• เซเว่นอีเลฟเว่น แตกไลน์เครื่องดื่มชงสด กาแฟสเปเชียลลิตี้
    เซเว่นอีเลฟเว่น แตกไลน์เครื่องดื่มชงสด กาแฟสเปเชียลลิตี้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 217 มุมมอง 0 รีวิว
  • โออาร์สเปซ ปั๊มไม่มีน้ำมัน

    จากเดิมที่บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และธุรกิจนอยออยล์แขนงต่างๆ ล่าสุดหันมาเอาดีกับการทำคอมมูนิตีมอลล์ที่ชื่อว่า "โออาร์สเปซ" (OR Space) สาขาแรกเปิดเมื่อเดือน ต.ค. ที่ถนนเณรแก้ว จ.สุพรรณบุรี ต่อด้วย รามคำแหง 129 กรุงเทพฯ โดยมีผู้เช่าหลักอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ยูนิโคล่ โรดไซด์สโตร์ มีร้านอาหาร ร้านค้า และร้านในเครือโออาร์ ได้แก่ คาเฟ่อเมซอน พาคามาร่า ฟาวด์แอนด์ฟาวด์ อ๊อตเทริ

    โดยสาขารามคำแหง 129 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ ใช้งบลงทุน 39 ล้านบาท มีสถานีชาร์จ EV Station PluZ ขนาด 6 ช่องจอด ซึ่ง นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โออาร์ ระบุว่า เป็นการต่อยอดเครือข่ายพาร์ตเนอร์ที่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน นำมาสู่ศูนย์การค้าแนวใหม่ รวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมทุกความต้องการ ร่วมกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ต้องเข้าออกสะดวก ใกล้บ้าน ปลอดภัย ถือเป็น New S-Curve และมั่นใจว่าที่นี่จะเป็นต้นแบบของแพลตฟอร์มค้าปลีกในอนาคต

    อย่างไรก็ตาม นายดิษทัต กล่าวว่า อาจจะมีคอมมูนิตีมอลล์แบรนด์คล้ายกันออกมาอีก แต่ด้วยโออาร์ทำเร็วกว่า มีความเข้มแข็ง มีการกระจายความหลากหลาย (Diversify) มีอีโคซิสเตม (Ecosystem) ที่ดี และมีแบรนด์อื่นๆ เดินควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการมีต้นแบบถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้มีการแข่งขัน โดยในปีนี้จะเปิด OR Space เพิ่มอีก 3 แห่ง หนึ่งในนั้นได้แก่ สาขาธรรมศาสตร์ รังสิต และในปี 2568 จะขยายสาขาอีก 10 สาขา โดยใช้ที่ดินขนาดตั้งแต่ 3-5 ไร่ขึ้นไป

    ส่วนการปิดตัวแบรนด์เท็กซัส ชิคเก้น หนึ่งในธุรกิจนอนออยล์ก่อนหน้านี้ นายดิษทัต เปิดเผยว่า ตอนนี้มีแผนสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาทดแทน อีกไม่เกิน 3 ถึง 4 เดือน คงได้เห็นแบรนด์ร้านอาหารน้องใหม่แน่นอน

    อย่างไรก็ตาม โออาร์รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าขาดทุนสุทธิ 1,609 ล้านบาท มีรายได้ขายและบริการ 176,131 ล้านบาท ลดลง 7,858 ล้านบาทในทุกกลุ่มธุรกิจ ขณะที่ราคาหุ้นเหลือ 14.50 บาท ต่ำกว่าราคาไอพีโอ 18 บาท เมื่อปี 2564 โดยนอกจากปิดตัวร้านไก่ทอด เท็กซัส ชิคเก้น ที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษ 442 ล้านบาทแล้ว ยังถอนการลงทุนธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Kouen, Ono Sushi และแบรนด์อื่นๆ ที่ถือหุ้นผ่านบริษัทย่อย 25% คิดเป็น 110 ล้านบาท

    อนึ่ง การลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ โดยขนาดพื้นที่ 2 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท 3 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และ 5 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

