• กลุ่มพราวบูสต์เมืองหัวหิน ทำทางเชื่อมสถานีหนองแก

    สถานีรถไฟหนองแก ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ได้ก่อสร้างงานโยธาช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กิโลเมตรแล้วเสร็จ และเปิดใช้ทางไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา มีขบวนรถธรรมดาจอดรับ-ส่งผู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ ขบวน 255 ธนบุรี-หลังสวน และขบวน 251 ธนบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ไป-กลับรวม 4 เที่ยว

    ด้วยที่ตั้งสถานีติดกับโครงการของกลุ่มบริษัทพราว ที่มี พราวพุธ ลิปตพัลลภ ลูกสาวของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นกรรมการบริหาร ประกอบด้วย โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโครงการคอนโดมิเนียมเวหา หัวหิน ที่คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2/2568 จึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศไทย เช่าพื้นที่ทำทางเชื่อมจากสถานีรถไฟหนองแก ถึงโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ฯ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และเตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

    ทางเชื่อมสถานีรถไฟหนองแก สามารถเดินเท้าไปยังโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานา นาวา หัวหิน ด้วยระยะทาง 200 เมตร ที่มี วานานาวา สกาย รูฟท็อปบาร์ ซึ่งเป็นบาร์สูงที่สุดในหัวหิน โดยทางโรงแรมฯ เตรียมบริการรับ-ส่งผ่านรถบักกี้และดูแลจัดการกระเป๋าเดินทางให้แก่ผู้เข้าพัก ต่อด้วยสถานที่ท่องเที่ยวข้างเคียง สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล หัวหิน อีกด้านหนึ่ง สามารถเดินเท้าไปยังตลาดซิคาด้า ระยะทาง 700 เมตรในเวลา 15 นาที รวมทั้งชายหาดเขาตะเกียบ และหมู่บ้านประมง

    พร้อมกันนี้ ยังเตรียมจัดหาขบวนรถไฟ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีหนองแก สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน, สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหินรีสอร์ท รวมถึงประชาชนที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 2568 โดยสำรองที่นั่งได้ผ่านทาง www.vananavahuahin.com ซึ่งจะมีพนักงานของพราวกรุ๊ปคอยให้บริการและอำนวยความสะดวกบนขบวน

    การจัดขบวนรถไฟไปยังสถานีหนองแก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงที่ถนนพระรามที่ 2 มีการก่อสร้างและการจราจรติดขัด ให้สามารถเดินทางสู่เมืองหัวหินได้สะดวก ที่ผ่านมากลุ่มพราวพยายามผลักดันการท่องเที่ยวทั้งการสร้างสวนน้ำ ศูนย์การค้า และการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ ตลอดทั้งปี โดยล่าสุดศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน ได้เปิด Blúport Hall Hua Hin MICE สถานที่จัดงานประชุมสัมมนาที่ชั้น 1 พื้นที่รวม 3,295 ตารางเมตร รองรับผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ได้สูงสุด 2,000 คน

