• ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน
    https://www.thai-tai.tv/news/20213/
    .
    #ในหลวง #พระราชินี #พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร #พระแก้วมรกต #วัดพระศรีรัตนศาสดาราม #พระบรมมหาราชวัง #พิธีสำคัญ #ศาสนพิธี #วัดพระแก้ว #ราชวงศ์
    ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต จากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน https://www.thai-tai.tv/news/20213/ . #ในหลวง #พระราชินี #พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร #พระแก้วมรกต #วัดพระศรีรัตนศาสดาราม #พระบรมมหาราชวัง #พิธีสำคัญ #ศาสนพิธี #วัดพระแก้ว #ราชวงศ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 54 มุมมอง 0 รีวิว
  • “กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ​

    แปลความหมายได้ว่า
    " พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งพระนครแห่งนี้ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์ หรือ ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช) พระราชทานให้ พระวิษณุกรรม ลงมาเนรมิตไว้ "

    โดยสรุปคือ กรุงเทพมหานครฯ คือเมืองที่ พระวิษณุกรรม สร้างตามพระบัญชาของ พระอินทร์
    “กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ​ แปลความหมายได้ว่า " พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งพระนครแห่งนี้ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์ หรือ ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช) พระราชทานให้ พระวิษณุกรรม ลงมาเนรมิตไว้ " โดยสรุปคือ กรุงเทพมหานครฯ คือเมืองที่ พระวิษณุกรรม สร้างตามพระบัญชาของ พระอินทร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 176 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญปั๊มในไทย ก่อนปี พศ.2500 ไม่มี.....!! เพราะไม่มีโรงงานรีดแผ่นโลหะ...จึงมีแต่เหรียญหล่อเท่านั้น....???
    ....เอาส่วนตัวของผู้เขียนเอง....คุณตาของผู้เขียน เป็นนายทหารักษาพระองค์ในสมัย ร.7 ยศ พันโท.. (ในสมัยนั้นใหญ่มาก) ...และท่านได้รับพระราชทาน เหรียญปั๊ม...มา 2 เหรียญ...คือเหรียญ พระปรมาภิไธย รพ. (พระนางเจ้ารำไพพรรณี) ...ซึ่งเป็นเหรียญปั๊ม...ข้างเลื่อย และเป็นเหรียญ ฉลุ.....ในข่วงก่อนที่จะเสด็จไปต่างประเทศ...(ราวปี 2475) ...เหรียญนี้ ร่วม 50 ปีก่อน ผู้เขียนได้เห็น ได้จับ...เพราะอยู่ที่บ้านมาตลอด...จนมาสนใจเรื่องพระเครื่อง...เมื่อสัก40 ปี....แะต่อมา องค์ความรู้เรื่อง ขอบข้างเหรียญ ...ผู้เขียนก็ยังได้หยิบมาดูเรื่อยๆ....จนเมื่อสัก 15 ปีก่อน ขโมยขึ้นบ้าน...ได้ถูกกวาดไปจำนวนมาก...ฉะนั้น ...ความคิดที่บอกก่อน 2500 ไม่มีเหรียญปั๊ม....ผู้เขียน...ไม่ใส่ใจเลย...
    _ หลักคิดต่อไป เหรียญพระแก้วมรกต.ปี 2475 คือเหรียญปั๊ม....พิธีหลวง เอกสารหลักฐานชัดเจน....จะตอบอย่างไร..? ต่อมา พระ 25 พศ. ...เอกสารวาระ พิธีหลวงชัดเจนมีบันทึก...ก็เหรียญปั๊มเนื้อตะกั่ว....พ่อผู้เขียนเอง...เป็นข้าราชการได้รับมาตั้งแต่ตอนนั้นเลย....มันจะเป็นเหรียญหล่อยังไง? ...
    _ หลักคิดอีกอย่าง เหรียญยอดนิยมทั้งหบายที่เล่นหากันแพงๆ เข่นหลวงพ่อกลั่น หลวงปู่ศุข ..หลวงพ่อโสธร...และอื่นๆ ที่เป็นเหรียญปั๊ม....ถูกเล่นหากันมาโดยเซียนยุคก่อน ตั้งแต่ปี 249 กว่า...และเป็นกลุ่มคน..ที่ทำให้ของเหล่านี้มีราคา.....ต้องยอมรับว่า เหรียญก่อน 2500 มีมากมาย ทำไมบางเกจิ หลักร้อย หลักพัน ก็เยอะแยะ.....นี่คือ ผลของเซียนยุคแรก..ที่เขาหนิบจับมาเล่นหากัน...
    _ บันทึกการจัดสร้างของวัดหลวงหลายวัด...เข่นวัดสุทัศน์ วัดบวร...และอื่นๆ ...มีการบันทึกว่า เป็น พระกริ่ง เป็นเหรียญปั๊ม ...และอะไรบ้างชัดเจน...วัดหลวงพระอารามขั้นเอก...มั่วได้หรือ? ..
    _ หลักคิดต่อมา..ถ้าไอ้เหรียญหล่อมีจริง....มันไปอยู่ไหนมา...ตั้ง 70 ปี...ทำไมเซียนไม่หยิบมาเล่น....คนค้าขาย ขอแค่มีของขาย...เขาก็ยินดีแล้ว....ทำไมมันเพิ่งโผล่มา....และโผล่มาแต่เหรียญมีราคา....