    #Newskit #OR #ORSpace
    โออาร์สเปซ ปั๊มไม่มีน้ำมัน จากเดิมที่บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และธุรกิจนอยออยล์แขนงต่างๆ ล่าสุดหันมาเอาดีกับการทำคอมมูนิตีมอลล์ที่ชื่อว่า "โออาร์สเปซ" (OR Space) สาขาแรกเปิดเมื่อเดือน ต.ค. ที่ถนนเณรแก้ว จ.สุพรรณบุรี ต่อด้วย รามคำแหง 129 กรุงเทพฯ โดยมีผู้เช่าหลักอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ยูนิโคล่ โรดไซด์สโตร์ มีร้านอาหาร ร้านค้า และร้านในเครือโออาร์ ได้แก่ คาเฟ่อเมซอน พาคามาร่า ฟาวด์แอนด์ฟาวด์ อ๊อตเทริ โดยสาขารามคำแหง 129 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ ใช้งบลงทุน 39 ล้านบาท มีสถานีชาร์จ EV Station PluZ ขนาด 6 ช่องจอด ซึ่ง นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โออาร์ ระบุว่า เป็นการต่อยอดเครือข่ายพาร์ตเนอร์ที่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน นำมาสู่ศูนย์การค้าแนวใหม่ รวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมทุกความต้องการ ร่วมกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ต้องเข้าออกสะดวก ใกล้บ้าน ปลอดภัย ถือเป็น New S-Curve และมั่นใจว่าที่นี่จะเป็นต้นแบบของแพลตฟอร์มค้าปลีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม นายดิษทัต กล่าวว่า อาจจะมีคอมมูนิตีมอลล์แบรนด์คล้ายกันออกมาอีก แต่ด้วยโออาร์ทำเร็วกว่า มีความเข้มแข็ง มีการกระจายความหลากหลาย (Diversify) มีอีโคซิสเตม (Ecosystem) ที่ดี และมีแบรนด์อื่นๆ เดินควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการมีต้นแบบถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้มีการแข่งขัน โดยในปีนี้จะเปิด OR Space เพิ่มอีก 3 แห่ง หนึ่งในนั้นได้แก่ สาขาธรรมศาสตร์ รังสิต และในปี 2568 จะขยายสาขาอีก 10 สาขา โดยใช้ที่ดินขนาดตั้งแต่ 3-5 ไร่ขึ้นไป ส่วนการปิดตัวแบรนด์เท็กซัส ชิคเก้น หนึ่งในธุรกิจนอนออยล์ก่อนหน้านี้ นายดิษทัต เปิดเผยว่า ตอนนี้มีแผนสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาทดแทน อีกไม่เกิน 3 ถึง 4 เดือน คงได้เห็นแบรนด์ร้านอาหารน้องใหม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม โออาร์รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าขาดทุนสุทธิ 1,609 ล้านบาท มีรายได้ขายและบริการ 176,131 ล้านบาท ลดลง 7,858 ล้านบาทในทุกกลุ่มธุรกิจ ขณะที่ราคาหุ้นเหลือ 14.50 บาท ต่ำกว่าราคาไอพีโอ 18 บาท เมื่อปี 2564 โดยนอกจากปิดตัวร้านไก่ทอด เท็กซัส ชิคเก้น ที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษ 442 ล้านบาทแล้ว ยังถอนการลงทุนธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Kouen, Ono Sushi และแบรนด์อื่นๆ ที่ถือหุ้นผ่านบริษัทย่อย 25% คิดเป็น 110 ล้านบาท อนึ่ง การลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ โดยขนาดพื้นที่ 2 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท 3 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และ 5 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท #Newskit #OR #ORSpace
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 796 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิดตำนาน 20 ปี บัตรสมาร์ทเพิร์ส

    ในขณะที่คนไทยกำลังตื่นเต้น ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ผ่านบริการมายพร้อมคิวอาร์ (MyPromptQR) เฉพาะบางธนาคาร แต่อีกด้านหนึ่ง บัตรเซเว่นการ์ด (7-Card) ซึ่งเป็นบัตรสมาร์ทเพิร์สรุ่นสุดท้าย จะยกเลิกให้บริการ โดยปิดระบบเติมเงินในวันที่ 1 ม.ค. 2568 และสมาชิกสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึง 31 ม.ค. 2568

    หลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้งานบัตรได้ สมาชิกต้องลงทะเบียนขอรับเงินคืน และนำบัตร 7-Card ที่ทำลายแล้วพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีส่งทางไปรษณีย์ หากไม่ดำเนินการในอีก 120 วันจะหักแต้ม และหักค่ารักษาบัญชีจนหมด

    บัตรสมาร์ทเพิร์ส เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2548 โดยใช้ชื่อว่า "บัตรเชื่อมรัก" ของเคาน์เตอร์เซอร์วิส ใช้สำหรับส่งและรับเงินระหว่างกันที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่เข้าร่วมโครงการ 1,000 สาขา ตลอด 24 ชั่วโมง คิดค่าบริการครั้งละ 20 บาท

    กระทั่งวันที่ 15 ธ.ค. 2548 จึงได้เริ่มให้บริการบัตรสมาร์ทเพิร์ส นำร่องร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,500 สาขา ก่อนทยอยเปิดครบทุกสาขาในปี 2549 โดยบัตรจำหน่ายราคาใบละ 250 บาท เติมเงินขั้นต่ำ 50 บาท สูงสุด 10,000 บาท ผ่านไปปีแรก ในปี 2549 มีผู้ถือบัตรมากถึง 1.1 ล้านใบ และร้านค้ารับบัตร 7,000 แห่ง

    นอกจากนี้ ยังมีบัตรโคแบรนด์ที่ออกร่วมกับภาคเอกชน ร้านค้า สถานศึกษา มากกว่า 100 องค์กร และยังมีบัตรที่ออกร่วมกับธนาคาร เช่น บัตรเอทีเอ็มซีไอเอ็มบีไทย สมาร์ทพอยต์ ร่วมกับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บัตรเค-เดบิต เซเว่นพอยต์ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย แต่เป็นไปในลักษณะแยกกันคนละกระเป๋าเงิน ได้แก่ กระเป๋าเงินสมาร์ทเพิร์ส กับบัญชีธนาคาร

    กระทั่งเปิดตัวบัตรสมาชิก All Member ไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2562 จังหวะนั้นเอง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก็เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จํากัด จากผู้ถือหุ้นอื่นทุกราย เพื่อย้ายฐานสมาชิกบัตร 7-Card ไปเป็น ALL Member

    อิทธิพลของดิจิทัลดิสรัปชัน โดยเฉพาะโมบายเพย์เมนต์ อีกทั้งร้านค้าต่างทยอยยกเลิกรับบัตรสมาร์ทเพิร์ส เหลือร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่ยังรับบัตรอยู่ ขณะนั้นมีฐานสมาชิกบัตรที่ยังไม่หมดอายุกว่า 3 ล้านใบ และมีบัตรที่ใช้งานต่อเนื่อง 1.5 ล้านใบต่อเดือน

    แต่ระหว่างนั้นเซเว่นอีเลฟเว่นหันมาทำการตลาดกับทรูมันนี่วอลเล็ต ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney และ 7-App แทน กระทั่งวันสุดท้ายของบัตรใบนี้ก็มาถึง

    นับเป็นการปิดตำนานบัตรที่ใช้จ่ายแทนเงินสดในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างถาวร หลังจากให้บริการมานาน 20 ปี

