• ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox)

    2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1]

    เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก

    ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย

    อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520

    ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2]

    จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4]

    ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่?

    อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3]

    เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3]

    แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3]

    คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่

    ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า

    “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน

    ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง

    ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

    และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน)

    และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน

    เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก

    จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6]

    ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า

    ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว

    อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3]

    โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ

    ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3]

    ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3]

    การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3]

    นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว

    แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่

    โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7]

    ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก

    แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7]

    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย

    อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า

    “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8]

    นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้

    “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย  

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ

    2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน

    และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8]

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า

    “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี

    วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
    2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน

    ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี
    ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน

    “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9]

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์

    จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15]

    นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16]

    หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด

    แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้

    โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ

    อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า

    ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17]

    หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด

    ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    12 กันยายน 2567

    อ้างอิง
    [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0.

    [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017
    https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html

    [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558
    https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977

    [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center
    https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/

    [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024
    https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg

    [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903

    [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567
    https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php

    [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567
    https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577

    [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178

    [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615

    [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798

    [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335

    [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723

    [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒

    ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox) 2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1] เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2] จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4] ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3] เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3] แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3] คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่ ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน) และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6] ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3] โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3] ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3] การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3] นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่ โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7] ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7] จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8] นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย   1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ 2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8] เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่ 1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9] อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15] นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16] หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้ โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17] หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 12 กันยายน 2567 อ้างอิง [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0. [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017 https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558 https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977 [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/ [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024 https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903 [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567 https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567 https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577 [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178 [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615 [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798 [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335 [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723 [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒
    Like
    Love
    46
    3 Comments 2 Shares 1406 Views 0 Reviews
  • “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615
    “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง” https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615
    MGRONLINE.COM
    “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”
    “ปานเทพ” แนะใช้ภูมิปัญญาไทยสู้ฝีดาษาลิง วิจัยสมุนไพรไทยไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต พร้อมเผยตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก ควรนำมาวิจัยต่อยอดวันนี้(5 ก.ย.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณ
    Like
    Love
    31
    1 Comments 8 Shares 831 Views 3 Reviews
  • ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ

    ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก

    ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก

    ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1]

    ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว”

    ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2]

    ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า

    “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2]

    แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า

    ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า

    “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3]

    ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า

    “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4]

    ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า

    “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4]

    แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523

    การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย

    โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน

    ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย

    โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร

    เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5]

    นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา

    ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ

    ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่

    เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

    โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น

    และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย

    โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้

    “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚

    ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚

    ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚

    ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6]

    ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า

    ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6]

    นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า

    “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7]

    แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า

    “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8]

    อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8]

    ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9]

    นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10]

    นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ

    ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 กันยายน 2567
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/?

    อ้างอิง
    [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152
    https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094

    [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694

    [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37

    [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย
    https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf

    [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798

    [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335

    [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1] ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว” ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2] ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2] แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3] ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4] ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4] แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523 การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5] นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่ เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้ “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚ ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚ ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚ ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6] ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6] นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7] แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8] อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8] ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9] นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10] นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 กันยายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/? อ้างอิง [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094 [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694 [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37 [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798 [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335 [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    Like
    Love
    23
    0 Comments 0 Shares 866 Views 0 Reviews
  • สำนักงานอาหารและยา จงใจให้ข้อมูลเท็จต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

    วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๗

    เรียน เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

    ตามที่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหนังสือ ที่ ผผ ๑๐๐๔/๒๑๙๕ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ แจ้งผลการพิจารณาเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเลขดำที่ ๒๒๔๑/๒๕๖๕ เรื่องร้องเรียนเลขแดงที่ ๑๒๑๔/๒๕๖๗ โดยในหนังสือดังกล่าวได้ส่งมอบสำเนาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ สธ ๑๐๐๙/๑๓๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๖ มาด้วยนั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า
    🔸️๑.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้ “ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ซึ่งคือ
    นายไพศาล ดั่นคุ้ม
    เลขาธิการอาหารและยาทำหนังสือ แก้ต่าง ความผิดของตนเองโดยมิได้พิจารณาเอกสารที่ผู้ร้อง ขอให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ มิได้ให้โอกาสผู้ร้องเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และมิได้ดำเนินการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เป็นกลาง ที่มีความชำนาญในเรื่องที่ถูกร้องเรียนในประเด็นข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา อาทิ สำนักงานกฤษฎีกา หรือ สำนักงานอัยการสูงสุด แต่กลับรับฟังแต่ข้อแก้ตัวจากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว

    🔸️๒.ในเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนักงานอาหารและยาดังกล่าวได้ ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ซ้ำยังให้ข้อมูลที่ยืนยันว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเลขาธิการสำนักงานอาหารและยา นายไพศาล ดั่นคุ้ม ได้กระทำผิดโดยออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยที่ไม่มีอำนาจในการออกประกาศดังกล่าว และยังไม่ลงประกาศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาก่อนการบังคับใช้ อันมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

    ๒.๑. ประกาศ “การอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค (Conditional Approval for Emergency Use of Medicinal Products)” เป็นกฎหมายหรือไม่ นั้นในประกาศดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดเจนว่า “อาศัยอำนาจของผู้อนุญาตตามมาตรา ๔ ประกอบกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศดังต่อไปนี้” อันเป็นการอ้างถึงอำนาจในการออกประกาศจากอำนาจที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ และ มาตรา ๗๙ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ดังนั้นการออกประกาศดังกล่าวจึงจำต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ จะอ้างข้อกฎหมายอื่นๆไม่ได้

    ๒.๒. ในมาตรา ๔ ของ พระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติว่า
    “ผู้อนุญาต” หมายความว่า
    (๑) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตผลิตยาหรือการนำ หรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร
    (๒) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตขายยาในกรุงเทพมหานคร”
    ซึ่งให้อำนาจ เลขาธิการอาหารและยา ให้มีอำนาจในการ “อนุญาตผลิตยาหรือการนำ หรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร” และ “อนุญาตขายยาในกรุงเทพมหานคร” โดยมิได้ให้อำนาจในการออกประกาศแต่อย่างใด

    ๒.๓. ในมาตรา ๗๙ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติไว้ว่า
    “ผู้รับอนุญาตผลิตยา หรือผู้รับอนุญาตให้นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใด ประสงค์จะผลิต หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ต้องนำตำรับยำนั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วจึงจะผลิตยา หรือนำหรือสั่งยานั้นเข้ามาในราชอาณาจักรได้”
    ในมาตราดังกล่าวได้บัญญัติให้ผู้รับอนุญาต ต้องขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่มิได้มีข้อบัญญัติให้อำนาจแก่ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาในการออกประกาศใดๆตามพระราชบัญญัตินี้แต่อย่างใด

    ๒.๔. ในมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติไว้ว่า
    “กระบวนการพิจารณาอนุญาตยา” หมายความว่า การพิจารณาคำขอ การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร การประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบ เพื่อออกใบอนุญาต ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยำหรือใบรับรอง ตลอดจนการพิจารณาใดๆเกี่ยวกับยา”
    จะเห็นได้ว่า “ประกาศการอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค (Conditional Approval for Emergency Use of Medicinal Products)” เป็น “กระบวนการพิจารณาอนุญาตยา” ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ทั้งนี้ในหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ สธ ๑๐๐๙/๑๓๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๖ ข้อ ๑. หน้า ๑ ยังได้ระบุว่า ประกาศดังกล่าวเป็น “แนวทางการพิจารณาเอกสารหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงฯ โดยเป็นการออก “แนวทางการพิจารณา” เพิ่มเติม ทั้งนี้ในหนังสือฉบับดังกล่าวหน้า ๒ ข้อ ๒ ยังระบุด้วยว่า “ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ยาภายใต้สภาวะช่วงการระบาดใหญ่ของโรค (Pandemic) เพื่อใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งมีความร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่สนับสนุนว่าผลิตภัณฑ์นั้น “อาจมีประสิทธิภาพ" เนื่องจากหลักฐานในการพิจารณาอนุญาตอยู่ในระดับที่จำกัดกว่าที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติทะเบียนตำรับยาในช่องทางปกติ” ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าประกาศดังกล่าวเป็น “ข้อกำหนด” ที่ผู้ขอรับการอนุญาต ต้องทำตาม มิใช่ แนวทางการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมเพื่อความโปร่งใสตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ในเอกสารดังกล่าวยังระบุชัดเจน ว่าประกาศนี้ อนุญาตให้ใช้หลักฐานในการพิจารณาอนุญาตในระดับที่ต่ำกว่าที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติทะเบียนยาตามปกติ ทั้งนี้หลักเกณฑ์การพิจารณายาตามปกตินั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ การที่ประกาศฉบับดังกล่าวอนุญาตให้ใช้หลักฐานที่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงจึงเป็นการยืนยันว่า ประกาศดังกล่าวเป็น กระบวนการพิจารณาอนุญาตยา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๔

    ๒.๕. มาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติไว้ว่า
    “มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น รวมทั้งออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    การออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันโดยคำนึงถึงประเภท ชนิด และลักษณะของยาหรือหมวดยาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือขนาดและกิจการของผู้ประกอบการก็ได้
    กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”
    อันเป็นการบัญญัติ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการออกประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมิได้ให้อำนาจดังกล่าวแก่ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้นั้น ให้ใช้บังคับได้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ มิได้มีการบัญญัติในมาตราใดที่ให้อำนาจ เลขาธิการอาหารและยาในการออกประกาศใดๆตามพระราชบัญญัตินี้เลย

    🔸️๓. จากข้อมูลที่ระบุในข้อ ๒. การที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาระบุว่า “โดยประกาศดังกล่าวพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ไม่ได้บัญญัติให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา” จึงเป็นการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ

    🔸️๔. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้บัญญัติไว้ใน หมวด ๑ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มาตรา ๗ ว่า
    “หน่วยงานของรัฐตองส่งขอมูลข่าวสารของราชการอยางนอยดังตอไปนี้ลงพิมพในราชกิจจานุเบกษา”
    อันเป็นการระบุชัดเจนว่า “อย่างน้อย” มิได้เป็นการ “ยกเว้น” ให้ไม่ต้องทำตามข้อบังคับที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น ที่บัญญัติไว้ให้ต้องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด และด้วยเหตุผลดังกล่าวการอ้างมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ จึงเป็นการอ้างที่ไม่สามารถกระทำได้

    🔸️๕. ทั้งนี้ในการอ้างมาตรา ๘ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังให้เหตุผลว่า เป็นการออกประกาศ “มีลักษณะในทางที่เป็นคุณ” อันเป็นการชี้ให้เห็นเจตนาในการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่ขอการอนุญาต

    🔸️๖. การที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อ้างว่าการออกประกาศดังกล่าวเพื่อ “สร้างความโปร่งใส” นั้นก็มิได้เป็นไปตามอ้างแต่อย่างใด เนื่องจากหาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีเจตนาที่จะสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นจริงๆแล้ว ย่อมยินดีที่จะเปิดเผยแผนความเสี่ยง และตามที่ระบุไว้ใน ข้อ ๔ (๔) และข้อมูลติดตามความปลอดภัยของผู้ป่วยทุกราย (patient registry) ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕ (๑) ของประกาศฉบับดังกล่าว แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากลับปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการดังกล่าวเมื่อมีการร้องขอ อันอาจเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่นำเข้าผลิตภัณฑ์ยา

    ⚖จากประเด็นต่างๆที่ชี้แจงมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเฉพาะ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นายไพศาล ดั่นคุ้ม ได้กระทำความผิดใช้อำนาจโดยมิชอบ อันเป็นความผิดทางอาญา และยังจงใจให้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อปกปิดความผิดของตนเอง อันเป็นการชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหามิได้มีความสำนึกในการกระทำผิดดังกล่าวซ้ำร้ายยังกระทำความผิดซ้ำซ้อนเพื่อปกปิดความผิดของตนด้วย การใช้อำนาจโดยมิชอบนี้มีผลให้การพิจารณาอนุญาตยาดังกล่าวมิได้เป็นไปตามข้อกำหนดที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติยา อันอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมากมายต่อประชาชนผู้บริโภค ทั้งนี้ขณะนี้ได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทผู้ผลิตยา โดยเฉพาะบริษัทไฟเซอร์โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายประเทศทั่วโลก

    ด้วยเหตุนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจำต้อง เสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง และให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ต่อไป

    ไฟล์จดหมายฉบับนี้
    https://drive.google.com/file/d/1EZfSguSfbiz2wXzPZefhL5fJQrr6boxN/view?usp=drivesdk

