• “ฮุนเซน” ซัดนิด้าทำโพลสำรวจความเห็นผู้นำประเทศอื่นที่เป็นศัตรูกัน ทั่วโลกไม่มีที่ไหนทำ แนะไปสำรวจความเห็นต่อผู้นำไทยมากกว่า แต่โวเข้าทางตัวเอง เพราะสิ่งที่ตนกลัวมากที่สุดคือคนไทยรักฮุนเซน อยากให้คนไทยประเมินค่าฮุนเซนต่ำ เป็นการพิสูจน์ว่าตนเองทำถูกต้อง

    วันนี้(9 ก.ค.) ในเฟซบุ๊กSamdech Hun Sen of Cambodiaของนายฮุนเซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา มีการโพสต์ข้อความแปลเป็นไทยได้ว่า “ผมอยากแนะนำนักการเมืองและกลุ่มการเมืองของไทยบ้าง!“เป็นเรื่องแปลกและหายากในโลก ที่ประเทศหนึ่งซึ่งกำลังเผชิญหน้ากัน จะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนประเทศตัวเองต่อผู้นำประเทศที่เป็นศัตรูกัน มันเป็นเรื่องไร้สาระและไม่มีเหตุผลที่จะทำเช่นนั้น แต่ประเทศไทยสามารถทำได้

    “การสำรวจของสถาบัน NIDA เพื่อสอบถามความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อผม ฮุนเซน แสดงให้เห็นว่า คนไทยสนใจและเห็นคุณค่าในตัวผมมาก แต่จะเป็นเรื่องดีกว่า ถ้าคนไทยทำการสำรวจความคิดเห็นต่อผู้นำของตนเอง ดังนั้นผมจึงอยากจะบอกว่า “สิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือคนไทยรักฮุนเซน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าผมกำลังทรยศต่อประเทศและประชาชนของผม แต่สิ่งที่ผมต้องการมากที่สุดคือศัตรูประเมินฮุนเซนในระดับที่ต่ำที่สุด ซึ่งมันเป็นการพิสูจน์ว่า ผมกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องสำหรับประเทศและประชาชนของผม”

