• อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าสักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    สัทธรรมลำดับที่ : 316
    ชื่อบทธรรม :- สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?”
    http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ
    --ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้
    ไม่มีการสดับ
    ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
    ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ เขา,
    ย่อมตามเห็นรูป
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
    ตามเห็นรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นเวทนา
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง
    ตามเห็นเวทนาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นสัญญา
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง
    ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นสังขาร
    โดยความเป็นตน บ้าง ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง
    ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสังขารบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นวิญญาณ
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง
    ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง.
    --ภิกษุ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
    http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสื่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/99/188-189.
    http://etipitaka.com/read/thai/17/99/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๒๔/๑๘๘-๑๘๙.
    http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=316
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าสักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร สัทธรรมลำดับที่ : 316 ชื่อบทธรรม :- สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316 เนื้อความทั้งหมด :- --สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?” http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ --ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ เขา, ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ; ย่อมตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสังขาร โดยความเป็นตน บ้าง ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสังขารบ้าง ; ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง. --ภิกษุ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล. http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสื่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/99/188-189. http://etipitaka.com/read/thai/17/99/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๒๔/๑๘๘-๑๘๙. http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=316 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    -สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?” ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ เขาย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ; ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน บ้าง ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสังขารบ้าง ; ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง. ภิกษุ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล. (ต่อไปนี้ ได้ตรัสอาการที่สักกายทิฏฐิไม่มี, โดยนัยตรงกันข้าม).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 35 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด
    สัทธรรมลำดับที่ : 992
    ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=992
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด
    --ภิกษุ ท. ! การแสวงหา (เอสนา) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
    สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ
    การแสวงหากาม (กาเมสนา)
    การแสวงหาภพ (ภเวสนา)
    การแสวงหาพรหมจรรย์ (พฺรหฺมจริเยสนา).
    +--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล การแสวงหา ๓ อย่าง.
    --ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้
    http://etipitaka.com/read/pali/19/81/?keywords=อภิญฺญา
    บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค.
    อริยอัฏฐังคิกมรรค ชนิดไหนกันเล่า ?
    +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญ
    สัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ ...
    สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ ....สัมมาอาชีวะ .....
    สัมมาวายามะ ..... สัมมาสติ ..... สัมมาสมาธิ .....
    ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง.
    +--ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้แล
    บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค.

