• อ่านเพิ่มเติม
    27 มีนาคม 2568 - รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง “นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?” โดยมีเนื้อหาดังนี้ ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ได้รับการโอนหุ้นจากแม่ พี่ชาย พี่สาว ลุง และป้า จำนวนรวมกันประมาณ 4,434 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2559 โดยได้ทำหนังสือสัญญาใช้เงิน (PN) ที่ไม่มีดอกเบี้ยและไม่กำหนดวันครบชำระเงิน เพื่อให้เป็นหลักฐานเสมือนการซื้อหุ้นโดยยังไม่จ่ายเงิน (เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย ไม่กำหนดวันชำระคืน) มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทำไม นางสาวแพทองธาร ในปี 2559 ขณะที่อายุเพียงประมาณ 30 ปีจึงอยากซื้อหุ้นจำนวนมากจากบุคคลในครอบครัวและผู้เกี่ยวดอง โดยที่ตนไม่มีเงินที่จะจ่าย แต่ไปออกหนังสือสัญญาใช้เงินเป็นการกู้ยืมเงินที่จะจ่ายค่าหุ้นจำนวน 4,434 ล้านบาท เรื่องนี้ต้องเข้าใจ พฤติกรรมของคนในตระกูลชินวัตร รู้ที่มาที่ไปของหุ้น จึงพอจะวิเคราะห์และตั้งเป็นสมมุติฐานได้ว่า ในปี 2544 เมื่อนายทักษิณจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ประสงค์จะไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินให้ครบถ้วนกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในบางรายการ จึงได้โอนหุ้นจำนวนหนึ่งซุกไว้ในชื่อของ คนสวน คนรับใช้ คนขับรถ และคนเฝ้ายาม จนเกิดคดีซุกหุ้น ดังที่ปรากฎคดีกับนายทักษิณมาแล้ว เวลาต่อมา ได้โอนหุ้นจากชื่อของ “ลูกจ้าง”ในบ้านทั้งสามคน ไปให้กับ “ลูกจริง” ทั้ง 3คน แต่เนื่องจากลูกสาวคนเล็กคือแพทองธาร ขณะนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะยังไม่สามารถบริหารจัดการหุ้นในบริษัทต่างๆได้ จึงอาจจะโอนฝากไว้ที่ แม่ พี่ชาย พี่สาว ลุงและป้า ต่อมาในปี 2559 เมื่อแพทองธาร บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสงค์ให้ญาติที่ถือหุ้นไว้โอนหุ้นมากลับมาให้ แต่ขณะนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในต้นปี 2559 เพื่อให้สอดคล้องกับการเก็บภาษีมรดก ซึ่งระบุให้ การให้สินทรัพย์ ในระหว่างพ่อ แม่ ลูก ถือเป็นรายได้ของผู้รับ หากมีมูลค่าเกิน 20ล้านบาทส่วนที่เกิน20ล้านจะต้องเสียภาษีเงินได้ 5% แต่ หากเป็นพี่ น้อง ลุง ป้า หากมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 10ล้าน บาท จะต้องเสียภาษีเงินได้ 5% วิธีการหลีกเลี่ยงหลบภาษี หรือบริหารภาษี ให้จ่ายน้อยหรือไม่ต้องจ่าย คือทำนิติกรรมอำพรางโดยให้ดูเสมือนเป็นการซื้อขาย ผู้รับโอนจึงออกตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งก็คือทำสัญญากู้ยืม แต่ที่น่าสังเกตคือไม่มีดอกเบี้ยและไม่มีการกำหนดวันชำระเงิน จึงถูกตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใด นางสาวแพทองธาร จึงออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (ที่ไม่กำหนดเวลาชำระเงินและไม่มีดอกเบี้ย) เพื่อให้ดูเป็นเรื่องการซื้อขายไม่ใช่การให้ จะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ให้กับรัฐจำนวนมากกว่า 200 ล้านบาท หรือไม่ น.ส.แพทองธาร ชี้แจงว่า การโอนหุ้นดังกล่าวเป็นการซื้อขายจริงไม่ได้มีพฤติกรรมอำพรางใดๆ ยอดหนี้ (ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน) ก็แสดงว่าชัดเจนในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. อยู่แล้ว “ เรื่องตั๋วพีเอ็นไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเรื่องที่ทำกันมาเป็นเรื่องปกติ.. การออกตั๋วสัญญาใช้เงินจะทำกับธุรกรรมที่ถูกกฎหมาย ดำเนินการเปิดเผย ฝ่ายผู้ซื้อผู้ขายรับภาระหนี้สินระหว่างกัน ไม่มีการกระทำนอกกฎหมายใดๆ เพราะการกระทำนอกกฎหมายที่ไหนออกหลักฐานเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุที่มาของเงินไม่ได้ ก็ไม่สามารถทำได้..” คำอธิบายของนายกรัฐมนตรีที่ว่า ได้แสดงชัดเจนในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อป.ป.ช. แล้วก็ไม่ได้ช่วยอะไร อีกทั้งคำอธิบายว่า ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติ (ใครใครเขาก็ทำกัน ) ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะขึ้นอยู่กับว่าเขาใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยสุจริตหรือไม่ หลายสิ่งที่คนทั่วไปทำได้ แต่การเป็นนายกรัฐมนตรีทำไม่ได้เพราะจะต้องมีมาตรฐานของความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีมาตรฐานจริยธรรมสูงกว่าบุคคลทั่วไป ทั้งนี้เพราะจะต้องรับผิดชอบต่อสังคมและคนจำนวนมาก ใช่หรือไม่? ประชาชนส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่าครอบครัวรักกันมาก ทำไมจึงใช้วิธีซื้อขายหุ้นระหว่างกันไปมา โดยเฉพาะในช่วงที่นางสาวแพทองธาร จะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้โอนหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์ จำนวน 22,410,000 หุ้น ไปให้ผู้เป็นแม่ ด้วยวิธีการซื้อขายโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์การซื้อขายแทนการให้ เช่นเดียวกันใช่หรือไม่ ถ้าจะพิจารณาจากอดีต คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดี หมายเลขแดงที่ อม.1/2553 เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือคดียึดทรัพย์นายทักษิณ ชินวัตร 46,737 ล้านบาท เห็นว่า การออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้นมีพิรุธ เป็นการอำพรางการโอนหุ้นชินคอร์ป เพราะสุดท้ายแล้ว หุ้นชินคอร์ป ที่นายทักษิณโอนให้กับบุคคลต่างๆ ดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทักษิณ ยิ่งไปกว่านั้นข้าราชการระดับสูงของกรมสรรพากรเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกสองปีโดยไม่รอลงอาญาในการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบตามมาตรา157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา กรณี ช่วยบุตรชายและบุตรสาว ของนายทักษิณ ชินวัตร หลบเลี่ยงภาษีกรณีหุ้นชินคอร์ปมาแล้ว หากกรมสรรพากรและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ ถูกต้องตามกฏหมายและเหมาะสมตามจริยธรรม ต่อไปการที่จะมีผู้โอนทรัพย์สินให้บุคคลในครอบครัว ก็ทำทีเป็นซื้อขายแล้วทำหนังสือสัญญาใช้เงิน ที่ไม่มีดอกเบี้ยและไม่ต้องระบุวันจ่ายเงิน (หนังสือสัญญาไม่ต้องจ่ายเงิน) ทำให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมายส่งผลให้ ภาษีมรดกที่กำหนดให้ผู้รับมรดกจะต้องจ่ายเป็นอันยกเลิกไปโดยปริยาย เท่ากับว่าฝ่ายบริหารโดยกรมสรรพากรได้ตีความให้กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติบังคับใช้ไม่ได้อีกต่อไป.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 268 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยให้สมาชิกภาพความเป็นสมาชิกวุฒิสภาของนายสมชาย เล่งหลัก สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 111 (4) ประกอบ มาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 48 (5) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่มาตรา 82 วรรคสอง คือวันที่ 11 ธ.ค 67 จากเหตุต้องคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ลต สส 338/2567 ลงวันที่ 23 ก.ย.67 ที่พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของนายสมชายเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา เนื่องจากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าในการเลือกตั้ง สส. เมื่อปี 2566 นายสมชายซึ่งเป็นผู้สมัคร สส. เขต 9 สงขลาพรรคภูมิใจไทย รู้เห็นเป็นใจสนับสนุนให้ลูกน้อง จัดเตรียมเพื่อจะให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเอง ซึ่งเป็นการทุจริตเลือกตั้ง อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส.2561 มาตรา73(1) ประกอบมาตรา 138 วรรคหนึ่ง นายสมชายจึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และศาลรัฐธรรมนูญให้ถือว่าวันที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงคือวันที่ศาลอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟังตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่งที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยศาลธรรมนูญมีผลในวันอ่าน คือวันที่ 26 มี.ค 68 เป็นวันที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกว่างลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 107 วรรคสี่ทั้งนี้หลังศาลรัฐธรมนูญมีมติให้นายสมชาย เล่งหลัก พ้นสมาชิกภาพความเป็น สว. ทำให้ต้องเลื่อนบัญชีสำรอง สว.ขึ้นมาแทน คือ นายธณัชญ์พงศ์ วงศ์มุลาลี สว.สำรองลำดับที่ 1 กลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ขึ้นมาเป็น สว.แทน#สำนักข่าววันนิวส์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 169 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง “มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล” สส.นครศรีธรรมราช ภท. พร้อมสั่งชดใช้ 8 ล้านบาท ตามคำร้อง กกต.กรณีมีการรู้เห็นซื้อเสียง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000028783
    ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง “มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล” สส.นครศรีธรรมราช ภท. พร้อมสั่งชดใช้ 8 ล้านบาท ตามคำร้อง กกต.กรณีมีการรู้เห็นซื้อเสียง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000028783
    Like
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 818 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ผู้ว่าการรถไฟ" ส่งหนังสือขอให้อัยการสูงสุด ดำเนินคดีข้อพิพาทเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ระบุ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,083 ไร่ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ชนะคดี

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000028107
