นิด้าโพลสำรวจเสียงคนใต้เกินครึ่งไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย มีผลเลือกตั้งครั้งหน้าไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 14 จังหวัดภาคใต้ กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.58 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 12.98 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เลือก รองลงมา ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.48 ระบุว่า เลือก

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.87 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 15.27 จังหวัดสงขลา ร้อยละ 11.53 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 8.01 จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 7.10 จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 6.95 จังหวัดตรัง ร้อยละ 5.80 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 5.57 จังหวัดชุมพร ร้อยละ 5.34 จังหวัดยะลา ร้อยละ 4.96 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 4.43 จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 3.36 จังหวัดสตูล ร้อยละ 2.90 จังหวัดพังงา และร้อยละ 1.91 จังหวัดระนอง ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 14.35 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 19.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.00 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.89 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.29 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 72.22 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 27.25 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 34.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.74 สมรส และร้อยละ 1.53 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.41 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.66 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 11.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.73 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.82 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 18.86 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 16.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.63 ไม่ระบุรายได้

ที่มา https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=716

#Thaitimes
นิด้าโพลสำรวจเสียงคนใต้เกินครึ่งไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย มีผลเลือกตั้งครั้งหน้าไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 14 จังหวัดภาคใต้ กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.58 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 12.98 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เลือก รองลงมา ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.48 ระบุว่า เลือก เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 16.87 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 15.27 จังหวัดสงขลา ร้อยละ 11.53 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 8.01 จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 7.10 จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 6.95 จังหวัดตรัง ร้อยละ 5.80 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 5.57 จังหวัดชุมพร ร้อยละ 5.34 จังหวัดยะลา ร้อยละ 4.96 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 4.43 จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 3.36 จังหวัดสตูล ร้อยละ 2.90 จังหวัดพังงา และร้อยละ 1.91 จังหวัดระนอง ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 14.35 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 19.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.00 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.89 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.29 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 72.22 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 27.25 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 34.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.74 สมรส และร้อยละ 1.53 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.41 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.66 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 11.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.73 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.82 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 18.86 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 16.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.63 ไม่ระบุรายได้ ที่มา https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=716 #Thaitimes
Like
Haha
Angry
3
0 Comments 0 Shares 655 Views 0 Reviews