    #Newskit #SmartPurse #7Card
    ปิดตำนาน 20 ปี บัตรสมาร์ทเพิร์ส ในขณะที่คนไทยกำลังตื่นเต้น ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ผ่านบริการมายพร้อมคิวอาร์ (MyPromptQR) เฉพาะบางธนาคาร แต่อีกด้านหนึ่ง บัตรเซเว่นการ์ด (7-Card) ซึ่งเป็นบัตรสมาร์ทเพิร์สรุ่นสุดท้าย จะยกเลิกให้บริการ โดยปิดระบบเติมเงินในวันที่ 1 ม.ค. 2568 และสมาชิกสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึง 31 ม.ค. 2568 หลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้งานบัตรได้ สมาชิกต้องลงทะเบียนขอรับเงินคืน และนำบัตร 7-Card ที่ทำลายแล้วพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีส่งทางไปรษณีย์ หากไม่ดำเนินการในอีก 120 วันจะหักแต้ม และหักค่ารักษาบัญชีจนหมด บัตรสมาร์ทเพิร์ส เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2548 โดยใช้ชื่อว่า "บัตรเชื่อมรัก" ของเคาน์เตอร์เซอร์วิส ใช้สำหรับส่งและรับเงินระหว่างกันที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่เข้าร่วมโครงการ 1,000 สาขา ตลอด 24 ชั่วโมง คิดค่าบริการครั้งละ 20 บาท กระทั่งวันที่ 15 ธ.ค. 2548 จึงได้เริ่มให้บริการบัตรสมาร์ทเพิร์ส นำร่องร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,500 สาขา ก่อนทยอยเปิดครบทุกสาขาในปี 2549 โดยบัตรจำหน่ายราคาใบละ 250 บาท เติมเงินขั้นต่ำ 50 บาท สูงสุด 10,000 บาท ผ่านไปปีแรก ในปี 2549 มีผู้ถือบัตรมากถึง 1.1 ล้านใบ และร้านค้ารับบัตร 7,000 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีบัตรโคแบรนด์ที่ออกร่วมกับภาคเอกชน ร้านค้า สถานศึกษา มากกว่า 100 องค์กร และยังมีบัตรที่ออกร่วมกับธนาคาร เช่น บัตรเอทีเอ็มซีไอเอ็มบีไทย สมาร์ทพอยต์ ร่วมกับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บัตรเค-เดบิต เซเว่นพอยต์ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย แต่เป็นไปในลักษณะแยกกันคนละกระเป๋าเงิน ได้แก่ กระเป๋าเงินสมาร์ทเพิร์ส กับบัญชีธนาคาร กระทั่งเปิดตัวบัตรสมาชิก All Member ไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2562 จังหวะนั้นเอง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก็เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จํากัด จากผู้ถือหุ้นอื่นทุกราย เพื่อย้ายฐานสมาชิกบัตร 7-Card ไปเป็น ALL Member อิทธิพลของดิจิทัลดิสรัปชัน โดยเฉพาะโมบายเพย์เมนต์ อีกทั้งร้านค้าต่างทยอยยกเลิกรับบัตรสมาร์ทเพิร์ส เหลือร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่ยังรับบัตรอยู่ ขณะนั้นมีฐานสมาชิกบัตรที่ยังไม่หมดอายุกว่า 3 ล้านใบ และมีบัตรที่ใช้งานต่อเนื่อง 1.5 ล้านใบต่อเดือน แต่ระหว่างนั้นเซเว่นอีเลฟเว่นหันมาทำการตลาดกับทรูมันนี่วอลเล็ต ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney และ 7-App แทน กระทั่งวันสุดท้ายของบัตรใบนี้ก็มาถึง นับเป็นการปิดตำนานบัตรที่ใช้จ่ายแทนเงินสดในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างถาวร หลังจากให้บริการมานาน 20 ปี #Newskit #SmartPurse #7Card
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 960 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้

    การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว

    ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว

    น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น

    ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568

    ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม

    #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้ การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    Like
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1059 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปัจจุบันช่องทางการชำระเงินในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น นอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต และบัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชัน ในเครือข่าย Alipay+

