• นี่คือโพสแรกใน thaitime เพราะรู้สึกไม่ชอบใจ facebook ซึ่งผมได้เป็นสมาชิกและเปิด account ตั้งแต่ facebook เพิ่งก่อตั้งใหม่ ๆ จนเมื่อไม่กี่ปีนี้หลังจากได้โพสเกี่ยวกับความเห็นแก่ได้ของตะวันตกตั้งแต่วิกฤติ รศ.112 หลังจากโพสดังกล่าวได้ไม่กี่เดือน account นั้นก็โดนแฮกและเปลี่ยนการเป็นเจ้าของไปเลยไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ ผมดีใจครับที่ ที่นี่ไม่ตกอยู่ในอาณัติของตะวันตก และอเมริกา แล้ว สมัยผมยังเด็กหรือเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ผมมีความเห็นว่าอเมริกา คือ พระเอก ส่วนโซเวียต หรือ เกาหลีเหนือ จีนแผ่นดินใหม่ และชาติอาหรับ คือตัวโกง หรือผู้ร้าย จากการถูกปลูกฝังจาก สื่อต่างๆ และผ่านภาพยนต์ ฮอลลีวูด จนเมื่อเริ่มเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้มากขึ้นถึงได้รู้ไส้พุง พวกตะวันตกและอเมริกา ว่าคิดอย่างไรกับชาติที่ล้าหลังทางวิทยาการ เช่นเอเซีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ อย่างน้อยที่Thaitimes ก็จะเป็นที่ได้ระบายความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตัวโดยไม่ตั้องกลัวถูกปิดกั้นอีกแล้ว .... สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณคุณสนธิ ที่เป็นกระบอกเสียงและเปิดช่องทางให้กับคนอย่างพวกผมโดยไม่ต้องง้อพวกตะวันตกอีก ขอบคุณครับ
    นี่คือโพสแรกใน thaitime เพราะรู้สึกไม่ชอบใจ facebook ซึ่งผมได้เป็นสมาชิกและเปิด account ตั้งแต่ facebook เพิ่งก่อตั้งใหม่ ๆ จนเมื่อไม่กี่ปีนี้หลังจากได้โพสเกี่ยวกับความเห็นแก่ได้ของตะวันตกตั้งแต่วิกฤติ รศ.112 หลังจากโพสดังกล่าวได้ไม่กี่เดือน account นั้นก็โดนแฮกและเปลี่ยนการเป็นเจ้าของไปเลยไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ ผมดีใจครับที่ ที่นี่ไม่ตกอยู่ในอาณัติของตะวันตก และอเมริกา แล้ว สมัยผมยังเด็กหรือเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ผมมีความเห็นว่าอเมริกา คือ พระเอก ส่วนโซเวียต หรือ เกาหลีเหนือ จีนแผ่นดินใหม่ และชาติอาหรับ คือตัวโกง หรือผู้ร้าย จากการถูกปลูกฝังจาก สื่อต่างๆ และผ่านภาพยนต์ ฮอลลีวูด จนเมื่อเริ่มเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้มากขึ้นถึงได้รู้ไส้พุง พวกตะวันตกและอเมริกา ว่าคิดอย่างไรกับชาติที่ล้าหลังทางวิทยาการ เช่นเอเซีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ อย่างน้อยที่Thaitimes ก็จะเป็นที่ได้ระบายความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตัวโดยไม่ตั้องกลัวถูกปิดกั้นอีกแล้ว .... สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณคุณสนธิ ที่เป็นกระบอกเสียงและเปิดช่องทางให้กับคนอย่างพวกผมโดยไม่ต้องง้อพวกตะวันตกอีก ขอบคุณครับ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 272 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ตัวอย่างความยาว 3 นาที** ภาพยนต์เชิงสารคดี "The Evidence" ถ่ายทำโดยนักข่าวที่บันทึกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซา

    The Evidence เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งรวบรวมหลักฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา ภาพในเหตุการณ์ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อส่งไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICC) ซึ่งบันทึกอาชญากรรมสงครามของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์อย่างละเอียดถี่ถ้วน

    รับชม "The Evidence" แบบเต็มความยาว 53 นาที ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
    https://thaitimes.co/posts/111029

    ในภาพยนต์ "The Evidence" นี้ มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงให้ข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ สร้างเรื่องราวที่ทรงพลังซึ่งตรวจสอบหลักฐานของอาชญากรรมสงครามในฉนวนกาซาอย่างเข้มงวด:
    - Kenneth Roth
    อดีตผู้อำนวยการบริหารของ Human Rights Watch
    - Francesca Albanese
    ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง
    - Toby Cadman
    ทนายความด้านอาชญากรรมและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
    - Aya Majzoub
    Amnesty International รองผู้อำนวยการภูมิภาค MENA (Middle East and North Africa)
    - Bradley Samuels
    หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง SITU
    - Yehuda Shaul
    อดีตทหาร IDF ผู้ก่อตั้ง Breaking the Silence
    - Michael Sfard
    ทนายความชาวอิสราเอลและนักรณรงค์ทางการเมือง
    - Rasha Abdul-Rahim
    ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ Amnesty, Amnesty International

    .
    รับชม "The Evidence" แบบเต็มความยาว 53 นาที ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
    https://thaitimes.co/posts/111029
    **ตัวอย่างความยาว 3 นาที** ภาพยนต์เชิงสารคดี "The Evidence" ถ่ายทำโดยนักข่าวที่บันทึกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซา The Evidence เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งรวบรวมหลักฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา ภาพในเหตุการณ์ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อส่งไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICC) ซึ่งบันทึกอาชญากรรมสงครามของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์อย่างละเอียดถี่ถ้วน รับชม "The Evidence" แบบเต็มความยาว 53 นาที ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ https://thaitimes.co/posts/111029 ในภาพยนต์ "The Evidence" นี้ มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงให้ข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ สร้างเรื่องราวที่ทรงพลังซึ่งตรวจสอบหลักฐานของอาชญากรรมสงครามในฉนวนกาซาอย่างเข้มงวด: - Kenneth Roth อดีตผู้อำนวยการบริหารของ Human Rights Watch - Francesca Albanese ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง - Toby Cadman ทนายความด้านอาชญากรรมและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ - Aya Majzoub Amnesty International รองผู้อำนวยการภูมิภาค MENA (Middle East and North Africa) - Bradley Samuels หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง SITU - Yehuda Shaul อดีตทหาร IDF ผู้ก่อตั้ง Breaking the Silence - Michael Sfard ทนายความชาวอิสราเอลและนักรณรงค์ทางการเมือง - Rasha Abdul-Rahim ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ Amnesty, Amnesty International . รับชม "The Evidence" แบบเต็มความยาว 53 นาที ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ https://thaitimes.co/posts/111029
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1074 มุมมอง 70 0 รีวิว
  • "The Evidence" ภาพยนต์เชิงสารคดี ถ่ายทำโดยนักข่าวที่บันทึกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซา

    The Evidence เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งรวบรวมหลักฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา ภาพในเหตุการณ์ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อส่งไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICC) ซึ่งบันทึกอาชญากรรมสงครามของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์อย่างละเอียดถี่ถ้วน

    เอกสารการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ความยาว 53 นาทีที่น่าสนใจนี้

    ในภาพยนต์ "The Evidence" นี้ มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงให้ข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ สร้างเรื่องราวที่ทรงพลังซึ่งตรวจสอบหลักฐานของอาชญากรรมสงครามในฉนวนกาซาอย่างเข้มงวด:
    - Kenneth Roth
    อดีตผู้อำนวยการบริหารของ Human Rights Watch
    - Francesca Albanese
    ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง
    - Toby Cadman
    ทนายความด้านอาชญากรรมและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
    - Aya Majzoub
    Amnesty International รองผู้อำนวยการภูมิภาค MENA (Middle East and North Africa)
    - Bradley Samuels
    หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง SITU
    - Yehuda Shaul
    อดีตทหาร IDF ผู้ก่อตั้ง Breaking the Silence
    - Michael Sfard
    ทนายความชาวอิสราเอลและนักรณรงค์ทางการเมือง
    - Rasha Abdul-Rahim
    ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ Amnesty, Amnesty International

    รับชม "The Evidence" แบบเต็มความยาว 53 นาที ซึ่งมี
    "The Evidence" ภาพยนต์เชิงสารคดี ถ่ายทำโดยนักข่าวที่บันทึกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซา The Evidence เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งรวบรวมหลักฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา ภาพในเหตุการณ์ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อส่งไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICC) ซึ่งบันทึกอาชญากรรมสงครามของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์อย่างละเอียดถี่ถ้วน เอกสารการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ความยาว 53 นาทีที่น่าสนใจนี้ ในภาพยนต์ "The Evidence" นี้ มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงให้ข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ สร้างเรื่องราวที่ทรงพลังซึ่งตรวจสอบหลักฐานของอาชญากรรมสงครามในฉนวนกาซาอย่างเข้มงวด: - Kenneth Roth อดีตผู้อำนวยการบริหารของ Human Rights Watch - Francesca Albanese ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง - Toby Cadman ทนายความด้านอาชญากรรมและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ - Aya Majzoub Amnesty International รองผู้อำนวยการภูมิภาค MENA (Middle East and North Africa) - Bradley Samuels หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง SITU - Yehuda Shaul อดีตทหาร IDF ผู้ก่อตั้ง Breaking the Silence - Michael Sfard ทนายความชาวอิสราเอลและนักรณรงค์ทางการเมือง - Rasha Abdul-Rahim ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ Amnesty, Amnesty International รับชม "The Evidence" แบบเต็มความยาว 53 นาที ซึ่งมี
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1230 มุมมอง 68 0 รีวิว
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 526 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรุงศรีฯเคย คลุกคลี ด้วยสีเลือด
    แผ่นดินเคย ลุกเดือด เลือดโลมไหล
    แต่ไทยต้อง คงนาม ความเป็นไทย
    ถึงไม่มีใคร วิญญาณกู จะสู้เอง
    #actionfigure #figure #model #หุ่นจำลอง #ภาพยนต์ #ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
    กรุงศรีฯเคย คลุกคลี ด้วยสีเลือด แผ่นดินเคย ลุกเดือด เลือดโลมไหล แต่ไทยต้อง คงนาม ความเป็นไทย ถึงไม่มีใคร วิญญาณกู จะสู้เอง #actionfigure #figure #model #หุ่นจำลอง #ภาพยนต์ #ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 66 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกาะยือราปีหรือเกาะเล่าปี่ ปัตตานี

    ปัตตานีไม่ได้มีดีแค่ทะเลหมอก เราจะพาไปดำดิ่งสู่ความหมัศจรรย์ของใต้ท้องทะเลปัตตานี ที่หลายคนไม่เห็นมาก่อน
    .
    เกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลปัตตานี แห่งนี้มีชื่อว่า เกาะยือลาปี มาจากภาษามาลายู
    หรือ เกาะเล่าปี่ ในภาษาไทย
    เป็นเกาะสุด Unseen ที่เป็นตำนานเล่าขานแห่งปัตตานี
    ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอสายบุรีกับอำเภอไม้แก่น ห่างจากชายฝั่งออกไปราว 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีระบบนิเวศน์ที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก มีพันธุ์ปลาหลายชนิด มีความโดดเด่นด้วยปะการังที่มีความหลายหลายและแตกต่างจากที่อื่นในพื้นที่ทะเลของประเทศไทย เพราะมีสภาพพื้นดินที่เป็นดินเหนียว ทรายและหินในพื้นที่เดียวกัน

    ไฮไลท์เด็ด
    ใต้ท้องทะเลเกาะยือราปีแห่งนี้ เต็มไปด้วยความงดงามของ ทุ่งกัลปังหาสีชมพู อันอุดมสมบรูณ์ ให้สีสันสวยงามซึ่งตัดกับสีฟ้าครามของน้ำทะเล ได้แบบสุดอัศจรรย์

    เสน่ห์ของเกาะยือราปี ไม่ได้มีดีเพียงใต้ท้องทะเลเท่านั้น ด้านบนเกาะนั้นเป็นลักษณะหินปูนต์ที่สามารถขึ้นมาเดินเล่นถ่ายรูปเช็คอิน ในมุมมองแบบเวิ้งว้างกว้างไกล ให้อารมณ์ราวกับว่าเรากำลังติดเกาะในภาพยนต์เรื่องใดซักเรื่อง