    "ผู้ว่าการรถไฟ" ส่งหนังสือขอให้อัยการสูงสุด ดำเนินคดีข้อพิพาทเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ระบุ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,083 ไร่ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ชนะคดี อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000028107
    Like
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 624 มุมมอง 0 รีวิว
  • อีนิวส์ จตุพร รู้ว่าครุกแน่นอน 2 ปี ไม่ขอขึ้นศาลฎีกา หลบหนีไปแล้ว หลบการชดใช้กรรมในเรือนจำได้ แต่หลบหนีกฎแห่งกรรมไม่ได้ ชีวิตต้องไปตุยต่างแดน
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #นิวส์จตุพร
    อีนิวส์ จตุพร รู้ว่าครุกแน่นอน 2 ปี ไม่ขอขึ้นศาลฎีกา หลบหนีไปแล้ว หลบการชดใช้กรรมในเรือนจำได้ แต่หลบหนีกฎแห่งกรรมไม่ได้ ชีวิตต้องไปตุยต่างแดน #คิงส์โพธิ์แดง #นิวส์จตุพร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 209 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    58 ปี "คดีตุ๊กตา" ขืนใจสาวรับใช้ บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ “หญิงข่มขืนหญิง” ได้หรือไม่? 📚⚖️ ✨ย้อนรอย “คดีตุ๊กตา” ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กับคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เปิดประเด็นการข่มขืนโดย “ผู้หญิงต่อผู้หญิง” ครั้งแรกของไทย ศึกษาเหตุการณ์รายละเอียดคดี บทสรุปทางกฎหมาย ที่ยังสะเทือนวงการกฎหมายถึงปัจจุบัน ✨ เมื่อ “หญิงข่มขืนหญิง” ไม่ใช่แค่จินตนาการอีกต่อไป หากเอ่ยถึงคดีข่มขืน หลายคนอาจนึกถึงภาพของชายกระทำต่อหญิง แต่ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กลับมีคำพิพากษาหนึ่ง ที่เปิดโลกความเข้าใจในมุมมองใหม่ ⚖️ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2510 กับ “คดีตุ๊กตา” ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาอันลือลั่นว่า “หญิงก็เป็นตัวการร่วม ในการข่มขืนหญิงได้” คำวินิจฉัยครั้งนั้น ไม่เพียงเขย่าระบบยุติธรรมไทย แต่ยังเปิดมุมมองใหม่ ให้สังคมไทยในเวลานั้น “คดีตุ๊กตา” เป็นชื่อที่สื่อมวลชนในยุคนั้นตั้งขึ้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 คือ "พิมล กาฬสีห์" นักเขียนการ์ตูนชื่อดังในนามปากกา “ตุ๊กตา” ถูกอัยการยื่นฟ้อง ในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราร่วมกับภรรยา "นภาพันธ์ กาฬสีห์" ต่อ "เพ็ชร ทัวิพัฒน์" หญิงสาวคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ที่บ้านพักในตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร แม้จะผ่านมาแล้วกว่า 58 ปี แต่คำพิพากษาในคดีนี้ยั งคงได้รับการกล่าวขานในวงการกฎหมาย และสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกรณีแรกที่ “ศาลฎีกา” ของไทยยืนยันว่า หญิงสามารถร่วมเป็นตัวการข่มขืนหญิงได้ 📌 ทำไมคดีนี้จึงสำคัญ? ประเด็นที่สั่นคลอนสังคม คดีนี้แสดงให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพล ที่บุคคลมีชื่อเสียงอาจมีต่อผู้ด้อยโอกาส เปิดประเด็นว่า “ข่มขืน” ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเพศชายเท่านั้น ศาลยืนยันว่า ผู้หญิงสามารถมีส่วนร่วม ในการกระทำผิดฐานข่มขืนได้ แม้จะไม่ได้ลงมือข่มขืนเองก็ตาม 📌 จุดเปลี่ยนด้านกฎหมาย คำพิพากษานี้ทำให้เกิดการตีความ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ว่า “ผู้ใด” หมายรวมถึงบุคคลทุกเพศ ไม่ใช่จำกัดแค่เพศชาย ลำดับเหตุการณ์สำคัญในคดีตุ๊กตา 🗓️ คืนวันอาทิตย์ที่่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 "เพ็ชร์ ทิวาพัฒน์" หญิงสาวผู้เสียหายวัย 23 ปี ซึ่งทำงานเป็นสาวรับใช้ ในคืนนั้น เพ็ชรถูกนภาพันธ์เรียกขึ้นไปนวดให้พิมล บนชั้นสองของบ้าน นภาพันธ์ช่วยจับมือของเพ็ชร ไปจับอวัยวะเพศของพิมล และร่วมกดร่างเพ็ชรไว้ให้สามีข่มขืน เหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ เกิดขึ้นซ้ำถึง 5 ครั้ง ในคืนนั้น 🗓️ เช้ามืดวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เพ็ชรหนีออกจากบ้าน และไปแจ้งความที่โรงพัก เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมสองสามีภรรยา และส่งเพ็ชรตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ผลตรวจพิสูจน์พบร่องรอยการข่มขืนอย่างชัดเจน อัยการจึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำให้การของผู้เสียหายมีน้ำหนักเพียงพอ ประกอบกับพยานหลักฐาน และผลตรวจทางการแพทย์ จำเลยที่ 1 ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี 1 เดือน จำเลยที่ 2 ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ➡️ แต่... จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์:ยกฟ้องเพราะเชื่อว่า “ยินยอม” กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ด้วยเหตุผลว่า เชื่อว่าผู้เสียหาย สมัครใจร่วมประเวณีเอง เห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้หญิง ไม่ควรถูกลงโทษในฐานะตัวการร่วมข่มขืน ➡️ อัยการในฐานะโจทก์ ฎีกาต่อ... ศาลฎีกา:พลิกคำพิพากษา ตอกย้ำ “หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนได้” ในการพิจารณาครั้งสำคัญ ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ✅ พิพากษาว่า ผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ ✅ การมีส่วนร่วมของจำเลยที่ 2 ในการจับผู้เสียหาย และบังคับให้สามีข่มขืน ถือเป็นการ “ร่วมกันข่มขืน” ✅ ศาลฎีกายืนยันว่า ตามกฎหมายไทย หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนหญิงได้ ➡️ จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษจำคุก 3 ปี 1 เดือน ➡️ จำเลยที่ 2 ถูกลงโทษจำคุก 2 ปี การตีความทางกฎหมายที่สำคัญ มาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใด” ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น... 🔹 คำว่า “ผู้ใด” ไม่ได้ระบุเพศ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง หากมีพฤติการณ์ร่วมกันในการข่มขืน ก็ถือว่ามีความผิดฐาน “ตัวการ” ได้ 🔹 แม้ไม่ได้เป็นผู้ลงมือข่มขืนเอง แต่หากช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือบังคับเหยื่อ ก็ถือว่า “ร่วมกันกระทำผิด” ทำไมศาลฎีกาจึงพิพากษาเช่นนั้น? ✅ พฤติกรรมของจำเลยที่ 2 แสดงชัดว่า ร่วมกดขาและจับผู้เสียหาย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ข่มขืน ✅ ข่มขู่ผู้เสียหายไม่ให้ร้อง หรือบอกว่าจะ “เพิ่มเงินเดือน” หากไม่ต่อต้าน ✅ บังคับผู้เสียหายให้อมอวัยวะเพศ และสั่งให้กลืนน้ำอสุจิของสามี ✨ ผลกระทบต่อสังคม และวงการกฎหมาย เปลี่ยนแปลงความเข้าใจ ก่อนหน้านั้น สังคมมองว่า “ข่มขืน” เป็นอาชญากรรมที่มีแต่เพศชาย เป็นผู้กระทำ ✨ คดีตุ๊กตาสร้างการตระหนักใหม่ว่า อาชญากรรมทางเพศ เกิดจากผู้กระทำได้ทุกเพศ อิทธิพลต่อการตีความกฎหมาย ศาลไทยขยายขอบเขตความผิดของมาตรา 276 ให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศ สร้างบรรทัดฐานใหม่ ในคดีอาญาเกี่ยวกับเพศที่ซับซ้อนมากขึ้น “คดีตุ๊กตา” กับมรดกทางกฎหมายที่ยั่งยืน ผ่านมา 58 ปี คดีตุ๊กตายังเป็นกรณีศึกษา ในวงการกฎหมายและสังคม ที่สอนให้เข้าใจถึง ความซับซ้อนของความรุนแรงทางเพศ และบทบาทของกฎหมาย ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คดีนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องราวในอดีต แต่เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ในสังคมไทยอีกต่อไป ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221140 มี.ค. 2568 🏷️ #คดีตุ๊กตา #ข่มขืนในไทย #หญิงข่มขืนหญิงได้ #พิมลกาฬสีห์ #ศาลฎีกาไทย #กฎหมายอาญา #สิทธิมนุษยชน #ข่มขืนกระทำชำเรา #ข่าวดังในอดีต #คดีอาชญากรรมไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 480 มุมมอง 0 รีวิว
  • "มาดามแป้ง" นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เรียกประชุมสภากรรมการ แบบเร่งด่วน ได้รับอนุมัติทำการฟ้องไล่เบี้ยอดีตนายกสมาคมฯ และ ผู้บริหารชุดเดิม จากคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีระหว่าง บริษัท สยามสปอร์ตฯ พร้อมผุดแคมเปญพิเศษ ขายเสื้อ-รับบริจาค ช่วยใช้หนี้ให้สมาคมฯ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000024721
    "มาดามแป้ง" นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เรียกประชุมสภากรรมการ แบบเร่งด่วน ได้รับอนุมัติทำการฟ้องไล่เบี้ยอดีตนายกสมาคมฯ และ ผู้บริหารชุดเดิม จากคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีระหว่าง บริษัท สยามสปอร์ตฯ พร้อมผุดแคมเปญพิเศษ ขายเสื้อ-รับบริจาค ช่วยใช้หนี้ให้สมาคมฯ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000024721
    Like
    Love
    31
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1542 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ส.ฟุตบอลยุค "สมยศ" เละ! พบพิรุธฟอกเงิน 30 ล้าน : [THE MESSAGE] นางนวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เผย เตรียมยื่นฟ้อง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอล หลังศาลฎีกาตัดสินให้ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด(มหาชน) ชนะคดีการยกเลิกสัญญาถ่ายทอดสดไม่เป็นธรรม ทำให้สมาคมต้องชดใช้เงิน 360 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย พบพิรุธการจ่ายเงินของสมาคมชุดเก่าให้ทนายความในชั้นฎีกา 30 ล้านบาท ในคดีพิพาทกับสยามสปอร์ต ตามหลักฐานทนายเรียกเงินค่าจ้างในศาลชั้นต้น 700,000 บาท ชั้นต่อๆ ไป 300,000 บาท ตั้งข้อสงสัยอาจฉ้อโกงฟอกเงิน ให้ทีมกฏหมายดำเนินการซึ่งอาจฟ้องร้องเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนการตรวจงบการเงินมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 27 ล้านบาท มีหนี้สินที่ต้องชำระ 132 ล้านบาท ซึ่งมาจากยุค พล.ต.อ.สมยศ ที่กู้ยืมเงินระยะยาวจากฟีฟ่ามาใช้ในกิจการของสมาคม 5 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 155 ล้านบาท แบ่งจ่าย 10 งวด 10 ปี ส่งผลให้สมาคมจะถูกตัดเงินไปจนถึงปี 2573
    Video Player is loading.
