได้ในที่ดียว รอๆคะ"30102024"05:08น.bkk Th
    การที่รัฐบาลนี้ไปพูดกับกัมพูชาว่า"จะใช้ศิลปวัฒนธรรมร่วม!!!"ซึ้งมันเป็นไปไม่ได้เลย คนไทยทุกคนคิดว่าอย่างไรกันคะ"บอกเป็นการเจรจาภาษาทางการฑูตคืออะไร?...บรรพบุรุษไทยสร้างสรรผลงานปราณีตละเอียดอ่อนสวยงามมาอย่างยาวนานจะยกให้ชาติอื่นมาเคลมง่ายๆจะได้หรือ ฟังยังไงก็รับไม่ได้หรอกทุกชนชาติเขาหวงแหนความเป็นอัตลักษณ์ในชาติตนทั้งนั้นไม่เช่นนั้นเขาจะจดสิทธิบัตรกันทำไม?"ใครจะว่าคลั่งชาติก็ดีกว่าขายชาติ....? 🤔"เพื่อนๆทนฟังเสียงบัวหน่อยนะต้องร้องเองเพราะไม่อยากติดลิขสิทธิ ดนตรีก็ไม่มี ต้องรอแอป"Thaitimes:นำเสียงเพลงมาใส่เพื่อเราจะได้สร้างคลิปวีดีโอได้ในที่ดียว รอๆคะ"30102024"05:08น.bkk Th
    Yay
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 280 มุมมอง 77 0 รีวิว
  • พปชร.ค้านใช้ mou44 เจรจากัมพูชา ลุงป้อมยันเอง เขมรจ้องแบ่งเกาะกูดทุกการเจรจา แต่ยังคาใจว่าตอนร่วมรัฐบาล ทำไมลุงไม่ค้านเลย เพิ่งมานึกได้ตอนเป็นฝ่ายค้านเหรอ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #เกาะกูด
    พปชร.ค้านใช้ mou44 เจรจากัมพูชา ลุงป้อมยันเอง เขมรจ้องแบ่งเกาะกูดทุกการเจรจา แต่ยังคาใจว่าตอนร่วมรัฐบาล ทำไมลุงไม่ค้านเลย เพิ่งมานึกได้ตอนเป็นฝ่ายค้านเหรอ #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #เกาะกูด
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 421 มุมมอง 0 รีวิว
  • #อย่าให้นักการเมืองเฉไฉ#ผลประโยชน์เพื่อใครกันแน่#พูดไม่หมด

    เรื่องเกาะทางทะเล ย่อมมีไหล่ทวีป และถือเป็นแนวอาณาเขต ประเทศไทย มีพระบรมราชโองการ ตามหลักสากล แต่กัมพูชามาเขียนเส้นตั้งฉากจากหมุดเขตตัดท่อนเกาะกูด พอทักท้วง ก็มาขีดใหม่เป็นตัววี อ้อมเกาะ แล้วขีดต่อเข้ามาเขตทะเลในอ่าวไทย แล้วคนขายชาติ ก็ไปเออตามกัมพูชา ว่าไม่เอาเกาะ แต่จะแบ่งทรัยากรใต้ทะเล ตามที่อยากจะขีดแบบนี้

    นักการเมืองหน้าไหนว่าตามกลอนเขมร มันคือคนขายชาติ
    #อย่าให้นักการเมืองเฉไฉ#ผลประโยชน์เพื่อใครกันแน่#พูดไม่หมด เรื่องเกาะทางทะเล ย่อมมีไหล่ทวีป และถือเป็นแนวอาณาเขต ประเทศไทย มีพระบรมราชโองการ ตามหลักสากล แต่กัมพูชามาเขียนเส้นตั้งฉากจากหมุดเขตตัดท่อนเกาะกูด พอทักท้วง ก็มาขีดใหม่เป็นตัววี อ้อมเกาะ แล้วขีดต่อเข้ามาเขตทะเลในอ่าวไทย แล้วคนขายชาติ ก็ไปเออตามกัมพูชา ว่าไม่เอาเกาะ แต่จะแบ่งทรัยากรใต้ทะเล ตามที่อยากจะขีดแบบนี้ นักการเมืองหน้าไหนว่าตามกลอนเขมร มันคือคนขายชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • “หม่อมกร” ชี้พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียดนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามกฎหมายสากลโดยสุจริตใจ และมีพื้นที่ทับซ้อนไม่มากนัก แต่กรณีไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นโดยไทยปฏิบัติตามกฎหมายสากลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายกัมพูชาลากเส้นโดยไม่มีกฎหมายใดรับรอง ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของไทยเกินสมควร เหตุใดรัฐบาลในปี 2544 ไม่ให้กัมพูชาลากเส้นใหม่ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ก่อนลงนาม MOU44