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000064697

    #Thaitimes #MGROnline #ฮุนเซน #นิด้าโพล #โพล
    “ฮุนเซน” ซัดนิด้าทำโพลสำรวจความเห็นผู้นำประเทศอื่นที่เป็นศัตรูกัน ทั่วโลกไม่มีที่ไหนทำ แนะไปสำรวจความเห็นต่อผู้นำไทยมากกว่า แต่โวเข้าทางตัวเอง เพราะสิ่งที่ตนกลัวมากที่สุดคือคนไทยรักฮุนเซน อยากให้คนไทยประเมินค่าฮุนเซนต่ำ เป็นการพิสูจน์ว่าตนเองทำถูกต้อง • วันนี้(9 ก.ค.) ในเฟซบุ๊กSamdech Hun Sen of Cambodiaของนายฮุนเซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา มีการโพสต์ข้อความแปลเป็นไทยได้ว่า “ผมอยากแนะนำนักการเมืองและกลุ่มการเมืองของไทยบ้าง!“เป็นเรื่องแปลกและหายากในโลก ที่ประเทศหนึ่งซึ่งกำลังเผชิญหน้ากัน จะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนประเทศตัวเองต่อผู้นำประเทศที่เป็นศัตรูกัน มันเป็นเรื่องไร้สาระและไม่มีเหตุผลที่จะทำเช่นนั้น แต่ประเทศไทยสามารถทำได้ • “การสำรวจของสถาบัน NIDA เพื่อสอบถามความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อผม ฮุนเซน แสดงให้เห็นว่า คนไทยสนใจและเห็นคุณค่าในตัวผมมาก แต่จะเป็นเรื่องดีกว่า ถ้าคนไทยทำการสำรวจความคิดเห็นต่อผู้นำของตนเอง ดังนั้นผมจึงอยากจะบอกว่า “สิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือคนไทยรักฮุนเซน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าผมกำลังทรยศต่อประเทศและประชาชนของผม แต่สิ่งที่ผมต้องการมากที่สุดคือศัตรูประเมินฮุนเซนในระดับที่ต่ำที่สุด ซึ่งมันเป็นการพิสูจน์ว่า ผมกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องสำหรับประเทศและประชาชนของผม” • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000064697 • #Thaitimes #MGROnline #ฮุนเซน #นิด้าโพล #โพล
    0 Comments 0 Shares 141 Views 0 Reviews
  • กาแฟ 1 ถุงต้องเข้าแล้ว!!! คอลัมนิสต์เขมรชู “ฮุนเซน” ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 500 ปีนับจากยุคนครวัด
    https://www.thai-tai.tv/news/20135/
    .
    #ฮุนเซน #กัมพูชา #นิด้าโพล #FreshNews #AVI #ความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา #ข้อพิพาทชายแดน #ผู้นำกัมพูชา #โพลสำรวจ #การเมืองไทย #แทรกแซงกิจการภายใน
    กาแฟ 1 ถุงต้องเข้าแล้ว!!! คอลัมนิสต์เขมรชู “ฮุนเซน” ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 500 ปีนับจากยุคนครวัด https://www.thai-tai.tv/news/20135/ . #ฮุนเซน #กัมพูชา #นิด้าโพล #FreshNews #AVI #ความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา #ข้อพิพาทชายแดน #ผู้นำกัมพูชา #โพลสำรวจ #การเมืองไทย #แทรกแซงกิจการภายใน
    0 Comments 0 Shares 87 Views 0 Reviews
  • การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งพรรครีพับลิกัน กับกมลา แฮร์ริส ของพรรคเดโมแครต เคลื่อนเข้าสู่ระยะพุ่งโถมตัวเข้าสู่เส้นชัยซึ่งยังมีความไม่แน่นอนเป็นอย่างยิ่งในวันอังคาร (5 พ.ย.) ขณะที่ผู้ออกเสียงชาวอเมริกันหลายสิบล้านคนเดินทางไปยังหน่วยเลือกตั้ง เพื่อตัดสินใจเลือก 2 วิสัยทัศน์สำหรับประเทศชาติซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด
    .
    ในเวลาที่หน่วยเลือกตั้งแห่งแรกๆ เริ่มเปิดต้อนรับผู้ออกมาใช้สิทธิ ผลโพลสำรวจและพวกผู้เชี่ยวชาญระบุว่า คู่แข่งขันสำคัญทั้งสองคือ รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส วัย 60 ที่เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต และอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ วัย 78 ผู้สมัครของพรรครีพับลิกัน ยังคงอยู่ในสภาพที่มีคะแนนนิยมคู่คี่สูสีจนยากลำบากแก่การตัดสินชี้ขาด ในการต่อสู้ช่วงชิงทำเนียบขาวครั้งที่ถือว่ายากลำบากและพลิกผันไปมามากที่สุดในยุคสมัยใหม่
    .
