• ปรอดหัวโขนหลุดบัญชีคุ้มครอง! อธิบดีกรมอุทยานฯ ไฟเขียวเปิดทางค้านกเสรี สร้างความผิดหวังให้นักอนุรักษ์ หวั่นสูญพันธุ์ ชี้มาตรการป้องกันล่านกป่าเป็นแค่ปาหี่ ขาดความจริงจังเอาผิดคนขายนกผิดกฎหมาย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000063747

    #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    ปรอดหัวโขนหลุดบัญชีคุ้มครอง! อธิบดีกรมอุทยานฯ ไฟเขียวเปิดทางค้านกเสรี สร้างความผิดหวังให้นักอนุรักษ์ หวั่นสูญพันธุ์ ชี้มาตรการป้องกันล่านกป่าเป็นแค่ปาหี่ ขาดความจริงจังเอาผิดคนขายนกผิดกฎหมาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000063747 #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Wow
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 350 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตื่นมาเจอข่าวอะไรไม่รู้ อ้าว เพิ่งรู้ว่า BIOTHAI อยู่ข้างแดง นึกว่าอยู่ข้างส้มแค่ฝ่ายเดียว
    อ้อลืมไป BIOTHAI แดงแจ๋นานแล้ว และผมไม่ค่อยตามเพจนี้เพราะบางทีเพจนี้มันก็นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบ Woke นั่นแหละ
    วันนี้ว่าจะไม่สนใจและไม่อยากจะนึกถึงเพจบ้านั่นแล้ว เอาเวลามาพัฒนาตัวเองและความสุขตัวเองจะดีกว่าครับ
    ตื่นมาเจอข่าวอะไรไม่รู้ อ้าว เพิ่งรู้ว่า BIOTHAI อยู่ข้างแดง นึกว่าอยู่ข้างส้มแค่ฝ่ายเดียว อ้อลืมไป BIOTHAI แดงแจ๋นานแล้ว และผมไม่ค่อยตามเพจนี้เพราะบางทีเพจนี้มันก็นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบ Woke นั่นแหละ วันนี้ว่าจะไม่สนใจและไม่อยากจะนึกถึงเพจบ้านั่นแล้ว เอาเวลามาพัฒนาตัวเองและความสุขตัวเองจะดีกว่าครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 335 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยึดมั่นในคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 ‘ทราย สก๊อต’ หนุ่มนักอนุรักษ์!! ผู้รักท้องทะเลยิ่งชีพ ได้ให้สัมภาษณ์ช่อง News 1 เกี่ยวกับแนวทาง คำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9

    และนี่คือพระบรมราโชวาท ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๖ ณ ค่ายวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒

    “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”


    .

    https://www.facebook.com/share/p/1XDya7vQEB/
    https://www.facebook.com/share/p/14uJwq2sMJ/

    ที่มาของคลิป: https://www.facebook.com/watch/?v=1260763822239524&rdid=JOMuIVmYBt1lTzWU
    ยึดมั่นในคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 ‘ทราย สก๊อต’ หนุ่มนักอนุรักษ์!! ผู้รักท้องทะเลยิ่งชีพ ได้ให้สัมภาษณ์ช่อง News 1 เกี่ยวกับแนวทาง คำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนี่คือพระบรมราโชวาท ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๖ ณ ค่ายวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒ “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...” . https://www.facebook.com/share/p/1XDya7vQEB/ https://www.facebook.com/share/p/14uJwq2sMJ/ ที่มาของคลิป: https://www.facebook.com/watch/?v=1260763822239524&rdid=JOMuIVmYBt1lTzWU
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 532 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดแผลใหม่ “ทราย สก๊อต” เปิดแผลใหม่อุทยานฯ เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นมนุษย์เพื่อ “ชาวมอแกน”