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000103306

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “หม่อมกร” ชี้พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียดนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามกฎหมายสากลโดยสุจริตใจ และมีพื้นที่ทับซ้อนไม่มากนัก แต่กรณีไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นโดยไทยปฏิบัติตามกฎหมายสากลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายกัมพูชาลากเส้นโดยไม่มีกฎหมายใดรับรอง ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของไทยเกินสมควร เหตุใดรัฐบาลในปี 2544 ไม่ให้กัมพูชาลากเส้นใหม่ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ก่อนลงนาม MOU44 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000103306 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Sad
    Haha
    56
    1 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 3000 มุมมอง 4 รีวิว
  • พระบรมราชโองการณ์ทางราชการพระมหากษัตริย์ในหลวงรัชกาลที่9"เป็นที่แน่ชัดเกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ล้าน%โดยกฎหมายสากล"..ไม่มีไหล่ทวีปเขตทับซ้อนแต่อย่างใด Mou44"ผ่านความเห็นชอบจากสภาหรือ?แล้วลากเส้นใหม่มีสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในเขตอ่าวไทยต้องรื้อออกอย่างเดียวไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเจรจา รบ.ไทยเร่งรีบทำทั้งที่กัมพูชาและหนังสือพิมพ์ของจีนก็บอกแล้วว่าทางเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร ไทยเองที่เร่งรัด เพื่ออะไรคะ?จุดประสงค์🤔จะชักศึกเขาบ้านหรือๆต้องการให้🦅มาตั้งฐานทัพเผชิญหน้ากับจีนอยากเป็นแบบยูเครนเหรอ🔥!!!!!!🔊คนไทย🇹🇭ยอมงั้นหรือสงครามตัวแทนบ้านเราที่ร่มเย็นจะหมดไปเลยนะ จะเป็นดินแดนกระสุนตก💣💣💣💣💀💀💀💀
    พระบรมราชโองการณ์ทางราชการพระมหากษัตริย์ในหลวงรัชกาลที่9"เป็นที่แน่ชัดเกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ล้าน%โดยกฎหมายสากล"..ไม่มีไหล่ทวีปเขตทับซ้อนแต่อย่างใด Mou44"ผ่านความเห็นชอบจากสภาหรือ?แล้วลากเส้นใหม่มีสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในเขตอ่าวไทยต้องรื้อออกอย่างเดียวไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเจรจา รบ.ไทยเร่งรีบทำทั้งที่กัมพูชาและหนังสือพิมพ์ของจีนก็บอกแล้วว่าทางเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร ไทยเองที่เร่งรัด เพื่ออะไรคะ?จุดประสงค์🤔จะชักศึกเขาบ้านหรือๆต้องการให้🦅มาตั้งฐานทัพเผชิญหน้ากับจีนอยากเป็นแบบยูเครนเหรอ🔥!!!!!!🔊คนไทย🇹🇭ยอมงั้นหรือสงครามตัวแทนบ้านเราที่ร่มเย็นจะหมดไปเลยนะ จะเป็นดินแดนกระสุนตก💣💣💣💣💀💀💀💀
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 103 มุมมอง 50 0 รีวิว
  • @อินโดนีเซีย แสดงให้เห็นว่า รับอารยธรรมเดียวกันกับเรา (พระนารายณ์ทรงครุฑ)
    ถ้าย้อนไปดูในประวัติศาสตร์ การตีความของชาวยุโรป เรียกดินแดน แถวนี้ ว่า สุวรรณภูมิ ทั้งหมด...จนปัจจุบัน ยังหาข้อสรุปไม่ได้เลย.ว่า สุวรรณภูมิที่แท้จริง อยู่ที่ใด..อินโด ฟิลิปปินส์ พม่า ไทย บังคลาเทศ กัมพูชา ...เป็นต้น..
    @อินโดนีเซีย แสดงให้เห็นว่า รับอารยธรรมเดียวกันกับเรา (พระนารายณ์ทรงครุฑ) ถ้าย้อนไปดูในประวัติศาสตร์ การตีความของชาวยุโรป เรียกดินแดน แถวนี้ ว่า สุวรรณภูมิ ทั้งหมด...จนปัจจุบัน ยังหาข้อสรุปไม่ได้เลย.ว่า สุวรรณภูมิที่แท้จริง อยู่ที่ใด..อินโด ฟิลิปปินส์ พม่า ไทย บังคลาเทศ กัมพูชา ...เป็นต้น..
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 20 มุมมอง 0 รีวิว
  • หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

    ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้

    หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น

    ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้

    โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย

    ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

    ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“

    การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว

    การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า

    “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“

    ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า

    “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“

    นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน

    เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด

    ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง

    การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73

    ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

    เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว

    ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย

    ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ

    พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้”

    แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย

    แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย

    หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น

    ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้

    และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    23 ตุลาคม 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/?

    #Thaitimes
    หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“ ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้ โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“ การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“ ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้” แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้ และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/? #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 690 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน

    22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567)

    นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้

    ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต

    ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา

    ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1

    ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

    ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา

    ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว

    ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน 22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567) นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 280 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย
    .
    ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย
    .
    วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน
    .
    หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้
    .
    ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย
    .
    เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า
    .
    "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว"
    .
    ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า
    .
    "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา"
    .
    ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า
    #TheiConGroup
    #iConEvolutionCashCloud
    #IE #ImpactArena
    #MuangThongThani
    #BossPaul #PaulTheiCon
    #Lao #Cambodia
    #Singapore #Myanmar
    #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์
    #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์
    #โดมปกรณ์ลัม
    ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย . ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย . วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน . หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ . ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย . เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า . "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว" . ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า . "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา" . ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า #TheiConGroup #iConEvolutionCashCloud #IE #ImpactArena #MuangThongThani #BossPaul #PaulTheiCon #Lao #Cambodia #Singapore #Myanmar #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์ #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์ #โดมปกรณ์ลัม
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 375 มุมมอง 1 รีวิว
  • ทักษิณ พท.มีเสียว คดีล้มล้าง ยุบพรรค ศาล รธน.ขอเคลียร์ อสส. ก่อน 15 วัน
    .
    วันนี้ (22ต.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายในคำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาล ตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษ จำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต
    .
    ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตย ทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
    .
    ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1
    .
    ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
    .
    ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
    .
    โดยนายธีรยุทธได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม นายธีรยุทธจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าว และให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว
    .
    ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของนายธีรยุทธไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
    ..............
    Sondhi X
    ทักษิณ พท.มีเสียว คดีล้มล้าง ยุบพรรค ศาล รธน.ขอเคลียร์ อสส. ก่อน 15 วัน . วันนี้ (22ต.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายในคำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาล ตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษ จำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต . ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตย ทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา . ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 . ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล . ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา . โดยนายธีรยุทธได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม นายธีรยุทธจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าว และให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว . ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของนายธีรยุทธไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 669 มุมมอง 0 รีวิว
  • จากแหล่งช่าวในกัมพูชา คือ กัมพูชาเดลี่ และขแมร์ไทมส์ และข่าวจาก เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ลงข่าวตรงกันว่ารัฐบาลไทยเป็นฝ่ายเร่งรีบเจรจาพื้นที่ทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาในอ่าวไทย การกระทำเช่นนี้ย่อมเสี่ยงเป็นการยกพื้นที่ทางทะเลของไทย ให้กลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชา ผลคือเราแทบไม่ได้อะไร พลังงานที่จะตกอยู่กับผู้รับสัมปทานเดิม คือยกให้เชฟรอนของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับสัญญาสัปทานที่ไทยเสียเปรียบเมื่อ 50 ปีก่อน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้เงื่อนไขการยกเลิกสัญญาจนถึงวันนี้ โดยในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐกำลังเสื่อมถอย และในขณะที่ BRICS กำลังสถาปนาสกุลเงินของโลกใหม่ ย่อมเท่ากับไทยประกาศให้แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของโลกตรึงอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐ(ปิโตรดอลลาร์)ไปโดยปริยาย ดังนั้นประเทศไทยจะไม่ได้อะไรอย่างที่กล่าวอ้าง ประชาชนไม่ได้อะไรเรื่องค่าไฟฟ้า เพราะปัจจุบันปัญหาที่แท้จริงคือโรงไฟฟ้าเราก็ผลิตล้นเกินจนค่าไฟแพงมหาศาล แหล่งปิโตรเลียมราคาขายให้ประชาชนก็อิงราคาตลาดโลก ก๊าซธรรมชาติผ่านโรงแยกก๊าซก็จะมอบให้อุตสาหกรรมปิโตรเลียมก่อนประชาชน มีแต่สหรัฐอเมริกาจะอาศัยสิทธิ์ให้มีกองกำลังเข้ามาคุ้มครองแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เหมือนกับที่จีนเข้ามาคุ้มครองท่อก๊าซธรรมชาติในเมียนมา การใช้นโยบายต่างประเทศเช่นนี้จึงป็นการชักศึกเข้าบ้านในสถานการเประาบางอ่อนไหวในทางภูมิรัฐศาสตร์ จะมาอ้างไม่ได้ว่าเป็นการเจรจาร่วมเรื่องพลังงานอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับเขตแดน คำถามคือ แล้วแหล่งพลังงานที่เคยเป็นของไทยแท้ๆ ผู้รับสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิตจะเป็นการเซ็นสัญญากับชาติใด? ถ้าเป็นของไทยก็ต้องเซ็นกับรัฐบาลไทยเท่านั้น ถ้ายอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ก็ต้องเซ็นลงนาม 2 ประเทศ การกระทำเช่นนี้จึงย่อมเท่ากับยกทรัพยากรของไทยในประเทศไทย ให้กลายเป็นของทั้ง 2 ประเทศ เป็นการสละทะเลอาณาเขตของไทย ทั้งๆที่กัมพูชาขีดเส้นทางทะเลอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายสากลคร่อมเกาะกูดประเทศไทย กองทัพเรือและประชาชนชาวไทยจะยอมได้อย่างไร

