ละสังโยชน์ ให้หมดไปสู่พิพาน
สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์
หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ

สังโยชน์ 10 (แบบย่อ)

สังโยชน์เบื้องต่ำ
1. สักกายทิฏฐิ - คิดว่ากายนี้เป็นของเรา
2. วิจิกิจฉา - สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - งมงายในคำสอนของลัทธิอื่น
4. กามราคะ- ติดใจในกามคุณทั้ง5
5. ปฏิฆะ(พยาบาท) - มีความกระทบทางใจ โกรธ ผูกโกรธ

สังโยชน์เบื้องสูง
6. รูปราคะ - ติดในใน รูปฌาน
7. อรูปราคะ - ติดในใน อรูปฌาน
8. มานะ - ถือตัว ยึดมั่นในตัวตน
9. อุทธัจจะ -ฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - ความไม่รู้จริง

.............................................................................................................................................
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่

1. สักกายทิฏฐิ -มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ เพียงด้วยศีลละวัตร หรือนำศีลและพรต ไปใช้เพื่อ เหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีล เพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่า คนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือ ในพิธีกรรม ที่งมงายด้วย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณทั้ง ๕
5. ปฏิฆะ (พยาบาท) - จิตพยาบาท อาฆาตแค้น หงุดหงิด โกรธ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่

6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุ หรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - ถือตัว/ถ่อมตัว ยกตนเหนือกว่า/ด้อยกว่า
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - ปัญญามืดบอด มีความไม่รู้จริง

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อ

พระสกทาคามี ละสังโยชน์ 3 ข้อ และ 4-5 บางส่วน (กามราคะ-ปฏิฆะ เบาบาง)

พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด

พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
ละสังโยชน์ ให้หมดไปสู่พิพาน สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ สังโยชน์ 10 (แบบย่อ) สังโยชน์เบื้องต่ำ 1. สักกายทิฏฐิ - คิดว่ากายนี้เป็นของเรา 2. วิจิกิจฉา - สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาส - งมงายในคำสอนของลัทธิอื่น 4. กามราคะ- ติดใจในกามคุณทั้ง5 5. ปฏิฆะ(พยาบาท) - มีความกระทบทางใจ โกรธ ผูกโกรธ สังโยชน์เบื้องสูง 6. รูปราคะ - ติดในใน รูปฌาน 7. อรูปราคะ - ติดในใน อรูปฌาน 8. มานะ - ถือตัว ยึดมั่นในตัวตน 9. อุทธัจจะ -ฟุ้งซ่าน 10. อวิชชา - ความไม่รู้จริง ............................................................................................................................................. ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ -มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ เพียงด้วยศีลละวัตร หรือนำศีลและพรต ไปใช้เพื่อ เหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีล เพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่า คนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือ ในพิธีกรรม ที่งมงายด้วย 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณทั้ง ๕ 5. ปฏิฆะ (พยาบาท) - จิตพยาบาท อาฆาตแค้น หงุดหงิด โกรธ ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่ 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุ หรือรูปฌาน 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย 8. มานะ - ถือตัว/ถ่อมตัว ยกตนเหนือกว่า/ด้อยกว่า 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน 10. อวิชชา - ปัญญามืดบอด มีความไม่รู้จริง พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อ พระสกทาคามี ละสังโยชน์ 3 ข้อ และ 4-5 บางส่วน (กามราคะ-ปฏิฆะ เบาบาง) พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 119 มุมมอง 0 รีวิว