• โครงการ HAARP PROJECT อาวุธ
    ของพระเจ้าในมือของมนุษย์
    HAARP High Frequency Active Auroral
    Research Program คือศูนย์วิจัยไอโอโนสเฟร์
    (ionosphere คทอชั้นบรรยากาศช่วงที่อยู่ห่าง ระหว่าง 80-1000 กม. จากพื้นผิวโลก)ในเมือง Gakona รัฐ Alaskaซึางได้รับความร่วมมือ
    และเงินทุนมหาวิทยาลัยอลาสก้า U.S.AirForce
    the U.S. Navy และDefense Advanced
    Research Projects Agency [DARPA] ใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท (290ล้านเหรียญสหรัฐ)
    ——-
    ตั้งอยู่บนแนวคิดของนาย bernaed eastlund
    เจ้าของสิทธิบัตร3ใบที่จดในอเมริกา
    ชื่อของสิทธิบัตรของเขาได้แก่: วิธีการและเครื่องมือในการเตรียมแปลงบริเวณในชั้นบรรยากาศของโลก.วิธีการและเครื่องมือในการสร้างเครื่อง
    เครื่องเร่งอิเล็คตรอนไซโคลตรอน ด้วยความร้อนพลาสม่า,วิธีการผลิตอนุภาคสัมพัทธภาพ
    เหนือพื้นผิวโลก ซึ่งจริงๆแล้วทษฏีเหล่านี้ เป็นการค้นคว้าต่อจากทษฏีของนาย Nicola Tasla นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะที่โลกลืม ชาว Croatia แทบทั้งนั้น Dr.Nicoli tesla (นิโค ไล เทศล่า)เป็นชาวเซิร์บย้ายถิ่นฐานมาที่รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี1950 แต่โครงการนี้จริงๆเริ่มต้นในช่วงศตวรรษปี 1900 ถูกพัฒนาอย่างจริงจังจนเป็นผลสำเร็จโดย ดร. เทสล่า โดยการสนับสนุนเงินทุนจากนาย ธนาคาร ชั่ว ที่ชื่อ j.p. morgan นั่นเองจึงทำให้เทคโนโลยีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดด้วยการสร้างภัยพิบัติต่างๆ เพื่อทำร้ายมนุษย์ชาติโดยกันเอง ในคลิปแรกจะแสดงการทำงานของ Tesla Coil ซึ่งเป็นงานวิจัยเพื่อจำลองและสร้างปรากฏการณ์ฟ้าผ่าขึ้น
    บ่มาได้มีการกล่าวอ้างจากแหล่งข่าวมากมายว่ามีการทำการทดลองโครงการ Haarp ของประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกประณามออกมาจากหลายประเทศว่าเป็นการทำร้ายมนุษยชาติครั้งใหญ่ทำให้สภาพภูมิภูมิอากาศแปรปรวน จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่งั้นก็ต้องรอพิสูจน์ข้อเท็จจริงตอนต่อไป เมื่อไม่นานมานี้ผู้นำเวเนซุเอลา กล่าวหาสหรัฐอเมริกาเป็นต้นตอของหายนะ ในเฮติ จากการทดสอบอาวุธ อันก่อ ให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนเรือนับแสนคน ทั้งนี้โครงการ HAARP (high Frequency Active Auroral Research Project) คือศูนย์วิจัย ไอโอโนสเฟีนร์ ในมลรัฐอะแลสกา จุดมุ่งหมายสำรวจทรัพยากรชั้นบรรยากาศโลกและพัฒนาระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม

    HAARP เป็นโครงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐเพื่อสร้างและควบคุมสภาพภูมิอากาศโดยการยิงคลืนแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ขึ้นไปที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วให้สะท้อน
    กลับมายังพื้นผิวโลก ไปยังเป้าหมายที่ต้องการในจำนวนนั้นรวม ไปถึงส่งพลังงานนั้นลงไปสู่ชั้นหินใต้ดินเพื่อก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนั้นเอง
    โครงการ HAARP PROJECT อาวุธ ของพระเจ้าในมือของมนุษย์ HAARP High Frequency Active Auroral Research Program คือศูนย์วิจัยไอโอโนสเฟร์ (ionosphere คทอชั้นบรรยากาศช่วงที่อยู่ห่าง ระหว่าง 80-1000 กม. จากพื้นผิวโลก)ในเมือง Gakona รัฐ Alaskaซึางได้รับความร่วมมือ และเงินทุนมหาวิทยาลัยอลาสก้า U.S.AirForce the U.S. Navy และDefense Advanced Research Projects Agency [DARPA] ใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท (290ล้านเหรียญสหรัฐ) ——- ตั้งอยู่บนแนวคิดของนาย bernaed eastlund เจ้าของสิทธิบัตร3ใบที่จดในอเมริกา ชื่อของสิทธิบัตรของเขาได้แก่: วิธีการและเครื่องมือในการเตรียมแปลงบริเวณในชั้นบรรยากาศของโลก.วิธีการและเครื่องมือในการสร้างเครื่อง เครื่องเร่งอิเล็คตรอนไซโคลตรอน ด้วยความร้อนพลาสม่า,วิธีการผลิตอนุภาคสัมพัทธภาพ เหนือพื้นผิวโลก ซึ่งจริงๆแล้วทษฏีเหล่านี้ เป็นการค้นคว้าต่อจากทษฏีของนาย Nicola Tasla นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะที่โลกลืม ชาว Croatia แทบทั้งนั้น Dr.Nicoli tesla (นิโค ไล เทศล่า)เป็นชาวเซิร์บย้ายถิ่นฐานมาที่รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี1950 แต่โครงการนี้จริงๆเริ่มต้นในช่วงศตวรรษปี 1900 ถูกพัฒนาอย่างจริงจังจนเป็นผลสำเร็จโดย ดร. เทสล่า โดยการสนับสนุนเงินทุนจากนาย ธนาคาร ชั่ว ที่ชื่อ j.p. morgan นั่นเองจึงทำให้เทคโนโลยีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดด้วยการสร้างภัยพิบัติต่างๆ เพื่อทำร้ายมนุษย์ชาติโดยกันเอง ในคลิปแรกจะแสดงการทำงานของ Tesla Coil ซึ่งเป็นงานวิจัยเพื่อจำลองและสร้างปรากฏการณ์ฟ้าผ่าขึ้น บ่มาได้มีการกล่าวอ้างจากแหล่งข่าวมากมายว่ามีการทำการทดลองโครงการ Haarp ของประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกประณามออกมาจากหลายประเทศว่าเป็นการทำร้ายมนุษยชาติครั้งใหญ่ทำให้สภาพภูมิภูมิอากาศแปรปรวน จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่งั้นก็ต้องรอพิสูจน์ข้อเท็จจริงตอนต่อไป เมื่อไม่นานมานี้ผู้นำเวเนซุเอลา กล่าวหาสหรัฐอเมริกาเป็นต้นตอของหายนะ ในเฮติ จากการทดสอบอาวุธ อันก่อ ให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนเรือนับแสนคน ทั้งนี้โครงการ HAARP (high Frequency Active Auroral Research Project) คือศูนย์วิจัย ไอโอโนสเฟีนร์ ในมลรัฐอะแลสกา จุดมุ่งหมายสำรวจทรัพยากรชั้นบรรยากาศโลกและพัฒนาระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม HAARP เป็นโครงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐเพื่อสร้างและควบคุมสภาพภูมิอากาศโดยการยิงคลืนแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ขึ้นไปที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วให้สะท้อน กลับมายังพื้นผิวโลก ไปยังเป้าหมายที่ต้องการในจำนวนนั้นรวม ไปถึงส่งพลังงานนั้นลงไปสู่ชั้นหินใต้ดินเพื่อก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนั้นเอง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2)

    นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น!

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู

    เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร

    แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s

    เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424
    https://j.021east.com/p/1652758642049238
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html
    https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯
    https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725
    https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990
    https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s
    https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html

    #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2) นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น! ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424 https://j.021east.com/p/1652758642049238 https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯 https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725 https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990 https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 685 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเก็บมุกในจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ

    การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ

    การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

    ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย

    จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2)

    ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย

    ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป

    แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html
    https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312
    https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf

    #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    การเก็บมุกในจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2) ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/ https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312 https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 592 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซาก้าในประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาวัสดุใหม่ที่เรียกว่า vanadium dioxide (VO₂) ซึ่งมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนสถานะระหว่างการเป็นตัวนำไฟฟ้าและฉนวน โดยการควบคุมอุณหภูมิ เมื่อ VO₂ ถูกทำให้ร้อนขึ้น พื้นที่เล็ก ๆ ที่เหมือนโลหะจะก่อตัวขึ้นและขยายขนาดภายในสารประกอบนี้ เมื่อนักวิจัยควบคุมความร้อน พื้นที่เหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าที่สามารถปรับแต่งได้