    #Newskit #VanaNava #สถานีหนองแก
    กลุ่มพราวบูสต์เมืองหัวหิน ทำทางเชื่อมสถานีหนองแก สถานีรถไฟหนองแก ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ได้ก่อสร้างงานโยธาช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กิโลเมตรแล้วเสร็จ และเปิดใช้ทางไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา มีขบวนรถธรรมดาจอดรับ-ส่งผู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ ขบวน 255 ธนบุรี-หลังสวน และขบวน 251 ธนบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ไป-กลับรวม 4 เที่ยว ด้วยที่ตั้งสถานีติดกับโครงการของกลุ่มบริษัทพราว ที่มี พราวพุธ ลิปตพัลลภ ลูกสาวของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นกรรมการบริหาร ประกอบด้วย โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโครงการคอนโดมิเนียมเวหา หัวหิน ที่คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2/2568 จึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศไทย เช่าพื้นที่ทำทางเชื่อมจากสถานีรถไฟหนองแก ถึงโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ฯ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และเตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ ทางเชื่อมสถานีรถไฟหนองแก สามารถเดินเท้าไปยังโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานา นาวา หัวหิน ด้วยระยะทาง 200 เมตร ที่มี วานานาวา สกาย รูฟท็อปบาร์ ซึ่งเป็นบาร์สูงที่สุดในหัวหิน โดยทางโรงแรมฯ เตรียมบริการรับ-ส่งผ่านรถบักกี้และดูแลจัดการกระเป๋าเดินทางให้แก่ผู้เข้าพัก ต่อด้วยสถานที่ท่องเที่ยวข้างเคียง สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล หัวหิน อีกด้านหนึ่ง สามารถเดินเท้าไปยังตลาดซิคาด้า ระยะทาง 700 เมตรในเวลา 15 นาที รวมทั้งชายหาดเขาตะเกียบ และหมู่บ้านประมง พร้อมกันนี้ ยังเตรียมจัดหาขบวนรถไฟ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีหนองแก สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน, สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหินรีสอร์ท รวมถึงประชาชนที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 2568 โดยสำรองที่นั่งได้ผ่านทาง www.vananavahuahin.com ซึ่งจะมีพนักงานของพราวกรุ๊ปคอยให้บริการและอำนวยความสะดวกบนขบวน การจัดขบวนรถไฟไปยังสถานีหนองแก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงที่ถนนพระรามที่ 2 มีการก่อสร้างและการจราจรติดขัด ให้สามารถเดินทางสู่เมืองหัวหินได้สะดวก ที่ผ่านมากลุ่มพราวพยายามผลักดันการท่องเที่ยวทั้งการสร้างสวนน้ำ ศูนย์การค้า และการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ ตลอดทั้งปี โดยล่าสุดศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน ได้เปิด Blúport Hall Hua Hin MICE สถานที่จัดงานประชุมสัมมนาที่ชั้น 1 พื้นที่รวม 3,295 ตารางเมตร รองรับผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ได้สูงสุด 2,000 คน #Newskit #VanaNava #สถานีหนองแก
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 164 มุมมอง 0 รีวิว
  • อนาคตสถานีลพบุรี

    โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะทาง 145 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 21,467 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 ในที่สุดสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือน ก.ย. 2567 ส่วนสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ คืบหน้า 98.26% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2567 และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ST8) คืบหน้า 49.59% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568

    สำหรับไฮไลต์ของโครงการอยู่ที่สัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ ระยะทาง 29 กิโลเมตร เพื่อป้องกันผลกระทบต่อโบราณสถานอย่างพระปรางค์สามยอด มีจุดเริ่มต้นทางทิศใต้ของสถานีบ้านกลับ เบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตกของเมืองลพบุรี และยกระดับบนแนวเกาะกลางถนนของทางหลวงหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ก่อนลดระดับลง บรรจบแนวเส้นทางรถไฟเดิม ระหว่างสถานีท่าแค และสถานีโคกกะเทียม

    พร้อมปรับปรุงสถานีรถไฟบ้านกลับ โดยอนุรักษ์อาคารเดิมไว้ และก่อสร้างสถานีรถไฟลพบุรี 2 บริเวณถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี ก่อนถึงแยกสนามไชย ต.โพลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พื้นที่จำหน่ายตั๋วและรองรับผู้โดยสาร ชั้น 3 ชานชาลา

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ตั้งสถานีรถไฟลพบุรี 2 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรี ต.ท่าหิน อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามแผนของกระทรวงคมนาคม จะให้รถไฟชานเมือง กรุงเทพ (หัวลำโพง)-ลพบุรี และรถไฟท้องถิ่น พิษณุโลก-ลพบุรี ทั้งไปและกลับ จอดที่สถานีเดิม นอกนั้นทั้งรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ย้ายไปให้บริการที่สถานีลพบุรี 2 แห่งใหม่

