• ธรรมชาติสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์เป็นตัวกำหนด ทุกความอร่อยต้องมีเรื่องราว…
    ..ช็อกโกแลตคือของทานเล่นที่ทำให้ทุกคนมีความสุข…ในทุกเพศทุกวัยเพื่อสุขภาพที่ดี

    COCORA ….Premium Chocolate.
    ..Taste note: Nutty>Floral>Fruitty
    เข้มข้น กลิ่นหอม กลมกล่อม ละมุนลิ้น ไม่มีเปรี้ยว

    ความจริงที่ควรรู้กี่ยวกับ…Craft chocolate …สำหรับคนรัก Chocolate
    ..….ถ้าเป็นCraft Chocolate มันต้องเปรี้ยวสิ !!..คำนี้หลายท่านคงได้ยินกันมาจนชิน จนหลายท่านอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมมันถึงเปรี้ยว ...คราฟท์ช็อกโกแลตที่เปรี้ยวนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการหมักเมล็ดโกโก้ในกระบวนการแบบ Natural process ไปในทิศทางที่ไม่สมบูรณ์แบบ จนทำให้ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการหมักยังคงมีกรดอะซิติก(กรดนำ้ส้มสายชู)คงตกค้างอยู่ในเมล็ดจำนวนหนึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพิถีพิถันของผู้หมัก ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำค่อนข้างยาก การหมักโกโก้จึงเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ความรู้และเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ (food science )เข้ามาช่วยและต้องมีความละเอียดความเข้าใจในทุกขั้นตอนอย่างลึกซึ้ง ส่วนใหญ่กว่า90%มักจะทำให้เกิดรสชาติที่เปรี้ยวนำเพราะไม่สามารถกำจัดกรดอะซิติกออกไปจนหมด…ความเปรี้ยวที่เกิดขึ้นนี้รสชาติจะเปรี้ยวโดดแตกต่างจากเมล็ดโกโก้ที่มีโอกาสเกิดความเปรี้ยวเล็กน้อยหรือเปรี้ยวปลายแบบรสชาติผลไม้นานาชนิดที่มี taste note เรียกว่า fruity ซึ่งรสชาตินี้จะเกิดขึ้นได้จริงๆจากการหมักที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น เมื่อการหมักสมบูรณ์ปัจจัยปลีกย่อยอีกหลายอย่างก็ตามมากำหนดรสชาติความเป็นพื้นถิ่น เช่นสายพันธุ์เมล็ดโกโก้ที่ปลูก ,แหล่งที่ปลูก ,สภาพพื้นดินที่เป็นกรดเป็นด่าง ,ปุ๋ยที่ใ้ช้ และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ฤดูกาล และยังมีอีกหลายด้านที่ยังคงเป็นความลับของธรรมชาติ ที่มีผลทำให้เกิดรสชาติเฉพาะในพื้นถิ่นนั้นๆ(origin) ซึ่งอาจจะได้ taste note ในอีกหลากหลายรสชาติเช่น Nutty,Herbal,Spicy,Fruity,Vegetal
    ,Dark, Sweet ซึ่งเป็นเสน่ห์ของ craft chocolate ดังนั้นความอร่อยของรสชาติที่แท้จริงของช็อกโกแลตจึงต้องมาจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต้นทาง โดยเฉพาะกระบวนการหมักที่จะเป็นตัวกำหนดรสชาติ
    ซึ่งก็ไม่ต่างจากการหมักเบียร์ หมักไวน์ หรือการหมักอาหาร ที่ยังต้องใช้เทคนิคทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเข้ามาช่วย