    #เกาะยือลาปี
    เกาะยือราปีหรือเกาะเล่าปี่ ปัตตานี ปัตตานีไม่ได้มีดีแค่ทะเลหมอก เราจะพาไปดำดิ่งสู่ความหมัศจรรย์ของใต้ท้องทะเลปัตตานี ที่หลายคนไม่เห็นมาก่อน . เกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลปัตตานี แห่งนี้มีชื่อว่า เกาะยือลาปี มาจากภาษามาลายู หรือ เกาะเล่าปี่ ในภาษาไทย เป็นเกาะสุด Unseen ที่เป็นตำนานเล่าขานแห่งปัตตานี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอสายบุรีกับอำเภอไม้แก่น ห่างจากชายฝั่งออกไปราว 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีระบบนิเวศน์ที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก มีพันธุ์ปลาหลายชนิด มีความโดดเด่นด้วยปะการังที่มีความหลายหลายและแตกต่างจากที่อื่นในพื้นที่ทะเลของประเทศไทย เพราะมีสภาพพื้นดินที่เป็นดินเหนียว ทรายและหินในพื้นที่เดียวกัน ไฮไลท์เด็ด ใต้ท้องทะเลเกาะยือราปีแห่งนี้ เต็มไปด้วยความงดงามของ ทุ่งกัลปังหาสีชมพู อันอุดมสมบรูณ์ ให้สีสันสวยงามซึ่งตัดกับสีฟ้าครามของน้ำทะเล ได้แบบสุดอัศจรรย์ เสน่ห์ของเกาะยือราปี ไม่ได้มีดีเพียงใต้ท้องทะเลเท่านั้น ด้านบนเกาะนั้นเป็นลักษณะหินปูนต์ที่สามารถขึ้นมาเดินเล่นถ่ายรูปเช็คอิน ในมุมมองแบบเวิ้งว้างกว้างไกล ให้อารมณ์ราวกับว่าเรากำลังติดเกาะในภาพยนต์เรื่องใดซักเรื่อง #เกาะยือลาปี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยังอยู่กันที่ลพบุรีครับ บนยอดภูซับเหล็ก สถานที่ท่องเที่ยว ที่แสนจะดูว่าธรรมดา แต่ได้ขึ้นมาถึงบนนี้กลับมีความรู้สึกว่า เหมือนหลุดมาในดินแดน ภาพยนต์ อวตา เพียงแค่ว่า ที่นี่คือโลกของความเป็นจริง เงียบสงบ เย็นสบาย ธรรมชาติ ฮีลใจได้อยางดี เชิญชวนพี่ๆ มาที่นี่กันซักครั้งนะครับ😁😁😁
    ยังอยู่กันที่ลพบุรีครับ บนยอดภูซับเหล็ก สถานที่ท่องเที่ยว ที่แสนจะดูว่าธรรมดา แต่ได้ขึ้นมาถึงบนนี้กลับมีความรู้สึกว่า เหมือนหลุดมาในดินแดน ภาพยนต์ อวตา เพียงแค่ว่า ที่นี่คือโลกของความเป็นจริง เงียบสงบ เย็นสบาย ธรรมชาติ ฮีลใจได้อยางดี เชิญชวนพี่ๆ มาที่นี่กันซักครั้งนะครับ😁😁😁
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 97 มุมมอง 276 0 รีวิว
  • 8 ตุลาคม 2567-รายงานข่าวTNN World ระบุว่า แตกตื่นทั้งเครื่องบิน ! เมื่อจู่ ๆ สายการบิน “แควนตัส” เปิดภาพยนตร์เรต R ให้ผู้โดยสารดู

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวเมื่อ "จอภาพ" บนพนักพิงเบาะผู้โดยสารของสายการบินแควนตัสที่กำลังออกเดินทางจากนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย มุ่งหน้าสนามบินฮาเนดะในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นดันฉาย "ภาพยนต์เรต R" หรือ ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาแนววาบหวิวสำหรับผู้ใหญ่ บนจอภาพ “ทุกจอ” และมีผู้โดยสารที่อยู่ในเหตุการณ์สามารถบันทึกช่วงเวลาโกลาหลนี้เอาไว้ได้

    ในเวลาต่อมาสายการบินแควนตัสออกแถลงการณ์ยืนยันว่าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยอธิบายว่าปกติแล้วลูกเรือจะมีรายการภาพยนตร์บนเครื่องบินทั้งหมดและลูกเรือจะสามารถควบคุมได้ว่าจะให้ภาพยนตร์เรื่องไหนเล่นบนจอภาพกี่จอก็ได้ภาพตามคำเรียกร้องของผู้โดยสาร แต่ในเที่ยวบินนี้ดันเกิดความขัดข้องทางเทคนิคเกี่ยวกับระบบให้ความบันเทิงบนเครื่องบินจนเปิดเป็นภาพยนตร์เรต R และยังทำให้ลูกเรือไม่สามารถบังคับจอให้ปิดได้ จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นภาพยนตร์สําหรับเด็กแทนตลอดระยะทางที่เหลือบนเครื่องบิน

    อย่างไรก็ตาม สายการบินระบุว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก แต่ได้ขอโทษผู้โดยสารทุกคนพร้อมน้อมรับคำวิพากษ์จารณ์ โดยสายการบินกำลังตรวจสอบว่าภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมเช่นนี้ถูกนำเข้าสู่ระบบความบันเทิงบนเครื่องบินได้อย่างไร

    แม้ว่าตามแถลงการณ์ของสายการบินจะไม่ได้ระบุว่าภาพยนตร์เจ้าปัญหาเรื่องนี้คือเรื่องอะไรแต่จากภาพที่มีผู้โดยสารแชร์ในอินเตอร์เน็ตจำนวนมากก็พบว่ามันคือภาพยนตร์เรื่อง “Daddio” ของปี 2023 นำแสดงโดย ดาโกตา จอห์นสัน และ ฌอน เพนน์ ที่นอกจากจะมีเนื้อหาเป็นภาพเปลือยแล้วในภาพยนตร์ยังมีฉากการส่งข้อความสนทนาเรื่องเพศที่รวมถึงไปถึงการส่งภาพเซ็กซี่ หวาบหวิวของตัวเองให้กับคนอื่นผ่านการพูดคุยกันบนโลกออนไลน์ หรือที่เรียกว่าฉาก “Sexting” ด้วย

    หนึ่งในผู้โดยสารบนเที่ยวบินนี้เล่าว่าภาพยนตร์เรต R ได้ฉายบนหน้าจอนานอยู่เกือบชั่วโมง จนกระทั่งมีการเปลี่ยนไปฉายภาพยนตร์ที่เป็นมิตรกับเด็ก ๆ แทน แต่ในช่วงเวลาเกือบชั่วโมงกับภาพยนตร์เรื่องนี้ พวกเขารู้สึกอึดอัดมากที่ต้องทนดูแต่ละฉากที่หวาบหวิวโดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเดินทางมาด้วย ในขณะที่ผู้โดยสารบางคนกล่าวว่าตลอดเกือบหนึ่งชั่วโมงบนหน้าจอของเธอมีแต่ภาพอวัยวะเพศชายกับหน้าอกของผู้หญิง

    ภาพ: Reuters
    https://www.facebook.com/share/p/SMAnhvdMBgvAyops/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    8 ตุลาคม 2567-รายงานข่าวTNN World ระบุว่า แตกตื่นทั้งเครื่องบิน ! เมื่อจู่ ๆ สายการบิน “แควนตัส” เปิดภาพยนตร์เรต R ให้ผู้โดยสารดู เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวเมื่อ "จอภาพ" บนพนักพิงเบาะผู้โดยสารของสายการบินแควนตัสที่กำลังออกเดินทางจากนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย มุ่งหน้าสนามบินฮาเนดะในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นดันฉาย "ภาพยนต์เรต R" หรือ ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาแนววาบหวิวสำหรับผู้ใหญ่ บนจอภาพ “ทุกจอ” และมีผู้โดยสารที่อยู่ในเหตุการณ์สามารถบันทึกช่วงเวลาโกลาหลนี้เอาไว้ได้ ในเวลาต่อมาสายการบินแควนตัสออกแถลงการณ์ยืนยันว่าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยอธิบายว่าปกติแล้วลูกเรือจะมีรายการภาพยนตร์บนเครื่องบินทั้งหมดและลูกเรือจะสามารถควบคุมได้ว่าจะให้ภาพยนตร์เรื่องไหนเล่นบนจอภาพกี่จอก็ได้ภาพตามคำเรียกร้องของผู้โดยสาร แต่ในเที่ยวบินนี้ดันเกิดความขัดข้องทางเทคนิคเกี่ยวกับระบบให้ความบันเทิงบนเครื่องบินจนเปิดเป็นภาพยนตร์เรต R และยังทำให้ลูกเรือไม่สามารถบังคับจอให้ปิดได้ จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นภาพยนตร์สําหรับเด็กแทนตลอดระยะทางที่เหลือบนเครื่องบิน อย่างไรก็ตาม สายการบินระบุว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก แต่ได้ขอโทษผู้โดยสารทุกคนพร้อมน้อมรับคำวิพากษ์จารณ์ โดยสายการบินกำลังตรวจสอบว่าภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมเช่นนี้ถูกนำเข้าสู่ระบบความบันเทิงบนเครื่องบินได้อย่างไร แม้ว่าตามแถลงการณ์ของสายการบินจะไม่ได้ระบุว่าภาพยนตร์เจ้าปัญหาเรื่องนี้คือเรื่องอะไรแต่จากภาพที่มีผู้โดยสารแชร์ในอินเตอร์เน็ตจำนวนมากก็พบว่ามันคือภาพยนตร์เรื่อง “Daddio” ของปี 2023 นำแสดงโดย ดาโกตา จอห์นสัน และ ฌอน เพนน์ ที่นอกจากจะมีเนื้อหาเป็นภาพเปลือยแล้วในภาพยนตร์ยังมีฉากการส่งข้อความสนทนาเรื่องเพศที่รวมถึงไปถึงการส่งภาพเซ็กซี่ หวาบหวิวของตัวเองให้กับคนอื่นผ่านการพูดคุยกันบนโลกออนไลน์ หรือที่เรียกว่าฉาก “Sexting” ด้วย หนึ่งในผู้โดยสารบนเที่ยวบินนี้เล่าว่าภาพยนตร์เรต R ได้ฉายบนหน้าจอนานอยู่เกือบชั่วโมง จนกระทั่งมีการเปลี่ยนไปฉายภาพยนตร์ที่เป็นมิตรกับเด็ก ๆ แทน แต่ในช่วงเวลาเกือบชั่วโมงกับภาพยนตร์เรื่องนี้ พวกเขารู้สึกอึดอัดมากที่ต้องทนดูแต่ละฉากที่หวาบหวิวโดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเดินทางมาด้วย ในขณะที่ผู้โดยสารบางคนกล่าวว่าตลอดเกือบหนึ่งชั่วโมงบนหน้าจอของเธอมีแต่ภาพอวัยวะเพศชายกับหน้าอกของผู้หญิง ภาพ: Reuters https://www.facebook.com/share/p/SMAnhvdMBgvAyops/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 398 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพลงประกอบภาพยนต์ในปี 1990 เรื่อง"ผู้หญิงข้า ใครอย่าแตะ"(ทิ้นเหยิกเหยาเฉ่ง) 天若有情 "หากฟ้ามีรัก"
    https://www.youtube.com/watch?v=mDw99xH-FTc
    เพลงประกอบภาพยนต์ในปี 1990 เรื่อง"ผู้หญิงข้า ใครอย่าแตะ"(ทิ้นเหยิกเหยาเฉ่ง) 天若有情 "หากฟ้ามีรัก" https://www.youtube.com/watch?v=mDw99xH-FTc
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 32 มุมมอง 0 รีวิว
  • Smith&Wesson Model 629 .44 Magnum

    โดย. พีระพงษ์ กลั่นกรอง

    เมื่อ คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด (Clint Eastwood) ในบทของสารวัตรมือปราบ ฮาร์รี่ คาลาแฮน (Harry Callahan) พูดกับคนร้ายในฉากแรกของภาพยนต์เรื่อง “มือปราบปืนโหด” หรือ Dirty Harry ภาพยนต์ซีรี่ส์บู้แอ๊คชั่นที่ยิงกันสนั่นจอเรื่องที่โด่งดังที่สุดในโลกเมื่อ 40 ปีที่แล้ว

    ด้วยทุนสร้าง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มือปราบปืนโหด(ภาคแรก-ปีค.ศ.1971)ทำรายได้สูงถึง 35 ล้านเหรียญ, ภาคที่สอง คือ Magnum Force (ปี 1973), ภาคที่สาม-The Enforcer (ปี 1976), ภาคที่สี่-Sudden Impact (ปี 1983), และภาคสุดท้าย คือ The Dead Pool (ปี 1988)

    ไม่ว่าภาพยนต์เรื่องนี้จะออกมากี่ภาคก็ตาม ผลตอบรับ ก็คือ ปลุกกระแสความนิยมปืน “สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม” จนตลาดปืนทั่วโลกยอดขายถล่มทลาย แม้ว่าบริษัทผลิตปืนสมิธฯกำลังจะขุดหลุมฝัง(เลิกผลิต)ปืนสั้นกระสุนโหดรุ่นนี้อยู่ก่อนหน้านั้นก็ตาม
    ................