    _ หลักคิดต่อมา...การดูธรรมขาติ เขาไม่ใช้ดูพระเหรียญกันหรอกนะ...บอย ท่า...ก็พูบ่อยๆ.....ไอ้ยุบยับย่นอะไรนะ เลอะเทอะ เอากรดกัด แบบผ่านไฟฟ้า (กรณีเดียวกับการชุบด้วยไฟ้า..เร่งไฟแก่หน่อย ผิวเหรียญก็พรุน...แล้ว....หรือง่ายๆ วิกซอลราดเลย..เอายับย่นแค่ไหน ก็กะเอา....ผู้เขียนเคยทดลอง แช่ วิกซอล พระเหรียญ ไว้ 2 คืน....พอหยิบมาดู ขนาดเหลือแค่ 2 ใน 10 ...เป็นก้อนโหะอะไรสักอย่าง...เพราะโดนกีดกัดกร่อน...ขี้เขียวเหรอ เอาไปถูๆเหงื่อทิ้งไว้ไม่วันก็จึ้นเขียวแล้ว...น้ำยาทำสนิมเขียว...ทำเก่าพระบูชาก็มี..
    ..แกล้งสึกเหรอ....เอาไปให้กรรมกรแถวบ้านห้อยสัก 2 เดือน แบบไม่เลี่ยม......ก็ใช้ได้แล้ว.....
    #สรุป# ผู้เขียนทีเหตุผลมากมาย...รวมกับที่เห็นเหรียญหล่อตามโพสต่างๆ ที่นำมาอ้าง....มีคำอธิบายในใจได้ทั้งหมด.....และความคิดที่ว่า เหรียญปั๊มก่อนปี 2500 ไม่มี...ผู้เขียนว่า #เลอะเทอะ#
    ___
    อีกนิด...เอาเรื่องเก๊แท้ออกไปก็ได้...สมมุติเหรียญหลวงพ่อกลั่น ถ้าเป็นเหรียญฯปั๊มสวยๆ 30 ล้านก็มีคนซื้อ.....แต่ถ้าเป็นพ่อกลั่นเหรียญหล่อ....ไม่ว่าคุณจะซื้อมาเท่าไร....เวลาอยากขาย....สัก 500 จะมีใครซื้อ ....สักกี่คน....!!
    เหรียญปั๊มในไทย ก่อนปี พศ.2500 ไม่มี.....!! เพราะไม่มีโรงงานรีดแผ่นโลหะ...จึงมีแต่เหรียญหล่อเท่านั้น....??? ....เอาส่วนตัวของผู้เขียนเอง....คุณตาของผู้เขียน เป็นนายทหารักษาพระองค์ในสมัย ร.7 ยศ พันโท.. (ในสมัยนั้นใหญ่มาก) ...และท่านได้รับพระราชทาน เหรียญปั๊ม...มา 2 เหรียญ...คือเหรียญ พระปรมาภิไธย รพ. (พระนางเจ้ารำไพพรรณี) ...ซึ่งเป็นเหรียญปั๊ม...ข้างเลื่อย และเป็นเหรียญ ฉลุ.....ในข่วงก่อนที่จะเสด็จไปต่างประเทศ...(ราวปี 2475) ...เหรียญนี้ ร่วม 50 ปีก่อน ผู้เขียนได้เห็น ได้จับ...เพราะอยู่ที่บ้านมาตลอด...จนมาสนใจเรื่องพระเครื่อง...เมื่อสัก40 ปี....แะต่อมา องค์ความรู้เรื่อง ขอบข้างเหรียญ ...ผู้เขียนก็ยังได้หยิบมาดูเรื่อยๆ....จนเมื่อสัก 15 ปีก่อน ขโมยขึ้นบ้าน...ได้ถูกกวาดไปจำนวนมาก...ฉะนั้น ...ความคิดที่บอกก่อน 2500 ไม่มีเหรียญปั๊ม....ผู้เขียน...ไม่ใส่ใจเลย... _ หลักคิดต่อไป เหรียญพระแก้วมรกต.ปี 2475 คือเหรียญปั๊ม....พิธีหลวง เอกสารหลักฐานชัดเจน....จะตอบอย่างไร..? ต่อมา พระ 25 พศ. ...เอกสารวาระ พิธีหลวงชัดเจนมีบันทึก...ก็เหรียญปั๊มเนื้อตะกั่ว....พ่อผู้เขียนเอง...เป็นข้าราชการได้รับมาตั้งแต่ตอนนั้นเลย....มันจะเป็นเหรียญหล่อยังไง? ... _ หลักคิดอีกอย่าง เหรียญยอดนิยมทั้งหบายที่เล่นหากันแพงๆ เข่นหลวงพ่อกลั่น หลวงปู่ศุข ..หลวงพ่อโสธร...และอื่นๆ ที่เป็นเหรียญปั๊ม....ถูกเล่นหากันมาโดยเซียนยุคก่อน ตั้งแต่ปี 249 กว่า...และเป็นกลุ่มคน..ที่ทำให้ของเหล่านี้มีราคา.....ต้องยอมรับว่า เหรียญก่อน 2500 มีมากมาย ทำไมบางเกจิ หลักร้อย หลักพัน ก็เยอะแยะ.....นี่คือ ผลของเซียนยุคแรก..ที่เขาหนิบจับมาเล่นหากัน... _ บันทึกการจัดสร้างของวัดหลวงหลายวัด...เข่นวัดสุทัศน์ วัดบวร...และอื่นๆ ...มีการบันทึกว่า เป็น พระกริ่ง เป็นเหรียญปั๊ม ...และอะไรบ้างชัดเจน...วัดหลวงพระอารามขั้นเอก...มั่วได้หรือ? .. _ หลักคิดต่อมา..ถ้าไอ้เหรียญหล่อมีจริง....มันไปอยู่ไหนมา...ตั้ง 70 ปี...ทำไมเซียนไม่หยิบมาเล่น....คนค้าขาย ขอแค่มีของขาย...เขาก็ยินดีแล้ว....ทำไมมันเพิ่งโผล่มา....และโผล่มาแต่เหรียญมีราคา.... _ หลักคิดต่อมา...การดูธรรมขาติ เขาไม่ใช้ดูพระเหรียญกันหรอกนะ...บอย ท่า...ก็พูบ่อยๆ.....ไอ้ยุบยับย่นอะไรนะ เลอะเทอะ เอากรดกัด แบบผ่านไฟฟ้า (กรณีเดียวกับการชุบด้วยไฟ้า..เร่งไฟแก่หน่อย ผิวเหรียญก็พรุน...แล้ว....หรือง่ายๆ วิกซอลราดเลย..เอายับย่นแค่ไหน ก็กะเอา....ผู้เขียนเคยทดลอง แช่ วิกซอล พระเหรียญ ไว้ 2 คืน....พอหยิบมาดู ขนาดเหลือแค่ 2 ใน 10 ...เป็นก้อนโหะอะไรสักอย่าง...เพราะโดนกีดกัดกร่อน...ขี้เขียวเหรอ เอาไปถูๆเหงื่อทิ้งไว้ไม่วันก็จึ้นเขียวแล้ว...น้ำยาทำสนิมเขียว...ทำเก่าพระบูชาก็มี.. ..แกล้งสึกเหรอ....เอาไปให้กรรมกรแถวบ้านห้อยสัก 2 เดือน แบบไม่เลี่ยม......ก็ใช้ได้แล้ว..... #สรุป# ผู้เขียนทีเหตุผลมากมาย...รวมกับที่เห็นเหรียญหล่อตามโพสต่างๆ ที่นำมาอ้าง....มีคำอธิบายในใจได้ทั้งหมด.....และความคิดที่ว่า เหรียญปั๊มก่อนปี 2500 ไม่มี...ผู้เขียนว่า #เลอะเทอะ# ___ อีกนิด...เอาเรื่องเก๊แท้ออกไปก็ได้...สมมุติเหรียญหลวงพ่อกลั่น ถ้าเป็นเหรียญฯปั๊มสวยๆ 30 ล้านก็มีคนซื้อ.....แต่ถ้าเป็นพ่อกลั่นเหรียญหล่อ....ไม่ว่าคุณจะซื้อมาเท่าไร....เวลาอยากขาย....สัก 500 จะมีใครซื้อ ....สักกี่คน....!!