    แตกต่างกับ Factory chocolate (กระบวนการหมักแบบDutch Proceess)ที่ต้องใช้สารเคมีโปแตสเซียม ,อัลคาไรด์ ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง เพื่อมาลดความเป็นกรด คือลดความเปรี้ยวเป็นหลัก รสชาติส่วนใหญ่จึงออกมาคลา้ยๆกันจนส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของรสชาติอื่นๆ(taste note)ไปด้วย
    …ซึ่งไม่ว่าจะมาจากพื้นถิ่นไหน แถบใดของโลก สรุปได้ว่าถ้าเมล็ดที่หมักไม่สมบูรณ์ ก็จะเกิดความเปรี้ยวแบบลิ้นสัมผัสได้ว่ามันไม่ใช่รสชาติโกโก้ที่ทุกคนคุ้นเคยจนน่าแปลก ยิ่งถ้าเปรี้ยวโดดเปรี้ยวดีดแล้ว จะหารสชาติที่เป็น single origin นั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะความเปรี้ยวจะไปลดทอน taste noteที่แท้จริง ทำให้ยากที่จะหาความชัดเจนของรสชาติโกโก้เฉพาะถิ่นนั้นๆ ซึ่งบางท่านอาจจะเข้าใจผิดในสิ่งที่รับรู้มาจากการสร้างเรื่องราวของการอ้างดินฟ้าอากาศ พื้นที่ที่ปลูก ฯลฯ ซึ่งเป็นstory ที่เป็นเรื่องเล่าถูกสร้างมาแบบไม่มีวิทยาศาสตร์มารองรับ เอาจริงๆมันก็เกี่ยวในแง่ของรสชาติพื้นถิ่น แต่คนละเรื่องกับความเปรี้ยวที่ว่านี้ อย่าลืมนะครับว่าเรากำลังทานโกโก้ที่ผ่านกระบวนการหมักแล้ว ไม่ใช่ทานผลสด ที่จะอมเปรี้ยว อมหวาน….หรือว่าบางท่านอาจหลงไหลชื่นชอบในรสชาติความแปลกใหม่ของรสชาติเปรี้ยวนำ เปรี้ยวโดด ซึ่งเป็นความชอบเฉพาะตัว จนบางท่านหลงคิดว่าเป็นรสชาติ Fruitty แต่อย่าลืมว่ามันคือ…ช็อกโกแลตที่ใส่นำ้ส้มสายชู..ดีดีนี่เอง….

    -กระบวนการหมักที่สมบูรณ์แบบ Natural process
    = เกิดรสชาติโกโก้แท้ๆอาจมี taste noteและกลิ่นที่หลากหลายของผลไม้ ดอกไม้ สมุนไพรหรือถั่วต่างๆ และไม่มีรสชาติเปรี้ยวโดดที่เกิดจากกรดนำ้ส้มสายชูตกค้าง
    -กระบวนการหมักไม่สมบูรณ์แบบ Natural process
    =โกโก้+นำ้ส้มสายชูตกค้าง ทำให้มีรสชาติเปรี้ยวนำ เปรี้ยวโดด จนสูญเสียรสชาติช็อกโกแลตที่แท้จริงไป
    -กระบวนการหมักแบบ Dutch Process = โกโก้ + โปแตสเซียม + (อัลคาไลน์) หรือสารเคมีชนิดอื่น ที่มีคุณสมบัติเป็นด่างเพื่อลดกรดจะทำให้ไม่มีรสชาติเปรี้ยว ออกแนวขมเข้มข้น กลิ่นหอม มักจะคั่วที่อุณภูมิสูงขาดจนความหลากหลายของ taste note

    **การคั่วเข้มคั่วอ่อนก็ยังมีผลต่อรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ
    -คั่วอ่อน เมล็ดโกโก้แห้งจะมีกลิ่นหอมขึ้นระดับหนึ่ง รสชาติจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากยังคงได้taste note แบบดั้งเดิม และยังคงมีคุณค่าทางอาหารได้มากกว่าคั่วเข้ม
    -คั่วเข้ม รสชาติจะเข้มข้นขึ้น(dark)ออกไปทางขม(bitter) เพิ่มกลิ่นหอมของโกโก้ แต่จะเสียคุณค่าทางโภชนาการไปมากกว่า
    ….เรื่องราวทั้งหมดนี้ หวังว่าคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนรัก craft chocolate ที่ต้องการทราบความจริงที่มีหนึ่งเดียว จริงๆแล้ววิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา การใช้ศาสตร์มาคิดวิเคราะห์ ด้วยหลักของเหตุผล เราก็จะได้ทราบถึงที่มาที่ไปและเข้าใจมันอย่างแท้จริง
    …หากท่านใดคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกด Like กดShare ให้ผู้ที่รักและชื่นชอบ craft chocolate ได้เปิดโลกทัศน์ในโลกของโกโก้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
    #cocora
    #craftchocolate
    #perfectfermentation
    #ไม่เปรี้ยวแน่นอน
    #rareitem

