• สรวงศ์แจงวันพรรคร่วมกินมาม่า ไม่มีเพื่อไทย 12/11/67 #สรวงศ์ #พรรคร่วมรัฐบาล #กินมาม่า #พรรคเพื่อไทย
    สรวงศ์แจงวันพรรคร่วมกินมาม่า ไม่มีเพื่อไทย 12/11/67 #สรวงศ์ #พรรคร่วมรัฐบาล #กินมาม่า #พรรคเพื่อไทย
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 408 มุมมอง 251 0 รีวิว
  • ♣️ หลังจากเรียกพรรคร่วมรัฐบาลมายืนเรียงหน้าแถลงเรื่องเกาะกูด นายกฯอิ๊ง ก็ตั้งคณะกรรมการเจรจาทันที ยึดแนวทางตาม mou44 ที่คนแห่คัดค้าน อาจให้ภูมิธรรม คนคลั่งข้าวเน่าเป็นประธาน
    #7ดอกจิก
    ♣️ หลังจากเรียกพรรคร่วมรัฐบาลมายืนเรียงหน้าแถลงเรื่องเกาะกูด นายกฯอิ๊ง ก็ตั้งคณะกรรมการเจรจาทันที ยึดแนวทางตาม mou44 ที่คนแห่คัดค้าน อาจให้ภูมิธรรม คนคลั่งข้าวเน่าเป็นประธาน #7ดอกจิก
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 205 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ ผนึกพรรคร่วมรัฐบาล เดินหน้าเอ็มโอยู 44 อ้างยกเลิกจะถูกกัมพูชาฟ้องได้ ย้อนถามยกเลิกได้ประโยชน์อะไร ลั่นเกาะกูดไม่อยู่ในข้อตกลง ขอทุกคนสบายใจ ยันเป็นคนไทย 100% ประโยชน์ประเทศต้องมาก่อน อัดอย่าเอาเรื่องการเมืองมาทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอน ไม่คิดเป็นเผือกร้อน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106225

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นายกฯ ผนึกพรรคร่วมรัฐบาล เดินหน้าเอ็มโอยู 44 อ้างยกเลิกจะถูกกัมพูชาฟ้องได้ ย้อนถามยกเลิกได้ประโยชน์อะไร ลั่นเกาะกูดไม่อยู่ในข้อตกลง ขอทุกคนสบายใจ ยันเป็นคนไทย 100% ประโยชน์ประเทศต้องมาก่อน อัดอย่าเอาเรื่องการเมืองมาทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอน ไม่คิดเป็นเผือกร้อน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106225 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Sad
    Haha
    10
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2026 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 557 มุมมอง 0 รีวิว
  • 23 ตุลาคม 2567-นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการ ออกบทความเรื่องล่าสุด "ยุบพรรคเพื่อไทย??? : ความชอบธรรมและความเป็นไปได้ทางกฎหมาย" ในลักษณะถาม-ตอบ มีเนื้อหาว่า

    ถาม ทำไมจะไปยุบพรรคเพื่อไทยโดยอ้างว่าถูกทักษิณครอบงำ ก็เขาเป็นคนตั้งพรรค
    รวมผู้คนมาตั้งแต่แรก แล้วใจคอจะไม่ให้ฟังกันบ้างเลยหรืออย่างไร
    ตอบ ทักษิณถูกจำคุกตามคำพิพากษาคดีคอร์รัปชัน สิ้นสิทธิทางการเมืองเป็นคนนอกพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เขาจะพูดจะแนะนำอะไร คณะกรรมการพรรคก็ยังรับฟังได้กฎหมายไม่ห้าม แต่ต้องไม่ถึงขั้นถูกครอบงำถึงขนาดขาดอิสระ ทักษิณชี้นกเป็นไม้ ก็ยอมหมด อย่างนี้กฎหมายรับไม่ได้

    ถาม แล้วมันผิดที่ตรงไหน ที่ไปฟังทักษิณ
    ตอบ พรรคการเมืองมีตัวตนอยู่ที่ “ความคิด” ประชาธิปไตยเสนอกันที่ความคิด เมื่อความคิดใครชนะคนนั้นต้องเป็นคนทำ รัฐธรรมนูญไทยเอาจริงถึงขั้นบังคับให้ สส.ต้องสังกัดพรรค และพรรคต้องเสนอชื่อนายกฯไว้ล่วงหน้าเลย
    เมื่อพรรคคือ “ความคิด” พรรคจึงต้องคิดเองตัดสินใจเอง จะเป็นแค่หุ่นเชิดของคนนอกพรรคไม่ได้ ถ้ายอมให้เชิดกันอย่างนี้ได้ ประชาธิปไตยในพรรคก็พลอยจะสิ้นความหมายไปด้วย

    ถาม กกต.ต้องพิสูจน์อะไรให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นบ้าง ว่าพรรคเพื่อไทยถูกทักษิณครอบงำ
    ตอบ อะไรที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการพรรค ถ้าพิสูจน์ว่าทักษิณสั่งได้ ก็โดนหมดล่ะครับ ทั้งการกำหนดนโยบายทางการเมือง, การตั้งคณะกรรมการบริหาร,การคัดเลือกส่งคนลงสมัคร สส., การเข้าร่วมรัฐบาล, การเลือกผู้เหมาะสมเป็นรัฐมนตรี, การเสนอร่างกฎหมาย เหล่านี้ล้วนเกิดเป็นเรื่องกล่าวหาได้ทั้งนั้น

    ถาม แล้วชัดเจนถึงขนาดไหนล่ะครับ ถึงจะฟังได้ว่าเป็นการ “ครอบงำ” ผมเห็นคนพรรคเพื่อไทยเขาท้าทายว่า มีพยานหลักฐานชัดเจนไหมว่า เมื่อวันนั้นวันนี้ ทักษิณสั่งนายโน้นนายนี้ใหทำอย่างนั้นอย่างนี้
    ตอบ นี่ไม่ใช่คดีอาญา แต่เป็นคดีคุ้มครองประชาธิปไตยในบ้านเมือง ถ้าพรรคใดยอมตนเป็นหุ่นให้อิทธิพลทุจริต เราก็ต้องยุบพรรคนั้น ถ้าพยานหลักฐานมันแวดล้อมให้เชื่อได้เช่นนั้น ทั้งตั้งลูกสาวเป็นหัวหน้าพรรคโดยไม่มีที่มาที่ไปทางคุณสมบัติ ทั้งเรื่องที่ทักษิณโผล่หน้ามาชี้แจงนโยบายพรรคต่อคนทั้งประเทศ ทั้งเรื่องมีบทบาทคัดคนลงสมัคร นายก อบจ.หรือ สส.สั่งเปลี่ยนโผให้เป็นโน้นคนนี้ หรือแม้กระทั่งเรียกทุกพรรคมาประชุมจันทร์ส่องหล้า แล้วตกลงตั้งรัฐบาลในสูตรเดิม ทั้งหมดนี้ ถ้าคุณเป็นศาลรัฐธรรมนูญ คุณว่ามันพอหรือไม่ ที่จะตัดสินว่าพรรคเพื่อไทยอยู่ใต้บงการของคนชื่อทักษิณ