    ร่วมสนทนา
    ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์

    #news1 #คนเคาะข่าว #จับประเด็น #ทรายสก๊อต #มนุษย์เงือก #อควาแมนแห่งสยาม #ด้อมปลาน้อย #หมู่บ้านมอแกน #ชาวมอแกน
    เปิดแผลใหม่ “ทราย สก๊อต” เปิดแผลใหม่อุทยานฯ เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นมนุษย์เพื่อ “ชาวมอแกน” ร่วมสนทนา ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์ #news1 #คนเคาะข่าว #จับประเด็น #ทรายสก๊อต #มนุษย์เงือก #อควาแมนแห่งสยาม #ด้อมปลาน้อย #หมู่บ้านมอแกน #ชาวมอแกน
    Like
    4
    1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 559 มุมมอง 14 1 รีวิว
  • “ทราย สก๊อต” ไม้ขีดไฟประกายแสงแห่งความจริง : คนเคาะข่าว 30-04-68
    ร่วมสนทนา
    ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์
    #ทรายสก๊อต #ทะเลไทย #นักอนุรักษ์
    #คนเคาะข่าว #news1
    “ทราย สก๊อต” ไม้ขีดไฟประกายแสงแห่งความจริง : คนเคาะข่าว 30-04-68 ร่วมสนทนา ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์ #ทรายสก๊อต #ทะเลไทย #นักอนุรักษ์ #คนเคาะข่าว #news1
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 375 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • Live SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep290 (live)
    ดรามา “ทราย สก๊อต” สะเทือนอุทยาน นักอนุรักษ์สุดโต่ง หรือ ขัดผลประโยชน์
    #Live #Liveสด #thaitimes #sondhitalk #ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง
    🔴Live SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep290 (live) ดรามา “ทราย สก๊อต” สะเทือนอุทยาน นักอนุรักษ์สุดโต่ง หรือ ขัดผลประโยชน์ #Live #Liveสด #thaitimes #sondhitalk #ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง
    Like
    Love
    54
    25 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 2965 มุมมอง 4 รีวิว
  • ถือเป็นอีกหนึ่งทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ อันร้อนแรงบนสังคมโซเชียลบ้านเราต่อกรณี “ทราย สก๊อต” ที่แม้จะถูกปลดออกจากหน้าที่ แต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่ทำมาหากินกับท้องทะเลไทยในพื้นที่ได้อย่างใหญ่หลวง

    “ทราย สก๊อต” หรือ “สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี” เป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของจำนง ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกา

    ทราย สก๊อต สร้างชื่อจากการเป็นเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเลข้ามเกาะโดยไม่ใช่เครื่องช่วยชีวิตรวดเดียว 30 กิโลเมตร จนได้รับฉายาว่า “อควาแมนเมืองไทย” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอินฟลูคนดังด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลของเมืองไทย

    ทราย สก๊อต ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ซึ่งเขาถูกยกให้เป็นนักอนุรักษ์ทะเลไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ไม่ว่าจะเป็น เป็นลูกคนรวย เก่ง มีการศึกษาดี ภาษาอังกฤษเยี่ยม และเชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียล

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037394

    #MGROnline #ทรายสก๊อต #อุทยาน #ทะเลภาคใต้ #กรมอุทยานแห่งชาติ
    ถือเป็นอีกหนึ่งทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ อันร้อนแรงบนสังคมโซเชียลบ้านเราต่อกรณี “ทราย สก๊อต” ที่แม้จะถูกปลดออกจากหน้าที่ แต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่ทำมาหากินกับท้องทะเลไทยในพื้นที่ได้อย่างใหญ่หลวง • “ทราย สก๊อต” หรือ “สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี” เป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของจำนง ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกา • ทราย สก๊อต สร้างชื่อจากการเป็นเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเลข้ามเกาะโดยไม่ใช่เครื่องช่วยชีวิตรวดเดียว 30 กิโลเมตร จนได้รับฉายาว่า “อควาแมนเมืองไทย” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอินฟลูคนดังด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลของเมืองไทย • ทราย สก๊อต ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ซึ่งเขาถูกยกให้เป็นนักอนุรักษ์ทะเลไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ไม่ว่าจะเป็น เป็นลูกคนรวย เก่ง มีการศึกษาดี ภาษาอังกฤษเยี่ยม และเชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียล • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037394 • #MGROnline #ทรายสก๊อต #อุทยาน #ทะเลภาคใต้ #กรมอุทยานแห่งชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 673 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ทราย สก๊อต” หนุ่มนักอนุรักษ์ อดีตที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ เผยถูกฟ้องหมิ่นประมาทจากกรณีลงคลิปให้อาหารเต่า แล้วถ่ายติดชื่อบริษัทเจ้าของเรือ ยันไม่ได้มีเจตนาให้ร้ายใคร แต่อยากให้โฟกัสเรื่องเต่า พร้อมบอกว่าตนทำทุกอย่างตามกฎที่มีไว้ ไม่เคยล้ำเส้นใครและไม่ได้เอาแต่ใจตัวเอง เป็นแค่คนที่รักทะเล และถ้าทุกคนรักทะเลจริงจะไม่ทำร้ายทะเลกันตั้งแต่แรก

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037250

    #MGROnline #ทรายสก๊อต #ธรรมชาติ #รักทะเล
    “ทราย สก๊อต” หนุ่มนักอนุรักษ์ อดีตที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ เผยถูกฟ้องหมิ่นประมาทจากกรณีลงคลิปให้อาหารเต่า แล้วถ่ายติดชื่อบริษัทเจ้าของเรือ ยันไม่ได้มีเจตนาให้ร้ายใคร แต่อยากให้โฟกัสเรื่องเต่า พร้อมบอกว่าตนทำทุกอย่างตามกฎที่มีไว้ ไม่เคยล้ำเส้นใครและไม่ได้เอาแต่ใจตัวเอง เป็นแค่คนที่รักทะเล และถ้าทุกคนรักทะเลจริงจะไม่ทำร้ายทะเลกันตั้งแต่แรก • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037250 • #MGROnline #ทรายสก๊อต #ธรรมชาติ #รักทะเล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 395 มุมมอง 0 รีวิว
  • สรุปดรามา "ทราย สก๊อต” นักอนุรักษ์ท้องทะเล ยุติบทบาทที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ สู่ย้อนดราม่าท ผู้กล้าสู้ทัวริสต์เหยียดคนไทย แลกหลุดตำแหน่ง จนท.อุทยานฯ
    สรุปดรามา "ทราย สก๊อต” นักอนุรักษ์ท้องทะเล ยุติบทบาทที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ สู่ย้อนดราม่าท ผู้กล้าสู้ทัวริสต์เหยียดคนไทย แลกหลุดตำแหน่ง จนท.อุทยานฯ
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 679 มุมมอง 23 0 รีวิว
  • 33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

    ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย

    หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

    น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์

    เส้นทางการศึกษา
    มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
    มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ
    ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476)

    หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว

    จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์
    ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496

    ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า

    เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่
    การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์
    การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า
    การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า
    การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า

    หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น
    สัตว์ป่าเมืองไทย
    วัวแดง
    แรดไทย
    ช้างไทย

    รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

    ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า
    หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า

    ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น
    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย
    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย

    พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ
    ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ

    แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น
    กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
    อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย
    หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์
    แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่

    "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568

    #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 📅 ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน 🌳🌿 🔎 น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ 📚 เส้นทางการศึกษา ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ ✅ ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476) หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว 🌿 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์ ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496 🏡 ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า 📖 เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่ ✅ การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ✅ การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า ✅ การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ✅ การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น 📗 สัตว์ป่าเมืองไทย 📘 วัวแดง 📕 แรดไทย 📗 ช้างไทย รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ⚖️ ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย 📜 ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า 🎯 ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น 🌳 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย 🌲 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย 👑 พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ 🎗️ แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ✅ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ ✅ อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย ✅ หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์ ✅ แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ 💚 "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล 🌏 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568 📌 #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1606 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล

    เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

    หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด

    ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562

    #ปะการัง7สี
    ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 #ปะการัง7สี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 647 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา

    พื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่เขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลาเป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติจะเป็นพื้นที่ป่าบาลาที่ครอบคลุม อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น ต้นยวน ต้นยูคาลิบตัส ต้นสยา เป็นไม้เด่นของป่าฮาลา-บาลา เพราะเป็นแหล่งทำรังที่สำคัญของนกเงือก ยังมีสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น ชะนีดำใหญ่ หรือ เซียมัง นอกจากนั้นยังมีกบทูด ซึ่งเป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

    ผู้ที่มีความประสงค์เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาธรรมชาติ ต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ตู้ ปณ. 3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือฝ่ายกิจการเขตรักษาพันธุ์ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกรุงเทพฯ โทร 0-2561-0777 ต่อ 1615 ในวันเวลาราชการ หรือเข้าชมเว็บไซต์ที่ www.dnp.go.th

    การเดินทาง สามารถขับไปตามทางหลวงหมายเลข 4057 มุ่งหน้าไปอำเภอแว้ง จนถึงบ้านบูเก๊ะตา จะมีป้ายบอกทางให้ขับต่ไปทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
    เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา พื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่เขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลาเป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติจะเป็นพื้นที่ป่าบาลาที่ครอบคลุม อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น ต้นยวน ต้นยูคาลิบตัส ต้นสยา เป็นไม้เด่นของป่าฮาลา-บาลา เพราะเป็นแหล่งทำรังที่สำคัญของนกเงือก ยังมีสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น ชะนีดำใหญ่ หรือ เซียมัง นอกจากนั้นยังมีกบทูด ซึ่งเป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ที่มีความประสงค์เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาธรรมชาติ ต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ตู้ ปณ. 3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือฝ่ายกิจการเขตรักษาพันธุ์ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกรุงเทพฯ โทร 0-2561-0777 ต่อ 1615 ในวันเวลาราชการ หรือเข้าชมเว็บไซต์ที่ www.dnp.go.th การเดินทาง สามารถขับไปตามทางหลวงหมายเลข 4057 มุ่งหน้าไปอำเภอแว้ง จนถึงบ้านบูเก๊ะตา จะมีป้ายบอกทางให้ขับต่ไปทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 976 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล

    เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

    หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด

    ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562

    #ปะการัง7สี
    ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 #ปะการัง7สี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 804 มุมมอง 0 รีวิว