• ปชน.แถลงซัดพรรคร่วมรัฐบาลเซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่กดแสดงตน ทำสภาฯ ล่ม สะท้อนรอยร้าว ขวางแก้ รธน. จี้ นายกฯ แสดงภาวะผู้นำคุมเสียงให้ได้

    วันที่ 13 ก.พ. 2568 ที่รัฐสภา พรรคประชาชน นำโดย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน แถลงภายหลังที่ประชุมรัฐสภาล่ม เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ในวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พุทธศักราช … (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ภายหลัง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้สมาชิกแสดงตนนับองค์ประชุมเพื่อลงมติของญัตติด่วน ขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรค 1 (2)

    โดยนายณัฐพงษ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการประชุมร่วมกันของรัฐสภานี้ ตนอยากยืนยันว่า รัฐสภามีอำนาจเต็ม ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ซึ่งจากทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็วินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า เราสามารถที่จะเดินหน้าแก้ไขมาตรา 256 ได้ในทันที อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็ไม่รับวินิจฉัย ในข้อสงสัยเรื่องของการทำหน้าที่ของรัฐสภาที่เกิดผลขึ้นแล้ว และการลงมติในญัตติแรก ที่จะมีการเลื่อนหรือไม่เลื่อน ในการพิจารณาว่าจะส่งไปศาลรัฐธรรมนูญก่อนหรือไม่นั้น ผลของการลงมติก็ออกมาแล้วว่า ให้รัฐเดินหน้าต่อในการพิจารณาร่างแก้ไขที่พรรคประชาชนได้เสนอเข้ามา แต่ปรากฏว่า ขณะที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในญัตติดังกล่าว ในการประชุมวาระที่หนึ่งของร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 นี้ มีการเสนอให้นับองค์ประชุม ซึ่งก็มีเพื่อนสมาชิกรัฐสภายู่ในห้องประชุม จากสายตาตนเชื่อว่า มีจำนวนมากกว่าคนที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ ก่อนที่ประธานรัฐสภาจะสั่งปิดการประชุม ตามข้อเท็จจริงนี้ ตนเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า มีเพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะจากฝั่งรัฐบาลเอง ไม่กดแสดงตน ไม่เป็นองค์ประชุม ทั้งที่นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้พูดไว้ในห้องประชุมว่า พรรคเพื่อไทยพร้อมที่จะเป็นองค์ประชุมในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้

    คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000014445

    #MGROnline #ร่างรัฐธรรมนูญ
    ปชน.แถลงซัดพรรคร่วมรัฐบาลเซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่กดแสดงตน ทำสภาฯ ล่ม สะท้อนรอยร้าว ขวางแก้ รธน. จี้ นายกฯ แสดงภาวะผู้นำคุมเสียงให้ได้ • วันที่ 13 ก.พ. 2568 ที่รัฐสภา พรรคประชาชน นำโดย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน แถลงภายหลังที่ประชุมรัฐสภาล่ม เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ในวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พุทธศักราช … (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ภายหลัง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้สมาชิกแสดงตนนับองค์ประชุมเพื่อลงมติของญัตติด่วน ขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรค 1 (2) • โดยนายณัฐพงษ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการประชุมร่วมกันของรัฐสภานี้ ตนอยากยืนยันว่า รัฐสภามีอำนาจเต็ม ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ซึ่งจากทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็วินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า เราสามารถที่จะเดินหน้าแก้ไขมาตรา 256 ได้ในทันที อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็ไม่รับวินิจฉัย ในข้อสงสัยเรื่องของการทำหน้าที่ของรัฐสภาที่เกิดผลขึ้นแล้ว และการลงมติในญัตติแรก ที่จะมีการเลื่อนหรือไม่เลื่อน ในการพิจารณาว่าจะส่งไปศาลรัฐธรรมนูญก่อนหรือไม่นั้น ผลของการลงมติก็ออกมาแล้วว่า ให้รัฐเดินหน้าต่อในการพิจารณาร่างแก้ไขที่พรรคประชาชนได้เสนอเข้ามา แต่ปรากฏว่า ขณะที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในญัตติดังกล่าว ในการประชุมวาระที่หนึ่งของร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 นี้ มีการเสนอให้นับองค์ประชุม ซึ่งก็มีเพื่อนสมาชิกรัฐสภายู่ในห้องประชุม จากสายตาตนเชื่อว่า มีจำนวนมากกว่าคนที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ ก่อนที่ประธานรัฐสภาจะสั่งปิดการประชุม ตามข้อเท็จจริงนี้ ตนเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า มีเพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะจากฝั่งรัฐบาลเอง ไม่กดแสดงตน ไม่เป็นองค์ประชุม ทั้งที่นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้พูดไว้ในห้องประชุมว่า พรรคเพื่อไทยพร้อมที่จะเป็นองค์ประชุมในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ • คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000014445 • #MGROnline #ร่างรัฐธรรมนูญ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • อนุทิน นำ ส.ว.น้ำเงิน ส่งสัญญาณแตกหัก อ้างหลักการแก้ รธน. ทำประชามติ 3 ครั้ง
    .
    การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่เปิดโอกาสในการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากภายหลังฝ่ายที่่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มส.ว.เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำความเห็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยสำนักกฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นต้องมีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ถามประชาชนก่อนว่าต้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหมหรือไม่ ครั้งที่ 2 (ถ้าผ่านครั้งที่ 1) นำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เสนอแก้มาตรา 256+เพิ่มหมวด 15/1 เสนอที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถ้าสภาเห็นชอบแล้ว จึงไปทำประชามติอีกที
    ครั้งที่ 3 (ถ้าผ่านครั้งที่ 2) ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่วมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงทำประชามติ
    .
    ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 221 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐ” ซึ่งความเห็นหลักฝ่ายนี้มีการอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18- 22/2555 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2564 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกลางของศาล (มิใช่คำวินิจฉัยส่วนตน) ตามที่วินิจฉัยว่า”…รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” มาเป็นหลักในการพิจารณา
    .
    ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ) และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 3) ส่วนการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 2 เป็นไปโดยบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 256 (8)
    .
    ความเห็นของสำนักกฎหมายฯ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้ทราบแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าความเห็นดังกล่าวจะเป็นท่าทีของ ส.ว.ส่วนใหญ่ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13-14 ก.พ.นี้
    .
    ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย มีเป็นมติเอกฉันท์ ไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากพี่น้องประชาชนก่อน เมื่อการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ขั้นตอนการทำประชามติยังไม่ได้รับการปฏิบัติพรรค จึงเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่สามารถที่จะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ เพราะเรามี ส.ส. ซึ่งพี่น้องประชาชนได้เลือกให้เราเข้ามาทำงาน ถึง 71 คน เราก็ต้องทำงาน จะไปรับความเสี่ยง โดยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วไม่ได้
    ..............
    Sondhi X
    อนุทิน นำ ส.ว.น้ำเงิน ส่งสัญญาณแตกหัก อ้างหลักการแก้ รธน. ทำประชามติ 3 ครั้ง . การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่เปิดโอกาสในการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากภายหลังฝ่ายที่่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มส.ว.เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำความเห็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยสำนักกฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นต้องมีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ถามประชาชนก่อนว่าต้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหมหรือไม่ ครั้งที่ 2 (ถ้าผ่านครั้งที่ 1) นำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เสนอแก้มาตรา 256+เพิ่มหมวด 15/1 เสนอที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถ้าสภาเห็นชอบแล้ว จึงไปทำประชามติอีกที ครั้งที่ 3 (ถ้าผ่านครั้งที่ 2) ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่วมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงทำประชามติ . ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 221 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐ” ซึ่งความเห็นหลักฝ่ายนี้มีการอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18- 22/2555 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2564 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกลางของศาล (มิใช่คำวินิจฉัยส่วนตน) ตามที่วินิจฉัยว่า”…รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” มาเป็นหลักในการพิจารณา . ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ) และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 3) ส่วนการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 2 เป็นไปโดยบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 256 (8) . ความเห็นของสำนักกฎหมายฯ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้ทราบแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าความเห็นดังกล่าวจะเป็นท่าทีของ ส.ว.ส่วนใหญ่ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13-14 ก.พ.นี้ . ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย มีเป็นมติเอกฉันท์ ไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากพี่น้องประชาชนก่อน เมื่อการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ขั้นตอนการทำประชามติยังไม่ได้รับการปฏิบัติพรรค จึงเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่สามารถที่จะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ เพราะเรามี ส.ส. ซึ่งพี่น้องประชาชนได้เลือกให้เราเข้ามาทำงาน ถึง 71 คน เราก็ต้องทำงาน จะไปรับความเสี่ยง โดยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วไม่ได้ .............. Sondhi X
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 374 มุมมอง 0 รีวิว
  • อย่างเป็นทางการ "อาหมัด อัลชารา" เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย

