พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน!
"ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย
นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ
.
วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก
.
สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก
.
นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า !
.
ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก”
.
ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า
.
จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว
.
ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน
“ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ
.
ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้
.
จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี
.
คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย
>>
https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0
.
.
อ้างอิง :
• Scientists find key nutrient missing in China-grown durian
https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian
• ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com
พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน!
"ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย
นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ
.
วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก
.
สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก
.
นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า !
.
ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก”
.
ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า
.
จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว
.
ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน
“ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ
.
ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้
.
จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี
.
คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย
>> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0
.
.
อ้างอิง :
• Scientists find key nutrient missing in China-grown durian
https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian
• ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com