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญพระแก้วมรกต วัดข่อย จ.สิงห์บุรี
    เหรียญพระแก้วมรกต เนื้อกะไหล่เงิน วัดข่อย จ.สิงห์บุรี // พระดีพิธีใหญ่ หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก จัดสร้างน้อยครับ พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ คุ้มครองภยันอันตรายจากศาสตราวุธทั้งปวง แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นเมตตามหานิยม เมตตาค้าขายดี เจรจาค้าขายดี ทำการสิ่งใดย่อมมีกำไร มีผลงอกเงยเสมอนัก. >>

    ** วัดข่อยสังฆาราม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย การสร้างวัด สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2340 ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า "วัดข่อย" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในราว พ.ศ. 2343 >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญพระแก้วมรกต วัดข่อย จ.สิงห์บุรี เหรียญพระแก้วมรกต เนื้อกะไหล่เงิน วัดข่อย จ.สิงห์บุรี // พระดีพิธีใหญ่ หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก จัดสร้างน้อยครับ พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ คุ้มครองภยันอันตรายจากศาสตราวุธทั้งปวง แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นเมตตามหานิยม เมตตาค้าขายดี เจรจาค้าขายดี ทำการสิ่งใดย่อมมีกำไร มีผลงอกเงยเสมอนัก. >> ** วัดข่อยสังฆาราม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย การสร้างวัด สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2340 ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า "วัดข่อย" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในราว พ.ศ. 2343 >> ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 421 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระแก้ว กรุฮอด...เชียงใหม่ เป็นพระแกะจาก หิน (แร่) มีหลายสี..ใส เหลือง..และอื่นๆ หิน (แร่) ชนิดนี้มีมากใน จังหวัดทางภาคเหนือ...งานหินแกะ...มีหลายยุค (ในกรณีหินแท้แกะ) เคยถามผู้รู้รุ่นเก่า..เขาใช้คำว่า ให้ดู พุทธศิลป์ แบบเดียวกับ พระแก้วมรกต หรือ ศิลปะล้านช้าง ล้านนา...ถ้าผิดศิลปะ ก็คือ ผิดยุค...อีกกรณีคือ แก้ว หรือ เรซิ่นเลย...ซึ่งเก๊อีกแบบ...ส่องดูในเนื้อ...ถ้ามี ฟองอากาศ...ก็ไม่ใช่หิน.... (ในภาพยุคหลังของใหม่)
    พระแก้ว กรุฮอด...เชียงใหม่ เป็นพระแกะจาก หิน (แร่) มีหลายสี..ใส เหลือง..และอื่นๆ หิน (แร่) ชนิดนี้มีมากใน จังหวัดทางภาคเหนือ...งานหินแกะ...มีหลายยุค (ในกรณีหินแท้แกะ) เคยถามผู้รู้รุ่นเก่า..เขาใช้คำว่า ให้ดู พุทธศิลป์ แบบเดียวกับ พระแก้วมรกต หรือ ศิลปะล้านช้าง ล้านนา...ถ้าผิดศิลปะ ก็คือ ผิดยุค...อีกกรณีคือ แก้ว หรือ เรซิ่นเลย...ซึ่งเก๊อีกแบบ...ส่องดูในเนื้อ...ถ้ามี ฟองอากาศ...ก็ไม่ใช่หิน.... (ในภาพยุคหลังของใหม่)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเดินทางของ "พระแก้วมรกต"

    เชียงราย ประดิษฐานถึงปี พ.ศ. 1990 (ไม่ปรากฏปีสร้าง)
    ลำปาง พ.ศ.1990-2022 ระยะเวลา 32 ปี
    เชียงใหม่ พ.ศ.2022-2091 ระยะเวลา 69 ปี
    หลวงพระบาง พ.ศ.2091-2103 ระยะเวลา 12 ปี
    เวียงจันทร์ พ.ศ.2103-2322 ระยะวลา 219 ปี
    ธนบุรี พ.ศ.2322-2325 ระยะเวลา 3 ปี
    รัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-ปัจจุบัน ระยะเวลา 243 ปี