    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    22 ตุลาคม 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1078558973637802/?
    จากแหล่งช่าวในกัมพูชา คือ กัมพูชาเดลี่ และขแมร์ไทมส์ และข่าวจาก เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ลงข่าวตรงกันว่ารัฐบาลไทยเป็นฝ่ายเร่งรีบเจรจาพื้นที่ทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาในอ่าวไทย การกระทำเช่นนี้ย่อมเสี่ยงเป็นการยกพื้นที่ทางทะเลของไทย ให้กลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชา ผลคือเราแทบไม่ได้อะไร พลังงานที่จะตกอยู่กับผู้รับสัมปทานเดิม คือยกให้เชฟรอนของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับสัญญาสัปทานที่ไทยเสียเปรียบเมื่อ 50 ปีก่อน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้เงื่อนไขการยกเลิกสัญญาจนถึงวันนี้ โดยในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐกำลังเสื่อมถอย และในขณะที่ BRICS กำลังสถาปนาสกุลเงินของโลกใหม่ ย่อมเท่ากับไทยประกาศให้แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของโลกตรึงอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐ(ปิโตรดอลลาร์)ไปโดยปริยาย ดังนั้นประเทศไทยจะไม่ได้อะไรอย่างที่กล่าวอ้าง ประชาชนไม่ได้อะไรเรื่องค่าไฟฟ้า เพราะปัจจุบันปัญหาที่แท้จริงคือโรงไฟฟ้าเราก็ผลิตล้นเกินจนค่าไฟแพงมหาศาล แหล่งปิโตรเลียมราคาขายให้ประชาชนก็อิงราคาตลาดโลก ก๊าซธรรมชาติผ่านโรงแยกก๊าซก็จะมอบให้อุตสาหกรรมปิโตรเลียมก่อนประชาชน มีแต่สหรัฐอเมริกาจะอาศัยสิทธิ์ให้มีกองกำลังเข้ามาคุ้มครองแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เหมือนกับที่จีนเข้ามาคุ้มครองท่อก๊าซธรรมชาติในเมียนมา การใช้นโยบายต่างประเทศเช่นนี้จึงป็นการชักศึกเข้าบ้านในสถานการเประาบางอ่อนไหวในทางภูมิรัฐศาสตร์ จะมาอ้างไม่ได้ว่าเป็นการเจรจาร่วมเรื่องพลังงานอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับเขตแดน คำถามคือ แล้วแหล่งพลังงานที่เคยเป็นของไทยแท้ๆ ผู้รับสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิตจะเป็นการเซ็นสัญญากับชาติใด? ถ้าเป็นของไทยก็ต้องเซ็นกับรัฐบาลไทยเท่านั้น ถ้ายอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ก็ต้องเซ็นลงนาม 2 ประเทศ การกระทำเช่นนี้จึงย่อมเท่ากับยกทรัพยากรของไทยในประเทศไทย ให้กลายเป็นของทั้ง 2 ประเทศ เป็นการสละทะเลอาณาเขตของไทย ทั้งๆที่กัมพูชาขีดเส้นทางทะเลอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายสากลคร่อมเกาะกูดประเทศไทย กองทัพเรือและประชาชนชาวไทยจะยอมได้อย่างไร ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 22 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1078558973637802/?
    Like
    Love
    Sad
    Angry
    15
    1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 742 มุมมอง 0 รีวิว
  • 22/10/67

    วิเคราะห์อ้างสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนไทย~กัมพูชา
    (ออกอากากาศปี2557)
    22/10/67 วิเคราะห์อ้างสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนไทย~กัมพูชา (ออกอากากาศปี2557)
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 34 1 รีวิว
  • มีประเด็นที่นายกฯ คิดจะพิจารณาผลประโยชน์ทางทะเลกับกัมพูชา

    https://youtu.be/h9v0I7rhdwQ?si=802aIbfUQPUsLQKc
    มีประเด็นที่นายกฯ คิดจะพิจารณาผลประโยชน์ทางทะเลกับกัมพูชา https://youtu.be/h9v0I7rhdwQ?si=802aIbfUQPUsLQKc
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • สื่อพนมเปญโพสต์ตีข่าวมีผู้เสียหายจากกรณี "ดิไอคอนกรุ๊ป" ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพและความงาม ถูกกล่าวหาว่าการดำเนินธุรกิจอาจเข้าข่ายการหลอกลงทุนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ทั้งในลาว กัมพูชา และพม่า