    ….ความสะอาด พิถีพิถัน คือหัวใจของเรา
    อร่อยมาจากข้างในเพราะเราใส่ใจทุกกระบวนการผลิต

    ..สุขภาพดี …แค่เพียงปลายนิ้ว
    ..ส่งตรงถึงบ้าน..ไม่มีละลายด้วยการบรรจุหีบห่ออย่างดี

    สนใจสั่งซื้อรายละเอียดตามนี้ครับ
    Inbox messenger ….จะตอบกลับโดยเร็วที่สุด ง่ายต่อการสื่อสารและต้องการข้อมูลรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม สามารถดูเมนูได้ตามลิ้งค์ครับ

    https://www.facebook.com/share/p/1DqByxv8wA/?mibextid=wwXIfr

    ลิงค์ Lazada Shoppee (21/2/68 ปิดร้าน1วัน)

    https://s.lazada.co.th/s.Oi1un

    https://shope.ee/30OIXwR87J
    ธรรมชาติสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์เป็นตัวกำหนด ทุกความอร่อยต้องมีเรื่องราว… ..ช็อกโกแลตคือของทานเล่นที่ทำให้ทุกคนมีความสุข…ในทุกเพศทุกวัยเพื่อสุขภาพที่ดี COCORA ….Premium Chocolate. ..Taste note: Nutty>Floral>Fruitty เข้มข้น กลิ่นหอม กลมกล่อม ละมุนลิ้น ไม่มีเปรี้ยว ความจริงที่ควรรู้กี่ยวกับ…Craft chocolate …สำหรับคนรัก Chocolate ..….ถ้าเป็นCraft Chocolate มันต้องเปรี้ยวสิ !!..คำนี้หลายท่านคงได้ยินกันมาจนชิน จนหลายท่านอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมมันถึงเปรี้ยว ...คราฟท์ช็อกโกแลตที่เปรี้ยวนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการหมักเมล็ดโกโก้ในกระบวนการแบบ Natural process ไปในทิศทางที่ไม่สมบูรณ์แบบ จนทำให้ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการหมักยังคงมีกรดอะซิติก(กรดนำ้ส้มสายชู)คงตกค้างอยู่ในเมล็ดจำนวนหนึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพิถีพิถันของผู้หมัก ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำค่อนข้างยาก การหมักโกโก้จึงเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ความรู้และเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ (food science )เข้ามาช่วยและต้องมีความละเอียดความเข้าใจในทุกขั้นตอนอย่างลึกซึ้ง ส่วนใหญ่กว่า90%มักจะทำให้เกิดรสชาติที่เปรี้ยวนำเพราะไม่สามารถกำจัดกรดอะซิติกออกไปจนหมด…ความเปรี้ยวที่เกิดขึ้นนี้รสชาติจะเปรี้ยวโดดแตกต่างจากเมล็ดโกโก้ที่มีโอกาสเกิดความเปรี้ยวเล็กน้อยหรือเปรี้ยวปลายแบบรสชาติผลไม้นานาชนิดที่มี taste note เรียกว่า fruity ซึ่งรสชาตินี้จะเกิดขึ้นได้จริงๆจากการหมักที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น เมื่อการหมักสมบูรณ์ปัจจัยปลีกย่อยอีกหลายอย่างก็ตามมากำหนดรสชาติความเป็นพื้นถิ่น เช่นสายพันธุ์เมล็ดโกโก้ที่ปลูก ,แหล่งที่ปลูก ,สภาพพื้นดินที่เป็นกรดเป็นด่าง ,ปุ๋ยที่ใ้ช้ และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ฤดูกาล และยังมีอีกหลายด้านที่ยังคงเป็นความลับของธรรมชาติ ที่มีผลทำให้เกิดรสชาติเฉพาะในพื้นถิ่นนั้นๆ(origin) ซึ่งอาจจะได้ taste note ในอีกหลากหลายรสชาติเช่น Nutty,Herbal,Spicy,Fruity,Vegetal ,Dark, Sweet ซึ่งเป็นเสน่ห์ของ craft chocolate ดังนั้นความอร่อยของรสชาติที่แท้จริงของช็อกโกแลตจึงต้องมาจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต้นทาง โดยเฉพาะกระบวนการหมักที่จะเป็นตัวกำหนดรสชาติ ซึ่งก็ไม่ต่างจากการหมักเบียร์ หมักไวน์ หรือการหมักอาหาร ที่ยังต้องใช้เทคนิคทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเข้ามาช่วย แตกต่างกับ Factory chocolate (กระบวนการหมักแบบDutch Proceess)ที่ต้องใช้สารเคมีโปแตสเซียม ,อัลคาไรด์ ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง เพื่อมาลดความเป็นกรด คือลดความเปรี้ยวเป็นหลัก