    จากผู้นำกลุ่มก่อการร้ายไอซิส ที่มีค่าหัวสิบล้านดอลลาร์ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีได้โดยไม่ต้องมีการเลือกตั้ง โดยไม่มีประเทศใดออกมาคัดค้าน แม้แต่กลุ่มประเทศยุโรปที่บ้าคลั่งประชาธิปไตยสุดขั้ว ในขณะที่ประเทศที่ผ่านการเลือกตั้งอย่างเบลารุส รัสเซีย จอร์เจีย โรมาเนีย เวเนซูเอล่า กลับโดนประณามจากกลุ่มประเทศยุโรป

    ช่วงเวลาต่อจากนี้ของซีเรีย "อาหมัด อัลชารา จะเป็นประธานาธิบดีซีเรียในช่วงเปลี่ยนผ่านเบื้องต้นระบะเวลา 4 ปี
    - กองกำลังท้ังหมดจากกลุ่มต่างๆจะถูกยุบและรวมเข้ากับรัฐบาลซีเรียชุดใหม่
    - พรรคบาอัธอาหรับ ของอดีตประธานาธิบดีอัสซาด และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ และเตรียมตั้ง "สภานิติบัญญัติชั่วคราว" เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่
    - น่าสนใจว่าขณะอัลจารากล่าวปราศรัยไม่มีผู้หญิงแม้แต่คนเดียวในที่ประชุมหัวหน้าทหาร
    อย่างเป็นทางการ "อาหมัด อัลชารา" เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย จากผู้นำกลุ่มก่อการร้ายไอซิส ที่มีค่าหัวสิบล้านดอลลาร์ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีได้โดยไม่ต้องมีการเลือกตั้ง โดยไม่มีประเทศใดออกมาคัดค้าน แม้แต่กลุ่มประเทศยุโรปที่บ้าคลั่งประชาธิปไตยสุดขั้ว ในขณะที่ประเทศที่ผ่านการเลือกตั้งอย่างเบลารุส รัสเซีย จอร์เจีย โรมาเนีย เวเนซูเอล่า กลับโดนประณามจากกลุ่มประเทศยุโรป ช่วงเวลาต่อจากนี้ของซีเรีย "อาหมัด อัลชารา จะเป็นประธานาธิบดีซีเรียในช่วงเปลี่ยนผ่านเบื้องต้นระบะเวลา 4 ปี - กองกำลังท้ังหมดจากกลุ่มต่างๆจะถูกยุบและรวมเข้ากับรัฐบาลซีเรียชุดใหม่ - พรรคบาอัธอาหรับ ของอดีตประธานาธิบดีอัสซาด และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ และเตรียมตั้ง "สภานิติบัญญัติชั่วคราว" เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ - น่าสนใจว่าขณะอัลจารากล่าวปราศรัยไม่มีผู้หญิงแม้แต่คนเดียวในที่ประชุมหัวหน้าทหาร
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 288 มุมมอง 0 รีวิว
  • พบ "วิษณุ เครืองาม" อดีตรองนายกฯ เป็นประธานกฤษฎีกาคณะพิเศษ พิจารณา กม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ขณะที่ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" อดีต ปธ.กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นั่งเป็นกรรมการด้วย คาดเสร็จเร็วกว่า 50 วัน
    .
    วันนี้ (29 ม.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ... หรือ กฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ พร้อมทั้งส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปรับถ้อยคำให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายและคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมา ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยมีนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 (เกี่ยวกับบริหารราชการแผ่นดิน) เป็นประธาน และมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 13 (เกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐ) เป็นกรรมการด้วย
    .
    ขณะที่รัฐบาลได้ส่ง นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ และนายฉัตริน จันทร์หอม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นตัวแทนเข้าไปร่วมประชุมคอยชี้แจงหลักการและแนวคิดของรัฐบาล โดยคณะกรรมการฯ ได้ประชุมกันไปแล้วหลายครั้ง รวมทั้งมีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง คือ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง และกระทรวงการมหาดไทย เข้าไปชี้แจงแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่า จากการเร่งเดินหน้าเรื่องดังกล่าว อาจทำให้การพิจารณาร่างกฎหมายเสร็จเร็วกว่ากรอบ 50 วัน ที่จะครบในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2568
    .
    ขณะที่เมื่อวานนี้ (28 ม.ค.) นายปกรณ์​ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า การหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ ในตอนนี้เรียกประชุม 3-4 ครั้งแล้ว ส่วนใหญ่เรียกกระทรวงการคลัง​ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือแล้ว ซึ่งการหารือไม่ได้มีอะไร ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ให้ข้อสังเกตไว้​ อย่างเรื่องการรักษาการร่วม และการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งไม่ได้มีประเด็นอะไร
    .
    ส่วนที่นายจุลพันธ์​ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง​ ระบุกฎหมายจะไม่มีการตราเรื่องสัดส่วนกาสิโน 10% ลงไปในนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ยังไม่ถึงขนาดนั้น ส่วนที่กฤษฎีกามองว่าควรจะมีการบัญญัติสัดส่วนของกาสิโนลงไปในกฎหมายเลยหรือไม่ เนื่องจากหากไม่มีการเขียนลงไปอย่างชัดเจน จะเป็นช่องว่างทางกฎหมาย นายปกรณ์เห็นว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นเพียงแค่​นายจุลพันธ์มาชี้แจงและเล่าให้ฟัง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติขนาดนั้น
    .
    ด้านนายจุล​พันธ์ปฏิเสธจะชี้แจงรายละเอียด ระบุเพียงว่า​ ไม่มีอะไร การพูดคุยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษราบรื่นดี ยืนยันว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ใช่ร่างกาสิโน โดยได้ชี้แจงตามข้อเท็จจริง และเป็นไปในแนวทางนโยบายแห่งรัฐ โดยสรุปว่านโยบายนี้คือองค์ประกอบของธุรกิจหลายรูปแบบ โดยรัฐบาลสามารถกำหนดได้ ซึ่งกาสิโนเป็นเพียงส่วนหนึ่ง สำหรับสัดส่วนกาสิโนไม่ได้มีการเขียนในกฎหมายตั้งแต่ต้น แต่อยู่ที่เจตจำนงของผู้กำหนดนโยบายในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเปิดกว้างเอาไว้ แต่หากต้องกำหนด เช่น ไม่เกิน 10% ก็สามารถดำเนินการได้​ ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่อย่างใด​ เพราะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วจะสามารถบริหารจัดการได้
