• ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหากใครได้ขับรถไปทางเส้นสุขุมวิท บริเวณจุดเชื่อมต่อระยอง – จันทบุรี เราอาจได้เห็นล้งทุเรียนมากมายริมถนนสุขุมวิท และยิ่งใครได้เดินทางมาช่วงมีนาคม – เมษายน ก็จะได้สัมผัสประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยรถขนทุเรียนรายล้อม ล้งทุเรียนที่คึกคักตลอดวันตลอดคืน หรือแม้แต่การชิงตัดราคากันบนถนนระหว่างรถจอดติดไฟแดงเอง ก็เป็นเหตุการณ์ที่คนในพื้นที่คุ้นเคยกันดี หรือหลายคนอาจจะเคยได้ยินอย่างอาชีพคนวิ่งทุเรียนย้อนกลับไปก่อนการเฟื่องฟูของล้งทุเรียนที่หมายถึงพ่อค้าคนกลางที่เป็นเหมือนโรงคัดแยกและบรรจุทุเรียนเพื่อส่งไปขายต่อ จริงๆ แล้ว ‘ล้ง’ นั้นถูกใช้งานกับการเป็นพ่อค้าคนกลางสำหรับผลไม้ประเภทอื่นๆ ด้วยจากข้อมูลในรายงานศึกษา ได้ชี้ให้เห็นตัวเลขว่า ก่อนปี พ.ศ. 2550 ทุเรียนส่วนใหญ่ยังเน้นบริโภคในประเทศ โดยส่งออกน้อยกว่า 30% ของผลผลิตทั้งหมด แต่หลังปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา เมื่อเริ่มมีความต้องการจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ทำให้ล้งเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยแรกเริ่มมีล้งของคนไทย ล้งของคนจีน และล้งของคนเวียดนาม จนกระทั่งตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 70% ของผลผลิตทั้งหมด นำไปสู่การเปลี่ยนวิถีการขายทุเรียนที่เน้นเหมาสวนส่งให้ล้ง มีนายหน้าตกลงราคาก่อนผลผลิตจะออกผลและส่งขายโดยข้อมูลในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แสดงสถิติไว้ว่า ล้งที่ส่งออกไปขายที่จีนทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 2,122 ราย หากสโคปลงมาที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออกแบ่งเป็น จันทบุรี 909 ราย ระยอง 50 ราย และตราด 29 ราย รวมเป็น 988 ราย หรือคิดเป็น 42.84% ของจำนวนล้งทั้งประเทศแต่นี่เป็นเพียงตัวเลขที่มีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานรัฐเท่านั้น เพราะตามรายงานศึกษาของ Land Watch และ EEC Watch พบว่า ในการรายงานข่าวจากสำนักข่าว ThaiPBS ได้ลงพื้นที่สอบถามเจ้าของสวนทุเรียน และพบว่าจำนวนล้งใน 3 จังหวัด จันทบุรี ระยอง ตราด นั้นมีมากกว่า 1,200 ล้งในรายงานศึกษายังได้อธิบายรูปแบบการทำธุรกิจของล้ง โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ ล้งจีน ล้งไทย และล้งไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างชาติ (ซึ่งก็คือจีน) โดยในรูปแบบที่เป็นการร่วมทุน จะมาในลักษณะของ ทุนต่างชาติเป็นผู้ลงเงิน ส่วนคนไทยจะเป็นคนจัดหาลูกทุเรียน และจัดการเรื่องส่งออกโดยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในพื้นที่กรณีศึกษา พบว่า ล้งที่เป็นการร่วมทุนจะตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี ในขณะที่ล้งจีน 100% จะพบได้ที่อำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ทุนหมุนเวียนวันละไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท โดยใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกมีการคาดการณ์ว่ามีล้งจีนกว่า 600 ล้ง ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร แต่ก็ยังมีที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกมากเช่นกันในขณะที่ล้งไทยส่วนใหญ่ จะเป็นคนมีตำแหน่งอย่างผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน โดยจะเป็นพ่อค้าคนกลางส่งต่อให้กับบริษัทส่งออกของจีนอีกทอดหนึ่ง และมักใช้วิธีการซื้อผ่านการ ‘เกี๊ยว’ หรือมัดจำเอาไว้กับสวนทุเรียนตั้งแต่ช่วงออกดอกหรือที่เรียกว่าช่วง หางแย้ โดยอาศัยความเป็นคนในพื้นที่ในการมีข้อมูลว่าบ้านไหนทำสวน และล้งไทยจะต้องหาให้ได้ตามดีลที่มักนับหน่วยเป็นเต็ม 1 