    ไฟล์ข้อมูลสนง.อาหารและยาทำผิด
    https://drive.google.com/file/d/15qYw-tywnTcvd-U9g0bO3M2IJLSs8KCg/view?usp=drivesdk

    กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    🚩 สำนักงานอาหารและยา จงใจให้ข้อมูลเท็จต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ❗ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ เรียน เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามที่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหนังสือ ที่ ผผ ๑๐๐๔/๒๑๙๕ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ แจ้งผลการพิจารณาเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเลขดำที่ ๒๒๔๑/๒๕๖๕ เรื่องร้องเรียนเลขแดงที่ ๑๒๑๔/๒๕๖๗ โดยในหนังสือดังกล่าวได้ส่งมอบสำเนาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ สธ ๑๐๐๙/๑๓๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๖ มาด้วยนั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า 🔸️๑.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้ “ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ซึ่งคือ นายไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการอาหารและยาทำหนังสือ แก้ต่าง ความผิดของตนเองโดยมิได้พิจารณาเอกสารที่ผู้ร้อง ขอให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ มิได้ให้โอกาสผู้ร้องเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และมิได้ดำเนินการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เป็นกลาง ที่มีความชำนาญในเรื่องที่ถูกร้องเรียนในประเด็นข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา อาทิ สำนักงานกฤษฎีกา หรือ สำนักงานอัยการสูงสุด แต่กลับรับฟังแต่ข้อแก้ตัวจากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว 🔸️๒.ในเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนักงานอาหารและยาดังกล่าวได้ ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ซ้ำยังให้ข้อมูลที่ยืนยันว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเลขาธิการสำนักงานอาหารและยา นายไพศาล ดั่นคุ้ม ได้กระทำผิดโดยออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยที่ไม่มีอำนาจในการออกประกาศดังกล่าว และยังไม่ลงประกาศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาก่อนการบังคับใช้ อันมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้ ๒.๑. ประกาศ “การอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค (Conditional Approval for Emergency Use of Medicinal Products)” เป็นกฎหมายหรือไม่ นั้นในประกาศดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดเจนว่า “อาศัยอำนาจของผู้อนุญาตตามมาตรา ๔ ประกอบกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศดังต่อไปนี้” อันเป็นการอ้างถึงอำนาจในการออกประกาศจากอำนาจที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ และ มาตรา ๗๙ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ดังนั้นการออกประกาศดังกล่าวจึงจำต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ จะอ้างข้อกฎหมายอื่นๆไม่ได้ ๒.๒. ในมาตรา ๔ ของ พระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติว่า “ผู้อนุญาต” หมายความว่า (๑) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตผลิตยาหรือการนำ หรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร (๒) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตขายยาในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งให้อำนาจ เลขาธิการอาหารและยา ให้มีอำนาจในการ “อนุญาตผลิตยาหรือการนำ หรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร” และ “อนุญาตขายยาในกรุงเทพมหานคร” โดยมิได้ให้อำนาจในการออกประกาศแต่อย่างใด ๒.๓. ในมาตรา ๗๙ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติไว้ว่า “ผู้รับอนุญาตผลิตยา หรือผู้รับอนุญาตให้นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใด ประสงค์จะผลิต หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ต้องนำตำรับยำนั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วจึงจะผลิตยา หรือนำหรือสั่งยานั้นเข้ามาในราชอาณาจักรได้” ในมาตราดังกล่าวได้บัญญัติให้ผู้รับอนุญาต ต้องขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่มิได้มีข้อบัญญัติให้อำนาจแก่ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาในการออกประกาศใดๆตามพระราชบัญญัตินี้แต่อย่างใด ๒.๔. ในมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติไว้ว่า “กระบวนการพิจารณาอนุญาตยา” หมายความว่า การพิจารณาคำขอ การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร การประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบ เพื่อออกใบอนุญาต ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยำหรือใบรับรอง ตลอดจนการพิจารณาใดๆเกี่ยวกับยา” จะเห็นได้ว่า “ประกาศการอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค (Conditional Approval for Emergency Use of Medicinal Products)” เป็น “กระบวนการพิจารณาอนุญาตยา” ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ทั้งนี้ในหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ สธ ๑๐๐๙/๑๓๘ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๖ ข้อ ๑. หน้า ๑ ยังได้ระบุว่า ประกาศดังกล่าวเป็น “แนวทางการพิจารณาเอกสารหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงฯ โดยเป็นการออก “แนวทางการพิจารณา” เพิ่มเติม ทั้งนี้ในหนังสือฉบับดังกล่าวหน้า ๒ ข้อ ๒ ยังระบุด้วยว่า “ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ยาภายใต้สภาวะช่วงการระบาดใหญ่ของโรค (Pandemic) เพื่อใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งมีความร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่สนับสนุนว่าผลิตภัณฑ์นั้น “อาจมีประสิทธิภาพ" เนื่องจากหลักฐานในการพิจารณาอนุญาตอยู่ในระดับที่จำกัดกว่าที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติทะเบียนตำรับยาในช่องทางปกติ” ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าประกาศดังกล่าวเป็น “ข้อกำหนด” ที่ผู้ขอรับการอนุญาต ต้องทำตาม มิใช่ แนวทางการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมเพื่อความโปร่งใสตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ในเอกสารดังกล่าวยังระบุชัดเจน ว่าประกาศนี้ อนุญาตให้ใช้หลักฐานในการพิจารณาอนุญาตในระดับที่ต่ำกว่าที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติทะเบียนยาตามปกติ ทั้งนี้หลักเกณฑ์การพิจารณายาตามปกตินั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ การที่ประกาศฉบับดังกล่าวอนุญาตให้ใช้หลักฐานที่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงจึงเป็นการยืนยันว่า ประกาศดังกล่าวเป็น กระบวนการพิจารณาอนุญาตยา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๔ ๒.๕. มาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ได้บัญญัติไว้ว่า “มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น รวมทั้งออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ การออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันโดยคำนึงถึงประเภท ชนิด และลักษณะของยาหรือหมวดยาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือขนาดและกิจการของผู้ประกอบการก็ได้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้” อันเป็นการบัญญัติ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการออกประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมิได้ให้อำนาจดังกล่าวแก่ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้นั้น ให้ใช้บังคับได้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ มิได้มีการบัญญัติในมาตราใดที่ให้อำนาจ เลขาธิการอาหารและยาในการออกประกาศใดๆตามพระราชบัญญัตินี้เลย 🔸️๓. จากข้อมูลที่ระบุในข้อ ๒. การที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาระบุว่า “โดยประกาศดังกล่าวพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ ไม่ได้บัญญัติให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา” จึงเป็นการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ 🔸️๔. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้บัญญัติไว้ใน หมวด ๑ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มาตรา ๗ ว่า “หน่วยงานของรัฐตองส่งขอมูลข่าวสารของราชการอยางนอยดังตอไปนี้ลงพิมพในราชกิจจานุเบกษา” อันเป็นการระบุชัดเจนว่า “อย่างน้อย” มิได้เป็นการ “ยกเว้น” ให้ไม่ต้องทำตามข้อบังคับที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น ที่บัญญัติไว้ให้ต้องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด และด้วยเหตุผลดังกล่าวการอ้างมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ จึงเป็นการอ้างที่ไม่สามารถกระทำได้ 🔸️๕. ทั้งนี้ในการอ้างมาตรา ๘ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังให้เหตุผลว่า เป็นการออกประกาศ “มีลักษณะในทางที่เป็นคุณ” อันเป็นการชี้ให้เห็นเจตนาในการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่ขอการอนุญาต 🔸️๖. การที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อ้างว่าการออกประกาศดังกล่าวเพื่อ “สร้างความโปร่งใส” นั้นก็มิได้เป็นไปตามอ้างแต่อย่างใด เนื่องจากหาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีเจตนาที่จะสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นจริงๆแล้ว ย่อมยินดีที่จะเปิดเผยแผนความเสี่ยง และตามที่ระบุไว้ใน ข้อ ๔ (๔) และข้อมูลติดตามความปลอดภัยของผู้ป่วยทุกราย (patient registry) ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕ (๑) ของประกาศฉบับดังกล่าว แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากลับปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการดังกล่าวเมื่อมีการร้องขอ อันอาจเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่นำเข้าผลิตภัณฑ์ยา ⚖จากประเด็นต่างๆที่ชี้แจงมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเฉพาะ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นายไพศาล ดั่นคุ้ม ได้กระทำความผิดใช้อำนาจโดยมิชอบ อันเป็นความผิดทางอาญา และยังจงใจให้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อปกปิดความผิดของตนเอง อันเป็นการชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหามิได้มีความสำนึกในการกระทำผิดดังกล่าวซ้ำร้ายยังกระทำความผิดซ้ำซ้อนเพื่อปกปิดความผิดของตนด้วย การใช้อำนาจโดยมิชอบนี้มีผลให้การพิจารณาอนุญาตยาดังกล่าวมิได้เป็นไปตามข้อกำหนดที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติยา อันอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมากมายต่อประชาชนผู้บริโภค ทั้งนี้ขณะนี้ได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทผู้ผลิตยา โดยเฉพาะบริษัทไฟเซอร์โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในหลายประเทศทั่วโลก 🚩 ด้วยเหตุนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจำต้อง เสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง และให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ต่อไป ไฟล์จดหมายฉบับนี้ https://drive.google.com/file/d/1EZfSguSfbiz2wXzPZefhL5fJQrr6boxN/view?usp=drivesdk ไฟล์ข้อมูลสนง.อาหารและยาทำผิด https://drive.google.com/file/d/15qYw-tywnTcvd-U9g0bO3M2IJLSs8KCg/view?usp=drivesdk กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 411 Views 0 Reviews
  • ศาสตร์ผสมผสาน
    ยาที่แพทย์ไทย 30 ท่าน ร่วมลงชื่อแนะนำให้คนไทยใช้ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
    https://t.me/Covidtreatment_th/14
    สมุนไพร ยาไทยและยาแพทย์ปัจจุบันที่แนะนำ โดย นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
    https://t.me/Covidtreatment_th/102
    การล้างพิษ โดยการใช้เอ็นไซม์และการปฏิบัติตัว โดย อ.ไฟบิน ชาวหินฟ้า
    https://t.me/Covidtreatment_th/152
    สรุปรวมการใช้สมุนไพร ตำรับยาไทย ยาแผนปัจจุบันและการสูดหายใจละออง​ Nano ของ​ BLISS​ ( Bio Lactobacilli & Ionic Silver Solution )​ โดย หมอต่อ เฟสบุ๊ก PeeTor​ Krirkpong​ Pongtridhram
    https://t.me/Covidtreatment_th/41
    HCQ ไฮดรอกซีคลอโรควีน https://rumble.com/vrs7x3-how-to-make-hydroxychloroquine-hcq-at-home-quinine-version.html
    การล้างพิษต่างๆ โดย โค๊ชนาตาลี
    https://play.rookon.com/v/2QNgfW
    เปิดเผยความลับของต่อมไพเนียล และวิธีเปิดตาที่สามเพื่อบำบัดตัวเอง
    https://fb.watch/jkaYQOSfO6/
    https://healthcoachnatalie.podia.com/view/courses/ce6ae42e-4da8-451f-9808-0702bfe64236/1093880-ep-2/3307737
    เอกสารเกี่ยวกับวัคซีนและไวรัส (ภาษาไทย รวบรวมโดยโค้ชนาตาลี)
    เอกสารนี้ไม่ใช่เอกสารประการทางการแพทย์ใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงแค่ข้อมูลที่โค้ชนาตาลี (Natwalee Proenca) ได้รวบรวมจากการอ่านและค้นคว้าข้อมูลของตนเอง เอกสารเกี่ยวกับวัคซีนและไวรัส https://docs.google.com/document/d/1AK68kQYCV8GPTz9KMtLYZPqC0JvvKt_2fwk7bEN9oRU/mobilebasic
    https://t.me/Covidtreatment_th/176
    ช่องเทเลแกรม ป้องกันรักษาโรค ทางสายกลาง (ยาแผนปัจจุบันและการกรอกเลือด)
    https://t.me/MiddlewayResistance
    การลดและล้างพิษจาก product
    https://t.me/MiddlewayResistance/813
    https://t.me/roong_channel/372
    ศาสตร์โฮมิโอพาธีร์
    นพ. วัลลภ ธีรเวชกุล
    https://play.rookon.com/v/WXdukZ
    https://t.me/Covidtreatment_th/156
    ทำความเข้าใจ ศาสตร์การแพทย์โฮมีโอพาธีย์
    ให้อ่าน link ข้างล่างนี้
    1.ปรัชญา หลักการ และวิธีการของการแพทย์โฮมีโอพาธีย์โดยสังเขป
    https://www.facebook.com/groups/379706492124284/permalink/5679318815496332/?mibextid=cr9u03
    2.ความเป็นวิทยาศาสตร์ของโฮมีโอพาธีย์
    https://www.facebook.com/groups/379706492124284/permalink/4680459838715573/?mibextid=cr9u03
    3.กรรมวิธีในการผลิตยาโฮมีโอพาธีย์
    https://www.facebook.com/groups/379706492124284/permalink/4446194605475432/?mibextid=S66gvF
    สมาชิกสามารถปรึกษาสุขภาพกับคุณหมอวัลลภ ธีรเวชกุล โดยเฉพาะความรู้ศาสตร์โฮมิโอพาธีร์ได้จากกลุ่มไลน์ “เริ่มเรียนรู้แพทย์ทางเลือก” https://line.me/ti/g/ZNK59IwynT
    เวปไซต์ โฮมิโอพาธีร์
    http://www.thaihomeopathy.org/content/index.php?fs=e&s=cl
    เพจ สมาคมโฮมิโอพาธีร์ ประเทศไทย
    https://www.facebook.com/groups/379706492124284/?ref=sharehttps://www.facebook.com/groups/379706492124284/?ref=share&exp=93fa
    เพจ โฮมิโอพาธีร์ ฮาเฮ
    https://www.facebook.com/HOMEOHAHE
    แชร์ประสบการณ์การใช้ยา
    https://t.me/Covidtreatment_th/410
    กลุ่มไลน์ “โฮมีโอสู้โควิด"
    https://line.me/ti/g2/SfeqssFSRx9Lx_qIYQXHQ_5TPXD7xuRC2lrSKA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
    ✅ศาสตร์ผสมผสาน ✍️ยาที่แพทย์ไทย 30 ท่าน ร่วมลงชื่อแนะนำให้คนไทยใช้ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย https://t.me/Covidtreatment_th/14 ✍️สมุนไพร ยาไทยและยาแพทย์ปัจจุบันที่แนะนำ โดย นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง https://t.me/Covidtreatment_th/102 ✍️การล้างพิษ โดยการใช้เอ็นไซม์และการปฏิบัติตัว โดย อ.ไฟบิน ชาวหินฟ้า https://t.me/Covidtreatment_th/152 ✍️สรุปรวมการใช้สมุนไพร ตำรับยาไทย ยาแผนปัจจุบันและการสูดหายใจละออง​ Nano ของ​ BLISS​ ( Bio Lactobacilli & Ionic Silver Solution )​ โดย หมอต่อ เฟสบุ๊ก PeeTor​ Krirkpong​ Pongtridhram https://t.me/Covidtreatment_th/41 ✍️HCQ ไฮดรอกซีคลอโรควีน https://rumble.com/vrs7x3-how-to-make-hydroxychloroquine-hcq-at-home-quinine-version.html ✍️การล้างพิษต่างๆ โดย โค๊ชนาตาลี https://play.rookon.com/v/2QNgfW ✍️เปิดเผยความลับของต่อมไพเนียล และวิธีเปิดตาที่สามเพื่อบำบัดตัวเอง https://fb.watch/jkaYQOSfO6/ ✍️https://healthcoachnatalie.podia.com/view/courses/ce6ae42e-4da8-451f-9808-0702bfe64236/1093880-ep-2/3307737 ✍️เอกสารเกี่ยวกับวัคซีนและไวรัส (ภาษาไทย รวบรวมโดยโค้ชนาตาลี) เอกสารนี้ไม่ใช่เอกสารประการทางการแพทย์ใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงแค่ข้อมูลที่โค้ชนาตาลี (Natwalee Proenca) ได้รวบรวมจากการอ่านและค้นคว้าข้อมูลของตนเอง เอกสารเกี่ยวกับวัคซีนและไวรัส https://docs.google.com/document/d/1AK68kQYCV8GPTz9KMtLYZPqC0JvvKt_2fwk7bEN9oRU/mobilebasic https://t.me/Covidtreatment_th/176 ✍️ช่องเทเลแกรม ป้องกันรักษาโรค ทางสายกลาง (ยาแผนปัจจุบันและการกรอกเลือด) https://t.me/MiddlewayResistance การลดและล้างพิษจาก product https://t.me/MiddlewayResistance/813 https://t.me/roong_channel/372 ✅ศาสตร์โฮมิโอพาธีร์ ✍️นพ. วัลลภ ธีรเวชกุล https://play.rookon.com/v/WXdukZ ✍️ https://t.me/Covidtreatment_th/156 ✍️ทำความเข้าใจ ศาสตร์การแพทย์โฮมีโอพาธีย์ ให้อ่าน link ข้างล่างนี้ 1.ปรัชญา หลักการ และวิธีการของการแพทย์โฮมีโอพาธีย์โดยสังเขป https://www.facebook.com/groups/379706492124284/permalink/5679318815496332/?mibextid=cr9u03 2.ความเป็นวิทยาศาสตร์ของโฮมีโอพาธีย์ https://www.facebook.com/groups/379706492124284/permalink/4680459838715573/?mibextid=cr9u03 3.กรรมวิธีในการผลิตยาโฮมีโอพาธีย์ https://www.facebook.com/groups/379706492124284/permalink/4446194605475432/?mibextid=S66gvF ✍️ สมาชิกสามารถปรึกษาสุขภาพกับคุณหมอวัลลภ ธีรเวชกุล โดยเฉพาะความรู้ศาสตร์โฮมิโอพาธีร์ได้จากกลุ่มไลน์ “เริ่มเรียนรู้แพทย์ทางเลือก” https://line.me/ti/g/ZNK59IwynT ✍️เวปไซต์ โฮมิโอพาธีร์ http://www.thaihomeopathy.org/content/index.php?fs=e&s=cl ✍️เพจ สมาคมโฮมิโอพาธีร์ ประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/379706492124284/?ref=sharehttps://www.facebook.com/groups/379706492124284/?ref=share&exp=93fa ✍️เพจ โฮมิโอพาธีร์ ฮาเฮ https://www.facebook.com/HOMEOHAHE ✍️แชร์ประสบการณ์การใช้ยา https://t.me/Covidtreatment_th/410 ✍️กลุ่มไลน์ “โฮมีโอสู้โควิด" https://line.me/ti/g2/SfeqssFSRx9Lx_qIYQXHQ_5TPXD7xuRC2lrSKA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 558 Views 0 Reviews
  • ลิงก์รวมยาและการดูแลสุขภาพที่ได้ผลดี