    Current Time 0:00
    Duration -:-
    Loaded: 0%
    Stream Type LIVE
    Remaining Time -:-
     
    1x
      • Chapters
      • descriptions off, selected
      • captions and subtitles off, selected
        Like
        Love
        Sad
        7
        0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1214 มุมมอง 52 1 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        12 มีนาคม 2568-เพจวิเคราะห์บอลจริงจังเขียนบทความน่าสนใจว่ามาดามแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ มารับงานตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 สิ่งแรกที่เธอต้องเจอคือ "หนี้สิน" ที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ทิ้งไว้ให้เงินในบัญชีของสมาคม ณ วันนั้น มีทั้งหมด 27.7 ล้านบาท ส่วนหนี้สินมี 132.6 ล้านบาท แปลว่า ยุคของมาดามแป้งต้องเริ่มแบบติดลบ 105 ล้านบาทย้อนกลับไปดูวันสุดท้าย ของพล.ต.อ.สมยศ ในฐานะนายกสมาคม เขาบอกว่า "อิจฉาคนที่จะเข้ามาเป็นนายกฯ คนใหม่ ที่เข้ามาแล้วมีพร้อมทุกอย่าง ตอนที่ผมเข้ามามีแค่กุญแจดอกเดียวใช้เปิดเข้าสมาคม คนเรามันวาสนาไม่เท่ากันจริงๆ" โอเค... พล.ต.อ.สมยศ อาจเริ่มต้นด้วยกุญแจดอกเดียว ไขเข้าไปในห้องแล้วเจอแต่ความว่างเปล่าแต่กับเคสของมาดามแป้ง เธอเอากุญแจดอกนั้นไขเข้าไป แล้วเจอ "กองหนี้สินมหาศาล" ที่เธอไม่ได้ก่อ แต่ต้องเป็นคนชดใช้ในวันนี้ (11 มีนาคม) มาดามแป้งแถลงผลงาน ครบ 1 ปีที่เข้ามาเป็นนายกสมาคม แต่สาเหตุที่สื่อมวลชนมหาศาลมาทำข่าววันนี้ ไม่ใช่เรื่องผลงานดังกล่าว ทุกคนอยากรู้แค่ว่า "มาดามแป้ง จะจัดการปัญหาหนี้สิน 360 ล้านบาทกับสยามสปอร์ตอย่างไร?" ผมขอสรุป 2 คดีของสมาคมกับสยามสปอร์ตนิดเดียวครับ ---------------คดีที่ 1 สยามสปอร์ต ฟ้อง สมาคมฟุตบอล 1,401 ล้านบาท โทษฐานฉีกสัญญาผู้ถือสิทธิประโยชน์ไทยลีก โดยไม่ได้รับความเห็นชอบศาลชั้นต้น : สมาคมต้องจ่ายค่าเสียหาย 50 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยศาลอุทธรณ์ : สมาคมต้องจ่ายค่าเสียหาย 450 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยศาลฎีกา : สมาคมต้องจ่ายค่าเสียหาย 360 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยสมาคมแพ้คดีทุกศาล เพราะต่อให้คุณจะไม่ชอบสัญญาขนาดไหน คุณก็ไปฉีกสัญญาที่เซ็นกันแล้วอย่างถูกต้องไม่ได้ มาดามแป้งบอกว่า หนี้สินไม่ได้มีแค่เงินต้น 360 ล้าน แต่ดอกเบี้ยก็มหาศาลมาก เกิน 200 ล้านบาทแน่นอน---------------คดีที่ 2 สมาคมฟุตบอล ฟ้อง สยามสปอร์ต ขอเอาทรัพย์สินคืน 1,139 ล้านบาท เนื่องจากมองว่าสยามสปอร์ต ทำเงินจากการเป็นผู้ถือสิทธิประโยชน์ แต่ไม่ยอมส่งมอบเงินให้สมาคมศาลชั้นต้น : สยามสปอร์ต ต้องจ่ายค่าเสียหาย 99 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยศาลอุทธรณ์ : ยกฟ้อง ศาลฎีกา : ไม่รับฎีกาคดีที่สมาคมฟ้องสยามสปอร์ต จบแล้วเช่นกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าสยามสปอร์ตกั๊กเงินเอาไว้เอง ทำให้บทสรุปของคดีนี้ สยามสปอร์ตชนะอีกคดี ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแม้แต่บาทเดียว---------------ในการปะทะกันบนศาลครั้งนี้ สยามสปอร์ตเป็นฝ่ายชนะโดยสมบูรณ์ไปแล้ว ทั้ง 2 คดี และสมาคมต้องหาเงินมหาศาลเอามาชำระหนี้แปลว่า มาดามแป้ง มารับตำแหน่งนายกสมาคม 1 ปี เธอมีหนี้สิ้นเริ่มต้น 105 ล้านบาท ตามด้วยหนี้ก้อนที่สองของสยามสปอร์ต (เงินต้น + ดอกเบี้ย) อีก 560 ล้านบาท รวมแล้วกลมๆ สมาคมมีหนี้สิ้นทั้งหมด 665 ล้านบาท ที่ต้องชดใช้ในทางกฎหมายนั้น คนที่ฉีกสัญญาของสยามสปอร์ตคือ "นิติบุคคล" ไม่ใช่ตัว "สมยศ" แปลว่า ภาระหนี้สิ้นเหล่านี้ มาดามแป้งในฐานะนายกสมาคมคนปัจจุบัน ต้องเป็นคนหาเงินมาชำระให้เจ้าหนี้ถ้าเธอหาเงินไม่ได้ สมาคมอาจจะถูกยึดทรัพย์ สำนักงานที่ทำการสมาคมก็จะโดนยึดเอาไปจ่ายหนี้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนไหวของมาดามแป้งอย่างมาก เพราะถ้าสมาคมที่ก่อตั้งมา 110 ปี ต้องล่มสลาย โดนยึดทุกอย่างในยุคของเธอ มันจะเป็นตราบาปที่ติดในใจเธอไปตลอดเมื่อพูดถึงตรงนี้ มาดามแป้งร้องไห้ เธอบอกว่า "แป้งมาด้วยเจตนาดี ทุกคนคงจะเห็นใจแป้งบ้าง สิ่งที่แป้งเจอเนี่ย แป้งทำเต็มที่ ในฐานะผู้หญิงคนแรกที่เป็นนายกสมาคมฟุตบอลคนแรกของทวีปเอเชีย เข้ามาไม่มีอะไรเลย มีแต่หนี้ แป้งไม่เคยดราม่า แต่ว่าแป้งคิดว่า แป้งทำงานมาได้ถึงขนาดนี้ แป้งเต็มที่แล้ว ""แป้งแค่ขอความเห็นใจ และขอกำลังใจ จากแฟนบอลและสื่อมวลชน เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ต้องถูกแก้ด้วยแป้งและสภากรรมการ แต่เรื่องหนี้สินมันไม่ได้เกิดขึ้นในยุคแป้ง แต่แป้งต้องมารับทุกสิ่งทุกอย่าง แป้งเป็นคน และเป็นผู้หญิงที่มีจิตใจเหมือนกัน"ถ้าเราพูดกันแบบตรงๆ เลย ตลอด 1 ปีของมาดามแป้ง เธอก็มีผลงานไม่เลวหลายอย่าง เช่น พาทีมชาติไทยมีอันดับโลกต่ำกว่าร้อย ครั้งแรกในรอบ 16 ปี, หาเงินมาจ่ายให้สโมสรไทยลีกได้สำเร็จ รวมถึง จัดงานฟีฟ่า คองเกรสได้เยี่ยมจนได้รับคำชมแน่นอน มาดามแป้งไม่ได้เพอร์เฟ็กต์ ทุกคนทราบดี เรื่องโปรแกรมเลื่อนไทยลีกจนชุลมุน เธอก็ยังจัดการไม่ดีนัก แต่อย่างน้อย การต่อสู้ในสภาพที่สมาคมเจอหนี้มหาศาลขนาดนี้ ถือว่าโอเคแล้วสำหรับเรื่องการใช้หนี้ เมื่อศาลมีฎีกามาแล้ว ยังไงก็ต้องหาเงินมาชดใช้ โชคดีที่ทางมาดามแป้ง กับ ระวิ โหลทอง เจ้าของสยามสปอร์ต สนิทสนมกันดี ก็อาจจะพอประนีประนอม ยืดเวลาจ่ายกันได้อยู่จริงอยู่ แม้ศาลจะระบุว่า คนที่ต้องใช้หนี้ คือสมาคมฟุตบอลซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่มาดามแป้งรู้สึกว่าการกระทำที่สร้างความเสียหายขนาดนี้ ไม่แฟร์เลยที่ พล.ต.อ.สมยศ จะรอดไปดื้อๆ โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรดังนั้นเธอจึงศึกษาข้อมูล และค้นพบว่ามีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 ที่ระบุว่า "นิติบุคคลที่ต้องชดใช้ความเสียหาย สามารถไล่เบี้ย ฟ้องร้องคืนจากคนที่ก่อความเสียหายได้" มาดามแป้ง จึงเตรียมฟ้อง พล.ต.อ.สมยศ และ สภากรรมการชุดก่อน ในมาตรา 76 นี้ โทษฐานฉีกสัญญากับสยามสปอร์ตโดยพลการ จนสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับสมาคม เรื่องนี้จะขึ้นสู่ศาลแน่นอน ก็ต้องมาดูกันว่า สมาคมฟุตบอลจะสามารถทวงเงินคืนสักก้อน จากพล.ต.อ.สมยศ และสภากรรมการชุดเก่าได้หรือไม่ ---------------ในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ไฮไลท์ของจริง ที่มาดามแป้งอยากเล่า ไม่ใช่คดีของสยามสปอร์ต แต่เป็นการแฉพล.ต.อ.สมยศ แบบ "เละ" อัดทุกอย่างจนกระจุยไปหมด ในวันแรกที่มาดามแป้งมารับงานเป็นนายกสมาคมคนใหม่ เมื่อเจอหนี้สินร้อยล้านกว่าบาท ทำให้เธอตั้งคำถามว่า แล้วเงินก้อนต่างๆ ที่สมาคมได้รับมาก่อนหน้านี้ หายไปไหนหมด?ทำให้เธอตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจชื่อ "คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน" นำโดย นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดเลย ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องคดีฟอกเงิน มาไล่เช็กรายรับ-รายจ่าย ของสมาคมยุคก่อนว่า เงินมันไปอยู่ไหนบ้างสิ่งที่ค้นเจอจากการตรวจสอบมีหลายอย่าง ที่แปลก [ เรื่องแปลกอย่างที่ 1 ] คดีที่สมาคม ฟ้อง สยามสปอร์ต 1,139 ล้านบาท สมาคมของพล.ต.อ.สมยศ ได้ติดต่อทนายความเอาไว้ และมีการตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายการว่าความแล้วเรียบร้อยศาลชั้นต้น 750,000 บาท, ศาลอุทธรณ์ 300,000 บาท และ ศาลฎีกา 300,000 บาท เป็นค่าวิชาชีพของทีมทนายความในศาลชั้นต้น กับ ศาลอุทธรณ์ก็จ่ายกันไป ตามราคา แต่พอถึงศาลฎีกา (ที่ศาลไม่รับฟ้องด้วย) จากตัวเลขที่ตกลงกัน 3 แสนบาท อยู่ๆ ทางสมาคมไปจ่ายให้ทนายความ เป็นจำนวน 30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาดื้อๆ 100 เท่าโดยการจ่ายเงิน 30 ล้านบาท เกิดขึ้นก่อน พล.ต.อ.สมยศ จะหมดวาระไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เป็นไปได้หรือ ที่จะว่าความด้วยราคา 30 ล้านบาท? แล้วทำไมถึงจ่ายแพงกว่าร้อยเท่าจากเดิมที่ตกลงกัน นี่คือการ "ทิ้งทวน" เอาเงินก้อนสุดท้าย ก่อนจะอำลาตำแหน่งหรือเปล่า ก็ไม่สามารถตอบได้[ เรื่องแปลกอย่างที่ 2 ] ทุกๆ ปี ฟีฟ่าจะจ่ายเงินสนับสนุนให้สมาคมฟุตบอลทั่วโลกปีละ 1,250,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่พอมาดามแป้งเข้ามาทำงานในปีแรก ฟีฟ่ากลับจ่ายให้แค่ 750,000 ดอลลาร์เท่านั้น หายไป 5 แสนเหรียญทีมงานของมาดามแป้งจึงไปค้นข้อมูล ปรากฏว่า สมาคมยุคพล.ต.อ.