• #วัดหนองป่าพง
    #อุบลราชธานี

    วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ)

    คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา

    หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"

    หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483)

    หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา

    กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง”

    จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น

    ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม

    รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดหนองป่าพง #อุบลราชธานี วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ) คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483) หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 247 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้วันพระ.ธรรมะยามเช้า หลวงปู่ฝั้น อาจาโร.#MGRONLINE #หลวงปู่ฝั้นอาจาโร #วัดป่าอุดมสมพร #สกลนคร #พระภิกษุ #เทศนาธรรม #ธรรมะยามเช้า #พระ #เจริญพร #เจริญสติ #พระพุทธศาสนา #จิตบริสุทธิ์ #ปฏิบัติธรรม #เลื่อมใส #ศรัทธา #คำสอน #คติธรรม #คําคม
    วันนี้วันพระ.ธรรมะยามเช้า หลวงปู่ฝั้น อาจาโร.#MGRONLINE #หลวงปู่ฝั้นอาจาโร #วัดป่าอุดมสมพร #สกลนคร #พระภิกษุ #เทศนาธรรม #ธรรมะยามเช้า #พระ #เจริญพร #เจริญสติ #พระพุทธศาสนา #จิตบริสุทธิ์ #ปฏิบัติธรรม #เลื่อมใส #ศรัทธา #คำสอน #คติธรรม #คําคม
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 723 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🤠#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 01.🤠

    😎#ออกจากประตูหยก😎

    🥸การเดินทางของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปทางทิศตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะนั้นเป็นการกระทำส่วนตัวโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางการ แต่ด้วยเหตุนี้ มุมมองของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่มีต่อภูมิภาคตะวันตกจึงมีความเป็นพลเรือนมากกว่า เป็นกลางมากกว่า และเป็นจริงมากกว่า🥸

    🥸ต่อไปนี้เชิญท่านมาเผชิญหน้ากับท่ามกลางท้องฟ้าอันเต็มไปด้วยลมและทราย เดินย่ำเหยียบฝ่าหมอกควันทะเลทราย เริ่มต้นเข้าร่วมกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ในการเดินทางอันน่ามหัศจรรย์ของเขาเพื่อร่างขอบเขตดินแดนของภูมิภาคตะวันตก🥸

    😎ออกจากประตูหยก(玉门)ไปทางทิศตะวันตก 😎

    🥸ในปีคริสตศักราช 629 ภัยพิบัติน้ำแข็งเกิดขึ้นในพื้นที่กวนจง(关中) ราชวงศ์ถัง(唐)ออกคำสั่งให้พระภิกษุและฆราวาสในพื้นที่ คยองกี(Gyeonggi京畿) ย้ายไปยังสถานที่อื่นเพื่อหาอาหารและหลีกเลี่ยงหลบหนีจากความอดอยาก พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ซึ่งแต่เดิมต้องการออกจากด่านทางผ่าน แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากราชสำนักจึงใช้โอกาสนี้ออกจากฉางอาน(长安)🥸 เขาเดินทางผ่านหลานโจว(兰州)และเหลียงโจว(凉州) เขาหลีกเลี่ยงการติดตามจัยกุมของทางการโดยการเดินทางเวลากลางคืนและพักเวลากลางวัน ต่อมา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เสี่ยงภัยเดินทางผ่าน กวัวโจว(瓜州) และ อวี้เหมินกวน(Yumen Pass玉门关) ผ่านหอคอยสัญญาณไฟ 5 แห่งที่มีกองทหารคุ้มกันตามลำดับรายทาง ด้วยความช่วยเหลือจากทหารรักษาชายแดนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ข้ามทะเลทรายโกบีด้วยพลังแห่งความศรัทธาและความอุตสาหะอย่างแรงกล้าก่อนจะไปถึงอีหวู(伊吾) และเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตก

    🥸สถานีแรกของการเดินทาง อีหวู(伊吾) ได้มีการส่งมอบการมาถึงอย่างกะทันหันของพระภิกษุให้กับเกาชาง(Gaochang高昌) (ปัจจุบันคือเมืองถูหลู่ฟาน(Turfan 吐鲁番) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์(Xinjiang Uygur Autonomous Region 新疆维吾尔自治区)) เจ้าเหนือหัวองค์น้อยทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตกในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ริมแอ่งถูหลู่ฟาน(Turfan Depression吐鲁番盆地)🥸