    .
    ส่วนการไม่กำหนดสัดส่วนกาสิโนเข้าไปในกฎหมาย จะไม่เป็นช่องโหว่ทางกฎหมายนั้น นายจุล​พันธ์ยืนยันว่า นโยบายนี้ไม่ใช่เรื่องกาสิโนรายละเอียดของสถานที่ก็จะยังไม่เขียนในรายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบาย (ซูเปอร์บอร์ด) สถานบันเทิงครบวงจรในอนาคต เพราะไม่รู้ว่าในอนาคตใครจะมาเป็นผู้บริหาร ซึ่งตามหลักโมเดลธุรกิจไม่เกิน 10% เพราะมาตรฐานทั่วโลกไม่เกิน 5% เช่น สิงคโปร์ มีสัดส่วนกาสิโน 3% ฉะนั้นอย่าจินตนาการเลยสิ่งที่มันไม่เป็นจริงและข้อเท็จจริง​ พร้อมยืนยันว่าไม่กังวล ที่ขณะนี้สังคมกำลังจับตา เพราะทำตามหน้าที่และขั้นตอน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009147
    ..............
    Sondhi X
    พบ "วิษณุ เครืองาม" อดีตรองนายกฯ เป็นประธานกฤษฎีกาคณะพิเศษ พิจารณา กม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ขณะที่ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" อดีต ปธ.กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นั่งเป็นกรรมการด้วย คาดเสร็จเร็วกว่า 50 วัน . วันนี้ (29 ม.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ... หรือ กฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ พร้อมทั้งส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปรับถ้อยคำให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายและคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมา ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยมีนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 (เกี่ยวกับบริหารราชการแผ่นดิน) เป็นประธาน และมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 13 (เกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐ) เป็นกรรมการด้วย . ขณะที่รัฐบาลได้ส่ง นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ และนายฉัตริน จันทร์หอม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นตัวแทนเข้าไปร่วมประชุมคอยชี้แจงหลักการและแนวคิดของรัฐบาล โดยคณะกรรมการฯ ได้ประชุมกันไปแล้วหลายครั้ง รวมทั้งมีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง คือ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง และกระทรวงการมหาดไทย เข้าไปชี้แจงแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่า จากการเร่งเดินหน้าเรื่องดังกล่าว อาจทำให้การพิจารณาร่างกฎหมายเสร็จเร็วกว่ากรอบ 50 วัน ที่จะครบในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2568 . ขณะที่เมื่อวานนี้ (28 ม.ค.) นายปกรณ์​ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า การหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ ในตอนนี้เรียกประชุม 3-4 ครั้งแล้ว ส่วนใหญ่เรียกกระทรวงการคลัง​ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือแล้ว ซึ่งการหารือไม่ได้มีอะไร ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ให้ข้อสังเกตไว้​ อย่างเรื่องการรักษาการร่วม และการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งไม่ได้มีประเด็นอะไร . ส่วนที่นายจุลพันธ์​ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง​ ระบุกฎหมายจะไม่มีการตราเรื่องสัดส่วนกาสิโน 10% ลงไปในนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ยังไม่ถึงขนาดนั้น ส่วนที่กฤษฎีกามองว่าควรจะมีการบัญญัติสัดส่วนของกาสิโนลงไปในกฎหมายเลยหรือไม่ เนื่องจากหากไม่มีการเขียนลงไปอย่างชัดเจน จะเป็นช่องว่างทางกฎหมาย นายปกรณ์เห็นว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นเพียงแค่​นายจุลพันธ์มาชี้แจงและเล่าให้ฟัง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติขนาดนั้น . ด้านนายจุล​พันธ์ปฏิเสธจะชี้แจงรายละเอียด ระบุเพียงว่า​ ไม่มีอะไร การพูดคุยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษราบรื่นดี ยืนยันว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ใช่ร่างกาสิโน โดยได้ชี้แจงตามข้อเท็จจริง และเป็นไปในแนวทางนโยบายแห่งรัฐ โดยสรุปว่านโยบายนี้คือองค์ประกอบของธุรกิจหลายรูปแบบ โดยรัฐบาลสามารถกำหนดได้ ซึ่งกาสิโนเป็นเพียงส่วนหนึ่ง สำหรับสัดส่วนกาสิโนไม่ได้มีการเขียนในกฎหมายตั้งแต่ต้น แต่อยู่ที่เจตจำนงของผู้กำหนดนโยบายในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเปิดกว้างเอาไว้ แต่หากต้องกำหนด เช่น ไม่เกิน 10% ก็สามารถดำเนินการได้​ ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่อย่างใด​ เพราะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วจะสามารถบริหารจัดการได้ . ส่วนการไม่กำหนดสัดส่วนกาสิโนเข้าไปในกฎหมาย จะไม่เป็นช่องโหว่ทางกฎหมายนั้น นายจุล​พันธ์ยืนยันว่า นโยบายนี้ไม่ใช่เรื่องกาสิโนรายละเอียดของสถานที่ก็จะยังไม่เขียนในรายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบาย (ซูเปอร์บอร์ด) สถานบันเทิงครบวงจรในอนาคต เพราะไม่รู้ว่าในอนาคตใครจะมาเป็นผู้บริหาร ซึ่งตามหลักโมเดลธุรกิจไม่เกิน 10% เพราะมาตรฐานทั่วโลกไม่เกิน 5% เช่น สิงคโปร์ มีสัดส่วนกาสิโน 3% ฉะนั้นอย่าจินตนาการเลยสิ่งที่มันไม่เป็นจริงและข้อเท็จจริง​ พร้อมยืนยันว่าไม่กังวล ที่ขณะนี้สังคมกำลังจับตา เพราะทำตามหน้าที่และขั้นตอน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009147 .............. Sondhi X
    Like
    Wow
    Sad
    11
    5 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2184 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด 1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร.200 คน ให้สิทธินักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัคร สสร.ได้ ขีดเส้นทำ รธน.ใหม่ 360 วัน ตั้ง 45 อรหันต์ทำ รธน. ให้โควตาคนนอก 15 คน เขียนให้รัฐสภามีหน้าที่แค่แสดงความเห็น