สมยศ ไปขอกู้เงินจากฟีฟ่า ในวันที่ 9 ตุลาคม 2563 เป็นจำนวน 5 ล้านดอลลาร์ (155 ล้านบาท)ฟีฟ่าจ่ายให้ 5 ล้านดอลลาร์ตามคำขอ โดยแจ้งสมาคมให้ชดใช้คืน ด้วยการผ่อนจ่าย 10 ปี (2564-2573) ปีละ 5 แสนดอลลาร์ ซึ่งทางฟีฟ่าจะหักเอาเลย จากเงินสนับสนุนที่จะให้สมาคมเป็นรายปีนั่นคือเหตุผลที่สมาคมยุคมาดามแป้ง จะเงินหายไป 5 แสนเหรียญ (16.8 ล้านบาท) ทุกปี จนถึงปี 2573นี่เป็นเรื่องที่มาดามแป้งเฮิร์ทมาก เพราะเธอหมดวาระนายกสมาคม ในปี 2571 เท่ากับว่าเธอต้องจ่าย 5 แสนเหรียญที่ พล.ต.อ.สมยศก่อขึ้นมาไปเรื่อยๆ จนจบวาระของเธอเลยด้วยซ้ำขณะที่ 5 ล้านดอลลาร์ที่ได้มาจากฟีฟ่าตอนแรกสุด ก็ไม่รู้อยู่ไหนแล้ว จับมือใครดมไม่ได้ มีข่าวว่าเอามาใช้จ่ายในช่วงโควิด ที่ไม่มีรายได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง[ เรื่องแปลกอย่างที่ 3 ]พล.ต.อ.สมยศ ตัดสินใจขาย Data Analytics และ Gaming Right ของ ฟุตบอลไทยลีก และ ทีมชาติไทย ให้กับบริษัท Perform จากมาเลเซียทั้งสองอย่างคือ สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดของฟุตบอลไทย เช่น เปอร์เซ็นต์การครองบอล, จำนวนใบเหลือง-ใบเหลือง, จำนวนนาทีที่ลงสนาม, ระยะทางการวิ่งของผู้เล่นแต่ละคน ข้อมูลเหล่านี้ สามารถเอาไปใช้ในอะไรก็ได้ เช่น เอาไปสร้างเกมแฟนตาซี, เอาไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับโต๊ะพนัน หรือถ้าคิด worst case คือเอาสถิติเหล่านี้มาศึกษาทั้งไทยลีก หรือทีมชาติก็ได้ เพื่อที่ชาติเพื่อนบ้านจะได้แซงหน้าเราไปได้ในอนาคต พล.ต.อ.สมยศ ขายสิทธิ์ Data Analytics และ Gaming Right ยาวไปจนถึงปี 2571 ซึ่งมาดามแป้ง พยายามขอซื้อคืน เพราะไม่อยากให้ข้อมูลบอลไทยรั่วไหล แต่บริษัท Perform ไม่ขาย เงินที่ได้จากการขายลิขสิทธิ์ก้อนนี้ "ไม่รู้อยู่ไหน" แต่ปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องเงินเท่านั้น มันเป็นข้อมูลภายในของฟุตบอลไทย ที่ไม่รู้ว่าประเทศอื่นจะเอาไปใช้ทำอะไรก็ไม่รู้ เป็นเรื่องที่น่ากังวลเหมือนกัน[ เรื่องแปลกอย่างที่ 4 ]ในวงการฟุตบอลไทยนั้น เป็นธรรมเนียม ที่นายกสมาคมจะไม่รับเงินเดือนกัน คือผมไม่ได้บอกว่า ดีหรือเปล่า แต่ธรรมเนียมปฏิบัติเขาทำกันมาแบบนี้ คนที่ลงสมัครนายกสมาคมจะรู้แต่แรกโดยธรรมชาติอย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.สมยศ เป็นคนแรกที่รับเงินเดือนในฐานะนายกสมาคม โดยตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง เป็นจำนวน 5 แสนบาท ไม่เพียงแค่นั้น ยังรับเงินอีกทาง ในฐานะผู้บริหารของบริษัท ไทยลีก อีกจำนวน 5 แสนบาท รวมแล้วเป็นเงินทั้งสิ้นเดือนละ 1 ล้านบาทเคยมีคนไปสอบถามในเรื่องนี้ แต่พล.ต.อ.สมยศ ก็อธิบายว่า รับเงินเดือนมาก็จริง แต่ก็มีการบริจาคกลับคืนให้สมาคม เป็นจำนวน 32 ล้านบาท ไม่ได้เอาไปทั้งหมดขนาดนั้นปัญหาในเรื่องนี้คือ ทีมตรวจสอบของมาดามแป้งไปหาเงิน 32 ล้านที่ว่านี้ และ "ยังไม่พบ" จนถึงตอนนี้ ก็ไม่รู้ว่าเงินก้อนนี้อยู่ไหน ไม่รู้ว่ามีการบริจาคจริงตามที่พูดหรือเปล่า---------------มาดามแป้งใช้เวลาแถลงข่าวทั้งหมด 64 นาที เล่าทุกอย่าง แบบตรงไปตรงมา เธอยืนยันว่า "ไม่ได้มีปัญหาส่วนตัว กับ พล.ต.อ.สมยศ แต่จำเป็นต้องทำ เพื่อทวงเงินที่เป็นของสมาคมกลับคืนมา เพราะสมาคมฟุตบอลต้องเดินหน้าต่อไปให้ได้" ทีนี้ เมื่อฝั่งสมาคมโจมตีใส่อย่างหนักหน่วงแล้ว ก็ถึงคิวของ พล.ต.อ.สมยศ ต้องออกมาอธิบายตัวเอง ว่าข้อสงสัยต่างๆ ที่มาดามแป้งพูดถึงนั้น มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ค่าทนาย 30 ล้าน มันก็แปลกจริงๆ นั่นแหละน่าคิดนะ ว่าเงินก้อนโตที่เข้าออกสมาคม จำนวนมากกว่าร้อยล้าน สุดท้ายมันหายไปไหนหมด ทำไมเหลือแต่หนี้สินทิ้งเอาไว้สำหรับประเด็นที่เราต้องติดตาม มีหลายอย่าง เช่น ในปี 2571 ที่จะหมดสัญญากับผู้ถือสิทธิประโยชน์รายปัจจุบัน (แพลนบี) และ เจ้าของลิขสิทธิ์เสื้อแข่งทีมชาติ (วอร์ริกซ์) สมาคมจะเดินหมากอย่างไรต่อ จะเซ็นกัน 8 ปีแบบเดิมอีกไหม รวมถึง การเจรจาหาทางชำระหนี้สยามสปอร์ตจะทำอย่างไร เมื่อไม่มีเงินในบัญชีเลย จะเล่นแร่แปรธาตุ หาเงินจากไหนได้บ้าง? นี่คือช่วงเวลาที่มาดามแป้งต้องใช้กลยุทธ์ธุรกิจทุกอย่าง รวมถึงคอนเน็กชั่นทั้งหมดที่เธอมี ในการประคองให้สมาคมรอดพ้นวิกฤติไปให้ได้หลังจบงานแถลงข่าว มาดามแป้งเดินมาขอบคุณสื่อมวลชน และพอเธอเดินมาถึง ผมถามเธอว่า "เจอแบบนี้ ภาระหนี้สินหลายร้อยล้านที่ตัวเองไม่ได้ก่อ เคยคิดจะลาออกไหมครับ?" มาดามแป้ง หยุดคิด แล้วตอบผมว่า "เคยคิดนะคะ" "แต่เราได้กำลังใจจากคนมากมาย นายกสมาคมประเทศอื่นในเอเชีย ก็บอกว่าอยู่ต่อเถอะ เพราะเราทำงานได้ดีแล้ว มันก็เลยมีพลังที่จะสู้ต่อ""และที่สำคัญ ถ้าเราไม่ทำ ถ้าเราไม่แก้ปัญหานี้ แล้วจะปล่อยให้ใครจะมาแก้ ดังนั้นก็ต้องสู้ค่ะ"ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวการแถลงข่าว ที่เดือดดาลที่สุดของสมาคมฟุตบอล มาดามแป้งเริ่มด้วยเสียงหัวเราะ รอยยิ้มในการแถลงผลงาน ตามด้วยอารมณ์โมโห ก่อนจะปิดท้ายด้วยน้ำตาเข้าใจเธอครับ ถ้าอยู่ๆ ต้องมารับภาระหนี้สินร้อยล้านแบบไม่ทันตั้งตัวขนาดนี้ คงทั้งแค้น ทั้งเศร้าเป็นธรรมดาการเป็นผู้นำองค์กร ที่ต้องแบกรับความคาดหวังทุกอย่าง มันไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ วันนี้มาดามแป้งทำให้เห็นว่า เธอก็คือมนุษย์คนหนึ่งที่มีความอ่อนไหว เสียใจได้ ร้องไห้เป็น แต่แม้จะเสียใจแค่ไหน ก็ต้องปาดน้ำตาแล้วแก้ปัญหากันต่อปิดท้ายในเรื่องนี้ สิ่งที่น่าจับตาที่สุดคือ ความโปร่งใสของอดีตนายกฯ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่เข้ามารับตำแหน่ง กับสโลแกนว่า "มาจับโจร" แต่ตอนนี้กลับโดนข้อครหามากมาย เหมือนว่าเขาเป็นโจรเสียเองสมมุติว่า เขาไม่ได้ทำอะไรผิด บริหารงานด้วยความบริสุทธิ์ใจมาตลอด ก็ไม่เห็นต้องกลัวการตรวจสอบ คนซื่อสัตย์ย่อมต้องหาคำอธิบายทุกอย่างได้อยู่แล้ว แต่ในทางตรงข้าม ถ้ามีจิตใจคิดทุจริต หวังใช้สมาคมฟุตบอลในการกอบโกยผลประโยชน์ล่ะก็ รับรองได้ว่าเรื่องนี้ จะไม่จบง่ายๆ อย่างแน่นอนเพราะถ้าหากคนเป็นผู้นำ ยังไม่ตรงไปตรงมา มีนอกมีในอยู่ตลอด แล้วอนาคตของวงการฟุตบอลไทยจะเป็นอย่างไร ... แค่คิดก็สิ้นหวังแล้ว
        Like
        1
        1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 894 มุมมอง 0 รีวิว
      • บทความน่าสนใจเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทสยามสปอร์ตกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยที่สิ้นสุดอย่างเป็นทางการที่ศาลฎีกา https://www.facebook.com/share/p/1DTAvmX9UV/?mibextid=wwXIfr
        บทความน่าสนใจเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทสยามสปอร์ตกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยที่สิ้นสุดอย่างเป็นทางการที่ศาลฎีกา https://www.facebook.com/share/p/1DTAvmX9UV/?mibextid=wwXIfr
        Like
        2
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 251 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        "แหวง" มาแล้ว ร่ายยาวยันกกต.ไม่เฉยคดีฮั้วเลือกสว. ตั้งคกก. 3 ชุดดำเนินการมี DSI ร่วมด้วย เผยมีมติชงศาลฎีกาฟันแล้ว 3 คดี จากที่มีร้อง 220 เรื่อง และพิจารณาเสร็จ 109 เรื่อง ชี้ม.49 ให้รับโอนคดีมาได้ ปิดช่องมอบหน่วยงานอื่นทำ แต่หากหน่วยงานมั่นใจกม.ให้อำนาจก็เดินหน้ารับเรื่องได้เลย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000019827 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
        Like
        Angry
        Haha
        5