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000100049

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    สื่อพนมเปญโพสต์ตีข่าวมีผู้เสียหายจากกรณี "ดิไอคอนกรุ๊ป" ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพและความงาม ถูกกล่าวหาว่าการดำเนินธุรกิจอาจเข้าข่ายการหลอกลงทุนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ทั้งในลาว กัมพูชา และพม่า อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000100049 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    4
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2354 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ ศูนย์กลางอาหารเสริมโลก "ดิไอคอน ไทยแลนด์" ส่อเค้าลุกลามข้ามชาติ ดิไอคอนลวงในไทยไม่พอ ไปล่อลวงถึงประเทศเพื่อนบ้าน โดยสือในกัมพูชารายงานมีผู้เสียหายทั้งในกัมพูชา ลาว พม่า และญี่ปุ่น
    #7ดอกจิก
    ♣ ศูนย์กลางอาหารเสริมโลก "ดิไอคอน ไทยแลนด์" ส่อเค้าลุกลามข้ามชาติ ดิไอคอนลวงในไทยไม่พอ ไปล่อลวงถึงประเทศเพื่อนบ้าน โดยสือในกัมพูชารายงานมีผู้เสียหายทั้งในกัมพูชา ลาว พม่า และญี่ปุ่น #7ดอกจิก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 206 มุมมอง 0 รีวิว
  • แคปปิตอล เอ(Capital A) ไฟเขียวขาย AirAsia ให้ AirAsia X แยกกิจการสายการบินออกจาก Capital A โฟกัสเพียงธุรกิจสี่เสาหลักคือ แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส,มูฟดิจิทัล, เทเลพอร์ตและธุรกิจดูแล แบรนด์ เอเอ

    15 ตุลาคม 2567 – แคปปิตอล เอ(Capital A) ได้ประกาศผลการประชุมผู้ถือหุ้นได้ลงมติเห็นชอบต่อการเสนอขายธุรกิจการบินของกลุ่มบริษัทให้กับแอร์เอเชีย เอ็กซ์(AAX) ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น(EGM) วานนี้(14 ตุลาคม 2567)

    แคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด นั้นเดิมเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย อันประกอบไปด้วยแอร์เอเชีย มาเลเซีย(AK) และเป็นบริษัทแม่ของบริษัทที่มีการร่วมลงทุนในสายการบินแอร์เอเชียในประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย(FD) อินโดนีเซียแอร์เอเชีย(QZ) ฟิลิปปินส์แอร์เอเชีย(Z2) และแอร์เอเชียกัมพูชา(KT) ในขณะที่แอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด นั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการสายการบินแอร์เอเชีย เอ็กซ์ มาเลเซีย(D7) และเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนในสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์(XJ)

    การอนุมัติครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมุ่งเน้นไปที่สี่เสาหลักทางกลยุทธ์ ซึ่งจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทให้เป็นบริษัทบริการด้านการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในอนาคต ผ่านบริษัท แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส(Capital A Aviation Services -CAPAS) มูฟดิจิทัล(MOVE Digital) เทเลพอร์ต(Teleport) และบริษัท แบรนด์ เอเอ

    นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด กล่าวว่า “นี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับแคปปิตอล เอ และกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย โดยต่อยอดจากมูลค่ามหาศาลที่เราได้สร้างขึ้นในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ด้วยการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการขายธุรกิจการบิน เรากำลังปลดล็อกอนาคตที่สดใส โดยแยกธุรกิจการบินแบบเดิมออกจากบริการสนับสนุนการบิน ความชัดเจนนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ถือหุ้นและลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกำหนดอนาคตใหม่ของการเดินทางในภูมิภาคนี้ได้”

    “กลยุทธ์ที่กว้างขึ้นของแคปปิตอล เอ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบริการการบินและธุรกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมาก การแยกธุรกิจการบินและธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบินออกจากกัน จะทำให้เราสามารถมุ่งเน้นไปที่การเติบโตของธุรกิจสนับสนุนการบินและธุรกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพสูงซึ่งเราได้สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจการบิน เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของแอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด(AAX) ในการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 16 ตุลาคม ธุรกิจการบินจะสามารถรวมตัวกันเพื่อสร้างกลุ่มแอร์เอเชียที่พลิกเกมได้ โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างการดำเนินงานเที่ยวบินระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำกำไร และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น"

    นายโทนี่ยังเน้นย้ำว่า แคปปิตอล เอ อยู่ในสถานะที่ดีที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว “ตั้งแต่การเดินทางดิจิทัลไปจนถึงโลจิสติกส์และการจัดการแบรนด์ เรากำลังสร้างระบบนิเวศบริการการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง การอนุมัติในวันนี้จากผู้ถือหุ้นของเรา ยังเปิดทางให้แคปปิตอล เอ มุ่งสู่โครงสร้างทางการเงินที่โปร่งใสและมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสรุปแผนการฟื้นฟูสถานะของเราและออกจากสถานะพีเอ็น17(PN17) ในไม่ช้า”

    การปรับโครงสร้างนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทในการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่คล่องตัวและเน้นเทคโนโลยี โดยมีสี่เสาหลักสำคัญ ได้แก่

    แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส - สร้างมูลค่าผ่านการให้บริการซ่อมบำรุงและปรับปรุงเครื่องบิน(MRO) โดยความร่วมมือกับบริษัท เอเชีย ดิจิทัล เอ็นจิเนียริ่ง (ADE) และขยายการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มบนเที่ยวบิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ค้าปลีกของซันตัน(Santan)

    มูฟดิจิทัล - นำเสนอนวัตกรรมในการเดินทางและฟินเทค ผ่านแอร์เอเชีย มูฟ และบิ๊กเพย์

    เทเลพอร์ต - ขยายบริการโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนด้วยการเสริมสร้างการดำเนินงานด้านขนส่งสินค้าและบริการข้ามพรมแดน

    แบรนด์ เอเอ - บริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชียที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกผ่านการให้สิทธิ์ใช้งานและความร่วมมือทางกลยุทธ์

    “เรารู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนอย่างมั่นคงของผู้ถือหุ้นของเรา การลงมติในวันนี้สะท้อนถึงความเชื่อร่วมกันในมูลค่าระยะยาวที่แคปปิตอล เอ สามารถสร้างได้ทั้งในภาคธุรกิจการบินและนอกธุรกิจการบิน” นายโทนี่กล่าวเสริม