    อเมริกัน ได้ชื่อว่าเก่งในเรื่องการต่อสู้ด้วยอาวุธปืน เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีชีวิตเป็นเดิมพัน นับแต่ครั้งที่ต่อสู้แย่งผืนดินที่ทำกินกับอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ จนกระทั่งถึงสงครามกลางเมือง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง-สอง และสงครามเวียดนาม

    อานุภาพกระสุนปืน(อำนาจหยุดยั้ง, ประหัตประหาร, และทะลุทะลวง)เป็นข้อสำคัญประการแรกสำหรับงานล่า ป้องกันตัว และจู่โจม ความแม่นยำเป็นอันดับที่สองโดยเฉพาะกรณีที่ระยะยิงตั้งแต่ 75 หลา(หรือ 68.6 เมตร)ขึ้นไป หรือในระยะที่ความหนาของใบศูนย์หน้าใหญ่ทับเป้าหรือตัวคน

    ดังที่ทราบกัน โดยหลักการ การเพิ่มอานุภาพกระสุนปืนมากขึ้นได้ก็ต้องอาศัย หนึ่ง-แรงดันในรังเพลิง(Chamber Pressure) ซึ่งจะให้ประโยชน์โดยปริยายในข้อที่สอง-คือ ความเร็วหัวกระสุน(Velocity), สาม-รูปแบบหัวกระสุน(Bullet type), ส่วนข้อที่สี่ คือ ขนาด-น้ำหนักหัวกระสุน(Bore & Weight) นั้น กลายเป็นเรื่องท้ายสุด หากว่าความเร็วกระสุนเกิน 3,000 ฟุตต่อวินาทีขึ้นไป ก็จะเกิดแรงปะทะคลื่นอากาศหรือ Shock Wave ทำให้บาดแผลแหกฉกรรจ์และกระเด็นล้มคว่ำได้ทันใด

    ยกตัวอย่าง กระสุนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนไรเฟิลล่าสัตว์ขนาด .223 หรือ 5.56x45 ม.ม.นาโต้(NATO) หัวกระสุนเล็กเท่ากับกระสุนลูกกรด คือ .22 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 55 เกรนมากกว่ากระสุนลูกกรด(40 เกรน)นิดเดียว ความเร็วต้น 3,250 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,325 ฟุต-ปอนด์ ฯลฯ เป็นต้น

    “สี่สี่แม็กนั่ม” หรือในชื่อเป็นทางการว่า .44 Remington Magnum เมื่อ 40 ปีที่แล้วเป็นกระสุนปืนสั้นที่อานุภาพเอกอุที่สุดในโลก(The Most Powerful Handgun in the World)

    ประดิษฐ์คิดค้นโดย เอลเม่อร์ คีธ (Elmer Keith) นักเขียนเรื่องปืนและนักผจญภัยกลางแจ้ง(Outdoor Adventurer)ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับบริษัทผลิตปืน สมิธแอนด์เวสสัน(Smith&Wesson)และบริษัทปืนและกระสุนยี่ห้อเรมิงตัน(Remington) ผลิตจำหน่ายในปีค.ศ.1955 (ปีพ.ศ.2498) จนปัจจุบัน

    เอลเม่อร์ คีธ นำกระสุนขนาด “สี่สี่-สเปเชี่ยล” หรือ .44 S&W Special (ผลิตในปีค.ศ.1907 แรงดันรังเพลิง 15,500 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.16 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 246 เกรน ความเร็วต้น 755 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 310 ฟุต-ปอนด์) มาทดลองพัฒนาเพิ่มแรงดันในรังเพลิง ซึ่งก็หมายถึงกระสุนความเร็วสูงโดยปริยาย เพื่อให้เป็น “สี่สี่-แม็กนั่ม”

    โดยไม่คิดนำกระสุนหน้าตัดใหญ่ที่โด่งดังในยุคโคบาลตะวันตก(Wild Western) คือ “สี่ห้า-โค้ลท์” หรือ .45 Colt (ผลิตในปีค.ศ.1872 แรงดันรังเพลิง 14,000 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.285 นิ้วฟุต หัวกระสุนหนัก 250 เกรน ความเร็วต้น 929 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 479 ฟุต-ปอนด์ และแบบ Buffalo Bore หัวกระสุนหนัก 325 เกรน ความเร็วต้น 1,325 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,267 ฟุต-ปอนด์) มาพัฒนา

    หลักการง่ายๆ ก็คือ กระสุนหน้าตัดใหญ่(Big Bore), หัวกระสุนหนักอึ้ง(Heavy Bullet), และ กระสุนความเร็วสูง(Higher Velocity) เปรียบง่ายๆว่า ซุงหนึ่งต้นหนัก 500 กิโลกรัมวางไว้เฉยๆข้างถนน รถยนต์ที่พุ่งชนต้นซุงต้นนี้ย่อมเสียหายน้อยกว่าการที่ถูกต้นซุงพุ่งมาด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.ชนเข้ากับรถยนต์ที่จอดอยู่เฉยๆ (อ่านและคิดทบทวนอีกครั้งนะครับ)

    วัตถุประสงค์หลักในการประดิษฐ์คิดค้น ก็เพื่อล่าสัตว์เท้ากีบขนาดเขื่อง เช่น กวางเอ้ลค์(Elk) สูงถึงหัวไหล่ 1.50 เมตร หนักประมาณ 250-450 กิโลกรัม จนกระทั่งถึงควายป่าที่เรียกว่า Cape Buffalo ที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แต่น้ำหนักไม่มากเท่ากระทิงในบ้านเรา โดยการยิงจากปืนสั้นลูกโม่ลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต

    จึงเป็นจุดกำเนิดปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น Smith&Wesson Model 29
    สมิธแอนด์เวสสัน “สี่สี่-แม็กนั่ม”

    56 ปีมาแล้วที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น(Double-Action Revolver) กระสุนสี่สี่แม็กนั่มผลิตจำหน่าย อันที่จริงก็ด้วยวัตถุประสงค์ของการล่าสัตว์ด้วยปืนสั้น ซึ่งเป็นความคลาสสิคและใช้ศิลปะการล่ามากกว่าปืนยาว ยิ่งปืนสั้นลูกโม่แม้จะลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต หากได้ติดศูนย์กล้องเล็งขยาย 4-8 เท่า ก็ยิ่งทวีความยากลำบากในการเล็งยิงมากขึ้น

    แม้ปืนโมเดลนี้(ซึ่งรวมทั้งกระสุนด้วย)จะขายดิบดีในช่วงต้นๆของการเปิดจำหน่ายก็ตาม แต่แล้วยอดขายก็ตกฮวบตามวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่นเดียวกับรถ 4x4 Off-Road เพราะมนุษย์หันมาอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ ออกกำลังกายในร่มมากกว่ากีฬากลางแจ้งเช่นก่อน

    จนกระทั่ง ในปีค.ศ.1971 ที่ภาพยนต์บู้แอ๊คชั่นเรื่อง “มือปราบปืนโหด” ออกฉาย ทำให้ปืนและกระสุนสี่สี่แม๊กนั่มกลับขายดีถล่มทลาย เพราะผู้ชายส่วนมากอย่างเก่งกล้าหรือมีอาวุธที่อานุภาพเอกอุเหมือนพระเอก คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด นั้น จะเป็นกลยุทธ์การตลาดเช่นเดียวกับที่ภาพยนต์เรื่อง เจมส์ บอนด์ ปลุกกระแสความนิยมรถสปอร์ตอังกฤษยี่ห้อ แอสตัน มาร์ติน(Aston Martin) เป็นเหตุผลอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ

    สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29
    -ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่นบรรจุกระสุน 6 นัด โครงปืนใหญ่(S&W N-Frame)
    -ลูกโม่หมุนทวนเข็มนาฬิกา(Anti-Clockwise)
    -กระสุนปืนสั้นลูกโม่ชนวนกลาง(Revolver/Center-Fire Cartridge)ขนาด .44 Remington Magnum
    -ตัวปืนเสนอตลาดด้วย 7 ขนาดความยาวลำกล้อง ได้แก่ 3, 4, 5, 6, 6 ½ , 8 3/8 และหลังสุด 10 5/8 นิ้วฟุต
    -เฉพาะลำกล้อง 5 นิ้วฟุตเท่านั้นที่ฟักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนยาวเต็มความยาวลำกล้องหรือ Full Barrel Length Underlug

    โมเดล 29 เสนออยู่ 2 แบบ ได้แก่ แบบรมดำผิวหนา(Highly Polished Blued Finish) กับแบบนิเกิ้ลโครเมี่ยม(Nickle-Plated Surface)

    ในปีค.ศ.1960 โมเดล 29-1 ผลิตสู่ตลาดภายใต้การปรับปรุงด้านเทคนิคเล็กน้อย อาทิ สกรูยึดก้านกระทุ้งปลอกกระสุน(Ejector Rod Screw) ให้หลังหนึ่งปี โมเดล 29-2 ก็ปรากฏสู่ตลาดโดยเพิ่มสกรูตัวขันยึดความแน่นหนาให้กับสปริงสลักล็อคลูกโม่(Cylinder Stop Spring) ในปีค.ศ. 1979 หั่นลำกล้องจาก 6 ½ เหลือแค่ 6 นิ้วฟุต

    ทั้งโมเดล 29-1 และ 29-2 เพิ่มเทคนิคพิเศษอีกนิดนึง คือ ตัวลำกล้องขันเกลียวยึดแน่นกับโครงปืนพร้อมหมุดตอกย้ำ ส่วนตัวลูกโม่เซาะร่องฝังจานคัดปลอกกระสุนให้เรียบหน้าโม่ เรียกเทคนิคนี้ว่า Pinned & Recessed Model

    ปีค.ศ.1967-1971 บริษัทสนับสนุนทางยุทโธปกรณ์สหรัฐอเมริกา ชื่อ AAI Corporation (Aircraft Armaments, Inc.) สั่งผลิตปืนสมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 จำนวนหนึ่ง

    ลำกล้องสั้นแค่ 1.375 นิ้วฟุต ใช้ยิงกับกระสุน .40 หรือว่า 10 มอมอ และกระสุนลูกซองขนาด .410 เพื่อใช้ในปฏิบัติการพิเศษที่เรียกว่า QAPR (Quiet Special Purpose Revolver) เพื่อให้ทหารอเมริกันบุกเข้าจู่โจมและตรวจค้น “ถ้ำรูหนู” หรือ Tunnel Rats ที่ทหารเวียดนามอาศัยเป็นช่องทางหลบหนีหลบซ่อน

    ในปีค.ศ. 1982 โมเดล 29-3 ยกเลิกเทคนิคพิเศษดังกล่าวเพิ่มลดต้นทุนและระยะเวลาในการผลิต โดยหันมาใช้เทคนิค Crush-Fit Barrel หรือคล้ายๆกับ โคนลำกล้องตีปลอกฟิตแน่นกับโครงปืน ซึ่งได้ผลเท่าเทียมกันแต่ประหยัดต้นทุนและเวลาผลิตมากกว่า

    ในปีค.ศ.1988 (โมเดล 29-4) และปี 1990 (โมเดล 29-5) เสริมแรงให้กับชิ้นส่วนและโครงสร้างตัวปืนเพื่อให้ใช้งานได้อย่างสมบุกสมบันมากขึ้น โดยเฉพาะทนแรงดันรังเพลิงและแรงสะบัดสะท้อนจากกระสุนแรงสูงสมัยใหม่ ปีค.ศ.1994 โมเดล 29-6 ผลิตจำหน่ายพร้อมกับด้ามยาง Monogrip กระชับมือยี่ห้อ ฮ้อว์ก(Hogue) สันบนโครงปืนมีรูไว้สำหรับขันสกรูติดตั้งศูนย์กล้องล่าสัตว์

    ในปีค.ศ.1998 โมเดล 29-7 ออกตลาดภายใต้การปรับปรุงชิ้นส่วนลั่นไก เช่น เข็มแทงชนวน, นกปืน, ไกปืน, ฯลฯ ล้วนผลิตจากกรรมวิธีฉีดโลหะขึ้นรูป(Metal Injection Molding Process) เพื่อป้องกันปัญหาแตกหักขณะใช้งานหนัก

    สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ถูกยกเลิกการผลิตไปอย่างถาวรในปีค.ศ.1999 ด้วยเหตุผลของอายุสินค้า(Model Life)ในเชิงการตลาด ปัจจุบัน ทั้งตลาดนอกและตลาดไทย นักเล่นปืนต่างมองหาสี่สี่แม็กนั่มรุ่นนี้ไว้สะสม เพราะตัวปืนมีความสวยงามมากกว่าปืนรุ่นใหม่ของสมิธฯ

    โดยเฉพาะ โมเดล 29 ในรุ่นฉลองครบรอบ 50 ปี (50th Anniversary Model 29) ที่ผลิตขึ้นจำกัดจำนวนเมื่อวันที่ 26 มกราคมปี 2006 ลักษณะพิเศษ ได้แก่ ลูกโม่กลมกลึงไม่มีร่อง(Non-Fluted Cylinder), สลักลายทองด้วยแสงเลเซอร์บนตัวปืน, ระบบสลักนิรภัยภายใน(Interlock Mechanism), ฯลฯ

    วันที่ 1 มกราคมปี 2007 โมเดล 29 คลาสสิคไลน์ รุ่นพิเศษแกะลายสวยหรู(Engraved Model)

    สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629”
    ในยุคที่โลหะวิทยาหันมาสนใจเหล็กสแตนเลส(Stainless Steel)กันอย่างบ้าคลั่ง

    ด้วยคุณสมบัติบางประการที่ให้ประโยชน์ใช้งานเหนือกว่าเหล็ก(Steel) เช่น ไม่เป็นสนิมเหล็ก, ทนสภาวะกัดกร่อนได้สูง(Anti-Corrosion), เนื้อโลหะเหนียวแน่น(High-Density)จากการหล่อขึ้นรูปได้มากกว่า, เนื้อผิวสวยงามดูน่าใช้น่าจับต้องมากกว่า, ฯลฯ
    สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629” จึงกำเนิดขึ้นมาด้วยเหล็กสแตนเลสแทนโมเดล 29 ที่เป็นเหล็ก ด้วยประการเช่นนี้

    โมเดล 629 สี่สี่แม็กนั่ม เปิดตัวครั้งแรกในปีค.ศ.1978 ในขนาดลำกล้องยาว 6 นิ้วฟุต ส่วนลำกล้อง 4 และ 8 3/8 นิ้วฟุตออกสู่ตลาดในปีค.ศ.1980

    ในปีค.ศ.1982 โมเดล 629-1 ใช้เทคนิคพิเศษ Crush-Fit Barrel ตามอย่างโมเดล 29-3 ในปีค.ศ.1988 โมเดล 629-1 เพิ่มรุ่นพิเศษลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต ส้นด้ามมน(Round Butt) ชิ้นส่วนกลไกภายในเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับโมเดล 29-4 กรณีที่ตัวปืนปั๊ม 629-2E นั่นหมายถึงว่า บานพับหน้าลูกโม่หรือ Cylinder Crane ปรับให้ผิวเนื้อมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

    ปีค.ศ.1990 โมเดล 629-3 มาในรูปแบบของด้ามยางฮ้อว์ก(Hogue), สันบนโครงปืนมีสกรูพร้อมติดตั้งศูนย์กล้องเล็ง, เปลี่ยนก้านกระทุ้งปลอกกระสุน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโมเดล 629-4 ที่เปิดตัวภายหลังในคุณสมบัติของปืนสั้นแข่งขันยิงเป้ามากขึ้น อาทิ นกปืน-ไกปืนใหญ่แบบปืนสั้นแข่งขันยิงเป้า, ศูนย์หน้ากระโดงปลาแถบแดง(Red Ramp Front Sight), ใบศูนย์หลังเส้นขาว(White Outline Rear Sight), ฯลฯ เป็นต้น