    วันนี้(2 ม.ค. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชนและคณะ ได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เมื่อช่วงกลางเดือนธ.ค.2567 และ ประธานรัฐสภา เตรียมนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือถึงการนัดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเตรียมวาระพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 ม.ค. นั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่เอกสารร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่พรรคประชาชนเสนอ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ

    มีการระบุเหตุผลว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม รวมถึงมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จึงสมควรแก้ไข โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และแก้ไขมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไข

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000000359

    #MGROnline #พรรคประชาชน #ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
    เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด 1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร.200 คน ให้สิทธินักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัคร สสร.ได้ ขีดเส้นทำ รธน.ใหม่ 360 วัน ตั้ง 45 อรหันต์ทำ รธน. ให้โควตาคนนอก 15 คน เขียนให้รัฐสภามีหน้าที่แค่แสดงความเห็น • วันนี้(2 ม.ค. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชนและคณะ ได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เมื่อช่วงกลางเดือนธ.ค.2567 และ ประธานรัฐสภา เตรียมนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือถึงการนัดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเตรียมวาระพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 ม.ค. นั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่เอกสารร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่พรรคประชาชนเสนอ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ • มีการระบุเหตุผลว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม รวมถึงมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จึงสมควรแก้ไข โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และแก้ไขมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไข • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000000359 • #MGROnline #พรรคประชาชน #ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
    MGRONLINE.COM
    เปิดร่างแก้ รธน.ฉบับพรรคส้ม อ้างล้างมรดก คสช. รื้อหมวด 1 หมวด 2 ตั้ง สสร.200 คน นักการเมืองโดนแบนสมัครได้
    เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร. 200 คน ให้สิทธิ “นักการเมือง” ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัครสสร.ได้ ขีดเส้นทำรธน.ใ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 423 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาห์เมด อัล-ชารา ผู้นำโดยพฤตินัยของซีเรีย แย้มอาจใช้เวลาสูงสุด 4 ปึ แล้วถึงจัดการเลือกตั้ง จากความเห็นที่เผยแพร่ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ ถือเป็นครั้งแรกที่เขาพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของกรอบเวลาในการเลือกตั้ง นับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ถูกโค่นอำนาจไปในช่วงต้นเดือน
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์อัล อาราบิยา สื่อมวลชนแห่งรัฐของซาอุดีอาระเบีย ทาง ชารา บอกว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจใช้เวลาสูงสุด 3 ปี นอกจากนี้ เขายังระบุด้วยว่าอาจต้องใช้เวลาราว 1 ปี ชาวซีเรียถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างสุดขั้ว
    .
    ความเห็นจากชารา ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่โค่นล้มอัสซาด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลใหม่ในดามัสกัส กำลังหาทางรับประกันกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านว่า พวกเขากำลังถอยห่างจากรากเหง้าหัวรุนแรงอิสลามิสต์
    .
    ยุทธการจู่โจมสายฟ้าแลบของทางกลุ่ม นำมาซึ่งจุดจบสงครามกลางเมือง แต่ขณะเดียวกันก็ทิ้งไว้ซึ่งคำถามต่างๆ มากมายเกี่ยวกับอนาคตของประเทศที่ประกอบด้วยผู้คนหลายชาติพันธุ์แห่งนี้ ดินแดนที่ต่างชาติ ในนั้นรวมถึงตุรกีและรัสเซียแย่งชิงผลประโยชน์กันอย่างเต็มที่
    .
    ในขณะที่มหาอำนาจตะวันตกแสดงความยินดีเป็นส่วนใหญ่ต่อการสิ้นสุดระบอบการปกครองของตระกูลอัสซาดในซีเรีย แต่มันยังคงไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทางกลุ่มจะกำหนดกฎหมายอิสลามิกอันเข้มงวดหรือไม่ หรือแสดงความยืดหยุ่น พร้อมกับมุ่งหน้าสู่ประชาธิปไตย
    .
    ชารา กล่าวว่า กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่มีชื่อเดิมว่า นุสรา ฟอนต์ จะถุกยุบ ณ ที่ประชุมระดับชาติแห่งหนึ่ง และพอถูกถามเกี่ยวกับการยุบกลุ่ม ชารา ระบุว่า "แน่นอน ประเทศแห่งนี้ไม่อาจบริหารโดยความคิดของกลุ่มและพวกติดอาวุธ"
    .
    ทางกลุ่มครั้งหนึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และกลุ่มอัล-กออิดะห์ ทว่านับตั้งแต่นั้นได้ประกาศละทิ้งทั้ง 2 กลุ่ม และหาทางวางสถานะใหม่ของตนเอง ในฐานะขุมกำลังสายกลาง
    .
    พวกเขาประกาศซ้ำๆ ว่าจะปกป้องชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ซึ่งหวั่นเกรงว่าพวกผู้ปกครองใหม่อาจหาทางจัดตั้งรัฐบาลอิสลามิสต์ และเตือนถึงความพยายามปลุกระดมความขัดแย้งระหว่างนิกาย
    .
    ชารา บอกว่าที่ประชุมระดับชาติ จะมีผู้เข้าร่วมอย่างกว้างวางในสังคมซีเรีย โดยที่จะมีการลงมติในประเด็นต่างๆ อย่างเช่นยุบสภาและฉีกรัฐธรรมนูญ
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์ ทาง ชารา ยืนยันด้วยว่า ซีเรียมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกับรัสเซีย พันธมิตรใกล้ชิดของอัสซาดระหว่างสงครามกลางเมือง และมีฐานทัพทหารในประเทศแห่งนี้ เน้นย้ำจุดยืนจะผูกไมตรีกับมอสโก แบบเดียวกับที่รัฐบาลของเขาเคยส่งสัญญาณก่อนหน้านี้