รสชาติส่วนใหญ่จึงออกมาคลา้ยๆกันจนส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของรสชาติอื่นๆ(taste note)ไปด้วย …ซึ่งไม่ว่าจะมาจากพื้นถิ่นไหน แถบใดของโลก สรุปได้ว่าถ้าเมล็ดที่หมักไม่สมบูรณ์ ก็จะเกิดความเปรี้ยวแบบลิ้นสัมผัสได้ว่ามันไม่ใช่รสชาติโกโก้ที่ทุกคนคุ้นเคยจนน่าแปลก ยิ่งถ้าเปรี้ยวโดดเปรี้ยวดีดแล้ว จะหารสชาติที่เป็น single origin นั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะความเปรี้ยวจะไปลดทอน taste noteที่แท้จริง ทำให้ยากที่จะหาความชัดเจนของรสชาติโกโก้เฉพาะถิ่นนั้นๆ ซึ่งบางท่านอาจจะเข้าใจผิดในสิ่งที่รับรู้มาจากการสร้างเรื่องราวของการอ้างดินฟ้าอากาศ พื้นที่ที่ปลูก ฯลฯ ซึ่งเป็นstory ที่เป็นเรื่องเล่าถูกสร้างมาแบบไม่มีวิทยาศาสตร์มารองรับ เอาจริงๆมันก็เกี่ยวในแง่ของรสชาติพื้นถิ่น แต่คนละเรื่องกับความเปรี้ยวที่ว่านี้ อย่าลืมนะครับว่าเรากำลังทานโกโก้ที่ผ่านกระบวนการหมักแล้ว ไม่ใช่ทานผลสด ที่จะอมเปรี้ยว อมหวาน….หรือว่าบางท่านอาจหลงไหลชื่นชอบในรสชาติความแปลกใหม่ของรสชาติเปรี้ยวนำ เปรี้ยวโดด ซึ่งเป็นความชอบเฉพาะตัว จนบางท่านหลงคิดว่าเป็นรสชาติ Fruitty แต่อย่าลืมว่ามันคือ…ช็อกโกแลตที่ใส่นำ้ส้มสายชู..ดีดีนี่เอง…. -กระบวนการหมักที่สมบูรณ์แบบ Natural process = เกิดรสชาติโกโก้แท้ๆอาจมี taste noteและกลิ่นที่หลากหลายของผลไม้ ดอกไม้ สมุนไพรหรือถั่วต่างๆ และไม่มีรสชาติเปรี้ยวโดดที่เกิดจากกรดนำ้ส้มสายชูตกค้าง -กระบวนการหมักไม่สมบูรณ์แบบ Natural process =โกโก้+นำ้ส้มสายชูตกค้าง ทำให้มีรสชาติเปรี้ยวนำ เปรี้ยวโดด จนสูญเสียรสชาติช็อกโกแลตที่แท้จริงไป -กระบวนการหมักแบบ Dutch Process = โกโก้ + โปแตสเซียม + (อัลคาไลน์) หรือสารเคมีชนิดอื่น ที่มีคุณสมบัติเป็นด่างเพื่อลดกรดจะทำให้ไม่มีรสชาติเปรี้ยว ออกแนวขมเข้มข้น กลิ่นหอม มักจะคั่วที่อุณภูมิสูงขาดจนความหลากหลายของ taste note **การคั่วเข้มคั่วอ่อนก็ยังมีผลต่อรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ -คั่วอ่อน เมล็ดโกโก้แห้งจะมีกลิ่นหอมขึ้นระดับหนึ่ง รสชาติจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากยังคงได้taste note แบบดั้งเดิม และยังคงมีคุณค่าทางอาหารได้มากกว่าคั่วเข้ม -คั่วเข้ม รสชาติจะเข้มข้นขึ้น(dark)ออกไปทางขม(bitter) เพิ่มกลิ่นหอมของโกโก้ แต่จะเสียคุณค่าทางโภชนาการไปมากกว่า ….เรื่องราวทั้งหมดนี้ หวังว่าคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนรัก craft chocolate ที่ต้องการทราบความจริงที่มีหนึ่งเดียว จริงๆแล้ววิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา การใช้ศาสตร์มาคิดวิเคราะห์ ด้วยหลักของเหตุผล เราก็จะได้ทราบถึงที่มาที่ไปและเข้าใจมันอย่างแท้จริง …หากท่านใดคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกด Like กดShare ให้ผู้ที่รักและชื่นชอบ craft chocolate ได้เปิดโลกทัศน์ในโลกของโกโก้ด้วยครับ ขอบคุณครับ #cocora #craftchocolate #perfectfermentation #ไม่เปรี้ยวแน่นอน #rareitem ….ความสะอาด พิถีพิถัน คือหัวใจของเรา อร่อยมาจากข้างในเพราะเราใส่ใจทุกกระบวนการผลิต ..สุขภาพดี …แค่เพียงปลายนิ้ว ..ส่งตรงถึงบ้าน..ไม่มีละลายด้วยการบรรจุหีบห่ออย่างดี สนใจสั่งซื้อรายละเอียดตามนี้ครับ Inbox messenger ….จะตอบกลับโดยเร็วที่สุด ง่ายต่อการสื่อสารและต้องการข้อมูลรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม สามารถดูเมนูได้ตามลิ้งค์ครับ https://www.facebook.com/share/p/1DqByxv8wA/?mibextid=wwXIfr ลิงค์ Lazada Shoppee (21/2/68 ปิดร้าน1วัน) https://s.lazada.co.th/s.Oi1un https://shope.ee/30OIXwR87J
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 66 มุมมอง 0 รีวิว
  • 14/1/68