    หลังจากการอนุมัติครั้งสำคัญในวันนี้ แคปปิตอล เอ จะดำเนินการขอคำสั่งศาลเพื่อแจกจ่ายหุ้นพิจารณาให้แก่ผู้ถือหุ้นผ่านการลดและชำระคืนทุนจดทะเบียนของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทจะขอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตราสารหนี้อิสลามที่สามารถแปลงสภาพได้แบบไม่รับประกัน(RCUIDS) ในการประชุมวันที่ 14 ตุลาคม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในเส้นทางของแคปปิตอล เอ

    ขั้นตอนสำคัญเหล่านี้จะทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมีโครงสร้างทางการเงินที่ชัดเจนและมุ่งเน้นไปที่การยื่นแผนการฟื้นฟูสถานะก่อนสิ้นปี โดยมีเป้าหมายที่จะออกจากสถานะ พีเอ็น17"

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/mEr2rA6mhS57iGXE/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    แคปปิตอล เอ(Capital A) ไฟเขียวขาย AirAsia ให้ AirAsia X แยกกิจการสายการบินออกจาก Capital A โฟกัสเพียงธุรกิจสี่เสาหลักคือ แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส,มูฟดิจิทัล, เทเลพอร์ตและธุรกิจดูแล แบรนด์ เอเอ 15 ตุลาคม 2567 – แคปปิตอล เอ(Capital A) ได้ประกาศผลการประชุมผู้ถือหุ้นได้ลงมติเห็นชอบต่อการเสนอขายธุรกิจการบินของกลุ่มบริษัทให้กับแอร์เอเชีย เอ็กซ์(AAX) ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น(EGM) วานนี้(14 ตุลาคม 2567) แคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด นั้นเดิมเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย อันประกอบไปด้วยแอร์เอเชีย มาเลเซีย(AK) และเป็นบริษัทแม่ของบริษัทที่มีการร่วมลงทุนในสายการบินแอร์เอเชียในประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย(FD) อินโดนีเซียแอร์เอเชีย(QZ) ฟิลิปปินส์แอร์เอเชีย(Z2) และแอร์เอเชียกัมพูชา(KT) ในขณะที่แอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด นั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการสายการบินแอร์เอเชีย เอ็กซ์ มาเลเซีย(D7) และเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนในสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์(XJ) การอนุมัติครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมุ่งเน้นไปที่สี่เสาหลักทางกลยุทธ์ ซึ่งจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทให้เป็นบริษัทบริการด้านการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในอนาคต ผ่านบริษัท แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส(Capital A Aviation Services -CAPAS) มูฟดิจิทัล(MOVE Digital) เทเลพอร์ต(Teleport) และบริษัท แบรนด์ เอเอ นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด กล่าวว่า “นี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับแคปปิตอล เอ และกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย โดยต่อยอดจากมูลค่ามหาศาลที่เราได้สร้างขึ้นในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ด้วยการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการขายธุรกิจการบิน เรากำลังปลดล็อกอนาคตที่สดใส โดยแยกธุรกิจการบินแบบเดิมออกจากบริการสนับสนุนการบิน ความชัดเจนนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ถือหุ้นและลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกำหนดอนาคตใหม่ของการเดินทางในภูมิภาคนี้ได้” “กลยุทธ์ที่กว้างขึ้นของแคปปิตอล เอ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบริการการบินและธุรกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมาก การแยกธุรกิจการบินและธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบินออกจากกัน จะทำให้เราสามารถมุ่งเน้นไปที่การเติบโตของธุรกิจสนับสนุนการบินและธุรกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพสูงซึ่งเราได้สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจการบิน เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของแอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด(AAX) ในการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 16 ตุลาคม ธุรกิจการบินจะสามารถรวมตัวกันเพื่อสร้างกลุ่มแอร์เอเชียที่พลิกเกมได้ โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างการดำเนินงานเที่ยวบินระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำกำไร และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น" นายโทนี่ยังเน้นย้ำว่า แคปปิตอล เอ อยู่ในสถานะที่ดีที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว “ตั้งแต่การเดินทางดิจิทัลไปจนถึงโลจิสติกส์และการจัดการแบรนด์ เรากำลังสร้างระบบนิเวศบริการการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง การอนุมัติในวันนี้จากผู้ถือหุ้นของเรา ยังเปิดทางให้แคปปิตอล เอ มุ่งสู่โครงสร้างทางการเงินที่โปร่งใสและมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสรุปแผนการฟื้นฟูสถานะของเราและออกจากสถานะพีเอ็น17(PN17) ในไม่ช้า” การปรับโครงสร้างนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทในการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่คล่องตัวและเน้นเทคโนโลยี โดยมีสี่เสาหลักสำคัญ ได้แก่ แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส - สร้างมูลค่าผ่านการให้บริการซ่อมบำรุงและปรับปรุงเครื่องบิน(MRO) โดยความร่วมมือกับบริษัท เอเชีย ดิจิทัล เอ็นจิเนียริ่ง (ADE) และขยายการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มบนเที่ยวบิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ค้าปลีกของซันตัน(Santan) มูฟดิจิทัล - นำเสนอนวัตกรรมในการเดินทางและฟินเทค ผ่านแอร์เอเชีย มูฟ และบิ๊กเพย์ เทเลพอร์ต - ขยายบริการโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนด้วยการเสริมสร้างการดำเนินงานด้านขนส่งสินค้าและบริการข้ามพรมแดน แบรนด์ เอเอ - บริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชียที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกผ่านการให้สิทธิ์ใช้งานและความร่วมมือทางกลยุทธ์ “เรารู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนอย่างมั่นคงของผู้ถือหุ้นของเรา การลงมติในวันนี้สะท้อนถึงความเชื่อร่วมกันในมูลค่าระยะยาวที่แคปปิตอล เอ สามารถสร้างได้ทั้งในภาคธุรกิจการบินและนอกธุรกิจการบิน” นายโทนี่กล่าวเสริม หลังจากการอนุมัติครั้งสำคัญในวันนี้ แคปปิตอล เอ จะดำเนินการขอคำสั่งศาลเพื่อแจกจ่ายหุ้นพิจารณาให้แก่ผู้ถือหุ้นผ่านการลดและชำระคืนทุนจดทะเบียนของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทจะขอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตราสารหนี้อิสลามที่สามารถแปลงสภาพได้แบบไม่รับประกัน(RCUIDS) ในการประชุมวันที่ 14 ตุลาคม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในเส้นทางของแคปปิตอล เอ ขั้นตอนสำคัญเหล่านี้จะทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมีโครงสร้างทางการเงินที่ชัดเจนและมุ่งเน้นไปที่การยื่นแผนการฟื้นฟูสถานะก่อนสิ้นปี โดยมีเป้าหมายที่จะออกจากสถานะ พีเอ็น17" ที่มา https://www.facebook.com/share/p/mEr2rA6mhS57iGXE/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 284 มุมมอง 0 รีวิว
  • Boss..ไม่รอด