    แน่นอนว่าย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ต้องอาศัยรถไฟธรรมดา สายพิษณุโลก สายตะพานหิน สายนครสวรรค์ และสายบ้านตาคลี มายังสถานีลพบุรี ไม่นับรวมกรณีรถไฟทางไกลสายเหนือ ต้องไปใช้บริการที่สถานีลพบุรี 2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ มีรถรับส่งผู้โดยสารไปยังตัวเมืองลพบุรีหรือไม่ บริการฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภาระตกอยู่กับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น

    ขณะนี้สถานีรถไฟลพบุรี ได้ทำทำแบบสำรวจเพื่อประกอบการจัดทำแผนในการเดินขบวนรถไฟโดยสาร ที่ให้บริการระหว่างสถานีลพบุรี (เดิม) และสถานีลพบุรี 2 เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็น ความต้องการ ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบที่ได้รับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ Google Form https://forms.gle/8HG7zhG7gheZBaSW6 หรือที่ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สถานีรถไฟลพบุรี

    #Newskit #สถานีลพบุรี #รถไฟทางคู่
    อนาคตสถานีลพบุรี โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะทาง 145 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 21,467 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 ในที่สุดสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือน ก.ย. 2567 ส่วนสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ คืบหน้า 98.26% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2567 และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ST8) คืบหน้า 49.59% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 สำหรับไฮไลต์ของโครงการอยู่ที่สัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ ระยะทาง 29 กิโลเมตร เพื่อป้องกันผลกระทบต่อโบราณสถานอย่างพระปรางค์สามยอด มีจุดเริ่มต้นทางทิศใต้ของสถานีบ้านกลับ เบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตกของเมืองลพบุรี และยกระดับบนแนวเกาะกลางถนนของทางหลวงหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ก่อนลดระดับลง บรรจบแนวเส้นทางรถไฟเดิม ระหว่างสถานีท่าแค และสถานีโคกกะเทียม พร้อมปรับปรุงสถานีรถไฟบ้านกลับ โดยอนุรักษ์อาคารเดิมไว้ และก่อสร้างสถานีรถไฟลพบุรี 2 บริเวณถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี ก่อนถึงแยกสนามไชย ต.โพลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พื้นที่จำหน่ายตั๋วและรองรับผู้โดยสาร ชั้น 3 ชานชาลา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ตั้งสถานีรถไฟลพบุรี 2 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรี ต.ท่าหิน อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามแผนของกระทรวงคมนาคม จะให้รถไฟชานเมือง กรุงเทพ (หัวลำโพง)-ลพบุรี และรถไฟท้องถิ่น พิษณุโลก-ลพบุรี ทั้งไปและกลับ จอดที่สถานีเดิม นอกนั้นทั้งรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ย้ายไปให้บริการที่สถานีลพบุรี 2 แห่งใหม่ แน่นอนว่าย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ต้องอาศัยรถไฟธรรมดา สายพิษณุโลก สายตะพานหิน สายนครสวรรค์ และสายบ้านตาคลี มายังสถานีลพบุรี ไม่นับรวมกรณีรถไฟทางไกลสายเหนือ ต้องไปใช้บริการที่สถานีลพบุรี 2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ มีรถรับส่งผู้โดยสารไปยังตัวเมืองลพบุรีหรือไม่ บริการฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภาระตกอยู่กับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ขณะนี้สถานีรถไฟลพบุรี ได้ทำทำแบบสำรวจเพื่อประกอบการจัดทำแผนในการเดินขบวนรถไฟโดยสาร ที่ให้บริการระหว่างสถานีลพบุรี (เดิม) และสถานีลพบุรี 2 เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็น ความต้องการ ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบที่ได้รับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ Google Form https://forms.gle/8HG7zhG7gheZBaSW6 หรือที่ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สถานีรถไฟลพบุรี #Newskit #สถานีลพบุรี #รถไฟทางคู่
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 294 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี

    ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง

    หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน

    นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี

    ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง

    ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท

    แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน

    ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง

    การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้

    ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

    สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565

    ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน

    ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย

    #Newskit #SRT #Butterworth
    ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้ ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย #Newskit #SRT #Butterworth
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 880 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์

    ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์

    ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท

    แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

    จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท

    นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้

    #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์ ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้ #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 677 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟชั้น 3 ติดแอร์ คุณภาพชีวิตที่ควรมี

    ข่าวคราวที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวคิดปรับปรุงรถไฟชั้นที่ 3 เป็นรถปรับอากาศทั้งหมด รวมถึงปรับเบาะที่นั่งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตามที่นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงนั้น ดูเป็นเรื่องเพ้อฝันและอาจทำไม่ได้จริง แต่อาจยังไม่รู้ว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศมานานแล้ว

    ที่ผ่านมา ในช่วงปี 2530-2535 การรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศ 5 คัน แล้วนำมาให้บริการในบางเส้นทาง โดยเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา มีรถที่ผ่านการปรับปรุงใหม่และใช้การได้ขณะนี้มี 2 ขบวน ได้แก่ บชส.ป.2 นำมาให้บริการเส้นทางกรุงเทพ-ปราจีนบุรี และ บชส.ป.10 ส่วนอีก 4 ขบวนกำลังทำวาระปรับปรุงสภาพใหม่

    อีกด้านหนึ่งพบว่า การรถไฟฯ เริ่มทยอยดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงประมาณ 40 คัน โดยใช้งบประมาณปี 2567 และปี 2568 จะทยอยเข้าปรับปรุงอีกประมาณ 90 คัน หรือรวมชุดแรกประมาณ 130 คัน แต่ต้องถอนรถออกจากบริการในเส้นทางเพื่อนำมาปรับปรุง โดยต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน

    ทั้งนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนเบาะที่นั่งและติดระบบปรับอากาศ มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านบาทต่อคัน

    (อ่านต่อในคอมเมนต์)

    #Newskit #รถไฟชั้น3 #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    รถไฟชั้น 3 ติดแอร์ คุณภาพชีวิตที่ควรมี ข่าวคราวที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวคิดปรับปรุงรถไฟชั้นที่ 3 เป็นรถปรับอากาศทั้งหมด รวมถึงปรับเบาะที่นั่งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตามที่นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงนั้น ดูเป็นเรื่องเพ้อฝันและอาจทำไม่ได้จริง แต่อาจยังไม่รู้ว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศมานานแล้ว ที่ผ่านมา ในช่วงปี 2530-2535 การรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศ 5 คัน แล้วนำมาให้บริการในบางเส้นทาง โดยเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา มีรถที่ผ่านการปรับปรุงใหม่และใช้การได้ขณะนี้มี 2 ขบวน ได้แก่ บชส.ป.2 นำมาให้บริการเส้นทางกรุงเทพ-ปราจีนบุรี และ บชส.ป.10 ส่วนอีก 4 ขบวนกำลังทำวาระปรับปรุงสภาพใหม่ อีกด้านหนึ่งพบว่า การรถไฟฯ เริ่มทยอยดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงประมาณ 40 คัน โดยใช้งบประมาณปี 2567 และปี 2568 จะทยอยเข้าปรับปรุงอีกประมาณ 90 คัน หรือรวมชุดแรกประมาณ 130 คัน แต่ต้องถอนรถออกจากบริการในเส้นทางเพื่อนำมาปรับปรุง โดยต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน ทั้งนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนเบาะที่นั่งและติดระบบปรับอากาศ มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านบาทต่อคัน (อ่านต่อในคอมเมนต์) #Newskit #รถไฟชั้น3 #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 475 มุมมอง 0 รีวิว