    ถาม ถ้ามองเป็นเรื่องบงการกันอย่างนี้ การที่พรรคร่วมรัฐบาลแห่ไปพบทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้าแล้วตกลงร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทยต่อไปเหมือนเดิม ก็ไม่ใช่เรื่องต้องถูกยุบพรรคใช่ไหมครับ
    ตอบ ถูกต้องครับ พรรคเหล่านี้เขาแค่ไปคุยแล้วตกลงกับทักษิณว่าเราจะรักษาสูตรรัฐบาลไว้ต่อไปเท่านั้นหรือไม่ นี่เป็นเริ่องไปเจรจาตกลง ไม่ใช่เรื่องอยู่ใต้บงการทักษิณแต่อย่างใด
    คุณต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า ความผิดมันไม่ใช่อยู่ที่เห็นตรงกับทักษิณ หรือไปคุยกับทักษิณ แต่มันอยู่ตรงที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจว่ามีพรรคไหนไปอยู่ใต้บงการเขาหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลใดนอกจากเพื่อไทยเท่านั้น ที่มีปัญหาว่าไปเป็นขี้ข้าเขาแบบนั้นหรือไม่

    ถาม แล้ว กกต. ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทยเลยได้ไหมครับ ข้างพรรคเพื่อไทยจะเถียงอะไรก็ให้ไปว่ากันในศาล
    ตอบ งานนี้เป็นเรื่องชี้ขาดกันด้วยพยานแวดล้อม ถ้าพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมันล้อมเข้ามาจนชัดเจน และรู้กันทั่วไป เพียงเท่านี้ กกต.ก็ฟ้องได้แล้วครับว่า แต่ละพฤติการณ์ประกอบกันเข้ามาให้เชื่อได้แล้วว่า ทักษิณคือผู้ครอบครองพรรคเพื่อไทย

    ถาม เห็น รองนายกฯภูมิธรรม เขาบอกว่าไม่น่ามาร้องเรียนอะไรกันเลย รัฐบาลลุยจนเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นอยู่แล้ว
    ตอบ ฟื้นจริงไหม? ฟื้นเพื่อใคร? มีใครที่ครอบงำพรรคแล้วรอเสวยประโยชน์อยู่โดยทุจริตหรือไม่ ทั้งเรื่อง สัมปทานบ่อน และ เจรจาพื้นที่ทับซ้อนกับเขมร?
    ตรงนี้เป็นปัญหาความสะอาด ความเลว ความชั่ว ในระบบรัฐบาล ที่ต้องเคลียร์ให้ได้ชัดเจนจริงๆ
    เศรษฐกิจมันฟื้นจากพื้นฐานที่สกปรกไม่ได้ รู้จักมียางอายกันบ้างเถิดครับ

    https://www.thaipost.net/hi-light/677990/

    #Thaitimes
    23 ตุลาคม 2567-นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการ ออกบทความเรื่องล่าสุด "ยุบพรรคเพื่อไทย??? : ความชอบธรรมและความเป็นไปได้ทางกฎหมาย" ในลักษณะถาม-ตอบ มีเนื้อหาว่า ถาม ทำไมจะไปยุบพรรคเพื่อไทยโดยอ้างว่าถูกทักษิณครอบงำ ก็เขาเป็นคนตั้งพรรค รวมผู้คนมาตั้งแต่แรก แล้วใจคอจะไม่ให้ฟังกันบ้างเลยหรืออย่างไร ตอบ ทักษิณถูกจำคุกตามคำพิพากษาคดีคอร์รัปชัน สิ้นสิทธิทางการเมืองเป็นคนนอกพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เขาจะพูดจะแนะนำอะไร คณะกรรมการพรรคก็ยังรับฟังได้กฎหมายไม่ห้าม แต่ต้องไม่ถึงขั้นถูกครอบงำถึงขนาดขาดอิสระ ทักษิณชี้นกเป็นไม้ ก็ยอมหมด อย่างนี้กฎหมายรับไม่ได้ ถาม แล้วมันผิดที่ตรงไหน ที่ไปฟังทักษิณ ตอบ พรรคการเมืองมีตัวตนอยู่ที่ “ความคิด” ประชาธิปไตยเสนอกันที่ความคิด เมื่อความคิดใครชนะคนนั้นต้องเป็นคนทำ รัฐธรรมนูญไทยเอาจริงถึงขั้นบังคับให้ สส.ต้องสังกัดพรรค และพรรคต้องเสนอชื่อนายกฯไว้ล่วงหน้าเลย เมื่อพรรคคือ “ความคิด” พรรคจึงต้องคิดเองตัดสินใจเอง จะเป็นแค่หุ่นเชิดของคนนอกพรรคไม่ได้ ถ้ายอมให้เชิดกันอย่างนี้ได้ ประชาธิปไตยในพรรคก็พลอยจะสิ้นความหมายไปด้วย ถาม กกต.ต้องพิสูจน์อะไรให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นบ้าง ว่าพรรคเพื่อไทยถูกทักษิณครอบงำ ตอบ อะไรที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการพรรค ถ้าพิสูจน์ว่าทักษิณสั่งได้ ก็โดนหมดล่ะครับ ทั้งการกำหนดนโยบายทางการเมือง, การตั้งคณะกรรมการบริหาร,การคัดเลือกส่งคนลงสมัคร สส., การเข้าร่วมรัฐบาล, การเลือกผู้เหมาะสมเป็นรัฐมนตรี, การเสนอร่างกฎหมาย เหล่านี้ล้วนเกิดเป็นเรื่องกล่าวหาได้ทั้งนั้น ถาม แล้วชัดเจนถึงขนาดไหนล่ะครับ ถึงจะฟังได้ว่าเป็นการ “ครอบงำ” ผมเห็นคนพรรคเพื่อไทยเขาท้าทายว่า มีพยานหลักฐานชัดเจนไหมว่า เมื่อวันนั้นวันนี้ ทักษิณสั่งนายโน้นนายนี้ใหทำอย่างนั้นอย่างนี้ ตอบ นี่ไม่ใช่คดีอาญา แต่เป็นคดีคุ้มครองประชาธิปไตยในบ้านเมือง ถ้าพรรคใดยอมตนเป็นหุ่นให้อิทธิพลทุจริต เราก็ต้องยุบพรรคนั้น ถ้าพยานหลักฐานมันแวดล้อมให้เชื่อได้เช่นนั้น ทั้งตั้งลูกสาวเป็นหัวหน้าพรรคโดยไม่มีที่มาที่ไปทางคุณสมบัติ ทั้งเรื่องที่ทักษิณโผล่หน้ามาชี้แจงนโยบายพรรคต่อคนทั้งประเทศ ทั้งเรื่องมีบทบาทคัดคนลงสมัคร นายก อบจ.หรือ สส.สั่งเปลี่ยนโผให้เป็นโน้นคนนี้ หรือแม้กระทั่งเรียกทุกพรรคมาประชุมจันทร์ส่องหล้า แล้วตกลงตั้งรัฐบาลในสูตรเดิม ทั้งหมดนี้ ถ้าคุณเป็นศาลรัฐธรรมนูญ คุณว่ามันพอหรือไม่ ที่จะตัดสินว่าพรรคเพื่อไทยอยู่ใต้บงการของคนชื่อทักษิณ ถาม ถ้ามองเป็นเรื่องบงการกันอย่างนี้ การที่พรรคร่วมรัฐบาลแห่ไปพบทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้าแล้วตกลงร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทยต่อไปเหมือนเดิม ก็ไม่ใช่เรื่องต้องถูกยุบพรรคใช่ไหมครับ ตอบ ถูกต้องครับ พรรคเหล่านี้เขาแค่ไปคุยแล้วตกลงกับทักษิณว่าเราจะรักษาสูตรรัฐบาลไว้ต่อไปเท่านั้นหรือไม่ นี่เป็นเริ่องไปเจรจาตกลง ไม่ใช่เรื่องอยู่ใต้บงการทักษิณแต่อย่างใด คุณต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า ความผิดมันไม่ใช่อยู่ที่เห็นตรงกับทักษิณ หรือไปคุยกับทักษิณ แต่มันอยู่ตรงที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจว่ามีพรรคไหนไปอยู่ใต้บงการเขาหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลใดนอกจากเพื่อไทยเท่านั้น ที่มีปัญหาว่าไปเป็นขี้ข้าเขาแบบนั้นหรือไม่ ถาม แล้ว กกต. ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทยเลยได้ไหมครับ ข้างพรรคเพื่อไทยจะเถียงอะไรก็ให้ไปว่ากันในศาล ตอบ งานนี้เป็นเรื่องชี้ขาดกันด้วยพยานแวดล้อม ถ้าพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมันล้อมเข้ามาจนชัดเจน และรู้กันทั่วไป เพียงเท่านี้ กกต.ก็ฟ้องได้แล้วครับว่า แต่ละพฤติการณ์ประกอบกันเข้ามาให้เชื่อได้แล้วว่า ทักษิณคือผู้ครอบครองพรรคเพื่อไทย ถาม เห็น รองนายกฯภูมิธรรม เขาบอกว่าไม่น่ามาร้องเรียนอะไรกันเลย รัฐบาลลุยจนเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นอยู่แล้ว ตอบ ฟื้นจริงไหม? ฟื้นเพื่อใคร? มีใครที่ครอบงำพรรคแล้วรอเสวยประโยชน์อยู่โดยทุจริตหรือไม่ ทั้งเรื่อง สัมปทานบ่อน และ เจรจาพื้นที่ทับซ้อนกับเขมร? ตรงนี้เป็นปัญหาความสะอาด ความเลว ความชั่ว ในระบบรัฐบาล ที่ต้องเคลียร์ให้ได้ชัดเจนจริงๆ เศรษฐกิจมันฟื้นจากพื้นฐานที่สกปรกไม่ได้ รู้จักมียางอายกันบ้างเถิดครับ https://www.thaipost.net/hi-light/677990/ #Thaitimes
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน

    22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567)

    นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้

    ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต

    ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา

    ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1

    ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

    ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา

    ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว

    ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน 22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567) นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 340 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทักษิณ พท.มีเสียว คดีล้มล้าง ยุบพรรค ศาล รธน.ขอเคลียร์ อสส. ก่อน 15 วัน
    .
    วันนี้ (22ต.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายในคำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาล ตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษ จำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต
    .
    ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตย ทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
    .
    ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1
    .
    ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
    .
    ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
    .
    โดยนายธีรยุทธได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม นายธีรยุทธจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าว และให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว
    .
    ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของนายธีรยุทธไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
    ..............
    Sondhi X
    ทักษิณ พท.มีเสียว คดีล้มล้าง ยุบพรรค ศาล รธน.ขอเคลียร์ อสส. ก่อน 15 วัน . วันนี้ (22ต.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายในคำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาล ตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษ จำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต . ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตย ทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา . ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 . ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล . ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา . โดยนายธีรยุทธได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม นายธีรยุทธจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าว และให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว . ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของนายธีรยุทธไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 734 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล ถูกตั้งก าสิโน วงในเผย เสี่ยหนู-เสี่ยต่อ พร้อมหนุนแบบมีเงื่อนไข สุวัจน์-ลูกท็อป พร้อมตามน้ำ เหลือลุงพีที่ขอดูร่างกฎหมายฉบับไฟนอลก่อน
    #7ดอกจิก
    ♣️ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล ถูกตั้งก าสิโน วงในเผย เสี่ยหนู-เสี่ยต่อ พร้อมหนุนแบบมีเงื่อนไข สุวัจน์-ลูกท็อป พร้อมตามน้ำ เหลือลุงพีที่ขอดูร่างกฎหมายฉบับไฟนอลก่อน #7ดอกจิก
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 229 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ คนเค้ารู้กันทั้งประเทศ ว่าใครครอบงำภูมิใจไทย ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล เป็นการสมรู้ร่วมคิดกันครอบงำ
    #7ดอกจิก
    #ครูใหญ่
    ♣️ คนเค้ารู้กันทั้งประเทศ ว่าใครครอบงำภูมิใจไทย ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล เป็นการสมรู้ร่วมคิดกันครอบงำ #7ดอกจิก #ครูใหญ่
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 213 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ อิ๊ง - เพื่อไทย ใส่เกียร์อาร์ ถอยเรื่องนิรโทษฯ ช่วยพ่อไว้ชั่วคราว หลังพรรคร่วมรัฐบาลไม่สนับสนุน โดยยังไม่พิจารณาร่างฯนิรโทษของพรรคประชาชน แต่จะปล่อยให้สภาฯ ได้ถกรายงานของ กทธ.ในการประชุมสมัยหน้า
    #7ดอกจิก
    #อุ๊งอิ๊ง
    ♣ อิ๊ง - เพื่อไทย ใส่เกียร์อาร์ ถอยเรื่องนิรโทษฯ ช่วยพ่อไว้ชั่วคราว หลังพรรคร่วมรัฐบาลไม่สนับสนุน โดยยังไม่พิจารณาร่างฯนิรโทษของพรรคประชาชน แต่จะปล่อยให้สภาฯ ได้ถกรายงานของ กทธ.ในการประชุมสมัยหน้า #7ดอกจิก #อุ๊งอิ๊ง
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว
  • วงดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลคึกครื้น แกนนำมากันเพียบ “นายกฯอิ๊งค์” บอกไม่มีธีมพิเศษ พร้อมรอรับด้วยตัวเองชื่นมื่น จัดเต็มเมนูเป๋าฮื้อ คาเวียร์​ หอยเชลล์ฮอกไกโด​

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000101522

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    วงดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลคึกครื้น แกนนำมากันเพียบ “นายกฯอิ๊งค์” บอกไม่มีธีมพิเศษ พร้อมรอรับด้วยตัวเองชื่นมื่น จัดเต็มเมนูเป๋าฮื้อ คาเวียร์​ หอยเชลล์ฮอกไกโด​ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000101522 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Angry
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1597 มุมมอง 0 รีวิว
  • "นายกฯ อิ๊งค์" บอกไม่กังวล กกต.รับคำร้องยุบ พท.-พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ปม “ทักษิณ” ครอบงำ ด้าน “ชูศักดิ์” แย้มฟ้องกลับได้ เพราะมีกฎหมายอยู่แล้ว ชี้ ต้องสังคายนา รธน.- กม.ทั้งระบบ สกัดบรรดานักร้อง

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000101314

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    "นายกฯ อิ๊งค์" บอกไม่กังวล กกต.รับคำร้องยุบ พท.-พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ปม “ทักษิณ” ครอบงำ ด้าน “ชูศักดิ์” แย้มฟ้องกลับได้ เพราะมีกฎหมายอยู่แล้ว ชี้ ต้องสังคายนา รธน.- กม.ทั้งระบบ สกัดบรรดานักร้อง อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000101314 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    6
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1252 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลมื้อสุดท้าย??? ต้องจัดเมนูพิเศษที่อาจไม่มีโอกาสได้กินอีกแล้ว

