‘บ้านเพื่อคนไทย’บนที่ดินรถไฟ อสังหาฯจากพ่อสู่ลูก

1 ใน 5 นโยบายที่รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ประกาศว่าจะเกิดขึ้นในปี 2568 คือ โครงการบ้านเพื่อคนไทย (Public Housing) คอนโดมิเนียมและเฟอร์นิเจอร์พร้อมเข้าอยู่ ใกล้รถไฟฟ้า ให้สิทธิคนไทยที่ไม่เคยมีบ้านมาก่อน ผ่อนเริ่มต้นที่ 4,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 30 ปี มีห้องน้ำ ไฟฟ้า สาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย ถ้าจ่ายครบยอดได้สิทธิ์ถือครอง 99 ปี

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันการซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาทไม่มีแล้ว อยากให้นักศึกษาจบใหม่ (First Jobber) มีบ้านเป็นของตนเอง โดยจะใช้พื้นที่ของรัฐบาลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ใกล้ตัวเมือง ใกล้รถไฟฟ้า ปีหน้าจะมีห้องตัวอย่างให้ดู มอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ทำงานร่วมกัน

ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า จะใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการก่อสร้าง โดยจะเปิดตัวบ้านตัวอย่างในวันที่ 20 ม.ค. 2568 ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน เริ่มต้น 4 แห่ง ได้แก่ ย่านบางนา ธนบุรี เชียงราก และ จ.เชียงใหม่ ประมาณ 1,000 ยูนิต แต่หากจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นอาศัยต่อ ผู้จับจองต้องอาศัยแล้วอย่างน้อย 5 ปี

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีที่ดินเชิงพาณิชย์ (Non Core) ทั้งหมด 38,469 ไร่ ทำสัญญาแล้ว 12,233 สัญญา

อย่างไรก็ตาม บ้านเพื่อคนไทย แตกต่างจากโครงการบ้านเอื้ออาทร สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา เมื่อปี 2547 ซึ่งรับผิดชอบโดยการเคหะแห่งชาติ เพราะเป็นการจัดซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านแถว และบ้านแฝดสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผ่อนชำระกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยมีเป้าหมายสร้างบ้านทั่วประเทศ 1 ล้านหลัง

แม้ระยะแรกมีผู้สนใจจองบ้านล้นหลามต้องจับสลาก แต่ต่อมาขายไม่ออก หลายทำเลไกลปืนเที่ยง การคมนาคมลำบาก ต้องใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ส่วนตัว บางโครงการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้างไปดื้อๆ เช่น บ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถูกปล่อยทิ้งร้างกว่า 10 ปี ไม่นับรวมเปิดช่องให้ทุจริต หนึ่งในนั้นคือนายวัฒนา เมืองสุข รมว.พัฒนาสังคมฯ ถูกศาลสั่งจำคุก 99 ปี

ถึงกระนั้น ลักษณะบ้านเพื่อคนไทยเป็นการเช่าระยะยาว สูงสุด 99 ปี บนที่ดินของรัฐซึ้งซื้อขายไม่ได้ ไม่มีโฉนดที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด เมื่อเทียบกับบ้านเอื้ออาทร ที่หากผ่อนกับ ธอส. มาแล้ว 5 ปี สามารถทำเรื่องโอนให้เป็นของผู้ซื้อได้ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ คุณภาพชีวิตที่ต้องวัดดวงในระยะยาว เหมือนกับโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ประสบปัญหาที่จอดรถไม่เพียงพอ

#Newskit
‘บ้านเพื่อคนไทย’บนที่ดินรถไฟ อสังหาฯจากพ่อสู่ลูก 1 ใน 5 นโยบายที่รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ประกาศว่าจะเกิดขึ้นในปี 2568 คือ โครงการบ้านเพื่อคนไทย (Public Housing) คอนโดมิเนียมและเฟอร์นิเจอร์พร้อมเข้าอยู่ ใกล้รถไฟฟ้า ให้สิทธิคนไทยที่ไม่เคยมีบ้านมาก่อน ผ่อนเริ่มต้นที่ 4,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 30 ปี มีห้องน้ำ ไฟฟ้า สาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย ถ้าจ่ายครบยอดได้สิทธิ์ถือครอง 99 ปี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันการซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาทไม่มีแล้ว อยากให้นักศึกษาจบใหม่ (First Jobber) มีบ้านเป็นของตนเอง โดยจะใช้พื้นที่ของรัฐบาลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ใกล้ตัวเมือง ใกล้รถไฟฟ้า ปีหน้าจะมีห้องตัวอย่างให้ดู มอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ทำงานร่วมกัน ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า จะใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการก่อสร้าง โดยจะเปิดตัวบ้านตัวอย่างในวันที่ 20 ม.ค. 2568 ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน เริ่มต้น 4 แห่ง ได้แก่ ย่านบางนา ธนบุรี เชียงราก และ จ.เชียงใหม่ ประมาณ 1,000 ยูนิต แต่หากจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นอาศัยต่อ ผู้จับจองต้องอาศัยแล้วอย่างน้อย 5 ปี ปัจจุบันการรถไฟฯ มีที่ดินเชิงพาณิชย์ (Non Core) ทั้งหมด 38,469 ไร่ ทำสัญญาแล้ว 12,233 สัญญา อย่างไรก็ตาม บ้านเพื่อคนไทย แตกต่างจากโครงการบ้านเอื้ออาทร สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา เมื่อปี 2547 ซึ่งรับผิดชอบโดยการเคหะแห่งชาติ เพราะเป็นการจัดซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านแถว และบ้านแฝดสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผ่อนชำระกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยมีเป้าหมายสร้างบ้านทั่วประเทศ 1 ล้านหลัง แม้ระยะแรกมีผู้สนใจจองบ้านล้นหลามต้องจับสลาก แต่ต่อมาขายไม่ออก หลายทำเลไกลปืนเที่ยง การคมนาคมลำบาก ต้องใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ส่วนตัว บางโครงการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้างไปดื้อๆ เช่น บ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถูกปล่อยทิ้งร้างกว่า 10 ปี ไม่นับรวมเปิดช่องให้ทุจริต หนึ่งในนั้นคือนายวัฒนา เมืองสุข รมว.พัฒนาสังคมฯ ถูกศาลสั่งจำคุก 99 ปี ถึงกระนั้น ลักษณะบ้านเพื่อคนไทยเป็นการเช่าระยะยาว สูงสุด 99 ปี บนที่ดินของรัฐซึ้งซื้อขายไม่ได้ ไม่มีโฉนดที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด เมื่อเทียบกับบ้านเอื้ออาทร ที่หากผ่อนกับ ธอส. มาแล้ว 5 ปี สามารถทำเรื่องโอนให้เป็นของผู้ซื้อได้ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ คุณภาพชีวิตที่ต้องวัดดวงในระยะยาว เหมือนกับโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ประสบปัญหาที่จอดรถไม่เพียงพอ #Newskit
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 591 มุมมอง 0 รีวิว