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 18 ตันปัจจุบันจากรายงานข่าวของ ThaiPBS ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่าในจังหวัดจันทบุรีมีล้งไทยเหลือไม่ถึง 10% ของจำนวนล้งในจันทบุรี ส่วนใหญ่ได้ผันตัวเป็นล้งที่ร่วมทุนระหว่างไทย-จีน ไปแล้วแต่ดูเหมือนว่าแม้ล้งจะเป็นผู้กำหนดราคาคนสำคัญ แต่ทุนจีนมองการณ์ไกลกว่านั้น โดยเริ่มทำล้งที่มีสวนทุเรียนไปด้วยนั่นเอง‘เขา’ มาซื้อสวนทุเรียนจากปลายน้ำอย่างการรับซื้อผลทุเรียน สู่กลางน้ำที่เป็นพ่อค้าคนกลางเองในการเป็นล้ง การทำธุรกิจทุเรียนของจีนได้รุกคืบเข้ามาในอุตสาหกรรมทุเรียนของไทยสู่ต้นน้ำ หรือคือการเป็นผู้ผลิตเสียเอง โดยเริ่มมีการครอบครองสวนทุเรียนโดยทุนจีน ซึ่งจากรายงานศึกษานี้พบว่ากลุ่มทุนจีนที่มาทำธุรกิจล้งทุเรียนมักเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่มาซื้อสวนทุเรียนและทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะมีผลผลิตสำหรับการส่งออกที่เพียงพอ แต่อีกเหตุผลที่สำคัญกว่าก็คือการทำกำไรมหาศาล เนื่องจากสามารถกำหนดราคาได้เอง และควบคุมตลาดได้เบ็ดเสร็จโดยในรายงานศึกษาได้นำเสนอวิธีการครอบครองที่ดินของทุนจีน โดยพื้นที่ที่ทุนจีนเล็งไว้มักมีลักษณะที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเนื่องจากทุเรียนต้องใช้น้ำจำนวนมากในการดูแล นอกจากนี้ทุนจีนมักไม่สนใจที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เนื่องจากมีราคาสูง แต่มักเลือกที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เช่นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติซึ่งการเริ่มต้นเข้าไปครอบครองทำสวนทุเรียนจะเริ่มจากมีนายหน้าคนไทยที่คอยเป็นนอมินีให้ทุนจีนโพสต์ตามหาที่ดินตามกบุ่มซื้อ-ขายที่ดินในโซเชียลมีเดีย และมีนายหน้าคนไทยเข้ามาคอมเมนต์เสนอขายที่ดิน ซึ่งนายหน้าที่มาขายที่ดินส่วนใหญ่ก็มักเป็นผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนันที่รู้จักพื้นที่เป็นอย่างดีหลังจากได้ข้อมูลที่ดินก็จะมีการนัดแนะ และคนจีนจะเข้าไปดูพื้นที่และตัดสินใจด้วยตัวเองทันทีไม่ผ่านนายหน้า โดยมีข้อสังเกตว่าบางครั้งในการซื้อขายบนโซเชียลมีเดียเอง ก็อาจเป็นคนจีนที่ใช้แอคเคาต์อวตารเป็นคนไทยเพื่อลดค่าใช้จ่ายผ่านนายหน้า ซึ่งที่ดินที่ทุนจีนสนใจมักเป็นสวนที่ต้นทุเรียนให้ผลผลิตแล้ว หลังจากถูกใจในที่ดินก็มีการตกลงซื้อขาย ทำสัญญาเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ มีทนายมาร่วมในกระบวนการ โดยจะดำเนินการทำสัญญาที่บ้านของผู้ใหญ่บ้าน และมีผู้ใหญ่บ้านเป็นพยาน เพื่อเป็นหลักประกันว่าที่ดินนี้เชื่อถือได้ โดยผู้ใหญ่บ้านก็จะได้รับเงินในการทำสัญญาครั้งละ 3,000 – 5,000 บาทhttps://epigramnews.co/environment/cross-border-land-acquisition-by-chinese-capital/
    ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหากใครได้ขับรถไปทางเส้นสุขุมวิท บริเวณจุดเชื่อมต่อระยอง – จันทบุรี เราอาจได้เห็นล้งทุเรียนมากมายริมถนนสุขุมวิท และยิ่งใครได้เดินทางมาช่วงมีนาคม – เมษายน ก็จะได้สัมผัสประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยรถขนทุเรียนรายล้อม ล้งทุเรียนที่คึกคักตลอดวันตลอดคืน หรือแม้แต่การชิงตัดราคากันบนถนนระหว่างรถจอดติดไฟแดงเอง ก็เป็นเหตุการณ์ที่คนในพื้นที่คุ้นเคยกันดี หรือหลายคนอาจจะเคยได้ยินอย่างอาชีพคนวิ่งทุเรียนย้อนกลับไปก่อนการเฟื่องฟูของล้งทุเรียนที่หมายถึงพ่อค้าคนกลางที่เป็นเหมือนโรงคัดแยกและบรรจุทุเรียนเพื่อส่งไปขายต่อ จริงๆ แล้ว ‘ล้ง’ นั้นถูกใช้งานกับการเป็นพ่อค้าคนกลางสำหรับผลไม้ประเภทอื่นๆ ด้วยจากข้อมูลในรายงานศึกษา ได้ชี้ให้เห็นตัวเลขว่า ก่อนปี พ.