    ซุปเปอร์ฟู้ด! 5 ธัญพืชคุณค่าโภชนาการใยอาหารสูง มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก

    ซุปเปอร์ฟู้ด (Superfood) อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณสูงเมื่อเทียบกับปริมาณที่บริโภค โดยซุปเปอร์ฟู้ดมักจะช่วยบำรุงร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ วันนี้อยากให้ทุกคนรู้จักธัญพืชที่เป็นซุปเปอร์ฟู้ด หาซื้อง่าย ดีต่อสุขภาพ ช่วยให้ไฟเบอร์ช่วยเรื่องการขับถ่าย รักษาสมดุลสุขภาพ
    5 ธัญพืชซุปเปอร์ฟู้ด

    1.เมล็ดเจีย (Chia Seeds)
    ข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าในเมล็ดเจียมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว โอเมก้า-3 อยู่ร้อยละ 62.48

    และมีกรดไลโนเลอิก (linoleic acid : LA) หรือโอเมก้า-6 อยู่ร้อยละ 22.43 ของกรดไขมันทั้งหมดในเมล็ดเจีย นอกจากนี้ยังมี แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกเนเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ อีกด้วย ในกระแสช่วงนี้มีผู้นิยมบริโภคเมล็ดเจียเพื่อลดน้ำหนักซึ่งจากการศึกษาวิจัยทางคลินิก พบว่าการรับประทานเมล็ดเจียขนาด 35 - 40 ก./วัน สามารถลดความระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด และลดน้ำหนักได้ แต่การศึกษายังมีไม่มากพอที่จะสรุปได้อย่างชัดเจน

    2.ควินัว (Quinoa)
    มีโปรตีนสูง ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด มีแร่ธาตุสำคัญและอุดมไปด้วยวิตามิน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก มีใยอาหารสูง
    นอกจากนี้ ควินัวเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตนหรือผู้ที่ต้องการลดการบริโภคกลูเตน มีไขมันชนิดดี เช่น กรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ที่ช่วยเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังและช่วยควบคุมน้ำหนักด้วย

    3.เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseeds)
    แหล่งของลิกแนน (สารต้านอนุมูลอิสระ)กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL (คอเลสเตอรอลไม่ดี) มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร อาจช่วยลดความเสี่ยง มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