    - ยำเกาะกูด
    - กา สิโนราดน้ำปลา
    - ต้มซุปเปอร์นิรโทษ
    - รัฐธรรมนูญเผาพริกเผาเกลือ
    - ค่าธรรมเนียมรถติดผัดไฟแดง
    - ตะกวดย่างซอฟต์พาวเวอร์
    - ขนมหวานบ้านจันทร์ส่องหล้า
    #7ดอกจิก
    #อาหารมื้อสุดท้าย
    ♣ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลมื้อสุดท้าย??? ต้องจัดเมนูพิเศษที่อาจไม่มีโอกาสได้กินอีกแล้ว - ยำเกาะกูด - กา สิโนราดน้ำปลา - ต้มซุปเปอร์นิรโทษ - รัฐธรรมนูญเผาพริกเผาเกลือ - ค่าธรรมเนียมรถติดผัดไฟแดง - ตะกวดย่างซอฟต์พาวเวอร์ - ขนมหวานบ้านจันทร์ส่องหล้า #7ดอกจิก #อาหารมื้อสุดท้าย
    Love
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 227 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภูมิธรรมแจงวงดินเนอร์ไม่ใช่เวทีถกนิรโทษกรรม (21/10/67) #news1 #ภูมิธรรม #พรรคร่วมรัฐบาล #นิรโทษกรรม
    ภูมิธรรมแจงวงดินเนอร์ไม่ใช่เวทีถกนิรโทษกรรม (21/10/67) #news1 #ภูมิธรรม #พรรคร่วมรัฐบาล #นิรโทษกรรม
    Like
    Angry
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 936 มุมมอง 264 0 รีวิว