    🥸หลังจากได้ยินข่าวว่า พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)มาถึงแล้ว กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) เสนาบดี และสาวใช้ออกมาจากพระราชวังในเวลากลางคืน ทรงจุดเทียน และเข้าแถวเพื่อต้อนรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เข้าสู่พระราชวังด้วยความเคารพ🥸 หลังจากเห็น พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) แล้ว ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ดีใจมากและบอกกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ว่า: นับตั้งแต่ฉันรู้ชื่ออาจารย์ ฉันมีความสุขมากจนลืมกินลืมนอน ฉันรู้ว่าพระภิกษุผู้แสวงธรรมจากตะวันออกจะมาคืนนี้ ฉันก็เลยพร้อมกับพระราชินีและเจ้าชายทรงพากันสวดมนต์ตลอดทั้งคืนรอการมาถึงของพระอาจารย์

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ถูกจัดให้อยู่ที่สนามหลวงทางพิธีกรรมของศาสนาถัดจากพระราชวังกษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) และจัดขันทีให้ดูแลอาหารและชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)

    รัฐเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)เป็นนครรัฐที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก และถูกปกครองโดยผู้รอดชีวิตจากราชวงศ์ฮั่น(汉)และเว่ย(魏) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่รวมหู(胡)และฮั่น(汉)เข้าด้วยกัน ในบรรดาพลเมืองนั้น ไม่เพียงแต่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่น(汉)เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนจากภูมิภาคตะวันตกด้วย เช่น ชาวซ็อกเดียน(Sogdians粟特) ชาวซานซาน(Shanshan鄯善人)และชาวเติร์ก(Turks突厥人) 🥸ก่อนที่ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)จะมาถึง ประเทศนี้ก็ก่อตั้งขึ้นที่นั่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เขารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พบว่าข้อมูลจำเพาะของเมืองที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเมืองฉางอัน(长安)ในราชวงศ์ซุย(隋)และราชวงศ์ถัง(唐)มาก นอกจากนี้ยังมีรูปของ ดยุคไอแห่งหลู่(鲁哀公)สอดถามขงจื๊อ(孔子)เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่แขวนอยู่ในพระราชวังของอาณาจักร เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)🥸

    😎การต้อนรับด้วยมารยาทอันสูงส่ง😎

    🥸ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และบิดาของเขาเดินทางไปยังราชวงศ์สุย(隋)ในยุครุ่งเรืองเพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิสุยหยางตี้(隋炀帝)🥸 เขาไม่เพียงแต่เดินทางไปยังฉางอาน(长安) ล่อหยาง(洛阳) เฝินหยาง(汾阳) เอี้ยนตี้(燕地) ไต้ตี้(代地) และเมืองสำคัญอื่นๆ และได้เห็นวัฒนธรรมฮั่น(汉)ของที่ราบตอนกลางดั้งเดิม แต่เขายังไปเยี่ยมคารวะพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงและผู้มีคุณธรรมอีกมากมาย และเขาก็ชื่นชมที่ราบภาคกลางที่เป็นบ้านเกิดทางวัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างมาก แต่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)รู้สึกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงในอดีตของราชวงศ์ซุย ความฉลาดสามารถของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)นั้นเหนือกว่ามาก