    ในปีเดียวกันนี้(1990) โมเดล 629 คลาสสิค(Classic) เสนอตลาดด้วยรูปแบบของ “ฝักเต็ม” หรือ Full Barrel Underlug หมายถึง มีแท่งตันถ่วงน้ำหนักต่อจากฝักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนใต้ลำกล้องยาวจรดปากกระบอกปืน

    ภายใต้รหัส 629-4s ลำกล้องยาว 5, 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต ปีค.ศ.1991 โมเดล 629 คลาสสิค ดีเอ๊กซ์ (629 Classic DX) ออกสู่ตลาดพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษเหนือใคร คือ เปลี่ยนใบศูนย์หน้าได้ 5 แบบ

    ปีค.ศ.1988 โมเดล 629-5 เปลี่ยนนกและไกปืน MIM และใช้เข็มแทงชนวนแบบฝังลอยในโครงปืน แทนเข็มแทงชนวนแบบนกสับเช่นก่อน

    โมเดล 629 คลาสสิค มิได้เป็นแค่สินค้ารุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพดีมากกว่าโมเดล 29 และโมเดล 629 เท่านั้น

    ในเชิงการตลาดถือว่าเป็นการ “ยกระดับ” สินค้า(Product Repositioning)ให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง ราคาแพงขึ้นตามคุณภาพสินค้า ขณะเดียวกัน ก็ยกระดับชื่อยี่ห้อและตัวสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อตลาดระดับไฮเอ็น(High-end) คือ เศรษฐีและนักสะสมปืน

    ดังนี้ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 คลาสสิค ยุคหลังๆจึงมีสินค้ารุ่นพิเศษสู่ตลาด อาทิ แม๊กน่าคลาสสิค(MagnaClassic), วี-ค้อมพ์(V-Comp), สเต็ลท์ฮันเตอร์(Stealth Hunter), ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้งความยาวลำกล้อง 7 ½ นิ้วฟุตที่มาคั่นกลางเป็นทางเลือกใหม่ ระหว่างลำกล้อง 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต อีกด้วย

    บทวิพากย์….
    ในแง่มุมของนักสะสมปืน(Gun Collectors) ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่ไม่สามารถลงพิมพ์ในจำนวนหน้ากระดาษจำกัดนี้ได้หมด เช่น รุ่นลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต, เมาเท่นกันส์(Mountain Gun), และอื่นๆ

    แต่ในมุมของผู้ใช้ปืนทั่วไปก็พอที่จะใช้เนื้อที่หน้ากระดาษที่เหลือนั่งจับเข่าคุยกันได้ดังนี้ครับ

    คำถาม: “ใครบ้างที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม? และทำไมต้องเป็นสมิธแอนด์เวสสัน?”

    ตอบ: แม้กระสุนสี่สี่แม็กนั่มจะออกแบบมาแต่อ้อนออกให้ใช้กับปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น เพื่อกีฬาล่าสัตว์และป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายในงานสำรวจท่องเที่ยวป่า

    แต่กลุ่มผู้ซื้อปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้ส่วนมากกลับเป็นนักสะสมปืน นักเลงปืน และตำรวจทหารตามชายแดนหรือในท้องที่ทุรกันดาร ทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเมืองไทย

    ด้วยราคาตัวปืนและกระสุนที่แพงกว่าปืนอื่นในตลาด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ผู้ที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม ก็คือ คนที่มีใจรักปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้จริงๆ

    ขณะที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม คลอดสู่ตลาดเมื่อ 56 ปีที่แล้ว ก็มีบริษัทผลิตปืนยี่ห้อ รูเก้อร์ (Ruger) สหรัฐอเมริกา ผลิตปืนสั้นที่ใช้กระสุนขนาดเดียวกันนี้ออกแข่งตลาด แต่เป็นปืนสั้นซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น(Single Action Revolver)

    นัยว่า เป็นเพราะพนักงานของบริษัทผลิตกระสุนเรมิงตันนำปลอกกระสุนขนาดใหม่ล่านี้ไปให้รูเก้อร์

    ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีปืนสั้นหลายยี่ห้อที่แข่งค้ากับปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มของสมิธฯ เช่น โค้ลท์ อะนาคอนด้า(Colt Anaconda), รูเก้อร์ ซูเปอร์ เรดฮอว์ก(Ruger Super Redhawk)ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น, รูเก้อร์ ซูเปอร์ แบล็คฮอว์ก(Ruger Super Blackhawk)ซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น, ฯลฯ

    ยังไม่นับปืนพกกึ่งอัตโนมัติ(Semi-Automatic Pistol)ชื่อดังที่ใช้กระสุนสี่สี่แม๊กนั่มของปืนสั้นลูกโม่ เช่น เดสเสิร์ต อีเกิ้ล (IMI Desert Eagle), และอื่นๆ เป็นต้น

    แต่ที่เมืองนอกเมืองไทยพูดกันมากที่สุด ก็คือ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29, 629 และ 629 คลาสสิค ประณีตแม่นยำที่สุดในกระบวนปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มด้วยกัน

    ถาม: “ปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มใช้กระสุนอื่นยิงแทนได้ไหมในเมื่อไม่มีลูกซ้อมยิง?”

    ตอบ: ได้ คือ .44 สเปเชี่ยล(.44 S&W Special) ที่ปลอกหรือนัดกระสุนสั้นกว่าสี่สี่แม็กนั่มนิดเดียว (0.125 นิ้วฟุต)

    ทำนองเดียวกับที่เราใช้กระสุนสามแปดสเปฯ (.38 Special) ยิงซ้อมมือกับปืนสั้นลูกโม่สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum) เพราะขนาดหน้าตัดหัวกระสุนและความโตของปลอกกระสุนใกล้เคียงกันมาก แต่หลักการนี้ใช้ได้เฉพาะปืนสั้นลูกโม่เท่านั้น ปืนพกกึ่งอัตโนมัติหรือปืนสั้นออโตเมติคจะมีปัญหา

    ถาม: “สมมุติว่าขอใบอนุญาตและซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มมาได้แล้วจะไปยิงซ้อมที่สนามยิงปืนที่ไหน?”

    ตอบ: เดี๋ยวนี้ยากมากครับ สนามยิงปืนของราชการและเอกชนทั่วไปในบ้านเราไม่ค่อยอนุญาตให้ยิงปืนกระสุนสี่สี่แม็กนั่ม ซึ่งรวมทั้งปืนไรเฟิลขนาดต่างๆ ด้วย

    ปืนกระสุนดุที่อนุญาตให้ยิงซ้อมกันในสนาม อย่างมากก็แค่สิบเอ็ดมอมอ(.45 ACP), ลูกซองกระสุนลูกปราย, สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum)เป็นบางสนาม จริงๆจังๆก็คงเป็นสนามยิงปืนของทหารที่ Backstop (กำแพงหยุดกระสุนหลังเป้า) เตรียมไว้สำหรับเอ็ม 16 ก็พอจะพูดคุยขอกันได้บ้าง

    ถาม: “สี่สี่แม็กนั่มกระสุนนอกราคานัดละเท่าไร? กระสุนไทยมีผลิตไหม?”

    ตอบ: กระสุนสี่สี่แม็กนั่มที่พอจะหาซื้อได้ในตลาดปืนบ้านเรามีค่อนข้างน้อยมาก ถ้ามีก็ตกนัดละเกือบๆร้อยบาทหรือกว่านี้ เท่าที่ทราบ สี่สี่แม็กนั่มไม่มีผลิตขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพราะขาดวัสดุและดินปืนที่ต้องขออนุญาตกลาโหมเพื่อนำเข้า ยอดจำหน่ายมีแค่นิดเดียว จึงไม่คุ้มที่จะผลิตในประเทศไทย

    ถาม: “ที่ว่า ปืนสมิธฯสี่สี่แม็กนั่มแม่นยำกว่าปืนอื่นนั้นเป็นอย่างไร?”

    ตอบ: จากบทความต่างประเทศ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 แม็กน่าคลาสสิค ลำกล้องยาว 8 3/8 นิ้วฟุต ยิงด้วยกระสุน Garrett Cartridges หัวกระสุนหนัก 320 เกรน ความเร็วต้น 1,315 ฟุต/วินาที จากระยะยิง 25 หลา(ประมาณ 23 เมตร)จำนวน 6 นัดทำกลุ่มกระสุนได้ 1 นิ้วฟุต

    กระสุน Carbon Hunter หัวกระสุนหนัก 260 เกรน หัวรู(Hollow Point) ความเร็วต้น 1,450 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,214 ฟุต-ปอนด์ ระยะยิง 25 หลา จำนวน 6 นัดทำกลุ่มได้ 1x2 นิ้วฟุต

    ทั้งนี้ยังไม่มีการยิงพิสูจน์ความแม่นยำเทียบระหว่าง Smith&Wesson, Colt Anaconda, Ruger Super Redhawk ทั้งเมืองนอกและในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

    ถาม: “ถ้าจะซื้อปืนสั้นลูกโม่สี่สี่แม็กนั่มสักกระบอกในชีวิตจะเลือกอะไรดี?”

    ตอบ: ถ้าเลือกความประณีตแม่นยำ(Precision/Accuracy)ก็ต้องสมิธแอนด์เวสสัน ถ้าชอบความแข็งแรงบึกบึนทนทาน(Strong, Durability & Reliability)ก็ต้องฟันธงว่ารูเก้อร์ ส่วนอะนาคอนด้า(Anaconda)เป็นอะไรๆ ที่ต้องเป็นยี่ห้อโค้ลท์ไว้ก่อน

    ถาม: “ปืนสั้นลูกโม่เล่นกระสุนสี่สี่แม็กนั่มแบบไหนดี?”

    ตอบ: นักเลงสี่สี่แม็กนั่มตัวจริงจะเล่นกระสุน “หัวตัน-หัวหนัก” ไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็น Jacketed Soft Point, Semi-Wadcutter, Flat/Leaded Nose, รวมทั้งกระสุนพิเศษซาบ้อต(Sabot)

    จากประสบการณ์ส่วนตัว สี่สี่แม็กนั่มหัวรู น้ำหนัก 240 เกรน แม้จะมีความเร็วสูงถึงขั้น 1,400 ฟุต/วินาที จะมีปัญหา “เหินลม” ทำให้วิถีกระสุน(Trajectory)ไม่ราบเรียบไม่แม่นยำเท่าควร

    ขณะที่กระสุนหัวตัน น้ำหนักหัวกระสุนมากๆ (หรือบางทีก็น้ำหนัก 240 เกรนเท่ากัน) แต่ปลอกกระสุนมีเข็มขัดรัดหรือรอยย้ำ 2 แถว แม้ความเร็วน้อยกว่าแต่ให้ความแม่นยำหนักแน่นสูงกว่ามาก เรียกว่าได้ใจทุกนัดไป ข้อเสีย คือ ยิงสะบัดกัดมือมากกว่ากระสุนรุ่นใหม่ๆ ประมาณ +15%-20%

    ถาม: “ปืนสี่สี่แม็กนั่มต้องระวังอะไรบ้าง? ติดศูนย์กล้องดีไหม?”

    ตอบ: ข้อหนึ่ง-ถ้าเป็นเหล็กสแตนเลส เช่น โมเดล 629 และ 629 คลาสสิค ควรใส่กล่องเก็บหรือไม่ก็ตัดซองหนังใส่ปืนเก็บรักษา เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน รอยขนแมว ที่เกิดขึ้นเพราะผิวเหล็กสแตนเลสเนื้ออ่อนกว่าเหล็ก

    ข้อสอง-ไม่ควรใช้ยาขัดโลหะชนิดที่มีสารชะล้าง(Solven)ขัดถูกตัวปืน เพราะจะทำให้ตัวอักษรที่แกะสลักด้วยเลเซอร์เคลือบสีทองไว้ลางเลือนจางหาย

    ข้อสาม-หมั่นตรวจขันหมุดสกรูที่ตัวปืนทั้งก่อนและหลังการยิง เนื่องจากแรงสะบัดสะท้อนรุนแรงทำให้หมุดสกรูคลายตัวและอาจหลุดกระเด็นหาย

    ข้อสี่-ถึงจะหาซื้อกระสุนได้มากก็ไม่ควรยิงเล่นบ่อยๆ เพราะจะทำให้ตัวปืนทรุดโทรมเร็วกว่าที่ควรอย่างน่าเสียดาย

    ข้อห้า-อย่านำมายิงแห้งหรือเหนี่ยวไกเล่น(โดยไม่บรรจุกระสุนในตัวปืน)บ่อยๆ กลไกปืนอาจชำรุดเสียหาย โดยเฉพาะเข็มแทงชนวนอาจหักโดยไม่รู้ตัว

    ข้อหก-ติดศูนย์กล้องเล็งได้ในกำลังขยายภาพไม่เกิน 4 เท่า สูงกว่านั้นจะเล็งยิงได้ลำบาก มือสั่นสายตาพร่ามัวเพราะไม่กล้าลั่นกระสุน(เพราะภาพมันฟ้องว่าศูนย์ปืนไม่เข้าเป้าเนื่องจากมือผู้ยิงสั่นไปมา) แต่สุดท้ายก็ต้องถอดศูนย์กล้องเล็งออกเพราะรู้สึกเกะกะหนักตัวปืนเปล่าๆ

    สรุปท้ายเรื่อง...

    สมิธแอนด์เวสสัน สี่สี่แม็กนั่ม เป็นทรัพย์สมบัติที่คู่ควรต่อผู้มีบารมีและนักสะสมปืนมากกว่าการมีใช้เพื่อต่อสู้ป้องกันชีวิตทรัพย์สิน ไม่ใช่ปืนสั้นประจำกายอย่างแน่นอน แต่จะเหมาะที่สุดในกรณีท่องไพรสำรวจป่าที่พกไว้ข้างเอวหรือข้างสีข้างลำตัวเพื่อป้องกันสัตว์เขี้ยวยาวดุร้ายต่างๆ

    แม้ปัจจุบัน ตลาดปืนโลกจะมี “ปืนโหดกระสุนดุ” รุ่นใหม่ๆที่มีอานุภาพสูงกว่าสี่สี่แม็กนั่ม ไม่ว่าจะเป็น .454 Casull, .460 S&W Magnum, .500 S&W Magnum, และอื่นๆ แต่

    “สี่สี่แม็กนั่มยังจะเป็นเพื่อนที่ดีของนักเล่นปืนตลอดไป”
    ขอบคุณครับ...

    Smith&Wesson Model 629 .44 Magnum โดย. พีระพงษ์ กลั่นกรอง เมื่อ คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด (Clint Eastwood) ในบทของสารวัตรมือปราบ ฮาร์รี่ คาลาแฮน (Harry Callahan) พูดกับคนร้ายในฉากแรกของภาพยนต์เรื่อง “มือปราบปืนโหด” หรือ Dirty Harry ภาพยนต์ซีรี่ส์บู้แอ๊คชั่นที่ยิงกันสนั่นจอเรื่องที่โด่งดังที่สุดในโลกเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ด้วยทุนสร้าง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มือปราบปืนโหด(ภาคแรก-ปีค.ศ.1971)ทำรายได้สูงถึง 35 ล้านเหรียญ, ภาคที่สอง คือ Magnum Force (ปี 1973), ภาคที่สาม-The Enforcer (ปี 1976), ภาคที่สี่-Sudden Impact (ปี 1983), และภาคสุดท้าย คือ The Dead Pool (ปี 1988) ไม่ว่าภาพยนต์เรื่องนี้จะออกมากี่ภาคก็ตาม ผลตอบรับ ก็คือ ปลุกกระแสความนิยมปืน “สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม” จนตลาดปืนทั่วโลกยอดขายถล่มทลาย แม้ว่าบริษัทผลิตปืนสมิธฯกำลังจะขุดหลุมฝัง(เลิกผลิต)ปืนสั้นกระสุนโหดรุ่นนี้อยู่ก่อนหน้านั้นก็ตาม ................ อเมริกัน ได้ชื่อว่าเก่งในเรื่องการต่อสู้ด้วยอาวุธปืน เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีชีวิตเป็นเดิมพัน นับแต่ครั้งที่ต่อสู้แย่งผืนดินที่ทำกินกับอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ จนกระทั่งถึงสงครามกลางเมือง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง-สอง และสงครามเวียดนาม อานุภาพกระสุนปืน(อำนาจหยุดยั้ง, ประหัตประหาร, และทะลุทะลวง)เป็นข้อสำคัญประการแรกสำหรับงานล่า ป้องกันตัว และจู่โจม ความแม่นยำเป็นอันดับที่สองโดยเฉพาะกรณีที่ระยะยิงตั้งแต่ 75 หลา(หรือ 68.6 เมตร)ขึ้นไป หรือในระยะที่ความหนาของใบศูนย์หน้าใหญ่ทับเป้าหรือตัวคน ดังที่ทราบกัน โดยหลักการ การเพิ่มอานุภาพกระสุนปืนมากขึ้นได้ก็ต้องอาศัย หนึ่ง-แรงดันในรังเพลิง(Chamber Pressure) ซึ่งจะให้ประโยชน์โดยปริยายในข้อที่สอง-คือ ความเร็วหัวกระสุน(Velocity), สาม-รูปแบบหัวกระสุน(Bullet type), ส่วนข้อที่สี่ คือ ขนาด-น้ำหนักหัวกระสุน(Bore & Weight) นั้น กลายเป็นเรื่องท้ายสุด หากว่าความเร็วกระสุนเกิน 3,000 ฟุตต่อวินาทีขึ้นไป ก็จะเกิดแรงปะทะคลื่นอากาศหรือ Shock Wave ทำให้บาดแผลแหกฉกรรจ์และกระเด็นล้มคว่ำได้ทันใด ยกตัวอย่าง กระสุนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนไรเฟิลล่าสัตว์ขนาด .223 หรือ 5.56x45 ม.ม.นาโต้(NATO) หัวกระสุนเล็กเท่ากับกระสุนลูกกรด คือ .22 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 55 เกรนมากกว่ากระสุนลูกกรด(40 เกรน)นิดเดียว ความเร็วต้น 3,250 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,325 ฟุต-ปอนด์ ฯลฯ เป็นต้น “สี่สี่แม็กนั่ม” หรือในชื่อเป็นทางการว่า .44 Remington Magnum เมื่อ 40 ปีที่แล้วเป็นกระสุนปืนสั้นที่อานุภาพเอกอุที่สุดในโลก(The Most Powerful Handgun in the World) ประดิษฐ์คิดค้นโดย เอลเม่อร์ คีธ (Elmer Keith) นักเขียนเรื่องปืนและนักผจญภัยกลางแจ้ง(Outdoor Adventurer)ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับบริษัทผลิตปืน สมิธแอนด์เวสสัน(Smith&Wesson)และบริษัทปืนและกระสุนยี่ห้อเรมิงตัน(Remington) ผลิตจำหน่ายในปีค.ศ.1955 (ปีพ.ศ.2498) จนปัจจุบัน เอลเม่อร์ คีธ นำกระสุนขนาด “สี่สี่-สเปเชี่ยล” หรือ .44 S&W Special (ผลิตในปีค.ศ.1907 แรงดันรังเพลิง 15,500 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.16 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 246 เกรน ความเร็วต้น 755 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 310 ฟุต-ปอนด์) มาทดลองพัฒนาเพิ่มแรงดันในรังเพลิง ซึ่งก็หมายถึงกระสุนความเร็วสูงโดยปริยาย เพื่อให้เป็น “สี่สี่-แม็กนั่ม” โดยไม่คิดนำกระสุนหน้าตัดใหญ่ที่โด่งดังในยุคโคบาลตะวันตก(Wild Western) คือ “สี่ห้า-โค้ลท์” หรือ .45 Colt (ผลิตในปีค.ศ.1872 แรงดันรังเพลิง 14,000 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.285 นิ้วฟุต หัวกระสุนหนัก 250 เกรน ความเร็วต้น 929 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 479 ฟุต-ปอนด์ และแบบ Buffalo Bore หัวกระสุนหนัก 325 เกรน ความเร็วต้น 1,325 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,267 ฟุต-ปอนด์) มาพัฒนา หลักการง่ายๆ ก็คือ กระสุนหน้าตัดใหญ่(Big Bore), หัวกระสุนหนักอึ้ง(Heavy Bullet), และ กระสุนความเร็วสูง(Higher Velocity) เปรียบง่ายๆว่า ซุงหนึ่งต้นหนัก 500 กิโลกรัมวางไว้เฉยๆข้างถนน รถยนต์ที่พุ่งชนต้นซุงต้นนี้ย่อมเสียหายน้อยกว่าการที่ถูกต้นซุงพุ่งมาด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.ชนเข้ากับรถยนต์ที่จอดอยู่เฉยๆ (อ่านและคิดทบทวนอีกครั้งนะครับ) วัตถุประสงค์หลักในการประดิษฐ์คิดค้น ก็เพื่อล่าสัตว์เท้ากีบขนาดเขื่อง เช่น กวางเอ้ลค์(Elk) สูงถึงหัวไหล่ 1.50 เมตร หนักประมาณ 250-450 กิโลกรัม จนกระทั่งถึงควายป่าที่เรียกว่า Cape Buffalo ที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แต่น้ำหนักไม่มากเท่ากระทิงในบ้านเรา โดยการยิงจากปืนสั้นลูกโม่ลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต จึงเป็นจุดกำเนิดปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น Smith&Wesson Model 29 สมิธแอนด์เวสสัน “สี่สี่-แม็กนั่ม” 56 ปีมาแล้วที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น(Double-Action Revolver) กระสุนสี่สี่แม็กนั่มผลิตจำหน่าย อันที่จริงก็ด้วยวัตถุประสงค์ของการล่าสัตว์ด้วยปืนสั้น ซึ่งเป็นความคลาสสิคและใช้ศิลปะการล่ามากกว่าปืนยาว ยิ่งปืนสั้นลูกโม่แม้จะลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต หากได้ติดศูนย์กล้องเล็งขยาย 4-8 เท่า ก็ยิ่งทวีความยากลำบากในการเล็งยิงมากขึ้น แม้ปืนโมเดลนี้(ซึ่งรวมทั้งกระสุนด้วย)จะขายดิบดีในช่วงต้นๆของการเปิดจำหน่ายก็ตาม แต่แล้วยอดขายก็ตกฮวบตามวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่นเดียวกับรถ 4x4 Off-Road เพราะมนุษย์หันมาอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ ออกกำลังกายในร่มมากกว่ากีฬากลางแจ้งเช่นก่อน จนกระทั่ง ในปีค.ศ.1971 ที่ภาพยนต์บู้แอ๊คชั่นเรื่อง “มือปราบปืนโหด” ออกฉาย ทำให้ปืนและกระสุนสี่สี่แม๊กนั่มกลับขายดีถล่มทลาย เพราะผู้ชายส่วนมากอย่างเก่งกล้าหรือมีอาวุธที่อานุภาพเอกอุเหมือนพระเอก คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด นั้น จะเป็นกลยุทธ์การตลาดเช่นเดียวกับที่ภาพยนต์เรื่อง เจมส์ บอนด์ ปลุกกระแสความนิยมรถสปอร์ตอังกฤษยี่ห้อ แอสตัน มาร์ติน(Aston Martin) เป็นเหตุผลอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 -ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่นบรรจุกระสุน 6 นัด โครงปืนใหญ่(S&W N-Frame) -ลูกโม่หมุนทวนเข็มนาฬิกา(Anti-Clockwise) -กระสุนปืนสั้นลูกโม่ชนวนกลาง(Revolver/Center-Fire Cartridge)ขนาด .44 Remington Magnum -ตัวปืนเสนอตลาดด้วย 7 ขนาดความยาวลำกล้อง ได้แก่ 3, 4, 5, 6, 6 ½ , 8 3/8 และหลังสุด 10 5/8 นิ้วฟุต -เฉพาะลำกล้อง 5 นิ้วฟุตเท่านั้นที่ฟักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนยาวเต็มความยาวลำกล้องหรือ Full Barrel Length Underlug โมเดล 29 เสนออยู่ 2 แบบ ได้แก่ แบบรมดำผิวหนา(Highly Polished Blued Finish) กับแบบนิเกิ้ลโครเมี่ยม(Nickle-Plated Surface) ในปีค.ศ.1960 โมเดล 29-1 ผลิตสู่ตลาดภายใต้การปรับปรุงด้านเทคนิคเล็กน้อย อาทิ สกรูยึดก้านกระทุ้งปลอกกระสุน(Ejector Rod Screw) ให้หลังหนึ่งปี โมเดล 29-2 ก็ปรากฏสู่ตลาดโดยเพิ่มสกรูตัวขันยึดความแน่นหนาให้กับสปริงสลักล็อคลูกโม่(Cylinder Stop Spring) ในปีค.ศ. 1979 หั่นลำกล้องจาก 6 ½ เหลือแค่ 6 นิ้วฟุต ทั้งโมเดล 29-1 และ 29-2 เพิ่มเทคนิคพิเศษอีกนิดนึง คือ ตัวลำกล้องขันเกลียวยึดแน่นกับโครงปืนพร้อมหมุดตอกย้ำ ส่วนตัวลูกโม่เซาะร่องฝังจานคัดปลอกกระสุนให้เรียบหน้าโม่ เรียกเทคนิคนี้ว่า Pinned & Recessed Model ปีค.ศ.1967-1971 บริษัทสนับสนุนทางยุทโธปกรณ์สหรัฐอเมริกา ชื่อ AAI Corporation (Aircraft Armaments, Inc.) สั่งผลิตปืนสมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 จำนวนหนึ่ง ลำกล้องสั้นแค่ 1.375 นิ้วฟุต ใช้ยิงกับกระสุน .40 หรือว่า 10 มอมอ และกระสุนลูกซองขนาด .410 เพื่อใช้ในปฏิบัติการพิเศษที่เรียกว่า QAPR (Quiet Special Purpose Revolver) เพื่อให้ทหารอเมริกันบุกเข้าจู่โจมและตรวจค้น “ถ้ำรูหนู” หรือ Tunnel Rats ที่ทหารเวียดนามอาศัยเป็นช่องทางหลบหนีหลบซ่อน ในปีค.ศ. 1982 โมเดล 29-3 ยกเลิกเทคนิคพิเศษดังกล่าวเพิ่มลดต้นทุนและระยะเวลาในการผลิต โดยหันมาใช้เทคนิค Crush-Fit Barrel หรือคล้ายๆกับ โคนลำกล้องตีปลอกฟิตแน่นกับโครงปืน ซึ่งได้ผลเท่าเทียมกันแต่ประหยัดต้นทุนและเวลาผลิตมากกว่า ในปีค.ศ.1988 (โมเดล 29-4) และปี 1990 (โมเดล 29-5) เสริมแรงให้กับชิ้นส่วนและโครงสร้างตัวปืนเพื่อให้ใช้งานได้อย่างสมบุกสมบันมากขึ้น โดยเฉพาะทนแรงดันรังเพลิงและแรงสะบัดสะท้อนจากกระสุนแรงสูงสมัยใหม่ ปีค.ศ.1994 โมเดล 29-6 ผลิตจำหน่ายพร้อมกับด้ามยาง Monogrip กระชับมือยี่ห้อ ฮ้อว์ก(Hogue) สันบนโครงปืนมีรูไว้สำหรับขันสกรูติดตั้งศูนย์กล้องล่าสัตว์ ในปีค.ศ.1998 โมเดล 29-7 ออกตลาดภายใต้การปรับปรุงชิ้นส่วนลั่นไก เช่น เข็มแทงชนวน, นกปืน, ไกปืน, ฯลฯ ล้วนผลิตจากกรรมวิธีฉีดโลหะขึ้นรูป(Metal Injection Molding Process) เพื่อป้องกันปัญหาแตกหักขณะใช้งานหนัก สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ถูกยกเลิกการผลิตไปอย่างถาวรในปีค.ศ.1999 ด้วยเหตุผลของอายุสินค้า(Model Life)ในเชิงการตลาด ปัจจุบัน ทั้งตลาดนอกและตลาดไทย นักเล่นปืนต่างมองหาสี่สี่แม็กนั่มรุ่นนี้ไว้สะสม เพราะตัวปืนมีความสวยงามมากกว่าปืนรุ่นใหม่ของสมิธฯ โดยเฉพาะ โมเดล 29 ในรุ่นฉลองครบรอบ 50 ปี (50th Anniversary Model 29) ที่ผลิตขึ้นจำกัดจำนวนเมื่อวันที่ 26 มกราคมปี 2006 ลักษณะพิเศษ ได้แก่ ลูกโม่กลมกลึงไม่มีร่อง(Non-Fluted Cylinder), สลักลายทองด้วยแสงเลเซอร์บนตัวปืน, ระบบสลักนิรภัยภายใน(Interlock Mechanism), ฯลฯ วันที่ 1 มกราคมปี 2007 โมเดล 29 คลาสสิคไลน์ รุ่นพิเศษแกะลายสวยหรู(Engraved Model) สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629” ในยุคที่โลหะวิทยาหันมาสนใจเหล็กสแตนเลส(Stainless Steel)กันอย่างบ้าคลั่ง ด้วยคุณสมบัติบางประการที่ให้ประโยชน์ใช้งานเหนือกว่าเหล็ก(Steel) เช่น ไม่เป็นสนิมเหล็ก, ทนสภาวะกัดกร่อนได้สูง(Anti-Corrosion), เนื้อโลหะเหนียวแน่น(High-Density)จากการหล่อขึ้นรูปได้มากกว่า, เนื้อผิวสวยงามดูน่าใช้น่าจับต้องมากกว่า, ฯลฯ สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629” จึงกำเนิดขึ้นมาด้วยเหล็กสแตนเลสแทนโมเดล 29 ที่เป็นเหล็ก ด้วยประการเช่นนี้ โมเดล 629 สี่สี่แม็กนั่ม เปิดตัวครั้งแรกในปีค.ศ.1978 ในขนาดลำกล้องยาว 6 นิ้วฟุต ส่วนลำกล้อง 4 และ 8 3/8 นิ้วฟุตออกสู่ตลาดในปีค.ศ.1980 ในปีค.ศ.1982 โมเดล 629-1 ใช้เทคนิคพิเศษ Crush-Fit Barrel ตามอย่างโมเดล 29-3 ในปีค.ศ.1988 โมเดล 629-1 เพิ่มรุ่นพิเศษลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต ส้นด้ามมน(Round Butt) ชิ้นส่วนกลไกภายในเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับโมเดล 29-4 กรณีที่ตัวปืนปั๊ม 629-2E นั่นหมายถึงว่า บานพับหน้าลูกโม่หรือ Cylinder Crane ปรับให้ผิวเนื้อมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ปีค.ศ.1990 โมเดล 629-3 มาในรูปแบบของด้ามยางฮ้อว์ก(Hogue), สันบนโครงปืนมีสกรูพร้อมติดตั้งศูนย์กล้องเล็ง, เปลี่ยนก้านกระทุ้งปลอกกระสุน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโมเดล 629-4 ที่เปิดตัวภายหลังในคุณสมบัติของปืนสั้นแข่งขันยิงเป้ามากขึ้น อาทิ นกปืน-ไกปืนใหญ่แบบปืนสั้นแข่งขันยิงเป้า, ศูนย์หน้ากระโดงปลาแถบแดง(Red Ramp Front Sight), ใบศูนย์หลังเส้นขาว(White Outline Rear Sight), ฯลฯ เป็นต้น ในปีเดียวกันนี้(1990) โมเดล 629 คลาสสิค(Classic) เสนอตลาดด้วยรูปแบบของ “ฝักเต็ม” หรือ Full Barrel Underlug หมายถึง มีแท่งตันถ่วงน้ำหนักต่อจากฝักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนใต้ลำกล้องยาวจรดปากกระบอกปืน ภายใต้รหัส 629-4s ลำกล้องยาว 5, 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต ปีค.ศ.1991 โมเดล 629 คลาสสิค ดีเอ๊กซ์ (629 Classic DX) ออกสู่ตลาดพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษเหนือใคร คือ เปลี่ยนใบศูนย์หน้าได้ 5 แบบ ปีค.ศ.1988 โมเดล 629-5 เปลี่ยนนกและไกปืน MIM และใช้เข็มแทงชนวนแบบฝังลอยในโครงปืน แทนเข็มแทงชนวนแบบนกสับเช่นก่อน โมเดล 629 คลาสสิค มิได้เป็นแค่สินค้ารุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพดีมากกว่าโมเดล 29 และโมเดล 629 เท่านั้น ในเชิงการตลาดถือว่าเป็นการ “ยกระดับ” สินค้า(Product Repositioning)ให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง ราคาแพงขึ้นตามคุณภาพสินค้า ขณะเดียวกัน ก็ยกระดับชื่อยี่ห้อและตัวสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อตลาดระดับไฮเอ็น(High-end) คือ เศรษฐีและนักสะสมปืน ดังนี้ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 คลาสสิค ยุคหลังๆจึงมีสินค้ารุ่นพิเศษสู่ตลาด อาทิ แม๊กน่าคลาสสิค(MagnaClassic), วี-ค้อมพ์(V-Comp), สเต็ลท์ฮันเตอร์(Stealth Hunter), ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้งความยาวลำกล้อง 7 ½ นิ้วฟุตที่มาคั่นกลางเป็นทางเลือกใหม่ ระหว่างลำกล้อง 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต อีกด้วย บทวิพากย์…. ในแง่มุมของนักสะสมปืน(Gun Collectors) ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่ไม่สามารถลงพิมพ์ในจำนวนหน้ากระดาษจำกัดนี้ได้หมด เช่น รุ่นลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต, เมาเท่นกันส์(Mountain Gun), และอื่นๆ แต่ในมุมของผู้ใช้ปืนทั่วไปก็พอที่จะใช้เนื้อที่หน้ากระดาษที่เหลือนั่งจับเข่าคุยกันได้ดังนี้ครับ คำถาม: “ใครบ้างที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม? และทำไมต้องเป็นสมิธแอนด์เวสสัน?” ตอบ: แม้กระสุนสี่สี่แม็กนั่มจะออกแบบมาแต่อ้อนออกให้ใช้กับปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น เพื่อกีฬาล่าสัตว์และป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายในงานสำรวจท่องเที่ยวป่า แต่กลุ่มผู้ซื้อปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้ส่วนมากกลับเป็นนักสะสมปืน นักเลงปืน และตำรวจทหารตามชายแดนหรือในท้องที่ทุรกันดาร ทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเมืองไทย ด้วยราคาตัวปืนและกระสุนที่แพงกว่าปืนอื่นในตลาด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ผู้ที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม ก็คือ คนที่มีใจรักปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้จริงๆ ขณะที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม คลอดสู่ตลาดเมื่อ 56 ปีที่แล้ว ก็มีบริษัทผลิตปืนยี่ห้อ รูเก้อร์ (Ruger) สหรัฐอเมริกา ผลิตปืนสั้นที่ใช้กระสุนขนาดเดียวกันนี้ออกแข่งตลาด แต่เป็นปืนสั้นซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น(Single Action Revolver) นัยว่า เป็นเพราะพนักงานของบริษัทผลิตกระสุนเรมิงตันนำปลอกกระสุนขนาดใหม่ล่านี้ไปให้รูเก้อร์ ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีปืนสั้นหลายยี่ห้อที่แข่งค้ากับปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มของสมิธฯ เช่น โค้ลท์ อะนาคอนด้า(Colt Anaconda), รูเก้อร์ ซูเปอร์ เรดฮอว์ก(Ruger Super Redhawk)ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น, รูเก้อร์ ซูเปอร์ แบล็คฮอว์ก(Ruger Super Blackhawk)ซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น, ฯลฯ ยังไม่นับปืนพกกึ่งอัตโนมัติ(Semi-Automatic Pistol)ชื่อดังที่ใช้กระสุนสี่สี่แม๊กนั่มของปืนสั้นลูกโม่ เช่น เดสเสิร์ต อีเกิ้ล (IMI Desert Eagle), และอื่นๆ เป็นต้น แต่ที่เมืองนอกเมืองไทยพูดกันมากที่สุด ก็คือ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29, 629 และ 629 คลาสสิค ประณีตแม่นยำที่สุดในกระบวนปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มด้วยกัน ถาม: “ปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มใช้กระสุนอื่นยิงแทนได้ไหมในเมื่อไม่มีลูกซ้อมยิง?” ตอบ: ได้ คือ .44 สเปเชี่ยล(.44 S&W Special) ที่ปลอกหรือนัดกระสุนสั้นกว่าสี่สี่แม็กนั่มนิดเดียว (0.125 นิ้วฟุต) ทำนองเดียวกับที่เราใช้กระสุนสามแปดสเปฯ (.38 Special) ยิงซ้อมมือกับปืนสั้นลูกโม่สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum) เพราะขนาดหน้าตัดหัวกระสุนและความโตของปลอกกระสุนใกล้เคียงกันมาก แต่หลักการนี้ใช้ได้เฉพาะปืนสั้นลูกโม่เท่านั้น ปืนพกกึ่งอัตโนมัติหรือปืนสั้นออโตเมติคจะมีปัญหา ถาม: “สมมุติว่าขอใบอนุญาตและซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มมาได้แล้วจะไปยิงซ้อมที่สนามยิงปืนที่ไหน?” ตอบ: เดี๋ยวนี้ยากมากครับ สนามยิงปืนของราชการและเอกชนทั่วไปในบ้านเราไม่ค่อยอนุญาตให้ยิงปืนกระสุนสี่สี่แม็กนั่ม ซึ่งรวมทั้งปืนไรเฟิลขนาดต่างๆ ด้วย ปืนกระสุนดุที่อนุญาตให้ยิงซ้อมกันในสนาม อย่างมากก็แค่สิบเอ็ดมอมอ(.45 ACP), ลูกซองกระสุนลูกปราย, สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum)เป็นบางสนาม จริงๆจังๆก็คงเป็นสนามยิงปืนของทหารที่ Backstop (กำแพงหยุดกระสุนหลังเป้า) เตรียมไว้สำหรับเอ็ม 16 ก็พอจะพูดคุยขอกันได้บ้าง ถาม: “สี่สี่แม็กนั่มกระสุนนอกราคานัดละเท่าไร? กระสุนไทยมีผลิตไหม?” ตอบ: กระสุนสี่สี่แม็กนั่มที่พอจะหาซื้อได้ในตลาดปืนบ้านเรามีค่อนข้างน้อยมาก ถ้ามีก็ตกนัดละเกือบๆร้อยบาทหรือกว่านี้ เท่าที่ทราบ สี่สี่แม็กนั่มไม่มีผลิตขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพราะขาดวัสดุและดินปืนที่ต้องขออนุญาตกลาโหมเพื่อนำเข้า ยอดจำหน่ายมีแค่นิดเดียว จึงไม่คุ้มที่จะผลิตในประเทศไทย ถาม: “ที่ว่า ปืนสมิธฯสี่สี่แม็กนั่มแม่นยำกว่าปืนอื่นนั้นเป็นอย่างไร?” ตอบ: จากบทความต่างประเทศ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 แม็กน่าคลาสสิค ลำกล้องยาว 8 3/8 นิ้วฟุต ยิงด้วยกระสุน Garrett Cartridges หัวกระสุนหนัก 320 เกรน ความเร็วต้น 1,315 ฟุต/วินาที จากระยะยิง 25 หลา(ประมาณ 23 เมตร)จำนวน 6 นัดทำกลุ่มกระสุนได้ 1 นิ้วฟุต กระสุน Carbon Hunter หัวกระสุนหนัก 260 เกรน หัวรู(Hollow Point) ความเร็วต้น 1,450 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,214 ฟุต-ปอนด์ ระยะยิง 25 หลา จำนวน 6 นัดทำกลุ่มได้ 1x2 นิ้วฟุต ทั้งนี้ยังไม่มีการยิงพิสูจน์ความแม่นยำเทียบระหว่าง Smith&Wesson, Colt Anaconda, Ruger Super Redhawk ทั้งเมืองนอกและในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ถาม: “ถ้าจะซื้อปืนสั้นลูกโม่สี่สี่แม็กนั่มสักกระบอกในชีวิตจะเลือกอะไรดี?” ตอบ: ถ้าเลือกความประณีตแม่นยำ(Precision/Accuracy)ก็ต้องสมิธแอนด์เวสสัน ถ้าชอบความแข็งแรงบึกบึนทนทาน(Strong, Durability & Reliability)ก็ต้องฟันธงว่ารูเก้อร์ ส่วนอะนาคอนด้า(Anaconda)เป็นอะไรๆ ที่ต้องเป็นยี่ห้อโค้ลท์ไว้ก่อน ถาม: “ปืนสั้นลูกโม่เล่นกระสุนสี่สี่แม็กนั่มแบบไหนดี?” ตอบ: นักเลงสี่สี่แม็กนั่มตัวจริงจะเล่นกระสุน “หัวตัน-หัวหนัก” ไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็น Jacketed Soft Point, Semi-Wadcutter, Flat/Leaded Nose, รวมทั้งกระสุนพิเศษซาบ้อต(Sabot) จากประสบการณ์ส่วนตัว สี่สี่แม็กนั่มหัวรู น้ำหนัก 240 เกรน แม้จะมีความเร็วสูงถึงขั้น 1,400 ฟุต/วินาที จะมีปัญหา “เหินลม” ทำให้วิถีกระสุน(Trajectory)ไม่ราบเรียบไม่แม่นยำเท่าควร ขณะที่กระสุนหัวตัน น้ำหนักหัวกระสุนมากๆ (หรือบางทีก็น้ำหนัก 240 เกรนเท่ากัน) แต่ปลอกกระสุนมีเข็มขัดรัดหรือรอยย้ำ 2 แถว แม้ความเร็วน้อยกว่าแต่ให้ความแม่นยำหนักแน่นสูงกว่ามาก เรียกว่าได้ใจทุกนัดไป ข้อเสีย คือ ยิงสะบัดกัดมือมากกว่ากระสุนรุ่นใหม่ๆ ประมาณ +15%-20% ถาม: “ปืนสี่สี่แม็กนั่มต้องระวังอะไรบ้าง? ติดศูนย์กล้องดีไหม?” ตอบ: ข้อหนึ่ง-ถ้าเป็นเหล็กสแตนเลส เช่น โมเดล 629 และ 629 คลาสสิค ควรใส่กล่องเก็บหรือไม่ก็ตัดซองหนังใส่ปืนเก็บรักษา เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน รอยขนแมว ที่เกิดขึ้นเพราะผิวเหล็กสแตนเลสเนื้ออ่อนกว่าเหล็ก ข้อสอง-ไม่ควรใช้ยาขัดโลหะชนิดที่มีสารชะล้าง(Solven)ขัดถูกตัวปืน เพราะจะทำให้ตัวอักษรที่แกะสลักด้วยเลเซอร์เคลือบสีทองไว้ลางเลือนจางหาย ข้อสาม-หมั่นตรวจขันหมุดสกรูที่ตัวปืนทั้งก่อนและหลังการยิง เนื่องจากแรงสะบัดสะท้อนรุนแรงทำให้หมุดสกรูคลายตัวและอาจหลุดกระเด็นหาย ข้อสี่-ถึงจะหาซื้อกระสุนได้มากก็ไม่ควรยิงเล่นบ่อยๆ เพราะจะทำให้ตัวปืนทรุดโทรมเร็วกว่าที่ควรอย่างน่าเสียดาย ข้อห้า-อย่านำมายิงแห้งหรือเหนี่ยวไกเล่น(โดยไม่บรรจุกระสุนในตัวปืน)บ่อยๆ กลไกปืนอาจชำรุดเสียหาย โดยเฉพาะเข็มแทงชนวนอาจหักโดยไม่รู้ตัว ข้อหก-ติดศูนย์กล้องเล็งได้ในกำลังขยายภาพไม่เกิน 4 เท่า สูงกว่านั้นจะเล็งยิงได้ลำบาก มือสั่นสายตาพร่ามัวเพราะไม่กล้าลั่นกระสุน(เพราะภาพมันฟ้องว่าศูนย์ปืนไม่เข้าเป้าเนื่องจากมือผู้ยิงสั่นไปมา) แต่สุดท้ายก็ต้องถอดศูนย์กล้องเล็งออกเพราะรู้สึกเกะกะหนักตัวปืนเปล่าๆ สรุปท้ายเรื่อง... สมิธแอนด์เวสสัน สี่สี่แม็กนั่ม เป็นทรัพย์สมบัติที่คู่ควรต่อผู้มีบารมีและนักสะสมปืนมากกว่าการมีใช้เพื่อต่อสู้ป้องกันชีวิตทรัพย์สิน ไม่ใช่ปืนสั้นประจำกายอย่างแน่นอน แต่จะเหมาะที่สุดในกรณีท่องไพรสำรวจป่าที่พกไว้ข้างเอวหรือข้างสีข้างลำตัวเพื่อป้องกันสัตว์เขี้ยวยาวดุร้ายต่างๆ แม้ปัจจุบัน ตลาดปืนโลกจะมี “ปืนโหดกระสุนดุ” รุ่นใหม่ๆที่มีอานุภาพสูงกว่าสี่สี่แม็กนั่ม ไม่ว่าจะเป็น .454 Casull, .460 S&W Magnum, .500 S&W Magnum, และอื่นๆ แต่ “สี่สี่แม็กนั่มยังจะเป็นเพื่อนที่ดีของนักเล่นปืนตลอดไป” ขอบคุณครับ...
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 240 มุมมอง 0 รีวิว
  • นิทานเรื่อง “Château Christophe”
    ตอนที่ 1
    เป็นเวลากว่า 6 ชั่วโมงที่สถานกงสุลอเมริกัน ที่เมือง Benghazi ประเทศลิเบีย ถูกโจมตีและถูกยึดได้ในที่สุด ในคืนวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2012 หลังจากการโจมตีและสู้รบสิ้นสุดลง ร่างของฑูตอเมริกัน นาย Christopher J. Stevens ถูกลากออกมาจากซากตึกที่ไหม้และพังทลายอยู่ในบริเวณของสถานกงสุล เขาเป็นฑูตอเมริกันคนแรกที่ถูกสังหารโดยกองทัพต่างชาติในรอบ 30 ปี การตายของเขาถูกนำไปเป็นประเด็นทางการเมือง สาเหตุและการบุกโจมตีสถานกงสุ ลถูกบิดเบือน การตายของฑูต Stevens มีการสอบสวน วิเคราะห์ บอกเล่า เขียนเป็นหนังสือ สาระพัดเรื่อง ความจริงเป็นอย่างไร ยังไม่มีใครปริปากพูดออกมาตรง ๆ มันเป็นเรื่องน่าคิด น่าติดตาม เพราะมันจะเป็นทั้งใบเสร็จและอุทาหรณ์ในหลาย ๆ เรื่องให้แก่เรา
    เช้าวันที่ 11 กันยายน นาย Stevens ฑูตอเมริกันประจำประเทศลิเบีย นั่งทานอาหารเช้ากับชายคนหนึ่ง ชื่อ Habib Budaker ที่สถานกงสุลเมือง Benghazi
    นี่เป็นครั้งแรกที่นาย Stevens กลับมาเมือง Benghazi หลังจากรับตำแหน่งฑูต เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 และใช้เวลาปฎิบัติหน้าที่ “ฑูต” ทำงานอยู่รอบ ๆ ตัวเมืองนอกสถานฑูตที่เมือง Tripoli แต่เมื่อนาย Bubaker ไปรับเขาที่สนามบิน Benghazi เช้าวันที่ 10 นาย Stevens บอกกับ Budaker ว่า “ผมตื่นเต้นที่ได้กลับมา” Budaker รู้จักฑูต Stevens มากว่า 1 ปีแล้ว โดยการแนะนำตัวเองกับนาย Stevens เมื่อเดือนเมษายน 2011 หลังจากการปฎิวัติของชาวลิเบียเริ่มเกิดขึ้นได้สัก 2 เดือน นาย Stevens ก็ถูกส่งให้มาที่ Bengazi ในฐานะตัวแทนของอเมริกาสำหรับรัฐบาลผสมที่เกิดจากการปฏิวัติ อเมริกาได้เลือกข้างเรียบร้อยแล้ว ว่าจะอยู่กับฝ่ายไหนในสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ และ Stevens ได้รับการมอบหมายให้มาสร้างสัมพันธ์กับประชาชนที่อเมริกาคาดว่า ในที่สุดจะเป็นฝ่ายปกครองประเทศ
    Bubakar เป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในเมือง และเสนอตัวเป็นล่ามให้แก่ Stevens นาย Stevens เองพูดภาษาอารบิคได้ แต่เขาอยากใช้สำนวนภาษาการฑูตซึ่งชัดเจนกว่าในการเจรจาที่เป็นทางการ เขาจึงเลือกที่จะพูดภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกัน Bubaker เป็นผู้พา Stevens เข้ารู้จักองค์กรภาคธุรกิจและทำหน้าที่เป็นเหมือนมือขวาของ Stevens ตลอดเวลาการสู้รบ ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของสงคราม เขานับตัวเองว่าเป็นเพื่อนของ Stevens หลาย ๆ คน ก็คิดอย่างนั้น เพราะ Stevens เป็นคนประเภทคบเป็นเพื่อนง่าย
    Stevens ตั้งใจจะอยู่ที่ Benghazi เพียง 5 วัน เขามีประชุมวันจันทร์ที่ในเมือง และจะมีอีกหลายนัดนอกบริเวณกงสุลในวันพุธ ส่วนวันพฤหัส ดูเหมือนจะเป็นวันสำคัญที่สุดของการมา Benghazi เขาตั้งใจจะส่งมอบ “Benghazi Mission” ให้กับชาวลิเบีย และบริเวณกงสุลอเมริกันจะเรียกชื่อใหม่ว่า “An American Space” โดยจะมีการสอนภาษาอังกฤษให้ชาวพื้นเมือง รวมทั้งการเข้าไปใช้อินเตอร์เน็ท การฉายภาพยนต์และมีห้องสมุด โดยฝ่ายอเมริกาจะจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ หนังสือ และอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ สนับสนุน และมอบให้เป็นสมบัติของคนพื้นเมือง ให้คนพื้นเมืองดูแลเอง Stevens หวังว่า “An American Spece” นี้ จะเป็นตัวอย่างของการเป็นหุ้นส่วนของ 2 ประเทศ หากได้มีการร่วมมือกัน
    Stevens มีความรู้สึกผูกพันธ์กับ Benghazi เมืองซึ่งชาวเมืองแสดงการต่อต้าน Qaddafi เป็นครั้งแรก เพราะเขาอยู่กับชาวเมืองตลอดเวลาของการต่อต้านนั้น ระหว่างการปฏิวัติ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ตามถนน พูดคุย คลุกคลี และสำรวจเมือง Benghazi และผู้คน นาย Nathan tek เจ้าหน้าที่สถานฑูต รุ่นหนุ่มที่อยู่กับ Stevens มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 บอกว่า Stevens ชอบที่จะสำรวจเมืองอย่าง โดยไม่ต้องมีหน่วยคุ้มกันตัวโตถือปืนเดินตามประกบ เขาบอกว่า การที่เรามีเพื่อนมาก และเขาเห็นเราเป็นแขกของเขานั้นแหละสำคัญที่สุด
    ซึ่งชาว Benghazi โดยทั่วไปก็แสดงความเป็นมิตร แม้ในช่วงเดือนกันยายนนั้นเอง จะมีทหารเดินอยู่เต็มเมือง Stevens ก็เพียงแค่ปรับเปลี่ยนตารางของเขา เขาเอาบอดี้การ์ดมาด้วย 2 คนจาก Tripoli รวมกับอีก 3 คนจากหน่วยความมั่นคงที่ประจำที่ Benghazi อยู่แล้ว เขายกเลิกการวิ่งตอนเช้านอกบริเวณกงสุล และจัดให้การนัดพบทุกรายการอยู่ในบริเวณกงสุล อเมริกาได้ตั้งสถานกงสุลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2011 หลังจากโรงแรมที่พวกเขาเคยพักถูก ระเบิดถล่ม เขาเช่าวิลล่า 3 หลัง บริเวณติดต่อกัน ทุบกำแพงระหว่างวิลล่าทิ้ง และล้อมบริเวณ 3 วิลล่า เสียใหม่เป็นบริเวณเดียว ทำให้เป็นตึกเตี้ย ๆ 4 หลัง อยู่ท่ามกลางเถาต้นองุ่นและต้นฝรั่ง เพื่อนร่วมงานล้อเลียน Stevens ว่าสถานที่นี้น่าจะเรียกว่า “Château Christophe” แบบโรงผลิตไวน์มีชื่อ
    Château Christophe ถึงแม้จะเป็นเพียงสถานที่ชั่วคราว แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการป้องกันอย่างเหมาะสม สถานที่กว้าง 300 หลา และลึก 300 หลา ทำให้ตัวตึกอยู่ลึกเข้ามาจากรั้วมากพอที่จะป้องกันการจู่โจมจากด้านนอก รั้วทุกด้านสูง 9 ฟุต และมีลวดหนามไฟฟ้ากั้นสูงไปจากรั้วอีก 3 ฟุต มีแผ่นเหล็กปลดลงมา ไว้ปิดกั้นไม่ให้รถวิ่งเข้ามาได้ และมีแท่งคอนกรีตกั้นทั้งภายในภายนอก สำหรับป้องกันการใช้รถวิ่งชน มีจอและกล้องคอยเฝ้า (monitor) ดูแลความปลอดภัยรอบบริเวณ ส่วนในบริเวณชั้นใน มีแผ่นเหล็กสำหรับปลดมาปิดกั้นและล็อคได้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อสามารถเปลี่ยนให้ภายในตึก นี้กลายเป็นห้องนิรภัย และภายในห้องนี้ ยังมีห้องเล็ก หลบซ่อนอยู่อีก ห้องเล็กนี้มีอาหาร น้ำ และเครื่องเวชภัณฑ์ โดยมองจากข้างนอกไม่มีทางเห็น
    Château Christophe ถือว่ามีการดูแลที่ปลอดภัย เพียงพอสำหรับการปฎิบัติงานของคนระดับฑูตอเมริกัน Benghazi ต่างหากที่ยังไม่ปลอดภัย รัฐบาลลิเบียยังต้องจัดให้มีกำลังตำรวจที่เหมาะสม ความรุนแรงในเมืองมีอยู่ตลอดหน้าร้อน รวมทั้งบางส่วนยังมีเป้าหมายต่อต้านชาวตะวันตก จริง ๆ แล้ว Stevens ได้แจ้งไปทางวอชิงตันในเช้าวันที่ 11 นั้น เพื่อเตือนความจำเรื่องการไม่มีกฎหมายใช้บังคับที่ Benghazi ถึงอย่างนั้นตัวเมืองก็ดูสงบพอสมควรเมื่อ Stevens มาถึงและเขาคิดว่ามันคงจะเป็นเช่นนั้นต่อไป
    Bubaker อยู่กับ Stevens ตลอดการประชุมต่าง ๆ ในตอนเช้า บ่าย 3 โมง เขาเช็คตารางของวันพุธ ซึ่งแน่นเต็ม นัดสุดท้ายของ Stevens วันนั้น คือ กาแฟกับนักการฑูตตุรกี ซึ่งเสร็จประมาณ 2 ทุ่มครึ่ง Stevens เดินไปส่งแขกที่ประตูหน้า ซึ่งมีกองกำลังรักษาความปลอดภัย ซึ่งจ้างมาจากกองทหารที่ 17th of February Martyrs Brigade ซึ่งเป็นมิตรกับชาวอเมริกัน
    ประมาณ 700 ไมล์ไปทางตะวันออก ฝูงชนกำลังล้อมสถานฑูตสหรัฐที่กรุงไคโร ด้วยความเคียดแค้นจากวิดีโอ ซึ่งมีเนื้อความละเมิดพระศาสดามูฮะหมัด แต่ทาง Benghazi ยังเงียบสงบ ถนนหน้า Château Christophe ว่างเปล่า
    Stevens เดินกลับมาที่ห้องของเขาที่ตึกกลาง ประมาณ 3 ทุ่ม 40 นาที เขาได้ยินเสียงปืนดัง เสียงปืนดังแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับอาหรับยามค่ำคืน เสียงปืนดัง บางทีก็หมายถึงการฉลอง Stevens เคยบอกกับน้องชาย และเคยพูดตลกกับ Bubaker เวลาเขาได้ยินเสียงปืนว่า สงสัยวันนี้มีงานแต่งงานนะ แต่วันนี้จอควบคุมความปลอดภัยของกงสุล เห็นกลุ่มคนกำลังปีนเข้ามาที่ประตูหน้า
    คนเล่านิทาน
    7 มิย. 57
    นิทานเรื่อง “Château Christophe” ตอนที่ 1 เป็นเวลากว่า 6 ชั่วโมงที่สถานกงสุลอเมริกัน ที่เมือง Benghazi ประเทศลิเบีย ถูกโจมตีและถูกยึดได้ในที่สุด ในคืนวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2012 หลังจากการโจมตีและสู้รบสิ้นสุดลง ร่างของฑูตอเมริกัน นาย Christopher J. Stevens ถูกลากออกมาจากซากตึกที่ไหม้และพังทลายอยู่ในบริเวณของสถานกงสุล เขาเป็นฑูตอเมริกันคนแรกที่ถูกสังหารโดยกองทัพต่างชาติในรอบ 30 ปี การตายของเขาถูกนำไปเป็นประเด็นทางการเมือง สาเหตุและการบุกโจมตีสถานกงสุ ลถูกบิดเบือน การตายของฑูต Stevens มีการสอบสวน วิเคราะห์ บอกเล่า เขียนเป็นหนังสือ สาระพัดเรื่อง ความจริงเป็นอย่างไร ยังไม่มีใครปริปากพูดออกมาตรง ๆ มันเป็นเรื่องน่าคิด น่าติดตาม เพราะมันจะเป็นทั้งใบเสร็จและอุทาหรณ์ในหลาย ๆ เรื่องให้แก่เรา เช้าวันที่ 11 กันยายน นาย Stevens ฑูตอเมริกันประจำประเทศลิเบีย นั่งทานอาหารเช้ากับชายคนหนึ่ง ชื่อ Habib Budaker ที่สถานกงสุลเมือง Benghazi นี่เป็นครั้งแรกที่นาย Stevens กลับมาเมือง Benghazi หลังจากรับตำแหน่งฑูต เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 และใช้เวลาปฎิบัติหน้าที่ “ฑูต” ทำงานอยู่รอบ ๆ ตัวเมืองนอกสถานฑูตที่เมือง Tripoli แต่เมื่อนาย Bubaker ไปรับเขาที่สนามบิน Benghazi เช้าวันที่ 10 นาย Stevens บอกกับ Budaker ว่า “ผมตื่นเต้นที่ได้กลับมา” Budaker รู้จักฑูต Stevens มากว่า 1 ปีแล้ว โดยการแนะนำตัวเองกับนาย Stevens เมื่อเดือนเมษายน 2011 หลังจากการปฎิวัติของชาวลิเบียเริ่มเกิดขึ้นได้สัก 2 เดือน นาย Stevens ก็ถูกส่งให้มาที่ Bengazi ในฐานะตัวแทนของอเมริกาสำหรับรัฐบาลผสมที่เกิดจากการปฏิวัติ อเมริกาได้เลือกข้างเรียบร้อยแล้ว ว่าจะอยู่กับฝ่ายไหนในสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ และ Stevens ได้รับการมอบหมายให้มาสร้างสัมพันธ์กับประชาชนที่อเมริกาคาดว่า ในที่สุดจะเป็นฝ่ายปกครองประเทศ Bubakar เป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในเมือง และเสนอตัวเป็นล่ามให้แก่ Stevens นาย Stevens เองพูดภาษาอารบิคได้ แต่เขาอยากใช้สำนวนภาษาการฑูตซึ่งชัดเจนกว่าในการเจรจาที่เป็นทางการ เขาจึงเลือกที่จะพูดภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกัน Bubaker เป็นผู้พา Stevens เข้ารู้จักองค์กรภาคธุรกิจและทำหน้าที่เป็นเหมือนมือขวาของ Stevens ตลอดเวลาการสู้รบ ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของสงคราม เขานับตัวเองว่าเป็นเพื่อนของ Stevens หลาย ๆ คน ก็คิดอย่างนั้น เพราะ Stevens เป็นคนประเภทคบเป็นเพื่อนง่าย Stevens ตั้งใจจะอยู่ที่ Benghazi เพียง 5 วัน เขามีประชุมวันจันทร์ที่ในเมือง และจะมีอีกหลายนัดนอกบริเวณกงสุลในวันพุธ ส่วนวันพฤหัส ดูเหมือนจะเป็นวันสำคัญที่สุดของการมา Benghazi เขาตั้งใจจะส่งมอบ “Benghazi Mission” ให้กับชาวลิเบีย และบริเวณกงสุลอเมริกันจะเรียกชื่อใหม่ว่า “An American Space” โดยจะมีการสอนภาษาอังกฤษให้ชาวพื้นเมือง รวมทั้งการเข้าไปใช้อินเตอร์เน็ท การฉายภาพยนต์และมีห้องสมุด โดยฝ่ายอเมริกาจะจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ หนังสือ และอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ สนับสนุน และมอบให้เป็นสมบัติของคนพื้นเมือง ให้คนพื้นเมืองดูแลเอง Stevens หวังว่า “An American Spece” นี้ จะเป็นตัวอย่างของการเป็นหุ้นส่วนของ 2 ประเทศ หากได้มีการร่วมมือกัน Stevens มีความรู้สึกผูกพันธ์กับ Benghazi เมืองซึ่งชาวเมืองแสดงการต่อต้าน Qaddafi เป็นครั้งแรก เพราะเขาอยู่กับชาวเมืองตลอดเวลาของการต่อต้านนั้น ระหว่างการปฏิวัติ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ตามถนน พูดคุย คลุกคลี และสำรวจเมือง Benghazi และผู้คน นาย Nathan tek เจ้าหน้าที่สถานฑูต รุ่นหนุ่มที่อยู่กับ Stevens มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 บอกว่า Stevens ชอบที่จะสำรวจเมืองอย่าง โดยไม่ต้องมีหน่วยคุ้มกันตัวโตถือปืนเดินตามประกบ เขาบอกว่า การที่เรามีเพื่อนมาก และเขาเห็นเราเป็นแขกของเขานั้นแหละสำคัญที่สุด ซึ่งชาว Benghazi โดยทั่วไปก็แสดงความเป็นมิตร แม้ในช่วงเดือนกันยายนนั้นเอง จะมีทหารเดินอยู่เต็มเมือง Stevens ก็เพียงแค่ปรับเปลี่ยนตารางของเขา เขาเอาบอดี้การ์ดมาด้วย 2 คนจาก Tripoli รวมกับอีก 3 คนจากหน่วยความมั่นคงที่ประจำที่ Benghazi อยู่แล้ว เขายกเลิกการวิ่งตอนเช้านอกบริเวณกงสุล และจัดให้การนัดพบทุกรายการอยู่ในบริเวณกงสุล อเมริกาได้ตั้งสถานกงสุลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2011 หลังจากโรงแรมที่พวกเขาเคยพักถูก ระเบิดถล่ม เขาเช่าวิลล่า 3 หลัง บริเวณติดต่อกัน ทุบกำแพงระหว่างวิลล่าทิ้ง และล้อมบริเวณ 3 วิลล่า เสียใหม่เป็นบริเวณเดียว ทำให้เป็นตึกเตี้ย ๆ 4 หลัง อยู่ท่ามกลางเถาต้นองุ่นและต้นฝรั่ง เพื่อนร่วมงานล้อเลียน Stevens ว่าสถานที่นี้น่าจะเรียกว่า “Château Christophe” แบบโรงผลิตไวน์มีชื่อ Château Christophe ถึงแม้จะเป็นเพียงสถานที่ชั่วคราว แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการป้องกันอย่างเหมาะสม สถานที่กว้าง 300 หลา และลึก 300 หลา ทำให้ตัวตึกอยู่ลึกเข้ามาจากรั้วมากพอที่จะป้องกันการจู่โจมจากด้านนอก รั้วทุกด้านสูง 9 ฟุต และมีลวดหนามไฟฟ้ากั้นสูงไปจากรั้วอีก 3 ฟุต มีแผ่นเหล็กปลดลงมา ไว้ปิดกั้นไม่ให้รถวิ่งเข้ามาได้ และมีแท่งคอนกรีตกั้นทั้งภายในภายนอก สำหรับป้องกันการใช้รถวิ่งชน มีจอและกล้องคอยเฝ้า (monitor) ดูแลความปลอดภัยรอบบริเวณ ส่วนในบริเวณชั้นใน มีแผ่นเหล็กสำหรับปลดมาปิดกั้นและล็อคได้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อสามารถเปลี่ยนให้ภายในตึก นี้กลายเป็นห้องนิรภัย และภายในห้องนี้ ยังมีห้องเล็ก หลบซ่อนอยู่อีก ห้องเล็กนี้มีอาหาร น้ำ และเครื่องเวชภัณฑ์ โดยมองจากข้างนอกไม่มีทางเห็น Château Christophe ถือว่ามีการดูแลที่ปลอดภัย เพียงพอสำหรับการปฎิบัติงานของคนระดับฑูตอเมริกัน Benghazi ต่างหากที่ยังไม่ปลอดภัย รัฐบาลลิเบียยังต้องจัดให้มีกำลังตำรวจที่เหมาะสม ความรุนแรงในเมืองมีอยู่ตลอดหน้าร้อน รวมทั้งบางส่วนยังมีเป้าหมายต่อต้านชาวตะวันตก จริง ๆ แล้ว Stevens ได้แจ้งไปทางวอชิงตันในเช้าวันที่ 11 นั้น เพื่อเตือนความจำเรื่องการไม่มีกฎหมายใช้บังคับที่ Benghazi ถึงอย่างนั้นตัวเมืองก็ดูสงบพอสมควรเมื่อ Stevens มาถึงและเขาคิดว่ามันคงจะเป็นเช่นนั้นต่อไป Bubaker อยู่กับ Stevens ตลอดการประชุมต่าง ๆ ในตอนเช้า บ่าย 3 โมง เขาเช็คตารางของวันพุธ ซึ่งแน่นเต็ม นัดสุดท้ายของ Stevens วันนั้น คือ กาแฟกับนักการฑูตตุรกี ซึ่งเสร็จประมาณ 2 ทุ่มครึ่ง Stevens เดินไปส่งแขกที่ประตูหน้า ซึ่งมีกองกำลังรักษาความปลอดภัย ซึ่งจ้างมาจากกองทหารที่ 17th of February Martyrs Brigade ซึ่งเป็นมิตรกับชาวอเมริกัน ประมาณ 700 ไมล์ไปทางตะวันออก ฝูงชนกำลังล้อมสถานฑูตสหรัฐที่กรุงไคโร ด้วยความเคียดแค้นจากวิดีโอ ซึ่งมีเนื้อความละเมิดพระศาสดามูฮะหมัด แต่ทาง Benghazi ยังเงียบสงบ ถนนหน้า Château Christophe ว่างเปล่า Stevens เดินกลับมาที่ห้องของเขาที่ตึกกลาง ประมาณ 3 ทุ่ม 40 นาที เขาได้ยินเสียงปืนดัง เสียงปืนดังแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับอาหรับยามค่ำคืน เสียงปืนดัง บางทีก็หมายถึงการฉลอง Stevens เคยบอกกับน้องชาย และเคยพูดตลกกับ Bubaker เวลาเขาได้ยินเสียงปืนว่า สงสัยวันนี้มีงานแต่งงานนะ แต่วันนี้จอควบคุมความปลอดภัยของกงสุล เห็นกลุ่มคนกำลังปีนเข้ามาที่ประตูหน้า คนเล่านิทาน 7 มิย. 57
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 584 มุมมอง 0 รีวิว