  • กกต.ขีดเส้น 30 วัน ยุบ6พรรคการเมือง เพื่อไทยโวยโดนล้างแค้น
    .
    คดียุบพรรคการเมืองกลับมาเป็นประเด็นทางการเมืองอีกครั้งภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคำร้องยุบพรรคเพื่อไทยและ6พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยได้ครอบงำพรรคเพื่อไทย
    .
    ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระบวนการหลังจากนี้ ทางคณะกรรมการสอบสวนจะต้องตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่างๆ พยานบุคคล ซึ่งอาจจะต้องเชิญผู้ร้องและผู้ถูกร้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่หากข้อมูล พยานเอกสาร และหลักฐาน ยังไม่ครบถ้วนที่จะสรุปความเห็นของสำนวนเสนอนายทะเบียนพรรคได้ สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาได้อีกครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
    .
    ขณะที่ มีท่าทีจากเลขาธิการพรรคเพื่อไทยอย่างนายสรวงศ์ เทียนทอง ระบุว่า พรรคมีข้อมูลและหลักฐานเพียงพอที่จะต่อสู้ประเด็นนี้ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่งอยากให้หน่วยงานต่างๆ คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ เพราะทุกครั้งที่มีการร้องเรียนและหน่วยงานที่รับผิดชอบรับมาเป็นประเด็น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนตลอดจนนักท่องเที่ยวก็จะหายไปทันที
    .
    "ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะทุกอย่างประดังเข้ามาหลังจากที่เราประกาศไม่ร่วมงานกับพรรคการเมืองนี้" นายสรวงศ์ ตอบคำถามที่ถามว่ามองว่าเป็นเกมการเมืองหลังจากที่เราผลักพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่
    ..............
    Sondhi X
    กกต.ขีดเส้น 30 วัน ยุบ6พรรคการเมือง เพื่อไทยโวยโดนล้างแค้น . คดียุบพรรคการเมืองกลับมาเป็นประเด็นทางการเมืองอีกครั้งภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคำร้องยุบพรรคเพื่อไทยและ6พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยได้ครอบงำพรรคเพื่อไทย . ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระบวนการหลังจากนี้ ทางคณะกรรมการสอบสวนจะต้องตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่างๆ พยานบุคคล ซึ่งอาจจะต้องเชิญผู้ร้องและผู้ถูกร้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่หากข้อมูล พยานเอกสาร และหลักฐาน ยังไม่ครบถ้วนที่จะสรุปความเห็นของสำนวนเสนอนายทะเบียนพรรคได้ สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาได้อีกครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ . ขณะที่ มีท่าทีจากเลขาธิการพรรคเพื่อไทยอย่างนายสรวงศ์ เทียนทอง ระบุว่า พรรคมีข้อมูลและหลักฐานเพียงพอที่จะต่อสู้ประเด็นนี้ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่งอยากให้หน่วยงานต่างๆ คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ เพราะทุกครั้งที่มีการร้องเรียนและหน่วยงานที่รับผิดชอบรับมาเป็นประเด็น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนตลอดจนนักท่องเที่ยวก็จะหายไปทันที . "ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะทุกอย่างประดังเข้ามาหลังจากที่เราประกาศไม่ร่วมงานกับพรรคการเมืองนี้" นายสรวงศ์ ตอบคำถามที่ถามว่ามองว่าเป็นเกมการเมืองหลังจากที่เราผลักพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ .............. Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 653 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ นิรโทษกรรม112 ไม่ง่าย แม้รวมไทยสร้างชาติ และประชาธิปัตย์ เป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ค้านนิรโทษ112
    #7ดอกจิก
    ♣ นิรโทษกรรม112 ไม่ง่าย แม้รวมไทยสร้างชาติ และประชาธิปัตย์ เป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ค้านนิรโทษ112 #7ดอกจิก
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ปชป.-รทสช.' ค้านนิรโทษกรรม เหตุไปแตะ ม.112
    .
    จากเเดิมที่มีการคาดหมายกันว่ากระบวนการในการนิรโทษกรรมน่าจะเดินหน้าได้สะดวก แต่ทำไปทำมาปรากฎว่าพรรคร่วมรัฐบาลส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรครวมไทยสร้างชาติ
    .
    นางสาวเจนจิรา รัตนเพียร โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยถึงการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องดังกล่าวว่า ในการประชุมส.ส.ของพรรคที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญกับรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยที่ประชุม สส. ของพรรค เห็นว่ารายงานดังกล่าวยังมีความคลุมเครือ และไม่ชัดเจน หากส่งรายงานดังกล่าวไปให้รัฐบาลเพื่อพิจารณา อาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายในสังคม เนื่องจากเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน
    .
    "สำหรับประเด็นการนิรโทษกรรมนั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดข้องกับการนิรโทษกรรมในประเด็นทางการเมือง แต่พรรคฯ มีจุดยืนในการไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 ดังนั้นในที่ประชุม สส. จึงมีมติไม่เห็นชอบกับรายงานฉบับดังกล่าว" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ
    .
    เช่นเดียวกับ พรรครวมไทยสร้างชาติ โดยนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี และโฆษกพรรค ระบุว่า ที่ประชุมพรรคได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแล้วมีความคิดเห็นว่าขอยืนยันในมติเดิมของพรรครวมไทยสร้างชาติ คือ จะไม่เห็นชอบในรายงานฉบับดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความสมบูรณ์ ขาดข้อสรุปที่ชัดเจน ดังที่เคยได้แจ้งไปเมื่อมีมติพรรครวมไทยสร้างชาติในวันที่ 26 กันยายน 2567 ซึ่งในครั้งนี้รายงานที่พิจารณาก็ยังมีเนื้อหาเช่นเดิม
    .
    "พรรครวมไทยสร้างชาติจึงขอสงวนสิทธิ์ที่จะมีมติงดออกเสียงในการลงมติรายงานฉบับดังกล่าว ทั้งในชั้นการรับทราบ และการเห็นชอบรายงานฉบับดังกล่าวเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ และพรรครวมไทยสร้างชาติขอยืนยันว่า จุดยืนของพรรครวมไทยสร้างชาติชัดเจนว่าจะต้องไม่มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 โดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและละเมิดต่อสถาบันหลักของชาติ" นายอัครเดช ย้ำถึงมติพรรค
    ..............
    Sondhi X
    'ปชป.-รทสช.' ค้านนิรโทษกรรม เหตุไปแตะ ม.112 . จากเเดิมที่มีการคาดหมายกันว่ากระบวนการในการนิรโทษกรรมน่าจะเดินหน้าได้สะดวก แต่ทำไปทำมาปรากฎว่าพรรคร่วมรัฐบาลส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรครวมไทยสร้างชาติ . นางสาวเจนจิรา รัตนเพียร โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยถึงการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องดังกล่าวว่า ในการประชุมส.ส.ของพรรคที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญกับรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยที่ประชุม สส. ของพรรค เห็นว่ารายงานดังกล่าวยังมีความคลุมเครือ และไม่ชัดเจน หากส่งรายงานดังกล่าวไปให้รัฐบาลเพื่อพิจารณา อาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายในสังคม เนื่องจากเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน . "สำหรับประเด็นการนิรโทษกรรมนั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดข้องกับการนิรโทษกรรมในประเด็นทางการเมือง แต่พรรคฯ มีจุดยืนในการไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 ดังนั้นในที่ประชุม สส. จึงมีมติไม่เห็นชอบกับรายงานฉบับดังกล่าว" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ . เช่นเดียวกับ พรรครวมไทยสร้างชาติ โดยนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี และโฆษกพรรค ระบุว่า ที่ประชุมพรรคได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแล้วมีความคิดเห็นว่าขอยืนยันในมติเดิมของพรรครวมไทยสร้างชาติ คือ จะไม่เห็นชอบในรายงานฉบับดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความสมบูรณ์ ขาดข้อสรุปที่ชัดเจน ดังที่เคยได้แจ้งไปเมื่อมีมติพรรครวมไทยสร้างชาติในวันที่ 26 กันยายน 2567 ซึ่งในครั้งนี้รายงานที่พิจารณาก็ยังมีเนื้อหาเช่นเดิม . "พรรครวมไทยสร้างชาติจึงขอสงวนสิทธิ์ที่จะมีมติงดออกเสียงในการลงมติรายงานฉบับดังกล่าว ทั้งในชั้นการรับทราบ และการเห็นชอบรายงานฉบับดังกล่าวเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ และพรรครวมไทยสร้างชาติขอยืนยันว่า จุดยืนของพรรครวมไทยสร้างชาติชัดเจนว่าจะต้องไม่มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 โดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและละเมิดต่อสถาบันหลักของชาติ" นายอัครเดช ย้ำถึงมติพรรค .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 712 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตือนสภาฯ ชะลอนิรโทษกรรม คดี 112 เรื่องละเอียดอ่อน ระวังรัฐบาลงานเข้า
    .
    การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 17 ตุลาคม ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะมีการพิจารณารายงานผลการศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และกรรมาธิการฯ ยืนยันว่า นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯและประธานคณะกรรมาธิการฯได้แจ้งว่าจะมีการพิจารณารายงานดังกล่าวแน่นอนหลังเลื่อนมา2-3 ครั้ง