    เมื่อใดก็ตามที่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)บรรยายธรรมแก่ขุนนางของเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ในเต็นท์ใหญ่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ถือกระถางธูปเพื่อเคลียร์นำทางให้พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงด้วยตนเอง เมื่อพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปที่แท่นธรรมาสน์เพื่อขึ้นเทศนาธรรม กษัตริย์แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ถึงกับคุกเข่าโน้มตัวลง และทำหน้าที่เป็นบันไดให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ก้าวขึ้นแท่นธรรมาสน์ การปฏิบัตินี้ไม่สอดคล้องกับประเพณีตะวันออก แต่ก็มีบันทึกไว้ในหนังสือดั้งเดิมของอินเดียบางเรื่อง สิ่งนี้พิสูจน์ได้จากสิ่งแวดล้อมข้วงเคียงว่า เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)คือจุดทางสี่แยกของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการบูชาสักการะอย่างสูงสุดต่อ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ยังคัดเลือกพระภิกษุในท้องถิ่นหลายแห่งใน เกาชาง(Gaochang高昌)ให้เป็นนักเรียนและคนรับใช้ นิสัยปกิบัติในการรับลูกศิษย์ไปตลอดทางนี้ กลายเป็นต้นแบบทางประวัติศาสตร์สำหรับทีมอาจารย์และลูกศิษย์ของภิกษุราชวงศ์ถัง(唐)ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน "บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก(Journey to the West西游记)" แม้ว่ากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)จะชื่นชมพรสวรรค์และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เขาถึงกับมีความคิดหน่วงรั้งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้ที่เกาชาง(Gaochang高昌)ด้วยซ้ำ และขอให้ประทับอยู่ที่นี่ตลอดไป แสดงธรรมสั่งสอนให้ความรู้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป จนกระทั่งเป็นพระอาจารย์ระดับชาติของ เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เห็นด้วยเพราะมีตวามเห็นว่าเรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่กว่า กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)เห็นว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) มีความมุ่งมั่นดังนั้นเขาจึงจำต้องโยนไพ่ตายทางเลือกสุดท้ายของเขาออกไป: 🥸ถ้าพระคุณท่านไม่ปรารถนาอยู่ในเกาชาง(Gaochang高昌) ข้าพระเจ้าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากส่งท่านอาจารย์กลับไปทางทิศตะวันออก🥸

    เมื่อต้องเผชิญกับกลยุทธ์ไม้แข็งและไม้อ่อนร่วมกันของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) กล่าวด้วยท่าทีที่ไม่ถ่อมตัวหรือหยิ่งผยองว่า: 🥸พระองค์สามารถจะเพียงได้รับกระดูกของอาตมาเอาไว้ได้ แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดยั้งความตั้งใจของอาตมาที่จะไปทางตะวันตกได้🥸

    😎หนทางเบื้องหน้าอันยาวไกล😎

    🥸ด้วยเหตุนี้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) จึงอดอาหารเป็นเวลาสามวันเพื่อแสดงความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตก🥸 ในฐานะเป็นอาณาจักรในภูมิภาคตะวันตกที่นับถือศาสนาพุทธ หากมีพระภิกษุที่แสวงหาธรรมะมาอดอยากจนตายภายในดินแดนของตน ชื่อเสียงสู่ภายนอกของเกาชาง(Gaochang高昌)ในภูมิภาคตะวันตกจะเสียหายอย่างมาก และเขาจะพลอยได้รับชื่อเสียงเสื่อมเสียงจากการทำร้ายพระภิกษุที่มีชื่อเสียงด้วย ยิ่งไปกว่านั้นความจริงแล้ว การขัดขวางการเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตกของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ด้วยเพื่อความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวของเขาเองก็เป็นการขัดแย้งกับความตั้งใจเดิมของเขา

    🥸เมื่อเขาคิดมาถึง ณ จุดนี้ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ก้มหัวให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เพื่อขอโทษ🥸 ความคิดที่เห็นแก่ตัวของเขาที่มีต่อเกาชาง(Gaochang高昌) ก็ถูกขจัดออกไปในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นมีเมตตาที่จะช่วยสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกันกับขณะที่รู้สึกประทับใจกับความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะแสวงหาธรรมะโดยปราศจากสิ่งภายนอกมาบั่นทอนความตั้งใจ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ได้สาบานต่อฟ้าดินสัญญาเป็นพี่น้องกัน ภายใต้การอุปถัมภ์จากแม่ของแผ่นดินเจ้าจอมมารดา จาง(张太妃) เพื่อให้พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เดินทางไปถึงอินเดียได้อย่างราบรื่น กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) ทรงสั่งการให้จัดทีมงานเล็กๆ ประกอบด้วยม้า 30 ตัว พนักงานข้าราชการเกาชาง(Gaochang高昌)1 คน ผู้ติดตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 25 คน และพระภิกษุหนุ่ม 4 รูป เพื่อดูแลเรื่องอาหาร เสื้อผ้า และชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมหน้ากากและหมวกพิเศษสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สำหรับการเดินทางผ่านภูเขาและทะเลทรายที่เต็มไปด้วยหิมะ รวมถึงเสื้อคลุมสำหรับพระสงฆ์ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับเขตภูมิอากาศต่างๆ จัดทหารม้าขนนำทองคำ เงิน และผ้าไหมจำนวนมากไว้สำหรับการครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เพียงแต่จะไม่ต้องทนทุกข์จากความหิวโหยระหว่างทางไปอินเดียเท่านั้น แต่ยังมีเงินเพียงพอที่จะทำทานอีกด้วย ในสิ่งแต่งเคิมเหล่านี้เป็นรายละเอียดด้านที่อ่อนโยนของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่มีต่ออัครสาวก