    [คำว่า “เพื่อรู้ยิ่ง” ในสูตรนี้
    ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้
    ด้วยคำว่า “เพื่อความรอบรู้ (ปริญฺญา)” ก็มี
    ด้วยคำว่า “เพื่อความสิ้นไปรอบ (ปริกฺขย)” ก็มี
    ด้วยคำว่า “เพื่อการละเสีย (ปหาน)” ก็มี.
    +--สำหรับคำว่า
    เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นนั้น
    ในกรณีนี้ ในสูตรอื่นตรัสว่า
    เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะ -โทสะ - โมหะ
    เป็นปริโยสาน ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน
    หรือชนิดที่ มีการลาด - เอียง - เงื้อมไปสู่นิพพาน
    ทำนองเดียวกับหลายหัวข้อหลังจากหัวข้อนี้ไปก็มี.
    +--สำหรับคำว่า พรหมจรรย์ ในกรณีนี้แห่งการแสวงหานี้
    หมายถึง พรหมจรรย์ฝ่ายผิด ซึ่ง เป็นสีลัพพัตตปรามาส
    เพราะมาในเครือเดียวกันกับกามและภพ.
    +--สำหรับสิ่งที่ต้องกำหนดรู้แล้วละเสีย ซึ่งเรียกว่า เอสนา (การแสวงหา)
    ในสูตรนี้นั้น ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้โดยชื่ออื่น
    สำหรับการกำหนดรู้แล้วละเสียเช่นเดียวกัน
    ได้แก่ : -
    +--วิธา (ความรู้สึกยึดถือที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่า เลวกว่า เสมอกัน ดีกว่า)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--อาสวะ (คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--ภพ (คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--ทุกขตา (คือทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์เพราะปรุงแต่ง ทุกข์เพราะแปรปรวน)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--ขีละ (ตะปูตรึงจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--มละ (มลทินของจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--นิฆะ (สิ่งกระทบจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--เวทนา (คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--ตัณหา (คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)
    ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--โอฆะ (กิเลสท่วมจิต คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา)
    ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--โยคะ (กิเลสรัดตรึงจิต คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา)
    ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--อุปาทาน (ความยึดมั่นด้วย กาม -ทิฏฐิ - สีลพรต -อัตตวาท)
    ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--คันถะ (สิ่งร้อยรัดนามกาย คือ อภิชฌา -พยาบาท -สีลพรต - สัจจะเฉพาะตน)
    ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--อนุสัย (กิเลสเคยชินอยู่ในสันดาน คือ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา)
    ๗ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--กามคุณ (คือรูป - เสียง - กลิ่น - รส – โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด)
    ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--นิวรณ์ (กิเลสปิดกั้นจิต คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา)
    ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--อุปาทานขันธ์ (ขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอุปาทานยึดครอง)
    ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--โอรัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องต่ำ คือ
    สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท)
    ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;
    +--อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องบน
    คือ รูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจะ มานะ อวิชชา)
    ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี.
    ]-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/79 - 80/298 - 354.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/79/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๑ - ๙๒/๒๙๘ - ๓๕๔.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/81/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%98
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=992
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85&id=992
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85
    ลำดับสาธยายธรรม : 85 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_85.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด สัทธรรมลำดับที่ : 992 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=992 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด --ภิกษุ ท. ! การแสวงหา (เอสนา) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ การแสวงหากาม (กาเมสนา) การแสวงหาภพ (ภเวสนา) การแสวงหาพรหมจรรย์ (พฺรหฺมจริเยสนา). +--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล การแสวงหา ๓ อย่าง. --ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้ http://etipitaka.com/read/pali/19/81/?keywords=อภิญฺญา บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค. อริยอัฏฐังคิกมรรค ชนิดไหนกันเล่า ? +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญ สัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ ....สัมมาอาชีวะ ..... สัมมาวายามะ ..... สัมมาสติ ..... สัมมาสมาธิ ..... ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง. +--ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้แล บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค. [คำว่า “เพื่อรู้ยิ่ง” ในสูตรนี้ ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ ด้วยคำว่า “เพื่อความรอบรู้ (ปริญฺญา)” ก็มี ด้วยคำว่า “เพื่อความสิ้นไปรอบ (ปริกฺขย)” ก็มี ด้วยคำว่า “เพื่อการละเสีย (ปหาน)” ก็มี. +--สำหรับคำว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นนั้น ในกรณีนี้ ในสูตรอื่นตรัสว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะ -โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน หรือชนิดที่ มีการลาด - เอียง - เงื้อมไปสู่นิพพาน ทำนองเดียวกับหลายหัวข้อหลังจากหัวข้อนี้ไปก็มี. +--สำหรับคำว่า พรหมจรรย์ ในกรณีนี้แห่งการแสวงหานี้ หมายถึง พรหมจรรย์ฝ่ายผิด ซึ่ง เป็นสีลัพพัตตปรามาส เพราะมาในเครือเดียวกันกับกามและภพ. +--สำหรับสิ่งที่ต้องกำหนดรู้แล้วละเสีย ซึ่งเรียกว่า เอสนา (การแสวงหา) ในสูตรนี้นั้น ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้โดยชื่ออื่น สำหรับการกำหนดรู้แล้วละเสียเช่นเดียวกัน ได้แก่ : - +--วิธา (ความรู้สึกยึดถือที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่า เลวกว่า เสมอกัน ดีกว่า) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--อาสวะ (คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--ภพ (คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--ทุกขตา (คือทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์เพราะปรุงแต่ง ทุกข์เพราะแปรปรวน) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--ขีละ (ตะปูตรึงจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--มละ (มลทินของจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--นิฆะ (สิ่งกระทบจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--เวทนา (คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--ตัณหา (คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--โอฆะ (กิเลสท่วมจิต คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--โยคะ (กิเลสรัดตรึงจิต คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--อุปาทาน (ความยึดมั่นด้วย กาม -ทิฏฐิ - สีลพรต -อัตตวาท) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--คันถะ (สิ่งร้อยรัดนามกาย คือ อภิชฌา -พยาบาท -สีลพรต - สัจจะเฉพาะตน) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--อนุสัย (กิเลสเคยชินอยู่ในสันดาน คือ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา) ๗ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--กามคุณ (คือรูป - เสียง - กลิ่น - รส – โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--นิวรณ์ (กิเลสปิดกั้นจิต คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--อุปาทานขันธ์ (ขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอุปาทานยึดครอง) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--โอรัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; +--อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจะ มานะ อวิชชา) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี. ]- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/79 - 80/298 - 354. http://etipitaka.com/read/thai/19/79/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๑ - ๙๒/๒๙๘ - ๓๕๔. http://etipitaka.com/read/pali/19/81/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%98 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=992 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85&id=992 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85 ลำดับสาธยายธรรม : 85 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_85.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด
    -(ในสูตรอื่น ขยายองค์ประกอบที่ทำบุคคลให้เป็นสัตบุรุษและอสัตบุรุษมากออกไป จากองค์แปดแห่งสัมมามรรคหรือมิจฉามรรค ออกไปเป็นสัมมัตตะสิบ หรือ มิจฉัตตะสิบ โดยเนื้อความที่มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันจนครบทั้งสี่จำพวก ดังนี้ก็มี. -๒๑/๓๐๓/๒๐๖. ในสูตรอื่น แทนที่จะทรงจำแนกบุคคลเป็นอสัตบุรุษและสัตบุรุษ แต่ได้ทรงจำแนกบุคคลเป็นบาปชนและกัลยาณชน จัดเป็นคู่หนึ่ง ก็มี -๒๑/๓๐๔ - ๓๐๕/๒๐๗ - ๒๐๘, และ ทรงจำแนกเป็นชนผู้มีบาปธรรมและชนผู้มีกัลยาณธรรม เป็นอีกคู่หนึ่ง ก็มี - ๒๑/๓๐๖ -๓๐๗/๒๐๙ – ๒๑๐ ; ทั้งนี้เป็นไปโดยหลักเกณฑ์อันเดียวกันกับที่ทรงจำแนก อสัตบุรุษและสัตบุรุษจนครบทั้งสี่จำพวกเช่นเดียวกันอีก. ในสูตรอื่น แทนที่จะใช้องค์แปดแห่งมรรถหรือสัมมัตตะสิบ หรือมัจฉัตตะสิบ เป็นเครื่องจำแนกบุคคลให้เป็นคู่ตรงกันข้ามกันเช่นข้างบนนี้ แต่ได้ทรงใช้หลักแห่งกุศลกรรมบถสิบ อกุศลกรรมบถสิบ เป็นต้น เป็นเครื่องจำแนก จนครบทั้งสี่จำพวก โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันก็มี -๒๑/๒๙๗ - ๓๐๑/๒๐๑- ๒๐๔.) อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด ภิกษุ ท. ! การแสวงหา (เอสนา) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ การแสวงหากาม (กาเมสนา) การแสวงหาภพ (ภเวสนา) การแสวงหาพรหมจรรย์ (พฺรหฺมจริเยสนา). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล การแสวงหา ๓ อย่าง. ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้ บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค. อริยอัฏฐังคิกมรรค ชนิดไหนกันเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ ....สัมมาอาชีวะ ..... สัมมาวายามะ ..... สัมมาสติ ..... สัมมาสมาธิ ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง. ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้แล บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค. [คำว่า “เพื่อรู้ยิ่ง” ในสูตรนี้ ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ด้วยคำว่า “เพื่อความรอบรู้ (ปริญฺญา)” ก็มี ด้วยคำว่า “เพื่อความสิ้นไปรอบ (ปริกฺขย)” ก็มี ด้วยคำว่า “เพื่อการละเสีย (ปหาน)” ก็มี. สำหรับคำว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นนั้น ในกรณีนี้ ในสูตรอื่นตรัสว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะ -โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน หรือชนิดที่ มีการลาด - เอียง - เงื้อมไปสู่นิพพาน ทำนองเดียวกับหลายหัวข้อหลังจากหัวข้อนี้ไปก็มี. สำหรับคำว่า พรหมจรรย์ ในกรณีนี้แห่งการแสวงหานี้ หมายถึงพรหมจรรย์ฝ่ายผิด ซึ่ง เป็นสีลัพพัตตปรามาส เพราะมาในเครือเดียวกันกับกามและภพ. สำหรับสิ่งที่ต้องกำหนดรู้แล้วละเสีย ซึ่งเรียกว่า เอสนา (การแสวงหา) ในสูตรนี้นั้น ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้โดยชื่ออื่น สำหรับการกำหนดรู้แล้วละเสียเช่นเดียวกัน ได้แก่ : วิธา (ความรู้สึกยึดถือที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่า เลวกว่า เสมอกัน ดีกว่า) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; อาสวะ (คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; ภพ (คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; ทุกขตา (คือทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์เพราะปรุงแต่ง ทุกข์เพราะแปรปรวน) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; ขีละ (ตะปูตรึงจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; มละ (มลทินของจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; นิฆะ (สิ่งกระทบจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; เวทนา (คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; ตัณหา (คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ; โอฆะ (กิเลสท่วมจิต คือกาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; โยคะ (กิเลสรัดตรึงจิต คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; อุปาทาน (ความยึดมั่นด้วยกาม -ทิฏฐิ - สีลพรต -อัตตวาท) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; คันถะ (สิ่งร้อยรัดนามกาย คือ อภิชฌา -พยาบาท -สีลพรต - สัจจะเฉพาะตน) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ; อนุสัย (กิเลสเคยชินอยู่ในสันดาน คือ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา) ๗ อย่าง ดังนี้ก็มี ; กามคุณ (คือรูป - เสียง - กลิ่น - รส – โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; นิวรณ์ (กิเลสปิดกั้นจิต คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; อุปาทานขันธ์ (ขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอุปาทานยึดครอง) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; โอรัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องต่ำ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ; อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องบน คือรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี.]-
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 279 มุมมอง 0 รีวิว
  • #เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เบื่อร่างกาย