    https://sondhitalk.com/detail/9670000091007
    ปัจจุบันช่องทางการชำระเงินในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น นอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต และบัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชัน ในเครือข่าย Alipay+ https://sondhitalk.com/detail/9670000091007
    SONDHITALK.COM
    เซเว่นฯ ทดลองสแกนจ่าย QR Code ผ่านแอปฯ ธนาคาร ก่อนใช้ทั่วประเทศเร็วๆ นี้
    วันนี้ (27 ก.ย.) สืบเนื่องมาจากเฟซบุ๊ก ผู้บริโภค ได้โพสต์ภาพขณะที่กำลังเปิดหน้าจอ Thai QR Payment ในเมนู QR จ่ายเงิน) บนแอปพลิเคชันธนาคารแห่งหนึ่ง เพื่อให้แคชเชียร์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ยิงคิวอาร์โค้ดเพื่อชำระเงิน พร้อมข้อความในภ
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1052 มุมมอง 0 รีวิว
  • ร้านสะดวกซื้อ 7-11 สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคารได้แล้ว
    .
    ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เปิดให้สแกนจ่ายเงินได้แล้วโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือแอปฯ ของร้าน ชาวเน็ตแซว บังเอิญมาก จังหวะพอดีต้อนรับเงินหมื่น
    .
    วันนี้ (27 ก.ย.) กลายเป็นประเด็นที่ฮือฮาอย่างมากในโซเซียล เน็ตเวิร์ก เมื่อแฟนเพจเฟซบุ๊ก “ผู้บริโภค” กล่าวถึงร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของประเทศอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ที่เปิดให้สแกนจ่ายผ่านแอปธนาคารได้ โดยไม่ต้องพกเงินสดหรือใช้แอปฯ ของเซเว่น ได้เผยแพร่โพสต์ “ฝันที่ไม่กล้าฝัน เซเว่นรับสแกนแล้วจ้า!!!” พร้อมระบุข้อความว่า “น้ำตาจะไหล #ผู้บริโภค ว่าไง”
    .
    คลิกอ่าน >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000090968
    ร้านสะดวกซื้อ 7-11 สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคารได้แล้ว . ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เปิดให้สแกนจ่ายเงินได้แล้วโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือแอปฯ ของร้าน ชาวเน็ตแซว บังเอิญมาก จังหวะพอดีต้อนรับเงินหมื่น . วันนี้ (27 ก.ย.) กลายเป็นประเด็นที่ฮือฮาอย่างมากในโซเซียล เน็ตเวิร์ก เมื่อแฟนเพจเฟซบุ๊ก “ผู้บริโภค” กล่าวถึงร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของประเทศอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ที่เปิดให้สแกนจ่ายผ่านแอปธนาคารได้ โดยไม่ต้องพกเงินสดหรือใช้แอปฯ ของเซเว่น ได้เผยแพร่โพสต์ “ฝันที่ไม่กล้าฝัน เซเว่นรับสแกนแล้วจ้า!!!” พร้อมระบุข้อความว่า “น้ำตาจะไหล #ผู้บริโภค ว่าไง” . คลิกอ่าน >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000090968
    MGRONLINE.COM
    วันนี้ที่รอคอย ผู้บริโภคฮือฮา ร้านสะดวกซื้อ 7-11 สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคารได้แล้ว ชาวเน็ตแซวต้อนรับเงินหมื่น
    ผู้บริโภคฮือฮา! ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เปิดให้สแกนจ่ายเงินได้แล้วโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือแอปฯ ของร้าน ชาวเน็ตแซว บังเอิญมาก จังหวะพอดีต้อนรับเงินหมื่นกลายเป็นประเด็นที่ฮือฮาอย่างมากในโลกออนไลน์ เมื่อเฟซบุ๊กเพจผู้บริโภค กล
    Like
    22
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 759 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥 บริษัท Seven & i Holding ญี่ปุ่น
    บริษัทแม่ของ เซเว่น อีเลฟเว่น
    ปฏิเสธข้อเสนอซื้อกิจการมูลค่า 38,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    หรือประมาณ 1.30 ล้านล้านบาท จากบริษัท Couche-Tard
    ของแคนาดา เพราะมองว่า ประเมินมูลค่าของบริษัทต่ำไป
    ที่มา : Reuters
    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เซเว่นอีเลฟเว่น #seven
    #thaitimes
    🔥🔥 บริษัท Seven & i Holding ญี่ปุ่น บริษัทแม่ของ เซเว่น อีเลฟเว่น ปฏิเสธข้อเสนอซื้อกิจการมูลค่า 38,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.30 ล้านล้านบาท จากบริษัท Couche-Tard ของแคนาดา เพราะมองว่า ประเมินมูลค่าของบริษัทต่ำไป ที่มา : Reuters #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เซเว่นอีเลฟเว่น #seven #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 926 มุมมอง 0 รีวิว