    .
    เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ชารา ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียกับรัสเซีย ควรรับใช้ผลประโยชน์ร่วม ในขณะที่ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย บอกว่าสถานะของฐานทัพรัสเซียจะขึ้นอยู่กับการเจรจากับผู้นำคนใหม่ในดามัสกัส
    .
    "คำถามไม่ใช่แค่ว่าจะคงไว้ซึ่งฐานทัพหรือป้อมปราการของเราหรือไม่ แต่ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมด้านปฏิบัติการ การบำรุงรักษาและข้อกำหนดของฐานทัพหรือป้อมปราการเหล่านั้น เช่นเดียวกับการสื่อสารกับพวกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น" ลาฟรอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอ
    .
    แม้ส่งสัญญาณสานสัมพันธ์กับรัสเซีย แต่ทาง ชารา ยังแสดงความหวังว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานซีเรีย หลังจากพวกนักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ ที่เดินทางเยือนกรุงดามัสกัส เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา เผยว่า วอชิงตันตัดสินใจยกเลิกเงินค่าหัว 10 ล้านดอลลาร์ ที่ตั้งไว้สำหรับผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม รายนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000124985
    ..................
    Sondhi X
    อาห์เมด อัล-ชารา ผู้นำโดยพฤตินัยของซีเรีย แย้มอาจใช้เวลาสูงสุด 4 ปึ แล้วถึงจัดการเลือกตั้ง จากความเห็นที่เผยแพร่ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ ถือเป็นครั้งแรกที่เขาพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของกรอบเวลาในการเลือกตั้ง นับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ถูกโค่นอำนาจไปในช่วงต้นเดือน . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์อัล อาราบิยา สื่อมวลชนแห่งรัฐของซาอุดีอาระเบีย ทาง ชารา บอกว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจใช้เวลาสูงสุด 3 ปี นอกจากนี้ เขายังระบุด้วยว่าอาจต้องใช้เวลาราว 1 ปี ชาวซีเรียถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างสุดขั้ว . ความเห็นจากชารา ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่โค่นล้มอัสซาด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลใหม่ในดามัสกัส กำลังหาทางรับประกันกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านว่า พวกเขากำลังถอยห่างจากรากเหง้าหัวรุนแรงอิสลามิสต์ . ยุทธการจู่โจมสายฟ้าแลบของทางกลุ่ม นำมาซึ่งจุดจบสงครามกลางเมือง แต่ขณะเดียวกันก็ทิ้งไว้ซึ่งคำถามต่างๆ มากมายเกี่ยวกับอนาคตของประเทศที่ประกอบด้วยผู้คนหลายชาติพันธุ์แห่งนี้ ดินแดนที่ต่างชาติ ในนั้นรวมถึงตุรกีและรัสเซียแย่งชิงผลประโยชน์กันอย่างเต็มที่ . ในขณะที่มหาอำนาจตะวันตกแสดงความยินดีเป็นส่วนใหญ่ต่อการสิ้นสุดระบอบการปกครองของตระกูลอัสซาดในซีเรีย แต่มันยังคงไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทางกลุ่มจะกำหนดกฎหมายอิสลามิกอันเข้มงวดหรือไม่ หรือแสดงความยืดหยุ่น พร้อมกับมุ่งหน้าสู่ประชาธิปไตย . ชารา กล่าวว่า กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ที่มีชื่อเดิมว่า นุสรา ฟอนต์ จะถุกยุบ ณ ที่ประชุมระดับชาติแห่งหนึ่ง และพอถูกถามเกี่ยวกับการยุบกลุ่ม ชารา ระบุว่า "แน่นอน ประเทศแห่งนี้ไม่อาจบริหารโดยความคิดของกลุ่มและพวกติดอาวุธ" . ทางกลุ่มครั้งหนึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และกลุ่มอัล-กออิดะห์ ทว่านับตั้งแต่นั้นได้ประกาศละทิ้งทั้ง 2 กลุ่ม และหาทางวางสถานะใหม่ของตนเอง ในฐานะขุมกำลังสายกลาง . พวกเขาประกาศซ้ำๆ ว่าจะปกป้องชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ซึ่งหวั่นเกรงว่าพวกผู้ปกครองใหม่อาจหาทางจัดตั้งรัฐบาลอิสลามิสต์ และเตือนถึงความพยายามปลุกระดมความขัดแย้งระหว่างนิกาย . ชารา บอกว่าที่ประชุมระดับชาติ จะมีผู้เข้าร่วมอย่างกว้างวางในสังคมซีเรีย โดยที่จะมีการลงมติในประเด็นต่างๆ อย่างเช่นยุบสภาและฉีกรัฐธรรมนูญ . ระหว่างให้สัมภาษณ์ ทาง ชารา ยืนยันด้วยว่า ซีเรียมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกับรัสเซีย พันธมิตรใกล้ชิดของอัสซาดระหว่างสงครามกลางเมือง และมีฐานทัพทหารในประเทศแห่งนี้ เน้นย้ำจุดยืนจะผูกไมตรีกับมอสโก แบบเดียวกับที่รัฐบาลของเขาเคยส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ . เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ชารา ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียกับรัสเซีย ควรรับใช้ผลประโยชน์ร่วม ในขณะที่ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย บอกว่าสถานะของฐานทัพรัสเซียจะขึ้นอยู่กับการเจรจากับผู้นำคนใหม่ในดามัสกัส . "คำถามไม่ใช่แค่ว่าจะคงไว้ซึ่งฐานทัพหรือป้อมปราการของเราหรือไม่ แต่ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมด้านปฏิบัติการ การบำรุงรักษาและข้อกำหนดของฐานทัพหรือป้อมปราการเหล่านั้น เช่นเดียวกับการสื่อสารกับพวกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น" ลาฟรอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอ . แม้ส่งสัญญาณสานสัมพันธ์กับรัสเซีย แต่ทาง ชารา ยังแสดงความหวังว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานซีเรีย หลังจากพวกนักการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ ที่เดินทางเยือนกรุงดามัสกัส เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา เผยว่า วอชิงตันตัดสินใจยกเลิกเงินค่าหัว 10 ล้านดอลลาร์ ที่ตั้งไว้สำหรับผู้นำกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม รายนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000124985 .................. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1349 มุมมอง 0 รีวิว
  • อะห์หมัด อัลชารา ผู้ปกครองซีเรียประกาศชัดเจนว่า จะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีได้ และรัฐบาลใหม่ของซีเรียจะประกอบด้วยสมาชิกจาก HTS