ศ. 2550 ทุเรียนส่วนใหญ่ยังเน้นบริโภคในประเทศ โดยส่งออกน้อยกว่า 30% ของผลผลิตทั้งหมด แต่หลังปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา เมื่อเริ่มมีความต้องการจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ทำให้ล้งเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยแรกเริ่มมีล้งของคนไทย ล้งของคนจีน และล้งของคนเวียดนาม จนกระทั่งตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 70% ของผลผลิตทั้งหมด นำไปสู่การเปลี่ยนวิถีการขายทุเรียนที่เน้นเหมาสวนส่งให้ล้ง มีนายหน้าตกลงราคาก่อนผลผลิตจะออกผลและส่งขายโดยข้อมูลในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แสดงสถิติไว้ว่า ล้งที่ส่งออกไปขายที่จีนทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 2,122 ราย หากสโคปลงมาที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออกแบ่งเป็น จันทบุรี 909 ราย ระยอง 50 ราย และตราด 29 ราย รวมเป็น 988 ราย หรือคิดเป็น 42.84% ของจำนวนล้งทั้งประเทศแต่นี่เป็นเพียงตัวเลขที่มีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานรัฐเท่านั้น เพราะตามรายงานศึกษาของ Land Watch และ EEC Watch พบว่า ในการรายงานข่าวจากสำนักข่าว ThaiPBS ได้ลงพื้นที่สอบถามเจ้าของสวนทุเรียน และพบว่าจำนวนล้งใน 3 จังหวัด จันทบุรี ระยอง ตราด นั้นมีมากกว่า 1,200 ล้งในรายงานศึกษายังได้อธิบายรูปแบบการทำธุรกิจของล้ง โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ ล้งจีน ล้งไทย และล้งไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างชาติ (ซึ่งก็คือจีน) โดยในรูปแบบที่เป็นการร่วมทุน จะมาในลักษณะของ ทุนต่างชาติเป็นผู้ลงเงิน ส่วนคนไทยจะเป็นคนจัดหาลูกทุเรียน และจัดการเรื่องส่งออกโดยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในพื้นที่กรณีศึกษา พบว่า ล้งที่เป็นการร่วมทุนจะตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี ในขณะที่ล้งจีน 100% จะพบได้ที่อำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ทุนหมุนเวียนวันละไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท โดยใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกมีการคาดการณ์ว่ามีล้งจีนกว่า 600 ล้ง ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร แต่ก็ยังมีที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกมากเช่นกันในขณะที่ล้งไทยส่วนใหญ่ จะเป็นคนมีตำแหน่งอย่างผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน โดยจะเป็นพ่อค้าคนกลางส่งต่อให้กับบริษัทส่งออกของจีนอีกทอดหนึ่ง และมักใช้วิธีการซื้อผ่านการ ‘เกี๊ยว’ หรือมัดจำเอาไว้กับสวนทุเรียนตั้งแต่ช่วงออกดอกหรือที่เรียกว่าช่วง หางแย้ โดยอาศัยความเป็นคนในพื้นที่ในการมีข้อมูลว่าบ้านไหนทำสวน และล้งไทยจะต้องหาให้ได้ตามดีลที่มักนับหน่วยเป็นเต็ม 1 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 18 ตันปัจจุบันจากรายงานข่าวของ ThaiPBS ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่าในจังหวัดจันทบุรีมีล้งไทยเหลือไม่ถึง 10% ของจำนวนล้งในจันทบุรี ส่วนใหญ่ได้ผันตัวเป็นล้งที่ร่วมทุนระหว่างไทย-จีน ไปแล้วแต่ดูเหมือนว่าแม้ล้งจะเป็นผู้กำหนดราคาคนสำคัญ แต่ทุนจีนมองการณ์ไกลกว่านั้น โดยเริ่มทำล้งที่มีสวนทุเรียนไปด้วยนั่นเอง‘เขา’ มาซื้อสวนทุเรียนจากปลายน้ำอย่างการรับซื้อผลทุเรียน สู่กลางน้ำที่เป็นพ่อค้าคนกลางเองในการเป็นล้ง การทำธุรกิจทุเรียนของจีนได้รุกคืบเข้ามาในอุตสาหกรรมทุเรียนของไทยสู่ต้นน้ำ หรือคือการเป็นผู้ผลิตเสียเอง โดยเริ่มมีการครอบครองสวนทุเรียนโดยทุนจีน ซึ่งจากรายงานศึกษานี้พบว่ากลุ่มทุนจีนที่มาทำธุรกิจล้งทุเรียนมักเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่มาซื้อสวนทุเรียนและทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะมีผลผลิตสำหรับการส่งออกที่เพียงพอ แต่อีกเหตุผลที่สำคัญกว่าก็คือการทำกำไรมหาศาล เนื่องจากสามารถกำหนดราคาได้เอง และควบคุมตลาดได้เบ็ดเสร็จโดยในรายงานศึกษาได้นำเสนอวิธีการครอบครองที่ดินของทุนจีน โดยพื้นที่ที่ทุนจีนเล็งไว้มักมีลักษณะที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเนื่องจากทุเรียนต้องใช้น้ำจำนวนมากในการดูแล นอกจากนี้ทุนจีนมักไม่สนใจที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เนื่องจากมีราคาสูง แต่มักเลือกที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เช่นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติซึ่งการเริ่มต้นเข้าไปครอบครองทำสวนทุเรียนจะเริ่มจากมีนายหน้าคนไทยที่คอยเป็นนอมินีให้ทุนจีนโพสต์ตามหาที่ดินตามกบุ่มซื้อ-ขายที่ดินในโซเชียลมีเดีย และมีนายหน้าคนไทยเข้ามาคอมเมนต์เสนอขายที่ดิน ซึ่งนายหน้าที่มาขายที่ดินส่วนใหญ่ก็มักเป็นผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนันที่รู้จักพื้นที่เป็นอย่างดีหลังจากได้ข้อมูลที่ดินก็จะมีการนัดแนะ และคนจีนจะเข้าไปดูพื้นที่และตัดสินใจด้วยตัวเองทันทีไม่ผ่านนายหน้า โดยมีข้อสังเกตว่าบางครั้งในการซื้อขายบนโซเชียลมีเดียเอง ก็อาจเป็นคนจีนที่ใช้แอคเคาต์อวตารเป็นคนไทยเพื่อลดค่าใช้จ่ายผ่านนายหน้า ซึ่งที่ดินที่ทุนจีนสนใจมักเป็นสวนที่ต้นทุเรียนให้ผลผลิตแล้ว หลังจากถูกใจในที่ดินก็มีการตกลงซื้อขาย ทำสัญญาเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ มีทนายมาร่วมในกระบวนการ โดยจะดำเนินการทำสัญญาที่บ้านของผู้ใหญ่บ้าน และมีผู้ใหญ่บ้านเป็นพยาน เพื่อเป็นหลักประกันว่าที่ดินนี้เชื่อถือได้ โดยผู้ใหญ่บ้านก็จะได้รับเงินในการทำสัญญาครั้งละ 3,000 – 5,000 บาทhttps://epigramnews.co/environment/cross-border-land-acquisition-by-chinese-capital/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 403 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธาน กมธ.ทรัพย์ฯ วุฒิสภา ลงพื้นที่ตราด – จันทบุรี ตรวจสอบการบุกรุกป่า เขาและพื้นที่อ่างเก็บน้ำรวมหลายร้อยไร่ของกลุ่มมนายทุนเพื่อทำสวนทุเรียน แนะเจ้าหน้าที่ป่าไม้-ตำรวจทำสำนวนเอาผิดร้ายแรงเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังก่อนพื้นที่ป่าไม่เหลือถึงลูกหลาน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017671

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ประธาน กมธ.ทรัพย์ฯ วุฒิสภา ลงพื้นที่ตราด – จันทบุรี ตรวจสอบการบุกรุกป่า เขาและพื้นที่อ่างเก็บน้ำรวมหลายร้อยไร่ของกลุ่มมนายทุนเพื่อทำสวนทุเรียน แนะเจ้าหน้าที่ป่าไม้-ตำรวจทำสำนวนเอาผิดร้ายแรงเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังก่อนพื้นที่ป่าไม่เหลือถึงลูกหลาน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017671 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1009 มุมมอง 0 รีวิว
  • ออกซินที่มากเกินไป ทำให้ดอกและผลหลุดร่วง ⚠️ ทุเรียนสร้างอาหารไม่เพียงพอ⚠️ ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ขายไม่ได้ราคา
    ✅อยากได้ทุเรียนเกรดส่งออก ขายได้ราคา ทำอย่างไร‼️ชมคลิปนี้
    เกษตรกรหลายท่านที่กำลังเข้าสู่ช่วงพัฒนาดอกและขยายผล มักพบเจอปัญหาคือออกซินที่มากเกินไปจนทำให้ดอกและผลหลุดร่วง ฮอร์โมนไซโตไคนินเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากช่วยในการเลี้ยงผลทุเรียนจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หากมีฮอร์โมนออกซินมากเกินไป จะทำให้ทุเรียนแตกยอด แต่ถ้ามีออกซินน้อยเกินไปก็จะสังเคราะห์และสร้างอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้เนื้อเยื่อไม่ดีหรือไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพขายไม่ได้ราคา ดังนั้น ไซโตไคนินจึงเป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดในการขยายผลทุเรียน ไซโตไคนินนี้ได้จากกรดอาร์จีนีนในสาหร่ายดำ ซึ่งมีปริมาณไซโตไคนินสูง ยังช่วยลดการหลุดร่วงและอาการขาดอาหารในผลทุเรียน โดยยับยั้งการทำงานของกรดออกซินที่มากเกินไป