    ผู้ถาม : ลูกได้ดูโทรทัศน์ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เบื่อร่างกาย ทรงเล่าเรื่องว่า เคยป่วยอาการหนัก หมอบอกว่าโรคอย่างนี้ไม่สามารถรักษาได้ มีทรงกับทรุด หรือตายอย่างเดียว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่า ร่างกายนี้ไม่ดีหนอ ไม่ขอเกิดอีกแล้ว ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจะขอสร้างแต่ความดี โดยเริ่มดำเนินการโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น อยากเรียนถามหลวงพ่อว่า คนที่ไม่อยากเกิดต่อไปอย่างนี้ จะเรียกว่า ตัดสักกายทิฏฐิ ใช่หรือเปล่าขอรับ?

    หลวงพ่อ : ตัดแน่ ตรง! ใช้ได้เลย ตรงเป้าหมายดี
    แต่ค่อยๆ ตัดนะ อย่าตัดแรง ตัดแรงมันเจ็บ อ้าว! จริงๆ ค่อยๆ ตัด คิดไว้ทีแรกว่า อย่าเกิดต่อไปนะ จะต้องค่อยๆ คิดคลายไปทีละน้อยๆ ว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มีดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันที่เป็นร่างที่อาศัยชั่วคราว มันพังก็พัง แต่เราไม่ยอมพังด้วย เราต้องการไปนิพพานจุดเดียว ค่อยๆคลำ แบบนี้มีหวังแน่นอน

    ผู้ถาม : ของหลวงพ่อบอกว่า ตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียวก็ไปนิพพานได้เลย?

    หลวงพ่อ : ไม่ใช่ของหลวงพ่อ ของพระพุทธเจ้า ของพระสารีบุตรท่าน พระพุทธเจ้าอธิบายแล้วพระไม่เข้าใจ คืออาจจะเข้าใจเหมือนกันแต่ไม่มั่นใจ ฟังกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ ฟังแล้วพระก็ลาจะขอเข้าป่าไป

    ท่านถามว่า พวกเธอจะเข้าป่าไปลาพระสารีบุตรหรือยัง

    ความจริงไม่ได้นัด แต่ทรงทราบว่าถ้าไปลาพระสารีบุตร พระสารีบุตรจะพูดว่าอย่างไร

    พระก็บอกว่า ยังพระพุทธเจ้าข้า

    ถ้าอย่างนั้นก็ไปลาพระสารีบุตรก่อน ในเมื่อพระไปลาพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็แนะนำตามสมควร

    ต่อมาพระก็ถามว่า เวลานี้ผมเป็นปุถุชนอยากจะเป็นพระโสดาบันจะทำยังไง?

    ท่านบอกให้พิจารณาขันธ์ ๕ พูดง่ายๆ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย ใช่ไหม ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริง ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้าเธอมีความรู้สึกหรือตัดได้อย่างแน่นอน เธอก็เป็นพระโสดาบัน

    พระก็ถามว่า ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้วจะเป็นพระสกิทาคามีทำยังไง?
    พระสารีบุตรก็บอกพิจารณาอย่างนี้แหละ

    พระก็ถามว่า ถ้าผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว ต้องการเป็นพระอนาคามีจะทำยังไง?
    ท่านบอกตัดตัวนี้แหละ จนจิตเบื่อหน่ายในร่างกาย เห็นว่าร่างกายสกปรกโสโครกไม่น่ารัก ตัดได้แน่นอนเมื่อไร เวลานั้นเป็นพระอนาคามี

    พระก็ถามว่า ถ้าผมเป็นพระอนาคามีแล้วต้องการเป็นพระอรหันต์จะทำยังไง?
    ก็ตัดตัวเดียวนี้แหละ จนกระทั่งจิตวางเฉย เห็นว่าร่างกายเรา เห็นร่างกายคนอื่นก็เฉย มันจะเป็นยังไง จิตใจก็สบาย มันก็ไม่กลุ้มไปด้วย ถือว่าเป็นธรรมดาของร่างกาย ในที่สุดมันก็พัง อย่างนี้ก็เป็นพระอรหันต์

    พระพวกนั้นในฐานะที่เป็นปุถุชน มีสมบัติเก่าค้างอยู่ คือความขี้เกียจค้างอยู่
    เลยถามพระสารีบุตรว่า ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลยใช่ไหม?