    หน่วยเลือกตั้งในรัฐทางภาคตะวันออก เป็นต้นว่า เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลนา และนิวยอร์ก เปิดให้เข้าไปใช้สิทธิตั้งแต่เวลา 06.00 น. (ตรงกับ 18.00 น.เวลาเมืองไทย) โดยคาดหมายกันว่าตลอดทั้งวันจะผู้ไปใช้สิทธิกันหลายสิบล้านคน เพิ่มเติมจากจำนวนกว่า 82 ล้านคนซึ่งไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากันแล้วในช่วงหลายๆ สัปดาห์ก่อนหน้านี้
    .
    ขณะที่ผลลัพธ์สุดท้ายอาจจะยังไม่เป็นที่ทราบกันไปอีกหลายวันทีเดียว ถ้าผลมีความคู่คี่กันมากอย่างที่โพลทั้งหลายบ่งชี้ไว้ ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มความตึงเครียดในประเทศที่มีการแตกแยกแบ่งขั้วกันอย่างล้ำลึกอยู่แล้วแห่งนี้
    .
    นอกจากนั้น ยังมีความหวาดกลัวกันว่าจะเกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย และกระทั่งความรุนแรงขึ้นมา ถ้าหาก ทรัมป์ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และท้าทายผลเลือกตั้งอย่างที่เขาเคยกระทำในการเลือกตั้งปี 2020
    .
    ในวันจันทร์ (4) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียง ทั้ง ทรัมป์ และ แฮร์ริส ต่างทำงานอย่างไม่ยอมเหน็ดยอมเหนื่อยเพื่อปลุกเร้าให้ผู้สนับสนุนของพวกเขาออกมาใช้สิทธิที่คูหาเลือกตั้ง ขณะเดียวกับที่พยายามหาทางเอาชนะใจพวกผู้มีสิทธิออกเสียงที่ยังไม่ได้ตัดสินใจคนท้ายๆ โดยเฉพาะในบรรดารัฐสมรภูมิ ซึ่งคาดหมายกันว่าจะเป็นผู้ชี้ขาดผลการแข่งขันคราวนี้
    .
    ทรัมป์ ให้สัญญาจะนำอเมริกาสู่ “ความรุ่งโรจน์ยิ่งขึ้น” ส่วนกมลา แฮร์ริส เรียกร้อง “การเริ่มต้นใหม่” หลังจากอเมริกาถูกครอบงำด้วยวาทกรรมทางการเมืองซึ่งมุ่งปลุกเร้าความเกลียดชังและความรุนแรงของทรัมป์มาเกือบทศวรรษ
    .
    รองประธานาธิบดีหญิงจากพรรคเดโมแครตปิดฉากการหาเสียงที่ร็อคกี้สเต็ปส์ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำฉากสำคัญของภาพยนตร์ดัง “ร็อกกี้” ในรัฐเพนซิลเวเนีย 1 ใน 7 รัฐสมรภูมิที่ต้องชนะให้ได้
    .
    แฮร์ริสประกาศว่า การเลือกตั้งครั้งนี้อาจเป็นการแข่งขันที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทุกคะแนนเสียงมีความสำคัญ และอ้างอิงถึงหนัง “ร็อกกี้” ว่า ขอยกย่องทุกคนที่เริ่มต้นในฐานะมวยรองแต่สามารถฝ่าฝันสู่ชัยชนะสำเร็จ
    .
    ที่ผ่านมา แฮร์ริส ย้ำอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นมวยรอง โดยเธอได้ตั๋วชิงทำเนียบขาวในฐานะตัวแทนพรรคเดโมแครตแบบกะทันหัน หลังจากเมื่อ 3 เดือนที่แล้วประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยอมจำนนต่อการกดดันภายในพรรคและขอถอนตัวจากการแข่งขัน
    .
    อย่างไรก็ตาม แฮร์ริสยืนยันว่า เธอจะชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้
    .
    ทางด้านทรัมป์พาสมาชิกครอบครัวหลายคนขึ้นเวทีทิ้งทวนการหาเสียงที่เมืองแกรนด์ราปิดส์ รัฐมิชิแกน
    .
    อดีตประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันผู้นี้ก็เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนออกไปลงคะแนนในวันอังคาร (5) เพื่อให้ตนเองสามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่ประเทศเผชิญอยู่ รวมทั้งพาอเมริกาและโลกสู่ความรุ่งโรจน์ยิ่งขึ้น
    .
    การปราศรัยส่งท้ายของทั้งคู่สะท้อนว่า การออกไปใช้สิทธิมีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้ครั้งนี้ โดยทั้งทรัมป์และแฮร์ริสต่างบอกว่า รู้สึกมีกำลังใจจากจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าซึ่งสูงถึง 82 ล้านคน และตอนนี้ทั้งคู่จำเป็นต้องระดมผู้สนับสนุนออกไปเลือกตั้งในวันอังคาร
    .
    ทั้งนี้ ในการหาเสียงช่วงหลายวันสุดท้าย ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันส่งสาส์นถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งกันคนละประเด็นโดยสิ้นเชิง
    .