    เมื่อวานนี้ 14 มีนาคม 2568 พระแก้วมรกตเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ได้มีโอกาสอ่านการเดินทางของพระแก้ว ที่ทางเพจโบราณนานมา เรียบเรียงไว้ เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอเอามาโพสต์ให้อ่านกัน

    ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา
    การเดินทางของ "พระแก้วมรกต" เชียงราย ประดิษฐานถึงปี พ.ศ. 1990 (ไม่ปรากฏปีสร้าง) ลำปาง พ.ศ.1990-2022 ระยะเวลา 32 ปี เชียงใหม่ พ.ศ.2022-2091 ระยะเวลา 69 ปี หลวงพระบาง พ.ศ.2091-2103 ระยะเวลา 12 ปี เวียงจันทร์ พ.ศ.2103-2322 ระยะวลา 219 ปี ธนบุรี พ.ศ.2322-2325 ระยะเวลา 3 ปี รัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-ปัจจุบัน ระยะเวลา 243 ปี เมื่อวานนี้ 14 มีนาคม 2568 พระแก้วมรกตเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ได้มีโอกาสอ่านการเดินทางของพระแก้ว ที่ทางเพจโบราณนานมา เรียบเรียงไว้ เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอเอามาโพสต์ให้อ่านกัน ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 394 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ถวายพระแก้วมรกต
    14 มีนาคม 2568 - เวลา 17.34 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง ฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
    ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ถวายพระแก้วมรกต 14 มีนาคม 2568 - เวลา 17.34 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง ฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 471 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ถวายพระแก้วมรกต
    https://www.thai-tai.tv/news/17640/
    ในหลวง ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน ถวายพระแก้วมรกต https://www.thai-tai.tv/news/17640/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 225 มุมมอง 0 รีวิว
  • [ “พระแก้วมรกต” เป็นของใคร ? ]
    .
    เท้าความก่อนตามหลักฐาน “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนา ยุคที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระแก้วมรกต”
    .
    ขอเริ่มที่สมัย “พญากือนา” กษัตริย์ล้านนา พระองค์ที่ ๖ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๘๙๙–๑๙๒๙ พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ชื่อ “เจ้ามหาพรหม” ครองนครเชียงราย เป็นเมืองลูกหลวง ได้ยกกองทัพมาเมืองกำแพงเพชรในสมัยพระเจ้าติปัญญา (พระยาญาณดิศ) ทูลขอ “พระพุทธสิหิงค์” และ “พระแก้วมรกต” ไปเมืองเชียงราย ต่อมาพญากือนาสวรรคต แล้ว “พญาแสนเมืองมา” กษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมา พระองค์ที่ ๗ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๒๘-๑๙๔๔ จึงยกทัพไปรบกับ “เจ้ามหาพรหม” ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ปรากฏว่า “พญาแสนเมืองมา” ชนะ จึงเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” กลับไปเชียงใหม่ได้องค์เดียว ส่วน “พระแก้วมรกต” มีผู้นำไปซ่อนไว้
    .
    ครั้นถึงรัชสมัยของ “พญาสามฝั่งแกน” พระองค์ที่ ๘ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๕๙-๑๙๙๐ ที่เชียงรายที่ประดิษฐานของ “พระแก้วมรกต” เกิดอสุนีบาต ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก (จมูก) เกิดกะเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต พระภิกษุเจ้าอาวาสได้กะเทาะรักและทองออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ นั่นคือ “พระแก้วมรกต”
    .
    เรื่องนี้ไปถึงพระกรรณ “พญาสามฝั่งแกน” ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ตามพระประสงค์ของพญาแสนเมือง (พระราชบิดา) แต่ช้างทรงของ “พระแก้วมรกต” ไม่ยอมเดินทางมาเชียงใหม่ แต่เดินทางไปลำปางแทน “พญาสามฝั่งแกน” เห็นว่าเมืองลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปประดิษฐานไว้ที่ “วัดพระแก้วดอนเต้า” แทน ประดิษฐานไว้นาน ๓๒ ปี
    .