    .
    "ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีกรรมาธิการของสภาฯ ชุดไหน พูดคุยศึกษาเรื่องมาตรา 112 จะมีก็คือคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ที่คุยเรื่อง 112 เป็นครั้งแรก ที่มีการศึกษา มีการเขียนไว้ในรายงานของกรรมาธิการฯ ชัดเจนว่า หากจะนิรโทษกรรมคดี 112 ด้วยจะให้มีเงื่อนไขการนิรโทษกรรมอย่างไร ซึ่งเมื่อสภาฯ ได้อภิปรายกันในวันพฤหัสบดีนี้แล้ว หากพรรคการเมืองไหน เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดี 112 หรือมีความเห็นว่าควรนิรโทษกรรมคดี 112 แบบไหน ก็อภิปรายกัน มันจะได้ลดความเข้าใจผิด ยืนยันว่า ข้อเสนอของกมธ.ฯ ไม่ได้เสนอให้แก้ไข 112 แต่อย่างใด" นพ.เชิดชัย กล่าว
    .
    ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แสดงความคิดเห็นว่า ผลการศึกษาดังกล่าวของ กมธ.ฯ เป็นเรื่องล่อแหลม เนื่องจากได้มีการเสนอแนวทางการนิรโทษกรรมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าไปด้วย ซึ่งยังเป็นเรื่องที่มีความเห็นต่างกันอยู่มาก ทั้งในหมู่พรรคการเมือง แม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน และประชาชน ดังนั้น หากสภาฯ พิจารณา แล้วมีมติเห็นควรส่งให้รัฐบาลรับไปพิจารณา ปัญหาก็จะตกไปอยู่กับรัฐบาล
    .
    "ผมเห็นว่าขณะนี้รัฐบาลมีปัญหามากแล้ว ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ จนแก้กันไม่หวาดไม่ไหว จึงเห็นว่ายังไม่ควรเอาเรื่องนี้สุมเพิ่มเข้าไปอีก" นายจุรินทร์ กล่าว
    .............
    Sondhi X
    เตือนสภาฯ ชะลอนิรโทษกรรม คดี 112 เรื่องละเอียดอ่อน ระวังรัฐบาลงานเข้า . การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 17 ตุลาคม ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะมีการพิจารณารายงานผลการศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และกรรมาธิการฯ ยืนยันว่า นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯและประธานคณะกรรมาธิการฯได้แจ้งว่าจะมีการพิจารณารายงานดังกล่าวแน่นอนหลังเลื่อนมา2-3 ครั้ง . "ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีกรรมาธิการของสภาฯ ชุดไหน พูดคุยศึกษาเรื่องมาตรา 112 จะมีก็คือคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ที่คุยเรื่อง 112 เป็นครั้งแรก ที่มีการศึกษา มีการเขียนไว้ในรายงานของกรรมาธิการฯ ชัดเจนว่า หากจะนิรโทษกรรมคดี 112 ด้วยจะให้มีเงื่อนไขการนิรโทษกรรมอย่างไร ซึ่งเมื่อสภาฯ ได้อภิปรายกันในวันพฤหัสบดีนี้แล้ว หากพรรคการเมืองไหน เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดี 112 หรือมีความเห็นว่าควรนิรโทษกรรมคดี 112 แบบไหน ก็อภิปรายกัน มันจะได้ลดความเข้าใจผิด ยืนยันว่า ข้อเสนอของกมธ.ฯ ไม่ได้เสนอให้แก้ไข 112 แต่อย่างใด" นพ.เชิดชัย กล่าว . ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แสดงความคิดเห็นว่า ผลการศึกษาดังกล่าวของ กมธ.ฯ เป็นเรื่องล่อแหลม เนื่องจากได้มีการเสนอแนวทางการนิรโทษกรรมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าไปด้วย ซึ่งยังเป็นเรื่องที่มีความเห็นต่างกันอยู่มาก ทั้งในหมู่พรรคการเมือง แม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน และประชาชน ดังนั้น หากสภาฯ พิจารณา แล้วมีมติเห็นควรส่งให้รัฐบาลรับไปพิจารณา ปัญหาก็จะตกไปอยู่กับรัฐบาล . "ผมเห็นว่าขณะนี้รัฐบาลมีปัญหามากแล้ว ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ จนแก้กันไม่หวาดไม่ไหว จึงเห็นว่ายังไม่ควรเอาเรื่องนี้สุมเพิ่มเข้าไปอีก" นายจุรินทร์ กล่าว ............. Sondhi X
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 624 มุมมอง 0 รีวิว
  • น.ส.พ.ประชาไทนิวส์ออนไลน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 59 ประจำเดือนตุลาคม 2567 @ ประเทศไทยต้องมี “แผนป้องกันน้ำท่วมระยะยาว”ออกจากปากของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็น“วิสัยทัศน์”ที่ควรค่าต่อการ“ปรบมือ”และ“ติดตาม”... “เหนือเมฆ” แนะให้ดู “วิธีคิด-วิธีการ”ของผู้บริหาร “แชงกรีลาเชียงใหม่โมเดล” เป็นแรงกระชากใจ...กล้าคิด กล้าทำ @ ดราม่าไอแพดบบนเวที ACD summit กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ชุดความรู้สำหรับ “สร.1 ป้ายแดง” “เหนือเมฆ”ให้กำลังใจ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คำเมืองเปิ้นว่า “แมงแสนตี๋นต๋ายตกน้ำบ่อ”...ประมาณว่า ไม่เคยมีใครไม่เคยผิดพลาด ภาวะผู้นำเบอร์ 1 ของประเทศ บางฟิลต้อง “นิ่ง”ให้เป็น.. “เหนือเมฆ” ใคร่อยากรู้นัก ใครเป็นทีมที่ปรึกษา-ทีมPR อยากหยิกให้เนื้อเขียวเชียว...@ “นายกอุ๊งอิ๊ง”อ้อนออดขอกำลังใจจากผู้อาวุโส“สายม๊อบ” ที่เอะอะก็จะเป่านกหวีดชวนคนลงถนนตะพึ่ด “เพิ่งทำงานได้แค่เดือนเดียวเอง..” ลำพัง“นิติสงคราม”จากพี่ๆนักร้องมืออาชีพที่เคารพก็กองพะเนินเทินทึกจ่อคอหอย ขบวนการตามล้างตามเช็ดตระกูล “ชินวัตร” รายล้อมรอบตัว...งานนี้ คุณพ่อที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร ต้องติวเข้ม “ลูกอุ๊งอิ๊ง” ทุกกระเบียดนิ้วปฏิกริยา...ปล่อย“สหายใหญ่” เป็นโค้ชคนเดียวน่าจะเอาไม่อยู่ @ ก็ชอบแล้วที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษาเพิ่มเติม 2 คน ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาศ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โปรเจ็คต์ปะจะฉะดะพะบู๊กับแรงเสียดทานทั้งสายบู๊สายบุ๋นนอกในสภา...คู่หูดูโอ้นี้น่าจะบรรเทาเบาแรงให้ “นายกอุ๊งอิ๊ง”มีเวลาทำงานเพิ่มมากขึ้น @ ยามนี้พรรคการเมืองไทยที่กระโดดโลดเต้นในหน้าสื่อรายวัน ดูเหมือนจะมีโดดเด่นเพียง “เพื่อไทย”กับ “ภูมิใจไทย” ขณะที่พรรคประชาชน พักหลังโดนกระแสสังคม “จับตา-จับตาย”หลายแอ๊คชั่นของส.ส.ในสังกัด ที่เหมือนบางท่านจะ“วุฒิภาวะบกพร่อง”กระบวนการ “คิด” และ “ประสบการณ์” แม้ว่ามวลหมู่คนเจนเนอเรชั่นเดียวกันในมุมมืดจะฟันธงล่วงหน้า “อย่างไรก็จะเลือก” แต่โอกาสที่พรรคประชาชนจะเทียบชั้นบริหารราชการแผ่นดินเบอร์ 1 ก็ยังคงมีขบวนการเตะตัดขา “ยุ่บ-ยั่บ”ต่อเนื่อ...แม้สนามหน้าจะแลนด์สไลด์ก็ตาม...เว้นแต่พรรคใหญ่สมัยหน้าจะกวักมือเทียบเชิญจัดตั้งรัฐบาลข้ามสปีชี่... @ “นักการเมือง”และ“สื่อ” คือ พลวัตรชี้นำสังคมไทย โดยมี “คุณภาพประชาชนไทย”เป็นฐานองคาพยพขับเคลื่อน ทั้งการ “ส่งต่อ”และ “การสังเคราะห์ข้อมูล” กระบวนการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นตัวอย่างแอ็คชั่นทางการเมืองเพื่อ “ฟอกขาว”ตนตัวของบรรดานักการเมือง เมื่อ “สื่อ”ระดม“สารมวลชน” ให้ประชาชนคำนวณบวกลบคูณหาร อาการลุกลี้ลุกลนตามสำนวน “ถอยแบบสุดซอย”จึงเกิดขึ้น... และแน่นอนก็ต้องตอบคำถามประชาชนด้วยเพราะบางพรรคร่วมรัฐบาล “อุ๊งอิ๊ง 1” ชูธงเป็นนโยบายหาเสียง @ หากพลิกประเด็นในนโยบายหาเสียงแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองไทยแล้ว โดยพิจารณาจากทุกพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฏร จะเห็นว่าทุกพรรค ออกอาการอุจจาระหดผายลมหายกับคำว่า “รัฐประหาร” ทั้งต่อต้าน ทั้งห้ามนิรโทษกรรม ทั้งกำหนดบทลงโทษ พาลโพเลโพเกไปถึงองค์กรอิสระที่เสนอให้ต้องลดบทบาทอำนาจ ให้มีการคานอำนาจ...อาการของนักการเมืองที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ “เหนือเมฆ”มองมุมไหนก็ล้วนแต่เป็นนักการเมืองหรือพรรคการเมืองสาย “กินปูนร้อนท้อง”...@ วุฒิสภาสายสีน้ำเงิน...ก็เป็นผลลัพธ์เชิงประจักษ์ของพรรคการเมืองไทยที่พยายามอาศัยช่องว่างช่องโหว่ของนิยามการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตัวแทนประชาชนจากทุกสาขาอาชีพ และสุดท้ายภาพของ “วุฒิสภา”ที่ต้องทำงานร้อยรัดกับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็เลยบังเกิดขึ้นในเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ... “เกียรติยศ”และ “ศักดิ์ศรี” กินไม่ได้แต่“เท่” มันมีจริงๆครับเสี่ย...! @ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและมท.1 เลี่ยงที่จะตอบคำถามกรณี คำถามสื่อที่ว่า ครูใหญ่เนวิน ชิดชอบ บ้านใหญ่ภูมิใจไทย ดอดเข้าพบ ทักษิณ ชินวัตร บ้านใหญ่เพื่อไทย...จริงหรือไม่ ณ นาทีนี้ “เหนือเมฆ”ยังไม่ฟันธง แต่อาการ “เลี่ยง” และโบกมือ “บ๊ายบาย”สื่อ มันผิดวิสัยปกติของมท.1 “พี่หนู”...แต่ที่แน่ๆ ถ้าจริง มันคงไม่ใช่เรื่อง “ไร้สาระ”แน่นอน...@ เสียงอำนวยอวยพรก้องฟ้าบุรีรัมย์ของ เนวิน ชิดชอบ “ขอให้อนุทินเป็นนายกรัฐมนตรี”ยังดังก้องในพิธีปะกำช้างวันคล้ายวันเกิดครูใหญ่เนวิน ขณะผูกข้อไม้ข้อมือ พรนี้ทำเอา “อนุทิน ชาญวีรกูล” ออกอาการสะดุ้งโหยง ไมครูใหญ่ช่างกล้า...เอาเรื่องจริงมาพูดเล่น..นิ ! @ ส่งท้าย น.ส.พ.ประชาไทนิวส์ออนไลน์ ขอแสดงความยินดีกับ “บิ๊กต่าย” พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 15 แห่งอาณาจักรพิทักษ์สันติราษฎร์ไทย คดีความต่อเนื่องใดๆที่ใครๆต่างก็ลุ้นระทึกตั้งแต่ครั้ง “รักษาการ” มาถึง “ตัวจริง-เสียงจริง”ในวันนี้ “เหนือเมฆ” ไม่คาดหวังสิ่งใด นอกจาก “ภาพลักษณ์เชิงบวก”ของวงการตำรวจไทย...ที่สาละวันถอยหลังและสาละวันเตี้ยลงมานานหลายขวบปี...มีฝีมือแค่ไหน “เดินหน้าลงมือทำทันที” ครับท่าน...ตะเบ๊ะ !
    -เหนือเมฆ-