    ในช่วงที่อากาศแปรปรวน ซึ่งอาจทำให้ทุเรียนเครียด จึงต้องมีอาหารและพลังงานที่เร่งด่วนคือการเติมกรดอะมิโนเข้าไปฉีดพ่นทุก 7-10 วัน จะช่วยให้พืชใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องรอกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กรดอะมิโนนี้ เช่น อะมิโนโพลีน จะช่วยลดความเครียดของทุเรียน และทำให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง ผลทุเรียนจึงไม่หลุดร่วงและขยายผลได้อย่างมั่นใจดังนั้น การใช้สาหร่ายดำเพื่อเพิ่มไซโตไคนิน และการฉีดพ่นกรดอะมิโนอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผลทุเรียน ลดการหลุดร่วง และทำให้ผลผลิตสวยงาม
    เคล็ดลับที่ชาวสวนทุเรียนมืออาชีพเกรดส่งออกเลือกใช้ เวก้า สาหร่ายอะมิโน มีสาหร่ายที่มีกรดอาจีนีนซึ่งมีปริมาณไซโตไคนินสูง ช่วยลดการหลุดร่วงและอาการขาดอาหารในผลทุเรียน มีอะมิโนที่เป็นอาหารจานด่วนสำหรับพืช
    เวก้า 2 สาหร่ายอะมิโน 1 ลิตร ใช้ได้ 18-20 ไร่
    😍ช่วยพัฒนาดอก ให้สมบูรณ์
    😍เติมอาหารให้ดอกบำรุง ให้สมบูรณ์
    😍ป้องกันการหลุดร่วง ขั้วดอกและผล
    😍ช่วยยับยั้งการทำงานของกรดออกซินที่มากเกินไป
    😍อะมิโนโพลีน จะช่วยลดความเครียดของทุเรียน และทำให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง
    โปรโมชั่นวันนี้
    ✅1 ลิตร ปกติ 650.- ลดพิเศษเพียง 289.- ส่งฟรี
    ✅2 ลิตร ปกติ 1780.- ลดเหลือ 555.- ส่งฟรี
    โปรสุดคุ้ม
    ✅6 ลิตร ปกติ 3900.- ลดเหลือ 1590.- ส่งฟรี
    ✅12 ลิตร ยกลัง ปกติ 7800.- ลดเหลือ 2988.- แถมเสื้อ 1 ตัว ส่งฟรี
    เก็บเงินปลายทางไม่บวกเพิ่ม ส่งฟรีทั่วประเทศ
    ออกซินที่มากเกินไป ทำให้ดอกและผลหลุดร่วง ⚠️ ทุเรียนสร้างอาหารไม่เพียงพอ⚠️ ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ขายไม่ได้ราคา ✅อยากได้ทุเรียนเกรดส่งออก ขายได้ราคา ทำอย่างไร‼️ชมคลิปนี้ เกษตรกรหลายท่านที่กำลังเข้าสู่ช่วงพัฒนาดอกและขยายผล มักพบเจอปัญหาคือออกซินที่มากเกินไปจนทำให้ดอกและผลหลุดร่วง ฮอร์โมนไซโตไคนินเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากช่วยในการเลี้ยงผลทุเรียนจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หากมีฮอร์โมนออกซินมากเกินไป จะทำให้ทุเรียนแตกยอด แต่ถ้ามีออกซินน้อยเกินไปก็จะสังเคราะห์และสร้างอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้เนื้อเยื่อไม่ดีหรือไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพขายไม่ได้ราคา ดังนั้น ไซโตไคนินจึงเป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดในการขยายผลทุเรียน ไซโตไคนินนี้ได้จากกรดอาร์จีนีนในสาหร่ายดำ ซึ่งมีปริมาณไซโตไคนินสูง ยังช่วยลดการหลุดร่วงและอาการขาดอาหารในผลทุเรียน โดยยับยั้งการทำงานของกรดออกซินที่มากเกินไป ในช่วงที่อากาศแปรปรวน ซึ่งอาจทำให้ทุเรียนเครียด จึงต้องมีอาหารและพลังงานที่เร่งด่วนคือการเติมกรดอะมิโนเข้าไปฉีดพ่นทุก 7-10 วัน จะช่วยให้พืชใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องรอกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กรดอะมิโนนี้ เช่น อะมิโนโพลีน จะช่วยลดความเครียดของทุเรียน และทำให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง ผลทุเรียนจึงไม่หลุดร่วงและขยายผลได้อย่างมั่นใจดังนั้น การใช้สาหร่ายดำเพื่อเพิ่มไซโตไคนิน