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1145 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ไฟไหม้รถไฟ “กอดรา” เมื่อ 23 ปี ที่ผ่านมา วางเพลิงปริศนา หรืออุบัติเหตุ? เหตุการณ์สะเทือนขวัญแห่งรัฐคุชราต 🗓️ ย้อนไปเมื่อ 23 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เกิดโศกนาฏกรรม ที่เขย่าขวัญทั้งอินเดีย ขบวนรถไฟ Sabarmati Express ถูกไฟไหม้ที่สถานี Godhra ในรัฐคุชราต ส่งผลให้ 59 ชีวิต ต้องจบลงอย่างโหดร้าย และมีผู้ถูกไฟคลอกบาดเจ็บอีก 48 ราย เหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่เพลิงไหม้ธรรมดา แต่กลายเป็นชนวนเหตุ ของความขัดแย้งทางศาสนา ที่นำไปสู่ความรุนแรง และการจลาจลทั่วทั้งรัฐคุชราต มีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 2,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม 😨 แต่คำถามที่ยังคงอยู่ จนถึงทุกวันนี้คือ... ไฟไหม้ครั้งนี้เป็นอุบัติเหตุ หรือแผนสมคบคิด? 🔥 🚆 Sabarmati Express เป็นขบวนรถไฟ ที่เดินทางจากเมืองอโยธยา (Ayodhya) มุ่งหน้าสู่ อาเมดาบัด (Ahmedabad) ในรัฐคุชราต ขบวนนี้มีผู้แสวงบุญชาวฮินดู (Kar Sevaks) กว่า 1,700 คน ซึ่งเดินทางกลับจากอโยธยา 🕖 เวลา 7:43 น. เมื่อขบวนรถไฟถึงสถานี Godhra มีเหตุการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น ระหว่างชาวฮินดู กับชาวมุสลิมในพื้นที่ มีรายงานว่า ฝูงชนขว้างหินเข้าใส่ขบวนรถ ขณะที่มีคนดึงเบรกฉุกเฉิน ทำให้รถไฟหยุดลง 🔥 ไม่นานนัก ตู้รถไฟที่ 6 (S-6) ก็ลุกไหม้ขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้ผู้โดยสารที่ติดอยู่ภายใน ไม่สามารถหนีออกมาได้ ส่งผลให้มีผู้ถูกย่างสดเสียชีวิต 59 ศพ รวมถึงเด็ก 10 คน และผู้หญิง 27 คน 💬 คำถามสำคัญคือ ไฟไหม้เกิดจากอะไร? มีการกล่าวหาว่า กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง วางแผนเผารถไฟ 🚇 ขณะที่บางฝ่ายระบุว่า เป็นอุบัติเหตุจากเตาถ่าน ที่ใช้ประกอบอาหารภายในขบวนรถ 🔥 เหตุการณ์ลุกลาม กลายเป็นจลาจลนองเลือด หลังเกิดเหตุการณ์ไม่กี่ชั่วโมง ข่าวแพร่สะพัดไปทั่วรัฐคุชราต กลุ่มฮินดูหัวรุนแรง ตอบโต้ชาวมุสลิมอย่างรุนแรง จนเกิดการจลาจลใหญ่ในคุชราต 🔴 ผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม 🏚️ หมู่บ้าน และบ้านเรือนของชาวมุสลิม ถูกเผาวอด 👮‍♂️ ตำรวจและรัฐบาลถูกกล่าวหาว่า ปล่อยให้เหตุการณ์รุนแรงลุกลาม มีคำถามมากมาย ที่ยังคงค้างคาใจ... ❓ เหตุใดตำรวจ จึงไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้? ❓ "นเรนทรา โมดี" นายกรัฐมนตรีอินเดียในปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นเป็นมุขมนตรีรัฐคุชราต มีบทบาทอย่างไรในการจลาจล? ข้อสรุปจากการสอบสวน วางเพลิงหรืออุบัติเหตุ? 🚨 มีคณะกรรมการสอบสวนหลายชุด ถูกตั้งขึ้นเพื่อหาความจริง แต่ผลสรุปกลับไม่ตรงกัน 🔹 คณะกรรมการ Nanavati-Mehta 2008 ✅ รายงานระบุว่า เป็นแผนวางเพลิงโดยชาวมุสลิม ✅ มีการใช้น้ำมันเบนซินเทลงบนตู้โดยสาร ก่อนจะจุดไฟเผา 🔹 คณะกรรมการ Banerjee 2006 ❌ รายงานสรุปว่า ไฟไหม้เกิดจากอุบัติเหตุภายในรถไฟ ❌ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า มีการวางเพลิง 🔹 องค์กรสิทธิมนุษยชน และนักวิจัยอิสระ 🔍 พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ไฟไหม้เกิดจากการเผาภายในตู้โดยสารเอง ไม่ใช่การวางเพลิงจากภายนอก ผลกระทบและคำตัดสินของศาล ⚖️ ปี 2011 ศาลอินเดียตัดสินให้ชาวมุสลิม 31 คน มีความผิดฐานวางเพลิง ⚖️ ปี 2017 ศาลลดโทษประหารชีวิต ของผู้ต้องขัง 11 คน เป็นจำคุกตลอดชีวิต ⚖️ ปี 2022 ศาลฎีกาอินเดียยืนยันคำตัดสินว่า การวางเพลิงมีอยู่จริง แต่... 🚨 หลายฝ่ายยังคงตั้งคำถามว่า การสอบสวนมีแรงจูงใจทางการเมืองหรือไม่? 🧐 ข้อสังเกตแ ละข้อถกเถียงที่ยังคงอยู่ 💡 ไฟไหม้ครั้งนี้เป็นอุบัติเหตุ หรือการโจมตีที่มีการวางแผน? 💡 เหตุใดตำรวจและรัฐบาล จึงไม่สามารถควบคุมการจลาจล ที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ได้? 💡 บทบาทของ "นเรนทรา โมดี" ในเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอย่างไร? 🤔 แม้จะผ่านไปกว่า 23 ปี แต่โศกนาฏกรรมครั้งนี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงในอินเดีย บทเรียนจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้ 🔥 เหตุการณ์ไฟไหม้ Sabarmati Express เป็นโศกนาฏกรรม ที่สะท้อนถึงความขัดแย้งทางศาสนา และการเมืองในอินเดีย ✋ ความรุนแรงที่ตามมา แสดงให้เห็นถึง อันตรายของความเกลียดชัง และการแบ่งแยกทางศาสนา 🔎 แม้จะมีการสอบสวนและตัดสินคดี แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับต้นเหตุของเพลิงไหม้ ยังคงเป็นที่ถกเถียง 📌 สุดท้ายนี้... เหตุการณ์ที่กอดรา ได้เตือนโลกว่า ความรุนแรง ที่เกิดจากความขัดแย้งทางศาสนา อาจนำไปสู่โศกนาฏกรรม ที่ไม่มีวันย้อนคืนได้ 🔗 💬 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270947 ก.พ. 2568 #โศกนาฏกรรมกอดรา #ไฟไหม้รถไฟอินเดีย #จลาจลคุชราต #ประวัติศาสตร์อินเดีย #ไฟคลอกรถไฟ #GodhraTrainBurning #SabarmatiExpress #ไฟไหม้ปริศนา #ความขัดแย้งทางศาสนา #23ปีไฟไหม้กอดรา
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 528 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        34 ปี ตรวจสอบทรัพย์สิน "10 รัฐมนตรี" จากยึดทรัพย์สู่พฤษภาทมิฬ! ศาลฎีกาสั่งเพิกถอน... คำสั่งยึดทรัพย์ 📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยเมื่อ 34 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ออกคำสั่งจัดตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ภายใต้การนำของ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีเป้าหมาย เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมือง ในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ว่ามีการร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ 🚨 ผลจากการตรวจสอบ รสช. ได้มีคำสั่ง ยึดทรัพย์รัฐมนตรี 10 ราย ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่เชื่อมโยงไปสู่ความไม่พอใจ ของประชาชน จนกระทั่งนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการฟ้องร้องในศาลฎีกา ในเวลาต่อมา 🔍 การตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง ในปี 2534 📅 เหตุการณ์สำคัญ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) โดย คตส. ตรวจสอบนักการเมือง 25 ราย และมีคำสั่ง ยึดทรัพย์ 10 ราย 🏛️ รายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์ 1️⃣ นายเสนาะ เทียนทอง 62.7 ล้านบาท 2️⃣ นายมนตรี พงษ์พานิช 3️⃣ นายบรรหาร ศิลปอาชา 4️⃣ นายณรงค์ วงศ์วรรณ 5️⃣ พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ 6️⃣ นายสุธี อากาศฤกษ์ 7️⃣ พล.อ. เหรียญ ดิษฐบรรจง 8️⃣ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ 9️⃣ นายอำนวย วงศ์วิเชียร 🔟 นายไพศาล กุมาลย์วิสัย 💬 แม้ว่านักการเมืองบางราย จะพยายามต่อสู้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ แต่กระบวนการยึดทรัพย์ ก็สร้าง ผลกระทบต่อชื่อเสียง และภาพลักษณ์เป็นอย่างมาก 🏛️ คำให้การจากป๋าเหนาะ "เสนาะ เทียนทอง" หนึ่งในผู้ถูกยึดทรัพย์ 📌 ป๋าเหนาะเป็นหนึ่งในนักการเมือง ที่ถูกยึดทรัพย์ 62.7 ล้านบาท เจ้าตัวเล่าว่าไม่ได้พยายาม "วิ่งเต้น" เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา และเลือกที่จะต่อสู้ตามกระบวนการ 🗣️ “ตอนนั้นผมมีเงินแค่ 30 ล้าน และเป็นเงินเก่าของผมเอง ไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติ” 🗣️ “แม้จะถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี แต่ผมไม่ได้เซ็นหนังสืออะไรเลย เพราะผมมองว่ารัฐบาลนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” ⚖️ จากการยึดทรัพย์ สู่ พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 🔥 เหตุการณ์บานปลาย จากความไม่พอใจของประชาชน ต่อรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำ รสช. 📌 เหตุการณ์สำคัญ: เมษายน 2535 รัฐบาลประกาศให้ พลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2535 ประชาชนเดินขบวนต่อต้าน เกิดการสลายการชุมนุมรุนแรง พฤษภาทมิฬ 2535 มีผู้เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก 🎤 พลเอก สุจินดา ออกมาประกาศ "ยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ" และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ⚖️ ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ศ. 2536 📌 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา เพื่อให้พิจารณาว่าคำสั่งของ รสช. และ คตส. เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ⚖️ วันที่ 26 มีนาคม 2536 ศาลฎีกาตัดสินว่า ✅ คำสั่งยึดทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ✅ ให้ เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ และคืนทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับผู้ถูกกล่าวหา 📌 ผลกระทบของคำตัดสิน สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจของ รสช. ที่อาจเกินขอบเขต ทำให้รัฐประหาร และการใช้อำนาจยึดทรัพย์ กลายเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมาย และสิทธิประชาชน 🔎 บทเรียนจากอดีต สู่อนาคตการเมืองไทย 📢 3 ประเด็นที่ต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ 1️⃣ "อำนาจ" ต้องมาพร้อม "ความชอบธรรม" การใช้กฎหมายตรวจสอบนักการเมือง เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องโปร่งใสและยุติธรรม 2️⃣ ประชาชนคือพลังขับเคลื่อนประชาธิปไตย การลุกขึ้นต่อต้าน ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สะท้อนพลังของประชาชน ในการปกป้องสิทธิของตนเอง 3️⃣ การเมืองไทยต้องก้าวข้ามวังวนอำนาจ หากการเมืองไทยยังคงมีการรัฐประหาร และใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตอีกครั้ง 📌 34 ปี แห่งบทเรียนทางการเมืองไทย 📍 การตรวจสอบทรัพย์สินในปี 2534 เป็นจุดเริ่มต้นของ "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ครั้งสำคัญ 📍 แม้สุดท้ายศาลฎีกา จะสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ แต่บทเรียนจากอดีต ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน 📍 ประชาชนต้องตื่นตัว และตรวจสอบอำนาจรัฐเสมอ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251309 ก.พ. 2568 🔗 #ประวัติศาสตร์การเมืองไทย #พฤษภาทมิฬ #รัฐประหาร2534 #ตรวจสอบทรัพย์สิน #เสนาะเทียนทอง #ยึดทรัพย์รัฐมนตรี #ศาลฎีกา #ประชาธิปไตยไทย #รสช #สุจินดาคราประยูร