    4.ลูกเดือย (Job’s Tears)
    จัดเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนหลายชนิดที่สูงกว่าความต้องตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เช่น กรดกลูตามิก ลิวซีน อะลานีน โปรลีน วาลีน ฟินิลอะลานีน ไอโซลิวซีน อาร์จีนีน เป็นต้น และยังมีกรดไขมันจำเป็นชนิดที่ไม่อิ่มตัว อย่างเช่น กรดลิโนเลอิก กรดโอเลอิก และกรดไขมันชนิดอิ่มตัว อย่างเช่น ปาลมิติกและสเตียริก อีกด้วย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงสายตา
    แหล่งอาหารที่ควรกินหลังออกกำลังกาย พลังงาน-คาร์บ-โปรตีน เสริมครบสุขภาพแข็งแรง

    5.ข้าวกล้อง (Brown Rice)

    ส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์และสุขภาพคุณแม่มากมาย ถือเป็นหนึ่งในอาหารกลุ่มให้พลังงาน ข้าวกล้องเป็นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี เมื่อรับประทานข้าวกล้องเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันการเกิดปากนกกระจอก เนื่องจากมีวิตามินบี 2บรรเทาอาการอ่อนเพลีย มีธาตุเหล็กมากเป็น 2 เท่า ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียมจำเป็นที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และยังช่วยป้องกันการเกิดตะคริว ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์กว่า 90% ต้องเผชิญมีไขมันที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ในข้าวกล้องเป็นไขมันดีที่ไม่มีคอเลสเตอรอล (Cholesterol)มีเส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยในเรื่องของอาการท้องผูกและมะเร็งลำไส้ มีโปรตีนมากกว่า 20-30% ช่วยเสริมสร้างร่างกาย ซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอ แป้งมีน้อยกว่าข้าวขาว ช่วยลดความอ้วน ส่วนคนที่ผอมก็แข็งแรงยิ่งขึ้น
    อย่างไรก็ตามควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนไม่มากไปไม่น้อยไป ในผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ แพ้อาหาร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
    ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพบาบาลพญาไท พหลโยธิน,medthai และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    แหล่งอาหารที่ควรกินหลังออกกำลังกาย พลังงาน-คาร์บ-โปรตีน เสริมครบสุขภาพแข็งแรง
    14/1/68 ซุปเปอร์ฟู้ด! 5 ธัญพืชคุณค่าโภชนาการใยอาหารสูง มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก ซุปเปอร์ฟู้ด (Superfood) อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณสูงเมื่อเทียบกับปริมาณที่บริโภค โดยซุปเปอร์ฟู้ดมักจะช่วยบำรุงร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ วันนี้อยากให้ทุกคนรู้จักธัญพืชที่เป็นซุปเปอร์ฟู้ด หาซื้อง่าย ดีต่อสุขภาพ ช่วยให้ไฟเบอร์ช่วยเรื่องการขับถ่าย รักษาสมดุลสุขภาพ 5 ธัญพืชซุปเปอร์ฟู้ด 1.เมล็ดเจีย (Chia Seeds) ข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าในเมล็ดเจียมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว โอเมก้า-3 อยู่ร้อยละ 62.48 และมีกรดไลโนเลอิก (linoleic acid : LA) หรือโอเมก้า-6 อยู่ร้อยละ 22.43 ของกรดไขมันทั้งหมดในเมล็ดเจีย นอกจากนี้ยังมี แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกเนเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ อีกด้วย ในกระแสช่วงนี้มีผู้นิยมบริโภคเมล็ดเจียเพื่อลดน้ำหนักซึ่งจากการศึกษาวิจัยทางคลินิก พบว่าการรับประทานเมล็ดเจียขนาด 35 - 40 ก./วัน สามารถลดความระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด และลดน้ำหนักได้ แต่การศึกษายังมีไม่มากพอที่จะสรุปได้อย่างชัดเจน 2.ควินัว (Quinoa) มีโปรตีนสูง ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด มีแร่ธาตุสำคัญและอุดมไปด้วยวิตามิน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก มีใยอาหารสูง นอกจากนี้ ควินัวเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตนหรือผู้ที่ต้องการลดการบริโภคกลูเตน มีไขมันชนิดดี เช่น กรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ที่ช่วยเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังและช่วยควบคุมน้ำหนักด้วย 3.เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseeds) แหล่งของลิกแนน (สารต้านอนุมูลอิสระ)กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL (คอเลสเตอรอลไม่ดี) มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร อาจช่วยลดความเสี่ยง มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก 4.ลูกเดือย (Job’s Tears) จัดเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนหลายชนิดที่สูงกว่าความต้องตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เช่น กรดกลูตามิก ลิวซีน อะลานีน โปรลีน วาลีน ฟินิลอะลานีน ไอโซลิวซีน อาร์จีนีน เป็นต้น และยังมีกรดไขมันจำเป็นชนิดที่ไม่อิ่มตัว อย่างเช่น กรดลิโนเลอิก กรดโอเลอิก และกรดไขมันชนิดอิ่มตัว อย่างเช่น ปาลมิติกและสเตียริก อีกด้วย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงสายตา แหล่งอาหารที่ควรกินหลังออกกำลังกาย พลังงาน-คาร์บ-โปรตีน เสริมครบสุขภาพแข็งแรง 5.ข้าวกล้อง (Brown Rice) ส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์และสุขภาพคุณแม่มากมาย ถือเป็นหนึ่งในอาหารกลุ่มให้พลังงาน ข้าวกล้องเป็นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี เมื่อรับประทานข้าวกล้องเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันการเกิดปากนกกระจอก เนื่องจากมีวิตามินบี 2บรรเทาอาการอ่อนเพลีย มีธาตุเหล็กมากเป็น 2 เท่า ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียมจำเป็นที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และยังช่วยป้องกันการเกิดตะคริว ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์กว่า 90% ต้องเผชิญมีไขมันที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ในข้าวกล้องเป็นไขมันดีที่ไม่มีคอเลสเตอรอล (Cholesterol)มีเส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยในเรื่องของอาการท้องผูกและมะเร็งลำไส้ มีโปรตีนมากกว่า 20-30% ช่วยเสริมสร้างร่างกาย ซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอ แป้งมีน้อยกว่าข้าวขาว ช่วยลดความอ้วน ส่วนคนที่ผอมก็แข็งแรงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนไม่มากไปไม่น้อยไป ในผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ แพ้อาหาร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพบาบาลพญาไท พหลโยธิน,medthai และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แหล่งอาหารที่ควรกินหลังออกกำลังกาย พลังงาน-คาร์บ-โปรตีน เสริมครบสุขภาพแข็งแรง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 551 มุมมอง 0 รีวิว
  • พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน!
    "ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย
    นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ
    .
    วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก
    .
    สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก
    .
    นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า !
    .
    ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก”
    .
    ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า
    .
    จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว
    .
    ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน

    “ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ
    .
    ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้
    .
    จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี
    .
    คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย
    >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0
    .
    .
    อ้างอิง :
    • Scientists find key nutrient missing in China-grown durian
    https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian
    • ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com
    พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน! "ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ . วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก . สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก . นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า ! . ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก” . ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า . จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว . ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน “ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ . ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้ . จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี . คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0 . . อ้างอิง : • Scientists find key nutrient missing in China-grown durian https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian • ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 788 มุมมอง 0 รีวิว
  • #วิธีการผลิตถั่วหมัก “เทมเป้” จาก อินโดนิเซีย
    ปรุงอาหาร มีรส..อูมามิ หอมอร่อย โปรตีนสูง=เนื้อสัตว์.


    #วิธีการผลิต
    ถั่วเหลือง(ซีก) พันธุ์เชียงใหม่-60 แช่น้ำ 16 ชั่วโมง ต้มในน้ำเดือด 40 นาที #สะเด็ดน้ำให้แห้งในขณะที่ยังร้อน เติมผงกล้าเชื้อ Rhizopus Oligosporus TISTR 3098 ร้อยละ 5.0 โดยน้ำหนัก คลุกให้เข้ากัน ตักใส่ถุงพลาสติก (12" x 18") ถุงละ 500 กรัม บรรจุให้มีความหนา 3 cm. เจาะรู 0.6mm. ข้างถุง ทุกๆหนึ่งเซนติเมตร เพื่อให้ #เชื้อสามารถหายใจได้ และ #ระบายความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก อุณหภูมิในการบ่ม 30'Cเวลาในการบ่ม 24 ชั่วโมง.