และการฉีดพ่นกรดอะมิโนอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผลทุเรียน ลดการหลุดร่วง และทำให้ผลผลิตสวยงาม เคล็ดลับที่ชาวสวนทุเรียนมืออาชีพเกรดส่งออกเลือกใช้ เวก้า สาหร่ายอะมิโน มีสาหร่ายที่มีกรดอาจีนีนซึ่งมีปริมาณไซโตไคนินสูง ช่วยลดการหลุดร่วงและอาการขาดอาหารในผลทุเรียน มีอะมิโนที่เป็นอาหารจานด่วนสำหรับพืช เวก้า 2 สาหร่ายอะมิโน 1 ลิตร ใช้ได้ 18-20 ไร่ 😍ช่วยพัฒนาดอก ให้สมบูรณ์ 😍เติมอาหารให้ดอกบำรุง ให้สมบูรณ์ 😍ป้องกันการหลุดร่วง ขั้วดอกและผล 😍ช่วยยับยั้งการทำงานของกรดออกซินที่มากเกินไป 😍อะมิโนโพลีน จะช่วยลดความเครียดของทุเรียน และทำให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง โปรโมชั่นวันนี้ ✅1 ลิตร ปกติ 650.- ลดพิเศษเพียง 289.- ส่งฟรี ✅2 ลิตร ปกติ 1780.- ลดเหลือ 555.- ส่งฟรี โปรสุดคุ้ม ✅6 ลิตร ปกติ 3900.- ลดเหลือ 1590.- ส่งฟรี ✅12 ลิตร ยกลัง ปกติ 7800.- ลดเหลือ 2988.- แถมเสื้อ 1 ตัว ส่งฟรี เก็บเงินปลายทางไม่บวกเพิ่ม ส่งฟรีทั่วประเทศ
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระบบน้ำทุเรียนสวนครูเชาว์โชว์ ใช้สปริงเกอร์4หัว และห้ามตีน้ำเข้าโดนโคนต้น #สวนทุเรียน #วัยรุ่นสวนทุเรียน #เกษตรกรยุคใหม่ #สวนครูเชาว์โชว์
    ระบบน้ำทุเรียนสวนครูเชาว์โชว์ ใช้สปริงเกอร์4หัว และห้ามตีน้ำเข้าโดนโคนต้น #สวนทุเรียน #วัยรุ่นสวนทุเรียน #เกษตรกรยุคใหม่ #สวนครูเชาว์โชว์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 343 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย
    .
    เราจะพาไปพิสูจน์ทุเรียนที่ปลูกในเมืองจีน และไปฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรไทยที่ได้ไปดูสวนทุเรียนในประเทศจีน รวมถึงคนไทยที่ได้ลิ้มรสทุเรียนที่ปลูกในเมืองจีนด้วยตัวเองว่า ทุเรียน Made in China จะสามารถท้าแข่งกับทุเรียนไทยได้หรือไม่ ?
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0
    บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย . เราจะพาไปพิสูจน์ทุเรียนที่ปลูกในเมืองจีน และไปฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรไทยที่ได้ไปดูสวนทุเรียนในประเทศจีน รวมถึงคนไทยที่ได้ลิ้มรสทุเรียนที่ปลูกในเมืองจีนด้วยตัวเองว่า ทุเรียน Made in China จะสามารถท้าแข่งกับทุเรียนไทยได้หรือไม่ ? . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 667 มุมมอง 0 รีวิว
  • เที่ยวสวนทุเรียนเช้านี้หมอกลงด้วย
    เที่ยวสวนทุเรียนเช้านี้หมอกลงด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 966 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • เสียงสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ใช้จริงปลูกทุเรียน5ปีต้นเล็ก ‼️แคระเกร็น‼️ ไม่โต‼️ไม่แตกราก‼️ไม่แตกยอด‼️ไม่แตกใบ‼️ ใบเหลือง ‼️ใบตก‼️ใช้สยามเห็นผลจริงเห็นผลเร็ว
    #ธรณีสยาม #นารายณ์พลิกแผ่นดิน #นารายณ์พริกแผ่นดินบิ๊กแจ๊สจัดให้ #ดินเน่าดินเสีย #สารปรับสภาพดิน #ราดเน่าโคตรเน่า #เชื้อรา #ทุเรียน #เกษตร #ชาวสวนทุเรียน
    เสียงสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ใช้จริงปลูกทุเรียน5ปีต้นเล็ก ‼️แคระเกร็น‼️ ไม่โต‼️ไม่แตกราก‼️ไม่แตกยอด‼️ไม่แตกใบ‼️ ใบเหลือง ‼️ใบตก‼️ใช้สยามเห็นผลจริงเห็นผลเร็ว #ธรณีสยาม #นารายณ์พลิกแผ่นดิน #นารายณ์พริกแผ่นดินบิ๊กแจ๊สจัดให้ #ดินเน่าดินเสีย #สารปรับสภาพดิน #ราดเน่าโคตรเน่า #เชื้อรา #ทุเรียน #เกษตร #ชาวสวนทุเรียน
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 854 มุมมอง 67 0 รีวิว
  • ฮอตพอต ซินีมา กินสุกี้ไปดูหนังไป