    🥸นอกจากทรัพย์สินแล้ว เนื่องจากเจ้าผู้ครองแคว้นตะวันตกในขณะนั้น คือ ข่านเตอร์กตะวันตก(西突厥)ได้สมรสกับราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ยังมีจดหมายแสดงความเคารพที่กษัตริย์แห่งเกาชาง(Gaochang高昌)มอบให้กับข่านแห่งเติร์กตะวันตก(西突厥) อธิบายถึงความตั้งใจของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะไปทางดินแดนแคว้นตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะ🥸 ภายใต้การคุ้มครองของเตอร์กข่านตะวันตก (西突厥) ทุกประเทศในภูมิภาคตะวันตกตลอดเส้นทางให้ความเคารพแก่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) และให้การสนับสนุนทางทหารที่เข้มแข็งและมีควาทปลอดภัยที่สุดสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)และคณะเดินทางของเขา และจดหมายแสดงความเคารพของกษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ถึงพระมหากษัตริย์ของยี่สิบสี่ประเทศในภูมิภาคตะวันตกจะช่วยให้การเดินทางของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก

    🥸ในช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการอำลาอาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌) บรรดาราชวงศ์และชาวเกาชาง(Gaochang高昌)ก็ออกจากเมืองเพื่อส่งอำลา🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สัญญาว่า เมื่อเดินทางผ่านเกาชาง(Gaochang高昌)หลังจากกลับจากการศึกษาในอินเดียจะแสดงเทศนาธรรมอีก จากนั้นเขาก็กล่าวคำอำลากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ด้วยน้ำตา พวกบรรดาราชวงศ์ เกาชาง(Gaochang高昌)เจ้าหน้าที่และประชาชนชาวพุทธต่างพากันออกจากเมืองส่งเสียงอำลาดังลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งถิ่น ราวกับว่ามือแห่งโชคชะตาได้ฉีกหัวใจและจิตวิญญาณออกจากร่างกายของชาวเกาชาง(Gaochang高昌) ทำให้พวกเขาสูญเสียสมบัติของชาติไปตลอดกาล

    บรรดาพวกราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ส่งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ออกไปนอกเมืองหลายสิบลี้ แม้ว่าพระภิกษุสมณเพศจะมองเห็นบรรลุแล้วการจากแยกอำลาในทางโลกแล้วก็ตาม แต่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ผู้ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนและยังคงเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็ยังมีอารมณ์อ่อนไหวมาก เขาขอบคุณต่ออาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌)อย่างสุดซึ้งอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนอย่างมีน้ำใจ ราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังจับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง ร่ำไห้ราวกับสายฝนกล่าวว่า 🥸ในเมื่อพระคุณท่านถือเป็นพี่น้องกัน สัตว์พาหนะต่าง ๆ ในประเทศก็มีเจ้าของคนเดียวกัน แล้วเหตุใดจึงต้องขอบคุณพวกเขาด้วย?🥸

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ตอบว่า: 🥸ฉันจะไม่มีวันลืมความเมตตาของเสด็จพี่ตลอดชีวิตของอาตมา ในวันที่อาตมากลับจากนำพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากลับมา อาตมาจะอยู่สอนธรรมะในเกาชาง(Gaochang高昌)เป็นเวลาสามปีเป็นการตอบแทน!🥸