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 681 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        อัยการสูงสุดนำตัว “ภิรพล ลาภาโรจน์กิจ” อดีต สส.สงขลา ปชป.ฟ้องศาลฎีกาฯ ดอดนั่งเครื่องกลับบ้าน แต่ให้ สส.คนอื่นเสียบบัตรประชุมแทน ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงินพัฒนาโครงสร้างคมนาคมทั่วประเทศ เมื่อปี 2556 • เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (24 ก.พ.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (อม.) อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ อดีต สส.เขตเลือกตั้งที่ 2 จ.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลย คดีหมายเลขดำที่อม.5/2568 • อัยการสูงสุดฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2556 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปี ที่ 3 ครั้งที่ 11 (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพ ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ..จำเลยได้เดินทางไปอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เที่ยวบินที่ TG237 จากท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ ไปยังท่าอากาศยานหาดใหญ่ เวลา 18.05 -19.35 น. และไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยได้ เดินทางกลับมายังกรุงเทพมหานครในวันดังกล่าว แต่จำเลยได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่ง หรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยจำเลยได้ฝากบัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยให้กับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่น หรือยินยอมให้บัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยไปอยู่ในความครอบครอง ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่น เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายนั้นใช้บัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ของ จำเลยกดปุ่มแสดงตน และออกเสียงลงคะแนนแทนจำเลยในการพิจารณาและลงมติร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามมาตรา 5,7,10,11,14,16,17,18 และ 20 บัญชีท้าย วาระที่ 3 และข้อสังเกต ต่อเนื่องกันตามลำดับ ตั้งแต่เวลา 18.05 น. จนถึงเวลา 23.27 น. โดยที่ตนเองไม่อยู่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยมิชอบ เพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ปวงชนชาวไทยโดยส่วนรวม ฝ่ายนิติบัญญัติ สมาชิกรัฐสภาอื่น และเป็นการกระทำโดยทุจริต • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/crime/detail/9680000018176 • #MGROnline #สงขลา #พรรคประชาธิปัตย์ #เสียบบัตรประชุมแทน
        Angry
        1
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 570 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        ศาลฎีกาจีนเผยแพร่ผลการพิจารณาคดีสำคัญ 7 คดีเกี่ยวกับการฉ้อโกงผ่านระบบโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต โดยล่าสุดมีการตัดสินจำคุกตลอดชีวิต 4 ผู้ต้องหาคนสำคัญจากกลุ่มอาชญากรรมที่ก่อเหตุฉ้อโกงข้ามชาติผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ในคดีประเภท "โรแมนซ์สแกม" • รายงานของศาลฎีการะบุว่า ในช่วงต้นปี 2563 ผู้ต้องหาชาวจีนได้จัดตั้งกลุ่มฉ้อโกงที่เมืองสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา ในพื้นที่ที่เรียกว่า "สวนไฉเสิน อินเตอร์เนชั่นแนล" (Caishen International Park) โดยพวกเขาจ้างสมาชิกอีกหลายคนมาเป็นทีมงานเพื่อดำเนินการหลอกลวงประชาชนจีนผ่านโลกออนไลน์ โดยมีเป้าหมายหลักเป็นผู้หญิงที่เป็นนักธุรกิจหรือผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี • วิธีการของกลุ่มนี้คือใช้แอปพลิเคชั่นแชทและโซเชียลมีเดียต่างชาติในการเข้าหาเหยื่อ ปลอมตัวเป็นผู้ชายที่มีฐานะดีหน้าตาดี ทำทีตีสนิท พูดคุยจนเหยื่อเชื่อใจ จากนั้นหลอกล่อให้เหยื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันลงทุนออนไลน์หรือพนันออนไลน์ปลอมชื่อ "จินเทียนลี่" และแพลตฟอร์มอื่นๆ ซึ่งกลุ่มสามารถควบคุมและจัดการผลลัพธ์ให้เหยื่อหลงเชื่อได้ เมื่อเหยื่อลงทุนด้วยจำนวนเงินมากแล้ว กลุ่มจะตัดช่องทางถอนเงินออก และตัดการติดต่อกับเหยื่อในทันที • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/china/detail/9680000018150 • #MGROnline #โรแมนซ์สแกม
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 440 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        นโยบายการปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยเป็นแนวทางสำคัญของรัฐบาลไทยในการลดปัญหาทุจริตและสร้างความโปร่งใสในภาครัฐและเอกชน โดยมีแนวทางหลักดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะยาว ซึ่งล่าสุดคือ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2565) และขยายต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายเพิ่มดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของไทย (Corruption Perceptions Index - CPI) 2. กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดอำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เน้นการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง 3. มาตรการเชิงรุก โครงการ "ไทยโปร่งใส" และ E-Government ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมระบบ e-Procurement (การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์) การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection) มีกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต 4. การเข้าร่วมองค์กรสากลและมาตรการนานาชาติ ประเทศไทยเป็นภาคีของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) มีความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เช่น Transparency International 5. บทลงโทษและมาตรการป้องกัน โทษจำคุกและปรับสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนหรือใช้อำนาจโดยมิชอบ การริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต การแบนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากโครงการของรัฐ ผลลัพธ์และความท้าทาย แม้ว่าจะมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันในหลายระดับ โดยดัชนี CPI ของไทยในช่วงปีหลังยังคงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของนโยบายปราบปรามคอร์รัปชันในไทย
        Love
        1