    ในขณะที่ประเทศไทยกำลังดรามาเรื่อง 9 จังหวัดในประเทศไทยที่ไม่มีโรงภาพยนตร์ อันเนื่องมาจากภาพยนตร์ดรามาแนว LGBTQ เรื่อง วิมาณหนาม ของค่าย GDH ว่าด้วยความรักของชายสองคนที่ถูกแย่งชิงสวนทุเรียน ซึ่งเนื้อเรื่องระบุชื่อ "สวนแม่ฮ่องสอนหมอนทองคำเสก" และใช้จังหวัดตราดสถานที่ถ่ายทำ แต่ก็โยงไปว่าทั้งสองจังหวัดไม่มีโรงภาพยนตร์แม้แต่โรงเดียว

    ที่ประเทศมาเลเซีย มีไวรัลที่โรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา (Dadi Cinema) ชั้น 5 ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล (Pavilion KL) ย่านบูกิต บินตัง (Bukit Bintang) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีการโพสต์ภาพเมื่อวันที่ 24 ส.ค. เป็นการเนรมิตโรงภาพยนตร์ผสมผสานกับเมนูอาหารสุกียากี้ ภายใต้ชื่อ "ฮอตพอต ซินีมา" (Hotpot Cinema) เป็นแห่งแรก ซึ่งจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

    รูปแบบการให้บริการจะมีการเสิร์ฟสุกียากี้ที่ปรุงด้วยน้ำซุปพร้อมกับเนื้อสัตว์และผักต่างๆ ขณะชมภาพยนตร์เรื่องโปรด ซึ่งในภาพจะเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสตาร์พลัส แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ได้โพสต์ภาพดังกล่าวลงบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมของทางโรงภาพยนตร์ ทำให้บรรดาผู้ชมภาพยนตร์ต่างตั้งตารอที่จะใช้บริการ

    อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าจะปรุงและรับประทานสุกียากี้อย่างไรภายในโรงภาพยนตร์ที่มืด อีกความเห็นหนึ่งระบุว่า ดูไม่สะดวกสบาย ถ้าในโรงภาพยนตร์มีหม้อไฟเสิร์ฟ จะทำให้มีสมาธิในการดูภาพยนตร์น้อยลง เพราะจะโฟกัสไปที่การกินมากเกินไป

    สำหรับโรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา เป็นธุรกิจในเครือดาดี้ มีเดีย กลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศจีน ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 มีโรงภาพยนตร์ 2,936 โรง ใน 191 แห่งทั่วประเทศจีน ก่อนที่จะขยายกิจการมายังมาเลเซียเป็นประเทศแรกเมื่อปี 2564 ปัจจุบันมี 2 สาขา ได้แก่ ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล กรุงกัวลาลัมเปอร์ และศูนย์การค้าดาเมน มอลล์ เมืองสุบังจายา รัฐสลังงอร์

    บริการ "ฮอตพอต ซินีมา" ปรากฎครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในเมืองฝัวชาน มณฑลกวางตุ้งของจีน สำนักข่าวเซาต์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (SCMP) รายงานเมื่อเดือน ก.พ. 2567 ว่า ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบัตรชมภาพยนตร์แยกต่างหาก สนนราคาชุด 2 คน 188 หยวน (ประมาณ 900 บาท) ประกอบด้วยอาหารทะเลสด เนื้อวัว และผัก

    แต่ละโต๊ะจะมีเตาแม่เหล็กไฟฟ้า และโคมไฟให้ผู้ชมมองเห็นอาหารและวัตถุดิบ มีหม้อขนาดเล็ก และน้ำซุปที่ใช้มีกลิ่นไม่แรง เพื่อลดผลกระทบต่อประสบการณ์การชมภาพยนตร์ อีกทั้งในโรงภาพยนตร์ยังมีจุดระบายอากาศหลายจุดเพื่อปรับคุณภาพอากาศ และมีระบบป้องกันอัคคีภัยเช่นเดียวกับภัตตาคารทั่วไป จึงไม่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัย

    ฮอตพอต ซินีมา กลายเป็นไวรัลในจีน และกำลังจะเปิดตัวขึ้นในมาเลเซีย ส่วนประเทศไทย ปัจจุบันธุรกิจโรงภาพยนตร์ผูกขาดอยู่สองรายหลัก ได้แก่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) และ เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น (SF) ขึ้นอยู่กับว่าจะสนใจไอเดียนี้หรือไม่ จากที่ผ่านมาได้ทดลองโมเดลธุรกิจหลายรูปแบบ เช่น โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก โรงภาพยนตร์สำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

    #Newskit #HotpotCinema #DadiCinema