    อัลชารา ให้เหตุผลว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านในซีเรีย ซึ่งยังมีความอ่อนไหว ยังไม่เหมาะสมที่จะมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีเร็วๆนี้

    เขายังกล่าวอีกว่า จะมีเพียงรัฐบาลรักษาการ ที่มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้าใจกันมานาน เพราะต้องการการทำงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นรัฐมนตรีจะมาจากกลุ่ม HTS เพื่อเข้ามาสร้างรัฐธรรมนูญ กฎหมายและระเบียบใหม่ในซีเรีย ซึ่งอาจจะระยะเวลาอย่างน้อยที่สุด 3 ปี ส่วนการจัดการเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นหลังจาก 4 ปี ไปแล้ว นั่นขึ้นอยู่กับความเรียบร้อยของรัฐธรรมนูญใหม่
    อะห์หมัด อัลชารา ผู้ปกครองซีเรียประกาศชัดเจนว่า จะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีได้ และรัฐบาลใหม่ของซีเรียจะประกอบด้วยสมาชิกจาก HTS อัลชารา ให้เหตุผลว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านในซีเรีย ซึ่งยังมีความอ่อนไหว ยังไม่เหมาะสมที่จะมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีเร็วๆนี้ เขายังกล่าวอีกว่า จะมีเพียงรัฐบาลรักษาการ ที่มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้าใจกันมานาน เพราะต้องการการทำงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นรัฐมนตรีจะมาจากกลุ่ม HTS เพื่อเข้ามาสร้างรัฐธรรมนูญ กฎหมายและระเบียบใหม่ในซีเรีย ซึ่งอาจจะระยะเวลาอย่างน้อยที่สุด 3 ปี ส่วนการจัดการเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นหลังจาก 4 ปี ไปแล้ว นั่นขึ้นอยู่กับความเรียบร้อยของรัฐธรรมนูญใหม่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 216 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพการชุมนุมประท้วงในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรียขณะนี้ ประชาชนเรียกร้องให้จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา และให้ผู้หญิงสามารถใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้โดยอิสระ โดยต้องการแยกศาสนาออกจากการปกครองของรัฐ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันระหว่างทุกคน หลังจากที่มีข่าวว่า โจลานีผู้นำซีเรียคนใหม่กำลังพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะอ้างอิงจากกฎหมายชารีอะห์

    หมายเหตุ: ในยุคของระบอบการปกครองอัสซาด พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตตามปกติ
    ภาพการชุมนุมประท้วงในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรียขณะนี้ ประชาชนเรียกร้องให้จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา และให้ผู้หญิงสามารถใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้โดยอิสระ โดยต้องการแยกศาสนาออกจากการปกครองของรัฐ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันระหว่างทุกคน หลังจากที่มีข่าวว่า โจลานีผู้นำซีเรียคนใหม่กำลังพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะอ้างอิงจากกฎหมายชารีอะห์ หมายเหตุ: ในยุคของระบอบการปกครองอัสซาด พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตตามปกติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 424 มุมมอง 5 0 รีวิว
  • สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด

    เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ

    นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989

    #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด • เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ • นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989 • #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 405 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดสมัยประชุม ดิ้นเฮือกสุดท้าย เดินหน้าแก้ รธน.
    .
    12 ธันวาคม เป็นวันแรกของการเปิดสมัยประชุมสภา แน่นอนว่าประเด็นหลักที่หลายฝ่ายพูดถึง คือ ความเป็นไปได้ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นประตูสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
    .
    นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่ถูกบรรจุลงระเบียบวาระแล้ว 17 ฉบับ ซึ่งยังไม่มีฉบับใด ที่เป็นการแก้ไขทั้งฉบับ และหากไม่มีการเสนอแก้ไขทั้งฉบับเข้ามา ก็ต้องพิจารณาแก้ไขรายมาตราตามที่บรรจุไว้ โดยในการเปิดประชุมสภา วันที่ 12 ธ.ค.จะต้องมีการถามวิปทั้งสามฝ่ายว่า หากไม่มีการแก้ทั้งฉบับแล้ว จะมาพิจารณาว่าฉบับไหนมีความจำเป็น และเมื่อเปิดสภา และมีการประชุมร่วมเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกระทำช่วงใด
    .
    "เชื่อว่าจะต้องอยู่ภายในเดือนธันวาคม เพราะมีวาระที่จะต้องพิจารณา คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ต้องให้สภาพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน และใกล้ครบกำหนด 60 วันแล้ว ดังนั้นสภาจะต้องมีการพิจารณากฎหมายนี้ และหลังจากนั้น ก็จะตามด้วยกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 17 ฉบับ ซึ่งจะพิจารณาในคราวเดียวไม่ได้ แต่จะต้องมาพิจารณาว่าจะพิจารณาฉบับไหนก่อนหลัง" ประธานรัฐสภา กล่าว
    .
    ด้าน นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในนามพรรคชาติไทยพัฒนาเห็นว่าวันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่โอกาสที่จะได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นยังมีอยู่ แต่ไม่สามารถจะเสนอได้ทันภายในสภาสมัยนี้แน่นอน ส่วนตัวคาดว่าจะได้เพียงแค่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แม้แต่ ส.ส.ร.เองก็ยังติดปัญหาอยู่เช่นกัน เพราะโอกาสที่จะทำประชามติสองครั้ง ส่วนตัวก็ไม่เชื่อว่าจะทำได้ ซึ่งต้องทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคือ 3 ครั้ง เนื่องจากหากทำประชามติแค่ 2 ครั้ง สมาชิกรัฐสภาอาจจะอึดอัดกับการโหวต เพราะอาจจะไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
    ..............
    Sondhi X
    เปิดสมัยประชุม ดิ้นเฮือกสุดท้าย เดินหน้าแก้ รธน. . 12 ธันวาคม เป็นวันแรกของการเปิดสมัยประชุมสภา แน่นอนว่าประเด็นหลักที่หลายฝ่ายพูดถึง คือ ความเป็นไปได้ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นประตูสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ . นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่ถูกบรรจุลงระเบียบวาระแล้ว 17 ฉบับ ซึ่งยังไม่มีฉบับใด ที่เป็นการแก้ไขทั้งฉบับ และหากไม่มีการเสนอแก้ไขทั้งฉบับเข้ามา ก็ต้องพิจารณาแก้ไขรายมาตราตามที่บรรจุไว้ โดยในการเปิดประชุมสภา วันที่ 12 ธ.ค.จะต้องมีการถามวิปทั้งสามฝ่ายว่า หากไม่มีการแก้ทั้งฉบับแล้ว จะมาพิจารณาว่าฉบับไหนมีความจำเป็น และเมื่อเปิดสภา และมีการประชุมร่วมเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกระทำช่วงใด . "เชื่อว่าจะต้องอยู่ภายในเดือนธันวาคม เพราะมีวาระที่จะต้องพิจารณา คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ต้องให้สภาพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน และใกล้ครบกำหนด 60 วันแล้ว ดังนั้นสภาจะต้องมีการพิจารณากฎหมายนี้ และหลังจากนั้น ก็จะตามด้วยกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 17 ฉบับ ซึ่งจะพิจารณาในคราวเดียวไม่ได้ แต่จะต้องมาพิจารณาว่าจะพิจารณาฉบับไหนก่อนหลัง" ประธานรัฐสภา กล่าว . ด้าน นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในนามพรรคชาติไทยพัฒนาเห็นว่าวันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่โอกาสที่จะได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้นยังมีอยู่ แต่ไม่สามารถจะเสนอได้ทันภายในสภาสมัยนี้แน่นอน ส่วนตัวคาดว่าจะได้เพียงแค่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แม้แต่ ส.ส.ร.เองก็ยังติดปัญหาอยู่เช่นกัน เพราะโอกาสที่จะทำประชามติสองครั้ง ส่วนตัวก็ไม่เชื่อว่าจะทำได้ ซึ่งต้องทำตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคือ 3 ครั้ง เนื่องจากหากทำประชามติแค่ 2 ครั้ง สมาชิกรัฐสภาอาจจะอึดอัดกับการโหวต เพราะอาจจะไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 807 มุมมอง 0 รีวิว
  • สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต-อดีตสปช. อายุ 86 ปี 

    เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานว่า นายสมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปช.) เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สิริอายุ 86 ปี

    สำหรับ นายสมชัย เป็นน้องชายของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2481 สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุรุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Master of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Doctor of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา

    นายสมชัย เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง นักเศรษฐศาสตร์ประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อีกทั้งยัง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการองค์กร และบริษัทชั้นนำอีกหลายแห่ง