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 611 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        นโยบายการปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยเป็นแนวทางสำคัญของรัฐบาลไทยในการลดปัญหาทุจริตและสร้างความโปร่งใสในภาครัฐและเอกชน โดยมีแนวทางหลักดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะยาว ซึ่งล่าสุดคือ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2565) และขยายต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายเพิ่มดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของไทย (Corruption Perceptions Index - CPI) 2. กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดอำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เน้นการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง 3. มาตรการเชิงรุก โครงการ "ไทยโปร่งใส" และ E-Government ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมระบบ e-Procurement (การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์) การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection) มีกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต 4. การเข้าร่วมองค์กรสากลและมาตรการนานาชาติ ประเทศไทยเป็นภาคีของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) มีความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เช่น Transparency International 5. บทลงโทษและมาตรการป้องกัน โทษจำคุกและปรับสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนหรือใช้อำนาจโดยมิชอบ การริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต การแบนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากโครงการของรัฐ ผลลัพธ์และความท้าทาย แม้ว่าจะมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันในหลายระดับ โดยดัชนี CPI ของไทยในช่วงปีหลังยังคงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของนโยบายปราบปรามคอร์รัปชันในไทย ผมสามารถค้นหาข้อมูลใหม่ให้ได้นะ
        Love
        1
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 616 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        พร้อมเข้าชื่อถอด 'สุชาติ' พ้นเก้าอี้ประธาน ป.ป.ช.'ประชาชน' ไม่ได้เอาคืนคดี 112 . แม้ว่ากระแสเรื่องคลิปการพบกันระหว่างนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบกปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะจางลงไปแล้ว แต่สำหรับพรรคประชาชน ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะมีรายงานว่าส.ส.ของพรรคจะมีการเข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญ 236 เพื่อยื่นให้ศาลฎีกาไต่สวน . นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ซึ่งพรรคประชาชนมีมติพรรคแล้ว ตอนนี้จึงอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมรายชื่อ โดยยืนยันว่าไม่ใช่การเอาคืนกรณีป.ป.ช.เรียก 44 สส.อดีตพรรคก้าวไกล รับทราบข้อกล่าวหาคดีร่วมลงชื่อแก้ไขมาตรา112 ของประมวลกฎหมายอาญา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของส.ส. ในการที่เราเข้าชื่อตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น และต้องชี้แจงอย่างตรงไปมา ว่า ในข้อร้องเรียนที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์หน้า ไม่ได้มีแค่คลิปวิดีโอ ระหว่างนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธาน ป.ป.ช. ตามที่ปรากฏ แต่ยังมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในส่วนอื่นด้วย ซึ่งพรรคประชาชนเราได้รวบรวมข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง . “ถึงแม้ไม่มีคดี 44 ส.ส. ก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ เพราะมีหลักฐาน และไม่ใช่แค่พรรคประชาชนทำได้เท่านั้น แต่เป็นสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภาทุกคนทุกฝ่าย ดังนั้น ถ้ามี สส.พรรคอื่น และ สว. เห็นตรงกันว่า ปัญหาทุจริตเป็นเรื่องสำคัญ ก็ใช้กลไกนี้ ในการตรวจสอบ และสามารถร่วมลงชื่อสนับสนุนได้ ย้ำว่า เราไม่ได้คิดถึงผลกระทบต่อคดี หรือหากพรุ่งนี้ คดี44ส.ส.ถูกยกไปหมด เราก็ยังยืนยันในการทำหน้าที่ตรวจสอบ” นายพริษฐ์ กล่าว . สำหรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดกระทำการตามมาตรา 234 (1) (มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง) โดยยื่นต่อประธานรัฐสภาพร้อมด้วยหลักฐานตามสมควร หากประธานรัฐสภาเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำตามที่ถูกกล่าวหา ให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริง ............. Sondhi X
        Like
        Wow
        Love
        Haha
        Yay
        Angry
        24
        2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2588 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        กกต.เสนอ ครม.ออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ สส. เขต 2 บึงกาฬ หลังศาลฎีกามีคำพิพากษา พร้อมสั่งเพิกถอนสิทธิและให้ “สุวรรณา กุมภิโร” ชดใช้ค่าจัดเลือกตั้งเมื่อปี 66 เกือบ 10 ล้านบาท อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017036 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
        Like
        Haha
        6
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1444 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498 วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8” ———— "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด" ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่ 1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้: “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้ แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498” ................ 2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้ “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’” .................. 3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้: “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’” ---------- ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า) ……… ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย —————- ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้: “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย) มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.” (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย) ------------ จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…” ………. ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
        Like
        2
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 779 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        25 ปี "โคบอลต์-60" รั่วไหล สมุทรปราการผวา รังสีที่คร่าชีวิต 3 ศพ เจ็บ 7 ราย หายนะร้านรับซื้อของเก่า 📅 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นวันที่สร้างความตื่นตระหนก ให้กับประเทศไทย เมื่อเกิดอุบัติเหตุรังสีรั่วไหล จากสารโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บอีก 7 ราย หลายคนได้รับผลกระทบ จากรังสีแกมมาที่ร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 25 ปี แต่ยังเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการจัดเก็บ และกำจัดสารกัมมันตรังสี 🛑 🔥 จุดเริ่มต้นของหายนะ สารรังสีหลุดจากการควบคุม เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด ได้รับซื้อเครื่องฉายรังสี "โคบอลต์-60" ที่หมดอายุ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อปี 2537 โดยเก็บไว้ที่โกดังของบริษัท ต่อมาในปี 2542 บริษัทได้เคลื่อนย้ายเครื่องฉายรังสี ไปยังลานจอดรถร้าง ย่านซอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ โดยไม่มีมาตรการ รักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ 😱 นี่กลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ที่ทำให้มีคนลักลอบ นำเครื่องฉายรังสีไปขายเป็นเศษเหล็ก โดยไม่รู้ว่าภายในนั้นมี "โคบอลต์-60" ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ในระดับอันตราย 🚨 🚨 เส้นทางของสารกัมมันตรังสี จากซาเล้งสู่ร้านรับซื้อของเก่า 🛒 24 มกราคม 2543 นายจิตรเสน จันทร์สาขา ซึ่งมีอาชีพเก็บของเก่า ได้รับซื้อเศษเหล็กปริศนา มาจากกลุ่มที่ลักลอบนำไปขาย 📍 1 กุมภาพันธ์ 2543 นายจิตรเสนนำชิ้นส่วนโลหะ ไปขายให้ ร้านรับซื้อของเก่า "สมจิตร" ในซอยวัดมหาวงษ์ ตำบลสำโรง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ 🔧 ขณะที่พยายามตัดแยกชิ้นส่วน ลูกจ้าง 2 คนของร้านรับซื้อของเก่า ใช้เครื่องตัดเหล็กแบบแก๊ส ผ่าออก พบแท่งโลหะ 2 ชิ้น และมีควันสีเหลือง ที่มีกลิ่นเหม็นออกมา โดยไม่รู้เลยว่านั่นคือ สารกัมมันตรังสี ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต! ☢️ ☢️ ผลกระทบจากรังสี โรครังสีเฉียบพลัน 🔬 15-17 กุมภาพันธ์ 2543 ผู้ที่สัมผัสรังสีเริ่มมีอาการรุนแรง เช่น ✅ อ่อนเพลีย ✅ มือบวมพอง ✅ แผลไหม้พุพอง ✅ เม็ดเลือดขาวต่ำ ✅ ผมร่วง 18 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อแพทย์พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการคล้ายกัน จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการได้รับรังสีรุนแรง และแจ้งไปยัง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) 🏥 การเสียชีวิตจากรังสีแกมมา 📅 9 มีนาคม 2543 นายนิพนธ์ พันธุ์ขันธ์ ลูกจ้างร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายแรก จากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจากรังสี 📅 18 มีนาคม 2543 นายสุดใจ ใจเร็ว ลูกจ้างอีกคน เสียชีวิตจากภาวะเดียวกัน 📅 24 มีนาคม 2543 สามีของนางสมจิตร เจ้าของร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายที่ 3 📌 แม้นายจิตรเสน จะรอดชีวิตมาได้ แต่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในไอซียู และถูกตัดนิ้วมือ ที่ได้รับรังสีสูง นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งที่ได้รับรังสี ต้องทำแท้ง เนื่องจากความเสี่ยงที่รังสี จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ⚖️ คดีความ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ได้รวมตัวกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากรัฐและเอกชน 📌 คดีศาลปกครอง ศาลสูงสุดพิพากษา ให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) จ่ายค่าสินไหมทดแทน 5.2 ล้านบาท 📌 คดีศาลแพ่ง ศาลฎีกาพิพากษาให้ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด จ่ายค่าเสียหาย 529,276 บาท แต่ท้ายที่สุด บริษัทไม่ได้รับผิดชอบต่อประชาชน ตามที่กล่าวอ้าง ❗ บทเรียนจากโศกนาฏกรรม 🔹 การขาดมาตรการจัดเก็บที่ปลอดภัย ทำให้สารกัมมันตรังสี รั่วไหลออกจากการควบคุม 🔹 การขาดความรู้ของประชาชน ทำให้มีคนสัมผัสสารรังสีโดยไม่รู้ตัว 🔹 ความล่าช้าในการจัดการของรัฐ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง แม้ว่าประเทศไทยจะมี สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกำกับดูแล แต่การขาดการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น 📌 เหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก 25 ปีผ่านไป เหตุการณ์ โคบอลต์-60 รั่วไหล ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า ความประมาท และการละเลยมาตรฐานความปลอดภัย ด้านกัมมันตรังสี อาจนำไปสู่หายนะร้ายแรง 📢 มาตรการป้องกันที่ควรมี ✅ การจัดเก็บสารกัมมันตรังสี ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ✅ การตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ ที่เคร่งครัด ✅ การให้ความรู้เกี่ยวกับ อันตรายของสารรังสีแก่ประชาชน ✅ การจัดการกากกัมมันตรังสีที่ถูกต้อง หากไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ อุบัติเหตุจากรังสี อาจเกิดขึ้นซ้ำได้ทุกเมื่อ ☢️ 📢 คำถามที่พบบ่อย (FAQs) 1. โคบอลต์-60 คืออะไร? โคบอลต์-60 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม แต่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 2. รังสีแกมมา ทำอันตรายต่อร่างกายอย่างไร? รังสีแกมมา สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลให้เกิดมะเร็ง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผิวหนังไหม้ และอวัยวะล้มเหลว 3. เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบ ต่อกฎหมายไทยอย่างไร? เหตุการณ์นี้ นำไปสู่การปรับปรุง มาตรการควบคุมสารกัมมันตรังสี ให้เข้มงวดมากขึ้น แต่ยังมีข้อบกพร่อง ในการบังคับใช้ 4. ประเทศไทยมีมาตรการป้องกัน อุบัติเหตุรังสีหรือไม่? มีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) กำกับดูแล แต่การบังคับใช้กฎหมาย ยังขาดความเข้มงวด ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181220 ก.พ. 2568 #️⃣ #โคบอลต์60 #สมุทรปราการ #รังสีรั่วไหล #ภัยรังสี #ความปลอดภัย #พลังงานปรมาณู #อันตรายจากรังสี #รังสีแกมมา #ข่าวดัง #บทเรียนจากอดีต 🚨
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 742 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม? ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่? ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง 🔎 ลักษณะพระบรมศพ มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย 💡 คำถามที่เกิดขึ้น เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์? หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ? มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด 1. นายเฉลียว ปทุมรส อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต 2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์ 3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต 💭 ข้อโต้แย้ง มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น 👀 ความน่าสงสัย - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง? แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด 🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ" ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน 🔴 ข้อโต้แย้ง ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง 🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์" มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร 🔴 ข้อโต้แย้ง ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ 🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป" สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥 - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์? - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่? ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568 #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 873 มุมมอง 0 รีวิว
      • อ่านเพิ่มเติม
        77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา 📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้ 🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ 📌 ภารกิจของหะยีสุหลง ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย 📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้ 📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง 1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง 2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80% 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา 6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม 💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ" ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ 📅 เหตุการณ์สำคัญ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม 🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป... หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้ 📌 ผลกระทบที่สำคัญ ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม 📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎 ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้ ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ 📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568 #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
        0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 733 มุมมอง 0 รีวิว
      • ♣️ กรรมไล่ล่า กุนซือกระติก ตัวกุนซือยังไม่รอด รับสารภาพในชั้นศาลฎีกา
        #7ดอกจิก
        ♣️ กรรมไล่ล่า กุนซือกระติก ตัวกุนซือยังไม่รอด รับสารภาพในชั้นศาลฎีกา #7ดอกจิก
        Video Player is loading.
        Current Time 0:00
        Duration -:-
        Loaded: 0%
        Stream Type LIVE
        Remaining Time -:-
         
        1x
          • Chapters
          • descriptions off, selected
          • captions and subtitles off, selected
            Like
            2
            0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 323 มุมมอง 2 0 รีวิว
          • ♣ หลบหนีแล้ว นิว จตุพร ชุดไทยล้อเลียน ไม่อยู่ฟังศาลฎีกาฯ อาจปิดโอกาสพรรคพวกที่เหลือจะได้ประกันตัวบ้าง
            #7ดอกจิก
            ♣ หลบหนีแล้ว นิว จตุพร ชุดไทยล้อเลียน ไม่อยู่ฟังศาลฎีกาฯ อาจปิดโอกาสพรรคพวกที่เหลือจะได้ประกันตัวบ้าง #7ดอกจิก
            Like
            1
            0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 308 มุมมอง 0 รีวิว
          Pages Boosts