    ทีมนักวิจัยได้ทดสอบคุณสมบัตินี้โดยการสร้าง เครื่องตรวจจับแสงเทราเฮิรตซ์ (terahertz photodetector) ที่มีส่วนประกอบของ VO₂ โดยใช้วิธีการผลิตที่มีความละเอียดสูงเพื่อสร้างชั้น VO₂ คุณภาพสูงบนซับสเตรตซิลิคอน การควบคุมขนาดของพื้นที่โลหะในชั้น VO₂ ผ่านการปรับอุณหภูมิ ทำให้สามารถควบคุมการตอบสนองของซับสเตรตซิลิคอนต่อแสงเทราเฮิรตซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    อีกคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ ความสามารถในการขยายสัญญาณไฟฟ้าผ่าน "ปรากฏการณ์หิมะถล่ม" (avalanche effect) ซึ่งเมื่อ VO₂ รวมสนามไฟฟ้าให้เข้มข้นในช่องว่างระหว่างพื้นที่โลหะ จะกระตุ้นการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนแบบลูกโซ่ ทำให้สัญญาณไฟฟ้าอ่อนถูกขยายอย่างมาก ทำให้เครื่องตรวจจับแสงมีความไวสูง

    นักวิจัยเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่มีพื้นฐานจาก VO₂ กับเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอยู่ได้ง่าย โดยทฤษฎี อุปกรณ์สามารถใช้การควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำในการกระตุ้นการเปลี่ยนสถานะของ VO₂ เพื่อปรับแต่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแพลตฟอร์มที่ต้องการส่วนประกอบวงจรที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น การคำนวณที่สามารถปรับตัวได้หรือระบบภาพขั้นสูง

    นอกจากนี้ ความสามารถในการปรับแต่งคุณสมบัติไฟฟ้าของวัสดุนี้ยังทำให้มันเป็นที่น่าสนใจสำหรับระบบการสื่อสารแบบไร้สายในอนาคต ซึ่งรวมถึงเครือข่าย 6G ที่มีความถี่ในช่วงเทราเฮิรตซ์

    ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายของ VO₂ นักวิจัยกำลังสร้างพื้นฐานให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ที่สามารถปรับตัวเองได้โดยอัตโนมัติ เช่น เซนเซอร์ที่ดีขึ้น การสื่อสารความเร็วสูง และการคำนวณขั้นสูงในยุคถัดไป

    https://www.techspot.com/news/106662-scientists-devise-living-electrodes-could-improve-traditional-silicon.html
    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซาก้าในประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาวัสดุใหม่ที่เรียกว่า vanadium dioxide (VO₂) ซึ่งมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนสถานะระหว่างการเป็นตัวนำไฟฟ้าและฉนวน โดยการควบคุมอุณหภูมิ เมื่อ VO₂ ถูกทำให้ร้อนขึ้น พื้นที่เล็ก ๆ ที่เหมือนโลหะจะก่อตัวขึ้นและขยายขนาดภายในสารประกอบนี้ เมื่อนักวิจัยควบคุมความร้อน พื้นที่เหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าที่สามารถปรับแต่งได้ ทีมนักวิจัยได้ทดสอบคุณสมบัตินี้โดยการสร้าง เครื่องตรวจจับแสงเทราเฮิรตซ์ (terahertz photodetector) ที่มีส่วนประกอบของ VO₂ โดยใช้วิธีการผลิตที่มีความละเอียดสูงเพื่อสร้างชั้น VO₂ คุณภาพสูงบนซับสเตรตซิลิคอน การควบคุมขนาดของพื้นที่โลหะในชั้น VO₂ ผ่านการปรับอุณหภูมิ ทำให้สามารถควบคุมการตอบสนองของซับสเตรตซิลิคอนต่อแสงเทราเฮิรตซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ ความสามารถในการขยายสัญญาณไฟฟ้าผ่าน "ปรากฏการณ์หิมะถล่ม" (avalanche effect) ซึ่งเมื่อ VO₂ รวมสนามไฟฟ้าให้เข้มข้นในช่องว่างระหว่างพื้นที่โลหะ จะกระตุ้นการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนแบบลูกโซ่ ทำให้สัญญาณไฟฟ้าอ่อนถูกขยายอย่างมาก ทำให้เครื่องตรวจจับแสงมีความไวสูง นักวิจัยเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่มีพื้นฐานจาก VO₂ กับเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอยู่ได้ง่าย โดยทฤษฎี อุปกรณ์สามารถใช้การควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำในการกระตุ้นการเปลี่ยนสถานะของ VO₂ เพื่อปรับแต่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแพลตฟอร์มที่ต้องการส่วนประกอบวงจรที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น การคำนวณที่สามารถปรับตัวได้หรือระบบภาพขั้นสูง นอกจากนี้ ความสามารถในการปรับแต่งคุณสมบัติไฟฟ้าของวัสดุนี้ยังทำให้มันเป็นที่น่าสนใจสำหรับระบบการสื่อสารแบบไร้สายในอนาคต ซึ่งรวมถึงเครือข่าย 6G ที่มีความถี่ในช่วงเทราเฮิรตซ์ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายของ VO₂ นักวิจัยกำลังสร้างพื้นฐานให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ที่สามารถปรับตัวเองได้โดยอัตโนมัติ เช่น เซนเซอร์ที่ดีขึ้น การสื่อสารความเร็วสูง และการคำนวณขั้นสูงในยุคถัดไป https://www.techspot.com/news/106662-scientists-devise-living-electrodes-could-improve-traditional-silicon.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Scientists devise 'living' electrodes that could vastly improve traditional silicon electronics
    Researchers at Osaka University in Suita, Japan, have devised a novel way to improve the performance of electronic devices. The study, published in ACS Applied Electronic Materials,...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 264 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระดาษไป๋ลู่

    สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ

    ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด

    ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร

    แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร?

    กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ)

    กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย

    กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน

    กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง

    กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’

    กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก

    ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก

    กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html
    https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446
    https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910
    https://www.sohu.com/a/362150345_616747

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    กระดาษไป๋ลู่ สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร? กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ) กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’ กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914 http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446 https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910 https://www.sohu.com/a/362150345_616747 #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 783 มุมมอง 0 รีวิว
  • #วิธีการผลิตถั่วหมัก “เทมเป้” จาก อินโดนิเซีย
    ปรุงอาหาร มีรส..อูมามิ หอมอร่อย โปรตีนสูง=เนื้อสัตว์.


    #วิธีการผลิต
    ถั่วเหลือง(ซีก) พันธุ์เชียงใหม่-60 แช่น้ำ 16 ชั่วโมง ต้มในน้ำเดือด 40 นาที #สะเด็ดน้ำให้แห้งในขณะที่ยังร้อน เติมผงกล้าเชื้อ Rhizopus Oligosporus TISTR 3098 ร้อยละ 5.0 โดยน้ำหนัก คลุกให้เข้ากัน ตักใส่ถุงพลาสติก (12" x 18") ถุงละ 500 กรัม บรรจุให้มีความหนา 3 cm. เจาะรู 0.6mm. ข้างถุง ทุกๆหนึ่งเซนติเมตร เพื่อให้ #เชื้อสามารถหายใจได้ และ #ระบายความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก อุณหภูมิในการบ่ม 30'Cเวลาในการบ่ม 24 ชั่วโมง.

    พบว่า..จะได้เทมเป้ถั่วเหลืองที่มีลักษณะที่ดี มีเส้นใยสีขาวเจริญปกคลุมเมล็ดถั่วเหลือง ไม่พบการสร้างสปอร์สีดำ และ เมื่อหั่นเป็นชิ้นเมล็ดถั่วยังคงเกาะติดไม่หลุด.

    #คุณค่าทางอาหาร
    ไขมันร้อยละ 17.88 โปรตีนร้อยละ 43.17 เถ้าร้อยละ 3.79 เส้นใยหยาบร้อยละ 5.57 และคาร์โบไฮเดรต (รวมเส้นใยหยาบ) ร้อยละ 31.05 ผลการศึกษาแสดงว่า กระบวนการหมักมีผลให้ปริมาณโปรตีนในถั่วเหลืองมีค่าเพิ่มขึ้น ไขมันลดลง จึงใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ดี โดยไม่ทำให้เลือดเป็นกรดอีกด้วย.