    ที่มา https://www.matichon.co.th/politics/news_4885914

    #Thaitimes
    สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต-อดีตสปช. อายุ 86 ปี  เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานว่า นายสมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปช.) เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สิริอายุ 86 ปี สำหรับ นายสมชัย เป็นน้องชายของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2481 สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุรุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Master of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Doctor of Philosophy The University of Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา นายสมชัย เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง นักเศรษฐศาสตร์ประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อีกทั้งยัง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการองค์กร และบริษัทชั้นนำอีกหลายแห่ง ที่มา https://www.matichon.co.th/politics/news_4885914 #Thaitimes
    WWW.MATICHON.CO.TH
    สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อายุ 86 ปี
    สิ้น สมชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อายุ 86 ปี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 473 มุมมอง 0 รีวิว
  • #สาเหตุที่ส้มกลับลำมาเชียร์อิ๊งอวยแม๊ว
    เรื่องนี้ต้องยอมรับว่าพี่คิงส์โพธิ์แดงได้รับรู้แล้ว
    รู้สึกไม่สบายใจพอสมควร เพราะเมื่อใดที่ส้ม
    และแม๊วมีการเอี้ยเซียะกัน ซึ่งในวันนี้ขนาดพรรคปชป
    แม๊วยังเอามาร่วมรัฐบาลได้ นับประสาอะไร
    กับการที่พรรคส้มฝ่ายค้านจะเอี้ยเซียะกับแม๊วไม่ได้
    ง่ายกว่า ปชป เยอะแยะมากมาย
    เพราะฐานเดิม โทนี่ ก็ถือเป็นผู้หมิ่นฟ้าตัวแรกของประเทศ
    และสั่งสอนให้คนเสื้อแดงบางกลุ่ม จัดหนักจัดเต็ม
    และยังไปให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติ บิดเบือน
    ให้แปดเปื้อนต่อสถาบันมาโดยตลอด
    ดังนั้น กรณี 112 ที่ธนาธรและพรรคส้มตั้งเป้าหมายไว้
    จริงๆแม๊วก็ไม่ได้ติดอะไรหรอก
    แต่ถ้าจะไล่เรียง ว่าสาเหตุอะไรที่วันนี้ พรรคส้มออกตัว
    จะสนับสนุนรัฐบาลเพื่อไทย พี่คิงส์จะเหลาให้ฟังนะ
    1. วันนี้โทนี่ยังติดบ่วงเรื่อง 112 ซึ่งยากยิ่งต่อการหลบเลี่ยง ดังนั้น การออกกฏหมายนิรโทษกรรม พ่วง 112 จึงไม่ใช่ความต้องการสูงสุดของพรรคส้มเท่านั้น แต่รวมไปถึงแม๊วด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้านิรโทษกรรมพ่วง 112 สำเร็จ สัมพเวสีที่ก่อกรรมต่อสถาบันจะหลุดทันที และกลับมาย่ำยีมากยิ่งขึ้นอย่างหยุดไม่ได้ ทั้งกลุ่มทะลุวัง และที่ถูกตัดสิทธิ์ทั้งหลาย จะรอดมาได้อย่างชิลๆ
    2. แม๊วมีเป้าอย่างแน่วแน่ในการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อปลอดล็อค ทั้งเรื่องจริยธรรม และส่วนอื่นๆที่รัฐธรรมนูญปี 60 ได้บล็อคอำนาจไม่ให้โทนี่ทำอะไรดั่งใจเหมือนในอดีต รวมถึงบรรดารัฐมนตรีที่มีมลทินอีกหลายตัวก็อยากแก้เช่นกัน ถ้าแก้ได้ แม๊วจะกลายเป็นอมตะทางการเมือง แบบสืบทอดยาวๆแก้ไขได้ยากมาก
    3. นโยบายเรื่องคอมเพล็กที่แม๊วรับเงินกินเปล่ามาแล้วจากต่างชาติบางส่วน อันนี้ พรรคส้มยิ้มเลยเชียว เพราะนโยบายสอดคล้อง คะหรี่เสรี ทำแท๊งเสรี เอ วีถูกกฏหมาย และบรรดาเรื่องโสมมที่ก้าวไกลรักและผลักดันจะบรรเจิดแน่นอน
    4. การแก้กฏหมายเพื่อลดอำนาจศาล เรื่องนี้ แม๊วธร ได้ประโยชน์อย่างยิ่งยวด เรียกว่าปิดตาระบบนิติรัฐ ทำให้นักการเมืองแบบแม๊วธร ไม่มีสิ่งใดที่จะคานอำนาจได้อีกต่อไป
    นี่คือ 4 เหตุผลหลักที่จะอธิบาย
    ถึงความร่วมมือแบบกลับลำของพรรคส้มและเพื่อไทย
    ที่จากนี้ไป จะเห็นอะไรเลี่ยนๆอีกเยอะ
    สงสารจัง ประเทศไทย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #สาเหตุที่ส้มกลับลำมาเชียร์อิ๊งอวยแม๊ว เรื่องนี้ต้องยอมรับว่าพี่คิงส์โพธิ์แดงได้รับรู้แล้ว รู้สึกไม่สบายใจพอสมควร เพราะเมื่อใดที่ส้ม และแม๊วมีการเอี้ยเซียะกัน ซึ่งในวันนี้ขนาดพรรคปชป แม๊วยังเอามาร่วมรัฐบาลได้ นับประสาอะไร กับการที่พรรคส้มฝ่ายค้านจะเอี้ยเซียะกับแม๊วไม่ได้ ง่ายกว่า ปชป เยอะแยะมากมาย เพราะฐานเดิม โทนี่ ก็ถือเป็นผู้หมิ่นฟ้าตัวแรกของประเทศ และสั่งสอนให้คนเสื้อแดงบางกลุ่ม จัดหนักจัดเต็ม และยังไปให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติ บิดเบือน ให้แปดเปื้อนต่อสถาบันมาโดยตลอด ดังนั้น กรณี 112 ที่ธนาธรและพรรคส้มตั้งเป้าหมายไว้ จริงๆแม๊วก็ไม่ได้ติดอะไรหรอก แต่ถ้าจะไล่เรียง ว่าสาเหตุอะไรที่วันนี้ พรรคส้มออกตัว จะสนับสนุนรัฐบาลเพื่อไทย พี่คิงส์จะเหลาให้ฟังนะ 1. วันนี้โทนี่ยังติดบ่วงเรื่อง 112 ซึ่งยากยิ่งต่อการหลบเลี่ยง ดังนั้น การออกกฏหมายนิรโทษกรรม พ่วง 112 จึงไม่ใช่ความต้องการสูงสุดของพรรคส้มเท่านั้น แต่รวมไปถึงแม๊วด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้านิรโทษกรรมพ่วง 112 สำเร็จ สัมพเวสีที่ก่อกรรมต่อสถาบันจะหลุดทันที และกลับมาย่ำยีมากยิ่งขึ้นอย่างหยุดไม่ได้ ทั้งกลุ่มทะลุวัง และที่ถูกตัดสิทธิ์ทั้งหลาย จะรอดมาได้อย่างชิลๆ 2. แม๊วมีเป้าอย่างแน่วแน่ในการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อปลอดล็อค ทั้งเรื่องจริยธรรม และส่วนอื่นๆที่รัฐธรรมนูญปี 60 ได้บล็อคอำนาจไม่ให้โทนี่ทำอะไรดั่งใจเหมือนในอดีต รวมถึงบรรดารัฐมนตรีที่มีมลทินอีกหลายตัวก็อยากแก้เช่นกัน ถ้าแก้ได้ แม๊วจะกลายเป็นอมตะทางการเมือง แบบสืบทอดยาวๆแก้ไขได้ยากมาก 3. นโยบายเรื่องคอมเพล็กที่แม๊วรับเงินกินเปล่ามาแล้วจากต่างชาติบางส่วน อันนี้ พรรคส้มยิ้มเลยเชียว เพราะนโยบายสอดคล้อง คะหรี่เสรี ทำแท๊งเสรี เอ วีถูกกฏหมาย และบรรดาเรื่องโสมมที่ก้าวไกลรักและผลักดันจะบรรเจิดแน่นอน 4. การแก้กฏหมายเพื่อลดอำนาจศาล เรื่องนี้ แม๊วธร ได้ประโยชน์อย่างยิ่งยวด เรียกว่าปิดตาระบบนิติรัฐ ทำให้นักการเมืองแบบแม๊วธร ไม่มีสิ่งใดที่จะคานอำนาจได้อีกต่อไป นี่คือ 4 เหตุผลหลักที่จะอธิบาย ถึงความร่วมมือแบบกลับลำของพรรคส้มและเพื่อไทย ที่จากนี้ไป จะเห็นอะไรเลี่ยนๆอีกเยอะ สงสารจัง ประเทศไทย #คิงส์โพธิ์แดง
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 778 มุมมอง 0 รีวิว