ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก
.
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567
.
ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก
.
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562
.
พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้
.
"นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค"
.
สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
.
โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา
.
นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535
.
ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
..............
Sondhi X
ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก . เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 . ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก . สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562 . พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้ . "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" . สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร . โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา . นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535 . ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ .............. Sondhi X
Like
Love
7
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1244 มุมมอง 0 รีวิว