    หลายปีต่อมาในฉางอาน(长安) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าประทับใจนี้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากให้เหล่าสาวกฟัง มิตรภาพฉันท์พี่น้องที่มีต่อราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังคงเกินคำบรรยาย ดูเหมือนราวกับว่าพิธีอำลาที่หรูหราและยิ่งใหญ่นั้นได่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง ตอนนั้นเขาไม่รู้ 🥸นี่ยังจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้พบกับพี่ชายร่วมสาบานของเขา🥸

    🥳โปรดติดตามบทความ#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 02.
    #อาณาจักรคาราซาห์และคูชาที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 01.🤠 😎#ออกจากประตูหยก😎 🥸การเดินทางของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปทางทิศตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะนั้นเป็นการกระทำส่วนตัวโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางการ แต่ด้วยเหตุนี้ มุมมองของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่มีต่อภูมิภาคตะวันตกจึงมีความเป็นพลเรือนมากกว่า เป็นกลางมากกว่า และเป็นจริงมากกว่า🥸 🥸ต่อไปนี้เชิญท่านมาเผชิญหน้ากับท่ามกลางท้องฟ้าอันเต็มไปด้วยลมและทราย เดินย่ำเหยียบฝ่าหมอกควันทะเลทราย เริ่มต้นเข้าร่วมกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ในการเดินทางอันน่ามหัศจรรย์ของเขาเพื่อร่างขอบเขตดินแดนของภูมิภาคตะวันตก🥸 😎ออกจากประตูหยก(玉门)ไปทางทิศตะวันตก 😎 🥸ในปีคริสตศักราช 629 ภัยพิบัติน้ำแข็งเกิดขึ้นในพื้นที่กวนจง(关中) ราชวงศ์ถัง(唐)ออกคำสั่งให้พระภิกษุและฆราวาสในพื้นที่ คยองกี(Gyeonggi京畿) ย้ายไปยังสถานที่อื่นเพื่อหาอาหารและหลีกเลี่ยงหลบหนีจากความอดอยาก พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ซึ่งแต่เดิมต้องการออกจากด่านทางผ่าน แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากราชสำนักจึงใช้โอกาสนี้ออกจากฉางอาน(长安)🥸 เขาเดินทางผ่านหลานโจว(兰州)และเหลียงโจว(凉州) เขาหลีกเลี่ยงการติดตามจัยกุมของทางการโดยการเดินทางเวลากลางคืนและพักเวลากลางวัน ต่อมา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เสี่ยงภัยเดินทางผ่าน กวัวโจว(瓜州) และ อวี้เหมินกวน(Yumen Pass玉门关) ผ่านหอคอยสัญญาณไฟ 5 แห่งที่มีกองทหารคุ้มกันตามลำดับรายทาง ด้วยความช่วยเหลือจากทหารรักษาชายแดนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ข้ามทะเลทรายโกบีด้วยพลังแห่งความศรัทธาและความอุตสาหะอย่างแรงกล้าก่อนจะไปถึงอีหวู(伊吾) และเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตก 🥸สถานีแรกของการเดินทาง อีหวู(伊吾) ได้มีการส่งมอบการมาถึงอย่างกะทันหันของพระภิกษุให้กับเกาชาง(Gaochang高昌) (ปัจจุบันคือเมืองถูหลู่ฟาน(Turfan 吐鲁番) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์(Xinjiang Uygur Autonomous Region 新疆维吾尔自治区)) เจ้าเหนือหัวองค์น้อยทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตกในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ริมแอ่งถูหลู่ฟาน(Turfan Depression吐鲁番盆地)🥸 🥸หลังจากได้ยินข่าวว่า พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)มาถึงแล้ว กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) เสนาบดี และสาวใช้ออกมาจากพระราชวังในเวลากลางคืน ทรงจุดเทียน และเข้าแถวเพื่อต้อนรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เข้าสู่พระราชวังด้วยความเคารพ🥸 หลังจากเห็น พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) แล้ว ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ดีใจมากและบอกกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ว่า: นับตั้งแต่ฉันรู้ชื่ออาจารย์ ฉันมีความสุขมากจนลืมกินลืมนอน ฉันรู้ว่าพระภิกษุผู้แสวงธรรมจากตะวันออกจะมาคืนนี้ ฉันก็เลยพร้อมกับพระราชินีและเจ้าชายทรงพากันสวดมนต์ตลอดทั้งคืนรอการมาถึงของพระอาจารย์ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ถูกจัดให้อยู่ที่สนามหลวงทางพิธีกรรมของศาสนาถัดจากพระราชวังกษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) และจัดขันทีให้ดูแลอาหารและชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) รัฐเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)เป็นนครรัฐที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก และถูกปกครองโดยผู้รอดชีวิตจากราชวงศ์ฮั่น(汉)และเว่ย(魏) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่รวมหู(胡)และฮั่น(汉)เข้าด้วยกัน ในบรรดาพลเมืองนั้น ไม่เพียงแต่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่น(汉)เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนจากภูมิภาคตะวันตกด้วย เช่น ชาวซ็อกเดียน(Sogdians粟特) ชาวซานซาน(Shanshan鄯善人)และชาวเติร์ก(Turks突厥人) 🥸ก่อนที่ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)จะมาถึง ประเทศนี้ก็ก่อตั้งขึ้นที่นั่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เขารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พบว่าข้อมูลจำเพาะของเมืองที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเมืองฉางอัน(长安)ในราชวงศ์ซุย(隋)และราชวงศ์ถัง(唐)มาก นอกจากนี้ยังมีรูปของ ดยุคไอแห่งหลู่(鲁哀公)สอดถามขงจื๊อ(孔子)เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่แขวนอยู่ในพระราชวังของอาณาจักร เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)🥸 😎การต้อนรับด้วยมารยาทอันสูงส่ง😎 🥸ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และบิดาของเขาเดินทางไปยังราชวงศ์สุย(隋)ในยุครุ่งเรืองเพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิสุยหยางตี้(隋炀帝)🥸 เขาไม่เพียงแต่เดินทางไปยังฉางอาน(长安) ล่อหยาง(洛阳) เฝินหยาง(汾阳) เอี้ยนตี้(燕地) ไต้ตี้(代地) และเมืองสำคัญอื่นๆ และได้เห็นวัฒนธรรมฮั่น(汉)ของที่ราบตอนกลางดั้งเดิม แต่เขายังไปเยี่ยมคารวะพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงและผู้มีคุณธรรมอีกมากมาย และเขาก็ชื่นชมที่ราบภาคกลางที่เป็นบ้านเกิดทางวัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างมาก แต่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)รู้สึกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงในอดีตของราชวงศ์ซุย ความฉลาดสามารถของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)นั้นเหนือกว่ามาก เมื่อใดก็ตามที่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)บรรยายธรรมแก่ขุนนางของเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ในเต็นท์ใหญ่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ถือกระถางธูปเพื่อเคลียร์นำทางให้พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงด้วยตนเอง เมื่อพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปที่แท่นธรรมาสน์เพื่อขึ้นเทศนาธรรม กษัตริย์แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ถึงกับคุกเข่าโน้มตัวลง และทำหน้าที่เป็นบันไดให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ก้าวขึ้นแท่นธรรมาสน์ การปฏิบัตินี้ไม่สอดคล้องกับประเพณีตะวันออก แต่ก็มีบันทึกไว้ในหนังสือดั้งเดิมของอินเดียบางเรื่อง สิ่งนี้พิสูจน์ได้จากสิ่งแวดล้อมข้วงเคียงว่า เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)คือจุดทางสี่แยกของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการบูชาสักการะอย่างสูงสุดต่อ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ยังคัดเลือกพระภิกษุในท้องถิ่นหลายแห่งใน เกาชาง(Gaochang高昌)ให้เป็นนักเรียนและคนรับใช้ นิสัยปกิบัติในการรับลูกศิษย์ไปตลอดทางนี้ กลายเป็นต้นแบบทางประวัติศาสตร์สำหรับทีมอาจารย์และลูกศิษย์ของภิกษุราชวงศ์ถัง(唐)ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน "บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก(Journey to the