    เทมเป้(สด) ที่ยังไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงเป็นอาหารจะมีกลิ่นคล้ายเห็ด นำไปปรุงอาหารได้หลายแบบ ได้ทั้งคาวและหวาน ซึ่งจะนำเสนอต่อไป.


    #แหล่งจำหน่ายผงกล้าเชื้อเทมเป้(Thailand)
    ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    โทร (053) 941 973-4 ต่อ 14
    .
    .
    Pachäree Wõng
    December9, 2024
    Sausalito, CA94965
    #วิธีการผลิตถั่วหมัก “เทมเป้” จาก อินโดนิเซีย ปรุงอาหาร มีรส..อูมามิ หอมอร่อย โปรตีนสูง=เนื้อสัตว์. #วิธีการผลิต ถั่วเหลือง(ซีก) พันธุ์เชียงใหม่-60 แช่น้ำ 16 ชั่วโมง ต้มในน้ำเดือด 40 นาที #สะเด็ดน้ำให้แห้งในขณะที่ยังร้อน เติมผงกล้าเชื้อ Rhizopus Oligosporus TISTR 3098 ร้อยละ 5.0 โดยน้ำหนัก คลุกให้เข้ากัน ตักใส่ถุงพลาสติก (12" x 18") ถุงละ 500 กรัม บรรจุให้มีความหนา 3 cm. เจาะรู 0.6mm. ข้างถุง ทุกๆหนึ่งเซนติเมตร เพื่อให้ #เชื้อสามารถหายใจได้ และ #ระบายความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก อุณหภูมิในการบ่ม 30'Cเวลาในการบ่ม 24 ชั่วโมง. พบว่า..จะได้เทมเป้ถั่วเหลืองที่มีลักษณะที่ดี มีเส้นใยสีขาวเจริญปกคลุมเมล็ดถั่วเหลือง ไม่พบการสร้างสปอร์สีดำ และ เมื่อหั่นเป็นชิ้นเมล็ดถั่วยังคงเกาะติดไม่หลุด. #คุณค่าทางอาหาร ไขมันร้อยละ 17.88 โปรตีนร้อยละ 43.17 เถ้าร้อยละ 3.79 เส้นใยหยาบร้อยละ 5.57 และคาร์โบไฮเดรต (รวมเส้นใยหยาบ) ร้อยละ 31.05 ผลการศึกษาแสดงว่า กระบวนการหมักมีผลให้ปริมาณโปรตีนในถั่วเหลืองมีค่าเพิ่มขึ้น ไขมันลดลง จึงใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ดี โดยไม่ทำให้เลือดเป็นกรดอีกด้วย. เทมเป้(สด) ที่ยังไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงเป็นอาหารจะมีกลิ่นคล้ายเห็ด นำไปปรุงอาหารได้หลายแบบ ได้ทั้งคาวและหวาน ซึ่งจะนำเสนอต่อไป. #แหล่งจำหน่ายผงกล้าเชื้อเทมเป้(Thailand) ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร (053) 941 973-4 ต่อ 14 . . Pachäree Wõng December9, 2024 Sausalito, CA94965
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 743 มุมมอง 0 รีวิว
  • เห็นแบบนี้แล้ว ใครบางคนก็อย่าพึ่งตัดสินใจเลิกทานเนื้อไก่นะ,
    ..เป็นวิธีพึ่งพาธรรมชาติ ควบคุมระบบนิเวศน์เขาเองหรือประยุกต์ระบบวงจรชีวิตสัตว์ให้ก่อคุณอีกฝ่ายหนึ่ง.
    ..วิธีการผลิตแมลงวันลายเหล่านี้สะอาด จากชีวภาพเศษอาหารเน่าเปื่อยก็ว่า.ไก่ชอบสุดๆ.
    เห็นแบบนี้แล้ว ใครบางคนก็อย่าพึ่งตัดสินใจเลิกทานเนื้อไก่นะ, ..เป็นวิธีพึ่งพาธรรมชาติ ควบคุมระบบนิเวศน์เขาเองหรือประยุกต์ระบบวงจรชีวิตสัตว์ให้ก่อคุณอีกฝ่ายหนึ่ง. ..วิธีการผลิตแมลงวันลายเหล่านี้สะอาด จากชีวภาพเศษอาหารเน่าเปื่อยก็ว่า.ไก่ชอบสุดๆ.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 69 0 รีวิว