    เทเลแกรม “รวมศาสตร์การป้องกันและรักษาผลกระทบจากยาฉีด”
    https://t.me/Covidtreatment_th
    กลุ่มไลน์ “ล้างพิษ ยาฉีด”
    https://line.me/ti/g2/wTvY1gxHGpGKCt15sQN1jMHw02XoSC1uXsjUsQ?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default


    ศาสตร์แพทย์แผนไทย
    สมุนไพรรางจืด
    https://youtu.be/cZz-njYEOT0
    ยาห้าราก (ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง)
    https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/427/ยาห้าราก-แก้ไข้/
    https://fb.watch/ltfGrggPPh/?mibextid=VUMmCQ
    ฟ้าทะลายโจรวาระแห่งชาติ และตำรับยาขาว(นาทีที่ 30) และมหาพิกัดตรีผลา (นาทีที่ 44) โดย อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    https://youtu.be/HUw5rKnEB-A
    https://t.me/Covidtreatment_th/163
    ตำรับป้องกัน(ยาใบมะขาม) และรักษา(ยาขาว) โดย บรมครูแพทย์แผนไทย ครูชุบ แป้นคุ้มญาติ
    https://t.me/Covidtreatment_th/110
    https://youtu.be/PNs04g4pIys
    https://youtu.be/oku1qXZ9YUw
    ตำรับยาตรีผลา (มหาพิกัด) โดย อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
    https://www.facebook.com/228893067300037/posts/1363509777171688/
    https://t.me/Covidtreatment_th/276
    มาทำความรู้จักโกฐจุฬาลัมพา และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา
    https://youtu.be/CFv-8cW_8fo
    การสุมยาสมุนไพร โดย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
    https://youtu.be/nf_hPZGG1fU
    ตัวอย่างเกร็ดยาต่างๆ วัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร https://t.me/Covidtreatment_th/235
    สมุนไพรต้านมะเร็ง สูตรหมอสมหมาย: https://youtu.be/EhinXIYrEok โทร.0826528992
    ยาลม 300 จำพวก
    https://youtu.be/dv_Dz-Dkyt4
    https://youtu.be/ivO-KrSLDCg
    https://youtu.be/gzY-SbZnou0
    พลูคาวหรือผักคาวตอง https://youtu.be/y9Xee_Iopmg
    กลุ่มไลน์ "โลกของผักคาวตอง The World Under QuawTong"
    https://line.me/ti/g2/3HtIskAzcnB88VCmqR6RfleKsUwNq2yo9hzqHw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
    สมุนไพรแก้หวัด,บำรุงปอด
    https://t.me/Covidtreatment_th/311
    ยาไทยได้ผลจริง
    https://www.thethaipress.com/202
    #ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญและจิตอาสาจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    ลิงก์รวมยาและการดูแลสุขภาพที่ได้ผลดี 🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝 เทเลแกรม “รวมศาสตร์การป้องกันและรักษาผลกระทบจากยาฉีด” https://t.me/Covidtreatment_th กลุ่มไลน์ “ล้างพิษ ยาฉีด” https://line.me/ti/g2/wTvY1gxHGpGKCt15sQN1jMHw02XoSC1uXsjUsQ?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default 🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝 ✅ศาสตร์แพทย์แผนไทย ✍️สมุนไพรรางจืด https://youtu.be/cZz-njYEOT0 ✍️ยาห้าราก (ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง) https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/427/ยาห้าราก-แก้ไข้/ https://fb.watch/ltfGrggPPh/?mibextid=VUMmCQ ✍️ฟ้าทะลายโจรวาระแห่งชาติ และตำรับยาขาว(นาทีที่ 30) และมหาพิกัดตรีผลา (นาทีที่ 44) โดย อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ https://youtu.be/HUw5rKnEB-A https://t.me/Covidtreatment_th/163 ✍️ตำรับป้องกัน(ยาใบมะขาม) และรักษา(ยาขาว) โดย บรมครูแพทย์แผนไทย ครูชุบ แป้นคุ้มญาติ https://t.me/Covidtreatment_th/110 https://youtu.be/PNs04g4pIys https://youtu.be/oku1qXZ9YUw ✍️ตำรับยาตรีผลา (มหาพิกัด) โดย อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา https://www.facebook.com/228893067300037/posts/1363509777171688/ https://t.me/Covidtreatment_th/276 ✍️มาทำความรู้จักโกฐจุฬาลัมพา และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา https://youtu.be/CFv-8cW_8fo ✍️การสุมยาสมุนไพร โดย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร https://youtu.be/nf_hPZGG1fU ✍️ ตัวอย่างเกร็ดยาต่างๆ วัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร https://t.me/Covidtreatment_th/235 ✍️สมุนไพรต้านมะเร็ง สูตรหมอสมหมาย: https://youtu.be/EhinXIYrEok โทร.0826528992 ✍️ยาลม 300 จำพวก https://youtu.be/dv_Dz-Dkyt4 https://youtu.be/ivO-KrSLDCg https://youtu.be/gzY-SbZnou0 ✍️พลูคาวหรือผักคาวตอง https://youtu.be/y9Xee_Iopmg กลุ่มไลน์ "โลกของผักคาวตอง The World Under QuawTong" https://line.me/ti/g2/3HtIskAzcnB88VCmqR6RfleKsUwNq2yo9hzqHw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default ✍️สมุนไพรแก้หวัด,บำรุงปอด https://t.me/Covidtreatment_th/311 ✍️ยาไทยได้ผลจริง https://www.thethaipress.com/202 #ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญและจิตอาสาจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 835 Views 0 Reviews