    พอล ภัทร...เคยโกยเงินจาก Unicityไปเยอะมากๆ ไม่เชื่อก็ลองถามคนในวงการดูสิ่

    ส่วนบอสมีน..ก็เคยขาย Unicity มาก่อน เพื่อนดาราในวงการโดนชวนไปกินข้าว แล้วก็ไปเจอพวกตัวระดับ Boss รออยู่ คอยพูดหว่านล้อม

    เพื่อนดาราด้วยกันก็เลยเสียความรู้สึกกันไปหลายคน แล้วมีนก็ย้ายมาทำ The I con เพราะมีนเค้ารู้ดีอยู่แล้วว่าขายตรงไม่ต่างกัน มีนมีตำแหน่ง Boss มันย่อมไม่ธรรมดา

    คนวงการนี้มันจะวนเป็นวงบีโดยใช้วิธีหากินด้วยวิธีคล้ายๆกัน The Icon ก็เหมือนวงแชร์ลูกโซ่ทั่วๆไปนั่นแหละ

    มีตำแหน่งนั่นโน่นนี่ มีแม่ข่ายลูกข่ายโน่นนี่นั่น ต่างกันแค่ The Icon ชวนคนมาร่วมลงทุน=ต้องมาซื้อสินค้าไปขาย

    ลูกโซ่..ไม่เน้นสินค้าเน้นชวนคนมาร่วมลงทุนได้มากคนเท่าไหร่คนชวนก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน จากการชวนคนมาร่วมนั้นทันที

    ลงทุนก่อนลุกเร็วรอด ลงทุนแล้วลุกช้าจ่ายรอบวง

    ลูกโซ่..คือการเอาเงินของคนที่ 6 ที่ 5 มาจ่ายคนที่ 4 3 2 1 ที่ลงเล่นก่อน ดังนั้นถ้าหาเหยื่อคนที่ 7-8 ไม่ได้เกิน 45 วัน วงแตกทันที

    เพราะเจ้าของวงมันจะไม่มีเงินมาจ่ายคนที่ 6 ที่ 5 และคนที่ 4 3 2 1

    ดังนั้น The Icon มันถูกออกแบบมาให้ดูไม่เหมือนแชร์ลูกโซ่ เพราะทุกคนที่เจ๊งนั้นสาเหตุมาจากการขายสินค้า มันไม่มีใครเจ๊งเพราะชวนคนมาร่วมลงทุนไม่ได้..ถูกไหมครับ.?

    เมื่อมันไม่ใช่แชร์ลูกโซ่ จึงทำให้แม่ทีมไม่มีใครขาดทุนในธุรกิจนี้ ถ้าเป็นแม่ทีมสาขากัมพูชาที่สร้างความเสียหายในกัมพูชาแล้วไม่ข้ามมาไทย..อาจรอด

    ส่วนแม่ทีมในไทยต่อให้กลายร่างเป็นเหยื่อ..ก็รอดยาก

    เพราะองค์ประกอบของความเป็นเหยื่อของแท้มันไม่ครบ แต่องค์ประกอบของความผิดมันชัดกว่า ยิ่งมีตำแหน่งระดับสูงในบริษัท ก็ยิ่งรอดยาก

    แล้วตำแหน่งในบริษัท The Icon มีกี่ตำแหน่ง.?

    ไม่คอนเฟิร์มนะ ว่ามีทั้งสิ้นกี่ตำแหน่ง แต่เท่าที่ตรวจสอบเจอตอนนี้มี 13 ตำแหน่ง เรียงลำดับดังนี้ต่อไปนี้

    Big Boss(พอล)
    Boss (สิบกว่าคน)
    Emperor
    Royal Crown
    Crown Dealer
    Wisdom Dealer
    Presidential Dealer
    Grand Dealer
    Platinum Dealer
    Gold Dealer
    Dealer
    Supplier
    Distributor

    ถ้าสมมตินะว่าตำรวจบอกว่าบริษัท The Icon เป็นแชร์ลูกโซ่ ก็จะมีทั้งหมายเรียก-หมายจับ

    ตำแหน่ Distributor -Supplier ยังพออ้อมแอ้มกลายร่างเป็นเหยื่อได้นะ แต่..ตั้งแต่ตำแหน่ง Gold ไปจนถึง Boss ..รอดยาก

    ที่อยากจะบอกก็คือ ถ้ามีแม่ทีมมาบอกให้ลงชื่อนู่นนี่นั่น ให้เอาสินค้ามานั่นโน่นนี่.#อย่าไปทำตาม มันกำลังจะช่วยตัวเองให้รอด

    พวกคุณต้องไปพบกับตำรวจเท่านั้น ถึงจะได้เงินคืน อย่าไม่ฉลาดซ้ำ 2 หลงไปเชื่อแม่ทีมอีกเชียว ตั้งสติแล้วหลับตาแล้วคิดดูดีๆว่า #ใครกันแน่ที่โกงคุณ .?

    แนะนำให้ไปทำตามที่เขียนบอกไว้ในโพสต์นี้
    👉 https://www.facebook.com/share/p/PYsqnn9AZamhNoUj/?mibextid=WC7FNe