    ที่เมืองรีดดิ้ง รัฐเพนซิลเวเนีย ทรัมป์ย้ำว่า อเมริกากำลังตกต่ำและตึงเครียดจากปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่เขาเรียกว่า “สัตว์” และบรรยายว่า “โหดเหี้ยม”
    .
    ด้านแฮร์ริสชูประเด็นต่อต้านการห้ามทำแท้งทั่วอเมริกา และเรียกร้องการเริ่มต้นใหม่ หลังจากอเมริกาถูกครอบงำด้วยวาทกรรมทางการเมืองของทรัมป์มาเกือบทศวรรษ
    .
    ถึงแม้มัวหมองจากการถูกตัดสินกระทำผิดคดีอาญา และเรื่องอื้อฉาวที่เหล่าผู้สนับสนุนบุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อ 4 ปีก่อนตอนที่เขาไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ในการแข่งขันกับ โจ ไบเดน แต่ต้องถือว่า ทรัมป์ ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่อายุมากที่สุด มีข้อได้เปรียบหลายอย่างในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเฉพาะจากการตามจิกเรื่องเศรษฐกิจซึ่งคนอเมริกันกำลังมีความกังวล โดยเฉพาะเกี่วกับอัตราเงินเฟ้อ ตลอดจนการใช้ถ้อยคำรุนแรงโจมตีปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่ได้ใจฐานเสียงปีกขวา
    .
    ในทางกลับกัน แฮร์ริสมีเวลาสร้างแคมเปญหาเสียงแค่ 3 เดือน กระนั้นก็ประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อยๆ ในการปลุกเร้าพรรคเดโมแครต รวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มหนุ่มสาวและผู้หญิงอย่างชัดเจน
    .
    ขณะเดียวกัน ทั่วโลกกำลังตั้งตารอผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างใจจดใจจ่อ เนื่องจากจะมีนัยสำคัญต่อวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและสงครามในยูเครน รวมถึงการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ทรัมป์กล่าวหาว่า เป็นเรื่องโกหกหลอกลวง
    .
    สถานการณ์เฉพาะหน้าที่น่ากลัวที่สุดคือประชาธิปไตยของอเมริกากำลังจะถูกทดสอบ หากทรัมป์แพ้แต่ไม่ยอมรับเหมือนเมื่อ 4 ปีที่แล้วที่เหล่ากองเชียร์ของเขาบุกโจมตีอาคารรัฐสภา รวมทั้งการที่ก่อนหน้านี้ทรัมป์ถูกลอบสังหารถึง 2 ครั้ง ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงดูเป็นไปได้มากขึ้น
    .
    ที่กรุงวอชิงตันมีการติดตั้งรั้วสูงรอบบริเวณที่พักแฮร์ริสและทำเนียบขาว ขณะที่ห้างร้านหลายแห่งนำแผ่นไม้อัดมาตีปิดกระจกด้านหน้า
    .
    ทั้งรัฐออริกอน วอชิงตัน และเนวาดา ต่างเรียกกองทหารรักษาดินแดน (เนชั่นแนล การ์ด) เข้ารักษาการณ์ และกระทรวงกลาโหมเผยว่า อย่างน้อย 17 รัฐสั่งให้สมาชิกกองทหารรักษาดินแดนรวม 600 นายเตรียมพร้อมหากจำเป็น
    .
    ด้านสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) จัดตั้งศูนย์บัญชาการการเลือกตั้งแห่งชาติในวอชิงตันเพื่อตรวจติดตามภัยคุกคามตลอดสัปดาห์การเลือกตั้ง นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในคูหาเลือกตั้งเกือบ 100,000 แห่งทั่วประเทศ
    .
    รันเบ็ก อิเล็กชัน เซอร์วิส ผู้ให้บริการเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยปฏิบัติการเลือกตั้ง ยืนยันข่าวที่ว่า ได้จัดส่งปุ่มกดฉุกเฉิน 1,000 ชุดสำหรับลูกค้าที่รวมถึงพวกหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย โดยอุปกรณ์นี้มีขนาดเล็กสามารถห้อยคอหรือเก็บในกระเป๋า ซึ่งจะจับคู่กับมือถือของผู้ใช้ และเชื่อมต่อกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000106742
    ..............
    Sondhi X
    การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งพรรครีพับลิกัน กับกมลา แฮร์ริส ของพรรคเดโมแครต เคลื่อนเข้าสู่ระยะพุ่งโถมตัวเข้าสู่เส้นชัยซึ่งยังมีความไม่แน่นอนเป็นอย่างยิ่งในวันอังคาร (5 พ.ย.) ขณะที่ผู้ออกเสียงชาวอเมริกันหลายสิบล้านคนเดินทางไปยังหน่วยเลือกตั้ง เพื่อตัดสินใจเลือก 2 วิสัยทัศน์สำหรับประเทศชาติซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด . ในเวลาที่หน่วยเลือกตั้งแห่งแรกๆ เริ่มเปิดต้อนรับผู้ออกมาใช้สิทธิ ผลโพลสำรวจและพวกผู้เชี่ยวชาญระบุว่า คู่แข่งขันสำคัญทั้งสองคือ รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส วัย 60 ที่เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต และอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ วัย 78 ผู้สมัครของพรรครีพับลิกัน ยังคงอยู่ในสภาพที่มีคะแนนนิยมคู่คี่สูสีจนยากลำบากแก่การตัดสินชี้ขาด ในการต่อสู้ช่วงชิงทำเนียบขาวครั้งที่ถือว่ายากลำบากและพลิกผันไปมามากที่สุดในยุคสมัยใหม่ . หน่วยเลือกตั้งในรัฐทางภาคตะวันออก เป็นต้นว่า เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลนา และนิวยอร์ก เปิดให้เข้าไปใช้สิทธิตั้งแต่เวลา 06.00 น. (ตรงกับ 18.00 น.เวลาเมืองไทย) โดยคาดหมายกันว่าตลอดทั้งวันจะผู้ไปใช้สิทธิกันหลายสิบล้านคน เพิ่มเติมจากจำนวนกว่า 82 ล้านคนซึ่งไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากันแล้วในช่วงหลายๆ สัปดาห์ก่อนหน้านี้ . ขณะที่ผลลัพธ์สุดท้ายอาจจะยังไม่เป็นที่ทราบกันไปอีกหลายวันทีเดียว ถ้าผลมีความคู่คี่กันมากอย่างที่โพลทั้งหลายบ่งชี้ไว้ ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มความตึงเครียดในประเทศที่มีการแตกแยกแบ่งขั้วกันอย่างล้ำลึกอยู่แล้วแห่งนี้ . นอกจากนั้น ยังมีความหวาดกลัวกันว่าจะเกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย และกระทั่งความรุนแรงขึ้นมา ถ้าหาก ทรัมป์ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และท้าทายผลเลือกตั้งอย่างที่เขาเคยกระทำในการเลือกตั้งปี 2020 . ในวันจันทร์ (4) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียง ทั้ง ทรัมป์ และ แฮร์ริส ต่างทำงานอย่างไม่ยอมเหน็ดยอมเหนื่อยเพื่อปลุกเร้าให้ผู้สนับสนุนของพวกเขาออกมาใช้สิทธิที่คูหาเลือกตั้ง ขณะเดียวกับที่พยายามหาทางเอาชนะใจพวกผู้มีสิทธิออกเสียงที่ยังไม่ได้ตัดสินใจคนท้ายๆ โดยเฉพาะในบรรดารัฐสมรภูมิ ซึ่งคาดหมายกันว่าจะเป็นผู้ชี้ขาดผลการแข่งขันคราวนี้ . ทรัมป์ ให้สัญญาจะนำอเมริกาสู่ “ความรุ่งโรจน์ยิ่งขึ้น” ส่วนกมลา แฮร์ริส เรียกร้อง “การเริ่มต้นใหม่” หลังจากอเมริกาถูกครอบงำด้วยวาทกรรมทางการเมืองซึ่งมุ่งปลุกเร้าความเกลียดชังและความรุนแรงของทรัมป์มาเกือบทศวรรษ . รองประธานาธิบดีหญิงจากพรรคเดโมแครตปิดฉากการหาเสียงที่ร็อคกี้สเต็ปส์ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำฉากสำคัญของภาพยนตร์ดัง “ร็อกกี้” ในรัฐเพนซิลเวเนีย 1 ใน 7 รัฐสมรภูมิที่ต้องชนะให้ได้ . แฮร์ริสประกาศว่า การเลือกตั้งครั้งนี้อาจเป็นการแข่งขันที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทุกคะแนนเสียงมีความสำคัญ และอ้างอิงถึงหนัง “ร็อกกี้” ว่า ขอยกย่องทุกคนที่เริ่มต้นในฐานะมวยรองแต่สามารถฝ่าฝันสู่ชัยชนะสำเร็จ . ที่ผ่านมา แฮร์ริส ย้ำอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นมวยรอง โดยเธอได้ตั๋วชิงทำเนียบขาวในฐานะตัวแทนพรรคเดโมแครตแบบกะทันหัน หลังจากเมื่อ 3 เดือนที่แล้วประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยอมจำนนต่อการกดดันภายในพรรคและขอถอนตัวจากการแข่งขัน . อย่างไรก็ตาม แฮร์ริสยืนยันว่า เธอจะชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ . ทางด้านทรัมป์พาสมาชิกครอบครัวหลายคนขึ้นเวทีทิ้งทวนการหาเสียงที่เมืองแกรนด์ราปิดส์ รัฐมิชิแกน . อดีตประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันผู้นี้ก็เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนออกไปลงคะแนนในวันอังคาร (5) เพื่อให้ตนเองสามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่ประเทศเผชิญอยู่ รวมทั้งพาอเมริกาและโลกสู่ความรุ่งโรจน์ยิ่งขึ้น . การปราศรัยส่งท้ายของทั้งคู่สะท้อนว่า การออกไปใช้สิทธิมีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้ครั้งนี้ โดยทั้งทรัมป์และแฮร์ริสต่างบอกว่า รู้สึกมีกำลังใจจากจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าซึ่งสูงถึง 