West西游记)" แม้ว่ากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)จะชื่นชมพรสวรรค์และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เขาถึงกับมีความคิดหน่วงรั้งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้ที่เกาชาง(Gaochang高昌)ด้วยซ้ำ และขอให้ประทับอยู่ที่นี่ตลอดไป แสดงธรรมสั่งสอนให้ความรู้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป จนกระทั่งเป็นพระอาจารย์ระดับชาติของ เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เห็นด้วยเพราะมีตวามเห็นว่าเรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่กว่า กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)เห็นว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) มีความมุ่งมั่นดังนั้นเขาจึงจำต้องโยนไพ่ตายทางเลือกสุดท้ายของเขาออกไป: 🥸ถ้าพระคุณท่านไม่ปรารถนาอยู่ในเกาชาง(Gaochang高昌) ข้าพระเจ้าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากส่งท่านอาจารย์กลับไปทางทิศตะวันออก🥸 เมื่อต้องเผชิญกับกลยุทธ์ไม้แข็งและไม้อ่อนร่วมกันของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) กล่าวด้วยท่าทีที่ไม่ถ่อมตัวหรือหยิ่งผยองว่า: 🥸พระองค์สามารถจะเพียงได้รับกระดูกของอาตมาเอาไว้ได้ แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดยั้งความตั้งใจของอาตมาที่จะไปทางตะวันตกได้🥸 😎หนทางเบื้องหน้าอันยาวไกล😎 🥸ด้วยเหตุนี้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) จึงอดอาหารเป็นเวลาสามวันเพื่อแสดงความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตก🥸 ในฐานะเป็นอาณาจักรในภูมิภาคตะวันตกที่นับถือศาสนาพุทธ หากมีพระภิกษุที่แสวงหาธรรมะมาอดอยากจนตายภายในดินแดนของตน ชื่อเสียงสู่ภายนอกของเกาชาง(Gaochang高昌)ในภูมิภาคตะวันตกจะเสียหายอย่างมาก และเขาจะพลอยได้รับชื่อเสียงเสื่อมเสียงจากการทำร้ายพระภิกษุที่มีชื่อเสียงด้วย ยิ่งไปกว่านั้นความจริงแล้ว การขัดขวางการเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตกของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ด้วยเพื่อความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวของเขาเองก็เป็นการขัดแย้งกับความตั้งใจเดิมของเขา 🥸เมื่อเขาคิดมาถึง ณ จุดนี้ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ก้มหัวให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เพื่อขอโทษ🥸 ความคิดที่เห็นแก่ตัวของเขาที่มีต่อเกาชาง(Gaochang高昌) ก็ถูกขจัดออกไปในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นมีเมตตาที่จะช่วยสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกันกับขณะที่รู้สึกประทับใจกับความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะแสวงหาธรรมะโดยปราศจากสิ่งภายนอกมาบั่นทอนความตั้งใจ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ได้สาบานต่อฟ้าดินสัญญาเป็นพี่น้องกัน ภายใต้การอุปถัมภ์จากแม่ของแผ่นดินเจ้าจอมมารดา จาง(张太妃) เพื่อให้พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เดินทางไปถึงอินเดียได้อย่างราบรื่น กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) ทรงสั่งการให้จัดทีมงานเล็กๆ ประกอบด้วยม้า 30 ตัว พนักงานข้าราชการเกาชาง(Gaochang高昌)1 คน ผู้ติดตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 25 คน และพระภิกษุหนุ่ม 4 รูป เพื่อดูแลเรื่องอาหาร เสื้อผ้า และชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมหน้ากากและหมวกพิเศษสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สำหรับการเดินทางผ่านภูเขาและทะเลทรายที่เต็มไปด้วยหิมะ รวมถึงเสื้อคลุมสำหรับพระสงฆ์ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับเขตภูมิอากาศต่างๆ จัดทหารม้าขนนำทองคำ เงิน และผ้าไหมจำนวนมากไว้สำหรับการครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เพียงแต่จะไม่ต้องทนทุกข์จากความหิวโหยระหว่างทางไปอินเดียเท่านั้น แต่ยังมีเงินเพียงพอที่จะทำทานอีกด้วย