• ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี

    ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย

    แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน

    ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม

    นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ

    นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น

    คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี

    #กรมการขนส่ง
    #ขสมก
    #thaitimes
    #บทความ
    #รถเมล์
    #เส้นทางเดินรถ
    #รถประจำทาง
    #ขนส่งสาธารณะ
    #คนจน


    ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี #กรมการขนส่ง #ขสมก #thaitimes #บทความ #รถเมล์ #เส้นทางเดินรถ #รถประจำทาง #ขนส่งสาธารณะ #คนจน
    Like
    4
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 736 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

    กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗

    #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ

    #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี
    กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม

    #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย
    กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ

    เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ
    * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี
    * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน
    * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน

    เรือพระราชพิธีอื่นๆ
    * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา)
    * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม
    * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง
    สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า

    การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป
    ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

    พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
    ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน
    ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่
    และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า
    ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า
    กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่
    ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย
    [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ
    พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด
    ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา
    เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง
    ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย

    ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

    อ้างอิง
    ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844
    ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน เรือพระราชพิธีอื่นๆ * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา) * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่ และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่ ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อ้างอิง ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844 ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 256 มุมมอง 0 รีวิว
  • 3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก

    ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล

    "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ"

    ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที

    ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น

    #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ" ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 322 มุมมอง 0 รีวิว
  • Vela de Residence : เวลาดี เรสซิเดนซ์, กรุงเทพ

    เวลาดี เรสซิเดนซ์ ประดิพัทธ์ คอนโดทำเลดีใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย ประมาณ 600 เมตร ใกล้รพ.วิมุต และ Big C สะพานควาย เขตพญาไท กรุงเทพ

    **ราคา/รายละเอียด
    – 1 Bedroom ขนาดพื้นที่ 24.31 ตรม.
    ราคา 3,622,200 บาท

    **จุดเด่น
    โครงการตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย อารีย์
    เดินทางสะดวก สามารถเข้า-ออกได้ทั้งซอยประดิพัทธิ์ 23 และประดิพัทธิ์ 25

    **สิ่งอำนวยความสะดวก
    – Fitness
    – Swimming pool
    – Keycard Access
    – CCTV
    – รปภ. 24 ชม.

    **ที่ตั้งโครงการ
    ซอยประดิพัทธ์ 23 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพ

    **สถานที่ใกล้เคียง **

    – ศูนย์การค้า ตลาด และร้านสะดวกซื้อ
    – ตลาดสะพานควาย
    – 7-Eleven ปากซอย
    – Take A Train
    – ประดิพัทธ์ สตรีท มาร์เก็ต
    – The AQUA Ari
    – Big C สะพานควาย
    – The HUB Phahol-Ari
    – The Camping Ground
    – พหลโยธิน รามา
    – La Villa Ari
    – ตลาด อ.ต.ก.
    – ตลาดมิ่งขวัญบ้านนา
    – JJ Mall
    – DD Mall
    – Gump’s Ari
    – feast. ราชครู
    – ตลาดสุทธิสาร
    – Central Plaza ลาดพร้าว
    – Lotus’s ประชาชื่น
    – Union Mall
    – Lotus’s ลาดพร้าว
    – Gateway At Bangsue
    ศูนย์การแพทย์
    – รพ.วิมุต
    – รพ.เปาโล พหลโยธิน
    – รพ.ประสานมิตร
    – รพ.วิชัยยุทธ
    – รพ.พญาไท 2
    อาคารสำนักงาน และหน่วยงานอื่น ๆ
    – The RICE
    – ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน
    – AIS Tower 2
    – Ari Hills
    – AIS Tower 1
    – SC Tower
    – กรมการขนส่งทางบก
    – สถาบันการบินพลเรือน
    – EXIM
    – สำนักงานเขตพญาไท
    – PEARL Bangkok
    – VANIT PLACE
    – BTS Office
    – หมอชิต คอมเพล็กซ์
    – ธนาคาร ttb สำนักงานใหญ่
    – สถานีกลางบางซื่อ
    – กระทรวงการคลัง
    – SCG สำนักงานใหญ่
    – Energy Complex