82 ล้านคน และตอนนี้ทั้งคู่จำเป็นต้องระดมผู้สนับสนุนออกไปเลือกตั้งในวันอังคาร . ทั้งนี้ ในการหาเสียงช่วงหลายวันสุดท้าย ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันส่งสาส์นถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งกันคนละประเด็นโดยสิ้นเชิง . ที่เมืองรีดดิ้ง รัฐเพนซิลเวเนีย ทรัมป์ย้ำว่า อเมริกากำลังตกต่ำและตึงเครียดจากปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่เขาเรียกว่า “สัตว์” และบรรยายว่า “โหดเหี้ยม” . ด้านแฮร์ริสชูประเด็นต่อต้านการห้ามทำแท้งทั่วอเมริกา และเรียกร้องการเริ่มต้นใหม่ หลังจากอเมริกาถูกครอบงำด้วยวาทกรรมทางการเมืองของทรัมป์มาเกือบทศวรรษ . ถึงแม้มัวหมองจากการถูกตัดสินกระทำผิดคดีอาญา และเรื่องอื้อฉาวที่เหล่าผู้สนับสนุนบุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อ 4 ปีก่อนตอนที่เขาไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ในการแข่งขันกับ โจ ไบเดน แต่ต้องถือว่า ทรัมป์ ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่อายุมากที่สุด มีข้อได้เปรียบหลายอย่างในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเฉพาะจากการตามจิกเรื่องเศรษฐกิจซึ่งคนอเมริกันกำลังมีความกังวล โดยเฉพาะเกี่วกับอัตราเงินเฟ้อ ตลอดจนการใช้ถ้อยคำรุนแรงโจมตีปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายที่ได้ใจฐานเสียงปีกขวา . ในทางกลับกัน แฮร์ริสมีเวลาสร้างแคมเปญหาเสียงแค่ 3 เดือน กระนั้นก็ประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อยๆ ในการปลุกเร้าพรรคเดโมแครต รวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มหนุ่มสาวและผู้หญิงอย่างชัดเจน . ขณะเดียวกัน ทั่วโลกกำลังตั้งตารอผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างใจจดใจจ่อ เนื่องจากจะมีนัยสำคัญต่อวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและสงครามในยูเครน รวมถึงการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ทรัมป์กล่าวหาว่า เป็นเรื่องโกหกหลอกลวง . สถานการณ์เฉพาะหน้าที่น่ากลัวที่สุดคือประชาธิปไตยของอเมริกากำลังจะถูกทดสอบ หากทรัมป์แพ้แต่ไม่ยอมรับเหมือนเมื่อ 4 ปีที่แล้วที่เหล่ากองเชียร์ของเขาบุกโจมตีอาคารรัฐสภา รวมทั้งการที่ก่อนหน้านี้ทรัมป์ถูกลอบสังหารถึง 2 ครั้ง ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงดูเป็นไปได้มากขึ้น . ที่กรุงวอชิงตันมีการติดตั้งรั้วสูงรอบบริเวณที่พักแฮร์ริสและทำเนียบขาว ขณะที่ห้างร้านหลายแห่งนำแผ่นไม้อัดมาตีปิดกระจกด้านหน้า . ทั้งรัฐออริกอน วอชิงตัน และเนวาดา ต่างเรียกกองทหารรักษาดินแดน (เนชั่นแนล การ์ด) เข้ารักษาการณ์ และกระทรวงกลาโหมเผยว่า อย่างน้อย 17 รัฐสั่งให้สมาชิกกองทหารรักษาดินแดนรวม 600 นายเตรียมพร้อมหากจำเป็น . ด้านสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) จัดตั้งศูนย์บัญชาการการเลือกตั้งแห่งชาติในวอชิงตันเพื่อตรวจติดตามภัยคุกคามตลอดสัปดาห์การเลือกตั้ง นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในคูหาเลือกตั้งเกือบ 100,000 แห่งทั่วประเทศ . รันเบ็ก อิเล็กชัน เซอร์วิส ผู้ให้บริการเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยปฏิบัติการเลือกตั้ง ยืนยันข่าวที่ว่า ได้จัดส่งปุ่มกดฉุกเฉิน 1,000 ชุดสำหรับลูกค้าที่รวมถึงพวกหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย โดยอุปกรณ์นี้มีขนาดเล็กสามารถห้อยคอหรือเก็บในกระเป๋า ซึ่งจะจับคู่กับมือถือของผู้ใช้ และเชื่อมต่อกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000106742 .............. Sondhi X
    Like
    6
    0 Comments 0 Shares 1807 Views 0 Reviews
  • นิด้าโพลสำรวจ เรื่อง “ความเชื่อมั่น ความกังวลที่มีต่อรัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง” พบว่าไม่ค่อยเชื่อ35%และไม่เชื่อเลย 22%