    พระสารีบุตร บอกไม่ใช่ พระอรหันต์ต้องนึกเป็นอารมณ์เลย หรือเป็นปกติตลอดวัน นี่แสดงสัญลักษณ์เดิมคือขี้เกียจมาก่อนนะ

    ผู้ถาม : ก็แบบหลวงพ่อชาติก่อน ๆ เคยขยัน ชาตินี้ก็เลยขยันต่อ

    หลวงพ่อ : ไม่ใช่ขยัน ชาตินี้ก็เลยขี้เกียจต่อ ขี้เกียจอะไรทราบไหม ขี้เกียจเกิด

    ผู้ถาม : แล้วก็ขี้เกียจแก่

    หลวงพ่อ : แก่มันไม่ขี้เกียจ เพราะกำลังแก่อยู่ จะแก่เรื่อย ๆ ไปจนกว่าจะตาย ตายแล้วยังไม่เลิกแก่ ยังแก่ต่อไปอีก เวลานี้พวกนี้เรียกหลวงพ่อใช่ไหม เมื่อวาน เลื่อนขั้นมีคนเรียกหลวงตาแล้ว แสดงว่าแก่มาก

    พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ) วัดท่าซุง
    ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๕๑ หน้า ๗๘-๗๙
    #เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เบื่อร่างกาย ผู้ถาม : ลูกได้ดูโทรทัศน์ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เบื่อร่างกาย ทรงเล่าเรื่องว่า เคยป่วยอาการหนัก หมอบอกว่าโรคอย่างนี้ไม่สามารถรักษาได้ มีทรงกับทรุด หรือตายอย่างเดียว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่า ร่างกายนี้ไม่ดีหนอ ไม่ขอเกิดอีกแล้ว ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจะขอสร้างแต่ความดี โดยเริ่มดำเนินการโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น อยากเรียนถามหลวงพ่อว่า คนที่ไม่อยากเกิดต่อไปอย่างนี้ จะเรียกว่า ตัดสักกายทิฏฐิ ใช่หรือเปล่าขอรับ? หลวงพ่อ : ตัดแน่ ตรง! ใช้ได้เลย ตรงเป้าหมายดี แต่ค่อยๆ ตัดนะ อย่าตัดแรง ตัดแรงมันเจ็บ อ้าว! จริงๆ ค่อยๆ ตัด คิดไว้ทีแรกว่า อย่าเกิดต่อไปนะ จะต้องค่อยๆ คิดคลายไปทีละน้อยๆ ว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มีดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันที่เป็นร่างที่อาศัยชั่วคราว มันพังก็พัง แต่เราไม่ยอมพังด้วย เราต้องการไปนิพพานจุดเดียว ค่อยๆคลำ แบบนี้มีหวังแน่นอน ผู้ถาม : ของหลวงพ่อบอกว่า ตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียวก็ไปนิพพานได้เลย? หลวงพ่อ : ไม่ใช่ของหลวงพ่อ ของพระพุทธเจ้า ของพระสารีบุตรท่าน พระพุทธเจ้าอธิบายแล้วพระไม่เข้าใจ คืออาจจะเข้าใจเหมือนกันแต่ไม่มั่นใจ ฟังกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ ฟังแล้วพระก็ลาจะขอเข้าป่าไป ท่านถามว่า พวกเธอจะเข้าป่าไปลาพระสารีบุตรหรือยัง ความจริงไม่ได้นัด แต่ทรงทราบว่าถ้าไปลาพระสารีบุตร พระสารีบุตรจะพูดว่าอย่างไร พระก็บอกว่า ยังพระพุทธเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้นก็ไปลาพระสารีบุตรก่อน ในเมื่อพระไปลาพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็แนะนำตามสมควร ต่อมาพระก็ถามว่า เวลานี้ผมเป็นปุถุชนอยากจะเป็นพระโสดาบันจะทำยังไง? ท่านบอกให้พิจารณาขันธ์ ๕ พูดง่ายๆ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย ใช่ไหม ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริง ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้าเธอมีความรู้สึกหรือตัดได้อย่างแน่นอน เธอก็เป็นพระโสดาบัน พระก็ถามว่า ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้วจะเป็นพระสกิทาคามีทำยังไง? พระสารีบุตรก็บอกพิจารณาอย่างนี้แหละ พระก็ถามว่า ถ้าผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว ต้องการเป็นพระอนาคามีจะทำยังไง? ท่านบอกตัดตัวนี้แหละ จนจิตเบื่อหน่ายในร่างกาย เห็นว่าร่างกายสกปรกโสโครกไม่น่ารัก ตัดได้แน่นอนเมื่อไร เวลานั้นเป็นพระอนาคามี พระก็ถามว่า ถ้าผมเป็นพระอนาคามีแล้วต้องการเป็นพระอรหันต์จะทำยังไง? ก็ตัดตัวเดียวนี้แหละ จนกระทั่งจิตวางเฉย เห็นว่าร่างกายเรา เห็นร่างกายคนอื่นก็เฉย มันจะเป็นยังไง จิตใจก็สบาย มันก็ไม่กลุ้มไปด้วย ถือว่าเป็นธรรมดาของร่างกาย ในที่สุดมันก็พัง อย่างนี้ก็เป็นพระอรหันต์ พระพวกนั้นในฐานะที่เป็นปุถุชน มีสมบัติเก่าค้างอยู่ คือความขี้เกียจค้างอยู่ เลยถามพระสารีบุตรว่า ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลยใช่ไหม? พระสารีบุตร บอกไม่ใช่ พระอรหันต์ต้องนึกเป็นอารมณ์เลย หรือเป็นปกติตลอดวัน นี่แสดงสัญลักษณ์เดิมคือขี้เกียจมาก่อนนะ ผู้ถาม : ก็แบบหลวงพ่อชาติก่อน ๆ เคยขยัน ชาตินี้ก็เลยขยันต่อ หลวงพ่อ : ไม่ใช่ขยัน ชาตินี้ก็เลยขี้เกียจต่อ ขี้เกียจอะไรทราบไหม ขี้เกียจเกิด ผู้ถาม : แล้วก็ขี้เกียจแก่ หลวงพ่อ : แก่มันไม่ขี้เกียจ เพราะกำลังแก่อยู่ จะแก่เรื่อย ๆ ไปจนกว่าจะตาย ตายแล้วยังไม่เลิกแก่ ยังแก่ต่อไปอีก เวลานี้พวกนี้เรียกหลวงพ่อใช่ไหม เมื่อวาน เลื่อนขั้นมีคนเรียกหลวงตาแล้ว แสดงว่าแก่มาก พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ) วัดท่าซุง ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๕๑ หน้า ๗๘-๗๙
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 474 มุมมอง 0 รีวิว
  • #คนต้องการพระนิพพานจะมีความรู้สึกอย่างไร