    พบว่า..จะได้เทมเป้ถั่วเหลืองที่มีลักษณะที่ดี มีเส้นใยสีขาวเจริญปกคลุมเมล็ดถั่วเหลือง ไม่พบการสร้างสปอร์สีดำ และ เมื่อหั่นเป็นชิ้นเมล็ดถั่วยังคงเกาะติดไม่หลุด.

    #คุณค่าทางอาหาร
    ไขมันร้อยละ 17.88 โปรตีนร้อยละ 43.17 เถ้าร้อยละ 3.79 เส้นใยหยาบร้อยละ 5.57 และคาร์โบไฮเดรต (รวมเส้นใยหยาบ) ร้อยละ 31.05 ผลการศึกษาแสดงว่า กระบวนการหมักมีผลให้ปริมาณโปรตีนในถั่วเหลืองมีค่าเพิ่มขึ้น ไขมันลดลง จึงใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ดี โดยไม่ทำให้เลือดเป็นกรดอีกด้วย.

    เทมเป้(สด) ที่ยังไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงเป็นอาหารจะมีกลิ่นคล้ายเห็ด นำไปปรุงอาหารได้หลายแบบ ได้ทั้งคาวและหวาน ซึ่งจะนำเสนอต่อไป.


    #แหล่งจำหน่ายผงกล้าเชื้อเทมเป้(Thailand)
    ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    โทร (053) 941 973-4 ต่อ 14
    .
    .
    Pachäree Wõng
    December9, 2024
    Sausalito, CA94965
    #วิธีการผลิตถั่วหมัก “เทมเป้” จาก อินโดนิเซีย ปรุงอาหาร มีรส..อูมามิ หอมอร่อย โปรตีนสูง=เนื้อสัตว์. #วิธีการผลิต ถั่วเหลือง(ซีก) พันธุ์เชียงใหม่-60 แช่น้ำ 16 ชั่วโมง ต้มในน้ำเดือด 40 นาที #สะเด็ดน้ำให้แห้งในขณะที่ยังร้อน เติมผงกล้าเชื้อ Rhizopus Oligosporus TISTR 3098 ร้อยละ 5.0 โดยน้ำหนัก คลุกให้เข้ากัน ตักใส่ถุงพลาสติก (12" x 18") ถุงละ 500 กรัม บรรจุให้มีความหนา 3 cm. เจาะรู 0.6mm. ข้างถุง ทุกๆหนึ่งเซนติเมตร เพื่อให้ #เชื้อสามารถหายใจได้ และ #ระบายความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก อุณหภูมิในการบ่ม 30'Cเวลาในการบ่ม 24 ชั่วโมง. พบว่า..จะได้เทมเป้ถั่วเหลืองที่มีลักษณะที่ดี มีเส้นใยสีขาวเจริญปกคลุมเมล็ดถั่วเหลือง ไม่พบการสร้างสปอร์สีดำ และ เมื่อหั่นเป็นชิ้นเมล็ดถั่วยังคงเกาะติดไม่หลุด. #คุณค่าทางอาหาร ไขมันร้อยละ 17.88 โปรตีนร้อยละ 43.17 เถ้าร้อยละ 3.79 เส้นใยหยาบร้อยละ 5.57 และคาร์โบไฮเดรต (รวมเส้นใยหยาบ) ร้อยละ 31.05 ผลการศึกษาแสดงว่า กระบวนการหมักมีผลให้ปริมาณโปรตีนในถั่วเหลืองมีค่าเพิ่มขึ้น ไขมันลดลง จึงใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ดี โดยไม่ทำให้เลือดเป็นกรดอีกด้วย. เทมเป้(สด) ที่ยังไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงเป็นอาหารจะมีกลิ่นคล้ายเห็ด นำไปปรุงอาหารได้หลายแบบ ได้ทั้งคาวและหวาน ซึ่งจะนำเสนอต่อไป. #แหล่งจำหน่ายผงกล้าเชื้อเทมเป้(Thailand) ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร (053) 941 973-4 ต่อ 14 . . Pachäree Wõng December9, 2024 Sausalito, CA94965
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 497 มุมมอง 0 รีวิว