• ⛅☔คาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (25 - 31 ธันวาคม 2567)
    ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 31 ธ.ค. 67
    ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน #ดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วง
    ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 27 ธ.ค. 67
    ขอให้ระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มี #หมอก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและ #ระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ไว้ด้วย
    ⚠️ ในช่วงวันที่ 28 - 30 ธ.ค. 67
    ขอให้ประชาชนในภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจาก #ฝนตกหนักถึงหนักมาก และ #ฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิด #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร #เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และ #หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

    สำหรับรายละเอียด "พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า" ดังลิงก์ https://www.tmd.go.th/forecast/sevenday
    ⛅☔คาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (25 - 31 ธันวาคม 2567) ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 31 ธ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน #ดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วง ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 27 ธ.ค. 67 ขอให้ระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มี #หมอก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและ #ระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ไว้ด้วย ⚠️ ในช่วงวันที่ 28 - 30 ธ.ค. 67 ขอให้ประชาชนในภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจาก #ฝนตกหนักถึงหนักมาก และ #ฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิด #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร #เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และ #หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง สำหรับรายละเอียด "พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า" ดังลิงก์ https://www.tmd.go.th/forecast/sevenday
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 149 มุมมอง 0 รีวิว
  • น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย

    สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

    นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

    แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล

    นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง

    #Newskit
    น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 672 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฉบับที่ 2 มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-5 ธันวาคม 2567 ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฉบับที่ 2 มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-5 ธันวาคม 2567 ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 164 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ
    .
    สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย
    .
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว
    .
    ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง
    .
    ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้
    .
    “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย
    .............
    Sondhi X
    ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ . สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย . ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว . ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง . ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ . “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย ............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    Angry
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 849 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น

    วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/south/detail/9670000114539

    #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น • วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9670000114539 • #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 363 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา : ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณบางพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ และมีคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 1 (156/2567) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-7 กันยายน 2567)

    #Thaitimes
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา : ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณบางพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ และมีคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 1 (156/2567) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-7 กันยายน 2567) #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 445 มุมมอง 0 รีวิว
  • คาดหมายอากาศทั่วไป
    ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567
    ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. ส.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
    ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 3 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
    ข้อควรระวัง
    ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 67 ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
    ออกประกาศ 28 กรกฎาคม 2567 12:00 น.
    คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. ส.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 3 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 67 ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ออกประกาศ 28 กรกฎาคม 2567 12:00 น.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 394 มุมมอง 0 รีวิว