    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า

    "ต้องใช้อากิญจัญญายตนะฌาณเป็นประจำใจ"

    คำว่า #อากิญจัญญายตนะฌาณ ฟังแล้วหนักใจ แต่ความจริงถ้าคนฉลาดก็ไม่หนัก ถ้าคนโง่ก็หนัก
    เพราะอากิญจัญญายตนะฌาน เป็นอารมณ์ของคนฉลาด คือ
    มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า
    โลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ คนเกิดมากี่คนตายหมดเท่านั้น สัตว์เกิดมาเท่าไหร่ตายหมดเท่านั้น
    สภาพของวัตถุทั้งหลายไม่มีการทรงตัว เสื่อมไปแล้วพังหมดเท่านั้น วันนี้ไม่พังวันหน้ามันก็พัง
    คนวันนี้ไม่ตายวันหน้าก็ตาย สัตว์วันนี้ไม่ตายวันหน้าก็ตาย
    ฉะนั้นโลกทั้งหลายไม่เป็นที่น่าอยู่สำหรับเรา เราไม่ต้องการ

    ถ้าบุคคลทั้งหลาย ใช้อารมณ์
    ของอากิญจัญญายตนะฌาณเป็นปกติ
    บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนที่มีจิตสบาย คือ
    จิตยอมรับความเป็นจริงว่า
    ร่างกายของเราสักวันหนึ่งมันต้องตาย
    กฏแน่นอนของมันก็คือเดินเข้าไปหาความตายทุกวัน
    เรื่องความตายนี่ไม่ต้องไปคำนึง
    ไม่ต้องคิดถึงว่ามันจะตายเมื่อไหร่ก็เชิญฉันพร้อมแล้ว
    คำว่า พร้อม ก็คือ ยึดเอาพระธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วไปปฏิบัติ ได้แก่
    สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าชีวิตนี่มันต้องตาย จะตายเมื่อไรก็เชิญฉันมีความดีพร้อม

    ความดีของเราคือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ และทรงกำลังใจไว้ไม่เสื่อมคลาย
    ยึดมั่นในศีล จะเป็นจะตายอย่างไรก็ตามไม่ยอมละเมิดศีล 5 สำหรับฆราวาสอารมณ์ของพระโสดาบัน
    ถ้าคนที่เขาทรงอารมณ์ของศีล 8 เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี พระเณรก็เช่นเดียวกัน ต้องรักษาศีลของตน
    นี่แหละบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน การเดินเข้ามาหานิพพานเป็นของไม่ยาก

    หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พิจารณาว่า โลกมันไม่ดี มนุษยโลกก็ไม่ดี เทวโลกก็ไม่ดี พรหมโลกก็ไม่ดี เทวโลกกับพรหมโลกนั้นดีเหมือนกัน แต่ดีชั่วคราว ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องหล่นมาใหม่ หล่นมาค้างที่บนไม่เป็นไร ส่วนใหญ่ลงมาจากเทวโลกและพรหมโลกก็พุ่งลงนรกไป เพราะบาปเก่ายังไม่ชำระหนี้เขา

    ถ้ามีกำลังใจทรงอารมณ์พระโสดาบันไว้มันก็ไม่ไป อย่างเลวที่สุดมันก็มาค้างที่มนุษย์ แต่ก็ไม่ดีกลับมาค้างในดินแดนที่เราต้องมีทุกข์จะดีอะไร เราก็เป็นคนโง่ถ้าจะเป็นเทวดาหรือพรหม นานเท่าไรมันก็เป็นไม่ได้ หมดบุญวาสนาต้องมา กำลังใจที่ดีที่สุดก็ตัดสินใจว่า

    "ถ้าชีวิตร่างกายมันพังเมื่อไหร่ ขึ้นชื่อว่าความเป็นคนก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี จะไม่มีสำหรับเรา เราต้องการจุดเดียว คือ นิพพาน"

    อันนี้พูดกันสำหรับคนที่เจริญทางด้านสุกขวิปัสสโก

    ===================
    จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๗๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๓๘ หน้า ๓๗-๓๘
    #คนต้องการพระนิพพานจะมีความรู้สึกอย่างไร องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า "ต้องใช้อากิญจัญญายตนะฌาณเป็นประจำใจ" คำว่า #อากิญจัญญายตนะฌาณ ฟังแล้วหนักใจ แต่ความจริงถ้าคนฉลาดก็ไม่หนัก ถ้าคนโง่ก็หนัก เพราะอากิญจัญญายตนะฌาน เป็นอารมณ์ของคนฉลาด คือ มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า โลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ คนเกิดมากี่คนตายหมดเท่านั้น สัตว์เกิดมาเท่าไหร่ตายหมดเท่านั้น สภาพของวัตถุทั้งหลายไม่มีการทรงตัว เสื่อมไปแล้วพังหมดเท่านั้น วันนี้ไม่พังวันหน้ามันก็พัง คนวันนี้ไม่ตายวันหน้าก็ตาย สัตว์วันนี้ไม่ตายวันหน้าก็ตาย ฉะนั้นโลกทั้งหลายไม่เป็นที่น่าอยู่สำหรับเรา เราไม่ต้องการ ถ้าบุคคลทั้งหลาย ใช้อารมณ์ ของอากิญจัญญายตนะฌาณเป็นปกติ บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนที่มีจิตสบาย คือ จิตยอมรับความเป็นจริงว่า ร่างกายของเราสักวันหนึ่งมันต้องตาย กฏแน่นอนของมันก็คือเดินเข้าไปหาความตายทุกวัน เรื่องความตายนี่ไม่ต้องไปคำนึง ไม่ต้องคิดถึงว่ามันจะตายเมื่อไหร่ก็เชิญฉันพร้อมแล้ว คำว่า พร้อม ก็คือ ยึดเอาพระธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วไปปฏิบัติ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าชีวิตนี่มันต้องตาย จะตายเมื่อไรก็เชิญฉันมีความดีพร้อม ความดีของเราคือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ และทรงกำลังใจไว้ไม่เสื่อมคลาย ยึดมั่นในศีล จะเป็นจะตายอย่างไรก็ตามไม่ยอมละเมิดศีล 5 สำหรับฆราวาสอารมณ์ของพระโสดาบัน ถ้าคนที่เขาทรงอารมณ์ของศีล 8 เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี พระเณรก็เช่นเดียวกัน ต้องรักษาศีลของตน นี่แหละบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน การเดินเข้ามาหานิพพานเป็นของไม่ยาก หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พิจารณาว่า โลกมันไม่ดี มนุษยโลกก็ไม่ดี เทวโลกก็ไม่ดี พรหมโลกก็ไม่ดี เทวโลกกับพรหมโลกนั้นดีเหมือนกัน แต่ดีชั่วคราว ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องหล่นมาใหม่ หล่นมาค้างที่บนไม่เป็นไร ส่วนใหญ่ลงมาจากเทวโลกและพรหมโลกก็พุ่งลงนรกไป เพราะบาปเก่ายังไม่ชำระหนี้เขา ถ้ามีกำลังใจทรงอารมณ์พระโสดาบันไว้มันก็ไม่ไป อย่างเลวที่สุดมันก็มาค้างที่มนุษย์ แต่ก็ไม่ดีกลับมาค้างในดินแดนที่เราต้องมีทุกข์จะดีอะไร เราก็เป็นคนโง่ถ้าจะเป็นเทวดาหรือพรหม นานเท่าไรมันก็เป็นไม่ได้ หมดบุญวาสนาต้องมา กำลังใจที่ดีที่สุดก็ตัดสินใจว่า "ถ้าชีวิตร่างกายมันพังเมื่อไหร่ ขึ้นชื่อว่าความเป็นคนก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี จะไม่มีสำหรับเรา เราต้องการจุดเดียว คือ นิพพาน" อันนี้พูดกันสำหรับคนที่เจริญทางด้านสุกขวิปัสสโก =================== จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๗๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๓๘ หน้า ๓๗-๓๘
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 428 มุมมอง 0 รีวิว
  • ละสังโยชน์ ให้หมดไปสู่พิพาน
    สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์
    หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ

    สังโยชน์ 10 (แบบย่อ)

    สังโยชน์เบื้องต่ำ
    1. สักกายทิฏฐิ - คิดว่ากายนี้เป็นของเรา
    2. วิจิกิจฉา - สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    3. สีลัพพตปรามาส - งมงายในคำสอนของลัทธิอื่น
    4. กามราคะ- ติดใจในกามคุณทั้ง5
    5. ปฏิฆะ(พยาบาท) - มีความกระทบทางใจ โกรธ ผูกโกรธ

    สังโยชน์เบื้องสูง
    6. รูปราคะ - ติดในใน รูปฌาน
    7. อรูปราคะ - ติดในใน อรูปฌาน
    8. มานะ - ถือตัว ยึดมั่นในตัวตน
    9. อุทธัจจะ -ฟุ้งซ่าน
    10. อวิชชา - ความไม่รู้จริง

    .............................................................................................................................................
    ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่

    1. สักกายทิฏฐิ -มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา
    2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ เพียงด้วยศีลละวัตร หรือนำศีลและพรต ไปใช้เพื่อ เหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีล เพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่า คนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือ ในพิธีกรรม ที่งมงายด้วย
    4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณทั้ง ๕
    5. ปฏิฆะ (พยาบาท) - จิตพยาบาท อาฆาตแค้น หงุดหงิด โกรธ
    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่

    6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุ หรือรูปฌาน
    7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
    8. มานะ - ถือตัว/ถ่อมตัว ยกตนเหนือกว่า/ด้อยกว่า
    9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
    10. อวิชชา - ปัญญามืดบอด มีความไม่รู้จริง

    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อ

    พระสกทาคามี ละสังโยชน์ 3 ข้อ และ 4-5 บางส่วน (กามราคะ-ปฏิฆะ เบาบาง)

    พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด

    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
    ละสังโยชน์ ให้หมดไปสู่พิพาน สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ สังโยชน์ 10 (แบบย่อ) สังโยชน์เบื้องต่ำ 1. สักกายทิฏฐิ - คิดว่ากายนี้เป็นของเรา 2. วิจิกิจฉา - สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาส - งมงายในคำสอนของลัทธิอื่น 4. กามราคะ- ติดใจในกามคุณทั้ง5 5. ปฏิฆะ(พยาบาท) - มีความกระทบทางใจ โกรธ ผูกโกรธ สังโยชน์เบื้องสูง 6. รูปราคะ - ติดในใน รูปฌาน 7. อรูปราคะ - ติดในใน อรูปฌาน 8. มานะ - ถือตัว ยึดมั่นในตัวตน 9. อุทธัจจะ -ฟุ้งซ่าน 10. อวิชชา - ความไม่รู้จริง ............................................................................................................................................. ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ -มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ เพียงด้วยศีลละวัตร หรือนำศีลและพรต ไปใช้เพื่อ เหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีล เพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่า คนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือ ในพิธีกรรม ที่งมงายด้วย 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณทั้ง ๕ 5. ปฏิฆะ (พยาบาท) - จิตพยาบาท อาฆาตแค้น หงุดหงิด โกรธ ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่ 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุ หรือรูปฌาน 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย 8. มานะ - ถือตัว/ถ่อมตัว ยกตนเหนือกว่า/ด้อยกว่า 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน 10. อวิชชา - ปัญญามืดบอด มีความไม่รู้จริง พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อ พระสกทาคามี ละสังโยชน์ 3 ข้อ และ 4-5 บางส่วน (กามราคะ-ปฏิฆะ เบาบาง) พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 261 มุมมอง 0 รีวิว