    น.ส.พ.ประชาไทนิวส์ออนไลน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 59 ประจำเดือนตุลาคม 2567 @ ประเทศไทยต้องมี “แผนป้องกันน้ำท่วมระยะยาว”ออกจากปากของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็น“วิสัยทัศน์”ที่ควรค่าต่อการ“ปรบมือ”และ“ติดตาม”... “เหนือเมฆ” แนะให้ดู “วิธีคิด-วิธีการ”ของผู้บริหาร “แชงกรีลาเชียงใหม่โมเดล” เป็นแรงกระชากใจ...กล้าคิด กล้าทำ @ ดราม่าไอแพดบบนเวที ACD summit กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ชุดความรู้สำหรับ “สร.1 ป้ายแดง” “เหนือเมฆ”ให้กำลังใจ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คำเมืองเปิ้นว่า “แมงแสนตี๋นต๋ายตกน้ำบ่อ”...ประมาณว่า ไม่เคยมีใครไม่เคยผิดพลาด ภาวะผู้นำเบอร์ 1 ของประเทศ บางฟิลต้อง “นิ่ง”ให้เป็น.. “เหนือเมฆ” ใคร่อยากรู้นัก ใครเป็นทีมที่ปรึกษา-ทีมPR อยากหยิกให้เนื้อเขียวเชียว...@ “นายกอุ๊งอิ๊ง”อ้อนออดขอกำลังใจจากผู้อาวุโส“สายม๊อบ” ที่เอะอะก็จะเป่านกหวีดชวนคนลงถนนตะพึ่ด “เพิ่งทำงานได้แค่เดือนเดียวเอง..” ลำพัง“นิติสงคราม”จากพี่ๆนักร้องมืออาชีพที่เคารพก็กองพะเนินเทินทึกจ่อคอหอย ขบวนการตามล้างตามเช็ดตระกูล “ชินวัตร” รายล้อมรอบตัว...งานนี้ คุณพ่อที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร ต้องติวเข้ม “ลูกอุ๊งอิ๊ง” ทุกกระเบียดนิ้วปฏิกริยา...ปล่อย“สหายใหญ่” เป็นโค้ชคนเดียวน่าจะเอาไม่อยู่ @ ก็ชอบแล้วที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษาเพิ่มเติม 2 คน ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาศ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โปรเจ็คต์ปะจะฉะดะพะบู๊กับแรงเสียดทานทั้งสายบู๊สายบุ๋นนอกในสภา...คู่หูดูโอ้นี้น่าจะบรรเทาเบาแรงให้ “นายกอุ๊งอิ๊ง”มีเวลาทำงานเพิ่มมากขึ้น @ ยามนี้พรรคการเมืองไทยที่กระโดดโลดเต้นในหน้าสื่อรายวัน ดูเหมือนจะมีโดดเด่นเพียง “เพื่อไทย”กับ “ภูมิใจไทย” ขณะที่พรรคประชาชน พักหลังโดนกระแสสังคม “จับตา-จับตาย”หลายแอ๊คชั่นของส.ส.ในสังกัด ที่เหมือนบางท่านจะ“วุฒิภาวะบกพร่อง”กระบวนการ “คิด” และ “ประสบการณ์” แม้ว่ามวลหมู่คนเจนเนอเรชั่นเดียวกันในมุมมืดจะฟันธงล่วงหน้า “อย่างไรก็จะเลือก” แต่โอกาสที่พรรคประชาชนจะเทียบชั้นบริหารราชการแผ่นดินเบอร์ 1 ก็ยังคงมีขบวนการเตะตัดขา “ยุ่บ-ยั่บ”ต่อเนื่อ...แม้สนามหน้าจะแลนด์สไลด์ก็ตาม...เว้นแต่พรรคใหญ่สมัยหน้าจะกวักมือเทียบเชิญจัดตั้งรัฐบาลข้ามสปีชี่... @ “นักการเมือง”และ“สื่อ” คือ พลวัตรชี้นำสังคมไทย โดยมี “คุณภาพประชาชนไทย”เป็นฐานองคาพยพขับเคลื่อน ทั้งการ “ส่งต่อ”และ “การสังเคราะห์ข้อมูล” กระบวนการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นตัวอย่างแอ็คชั่นทางการเมืองเพื่อ “ฟอกขาว”ตนตัวของบรรดานักการเมือง เมื่อ “สื่อ”ระดม“สารมวลชน” ให้ประชาชนคำนวณบวกลบคูณหาร อาการลุกลี้ลุกลนตามสำนวน “ถอยแบบสุดซอย”จึงเกิดขึ้น... และแน่นอนก็ต้องตอบคำถามประชาชนด้วยเพราะบางพรรคร่วมรัฐบาล “อุ๊งอิ๊ง 1” ชูธงเป็นนโยบายหาเสียง @ หากพลิกประเด็นในนโยบายหาเสียงแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองไทยแล้ว โดยพิจารณาจากทุกพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฏร จะเห็นว่าทุกพรรค ออกอาการอุจจาระหดผายลมหายกับคำว่า “รัฐประหาร” ทั้งต่อต้าน ทั้งห้ามนิรโทษกรรม ทั้งกำหนดบทลงโทษ พาลโพเลโพเกไปถึงองค์กรอิสระที่เสนอให้ต้องลดบทบาทอำนาจ ให้มีการคานอำนาจ...อาการของนักการเมืองที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ “เหนือเมฆ”มองมุมไหนก็ล้วนแต่เป็นนักการเมืองหรือพรรคการเมืองสาย “กินปูนร้อนท้อง”...@ วุฒิสภาสายสีน้ำเงิน...ก็เป็นผลลัพธ์เชิงประจักษ์ของพรรคการเมืองไทยที่พยายามอาศัยช่องว่างช่องโหว่ของนิยามการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตัวแทนประชาชนจากทุกสาขาอาชีพ และสุดท้ายภาพของ “วุฒิสภา”ที่ต้องทำงานร้อยรัดกับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็เลยบังเกิดขึ้นในเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ... “เกียรติยศ”และ “ศักดิ์ศรี” กินไม่ได้แต่“เท่” มันมีจริงๆครับเสี่ย...! @ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและมท.1 เลี่ยงที่จะตอบคำถามกรณี คำถามสื่อที่ว่า ครูใหญ่เนวิน ชิดชอบ บ้านใหญ่ภูมิใจไทย ดอดเข้าพบ ทักษิณ ชินวัตร บ้านใหญ่เพื่อไทย...จริงหรือไม่ ณ นาทีนี้ “เหนือเมฆ”ยังไม่ฟันธง แต่อาการ “เลี่ยง” และโบกมือ “บ๊ายบาย”สื่อ มันผิดวิสัยปกติของมท.1 “พี่หนู”...แต่ที่แน่ๆ ถ้าจริง มันคงไม่ใช่เรื่อง “ไร้สาระ”แน่นอน...@ เสียงอำนวยอวยพรก้องฟ้าบุรีรัมย์ของ เนวิน ชิดชอบ “ขอให้อนุทินเป็นนายกรัฐมนตรี”ยังดังก้องในพิธีปะกำช้างวันคล้ายวันเกิดครูใหญ่เนวิน ขณะผูกข้อไม้ข้อมือ พรนี้ทำเอา “อนุทิน ชาญวีรกูล” ออกอาการสะดุ้งโหยง ไมครูใหญ่ช่างกล้า...เอาเรื่องจริงมาพูดเล่น..นิ ! @ ส่งท้าย น.ส.พ.ประชาไทนิวส์ออนไลน์ ขอแสดงความยินดีกับ “บิ๊กต่าย” พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 15 แห่งอาณาจักรพิทักษ์สันติราษฎร์ไทย คดีความต่อเนื่องใดๆที่ใครๆต่างก็ลุ้นระทึกตั้งแต่ครั้ง “รักษาการ” มาถึง “ตัวจริง-เสียงจริง”ในวันนี้ “เหนือเมฆ” ไม่คาดหวังสิ่งใด นอกจาก “ภาพลักษณ์เชิงบวก”ของวงการตำรวจไทย...ที่สาละวันถอยหลังและสาละวันเตี้ยลงมานานหลายขวบปี...มีฝีมือแค่ไหน “เดินหน้าลงมือทำทันที” ครับท่าน...ตะเบ๊ะ ! -เหนือเมฆ-
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว
  • รมต.สำนักนายกฯ เลื่อน ถกรายงานนิรโทษกรรม อ้างรอผลการหารือทุกฝ่าย แต่ยังไม่กำหนดนัดพูดคุย ด้าน “วิสุทธิ์” บอกจำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาล ไม่อยากมีภาพขัดแย้ง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095425