  • รวมกิจกรรมและปฏิบัติการปลุกพี่น้องคนไทยจากภัยโkวิdลวงโลก(!)
    1.วันที่ 17 ก.ย.2564 หม่อมโจ้ รุ่งคุณ กิติยากรและประชาชนเข้าพบเพื่อให้ข้อมูลแก่ตัวแทนกรมอนามัย https://rumble.com/vmqybf-38209083.html นับเป็นจุดเริ่มต้นในการปลุกคนไทยจากโควิดลวงโลก
    2.วันที่ 18 ก.ย.2564 รายการรู้ทันพลังงานไทย โดยกลุ่ม ผีเสื้อกระพือปีก ตอนพิเศษ ข้อเท็จจริงที่ควรรู้เรื่อง ภูมิคุ้มกัน วิทยากรในรายการ อ.นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง,นพ.ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์,ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
    https://rumble.com/vmr3i3-38215803.html
    3.วันที่ 27 ต.ค.2564 ยื่นหนังสือถึงศาลปกครอง หม่อมโจ้ รุ่งคุณ กิติยากร เป็นตัวแทนฟ้องศาลปกครอง กรณีวัคซีนพาสปอร์ต https://t.me/ThaiPitaksithData/2227
    https://www.facebook.com/479570925826198/posts/1267602190356397/
    4.วันที่ 4 ธ.ค.2564 หม่อมโจ้ รุ่งคุณ กิติยากร และประชาชนผู้ตื่นรู้ข้อมูลโควิดลวงโลกร่วมชุมนุมหน้าสวนลุมและหน้าสถานฑูตออสเตรเลีย https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=3169160836742615
    https://youtu.be/SJ_FQHnFKxw
    5.วันที่ 13 ธ.ค.2564 กลุ่มเชียงใหม่พิทักษ์สิทธิ์(ต่อมาเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็นคนไทยพิทักษ์สิทธิ์) ชุมนุมเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ต่อต้านการบังคับฉีดทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จ.เชียงใหม่ จุดประกายการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ต่อต้านยาฉีดลวงโลก ครั้งแรก ยื่นหนังสือต่อศาลปกครอง https://www.facebook.com/105105782022345/posts/110293994836857/
    6.วันที่ 1 ม.ค.2565 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ (เชียงใหม่)รวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อสร้างความตื่นรู้ให้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาฉีดโควิดเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขจะเริ่มจัดฉีดในเด็กอายุ 5-11 ปี โดยจะเริ่มฉีดในวันที่ 31 มกราคม 2565 https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=118390780693845&id=105105782022345&mibextid=gngRpg
    7.วันที่ 14 ม.ค.2565 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ที่เคยร่วมลงไว้ 185 ชื่อ ยื่นหนังสือต่อ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายการฉีดวัคซีน จากภาครัฐและแถลงการณ์ภายใน 7 วัน https://docs.google.com/document/d/1n_xmLIp85Ao-E_mM7jzdlyvn8m0feluWPz79w-bB18g/edit?usp=sharing
    8.วันที่ 16 ม.ค.2565 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ (เชียงใหม่) รวมตัวกันบริเวณประตูท่าแพ เพื่อแสดงความห่วงใยแก่เด็ก ต่อนโยบายยาฉีดระยะทดลอง ที่จะเริ่มขึ้นสิ้นเดือน มกราคม 65 และตั้งคำถามกับหน่วยงานของรัฐ กรณีการใช้มาตรการ 2 มาตรฐาน กีดกันไม่ให้ผู้ที่เลือกไม่รับยาฉีดไม่สามารถเข้าร่วมตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนนคนเดินบริเวณประตูท่าแพ
    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=122732786926311&id=105105782022345&mibextid=gngRpg
    9.ระหว่างวันที่ 24-31 ม.ค.2565 ดร.ณัฏฐพบธรรม(วู้ดดี้)และคณะจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ปั่นจักรยานจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือพร้อม นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง และหม่อมโจ้ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร และประชาชนต่อกระทรวงศึกษาฯ ครั้งเริ่มมีการฉีดในเด็ก https://www.facebook.com/105105782022345/posts/126941879838735/ https://photos.app.goo.gl/zfpHX8iSDYXD26fh7
    10.วันที่ 17 ก.พ.2565 ชุมชุมต่อต้านวัคซีนโควิด-19 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา https://t.me/ThaiPitaksithData/2282
    https://photos.app.goo.gl/mzi3A4dCrPqgW4936
    11.วันที่ 11 มี.ค.2565 คุณหมออรรถพล ดร.ณัฏฐพบธรรม คุณอดิเทพ คุณวรเชษฐ์ (วงสไมล์บัพพาโล่)พร้อมกับกลุ่มผู้ต่อต้านวัคซีนทดลอง ไปยื่นหนังสือที่กระทรวงสาธารณสุข https://photos.app.goo.gl/qukmJK5xiaiJE9ij7 เพื่อขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนทดลอง หลังจากนั้นก็มีการทยอยส่งหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆ อาทิ จดหมายเปิดผนึก ถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา https://cmhealthlibertyrights.blogspot.com/2022/04/email-paisarnpomgmail.html จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทย และผู้มีอำนาจใน ศคบ https://cmhealthlibertyrights.blogspot.com/2022/05/blog-post_61.html
    12.วันที่ 17 เม.ย.2565 แพทย์ไทยลงชื่อ30ท่าน คือแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อโkวิd-19 ด้วยยาผสมผสาน 4 ตัว Combination Drugs อันได้แก่ 1. ยา Ivermectin 2.ยา Fluoxetine 3.ยา Niclosamide 4.ยา Doxycycline 5.วิตามิน ดี 6.วิตามิน ซี 7.สังกะสี 8. NAC 9.แอสไพริน 10.famotidine 11.วิตามิน เอ 12. Quecertin (หอมแดง) 13. ฟ้าทะลายโจร 14. ขิง 15. กระชาย
    สนับสนุนให้เพื่อนๆแพทย์ที่เคารพทั้งหลายมีทางเลือกในการดูแลรักษาพี่น้องประชาชนชาวไทยด้วยการใช้ยารักษาโรคอื่นๆ (เดิม) ที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัย เพื่อนำมาใช้ใหม่ Repurposed Drugs ในการรักษาโkวิd-19 เป็นยาราคาถูกที่หมดสิทธิบัตรไปแล้ว Off-patent Drugs เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ผลข้างเคียงน้อย ซึ่งทั้งหมดนี้ผ่านการรักษามาเป็นจำนวนมากแล้ว โดยอ้างอิงผลการวิจัยและคนไข้จริงๆ ทำให้คนไข้หายได้เร็วและไม่เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา https://c19early.com/
    รายชื่อแพทย์เรียงตามลำดับตามอักษร มีดังต่อไปนี้
    หมายเหตุ : ลงชื่อ นพ. พญ. ชื่อ-นามสกุล แพทย์สาขาหรือประสบการณ์ ที่ทำงานอดีตหรือปัจจุบัน จังหวัด
    1. นพ.กฤษณ์ติพัฒณ์ พิริยกรเจริญกิจ กุมารแพทย์
    2. นพ.กฤษดา จงสกุล เวชศาสตร์ครอบครัว นนทบุรี
    3. นพ.โกวิท ยงวานิชจิต
    4. พญ.จันทนา พงศ์สงวนสิน อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ
    5. พญ.จันทร์จิรา ชัชวาลา รังสีแพทย์ กรุงเทพฯ
    6. นพ.จิตจำลอง หะริณสุต อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ
    7. นพ.ชัยยศ คุณานุสนธิ์ แพทย์ระบาดวิทยา นนทบุรี
    8. นพ.ทวีชัย พิตรปรีชา โสต-ศอ-นาสิกแพทย์ กรุงเทพฯ
    9. นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร กุมารแพทย์ (ใช้ในการป้องกัน)
    10. นพ.ธีรเดช ตังเดชะหิรัญ อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ
    11. ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    12. นพ.พิศิษฐ์ เจนดิษฐการ อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ
    13. นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ แพทย์ เวชศาสตร์ป้องกัน จังหวัดน่าน
    14. นพ. พุทธพจน์ สรรพกิจจำนง แพทย์โรงพยาบาลเอกชน อยุธยา
    15. นพ.ภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    16. นพ.มาโนช อาภรณ์สุวรรณ กุมารแพทย์ บุรีรัมย์
    17. พญ.ลลิดา เกษมสุวรรณ โสต-ศอ-นาสิกแพทย์ กรุงเทพฯ
    18.พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู กรุงเทพฯ
    19. นพ.วัฒนา รังสราญนนท์ ศัลยกรรมทั่วไป รพ.บางไผ่ กทม.
    20. นพ.วีรชัย ลดาคม แพทย์เอกชน กรุงเทพฯ
    21. พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร กุมารแพทย์ กรุงเทพฯ
    22. นพ.สมภพ อิทธิอาวัชกุล สูติแพทย์ อรัญประเทศ
    23. นพ.สายัณห์ ผลประเสริฐ สูตินรีแพทย์ อ.หล่มศักดิ์ จ.เพชรบูรณ์
    24. นพ.สุทัศน์ วาณิชเสนี จักษุแพทย์ นครศรีธรรมราช
    25. นพ.สุเทพ ลิ้มสุขนิรันดร์ จักษุแพทย์ กาญจนบุรี
    26. นพ.สุนทร ศรีปรัชญาอนันต์ กรุงเทพฯ
    27. พญ.อรสา ชวาลภาฤทธิ์ รังสีแพทย์ กรุงเทพฯ
    28. พญ.อัจฉรา รังสราญนนท์ แพทย์ห้วงเวลา ศูนย์บริการสาธารณสุข 30 วัดเจ้าอาม สำนักอนามัย กทม.
    29. น.พ. อลงกรณ์ ชุตินันท์ ประสาทศัลยแพทย์ จ.ชลบุรี
    30. นพ อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
    https://www.facebook.com/105105782022345/posts/146820267850896/
    13.วันที่ 31 พ.ค.2565 กลุ่มผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายของโควิดมากว่า 2 ปี นำโดยนิตยสารข้ามห้วงมหรรณพที่เป็นสื่อกลาง ร่วมกับ กลุ่มภาคการท่องเที่ยว กลุ่มผู้ปกครองและเด็ก และกลุ่มภาคประชาชน กว่า 50 ชีวิต ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้อง ขอให้ยกเลิกการสวมหน้ากาก ให้การสวมหน้ากากเป็นทางเลือก เพื่อคืนชีวิตปกติ 100 % ให้กับประชาชน ต่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยมี คุณปวีณ์ริศา สกุลเกียรติศรุต รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี ได้เป็นตัวแทนในการรับเรื่องและข้อเรียกร้องในครั้งนี้
    14.วันที่ 20 พ.ค.2565 นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง และประชาชนบุกช่อง 3 เพื่อเอาข้อมูลบ.ไฟzerแพ้คดีจำใจเปิดเผยข้อมูลด้านเสียของยาฉีด มีนักข่าวมารับเรื่องเพียงเท่านั้นเรื่องก็เงียบไป
    https://rumble.com/v15flrb--.-3.html https://odysee.com/@EE:8/CH3PfizerReports:9 https://rookon.com/read-blog/130 ต่อมาช่อง news1 สนใจและเชิญอาจารย์หมอออกรายการคนเคาะข่าว https://t.me/ThaiPitaksithData/867
    15. วันที่ 11 ก.ค.2565 องค์กรภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนแห่งประเทศไทย รายการประเด็นโดนใจ หัวข้อ"ฉีดวัคซีนตอนนี้ดีหรือไม่ " ดำเนินรายการโดย ชาลี นพวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ร่วมรายการ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
    https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=620043739211127&id=100004085020749
    16.วันที่ 30 ก.ค.2565 นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง,พญ.ชนิฎา ศิริประภารัตน์,ทพญ.เพ็ญนภา คณิตจินดา,ทพ.วัลลภ ธีรเวชกุล,ลุงโฉลก สัมพันธารักษ์,ทนายเกิดผล แก้วเกิด,โค๊ชนาตาลี,อดิเทพ จาวลาห์,บรรยงก์ วิสุทธิ์,ภัทนรินทร์ ผลพฤกษาและผู้กล้าหลายๆท่าน จัดงานสัมมนา โควิด ทางรอดที่ปลอดภัย ครั้งที่ 1 ปลุกคนไทยให้เข้าถึงความรู้และทางรอด
    คลิปที่ 1-14 https://t.me/ThaiPitaksithData/1117 คลิปที่15-20 https://t.me/ThaiPitaksithData/1801
    หรือ https://docs.google.com/document/d/1bWenIBiboQgE5WnvM6_Tqn-PP90w45wF6C3b-LFcmxw/edit?usp=sharing
    17.วันที่ 13 ก.ย.2565 จส ๑๐๐ สัมภาษณ์ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง เรื่องวัคซีนโควิด-19 https://atapol616246.substack.com/p/100?sd=pf
    18.วันที่ 30 ก.ย.2565 นายอภิชาติ กาญจนาพงศาเวช ตัวแทนกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการยา ขอให้ทบทวนการอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไข
    ในสถานการณ์ฉุกเฉินของผลิตภัณฑ์วัคซีนโคเมอร์เนตี (Comirnaty, วัคซีนไฟเซอร์) นายอภิชาติ ได้รับสำเนาหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ในฐานะที่ผู้แทนสำนักฯ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ในคณะกรรมการยา) เรื่องการส่งคำร้องของนายอภิชาติ เพื่อให้ทางเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาเพิกถอนตำรับยาวัคซีนโคเมอร์เนตีต่อไป
    19.วันที่ 5 ต.ค.2565 กลุ่มฯเชิญชวนประชาชนส่งข้อมูลถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน https://drive.google.com/drive/folders/190jXcZNCD8znI340eigQl3NvuWTsgoI3?usp=share_link
    20.วันที่ 14 พ.ย.2565 ตัวแทนกลุ่มฯเดินทางไปที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเพื่อติดต่อดำเนินการขอจัดตั้งองค์กร "พลังไทยพิทักษ์สิทธิ์"
    21.วันที่ 15 พ.ย.2565 ตัวแทนกลุ่มพลังไทยพิทักษ์สิทธิ์ เดินทางไปที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อติดตามเรื่องการสืบเนื่องจากการที่คณะกรรมการอาหารและยาได้อนุญาตให้ใช้วัคซีน โคเมอร์เนตีในเด็ก ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา ที่ยังไม่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา อันเป็นผลให้ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ การอนุญาตวัคซีนไฟเซอร์จึงเป็นการอนุญาตที่ผิดเงื่อนไข และผิดขั้นตอนทางกฎหมาย อันมีผลทำให้วัคซีนดังกล่าวยังไม่ได้รับการอนุญาต หากมีการนำวัคซีนไปฉีดให้กับผู้ป่วยจึงเป็นการนำยาที่ไม่ได้รับอนุญาตไปฉีดอันเป็นการกระทำที่ผิดตามพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช ๒๕๖๕
    22.วันที่ 20 ธ.ค.2565 ตัวแทนกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ยื่นหนังสือถวายฎีกา https://t.me/ThaiPitaksithData/2258
    23.วันที่ 23 ม.ค.2566 เริ่มยื่นหนังสือ จากการที่กลุ่มได้เชิญชวนประชาชนยื่นหนังสือให้หน่วยงานต่างๆให้ทบทวนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมทั้งรับทราบผลเสียจากวัคซีน และการรับผิดชอบทางละเมิด หากท่านกระทำการโดยประมาท https://drive.google.com/drive/folders/1z0_Qv-q7C9RXETMBkaqBcJHATVXNElbw?usp=share_link
    รายชื่อบุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่ต้องการให้ยุติการฉีดยีนไวรัส ที่หลอกว่าเป็นวัคซีน ดังนี้ ศ.ดร.สุจริต (บุณยรัตพันธุ์)ภักดี,นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง,อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์,ดร.ศรีวิชัย ศรีสุวรรณ,ดร.วีระพล โมนยะกุล,ดร.ธิดารัตน์ เอกศิริ,ดร.ภัทราภรณ์ พิมลไทย,โฉลก สัมพันธารักษ์,Natalie Proenca,อดิเทพ จาวลาห์,ผศ.ดร.ศรัณยา สุจริตกุล,ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา,ทพญ.เพ็ญนภา คณิตจินดา,ทพ.วัลลภ ธีรเวชกุล,พญ.ชนิฎา ศิริประภารัตน์,พญ.ภูสณิตา วิเศษปุณรัตน์,นพ.มนตรี เศรษฐบุตร,นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง,ทญ.สรินภรณ์ ธีรเวชกุล,นพ.วัลลภ ธนเกียรติ์,ผศ.พญ.นิลรัตน์ นฤหล้า,นพ.วีระพล มงคลกุล,ศ.นพ.อมร เปรมกมล,ทพ.เกริกพันธุ์ ทองดี​,นพ.อลงกรณ์ ชุตินันท์,พญ.นรากร ลีปรีชานนท์,ทพ.เกรียง​ศักดิ์​ ลือ​กำลัง,พญ.​นวลอนงค์​ ลือ​กำลัง,นพ.ภาคภูมิ สุปิยพันธ์,ทพญ.อัมพา ทองดี,นพ.ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์,พญ.รัสรินทร์ กาญจนศศิศิลป์,พญ.ทิตยาวดี สัมพันธารักษ์,พญ.สุภาพร มีลาภ,แพทย์แผนจีนไกร บารมีเสริมส่ง,พท.กนกนุช​ ชิตวัฒนานนท์,พท.วิชากร จันทรโคตร,พท.วัชรธน อภิเลิศโสภณ,พท.มณฑล ภัทรภักดีกุล,พท.ปภาน ชัยเกษมวรากุล, พท.สุมนัสสา วาจรัต,พท.อภิชาติ กาญจนาพงศาเวช,ทนพ.ชัยศรี เลิศวิทยากูล,พว.ณัฐชฎา สมบูรณ์สุข,พว.ณัฐชฎา สมบูรณ์สุข,พว.ปาหนัน หวนไธสง,พว.บัวบาน อาชาศรัย,พว.ศิริรัตน์ คำไข,พว.วรนุชนันท์ ลภัสสุปภานันท์,พว.สุภรณ์ บุหลัน,พว.พิกุล เขื่อนคำ,ร.ต.พิลาสินี พันทองหลาง (นายทหารกายภาพบำบัด),กภญ.พรรณราย ชัยชมภู,ภก.วีรรัตน์ อภิวัฒนเสวี​,ภก.นชน มาตรชัยสิงห์,ภก.พัชราถรณ์ กาญจนบัตร,ภญ.พิรุณ​รัตน์​ เขื่อน​แก้ว,ภญ.วรณัน เกิดม่วงหมู่​,อสม.วิจิตรา จันทร์สม,ผู้ช่วย พยาบาลนพนันท์ จิตรตรง,รุ่งทิพย์ อาจารยา,เสียงเงิน สอนเย็น,จินตนา เดชศร,นวลละออ ศิโรรัตน์,มริยาท สารทอง,โชติกา ไทยฤทธิ์,เพนนี แจนส์ซ และรายชื่อประชาชนจากลิงค์ต่อไปนี้ https://docs.google.com/spreadsheets/d/1h1cE4qaAs062q-IxuEwzSWektFvCbVWs1UUpnA9z_gM/edit?usp=sharing ร่วมลงชื่อเพิ่มเติมใบแบบฟอร์มลิงก์ต่อไปนี้ https://forms.gle/LhtATTMenVmASZVH7
    24.วันที่ 28 ม.ค.2566 โค๊ชนาตาลีจัดงานสัมนามีหัวข้อบางส่วนในนั้นคือสิ่งสำคัญที่สุด ที่คุณต้องตื่นรู้ในชีวิตนี้และเรียนรู้เรื่อง Mind Control ปลดล็อคจากการถูกควบคุมเพื่ออิสระภาพของคุณ บรรยายโดยแขกรับเชิญพิเศษ! คุณอดิเทพ จาวลาห์
    25.วันที่ 29 ม.ค.2566 ช่อง 3 นำคลิปสัมภาษณ์ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ออกรายงานข่าว 3มิติ
    https://t.me/clipcovid19/274
    https://www.youtube.com/live/vEiTffjxaVk?si=EQ9bjfPjI2D_W1L7
    26.วันที่ 31 ม.ค.2566 ตัวแทนกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์และกลุ่มต่อต้านวัคซีนทดลองประเทศไทยดังมีรายชื่อร่วมลงนามคือ ผู้เชี่ยวชาญ,บุคลากรทางการแพทย์ 56 รายชื่อและประชาชน 1270รายชื่อ ยื่นหนังสือ แนบข้อมูลต่อช่อง 3 เรื่อง ขอให้สื่อมีความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ระบุถึงพิษภัยหรือความอันตรายเพื่อให้ประชาชนทราบ ไม่ควรเสนอข่าวตามนโยบายภาครัฐเพียงด้านเดียว ถึงคุณสรยุทธ สุทัศนจินดาและคุณพิชยทัฬห์ จันทร์พุฒ แต่มีเจ้าหน้าที่มารับเรื่องแทน
    27.วันที่ 10 ก.พ.2566 ตัวแทนกลุ่มฯ ยื่นหนังสือฯ ต่อคุณสมโภชน์ โตรักษา ผู้จัดการฝ่ายข่าวช่อง 7สี
    28.วันที่ 14 ก.พ. 2566 นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง อ.ประจำคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสนทนาในรายการ "คนเคาะข่าว" ออกอากาศทาง SONDHI APP ในหัวข้อ "ฉีดอะไรเข้าไปในร่างกาย? เรื่องที่วงในการแพทย์รู้ แต่พูดไม่ได้" https://rumble.com/v29lyme-137073542.htmlฉีดอะไรเข้าไปในร่างกาย?
    29.วันที่ 23 ก.พ.2565 คุณปรีดา บุญเพลิง พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และตัวแทนกลุ่มฯ แถลงข่าวเรื่อง ผลกระทบของวัคซีน และ จะเสนอให้มีการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อนำผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้มารับโทษให้ได้ https://www.facebook.com/MGRNEWS1/videos/1410158199794026/?mibextid=NnVzG8 หรือ https://fb.watch/iSMoW5QBTg/
    30.วันที่ 2 มี.ค.2566 ตัวแทนกลุ่มเข้าพบและยื่นหนังสือและข้อมูลให้กับคุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตสส. เรื่อง ขอให้ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยและการละเมิดสิทธิ์เกี่ยวกับวัคซีนทดลองโควิด19
    https://t.me/ThaiPitaksithData/2519