ในสิ่งแต่งเคิมเหล่านี้เป็นรายละเอียดด้านที่อ่อนโยนของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่มีต่ออัครสาวก 🥸นอกจากทรัพย์สินแล้ว เนื่องจากเจ้าผู้ครองแคว้นตะวันตกในขณะนั้น คือ ข่านเตอร์กตะวันตก(西突厥)ได้สมรสกับราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ยังมีจดหมายแสดงความเคารพที่กษัตริย์แห่งเกาชาง(Gaochang高昌)มอบให้กับข่านแห่งเติร์กตะวันตก(西突厥) อธิบายถึงความตั้งใจของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะไปทางดินแดนแคว้นตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะ🥸 ภายใต้การคุ้มครองของเตอร์กข่านตะวันตก (西突厥) ทุกประเทศในภูมิภาคตะวันตกตลอดเส้นทางให้ความเคารพแก่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) และให้การสนับสนุนทางทหารที่เข้มแข็งและมีควาทปลอดภัยที่สุดสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)และคณะเดินทางของเขา และจดหมายแสดงความเคารพของกษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ถึงพระมหากษัตริย์ของยี่สิบสี่ประเทศในภูมิภาคตะวันตกจะช่วยให้การเดินทางของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก 🥸ในช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการอำลาอาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌) บรรดาราชวงศ์และชาวเกาชาง(Gaochang高昌)ก็ออกจากเมืองเพื่อส่งอำลา🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สัญญาว่า เมื่อเดินทางผ่านเกาชาง(Gaochang高昌)หลังจากกลับจากการศึกษาในอินเดียจะแสดงเทศนาธรรมอีก จากนั้นเขาก็กล่าวคำอำลากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ด้วยน้ำตา พวกบรรดาราชวงศ์ เกาชาง(Gaochang高昌)เจ้าหน้าที่และประชาชนชาวพุทธต่างพากันออกจากเมืองส่งเสียงอำลาดังลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งถิ่น ราวกับว่ามือแห่งโชคชะตาได้ฉีกหัวใจและจิตวิญญาณออกจากร่างกายของชาวเกาชาง(Gaochang高昌) ทำให้พวกเขาสูญเสียสมบัติของชาติไปตลอดกาล บรรดาพวกราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ส่งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ออกไปนอกเมืองหลายสิบลี้ แม้ว่าพระภิกษุสมณเพศจะมองเห็นบรรลุแล้วการจากแยกอำลาในทางโลกแล้วก็ตาม แต่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ผู้ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนและยังคงเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็ยังมีอารมณ์อ่อนไหวมาก เขาขอบคุณต่ออาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌)อย่างสุดซึ้งอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนอย่างมีน้ำใจ ราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังจับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง ร่ำไห้ราวกับสายฝนกล่าวว่า 🥸ในเมื่อพระคุณท่านถือเป็นพี่น้องกัน สัตว์พาหนะต่าง ๆ ในประเทศก็มีเจ้าของคนเดียวกัน แล้วเหตุใดจึงต้องขอบคุณพวกเขาด้วย?🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ตอบว่า: 🥸ฉันจะไม่มีวันลืมความเมตตาของเสด็จพี่ตลอดชีวิตของอาตมา ในวันที่อาตมากลับจากนำพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากลับมา อาตมาจะอยู่สอนธรรมะในเกาชาง(Gaochang高昌)เป็นเวลาสามปีเป็นการตอบแทน!🥸 หลายปีต่อมาในฉางอาน(长安) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าประทับใจนี้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากให้เหล่าสาวกฟัง มิตรภาพฉันท์พี่น้องที่มีต่อราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังคงเกินคำบรรยาย ดูเหมือนราวกับว่าพิธีอำลาที่หรูหราและยิ่งใหญ่นั้นได่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง ตอนนั้นเขาไม่รู้ 🥸นี่ยังจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้พบกับพี่ชายร่วมสาบานของเขา🥸 🥳โปรดติดตามบทความ#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 02. #อาณาจักรคาราซาห์และคูชาที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 763 มุมมอง 0 รีวิว