    ครั้นถึงรัชสมัยของ “พระเจ้าติโลกราช” พระองค์ที่ ๙ ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๘๕–๒๐๓๑) พระองค์ทำการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจพญาสามฝั่งแกน (พระราชบิดา) ได้สำเร็จ โดยความช่วยเหลือของหมื่นโลกนครแห่งลำปาง จากนั้นพระองค์ได้เชิญ “พระแก้วมรกต” มายังเชียงใหม่ ในปี ๒๐๒๒ พระองค์โปรดให้บูรณะ “พระเจดีย์หลวง” เพื่อประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” ไว้ ณ ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง
    .
    หลังจากที่ “พระนางจิรประภาเทวี” พระองค์ที่ ๑๔ ครองนครเชียงใหม่ สละราชสมบัติ ตำแหน่งที่ล้านนาว่างลง “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นพระญาติกับราชวงศ์ล้านนามา ก็ได้ครองนครเชียงใหม่ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ต่อมาล้านช้างได้เกิดความวุ่นวาย เจ้านายทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ขุนนางล้านช้างและเจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงเชิญ “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านนา เสด็จกลับมานครหลวงพระบาง แห่งล้านช้าง เพื่อรับราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น พระองค์ได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” รวมทั้ง “พระพุทธสิหิงค์” “พระแก้วขาว” และ “พระแซกคำ” ไปหลวงพระบางด้วย โดยอ้างว่าหนีศึกพระเจ้าบุเรงนอง แห่งหงสาวดี
    .
    ครั้งถึงรัชสมัย “พระเมกุฏิสุทธิวงศ์” พระองค์ที่ ๑๖ ครองนครเชียงใหม่ ก็ขอคือพระพุทธรูปที่เอาไปจากเชียงใหม่ แต่ได้คืนมาเพียง ๒ องค์ คือ “พระพุทธสิหิงค์” กับ “พระแก้วขาว” เมื่อปี ๒๑๐๓ ทรงย้ายราชธานีจาก “หลวงพระบาง” มา “เวียงจันทน์” ก็เชิญ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐาน ณ ราชธานีใหม่ของอาณาจักรล้านช้าง “พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานอยู่ที่ “อาณาจักรล้านช้าง” ตั้งแต่นั้นมา
    .
    ต่อมาในปี ๒๓๒๒ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ ในกาลต่อมา) ยกทัพไปปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้วได้ขนย้ายกวาดต้อนบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ แล้วให้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” และ “พระบาง ” ซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย แล้วในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม
    .
    ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง และได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อปี ๒๓๒๗ ซึ่ง “พระแก้วมรกต” ก็มาเป็นพระพุทธรูปที่เป็นมิ่งขวัญของบ้านเมืองของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ส่วน “พระบาง” ได้คืนให้แก่ หลวงพระบาง ปัจจุบัน คือ “ลาว”
    .
    ดังนั้น โดยสรุปแล้วสถานที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พอจะเรียงตามช่วงเวลาได้ดังต่อไปนี้จาก เชียงราย (ล้านนา) > ลำปาง (ล้านนา) > เชียงใหม่ (ล้านนา) > หลวงพระบาง (ล้านช้าง) > เวียงจันทน์ (ล้านช้าง) > ธนบุรี > รัตนโกสินทร์ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาวตั้งแต่ต้น
    .
    การพูดว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาว จึงเรื่องที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง ถ้าจะพูดให้ถูกตามข้อเท็จจริงต้องพูดว่า “พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานอยู่ที่ลาวในระยะหนึ่งเท่านั้น
    .
    ส่วนเรื่องการสาปแช่งของฝ่ายลาว ต่อเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๑) ทรงอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มากรุงเทพฯ อันนี้ไม่มีหลักฐานว่ารองรับหรือบันทึกไว้ เรื่องคำสาปแช่ง น่าจะเป็นเรื่องที่พูดไปพูดมากันภายหลังมากกว่า เพราะไม่มีเอกสารอะไรที่ยืนยันได้เลย
    .
    อ้างอิง
    (๑) สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๖๓). ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารวัฒนธรรม ค่าล้ำ...วัฒนธรรม ชาวภูเขา, (๑). ๓๔-๔๑.
    (๒) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “ตำนานพระแก้วมรกต (ฉบับหลวงพระบาง)” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า ๑๑๘. “ตำนานพระแก้วมรกต” ฉบับนี้น่าจะมาจากเวียงจัน มิใช่หลวงพระบาง แต่เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง
    (๓) โยซิยูกิ มาซูฮารา, ประวัติศาสตร์ลาว. หน้า ๙๘.
    (๔) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปล้านนาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) พระแก้วมรกต. หน้า ๓๑๓-๓๒๓.
    (๕) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “คำนำเสนอ พระแก้วมรกตกับประวัติศาสตร์ตำนาน”, ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า (๑๙).