    ✅ 🤝🇹🇭🤝 รวมกิจกรรมและปฏิบัติการปลุกพี่น้องคนไทยจากภัยโkวิdลวงโลก(!) 🇹🇭1.วันที่ 17 ก.ย.2564 หม่อมโจ้ รุ่งคุณ กิติยากรและประชาชนเข้าพบเพื่อให้ข้อมูลแก่ตัวแทนกรมอนามัย https://rumble.com/vmqybf-38209083.html นับเป็นจุดเริ่มต้นในการปลุกคนไทยจากโควิดลวงโลก 🇹🇭2.วันที่ 18 ก.ย.2564 รายการรู้ทันพลังงานไทย โดยกลุ่ม ผีเสื้อกระพือปีก ตอนพิเศษ ข้อเท็จจริงที่ควรรู้เรื่อง ภูมิคุ้มกัน วิทยากรในรายการ อ.นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง,นพ.ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์,ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร https://rumble.com/vmr3i3-38215803.html 🇹🇭3.วันที่ 27 ต.ค.2564 ยื่นหนังสือถึงศาลปกครอง หม่อมโจ้ รุ่งคุณ กิติยากร เป็นตัวแทนฟ้องศาลปกครอง กรณีวัคซีนพาสปอร์ต https://t.me/ThaiPitaksithData/2227 https://www.facebook.com/479570925826198/posts/1267602190356397/ 🇹🇭4.วันที่ 4 ธ.ค.2564 หม่อมโจ้ รุ่งคุณ กิติยากร และประชาชนผู้ตื่นรู้ข้อมูลโควิดลวงโลกร่วมชุมนุมหน้าสวนลุมและหน้าสถานฑูตออสเตรเลีย https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=3169160836742615 https://youtu.be/SJ_FQHnFKxw 🇹🇭5.วันที่ 13 ธ.ค.2564 กลุ่มเชียงใหม่พิทักษ์สิทธิ์(ต่อมาเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็นคนไทยพิทักษ์สิทธิ์) ชุมนุมเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ต่อต้านการบังคับฉีดทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จ.เชียงใหม่ จุดประกายการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ต่อต้านยาฉีดลวงโลก ครั้งแรก ยื่นหนังสือต่อศาลปกครอง https://www.facebook.com/105105782022345/posts/110293994836857/ 🇹🇭6.วันที่ 1 ม.ค.2565 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ (เชียงใหม่)รวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อสร้างความตื่นรู้ให้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาฉีดโควิดเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขจะเริ่มจัดฉีดในเด็กอายุ 5-11 ปี โดยจะเริ่มฉีดในวันที่ 31 มกราคม 2565 https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=118390780693845&id=105105782022345&mibextid=gngRpg 🇹🇭7.วันที่ 14 ม.ค.2565 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ที่เคยร่วมลงไว้ 185 ชื่อ ยื่นหนังสือต่อ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายการฉีดวัคซีน จากภาครัฐและแถลงการณ์ภายใน 7 วัน https://docs.google.com/document/d/1n_xmLIp85Ao-E_mM7jzdlyvn8m0feluWPz79w-bB18g/edit?usp=sharing 🇹🇭8.วันที่ 16 ม.ค.2565 กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ (เชียงใหม่) รวมตัวกันบริเวณประตูท่าแพ เพื่อแสดงความห่วงใยแก่เด็ก ต่อนโยบายยาฉีดระยะทดลอง ที่จะเริ่มขึ้นสิ้นเดือน มกราคม 65 และตั้งคำถามกับหน่วยงานของรัฐ กรณีการใช้มาตรการ 2 มาตรฐาน กีดกันไม่ให้ผู้ที่เลือกไม่รับยาฉีดไม่สามารถเข้าร่วมตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนนคนเดินบริเวณประตูท่าแพ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=122732786926311&id=105105782022345&mibextid=gngRpg 🇹🇭9.ระหว่างวันที่ 24-31 ม.ค.2565 ดร.ณัฏฐพบธรรม(วู้ดดี้)และคณะจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ปั่นจักรยานจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือพร้อม นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง และหม่อมโจ้ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร และประชาชนต่อกระทรวงศึกษาฯ ครั้งเริ่มมีการฉีดในเด็ก https://www.facebook.com/105105782022345/posts/126941879838735/ https://photos.app.goo.gl/zfpHX8iSDYXD26fh7 🇹🇭10.วันที่ 17 ก.พ.2565 ชุมชุมต่อต้านวัคซีนโควิด-19 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา https://t.me/ThaiPitaksithData/2282 https://photos.app.goo.gl/mzi3A4dCrPqgW4936 🇹🇭11.วันที่ 11 มี.ค.2565 คุณหมออรรถพล ดร.ณัฏฐพบธรรม คุณอดิเทพ คุณวรเชษฐ์ (วงสไมล์บัพพาโล่)พร้อมกับกลุ่มผู้ต่อต้านวัคซีนทดลอง ไปยื่นหนังสือที่กระทรวงสาธารณสุข https://photos.app.goo.gl/qukmJK5xiaiJE9ij7 เพื่อขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนทดลอง หลังจากนั้นก็มีการทยอยส่งหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆ อาทิ จดหมายเปิดผนึก ถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา https://cmhealthlibertyrights.blogspot.com/2022/04/email-paisarnpomgmail.html จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทย และผู้มีอำนาจใน ศคบ https://cmhealthlibertyrights.blogspot.com/2022/05/blog-post_61.html 🇹🇭12.วันที่ 17 เม.ย.2565 แพทย์ไทยลงชื่อ30ท่าน คือแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อโkวิd-19 ด้วยยาผสมผสาน 4 ตัว Combination Drugs อันได้แก่ 1. ยา Ivermectin 2.ยา Fluoxetine 3.ยา Niclosamide 4.ยา Doxycycline 5.วิตามิน ดี 6.วิตามิน ซี 7.สังกะสี 8. NAC 9.แอสไพริน 10.famotidine 11.วิตามิน เอ 12. Quecertin (หอมแดง) 13. ฟ้าทะลายโจร 14. ขิง 15. กระชาย สนับสนุนให้เพื่อนๆแพทย์ที่เคารพทั้งหลายมีทางเลือกในการดูแลรักษาพี่น้องประชาชนชาวไทยด้วยการใช้ยารักษาโรคอื่นๆ (เดิม) ที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัย เพื่อนำมาใช้ใหม่ Repurposed Drugs ในการรักษาโkวิd-19 เป็นยาราคาถูกที่หมดสิทธิบัตรไปแล้ว Off-patent Drugs เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ผลข้างเคียงน้อย ซึ่งทั้งหมดนี้ผ่านการรักษามาเป็นจำนวนมากแล้ว โดยอ้างอิงผลการวิจัยและคนไข้จริงๆ ทำให้คนไข้หายได้เร็วและไม่เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา https://c19early.com/ รายชื่อแพทย์เรียงตามลำดับตามอักษร มีดังต่อไปนี้ หมายเหตุ : ลงชื่อ นพ. พญ. ชื่อ-นามสกุล แพทย์สาขาหรือประสบการณ์ ที่ทำงานอดีตหรือปัจจุบัน จังหวัด 1. นพ.กฤษณ์ติพัฒณ์ พิริยกรเจริญกิจ กุมารแพทย์ 2. นพ.กฤษดา จงสกุล เวชศาสตร์ครอบครัว นนทบุรี 3. นพ.โกวิท ยงวานิชจิต 4. พญ.จันทนา พงศ์สงวนสิน อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ 5. พญ.จันทร์จิรา ชัชวาลา รังสีแพทย์ กรุงเทพฯ 6. นพ.จิตจำลอง หะริณสุต อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ 7. นพ.ชัยยศ คุณานุสนธิ์ แพทย์ระบาดวิทยา นนทบุรี 8. นพ.ทวีชัย พิตรปรีชา โสต-ศอ-นาสิกแพทย์ กรุงเทพฯ 9. นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร กุมารแพทย์ (ใช้ในการป้องกัน) 10. นพ.ธีรเดช ตังเดชะหิรัญ อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ 11. ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12. นพ.พิศิษฐ์ เจนดิษฐการ อายุรแพทย์ กรุงเทพฯ 13. นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ แพทย์ เวชศาสตร์ป้องกัน จังหวัดน่าน 14. นพ. พุทธพจน์ สรรพกิจจำนง แพทย์โรงพยาบาลเอกชน อยุธยา 15. นพ.ภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 16. นพ.มาโนช อาภรณ์สุวรรณ กุมารแพทย์ บุรีรัมย์ 17. พญ.ลลิดา เกษมสุวรรณ โสต-ศอ-นาสิกแพทย์ กรุงเทพฯ 18.พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู กรุงเทพฯ 19. นพ.วัฒนา รังสราญนนท์ ศัลยกรรมทั่วไป รพ.บางไผ่ กทม. 20. นพ.วีรชัย ลดาคม แพทย์เอกชน กรุงเทพฯ 21. พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร กุมารแพทย์ กรุงเทพฯ 22. นพ.สมภพ อิทธิอาวัชกุล สูติแพทย์ อรัญประเทศ 23. นพ.สายัณห์ ผลประเสริฐ สูตินรีแพทย์ อ.หล่มศักดิ์ จ.เพชรบูรณ์ 24. นพ.สุทัศน์ วาณิชเสนี จักษุแพทย์ นครศรีธรรมราช 25. นพ.สุเทพ ลิ้มสุขนิรันดร์ จักษุแพทย์ กาญจนบุรี 26. นพ.สุนทร ศรีปรัชญาอนันต์ กรุงเทพฯ 27. พญ.อรสา ชวาลภาฤทธิ์ รังสีแพทย์ กรุงเทพฯ 28. พญ.อัจฉรา รังสราญนนท์ แพทย์ห้วงเวลา ศูนย์บริการสาธารณสุข 30 วัดเจ้าอาม สำนักอนามัย กทม. 29. น.พ. อลงกรณ์ ชุตินันท์ ประสาทศัลยแพทย์ จ.ชลบุรี 30. นพ อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง https://www.facebook.com/105105782022345/posts/146820267850896/ 🇹🇭13.วันที่ 31 พ.ค.2565 กลุ่มผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายของโควิดมากว่า 2 ปี นำโดยนิตยสารข้ามห้วงมหรรณพที่เป็นสื่อกลาง ร่วมกับ กลุ่มภาคการท่องเที่ยว กลุ่มผู้ปกครองและเด็ก และกลุ่มภาคประชาชน กว่า 50 ชีวิต ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้อง ขอให้ยกเลิกการสวมหน้ากาก ให้การสวมหน้ากากเป็นทางเลือก เพื่อคืนชีวิตปกติ 100 % ให้กับประชาชน ต่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยมี คุณปวีณ์ริศา สกุลเกียรติศรุต รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี ได้เป็นตัวแทนในการรับเรื่องและข้อเรียกร้องในครั้งนี้ 🇹🇭14.วันที่ 20 พ.ค.2565 นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง และประชาชนบุกช่อง 3 เพื่อเอาข้อมูลบ.ไฟzerแพ้คดีจำใจเปิดเผยข้อมูลด้านเสียของยาฉีด มีนักข่าวมารับเรื่องเพียงเท่านั้นเรื่องก็เงียบไป https://rumble.com/v15flrb--.-3.html https://odysee.com/@EE:8/CH3PfizerReports:9 https://rookon.com/read-blog/130 ต่อมาช่อง news1 สนใจและเชิญอาจารย์หมอออกรายการคนเคาะข่าว https://t.me/ThaiPitaksithData/867 🇹🇭15. วันที่ 11 ก.ค.2565 องค์กรภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนแห่งประเทศไทย รายการประเด็นโดนใจ หัวข้อ"ฉีดวัคซีนตอนนี้ดีหรือไม่ " ดำเนินรายการโดย ชาลี นพวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ร่วมรายการ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=620043739211127&id=100004085020749 🇹🇭16.วันที่ 30 ก.ค.2565 นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง,พญ.ชนิฎา ศิริประภารัตน์,ทพญ.เพ็ญนภา คณิตจินดา,ทพ.วัลลภ ธีรเวชกุล,ลุงโฉลก สัมพันธารักษ์,ทนายเกิดผล แก้วเกิด,โค๊ชนาตาลี,อดิเทพ จาวลาห์,บรรยงก์ วิสุทธิ์,ภัทนรินทร์ ผลพฤกษาและผู้กล้าหลายๆท่าน จัดงานสัมมนา โควิด ทางรอดที่ปลอดภัย ครั้งที่ 1 ปลุกคนไทยให้เข้าถึงความรู้และทางรอด คลิปที่ 1-14 https://t.me/ThaiPitaksithData/1117 คลิปที่15-20 https://t.me/ThaiPitaksithData/1801 หรือ https://docs.google.com/document/d/1bWenIBiboQgE5WnvM6_Tqn-PP90w45wF6C3b-LFcmxw/edit?usp=sharing 🇹🇭17.วันที่ 13 ก.ย.2565 จส ๑๐๐ สัมภาษณ์ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง เรื่องวัคซีนโควิด-19 https://atapol616246.substack.com/p/100?sd=pf 🇹🇭18.วันที่ 30 ก.ย.2565 นายอภิชาติ กาญจนาพงศาเวช ตัวแทนกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการยา ขอให้ทบทวนการอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไข ในสถานการณ์ฉุกเฉินของผลิตภัณฑ์วัคซีนโคเมอร์เนตี (Comirnaty, วัคซีนไฟเซอร์) นายอภิชาติ ได้รับสำเนาหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ในฐานะที่ผู้แทนสำนักฯ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ในคณะกรรมการยา) เรื่องการส่งคำร้องของนายอภิชาติ เพื่อให้ทางเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาเพิกถอนตำรับยาวัคซีนโคเมอร์เนตีต่อไป 🇹🇭19.วันที่ 5 ต.ค.2565 กลุ่มฯเชิญชวนประชาชนส่งข้อมูลถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน https://drive.google.com/drive/folders/190jXcZNCD8znI340eigQl3NvuWTsgoI3?usp=share_link 🇹🇭20.วันที่ 14 พ.ย.2565 ตัวแทนกลุ่มฯเดินทางไปที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเพื่อติดต่อดำเนินการขอจัดตั้งองค์กร "พลังไทยพิทักษ์สิทธิ์" 🇹🇭21.วันที่ 15 พ.ย.2565 ตัวแทนกลุ่มพลังไทยพิทักษ์สิทธิ์ เดินทางไปที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อติดตามเรื่องการสืบเนื่องจากการที่คณะกรรมการอาหารและยาได้อนุญาตให้ใช้วัคซีน โคเมอร์เนตีในเด็ก ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา ที่ยังไม่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา อันเป็นผลให้ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ การอนุญาตวัคซีนไฟเซอร์จึงเป็นการอนุญาตที่ผิดเงื่อนไข และผิดขั้นตอนทางกฎหมาย อันมีผลทำให้วัคซีนดังกล่าวยังไม่ได้รับการอนุญาต หากมีการนำวัคซีนไปฉีดให้กับผู้ป่วยจึงเป็นการนำยาที่ไม่ได้รับอนุญาตไปฉีดอันเป็นการกระทำที่ผิดตามพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช ๒๕๖๕ 🇹🇭22.วันที่ 20 ธ.ค.2565 ตัวแทนกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ยื่นหนังสือถวายฎีกา https://t.me/ThaiPitaksithData/2258 🇹🇭23.วันที่ 23 ม.ค.2566 เริ่มยื่นหนังสือ จากการที่กลุ่มได้เชิญชวนประชาชนยื่นหนังสือให้หน่วยงานต่างๆให้ทบทวนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมทั้งรับทราบผลเสียจากวัคซีน และการรับผิดชอบทางละเมิด หากท่านกระทำการโดยประมาท https://drive.google.com/drive/folders/1z0_Qv-q7C9RXETMBkaqBcJHATVXNElbw?usp=share_link รายชื่อบุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่ต้องการให้ยุติการฉีดยีนไวรัส ที่หลอกว่าเป็นวัคซีน ดังนี้ ศ.ดร.สุจริต (บุณยรัตพันธุ์)ภักดี,นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง,อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์,ดร.ศรีวิชัย ศรีสุวรรณ,ดร.วีระพล โมนยะกุล,ดร.ธิดารัตน์ เอกศิริ,ดร.ภัทราภรณ์ พิมลไทย,โฉลก สัมพันธารักษ์,Natalie Proenca,อดิเทพ จาวลาห์,ผศ.ดร.ศรัณยา สุจริตกุล,ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา,ทพญ.เพ็ญนภา คณิตจินดา,ทพ.วัลลภ ธีรเวชกุล,พญ.ชนิฎา ศิริประภารัตน์,พญ.ภูสณิตา วิเศษปุณรัตน์,นพ.มนตรี เศรษฐบุตร,นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง,ทญ.สรินภรณ์ ธีรเวชกุล,นพ.วัลลภ ธนเกียรติ์,ผศ.พญ.นิลรัตน์ นฤหล้า,นพ.วีระพล มงคลกุล,ศ.นพ.อมร เปรมกมล,ทพ.เกริกพันธุ์ ทองดี​,นพ.อลงกรณ์ ชุตินันท์,พญ.นรากร ลีปรีชานนท์,ทพ.เกรียง​ศักดิ์​ ลือ​กำลัง,พญ.​นวลอนงค์​ ลือ​กำลัง,นพ.ภาคภูมิ สุปิยพันธ์,ทพญ.อัมพา ทองดี,นพ.ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์,พญ.รัสรินทร์ กาญจนศศิศิลป์,พญ.ทิตยาวดี สัมพันธารักษ์,พญ.สุภาพร มีลาภ,แพทย์แผนจีนไกร บารมีเสริมส่ง,พท.กนกนุช​ ชิตวัฒนานนท์,พท.วิชากร จันทรโคตร,พท.วัชรธน อภิเลิศโสภณ,พท.มณฑล ภัทรภักดีกุล,พท.ปภาน ชัยเกษมวรากุล, พท.สุมนัสสา วาจรัต,พท.อภิชาติ กาญจนาพงศาเวช,ทนพ.ชัยศรี เลิศวิทยากูล,พว.ณัฐชฎา สมบูรณ์สุข,พว.ณัฐชฎา สมบูรณ์สุข,พว.ปาหนัน หวนไธสง,พว.บัวบาน อาชาศรัย,พว.ศิริรัตน์ คำไข,พว.วรนุชนันท์ ลภัสสุปภานันท์,พว.สุภรณ์ บุหลัน,พว.พิกุล เขื่อนคำ,ร.ต.พิลาสินี พันทองหลาง (นายทหารกายภาพบำบัด),กภญ.พรรณราย ชัยชมภู,ภก.วีรรัตน์ อภิวัฒนเสวี​,ภก.นชน มาตรชัยสิงห์,ภก.พัชราถรณ์ กาญจนบัตร,ภญ.พิรุณ​รัตน์​ เขื่อน​แก้ว,ภญ.วรณัน เกิดม่วงหมู่​,อสม.วิจิตรา จันทร์สม,ผู้ช่วย พยาบาลนพนันท์ จิตรตรง,รุ่งทิพย์ อาจารยา,เสียงเงิน สอนเย็น,จินตนา เดชศร,นวลละออ ศิโรรัตน์,มริยาท สารทอง,โชติกา ไทยฤทธิ์,เพนนี แจนส์ซ และรายชื่อประชาชนจากลิงค์ต่อไปนี้ https://docs.google.com/spreadsheets/d/1h1cE4qaAs062q-IxuEwzSWektFvCbVWs1UUpnA9z_gM/edit?usp=sharing ร่วมลงชื่อเพิ่มเติมใบแบบฟอร์มลิงก์ต่อไปนี้ https://forms.gle/LhtATTMenVmASZVH7 🇹🇭24.วันที่ 28 ม.ค.2566 โค๊ชนาตาลีจัดงานสัมนามีหัวข้อบางส่วนในนั้นคือสิ่งสำคัญที่สุด ที่คุณต้องตื่นรู้ในชีวิตนี้และเรียนรู้เรื่อง Mind Control ปลดล็อคจากการถูกควบคุมเพื่ออิสระภาพของคุณ บรรยายโดยแขกรับเชิญพิเศษ! คุณอดิเทพ จาวลาห์ 🇹🇭25.วันที่ 29 ม.ค.2566 ช่อง 3 นำคลิปสัมภาษณ์ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ออกรายงานข่าว 3มิติ https://t.me/clipcovid19/274 https://www.youtube.com/live/vEiTffjxaVk?si=EQ9bjfPjI2D_W1L7 🇹🇭26.วันที่ 31 ม.ค.2566 ตัวแทนกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์และกลุ่มต่อต้านวัคซีนทดลองประเทศไทยดังมีรายชื่อร่วมลงนามคือ ผู้เชี่ยวชาญ,บุคลากรทางการแพทย์ 56 รายชื่อและประชาชน 1270รายชื่อ ยื่นหนังสือ แนบข้อมูลต่อช่อง 3 เรื่อง ขอให้สื่อมีความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ระบุถึงพิษภัยหรือความอันตรายเพื่อให้ประชาชนทราบ ไม่ควรเสนอข่าวตามนโยบายภาครัฐเพียงด้านเดียว ถึงคุณสรยุทธ สุทัศนจินดาและคุณพิชยทัฬห์ จันทร์พุฒ แต่มีเจ้าหน้าที่มารับเรื่องแทน 🇹🇭27.วันที่ 10 ก.พ.2566 ตัวแทนกลุ่มฯ ยื่นหนังสือฯ ต่อคุณสมโภชน์ โตรักษา ผู้จัดการฝ่ายข่าวช่อง 7สี 🇹🇭28.วันที่ 14 ก.พ. 2566 นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง อ.ประจำคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสนทนาในรายการ "คนเคาะข่าว" ออกอากาศทาง SONDHI APP ในหัวข้อ "ฉีดอะไรเข้าไปในร่างกาย? เรื่องที่วงในการแพทย์รู้ แต่พูดไม่ได้" https://rumble.com/v29lyme-137073542.htmlฉีดอะไรเข้าไปในร่างกาย? 🇹🇭29.วันที่ 23 ก.พ.2565 คุณปรีดา บุญเพลิง พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และตัวแทนกลุ่มฯ แถลงข่าวเรื่อง ผลกระทบของวัคซีน และ จะเสนอให้มีการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อนำผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้มารับโทษให้ได้ https://www.facebook.com/MGRNEWS1/videos/1410158199794026/?mibextid=NnVzG8 หรือ https://fb.watch/iSMoW5QBTg/ 🇹🇭30.วันที่ 2 มี.ค.2566 ตัวแทนกลุ่มเข้าพบและยื่นหนังสือและข้อมูลให้กับคุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตสส. เรื่อง ขอให้ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยและการละเมิดสิทธิ์เกี่ยวกับวัคซีนทดลองโควิด19 https://t.me/ThaiPitaksithData/2519
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 1397 Views 0 Reviews
  • วัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
    ตอนที่ 1 https://mgronline.com/qol/detail/9670000048189
    ตอนที่ 2 https://mgronline.com/qol/detail/9670000049444
    ตอนที่ 3 https://mgronline.com/qol/detail/9670000051574
    นวัตกรรมสุดยอดของวัคซีนเลื้อยดุ โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
    ตอนที่ 1 https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2771028?fbclid=IwAR1pkyxDX_jFkVEQbzXjfGtceZzJ2mJE03F3MQRJnzU38cqYXvISepZSd_Q_aem_AZrEdPuBNjgPV7MJ4YsCNlQdS6JfmK9SPSAsH1-_vYAWA1vdDg2EVOLz8hIq-Nevma4
    ตอนที่ 2 https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2772908?fbclid=IwAR13RoEjgxf3CrrgF51ohoVxNhLK3yURY7dpOLy13mzqW9ol2A4-PYBZ-RA_aem_AZoGDrOXN2rMfSOoqsup5ND7MgibhvqyTau7W7IHunslXHmzdppoFuhBkbdhlBadsdI
    งานวิจัย วัคซีน mRNA แทรกตัว เปลี่ยน DNA มนุษย์ได้ใน 6 ชม. โดย รศ.ดร.คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร
    https://youtu.be/S32-hkJBJKA
    วัคซีน HPV และ วัคซีนในเด็กควรฉีดไหม โดยคุณหมอ เชอร์รี เทนเพนนี
    https://www.rookon.com/?p=1173
    วัคซีนเล่มสีชมพู – ดร. เชอร์รี เทนเพนนี
    https://www.rookon.com/?p=1112
    “หมอธีระวัฒน์” เผยหลักฐานสำคัญ ควรหยุดฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นได้แล้ว
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000061963
    ลับ ลวง พราง ชั่วร้าย ยาและวัคซีน โดย หมอดื้อ
    (ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต )
    (ตอนที่ 1) https://mgronline.com/daily/detail/9670000053749
    (ตอนที่ 2) https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2797034
    (ตอนที่ 3) https://mgronline.com/daily/detail/9670000057723
    ทำไมคนไทย ”ตายมากขึ้นผิดปกติ“ หลังปีที่ฉีดวัคซีน และมากกว่าช่วงโควิดปี 2564?
    https://mgronline.com/daily/detail/9670000073098...
    “หมอธีระวัฒน์” เผยผลศึกษา วัคซีนไม่ช่วยป้องกันการเกิดลองโควิด
    “หมอธีระวัฒน์” เผยรายงาน “หัวน้ำนม” ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000085233