    สวัสดี
    @ไร้เงา แต่เร้าตรีน

    Boss..ไม่รอด พอล ภัทร...เคยโกยเงินจาก Unicityไปเยอะมากๆ ไม่เชื่อก็ลองถามคนในวงการดูสิ่ ส่วนบอสมีน..ก็เคยขาย Unicity มาก่อน เพื่อนดาราในวงการโดนชวนไปกินข้าว แล้วก็ไปเจอพวกตัวระดับ Boss รออยู่ คอยพูดหว่านล้อม เพื่อนดาราด้วยกันก็เลยเสียความรู้สึกกันไปหลายคน แล้วมีนก็ย้ายมาทำ The I con เพราะมีนเค้ารู้ดีอยู่แล้วว่าขายตรงไม่ต่างกัน มีนมีตำแหน่ง Boss มันย่อมไม่ธรรมดา คนวงการนี้มันจะวนเป็นวงบีโดยใช้วิธีหากินด้วยวิธีคล้ายๆกัน The Icon ก็เหมือนวงแชร์ลูกโซ่ทั่วๆไปนั่นแหละ มีตำแหน่งนั่นโน่นนี่ มีแม่ข่ายลูกข่ายโน่นนี่นั่น ต่างกันแค่ The Icon ชวนคนมาร่วมลงทุน=ต้องมาซื้อสินค้าไปขาย ลูกโซ่..ไม่เน้นสินค้าเน้นชวนคนมาร่วมลงทุนได้มากคนเท่าไหร่คนชวนก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน จากการชวนคนมาร่วมนั้นทันที ลงทุนก่อนลุกเร็วรอด ลงทุนแล้วลุกช้าจ่ายรอบวง ลูกโซ่..คือการเอาเงินของคนที่ 6 ที่ 5 มาจ่ายคนที่ 4 3 2 1 ที่ลงเล่นก่อน ดังนั้นถ้าหาเหยื่อคนที่ 7-8 ไม่ได้เกิน 45 วัน วงแตกทันที เพราะเจ้าของวงมันจะไม่มีเงินมาจ่ายคนที่ 6 ที่ 5 และคนที่ 4 3 2 1 ดังนั้น The Icon มันถูกออกแบบมาให้ดูไม่เหมือนแชร์ลูกโซ่ เพราะทุกคนที่เจ๊งนั้นสาเหตุมาจากการขายสินค้า มันไม่มีใครเจ๊งเพราะชวนคนมาร่วมลงทุนไม่ได้..ถูกไหมครับ.? เมื่อมันไม่ใช่แชร์ลูกโซ่ จึงทำให้แม่ทีมไม่มีใครขาดทุนในธุรกิจนี้ ถ้าเป็นแม่ทีมสาขากัมพูชาที่สร้างความเสียหายในกัมพูชาแล้วไม่ข้ามมาไทย..อาจรอด ส่วนแม่ทีมในไทยต่อให้กลายร่างเป็นเหยื่อ..ก็รอดยาก เพราะองค์ประกอบของความเป็นเหยื่อของแท้มันไม่ครบ แต่องค์ประกอบของความผิดมันชัดกว่า ยิ่งมีตำแหน่งระดับสูงในบริษัท ก็ยิ่งรอดยาก แล้วตำแหน่งในบริษัท The Icon มีกี่ตำแหน่ง.? ไม่คอนเฟิร์มนะ ว่ามีทั้งสิ้นกี่ตำแหน่ง แต่เท่าที่ตรวจสอบเจอตอนนี้มี 13 ตำแหน่ง เรียงลำดับดังนี้ต่อไปนี้ Big Boss(พอล) Boss (สิบกว่าคน) Emperor Royal Crown Crown Dealer Wisdom Dealer Presidential Dealer Grand Dealer Platinum Dealer Gold Dealer Dealer Supplier Distributor ถ้าสมมตินะว่าตำรวจบอกว่าบริษัท The Icon เป็นแชร์ลูกโซ่ ก็จะมีทั้งหมายเรียก-หมายจับ ตำแหน่ Distributor -Supplier ยังพออ้อมแอ้มกลายร่างเป็นเหยื่อได้นะ แต่..ตั้งแต่ตำแหน่ง Gold ไปจนถึง Boss ..รอดยาก ที่อยากจะบอกก็คือ ถ้ามีแม่ทีมมาบอกให้ลงชื่อนู่นนี่นั่น ให้เอาสินค้ามานั่นโน่นนี่.#อย่าไปทำตาม มันกำลังจะช่วยตัวเองให้รอด พวกคุณต้องไปพบกับตำรวจเท่านั้น ถึงจะได้เงินคืน อย่าไม่ฉลาดซ้ำ 2 หลงไปเชื่อแม่ทีมอีกเชียว ตั้งสติแล้วหลับตาแล้วคิดดูดีๆว่า #ใครกันแน่ที่โกงคุณ .? แนะนำให้ไปทำตามที่เขียนบอกไว้ในโพสต์นี้ 👉 https://www.facebook.com/share/p/PYsqnn9AZamhNoUj/?mibextid=WC7FNe สวัสดี @ไร้เงา แต่เร้าตรีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สุริยะ" ไม่กังวล "เพื่อไทย" จะล่มสลาย ปม MOU พื้นที่ทับซ้อน "กัมพูชา" โยนให้ก.ตปท.พิจารณา 11/10/67 #สุริยะ #เพื่อไทย #MOU #กัมพูชา
    "สุริยะ" ไม่กังวล "เพื่อไทย" จะล่มสลาย ปม MOU พื้นที่ทับซ้อน "กัมพูชา" โยนให้ก.ตปท.พิจารณา 11/10/67 #สุริยะ #เพื่อไทย #MOU #กัมพูชา
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1312 มุมมอง 345 0 รีวิว
  • กัมพูชาโต้กลับ "บอสณวัฒน์" เดือด! แซะแรง ป๊ะป๋าณวัฒน์แสดงเก่ง! (09/10/67) #news1 #บอสณวัฒน์ #มิสแกรนด์กัมพูชา
    กัมพูชาโต้กลับ "บอสณวัฒน์" เดือด! แซะแรง ป๊ะป๋าณวัฒน์แสดงเก่ง! (09/10/67) #news1 #บอสณวัฒน์ #มิสแกรนด์กัมพูชา
    Like
    Haha
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1432 มุมมอง 561 0 รีวิว
  • "ณวัฒน์" ฟาดไม่ยั้ง ! ทีมจัดมิสแกรนด์กัมพูชา (09/10/67) #news1 #บอสณวัฒน์ #มิสแกรนด์กัมพูชา
    "ณวัฒน์" ฟาดไม่ยั้ง ! ทีมจัดมิสแกรนด์กัมพูชา (09/10/67) #news1 #บอสณวัฒน์ #มิสแกรนด์กัมพูชา
    Like
    Haha
    Wow
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1407 มุมมอง 467 0 รีวิว
  • "สนธิ" ลั่นจับตา "อุ๊งอิ๊ง" ทำงาน ห่วงเรื่องคอรัปชัน-พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เตือนเป็นตัวของตัวเอง อย่าให้พ่อครอบงำ
    .
    วันนี้ (2 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทาง ยูทูป Sondhitalk ถึงกรณีที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่พร้อมจะมีเรื่อง อย่าเพิ่งลงถนนไล่ เพราะทำงานได้เดือนเดียว พร้อมคุยทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศสงบสุข ว่า ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาข้อความ อย่าไปให้นักข่าวถามหรือคนใกล้ชิดใส่ร้ายป้ายสี ตนประกาศว่ามี 3 เรื่องที่จะทำ คือ
    .
    1. ขอความเป็นธรรมกรณีถูกลอบสังหารเมื่อ 17 เม.ย. 2552 บาดเจ็บสาหัส แต่คดีไม่คืบหน้าทั้งที่จะขาดอายุความ