    ฮอตพอต ซินีมา กินสุกี้ไปดูหนังไป ในขณะที่ประเทศไทยกำลังดรามาเรื่อง 9 จังหวัดในประเทศไทยที่ไม่มีโรงภาพยนตร์ อันเนื่องมาจากภาพยนตร์ดรามาแนว LGBTQ เรื่อง วิมาณหนาม ของค่าย GDH ว่าด้วยความรักของชายสองคนที่ถูกแย่งชิงสวนทุเรียน ซึ่งเนื้อเรื่องระบุชื่อ "สวนแม่ฮ่องสอนหมอนทองคำเสก" และใช้จังหวัดตราดสถานที่ถ่ายทำ แต่ก็โยงไปว่าทั้งสองจังหวัดไม่มีโรงภาพยนตร์แม้แต่โรงเดียว ที่ประเทศมาเลเซีย มีไวรัลที่โรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา (Dadi Cinema) ชั้น 5 ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล (Pavilion KL) ย่านบูกิต บินตัง (Bukit Bintang) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีการโพสต์ภาพเมื่อวันที่ 24 ส.ค. เป็นการเนรมิตโรงภาพยนตร์ผสมผสานกับเมนูอาหารสุกียากี้ ภายใต้ชื่อ "ฮอตพอต ซินีมา" (Hotpot Cinema) เป็นแห่งแรก ซึ่งจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ รูปแบบการให้บริการจะมีการเสิร์ฟสุกียากี้ที่ปรุงด้วยน้ำซุปพร้อมกับเนื้อสัตว์และผักต่างๆ ขณะชมภาพยนตร์เรื่องโปรด ซึ่งในภาพจะเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสตาร์พลัส แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ได้โพสต์ภาพดังกล่าวลงบนเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมของทางโรงภาพยนตร์ ทำให้บรรดาผู้ชมภาพยนตร์ต่างตั้งตารอที่จะใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าจะปรุงและรับประทานสุกียากี้อย่างไรภายในโรงภาพยนตร์ที่มืด อีกความเห็นหนึ่งระบุว่า ดูไม่สะดวกสบาย ถ้าในโรงภาพยนตร์มีหม้อไฟเสิร์ฟ จะทำให้มีสมาธิในการดูภาพยนตร์น้อยลง เพราะจะโฟกัสไปที่การกินมากเกินไป สำหรับโรงภาพยนตร์ดาดี้ ซินีมา เป็นธุรกิจในเครือดาดี้ มีเดีย กลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศจีน ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 มีโรงภาพยนตร์ 2,936 โรง ใน 191 แห่งทั่วประเทศจีน ก่อนที่จะขยายกิจการมายังมาเลเซียเป็นประเทศแรกเมื่อปี 2564 ปัจจุบันมี 2 สาขา ได้แก่ ศูนย์การค้าพาวิเลียน เคแอล กรุงกัวลาลัมเปอร์ และศูนย์การค้าดาเมน มอลล์ เมืองสุบังจายา รัฐสลังงอร์ บริการ "ฮอตพอต ซินีมา" ปรากฎครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในเมืองฝัวชาน มณฑลกวางตุ้งของจีน สำนักข่าวเซาต์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (SCMP) รายงานเมื่อเดือน ก.พ. 2567 ว่า ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบัตรชมภาพยนตร์แยกต่างหาก สนนราคาชุด 2 คน 188 หยวน (ประมาณ 900 บาท) ประกอบด้วยอาหารทะเลสด เนื้อวัว และผัก แต่ละโต๊ะจะมีเตาแม่เหล็กไฟฟ้า และโคมไฟให้ผู้ชมมองเห็นอาหารและวัตถุดิบ มีหม้อขนาดเล็ก และน้ำซุปที่ใช้มีกลิ่นไม่แรง เพื่อลดผลกระทบต่อประสบการณ์การชมภาพยนตร์ อีกทั้งในโรงภาพยนตร์ยังมีจุดระบายอากาศหลายจุดเพื่อปรับคุณภาพอากาศ และมีระบบป้องกันอัคคีภัยเช่นเดียวกับภัตตาคารทั่วไป จึงไม่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัย ฮอตพอต ซินีมา กลายเป็นไวรัลในจีน และกำลังจะเปิดตัวขึ้นในมาเลเซีย ส่วนประเทศไทย ปัจจุบันธุรกิจโรงภาพยนตร์ผูกขาดอยู่สองรายหลัก ได้แก่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) และ เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น (SF) ขึ้นอยู่กับว่าจะสนใจไอเดียนี้หรือไม่ จากที่ผ่านมาได้ทดลองโมเดลธุรกิจหลายรูปแบบ เช่น โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก โรงภาพยนตร์สำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น #Newskit #HotpotCinema #DadiCinema
    Like
    4
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1169 มุมมอง 0 รีวิว
  • โครงการบ้านสวนทุเรียน...🥰
    โครงการบ้านสวนทุเรียน...🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 216 มุมมอง 0 รีวิว