    -------------------------------------------
    สนใจสอบถามข้อมูลที่
    โทร.081-822-6553
    รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์
    ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้
    พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ
    จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    Vela de Residence : เวลาดี เรสซิเดนซ์, กรุงเทพ เวลาดี เรสซิเดนซ์ ประดิพัทธ์ คอนโดทำเลดีใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย ประมาณ 600 เมตร ใกล้รพ.วิมุต และ Big C สะพานควาย เขตพญาไท กรุงเทพ **ราคา/รายละเอียด – 1 Bedroom ขนาดพื้นที่ 24.31 ตรม. ราคา 3,622,200 บาท **จุดเด่น โครงการตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS สะพานควาย อารีย์ เดินทางสะดวก สามารถเข้า-ออกได้ทั้งซอยประดิพัทธิ์ 23 และประดิพัทธิ์ 25 **สิ่งอำนวยความสะดวก – Fitness – Swimming pool – Keycard Access – CCTV – รปภ. 24 ชม. **ที่ตั้งโครงการ ซอยประดิพัทธ์ 23 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพ **สถานที่ใกล้เคียง ** – ศูนย์การค้า ตลาด และร้านสะดวกซื้อ – ตลาดสะพานควาย – 7-Eleven ปากซอย – Take A Train – ประดิพัทธ์ สตรีท มาร์เก็ต – The AQUA Ari – Big C สะพานควาย – The HUB Phahol-Ari – The Camping Ground – พหลโยธิน รามา – La Villa Ari – ตลาด อ.ต.ก. – ตลาดมิ่งขวัญบ้านนา – JJ Mall – DD Mall – Gump’s Ari – feast. ราชครู – ตลาดสุทธิสาร – Central Plaza ลาดพร้าว – Lotus’s ประชาชื่น – Union Mall – Lotus’s ลาดพร้าว – Gateway At Bangsue ศูนย์การแพทย์ – รพ.วิมุต – รพ.เปาโล พหลโยธิน – รพ.ประสานมิตร – รพ.วิชัยยุทธ – รพ.พญาไท 2 อาคารสำนักงาน และหน่วยงานอื่น ๆ – The RICE – ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน – AIS Tower 2 – Ari Hills – AIS Tower 1 – SC Tower – กรมการขนส่งทางบก – สถาบันการบินพลเรือน – EXIM – สำนักงานเขตพญาไท – PEARL Bangkok – VANIT PLACE – BTS Office – หมอชิต คอมเพล็กซ์ – ธนาคาร ttb สำนักงานใหญ่ – สถานีกลางบางซื่อ – กระทรวงการคลัง – SCG สำนักงานใหญ่ – Energy Complex ------------------------------------------- สนใจสอบถามข้อมูลที่ โทร.081-822-6553 รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้ พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 161 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ผู้ดูแลกรมการขนส่งทางบก ต้นเรื่องปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง ทำประชาขนเดือดร้อนทั่วกรุง เพิ่มค่าโดยสาร เปลี่ยนเลขรถ ปรับเส้นทาง ทำคนต้องใช้หลายต่อ เพิ่มภาระค่าโดยสาร
    #7ดอกจิก
    #รถเมล์
    ♣ รมช.คมนาคม สุรพงศ์ ผู้ดูแลกรมการขนส่งทางบก ต้นเรื่องปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง ทำประชาขนเดือดร้อนทั่วกรุง เพิ่มค่าโดยสาร เปลี่ยนเลขรถ ปรับเส้นทาง ทำคนต้องใช้หลายต่อ เพิ่มภาระค่าโดยสาร #7ดอกจิก #รถเมล์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 258 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

    25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง

    ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก.

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น

    หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน

    มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง

    ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้

    ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท

    ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง

    #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้ ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 607 มุมมอง 0 รีวิว
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 713 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 501 มุมมอง 0 รีวิว