    15 กันยายน 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ความเชื่อมั่น ความกังวลที่มีต่อรัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง” ระหว่างวันที่ 9-11 ก.ย. 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นและความกังวลของประชาชนต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในการบริหารประเทศ

    การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

    https://nidapoll.nida.ac.th
    X : https://twitter.com/NIDA_Poll

    #Thaitimes
    นิด้าโพลสำรวจ เรื่อง “ความเชื่อมั่น ความกังวลที่มีต่อรัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง” พบว่าไม่ค่อยเชื่อ35%และไม่เชื่อเลย 22% 15 กันยายน 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ความเชื่อมั่น ความกังวลที่มีต่อรัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง” ระหว่างวันที่ 9-11 ก.ย. 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นและความกังวลของประชาชนต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในการบริหารประเทศ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 https://nidapoll.nida.ac.th X : https://twitter.com/NIDA_Poll #Thaitimes
    Like
    Haha
    5
    0 Comments 0 Shares 669 Views 0 Reviews
  • นิด้าโพลสำรวจเสียงคนใต้เกินครึ่งไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย มีผลเลือกตั้งครั้งหน้าไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์

    ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 14 จังหวัดภาคใต้ กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

    จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.58 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 12.98 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เลือก รองลงมา ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.48 ระบุว่า เลือก

    เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.87 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 15.27 จังหวัดสงขลา ร้อยละ 11.53 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 8.01 จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 7.10 จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 6.95 จังหวัดตรัง ร้อยละ 5.80 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 5.57 จังหวัดชุมพร ร้อยละ 5.34 จังหวัดยะลา ร้อยละ 4.96 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 4.43 จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 3.36 จังหวัดสตูล ร้อยละ 2.90 จังหวัดพังงา และร้อยละ 1.91 จังหวัดระนอง ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

    ตัวอย่าง ร้อยละ 14.35 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 19.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.00 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.89 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.29 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 72.22 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 27.25 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

    ตัวอย่าง ร้อยละ 34.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.74 สมรส และร้อยละ 1.53 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.41 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.66 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

    ตัวอย่าง ร้อยละ 11.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.73 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.82 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

    ตัวอย่าง ร้อยละ 18.86 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 16.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.63 ไม่ระบุรายได้

    ที่มา https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=716

    #Thaitimes
    นิด้าโพลสำรวจเสียงคนใต้เกินครึ่งไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย มีผลเลือกตั้งครั้งหน้าไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 14 จังหวัดภาคใต้ กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.58 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 12.98 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เลือก รองลงมา ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.48 ระบุว่า เลือก เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.87 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 15.27 จังหวัดสงขลา ร้อยละ 11.53 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 8.01 จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 7.10 จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 6.95 จังหวัดตรัง ร้อยละ 5.80 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 5.57 จังหวัดชุมพร ร้อยละ 5.34 จังหวัดยะลา ร้อยละ 4.96 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 4.43 จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 3.36 จังหวัดสตูล ร้อยละ 2.90 จังหวัดพังงา และร้อยละ 1.91 จังหวัดระนอง ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 14.35 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 19.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.00 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.89 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.29 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 72.22 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 27.25 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 34.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.74 สมรส และร้อยละ 1.53 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.41 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.66 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 11.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.73 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.82 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 18.86 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 16.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.63 ไม่ระบุรายได้ ที่มา https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=716 #Thaitimes
    Like
    Haha
    Angry
    3
    0 Comments 0 Shares 1747 Views 0 Reviews