    มุกเก่าใช้โรคใหม่
    ทำไมถึงต้องตาสว่างในการสงบโรคระบาด
    ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    https://www.facebook.com/share/p/26txVFqWEAtpzaA8/
    เผยเหตุเชื้อ “ฝีดาษลิง” รุนแรงขึ้นอาจเป็นเพราะการทดลองของมนุษย์
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000050851
    “หมอธีระวัฒน์” เผยเบื้องหลังที่มาวัคซีนฝีดาษลิง ที่กำลังจะประกาศใช้ทั่วโลก
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000073435
    หมอธีระวัฒน์” เผยไข้หวัดนกชนิดแรงระบาดในสหรัฐฯ พร้อมพบการเปลี่ยนพันธุกรรม WHO สั่งเตรียมวัคซีนหลายร้อยล้านโดส
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000075983
    “หมอธีระวัฒน์” ชี้ฝีดาษลิงติดไม่ง่าย ไม่ต้องประสาทกินหาวัคซีนมาฉีด เผยไทยมีของดี “ขมิ้นชัน” สู้ไวรัสได้
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000077653
    “หมอธีระวัฒน์” แนะคนไทยไม่กระพือ “ฝีดาษลิง” ให้เป็นสถานกาณ์ฉุกเฉินเพื่อฉีดวัคซีน ชี้ควบคุมได้ด้วยการปฏิบัติตัว
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000079767
    ดร. เชอร์รี เทนเพนนี : https://drtenpenny.com ใช้เวลามากกว่า 24 ปีและใช้เวลามากกว่า 40,000 ชั่วโมงในการค้นคว้า บันทึก และเปิดเผยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ท่านเป็นวิทยากรประจำในการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ และเป็นแขกประจำในรายการวิทยุ พอดแคสต์ และรายการทีวี โดยแบ่งปันข้อมูลที่ได้รับการวิจัยอย่างสูงของท่านว่าเหตุใดเราจึงควรปฏิเสธวัคซีน สัมภาษณ์โดย อดิเทพ จาวลาห์ https://www.rookon.com/?p=1173
    วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ออกแถลงการณ์แนะคนไทยตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกฝีดาษวานร 23ส.ค.2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000078027
    “หมอธีระวัฒน์” ชี้วัคซีนเยอะเกิน จะเร่งให้ฉีดถามกันก่อนดีไหม?
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000081470
    “อ.ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615
    “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903


    ข้อมูลเพิ่มเติม
    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=5298043733612180&id=100002198164704
    รู้ก่อนรอดก่อน
    rookon.com
    อัพเดท 6 ก.ย.2567
    ✍️ วัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ตอนที่ 1 https://mgronline.com/qol/detail/9670000048189 ตอนที่ 2 https://mgronline.com/qol/detail/9670000049444 ตอนที่ 3 https://mgronline.com/qol/detail/9670000051574 ✍️นวัตกรรมสุดยอดของวัคซีนเลื้อยดุ โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ตอนที่ 1 https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2771028?fbclid=IwAR1pkyxDX_jFkVEQbzXjfGtceZzJ2mJE03F3MQRJnzU38cqYXvISepZSd_Q_aem_AZrEdPuBNjgPV7MJ4YsCNlQdS6JfmK9SPSAsH1-_vYAWA1vdDg2EVOLz8hIq-Nevma4 ตอนที่ 2 https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2772908?fbclid=IwAR13RoEjgxf3CrrgF51ohoVxNhLK3yURY7dpOLy13mzqW9ol2A4-PYBZ-RA_aem_AZoGDrOXN2rMfSOoqsup5ND7MgibhvqyTau7W7IHunslXHmzdppoFuhBkbdhlBadsdI ✍️งานวิจัย วัคซีน mRNA แทรกตัว เปลี่ยน DNA มนุษย์ได้ใน 6 ชม. โดย รศ.ดร.คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร https://youtu.be/S32-hkJBJKA ✍️วัคซีน HPV และ วัคซีนในเด็กควรฉีดไหม โดยคุณหมอ เชอร์รี เทนเพนนี https://www.rookon.com/?p=1173 ✍️วัคซีนเล่มสีชมพู – ดร. เชอร์รี เทนเพนนี https://www.rookon.com/?p=1112 ✍️“หมอธีระวัฒน์” เผยหลักฐานสำคัญ ควรหยุดฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นได้แล้ว https://mgronline.com/qol/detail/9670000061963 ✍️ ลับ ลวง พราง ชั่วร้าย ยาและวัคซีน โดย หมอดื้อ (ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ) (ตอนที่ 1) https://mgronline.com/daily/detail/9670000053749 (ตอนที่ 2) https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2797034 (ตอนที่ 3) https://mgronline.com/daily/detail/9670000057723 ✍️ทำไมคนไทย ”ตายมากขึ้นผิดปกติ“ หลังปีที่ฉีดวัคซีน และมากกว่าช่วงโควิดปี 2564? https://mgronline.com/daily/detail/9670000073098... ✍️“หมอธีระวัฒน์” เผยผลศึกษา วัคซีนไม่ช่วยป้องกันการเกิดลองโควิด ✍️“หมอธีระวัฒน์” เผยรายงาน “หัวน้ำนม” ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ https://mgronline.com/qol/detail/9670000085233 ✅มุกเก่าใช้โรคใหม่ ✍️ทำไมถึงต้องตาสว่างในการสงบโรคระบาด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://www.facebook.com/share/p/26txVFqWEAtpzaA8/ ✍️เผยเหตุเชื้อ “ฝีดาษลิง” รุนแรงขึ้นอาจเป็นเพราะการทดลองของมนุษย์ https://mgronline.com/qol/detail/9670000050851 ✍️ “หมอธีระวัฒน์” เผยเบื้องหลังที่มาวัคซีนฝีดาษลิง ที่กำลังจะประกาศใช้ทั่วโลก https://mgronline.com/qol/detail/9670000073435 ✍️หมอธีระวัฒน์” เผยไข้หวัดนกชนิดแรงระบาดในสหรัฐฯ พร้อมพบการเปลี่ยนพันธุกรรม WHO สั่งเตรียมวัคซีนหลายร้อยล้านโดส https://mgronline.com/qol/detail/9670000075983 ✍️“หมอธีระวัฒน์” ชี้ฝีดาษลิงติดไม่ง่าย ไม่ต้องประสาทกินหาวัคซีนมาฉีด เผยไทยมีของดี “ขมิ้นชัน” สู้ไวรัสได้ https://mgronline.com/qol/detail/9670000077653 ✍️“หมอธีระวัฒน์” แนะคนไทยไม่กระพือ “ฝีดาษลิง” ให้เป็นสถานกาณ์ฉุกเฉินเพื่อฉีดวัคซีน ชี้ควบคุมได้ด้วยการปฏิบัติตัว https://mgronline.com/qol/detail/9670000079767 ✍️ ดร. เชอร์รี เทนเพนนี : https://drtenpenny.com ใช้เวลามากกว่า 24 ปีและใช้เวลามากกว่า 40,000 ชั่วโมงในการค้นคว้า บันทึก และเปิดเผยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ท่านเป็นวิทยากรประจำในการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ และเป็นแขกประจำในรายการวิทยุ พอดแคสต์ และรายการทีวี โดยแบ่งปันข้อมูลที่ได้รับการวิจัยอย่างสูงของท่านว่าเหตุใดเราจึงควรปฏิเสธวัคซีน สัมภาษณ์โดย อดิเทพ จาวลาห์ https://www.rookon.com/?p=1173 ✍️วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ออกแถลงการณ์แนะคนไทยตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกฝีดาษวานร 23ส.ค.2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000078027 ✍️“หมอธีระวัฒน์” ชี้วัคซีนเยอะเกิน จะเร่งให้ฉีดถามกันก่อนดีไหม? https://mgronline.com/qol/detail/9670000081470 ✍️“อ.ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง” https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615 ✍️“หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์ https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903 ข้อมูลเพิ่มเติม https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=5298043733612180&id=100002198164704 รู้ก่อนรอดก่อน rookon.com อัพเดท 6 ก.ย.2567
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 558 Views 0 Reviews
  • น้ำกระสายยา มหาพิกัด-ตรีผลา โฮมบรูว์ HomeBrew สูตรเข้มข้น แก้ตรีธาตุกำเริบ ตำรับปรับสมดุลเสริมภูมิคุ้มกัน 500 ml.