    [ “พระแก้วมรกต” เป็นของใคร ? ] . เท้าความก่อนตามหลักฐาน “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนา ยุคที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระแก้วมรกต” . ขอเริ่มที่สมัย “พญากือนา” กษัตริย์ล้านนา พระองค์ที่ ๖ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๘๙๙–๑๙๒๙ พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ชื่อ “เจ้ามหาพรหม” ครองนครเชียงราย เป็นเมืองลูกหลวง ได้ยกกองทัพมาเมืองกำแพงเพชรในสมัยพระเจ้าติปัญญา (พระยาญาณดิศ) ทูลขอ “พระพุทธสิหิงค์” และ “พระแก้วมรกต” ไปเมืองเชียงราย ต่อมาพญากือนาสวรรคต แล้ว “พญาแสนเมืองมา” กษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมา พระองค์ที่ ๗ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๒๘-๑๙๔๔ จึงยกทัพไปรบกับ “เจ้ามหาพรหม” ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ปรากฏว่า “พญาแสนเมืองมา” ชนะ จึงเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” กลับไปเชียงใหม่ได้องค์เดียว ส่วน “พระแก้วมรกต” มีผู้นำไปซ่อนไว้ . ครั้นถึงรัชสมัยของ “พญาสามฝั่งแกน” พระองค์ที่ ๘ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๕๙-๑๙๙๐ ที่เชียงรายที่ประดิษฐานของ “พระแก้วมรกต” เกิดอสุนีบาต ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก (จมูก) เกิดกะเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต พระภิกษุเจ้าอาวาสได้กะเทาะรักและทองออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ นั่นคือ “พระแก้วมรกต” . เรื่องนี้ไปถึงพระกรรณ “พญาสามฝั่งแกน” ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ตามพระประสงค์ของพญาแสนเมือง (พระราชบิดา) แต่ช้างทรงของ “พระแก้วมรกต” ไม่ยอมเดินทางมาเชียงใหม่ แต่เดินทางไปลำปางแทน “พญาสามฝั่งแกน” เห็นว่าเมืองลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปประดิษฐานไว้ที่ “วัดพระแก้วดอนเต้า” แทน ประดิษฐานไว้นาน ๓๒ ปี . ครั้นถึงรัชสมัยของ “พระเจ้าติโลกราช” พระองค์ที่ ๙ ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๘๕–๒๐๓๑) พระองค์ทำการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจพญาสามฝั่งแกน (พระราชบิดา) ได้สำเร็จ โดยความช่วยเหลือของหมื่นโลกนครแห่งลำปาง จากนั้นพระองค์ได้เชิญ “พระแก้วมรกต” มายังเชียงใหม่ ในปี ๒๐๒๒ พระองค์โปรดให้บูรณะ “พระเจดีย์หลวง” เพื่อประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” ไว้ ณ ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง . หลังจากที่ “พระนางจิรประภาเทวี” พระองค์ที่ ๑๔ ครองนครเชียงใหม่ สละราชสมบัติ ตำแหน่งที่ล้านนาว่างลง “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นพระญาติกับราชวงศ์ล้านนามา ก็ได้ครองนครเชียงใหม่ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ต่อมาล้านช้างได้เกิดความวุ่นวาย เจ้านายทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ขุนนางล้านช้างและเจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงเชิญ “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านนา เสด็จกลับมานครหลวงพระบาง แห่งล้านช้าง เพื่อรับราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น พระองค์ได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” รวมทั้ง “พระพุทธสิหิงค์” “พระแก้วขาว” และ “พระแซกคำ” ไปหลวงพระบางด้วย โดยอ้างว่าหนีศึกพระเจ้าบุเรงนอง แห่งหงสาวดี . ครั้งถึงรัชสมัย “พระเมกุฏิสุทธิวงศ์” พระองค์ที่ ๑๖ ครองนครเชียงใหม่ ก็ขอคือพระพุทธรูปที่เอาไปจากเชียงใหม่ แต่ได้คืนมาเพียง ๒ องค์ คือ “พระพุทธสิหิงค์” กับ “พระแก้วขาว” เมื่อปี ๒๑๐๓ ทรงย้ายราชธานีจาก “หลวงพระบาง” มา “เวียงจันทน์” ก็เชิญ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐาน ณ ราชธานีใหม่ของอาณาจักรล้านช้าง “พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานอยู่ที่ “อาณาจักรล้านช้าง” ตั้งแต่นั้นมา . ต่อมาในปี ๒๓๒๒ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ ในกาลต่อมา) ยกทัพไปปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้วได้ขนย้ายกวาดต้อนบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ แล้วให้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” และ “พระบาง ” ซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย แล้วในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม . ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง และได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อปี ๒๓๒๗ ซึ่ง “พระแก้วมรกต” ก็มาเป็นพระพุทธรูปที่เป็นมิ่งขวัญของบ้านเมืองของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ส่วน “พระบาง” ได้คืนให้แก่ หลวงพระบาง ปัจจุบัน คือ “ลาว” . ดังนั้น โดยสรุปแล้วสถานที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พอจะเรียงตามช่วงเวลาได้ดังต่อไปนี้จาก เชียงราย (ล้านนา) > ลำปาง (ล้านนา) > เชียงใหม่ (ล้านนา) > หลวงพระบาง (ล้านช้าง) > เวียงจันทน์ (ล้านช้าง) > ธนบุรี > รัตนโกสินทร์ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาวตั้งแต่ต้น . การพูดว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาว จึงเรื่องที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง ถ้าจะพูดให้ถูกตามข้อเท็จจริงต้องพูดว่า “พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานอยู่ที่ลาวในระยะหนึ่งเท่านั้น . ส่วนเรื่องการสาปแช่งของฝ่ายลาว ต่อเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๑) ทรงอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มากรุงเทพฯ อันนี้ไม่มีหลักฐานว่ารองรับหรือบันทึกไว้ เรื่องคำสาปแช่ง น่าจะเป็นเรื่องที่พูดไปพูดมากันภายหลังมากกว่า เพราะไม่มีเอกสารอะไรที่ยืนยันได้เลย . อ้างอิง (๑) สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๖๓). ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารวัฒนธรรม ค่าล้ำ...วัฒนธรรม ชาวภูเขา, (๑). ๓๔-๔๑. (๒) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “ตำนานพระแก้วมรกต (ฉบับหลวงพระบาง)” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า ๑๑๘. “ตำนานพระแก้วมรกต” ฉบับนี้น่าจะมาจากเวียงจัน มิใช่หลวงพระบาง แต่เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง (๓) โยซิยูกิ มาซูฮารา, ประวัติศาสตร์ลาว. หน้า ๙๘. (๔) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปล้านนาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) พระแก้วมรกต. หน้า ๓๑๓-๓๒๓. (๕) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “คำนำเสนอ พระแก้วมรกตกับประวัติศาสตร์ตำนาน”, ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า (๑๙).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 959 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ข้าพเจ้าได้มาขอพรพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของข้าพเจ้า รวมถึงญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งปวงด้วยเทอญ สาธุ 🙏🏼
    วันนี้ข้าพเจ้าได้มาขอพรพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของข้าพเจ้า รวมถึงญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งปวงด้วยเทอญ สาธุ 🙏🏼✨
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 446 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ข้าพเจ้าได้มาขอพรพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของข้าพเจ้า รวมถึงญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งปวงด้วยเทอญ สาธุ 🙏🏼
    วันนี้ข้าพเจ้าได้มาขอพรพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของข้าพเจ้า รวมถึงญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งปวงด้วยเทอญ สาธุ 🙏🏼✨
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 447 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ข้าพเจ้าได้มาขอพรพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของข้าพเจ้า รวมถึงญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งปวงด้วยเทอญ สาธุ 🙏🏼
    วันนี้ข้าพเจ้าได้มาขอพรพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของข้าพเจ้า รวมถึงญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งปวงด้วยเทอญ สาธุ 🙏🏼✨
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 462 มุมมอง 0 รีวิว
  • วัดอรุณฯ ศาสนสถานงานศิลป์ชั้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    หากเอ่ยถึง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดอรุณฯ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน แถมยังตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก อีกทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามประเมินค่าไม่ได้ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า หากได้ไปไหว้พระวัดอรุณฯ ชีวิตจะรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน วันนี้เราเลยถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวพร้อมทำความรู้จักกับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ให้มากขึ้นกัน

    และด้วยวัดอรุณฯเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดดเด่นด้วยพระปรางค์สีทองที่สูงตระหง่าน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงมีมักมีผู้ศรัทธามาวัดอรุณเพื่อสักการะพระปรางค์ ไหว้พระ และขอพร พิธีการขอพรที่พบเห็นโดยทั่วไปคือจะจุดธูป เทียน และดอกไม้ ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ แล้วเดินรอบพระปรางค์ บ้างก็สวดเทวะมันตรา และตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพศรัทธา เชื่อกันว่าการขอพรที่วัดอรุณฯจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา

    ประวัติวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

    วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แรกเรียกว่า วัดมะกอก มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงนำกองทัพมาเพื่อเลือกชัยภูมิในการสร้างราชธานีใหม่ พระองค์เสด็จฯ ถึงวัดมะกอกในเวลารุ่งแจ้ง เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงทรงปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดแจ้ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสถาปนาพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่ พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวราราม

    วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และประกาศระวางแนวเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 14 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

    วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ไหน?

    วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ทั้งยังอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม
    ที่ตั้ง : เลขที่ 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    วัดอรุณฯ ศาสนสถานงานศิลป์ชั้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากเอ่ยถึง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดอรุณฯ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน แถมยังตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก อีกทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามประเมินค่าไม่ได้ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า หากได้ไปไหว้พระวัดอรุณฯ ชีวิตจะรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน วันนี้เราเลยถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวพร้อมทำความรู้จักกับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ให้มากขึ้นกัน และด้วยวัดอรุณฯเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดดเด่นด้วยพระปรางค์สีทองที่สูงตระหง่าน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงมีมักมีผู้ศรัทธามาวัดอรุณเพื่อสักการะพระปรางค์ ไหว้พระ และขอพร พิธีการขอพรที่พบเห็นโดยทั่วไปคือจะจุดธูป เทียน และดอกไม้ ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ แล้วเดินรอบพระปรางค์ บ้างก็สวดเทวะมันตรา และตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพศรัทธา เชื่อกันว่าการขอพรที่วัดอรุณฯจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา ประวัติวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แรกเรียกว่า วัดมะกอก มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงนำกองทัพมาเพื่อเลือกชัยภูมิในการสร้างราชธานีใหม่ พระองค์เสด็จฯ ถึงวัดมะกอกในเวลารุ่งแจ้ง เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงทรงปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดแจ้ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสถาปนาพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่ พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวราราม วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และประกาศระวางแนวเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 14 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ไหน? วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ทั้งยังอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม ที่ตั้ง : เลขที่ 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1184 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นเครื่องทรงฤดูหนาว
    #ทรงพระเจริญ
    ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นเครื่องทรงฤดูหนาว #ทรงพระเจริญ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 457 มุมมอง 0 รีวิว
  • "พระสุวรรณเจดีย์ " วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อท่านเดินเข้าทางประตูทางทิศตะวันออกจะเห็นปราสาทพระเทพบิดร แต่ปัจจุบันก่อนที่เค้าจะปิดโควิด-๑๙ ประตูทิศนี้จะเป็นทางออกนะครับ พระสุวรรณเจดีย์ หรือเจดีย์ทองจะมีอยู่ ๒ องค์ อยู่ด้านหน้า"ปราสาทพระเทพบิดร"สองข้างบันไดตรงทางขึ้น ความเป็นมาดังนี้ รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าให้สร้างเขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี องค์ด้านทิศเหนืออุทิศถวายพระราชมารดา เจดีย์ทั้งสององค์มีลักษณะและขนาดเหมือนกันทุกอย่างเป็นเจดีย์ทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสอง หุ้มด้วยแผ่นทองแดง หรือ จังโก้ ลงรักปิดทองทับอีกชั้นตลอดองค์เจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม ฐานกว้าง ๘.๕๐ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑๖ เมตร แต่ละชั้นลดสูงประมาณ๑ เมตร บุด้วยหินอ่อนจำหลักลายกากบาท เหนือฐานขึ้นไปเป็นรูปพญามาร(ยักษ์)และขุนกระบี่(ลิง) ทำด้วยปูนปั้นปิดกระจกสีแบกพระเจดีย์ทั้งหมด ๒๐ ตน เฉพาะตรงกลางฐานทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปขุนกระบี่ เหนือขึ้นไปเป็นฐานสิงห์ ๓ ชั้น แต่ละชั้นคั่นด้วยหน้ากระดาน ๖ ชั้น เป็นฐานบัวหงายรองรับองค์ครรภธาตุทรงจอมแห แต่งลายรูปดอกบัวอยู่กึ่งกลางทั้ง ๔ ต้น ถัดไปเป็นยอดรัตนบัลลังก์ทำเป็นบัวกลุ่ม ๙ ชั้น ยอดนภศูลเป็นโลหะฉลุโปร่งปิดทองทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ---------------------- #gr#grandpalacea#bangkokgrandpalaceh#thegrandpalaceh#thegrandpalacebangkokร#พระบรมมหาราชวังร#พระราชวังa#watphrakaewa#watphrasirattanasatsadarame#templeoftheemeraldbuddhah#theemeraldbuddhatempleั#วัดพระแก้วั#วัดพระแก้วมรกตั#วัดพระศรีรัตนศาสดารามร#พระแก้วร#พระแก้วมรกตa#bangkokh#thailandiampiya
    "พระสุวรรณเจดีย์ " วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อท่านเดินเข้าทางประตูทางทิศตะวันออกจะเห็นปราสาทพระเทพบิดร แต่ปัจจุบันก่อนที่เค้าจะปิดโควิด-๑๙ ประตูทิศนี้จะเป็นทางออกนะครับ พระสุวรรณเจดีย์ หรือเจดีย์ทองจะมีอยู่ ๒ องค์ อยู่ด้านหน้า"ปราสาทพระเทพบิดร"สองข้างบันไดตรงทางขึ้น ความเป็นมาดังนี้ รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าให้สร้างเขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี องค์ด้านทิศเหนืออุทิศถวายพระราชมารดา เจดีย์ทั้งสององค์มีลักษณะและขนาดเหมือนกันทุกอย่างเป็นเจดีย์ทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสอง หุ้มด้วยแผ่นทองแดง หรือ จังโก้ ลงรักปิดทองทับอีกชั้นตลอดองค์เจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม ฐานกว้าง ๘.๕๐ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑๖ เมตร แต่ละชั้นลดสูงประมาณ๑ เมตร บุด้วยหินอ่อนจำหลักลายกากบาท เหนือฐานขึ้นไปเป็นรูปพญามาร(ยักษ์)และขุนกระบี่(ลิง) ทำด้วยปูนปั้นปิดกระจกสีแบกพระเจดีย์ทั้งหมด ๒๐ ตน เฉพาะตรงกลางฐานทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปขุนกระบี่ เหนือขึ้นไปเป็นฐานสิงห์ ๓ ชั้น แต่ละชั้นคั่นด้วยหน้ากระดาน ๖ ชั้น เป็นฐานบัวหงายรองรับองค์ครรภธาตุทรงจอมแห แต่งลายรูปดอกบัวอยู่กึ่งกลางทั้ง ๔ ต้น ถัดไปเป็นยอดรัตนบัลลังก์ทำเป็นบัวกลุ่ม ๙ ชั้น ยอดนภศูลเป็นโลหะฉลุโปร่งปิดทองทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ---------------------- #gr#grandpalacea#bangkokgrandpalaceh#thegrandpalaceh#thegrandpalacebangkokร#พระบรมมหาราชวังร#พระราชวังa#watphrakaewa#watphrasirattanasatsadarame#templeoftheemeraldbuddhah#theemeraldbuddhatempleั#วัดพระแก้วั#วัดพระแก้วมรกตั#วัดพระศรีรัตนศาสดารามร#พระแก้วร#พระแก้วมรกตa#bangkokh#thailandiampiya
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 723 มุมมอง 25 0 รีวิว