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    รมต.สำนักนายกฯ เลื่อน ถกรายงานนิรโทษกรรม อ้างรอผลการหารือทุกฝ่าย แต่ยังไม่กำหนดนัดพูดคุย ด้าน “วิสุทธิ์” บอกจำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาล ไม่อยากมีภาพขัดแย้ง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000095425 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1767 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา
    .
    การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ
    .
    โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่
    .
    “ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว
    .
    ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา
    ............
    Sondhi X
    'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา . การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ . โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่ . “ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว . ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา ............ Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 975 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ ภารกิจหลักพรรคร่วมรัฐบาล คือแก้ไข รัฐธรรมนูญ ให้รอดพ้นปมจริยธรรม
    #7ดอกจิก
    ♣ ภารกิจหลักพรรคร่วมรัฐบาล คือแก้ไข รัฐธรรมนูญ ให้รอดพ้นปมจริยธรรม #7ดอกจิก
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 268 มุมมอง 0 รีวิว
  • #พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดต้องรับผิดชอบ.
    #พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดต้องรับผิดชอบ.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 34 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • #พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดต้องรับผิดชอบ.
    #พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดต้องรับผิดชอบ.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 30 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • #อันนี้นะรับรองรู้ความจริงแล้วจะอึ้งปนฮา
    วันนี้เราได้ดูเทคนิคสับขา ห-ล-อ-ก ของแม๊ว
    เรื่องลุงป้อมกับเสรีที่ให้ไปโหวตอิ๊งเป็นนายก
    ถึงลุงป้อมไม่ไปติดงาน แต่ทั้งพรรคโหวตให้
    เสรีก็ไป
    แต่สุดท้ายแห้วแดรกทั้งคู่
    ดังนั้น พรรคร่วมรัฐบาลที่กำลังตั้งๆกันอยู่นี่
    บอกเลย จะมีบางพรรคอยู่ไม่เกิน 3 เดือนหลังตั้งครม.
    เพียงเพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลผ่านฉลุย
    เป็นอีกสาเหตุที่ดึงพรรคไว้ให้เสียงเกินๆไว้ก่อน
    เดียร์ลูกเสธแดง เป็นอีกหนึ่งคนที่ชื่อแบเบอร์
    ยังไม่รวมหมอชลน่าน ที่จริงๆแล้วต้องมา
    แต่แม๊วกระซิบกับทุกคนว่า ตำแหน่งมีจำกัด
    เอาไว้สับขา ห-ล-อ-ก พวกพรรคร่วมก่อน
    ไม่เกิน 3 เดือน ปรับครม. จะเทไปเป็นฝ่ายค้าน
    ทุกคนจะได้ตำแหน่งตามที่รับปากไว้
    พี่คิงส์นี่ไม่อยากจะจินตนาการ
    ถ้าปรับครม.รอบหน้า เพื่อไทยพรรคส้มเกิดรวมกันและมีพรรคที่ภักดีกับแม๊วอีกเล็กน้อย คะแนนเกินต้าน
    พรรคอื่นๆถูกเทไปเป็นฝ่ายค้านนี่ อิ๊บอ๋ายแน่นวลอย่ากระนั้นเลย
    แต่ถึงแม้ ปรับครม.อาจจะไม่ผาดโผนขนาดดึงพรรคส้มมาเป็นพรรคร่วม แต่บรรดาพรรคร่วม ณ เวลานี้ที่คลานเข่าไปหาแม๊ว
    พี่คิงส์รับรองได้ว่า ปรับครม.รอบหน้า มีหลุดแน่นวล ฟันธง++
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #อันนี้นะรับรองรู้ความจริงแล้วจะอึ้งปนฮา วันนี้เราได้ดูเทคนิคสับขา ห-ล-อ-ก ของแม๊ว เรื่องลุงป้อมกับเสรีที่ให้ไปโหวตอิ๊งเป็นนายก ถึงลุงป้อมไม่ไปติดงาน แต่ทั้งพรรคโหวตให้ เสรีก็ไป แต่สุดท้ายแห้วแดรกทั้งคู่ ดังนั้น พรรคร่วมรัฐบาลที่กำลังตั้งๆกันอยู่นี่ บอกเลย จะมีบางพรรคอยู่ไม่เกิน 3 เดือนหลังตั้งครม. เพียงเพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลผ่านฉลุย เป็นอีกสาเหตุที่ดึงพรรคไว้ให้เสียงเกินๆไว้ก่อน เดียร์ลูกเสธแดง เป็นอีกหนึ่งคนที่ชื่อแบเบอร์ ยังไม่รวมหมอชลน่าน ที่จริงๆแล้วต้องมา แต่แม๊วกระซิบกับทุกคนว่า ตำแหน่งมีจำกัด เอาไว้สับขา ห-ล-อ-ก พวกพรรคร่วมก่อน ไม่เกิน 3 เดือน ปรับครม. จะเทไปเป็นฝ่ายค้าน ทุกคนจะได้ตำแหน่งตามที่รับปากไว้ พี่คิงส์นี่ไม่อยากจะจินตนาการ ถ้าปรับครม.รอบหน้า เพื่อไทยพรรคส้มเกิดรวมกันและมีพรรคที่ภักดีกับแม๊วอีกเล็กน้อย คะแนนเกินต้าน พรรคอื่นๆถูกเทไปเป็นฝ่ายค้านนี่ อิ๊บอ๋ายแน่นวลอย่ากระนั้นเลย แต่ถึงแม้ ปรับครม.อาจจะไม่ผาดโผนขนาดดึงพรรคส้มมาเป็นพรรคร่วม แต่บรรดาพรรคร่วม ณ เวลานี้ที่คลานเข่าไปหาแม๊ว พี่คิงส์รับรองได้ว่า ปรับครม.รอบหน้า มีหลุดแน่นวล ฟันธง++ #คิงส์โพธิ์แดง
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 452 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts