• ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน
    https://www.thai-tai.tv/news/20213/
    .
    #ในหลวง #พระราชินี #พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร #พระแก้วมรกต #วัดพระศรีรัตนศาสดาราม #พระบรมมหาราชวัง #พิธีสำคัญ #ศาสนพิธี #วัดพระแก้ว #ราชวงศ์
    ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน https://www.thai-tai.tv/news/20213/ . #ในหลวง #พระราชินี #พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร #พระแก้วมรกต #วัดพระศรีรัตนศาสดาราม #พระบรมมหาราชวัง #พิธีสำคัญ #ศาสนพิธี #วัดพระแก้ว #ราชวงศ์
    0 Comments 0 Shares 54 Views 0 Reviews
  • วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว

    ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城)
    ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย

    ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京)

    สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม

    นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก

    ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน

    สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา
    เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม)

    ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ

    พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก

    จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย


    วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城) ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京) สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม) ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
    0 Comments 0 Shares 769 Views 0 Reviews
  • เหรียญในหลวง ร.9 นั่งบัลลังก์ ปี2539
    เหรียญในหลวง ร.9 นั่งบัลลังก์ ปี2539 เนื้ออัลปาก้า บล็อกนิยม มีเม็ดตา กระบี่ยาวมีปลอก // พระดีพิธีใหญ๋ ชนวนมวลสารโลหะจากแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ ชัยชนะ ความสำเร็จแห่งกิจการทรัพย์ ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง ศรี อายุ วรรณะ โภคสมบัติ ความ เจริญและยศ มีอายุยืน >>

    ** จัดสร้างโดยกระทรวงมหาดไทยในวาระเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ.2539 ผู้จัดสร้างได้นำเนื้อโลหะชนวนมวลสารโลหะจากพิธีสำคัญๆ เช่น ชนวนโลหะพระกริ่งดำรงราชานุภาพในงาน 100 ปี กระทรวงมหาดไทยจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2533 และชนวนโลหะพระนิโรคันตรายที่กระทรวงมหาดไทยและประชาชนทั่วประเทศจัดสร้างเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 และแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ

    ** พระที่มาทำพิธีมังคลาภิเษกคร่าวๆมีดังนี้

    สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธาน
    1. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
    2. หลวงพ่อลำใย วัดลาดหญ้า
    3. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    4. หลวงปู่ดี วัดพระรูป
    5. หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี
    6. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
    7. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ ฯลฯ

    เหรียญแท้มีผู้นำไปบูชาแล้วต่างมีประสบการณ์มากมาย เรียกได้ว่าห้อยเหรียญเดียวไปเหนือจรดใต้ได้อย่างสนิทใจ


    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญในหลวง ร.9 นั่งบัลลังก์ ปี2539 เหรียญในหลวง ร.9 นั่งบัลลังก์ ปี2539 เนื้ออัลปาก้า บล็อกนิยม มีเม็ดตา กระบี่ยาวมีปลอก // พระดีพิธีใหญ๋ ชนวนมวลสารโลหะจากแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ ชัยชนะ ความสำเร็จแห่งกิจการทรัพย์ ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง ศรี อายุ วรรณะ โภคสมบัติ ความ เจริญและยศ มีอายุยืน >> ** จัดสร้างโดยกระทรวงมหาดไทยในวาระเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ.2539 ผู้จัดสร้างได้นำเนื้อโลหะชนวนมวลสารโลหะจากพิธีสำคัญๆ เช่น ชนวนโลหะพระกริ่งดำรงราชานุภาพในงาน 100 ปี กระทรวงมหาดไทยจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2533 และชนวนโลหะพระนิโรคันตรายที่กระทรวงมหาดไทยและประชาชนทั่วประเทศจัดสร้างเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 และแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ ** พระที่มาทำพิธีมังคลาภิเษกคร่าวๆมีดังนี้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธาน 1. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม 2. หลวงพ่อลำใย วัดลาดหญ้า 3. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ 4. หลวงปู่ดี วัดพระรูป 5. หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี 6. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง 7. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ ฯลฯ เหรียญแท้มีผู้นำไปบูชาแล้วต่างมีประสบการณ์มากมาย เรียกได้ว่าห้อยเหรียญเดียวไปเหนือจรดใต้ได้อย่างสนิทใจ ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 470 Views 0 Reviews
  • ชวนคนไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชพิธีสมมงคล” 14 มกราคม 2568
    ชวนคนไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชพิธีสมมงคล” 14 มกราคม 2568

    ชวนคนไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชพิธีสมมงคล” 14 มกราคม 2568
    .
    รัฐบาล เตรียมพร้อมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ เท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในวันที่ 14 มกราคม 2568 ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่
    .
    1. พิธีสืบพระชะตาหลวง ณ สวนสราญรมย์ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระหว่างวันที่ 13 – 20 ม.ค.68
    2. บูรณปฏิสังขรณ์ วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี
    3. จัดแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ณ ลานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในวันที่ 14 ม.ค.68
    4. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ
    5. จัดพิธีทางศาสนา และ กิจกรรมถวายพระราชกุศล ณ ศาสนสถานที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    6. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระราชกุศล
    7. จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
    .
    14 มกราคม 2568 เป็นโอกาสมหามงคลสมัยพิเศษ เนื่องจากเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุได้ 26,469 วัน เป็น สมมงคล (สะ–มะ-มง-คน) เท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีสำคัญ ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ http://www.phralan.in.th/
    ชวนคนไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชพิธีสมมงคล” 14 มกราคม 2568 ชวนคนไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชพิธีสมมงคล” 14 มกราคม 2568 ชวนคนไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชพิธีสมมงคล” 14 มกราคม 2568 . รัฐบาล เตรียมพร้อมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ เท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในวันที่ 14 มกราคม 2568 ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ . 1. พิธีสืบพระชะตาหลวง ณ สวนสราญรมย์ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระหว่างวันที่ 13 – 20 ม.ค.68 2. บูรณปฏิสังขรณ์ วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี 3. จัดแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ณ ลานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในวันที่ 14 ม.ค.68 4. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ 5. จัดพิธีทางศาสนา และ กิจกรรมถวายพระราชกุศล ณ ศาสนสถานที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 6. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระราชกุศล 7. จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร . 14 มกราคม 2568 เป็นโอกาสมหามงคลสมัยพิเศษ เนื่องจากเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุได้ 26,469 วัน เป็น สมมงคล (สะ–มะ-มง-คน) เท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีสำคัญ ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ http://www.phralan.in.th/
    0 Comments 0 Shares 608 Views 0 Reviews
  • “อี้ แทนคุณ” ร้อง “วันนอร์” ช่วยตรวจสอบการหลอกลวงการทำเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสำคัญในอดีต เหรียญเกจิวัดดังปลอม วางให้เช่าบูชาอย่างไม่เหมาะสม

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000118185

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “อี้ แทนคุณ” ร้อง “วันนอร์” ช่วยตรวจสอบการหลอกลวงการทำเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสำคัญในอดีต เหรียญเกจิวัดดังปลอม วางให้เช่าบูชาอย่างไม่เหมาะสม อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000118185 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 1010 Views 0 Reviews
  • "วันพ่อแห่งชาติ" ปีนี้ 2567 ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 5 ธันวาคม ซึ่งวันนี้ถูกกำหนดให้เป็น "วันพ่อแห่งชาติ" เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และเป็นวันที่ยกย่อง "พ่อ" ผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัววันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567ในปี 2563 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจัด "วันพ่อแห่งชาติ" ขึ้น โดยผู้คิดริเริ่ม คือ คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา กำหนดให้ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2470 ซึ่งเป็นคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากนั้นเป็นต้นมาจึงเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี คือ "วันพ่อแห่งชาติ" เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ รัชกาลที่ 9 รวมถึงเป็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของพ่อในครอบครัว "วันพ่อแห่งชาติ" ยังถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการประจำปีในประเทศไทย อีกด้วย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 รัฐบาลประกาศ "วันพ่อแห่งชาติ" ยังคงไว้ให้เป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี วันชาติ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ยังถูกกำหนดให้เป็น "วันชาติ" ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 วันชาติ 5 ธันวาคม 2567ในอดีต "วันชาติ" เคยมีการกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เนื่องจากเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 และมีการฉลองวันชาติครั้งแรกวันที่ 24 มิถุนายน 2482 ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอดเป็นระยะเวลาถึง 21 ปี จนถึงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทบทวนว่าไม่ควรใช้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เนื่องจากมีความไม่เหมาะสมหลายประการ มีการตั้งคณะกรรมการ พิจารณาและเสนอความเห็นว่าประเทศที่มี ระบอบประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติหลายประเทศถือเอาวันพระราชสมภพ ของพระมหากษัตริย์ เป็นวันฉลองของชาติ เช่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น เป็นต้น ดังนั้น เพื่อยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ และเป็นวันศูนย์รวมจิตใจ ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นวันฉลอง "วันชาติ" ตั้งแต่ 2503 เป็นต้นมา โดยภาครัฐและเอกชนจะจัดกิจกรรมกันทั่วประเทศ สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ คือ "ดอกพุทธรักษา" เนื่องจากดอกพุทธรักษามีสีเหลืองตรงกับสีวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ รัชกาลที่ 9 (วันจันทร์) นอกจากนี้ชาวพุทธยังมีความเชื่อว่า ดอกพุทธรักษา คือ ดอกไม้มงคล อีกด้วยพิธีสำคัญ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 ในปี 2567 นี้ รัฐบาล จัดกิจกรรม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 ดังนี้ช่วงเช้า เวลา 07.30 น. มีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล โดยส่วนกลางจัดพิธี ณ ท้องสนามหลวง พระสงฆ์ จำนวน 189 รูป มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีพร้อมคู่สมรสส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดจัดพิธี ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม และในต่างประเทศสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลพิจารณาการจัดพิธีตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมมีการ จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณาให้วัดทุกวัดในประเทศไทย จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล จัดพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดจัดพิธี ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติฯ ในเดือนธันวาคม 2567 อีกด้วย
    "วันพ่อแห่งชาติ" ปีนี้ 2567 ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 5 ธันวาคม ซึ่งวันนี้ถูกกำหนดให้เป็น "วันพ่อแห่งชาติ" เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และเป็นวันที่ยกย่อง "พ่อ" ผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัววันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567ในปี 2563 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจัด "วันพ่อแห่งชาติ" ขึ้น โดยผู้คิดริเริ่ม คือ คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา กำหนดให้ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2470 ซึ่งเป็นคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากนั้นเป็นต้นมาจึงเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี คือ "วันพ่อแห่งชาติ" เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ รัชกาลที่ 9 รวมถึงเป็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของพ่อในครอบครัว "วันพ่อแห่งชาติ" ยังถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการประจำปีในประเทศไทย อีกด้วย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 รัฐบาลประกาศ "วันพ่อแห่งชาติ" ยังคงไว้ให้เป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี วันชาติ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ยังถูกกำหนดให้เป็น "วันชาติ" ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 วันชาติ 5 ธันวาคม 2567ในอดีต "วันชาติ" เคยมีการกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เนื่องจากเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 และมีการฉลองวันชาติครั้งแรกวันที่ 24 มิถุนายน 2482 ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอดเป็นระยะเวลาถึง 21 ปี จนถึงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทบทวนว่าไม่ควรใช้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เนื่องจากมีความไม่เหมาะสมหลายประการ มีการตั้งคณะกรรมการ พิจารณาและเสนอความเห็นว่าประเทศที่มี ระบอบประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติหลายประเทศถือเอาวันพระราชสมภพ ของพระมหากษัตริย์ เป็นวันฉลองของชาติ เช่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น เป็นต้น ดังนั้น เพื่อยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ และเป็นวันศูนย์รวมจิตใจ ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นวันฉลอง "วันชาติ" ตั้งแต่ 2503 เป็นต้นมา โดยภาครัฐและเอกชนจะจัดกิจกรรมกันทั่วประเทศ สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ คือ "ดอกพุทธรักษา" เนื่องจากดอกพุทธรักษามีสีเหลืองตรงกับสีวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ รัชกาลที่ 9 (วันจันทร์) นอกจากนี้ชาวพุทธยังมีความเชื่อว่า ดอกพุทธรักษา คือ ดอกไม้มงคล อีกด้วยพิธีสำคัญ วันที่ 5 ธันวาคม 2567 ในปี 2567 นี้ รัฐบาล จัดกิจกรรม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 ดังนี้ช่วงเช้า เวลา 07.30 น. มีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล โดยส่วนกลางจัดพิธี ณ ท้องสนามหลวง พระสงฆ์ จำนวน 189 รูป มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีพร้อมคู่สมรสส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดจัดพิธี ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม และในต่างประเทศสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลพิจารณาการจัดพิธีตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมมีการ จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณาให้วัดทุกวัดในประเทศไทย จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล จัดพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดจัดพิธี ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติฯ ในเดือนธันวาคม 2567 อีกด้วย
    Like
    Love
    2
    0 Comments 2 Shares 1146 Views 0 Reviews
  • เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1654 Views 0 Reviews
  • ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก
    .
    เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567
    .
    ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก
    .
    สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562
    .
    พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้
    .
    "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค"
    .
    สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
    .
    โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา
    .
    นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535
    .
    ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
    ..............
    Sondhi X
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก . เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 . ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก . สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562 . พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้ . "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" . สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร . โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา . นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535 . ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ .............. Sondhi X
    Like
    Love
    7
    0 Comments 0 Shares 1981 Views 0 Reviews