    น้ำกระสายยา มหาพิกัด-ตรีผลา โฮมบรูว์ ( HomeBrew )
    สูตรเข้มข้น แก้ตรีธาตุกำเริบ ( วาตะ,ปิตตะ,เสมหะ ) + ตำรับปรับสมดุลเสริมภูมิคุ้มกัน ดื่มได้ทุกเพศทุกวัย ขนาด 500 ml.

    ตรีผลา คือ ตำรับยาแผนโบราณ ที่มีการใช้ทั้งทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียและการแพทย์แผนไทย มาเป็นเวลานานนับพันปี

    ตรีผลา มาจากคำว่า “ตรี” ซึ่งแปลว่า สาม (3) และคำว่า “ผลา” แปลว่า ผลไม้
    ดังนั้นตรีผลาจึงเป็นตำรับยาที่ประกอบด้วย ผลไม้ 3 ชนิด คือ

    1 มะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.)
    2 สมอไทย (Terminalia chebula Retz.)
    3 สมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.)

    ใช้เครื่องดื่มมหาพิกัดตรีผลา โฮมบรูว์ ( HomeBrew ) เป็นยาปรับสมดุลของธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย ช่วยไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไป เช่น ในผู้ที่เป็นไข้ มีการอักเสบ เช่น โรคกระเพาะ,โรคริดสีดวงทวาร ,โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของตับ ,โรคความดันโลหิตสูง หรือในผู้ที่มีความเครียด พักผ่อนน้อย ช่วยล้างพิษโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร, ระบบเลือด และน้ำเหลือง มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

    #สุขภาพ
    #ตรีผลา

    https://s.shopee.co.th/9pKEWrMOIj
    น้ำกระสายยา มหาพิกัด-ตรีผลา โฮมบรูว์ HomeBrew สูตรเข้มข้น แก้ตรีธาตุกำเริบ ตำรับปรับสมดุลเสริมภูมิคุ้มกัน 500 ml. น้ำกระสายยา มหาพิกัด-ตรีผลา โฮมบรูว์ ( HomeBrew ) สูตรเข้มข้น แก้ตรีธาตุกำเริบ ( วาตะ,ปิตตะ,เสมหะ ) + ตำรับปรับสมดุลเสริมภูมิคุ้มกัน ดื่มได้ทุกเพศทุกวัย ขนาด 500 ml. ตรีผลา คือ ตำรับยาแผนโบราณ ที่มีการใช้ทั้งทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียและการแพทย์แผนไทย มาเป็นเวลานานนับพันปี ตรีผลา มาจากคำว่า “ตรี” ซึ่งแปลว่า สาม (3) และคำว่า “ผลา” แปลว่า ผลไม้ ดังนั้นตรีผลาจึงเป็นตำรับยาที่ประกอบด้วย ผลไม้ 3 ชนิด คือ 1 มะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) 2 สมอไทย (Terminalia chebula Retz.) 3 สมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.) ใช้เครื่องดื่มมหาพิกัดตรีผลา โฮมบรูว์ ( HomeBrew ) เป็นยาปรับสมดุลของธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย ช่วยไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไป เช่น ในผู้ที่เป็นไข้ มีการอักเสบ เช่น โรคกระเพาะ,โรคริดสีดวงทวาร ,โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของตับ ,โรคความดันโลหิตสูง หรือในผู้ที่มีความเครียด พักผ่อนน้อย ช่วยล้างพิษโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร, ระบบเลือด และน้ำเหลือง มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย #สุขภาพ #ตรีผลา https://s.shopee.co.th/9pKEWrMOIj
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 296 Views 0 Reviews
  • #ตำรับยา #กัญชา #รักษาโรค
    #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง #แพทย์แผนไทย #ความมั่นคงทางยา
    #ตำรับยา #กัญชา #รักษาโรค #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง #แพทย์แผนไทย #ความมั่นคงทางยา
    Like
    4
    0 Comments 1 Shares 424 Views 0 Reviews
  • #พืชเป็นยา #สมุนไพร #ตำรับยา #เกษตร #ยั่งยืน #กสิกรรมธรรมชาติ #ชีวิตมันต้องง่าย #พอเพียง #พึ่งตนเอง #เลี้ยงดิน #เลี้ยงพืช #บำรุงดิน #ไม่ใช้สารเคมี #ความมั่งคงทางยา #ความมั่นคงทางอาหาร #โจนจันได #ศิษย์ยักษ์
    https://youtu.be/UUBNd-Wk4q8
    #พืชเป็นยา #สมุนไพร #ตำรับยา #เกษตร #ยั่งยืน #กสิกรรมธรรมชาติ #ชีวิตมันต้องง่าย #พอเพียง #พึ่งตนเอง #เลี้ยงดิน #เลี้ยงพืช #บำรุงดิน #ไม่ใช้สารเคมี #ความมั่งคงทางยา #ความมั่นคงทางอาหาร #โจนจันได #ศิษย์ยักษ์ https://youtu.be/UUBNd-Wk4q8
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 453 Views 0 Reviews
  • ออกไปทานข้าวนอกบ้านทีไร กลับมารู้สึกไม่สบายตัวทุกที … แต่เรามี #ยาลม๓๐๐จำพวก เป็นตัวช่วย ตอนดื่ม เผ็ด ขม ร้อนวูบ แค่ 5 นาที ก็เลอ ผ่านไป 1 ชั่วโมง ก็หายเป็นปกติ รู้สึกสบายดีค่ะ
    #ยาอายุวัฒนะ #ตำรับยา #สมุนไพร #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์ #พอดีชอป #สมุนไพรบ้านพระอาทิตย์ #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    ออกไปทานข้าวนอกบ้านทีไร กลับมารู้สึกไม่สบายตัวทุกที … แต่เรามี #ยาลม๓๐๐จำพวก เป็นตัวช่วย ตอนดื่ม เผ็ด ขม ร้อนวูบ แค่ 5 นาที ก็เลอ ผ่านไป 1 ชั่วโมง ก็หายเป็นปกติ รู้สึกสบายดีค่ะ #ยาอายุวัฒนะ #ตำรับยา #สมุนไพร #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์ #พอดีชอป #สมุนไพรบ้านพระอาทิตย์ #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 617 Views 0 Reviews
  • ร่างประกาศ สธ.ฉบับ อ.ปานเทพ ปมกัญชากลับเป็นยาเสพติด 12/07/67
    #อ.ปานเทพ #กัญชา #ยาเสพติด #สาธารณสุข #แพทย์แผนไทย #สมุนไพร #ตำรับยา #ความมั่นคงทางยา #พึ่งตนเอง
    https://youtu.be/Aa-O3ywVhIk?si=gKZRxOIOg5s8TFts
    ร่างประกาศ สธ.ฉบับ อ.ปานเทพ ปมกัญชากลับเป็นยาเสพติด 12/07/67 #อ.ปานเทพ #กัญชา #ยาเสพติด #สาธารณสุข #แพทย์แผนไทย #สมุนไพร #ตำรับยา #ความมั่นคงทางยา #พึ่งตนเอง https://youtu.be/Aa-O3ywVhIk?si=gKZRxOIOg5s8TFts
    0 Comments 0 Shares 574 Views 0 Reviews