    .
    2. ร้องเรียนเรื่องผู้ลี้ภัยชาวพม่าเข้ามาจำนวนมากปรากฎตัวตามที่ต่างๆ พยายามมีบุตรหลานเพื่อให้ได้สัญชาติไทย ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการตั้งโรงเรียนโดยกลุ่มเอ็นจีโอ ร้องเพลงชาติพม่า ซึ่งเกี่ยวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นของพรรคภูมิใจไทย
    .
    ส่วนข้อ 3. จะติดตามการทำงานของนายกฯ ตลอดเวลา ถ้าทำถูกต้องผมให้กำลังใจ แต่ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้อง มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขายชาติขายแผ่นดิน ยกเกาะกูดให้กัมพูชา นายกฯ ต้องรู้ว่าตระกูลชินวัตรโดยเฉพาะนายทักษิณ ชินวัตร บิดา มีความสนิทสนมกับสมเด็จฯ ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เรื่องเกาะกูดและพื้นที่ทับซ้อนในทะเลมีการคุยกันระหว่างนายทักษิณ สมเด็จฯ ฮุน เซน และสมเด็จฯ ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
    .
    "ถ้านายกฯ ไม่ลงมาจัดการ หรือระมัดระวังตัว แล้วเราต้องยกชาติยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมร ขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้ามันเป็นอย่างนี้ ผมจะขอลงถนนเพื่อที่จะไล่ท่าน แต่ผมไม่ได้บอกว่าทันที ผมบอกจะรอจนถึงปีหน้า ผมเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผมเป็นคนมีเหตุผล นายกฯ อาจจะได้รับการเสี้ยมสอนให้พูดจาแบบนี้ เพื่อทำให้ผมดูเป็นผู้ใหญ่ที่รังแกเด็ก นี่คือข้อเท็จจริงที่แท้จริง ถ้านายกฯ เข้าใจที่ผมพูดจะเห็นว่าผมไม่ได้ใส่รองเท้าผ้าใบแล้วบอกว่าไปไล่นายกฯ ไม่ใช่" นายสนธิ กล่าว
    .
    คลิกอ่านทั้งหมด >> https://sondhitalk.com/detail/9670000092924
    "สนธิ" ลั่นจับตา "อุ๊งอิ๊ง" ทำงาน ห่วงเรื่องคอรัปชัน-พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เตือนเป็นตัวของตัวเอง อย่าให้พ่อครอบงำ . วันนี้ (2 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทาง ยูทูป Sondhitalk ถึงกรณีที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่พร้อมจะมีเรื่อง อย่าเพิ่งลงถนนไล่ เพราะทำงานได้เดือนเดียว พร้อมคุยทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศสงบสุข ว่า ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาข้อความ อย่าไปให้นักข่าวถามหรือคนใกล้ชิดใส่ร้ายป้ายสี ตนประกาศว่ามี 3 เรื่องที่จะทำ คือ . 1. ขอความเป็นธรรมกรณีถูกลอบสังหารเมื่อ 17 เม.ย. 2552 บาดเจ็บสาหัส แต่คดีไม่คืบหน้าทั้งที่จะขาดอายุความ . 2. ร้องเรียนเรื่องผู้ลี้ภัยชาวพม่าเข้ามาจำนวนมากปรากฎตัวตามที่ต่างๆ พยายามมีบุตรหลานเพื่อให้ได้สัญชาติไทย ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการตั้งโรงเรียนโดยกลุ่มเอ็นจีโอ ร้องเพลงชาติพม่า ซึ่งเกี่ยวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นของพรรคภูมิใจไทย . ส่วนข้อ 3. จะติดตามการทำงานของนายกฯ ตลอดเวลา ถ้าทำถูกต้องผมให้กำลังใจ แต่ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้อง มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขายชาติขายแผ่นดิน ยกเกาะกูดให้กัมพูชา นายกฯ ต้องรู้ว่าตระกูลชินวัตรโดยเฉพาะนายทักษิณ ชินวัตร บิดา มีความสนิทสนมกับสมเด็จฯ ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เรื่องเกาะกูดและพื้นที่ทับซ้อนในทะเลมีการคุยกันระหว่างนายทักษิณ สมเด็จฯ ฮุน เซน และสมเด็จฯ ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา . "ถ้านายกฯ ไม่ลงมาจัดการ หรือระมัดระวังตัว แล้วเราต้องยกชาติยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมร ขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้ามันเป็นอย่างนี้ ผมจะขอลงถนนเพื่อที่จะไล่ท่าน แต่ผมไม่ได้บอกว่าทันที ผมบอกจะรอจนถึงปีหน้า ผมเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผมเป็นคนมีเหตุผล นายกฯ อาจจะได้รับการเสี้ยมสอนให้พูดจาแบบนี้ เพื่อทำให้ผมดูเป็นผู้ใหญ่ที่รังแกเด็ก นี่คือข้อเท็จจริงที่แท้จริง ถ้านายกฯ เข้าใจที่ผมพูดจะเห็นว่าผมไม่ได้ใส่รองเท้าผ้าใบแล้วบอกว่าไปไล่นายกฯ ไม่ใช่" นายสนธิ กล่าว . คลิกอ่านทั้งหมด >> https://sondhitalk.com/detail/9670000092924
    SONDHITALK.COM
    "สนธิ" ลั่นจับตา "อุ๊งอิ๊ง" ทำงาน ห่วงเรื่องคอรัปชัน-พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เตือนเป็นตัวของตัวเอง อย่าให้พ่อครอบงำ
    วันนี้ (2 ต.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ sondhitalk ถึงกรณีที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่พร้อมจะมีเรื่อง อย่าเพิ่งลงถนนไล่ เพราะทำงานได้เดือนเดียว พร้อมคุยทุกภาคส่วนเพื่อให้ป
    Like
    Love
    Wow
    35
    1 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 1519 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts