• ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ท่าอากาศยานภูเก็ตแจงประเด็นดรามา หลังโซเชียลแชร์นำภาพ สถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกีสของสิงคโปร์ มาตกแต่ง สร้างบรรยากาศภายในอาคารผู้โดยสาร บอกแค่เป็นส่วนหนึ่งจากหลายๆภาพ

    จากกรณีที่มีเพจ Facebook ชื่อผู้ใช้ชื่อ อีจี้จุ๋มภูเก็ต เผยแพร่ภาพสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) ของประเทศสิงคโปร์ ที่นำมาประดับตกแต่งภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) พร้อมมีการเขียนข้อความ ระบุว่า “ล่ากูขายหน้าอิ่ชัก เพื่อนมาถึงสนามบินภูเก็ต ส่งรูปนี้มาถามว่ายุแถวไน่ว่า (ตรงไหน) อิไปถ่ายรูป อ่ะโต้ย! งงไปเลย ตึกอีนี้อยู่เมืองลอดช่องม้าย แล้วอิการท่า มั่นช้อตอื้อพรืย (งงอะไรมั้ย) บ้านเรามอหลาวสวยๆ กาเอ (คฤหาสน์เพียบ) เตี้ยมฉู่หนนล่างเป็นตับ (ห้องแถวถนนถลางพรึ่บ) มึ่งไม่เอามาทำ ดันไปเอาบ้านเพื่อนมาโปรโมตภูเก็ต เวรจริ้ง!! ขายหน้าเค่าเปล่า ชาดเหลอ (ฉลาดมาก) โต่หลองต้ะ (ขอร้อง) เอาออกให้ทืย มึ่งไม่ขายหน้า จี้ขายหน้า”

    หลังโพสต์ถูกเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตจำนวนมากต่างพากันแสดงความคิดเห็นกันอย่างคึกคัก

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/south/detail/9670000120902

    #MGROnline #สถาปัตยกรรม #ชิโนโปรตุกีส #สิงคโปร์ #ท่าอากาศยานภูเก็ต
    ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ท่าอากาศยานภูเก็ตแจงประเด็นดรามา หลังโซเชียลแชร์นำภาพ สถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกีสของสิงคโปร์ มาตกแต่ง สร้างบรรยากาศภายในอาคารผู้โดยสาร บอกแค่เป็นส่วนหนึ่งจากหลายๆภาพ • จากกรณีที่มีเพจ Facebook ชื่อผู้ใช้ชื่อ อีจี้จุ๋มภูเก็ต เผยแพร่ภาพสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) ของประเทศสิงคโปร์ ที่นำมาประดับตกแต่งภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) พร้อมมีการเขียนข้อความ ระบุว่า “ล่ากูขายหน้าอิ่ชัก เพื่อนมาถึงสนามบินภูเก็ต ส่งรูปนี้มาถามว่ายุแถวไน่ว่า (ตรงไหน) อิไปถ่ายรูป อ่ะโต้ย! งงไปเลย ตึกอีนี้อยู่เมืองลอดช่องม้าย แล้วอิการท่า มั่นช้อตอื้อพรืย (งงอะไรมั้ย) บ้านเรามอหลาวสวยๆ กาเอ (คฤหาสน์เพียบ) เตี้ยมฉู่หนนล่างเป็นตับ (ห้องแถวถนนถลางพรึ่บ) มึ่งไม่เอามาทำ ดันไปเอาบ้านเพื่อนมาโปรโมตภูเก็ต เวรจริ้ง!! ขายหน้าเค่าเปล่า ชาดเหลอ (ฉลาดมาก) โต่หลองต้ะ (ขอร้อง) เอาออกให้ทืย มึ่งไม่ขายหน้า จี้ขายหน้า” • หลังโพสต์ถูกเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตจำนวนมากต่างพากันแสดงความคิดเห็นกันอย่างคึกคัก • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9670000120902 • #MGROnline #สถาปัตยกรรม #ชิโนโปรตุกีส #สิงคโปร์ #ท่าอากาศยานภูเก็ต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ถ้วยรางวัลภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า” ครั้งที่ 36 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงรับรางวัลชนะเลิศ

    วันนี้ (6 ธ.ค.) เมื่อเวลา 15.01 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ ห้องกานดา ฮอลล์ โรงแรมบียอนด์ กะตะ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตรการจัดงานฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตรการจัดงานฯ แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ฯ กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานฯ และกราบบังคมทูลเบิก พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

    จากนั้นพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายเควินรอเบิร์ต วิทคร๊าฟท์ ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ กราบบังคมทูลเบิก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เข้ารับรางวัลชนะเลิศ ในนามทีมเรือใบวายุ และเบิกผู้ชนะการแข่งขัน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานรางวัลต่างๆ และผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขัน ฯเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานโล่ที่ระลึกตามลำดับ

    ต่อจากนั้น เสด็จออกจากห้องกานดา ฮอลล์ สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานภูเก็ต อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000117522

    #MGROnline #ในหลวง #พระราชินี #ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า #เรือใบ #ทีมวายุ #หาดกะตะ #ภูเก็ต
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ถ้วยรางวัลภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า” ครั้งที่ 36 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงรับรางวัลชนะเลิศ • วันนี้ (6 ธ.ค.) เมื่อเวลา 15.01 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ ห้องกานดา ฮอลล์ โรงแรมบียอนด์ กะตะ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตรการจัดงานฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตรการจัดงานฯ แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ฯ กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานฯ และกราบบังคมทูลเบิก พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย • จากนั้นพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายเควินรอเบิร์ต วิทคร๊าฟท์ ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ กราบบังคมทูลเบิก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เข้ารับรางวัลชนะเลิศ ในนามทีมเรือใบวายุ และเบิกผู้ชนะการแข่งขัน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานรางวัลต่างๆ และผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขัน ฯเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานโล่ที่ระลึกตามลำดับ • ต่อจากนั้น เสด็จออกจากห้องกานดา ฮอลล์ สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานภูเก็ต อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000117522 • #MGROnline #ในหลวง #พระราชินี #ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า #เรือใบ #ทีมวายุ #หาดกะตะ #ภูเก็ต
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 425 มุมมอง 0 รีวิว
  • สแกนใบหน้าขึ้นเครื่อง เขาทำกันยังไง?

    เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานในสังกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometric) มาใช้ ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition เพื่อลดขั้นตอนการเช็คบัตรโดยสาร นำร่องเฉพาะผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic) ใช้งานได้ก่อน จากนั้นในวันที่ 1 ธ.ค. 2567 จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ (International)

    Newskit มีโอกาสเดินทางด้วยเครื่องบินไปต่างจังหวัดเมื่อวันก่อน พบว่าที่เคาน์เตอร์เช็กอินของสายการบิน พนักงานภาคพื้นจะทำการลงทะเบียนข้อมูลจากบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ก่อนที่จะให้ผู้โดยสารถ่ายรูปกับกล้องเพียง 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้จะให้ติดสติกเกอร์สีฟ้าไว้ แต่ปัจจุบันจะเขียนคำว่า "BIO" (ไบโอ) บนบัตรโดยสารเพื่อระบุว่าผ่านการลงทะเบียนใบหน้าแล้ว ส่วนคนที่เช็กอินผ่านเครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (CUSS) หลังจากเช็กอินเสร็จแล้วจะให้สแกนบาร์โค้ด เสียบบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และสแกนใบหน้า 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ระบบจะจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและเอกสารการเดินทางเอาไว้

    สิ่งที่เห็นผลจากระบบไบโอเมตริกซ์ก็คือ จุดแรก จุดตรวจเอกสารการเดินทาง จากเดิมจะแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางให้ตรงกับใบหน้า เปลี่ยนเป็นเข้าไปสแกนใบหน้าในช่อง Face Registration หรือ Biometric แล้วเดินไปยังจุดตรวจค้นได้ทันที เปรียบเหมือนเวลาขับรถขึ้นทางด่วนที่เข้าช่องเงินสดกับช่อง EASY PASS จุดที่สอง คือทางออกขึ้นเครื่อง หลังจากเรียกผู้โดยสารตามโซนแถวที่นั่งพิเศษแล้ว สามารถเข้าช่อง Face Registration หรือ Biometric เพื่อขึ้นเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางแก่เจ้าหน้าที่อีก

    อย่างไรก็ตาม แม้สนามบิน ทอท.ทั้ง 6 แห่งจะติดตั้งระบบไบโอเมตริกซ์เสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังเปิดใช้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์กับทุกสนามบินของ ทอท.ยังมีบางแห่งที่บางสายการบินยังให้ใช้ระบบเดิม สำหรับข้อมูลผู้โดยสาร ได้แก่ บัตรโดยสาร บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และภาพถ่ายใบหน้าผู้โดยสาร ทอท.จะเก็บข้อมูลไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำลายข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (กฎหมาย PDPA) ซึ่งระยะยาว ทอท.จะพัฒนาระบบเพื่อจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลไว้ยาวนาน แต่มีความปลอดภัยและผ่านขั้นตอนกฎหมาย PDPA ต่อไป

    #Newskit
    สแกนใบหน้าขึ้นเครื่อง เขาทำกันยังไง? เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานในสังกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometric) มาใช้ ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition เพื่อลดขั้นตอนการเช็คบัตรโดยสาร นำร่องเฉพาะผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic) ใช้งานได้ก่อน จากนั้นในวันที่ 1 ธ.ค. 2567 จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ (International) Newskit มีโอกาสเดินทางด้วยเครื่องบินไปต่างจังหวัดเมื่อวันก่อน พบว่าที่เคาน์เตอร์เช็กอินของสายการบิน พนักงานภาคพื้นจะทำการลงทะเบียนข้อมูลจากบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ก่อนที่จะให้ผู้โดยสารถ่ายรูปกับกล้องเพียง 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้จะให้ติดสติกเกอร์สีฟ้าไว้ แต่ปัจจุบันจะเขียนคำว่า "BIO" (ไบโอ) บนบัตรโดยสารเพื่อระบุว่าผ่านการลงทะเบียนใบหน้าแล้ว ส่วนคนที่เช็กอินผ่านเครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (CUSS) หลังจากเช็กอินเสร็จแล้วจะให้สแกนบาร์โค้ด เสียบบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และสแกนใบหน้า 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ระบบจะจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและเอกสารการเดินทางเอาไว้ สิ่งที่เห็นผลจากระบบไบโอเมตริกซ์ก็คือ จุดแรก จุดตรวจเอกสารการเดินทาง จากเดิมจะแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางให้ตรงกับใบหน้า เปลี่ยนเป็นเข้าไปสแกนใบหน้าในช่อง Face Registration หรือ Biometric แล้วเดินไปยังจุดตรวจค้นได้ทันที เปรียบเหมือนเวลาขับรถขึ้นทางด่วนที่เข้าช่องเงินสดกับช่อง EASY PASS จุดที่สอง คือทางออกขึ้นเครื่อง หลังจากเรียกผู้โดยสารตามโซนแถวที่นั่งพิเศษแล้ว สามารถเข้าช่อง Face Registration หรือ Biometric เพื่อขึ้นเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางแก่เจ้าหน้าที่อีก อย่างไรก็ตาม แม้สนามบิน ทอท.ทั้ง 6 แห่งจะติดตั้งระบบไบโอเมตริกซ์เสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังเปิดใช้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์กับทุกสนามบินของ ทอท.ยังมีบางแห่งที่บางสายการบินยังให้ใช้ระบบเดิม สำหรับข้อมูลผู้โดยสาร ได้แก่ บัตรโดยสาร บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และภาพถ่ายใบหน้าผู้โดยสาร ทอท.จะเก็บข้อมูลไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำลายข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (กฎหมาย PDPA) ซึ่งระยะยาว ทอท.จะพัฒนาระบบเพื่อจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลไว้ยาวนาน แต่มีความปลอดภัยและผ่านขั้นตอนกฎหมาย PDPA ต่อไป #Newskit
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 626 มุมมอง 0 รีวิว
  • UPDATE: เริ่ม 1 ธ.ค. นี้ เดินทางผ่าน 6 สนามบินใช้ระบบ Biometric สแกนหน้าเช็กอิน คาดประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วขึ้น
    .
    วันนี้ (29 ตุลาคม) ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) กล่าวว่า AOT นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (Automated Biometric Identification System: Biometric) ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition มาใช้ในการระบุตัวตนของผู้โดยสาร โดยพัฒนาและทดสอบระบบให้มีความพร้อมในการใช้งาน เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
    .
    รวมทั้งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคิวของแต่ละจุดบริการภายในท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.), ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.), ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.), ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.)
    .
    ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ผู้โดยสารภายในประเทศสามารถใช้งานได้ก่อน และในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 พร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้โดยสารจำเป็นต้องยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล
    .
    สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้งานระบบ Biometric สามารถลงทะเบียนใช้งานเมื่อมาเช็กอินที่สนามบิน โดยมี 2 วิธี ได้แก่
    .
    1. เช็กอินที่เคาน์เตอร์เช็กอิน ผู้โดยสารแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินให้ลงทะเบียนใบหน้าในระบบ Biometric ผ่านเครื่องตรวจบัตรโดยสาร (เครื่อง CUTE) โดยระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบ
    .
    2. เช็กอินที่เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (เครื่อง CUSS) โดยหลังจากเช็กอินเสร็จแล้วให้ผู้โดยสารเลือกสายการบินที่เดินทาง ต่อด้วยเลือก Enrollment จากนั้นสแกน Barcode จากบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) เสียบหนังสือเดินทาง (Passport) หรือบัตรประชาชน และสแกนใบหน้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถือเป็นการเสร็จสิ้นการลงทะเบียน ซึ่งระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบเช่นเดียวกัน
    .
    ซึ่งเมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ถือว่าผู้โดยสารให้ความยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้โดยสารจะโหลดกระเป๋าสัมภาระผ่านเครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (เครื่อง CUBD) ตลอดจนผ่านจุดตรวจค้น รวมทั้งขั้นตอนขึ้นเครื่อง ไม่ต้องแสดง Passport และ Boarding Pass อีกต่อไป ทั้งนี้ เป็นการยินยอมให้ใช้ข้อมูล Biometric สำหรับการเดินทางเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    .
    ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า AOT มั่นใจว่าระบบ Biometric มีความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ จะได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ใช้เวลาน้อยในแต่ละจุดบริการ ทำให้ผู้โดยสารมีเวลาเพียงพอที่จะเดินเล่น เลือกซื้อสินค้าปลอดอากรและของฝาก รับประทานอาหาร หรือพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากที่ผ่านมา AOT มีการติดตั้งระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง หรือ CUPPS (Common Use Passenger Processing System) ที่สนับสนุนการให้บริการทั้งหมด 5 ระบบ
    .
    ได้แก่ 1. เครื่อง CUTE (เครื่องตรวจบัตรโดยสารซึ่งใช้งานโดยเจ้าหน้าที่สายการบิน) 2. เครื่อง CUSS (เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ) 3. เครื่อง CUBD เครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ 4. ระบบ PVS (Passenger Validation System) สำหรับตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร และ 5. ระบบ SBG (Self-Boarding Gate) หรือระบบประตูทางออกขึ้นเครื่อง
    .
    โดยทั้ง 5 ระบบดังกล่าวติดตั้งเพื่อรองรับระบบ Biometric ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อระบบทั้งหมด 6 ระบบมีการใช้งานและเชื่อมต่อกันอย่างครอบคลุม จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายอย่างสมบูรณ์
    .
    ดร.กีรติ กล่าวว่า ในส่วนของปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) มีผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 119.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 72.67 ล้านคน เพิ่มขึ้น 34.82% และผู้โดยสารภายในประเทศ 46.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.01% ขณะที่มีเที่ยวบินรวม 732,690 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 14.5% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 416,190 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 29.63% และเที่ยวบินภายในประเทศ 316,500 เที่ยวบิน ลดลง 0.73%
    .
    โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสาร 60 ล้านคน เพิ่มขึ้น 24.04% และมีเที่ยวบิน 346,680 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 17.88% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง มีผู้โดยสาร 29.15 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.25% และมีเที่ยวบิน 197,250 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 11.47% ด้านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีผู้โดยสาร 8.82 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.14% และมีเที่ยวบิน 57,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.68% สำหรับท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีผู้โดยสาร 1.9 ล้านคน ลดลง 1.96% และมีเที่ยวบิน 12,260 เที่ยวบิน ลดลง 3.37%
    .
    ขณะที่ท่าอากาศยานภูเก็ต มีผู้โดยสาร 16.40 ล้านคน เพิ่มขึ้น 25.94% และมีเที่ยวบิน 98,710 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 19.97% และท่าอากาศยานหาดใหญ่ มีผู้โดยสาร 3.03 ล้านคน ลดลง 5.14% และมีเที่ยวบิน 19,730 เที่ยวบิน ลดลง 5.84% ทั้งนี้ มีผู้โดยสารแยกตามสัญชาติ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, อินเดีย, เกาหลีใต้, รัสเซีย และญี่ปุ่น
    .
    ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลการจัดสรรตารางบินฤดูหนาว 2024/2025 (W2024/2025) ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT มีเที่ยวบินได้รับการจัดสรรเวลารวม 370,239 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากฤดูหนาวในปีที่ผ่านมา (W2023/2024) 22.1% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 222,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 33.1% เที่ยวบินภายในประเทศ 147,459 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.5% ทั้งนี้ มีแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งระหว่างประเทศและในประเทศเพิ่มขึ้น 23% และเส้นทางระหว่างประเทศที่มีผู้โดยสารเดินทางเข้าประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, มาเลเซีย, อินเดีย, สิงคโปร์ และฮ่องกง
    .
    สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2568 (ตุลาคม 2567 - กันยายน 2568) AOT คาดว่าจะผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 129.97 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศประมาณ 78.61 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.17% และผู้โดยสารภายในประเทศประมาณ 51.36 คน เพิ่มขึ้น 10.18% ขณะที่คาดว่าจะมีเที่ยวบินรวมประมาณ 808,280 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 10.32% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศประมาณ 453,750 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.02% และเที่ยวบินภายในประเทศประมาณ 354,530 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 12.02%
    .
    โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 64.44 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7.40% และมีเที่ยวบินประมาณ 376,820 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.69% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารประมาณ 33.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.91% และมีเที่ยวบินประมาณ 223,200 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 13.00%
    .
    #สนามบิน
    #TheStandardNews
    UPDATE: เริ่ม 1 ธ.ค. นี้ เดินทางผ่าน 6 สนามบินใช้ระบบ Biometric สแกนหน้าเช็กอิน คาดประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วขึ้น . วันนี้ (29 ตุลาคม) ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) กล่าวว่า AOT นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (Automated Biometric Identification System: Biometric) ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition มาใช้ในการระบุตัวตนของผู้โดยสาร โดยพัฒนาและทดสอบระบบให้มีความพร้อมในการใช้งาน เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น . รวมทั้งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคิวของแต่ละจุดบริการภายในท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.), ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.), ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.), ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) . ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ผู้โดยสารภายในประเทศสามารถใช้งานได้ก่อน และในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 พร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้โดยสารจำเป็นต้องยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล . สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้งานระบบ Biometric สามารถลงทะเบียนใช้งานเมื่อมาเช็กอินที่สนามบิน โดยมี 2 วิธี ได้แก่ . 1. เช็กอินที่เคาน์เตอร์เช็กอิน ผู้โดยสารแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินให้ลงทะเบียนใบหน้าในระบบ Biometric ผ่านเครื่องตรวจบัตรโดยสาร (เครื่อง CUTE) โดยระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบ . 2. เช็กอินที่เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (เครื่อง CUSS) โดยหลังจากเช็กอินเสร็จแล้วให้ผู้โดยสารเลือกสายการบินที่เดินทาง ต่อด้วยเลือก Enrollment จากนั้นสแกน Barcode จากบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) เสียบหนังสือเดินทาง (Passport) หรือบัตรประชาชน และสแกนใบหน้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถือเป็นการเสร็จสิ้นการลงทะเบียน ซึ่งระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบเช่นเดียวกัน . ซึ่งเมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ถือว่าผู้โดยสารให้ความยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้โดยสารจะโหลดกระเป๋าสัมภาระผ่านเครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (เครื่อง CUBD) ตลอดจนผ่านจุดตรวจค้น รวมทั้งขั้นตอนขึ้นเครื่อง ไม่ต้องแสดง Passport และ Boarding Pass อีกต่อไป ทั้งนี้ เป็นการยินยอมให้ใช้ข้อมูล Biometric สำหรับการเดินทางเพียงครั้งเดียวเท่านั้น . ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า AOT มั่นใจว่าระบบ Biometric มีความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ จะได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ใช้เวลาน้อยในแต่ละจุดบริการ ทำให้ผู้โดยสารมีเวลาเพียงพอที่จะเดินเล่น เลือกซื้อสินค้าปลอดอากรและของฝาก รับประทานอาหาร หรือพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากที่ผ่านมา AOT มีการติดตั้งระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง หรือ CUPPS (Common Use Passenger Processing System) ที่สนับสนุนการให้บริการทั้งหมด 5 ระบบ . ได้แก่ 1. เครื่อง CUTE (เครื่องตรวจบัตรโดยสารซึ่งใช้งานโดยเจ้าหน้าที่สายการบิน) 2. เครื่อง CUSS (เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ) 3. เครื่อง CUBD เครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ 4. ระบบ PVS (Passenger Validation System) สำหรับตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร และ 5. ระบบ SBG (Self-Boarding Gate) หรือระบบประตูทางออกขึ้นเครื่อง . โดยทั้ง 5 ระบบดังกล่าวติดตั้งเพื่อรองรับระบบ Biometric ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อระบบทั้งหมด 6 ระบบมีการใช้งานและเชื่อมต่อกันอย่างครอบคลุม จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายอย่างสมบูรณ์ . ดร.กีรติ กล่าวว่า ในส่วนของปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) มีผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 119.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 72.67 ล้านคน เพิ่มขึ้น 34.82% และผู้โดยสารภายในประเทศ 46.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.01% ขณะที่มีเที่ยวบินรวม 732,690 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 14.5% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 416,190 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 29.63% และเที่ยวบินภายในประเทศ 316,500 เที่ยวบิน ลดลง 0.73% . โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสาร 60 ล้านคน เพิ่มขึ้น 24.04% และมีเที่ยวบิน 346,680 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 17.88% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง มีผู้โดยสาร 29.15 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.25% และมีเที่ยวบิน 197,250 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 11.47% ด้านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีผู้โดยสาร 8.82 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.14% และมีเที่ยวบิน 57,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.68% สำหรับท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีผู้โดยสาร 1.9 ล้านคน ลดลง 1.96% และมีเที่ยวบิน 12,260 เที่ยวบิน ลดลง 3.37% . ขณะที่ท่าอากาศยานภูเก็ต มีผู้โดยสาร 16.40 ล้านคน เพิ่มขึ้น 25.94% และมีเที่ยวบิน 98,710 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 19.97% และท่าอากาศยานหาดใหญ่ มีผู้โดยสาร 3.03 ล้านคน ลดลง 5.14% และมีเที่ยวบิน 19,730 เที่ยวบิน ลดลง 5.84% ทั้งนี้ มีผู้โดยสารแยกตามสัญชาติ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, อินเดีย, เกาหลีใต้, รัสเซีย และญี่ปุ่น . ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลการจัดสรรตารางบินฤดูหนาว 2024/2025 (W2024/2025) ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT มีเที่ยวบินได้รับการจัดสรรเวลารวม 370,239 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากฤดูหนาวในปีที่ผ่านมา (W2023/2024) 22.1% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 222,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 33.1% เที่ยวบินภายในประเทศ 147,459 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.5% ทั้งนี้ มีแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งระหว่างประเทศและในประเทศเพิ่มขึ้น 23% และเส้นทางระหว่างประเทศที่มีผู้โดยสารเดินทางเข้าประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, มาเลเซีย, อินเดีย, สิงคโปร์ และฮ่องกง . สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2568 (ตุลาคม 2567 - กันยายน 2568) AOT คาดว่าจะผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 129.97 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศประมาณ 78.61 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.17% และผู้โดยสารภายในประเทศประมาณ 51.36 คน เพิ่มขึ้น 10.18% ขณะที่คาดว่าจะมีเที่ยวบินรวมประมาณ 808,280 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 10.32% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศประมาณ 453,750 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.02% และเที่ยวบินภายในประเทศประมาณ 354,530 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 12.02% . โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 64.44 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7.40% และมีเที่ยวบินประมาณ 376,820 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.69% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารประมาณ 33.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.91% และมีเที่ยวบินประมาณ 223,200 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 13.00% . #สนามบิน #TheStandardNews
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 431 มุมมอง 0 รีวิว
  • สยามพรีเมียมเอาท์เล็ต จากกรุงเทพฯ สู่ภูเก็ต

    หลังจากเปิดให้บริการมานานกว่า 4 ปี ในที่สุด สยามพิวรรธน์ ไซม่อน (Siam Piwat Simon) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างสยามพิวรรธน์ กับไซม่อน บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศขยายการลงทุนศูนย์การค้าสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต (Siam Premium Outlet) แห่งที่ 2 ที่จังหวัดภูเก็ต แม้จะล่าช้าจากเดิมที่เคยประกาศเมื่อปี 2561 ว่าตั้งเป้า 3 ปี เปิด 3 แห่ง ในกรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคใต้ ใช้งบลงทุน 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และเศรษฐกิจซบเซา

    แม้จะยังไม่เปิดเผยทำเลว่า สยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ส่วนใด นอกจากระบุเพียงตั้งอยู่ใจกลางจังหวัดภูเก็ต แต่ได้ตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการในปี 2569 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า ท่ามกลางการแข่งขันของจำนวนห้างค้าปลีกที่มีมากถึง 14 แห่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ตอีก 19 แห่ง รวมทั้งเป็นทำเลจุดหมายสำคัญ ที่กลุ่มผู้ประกอบการทั้งผู้เช่าเดิมในโครงการสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต กรุงเทพ และผู้เช่าใหม่จำนวนมาก ต่างแสดงความต้องการและให้ข้อเสนอแนะให้บริษัทฯ ลงทุนขยายโครงการใหม่

    จุดเด่นของภูเก็ต ถือเป็นเมืองยอดนิยมของนักท่องเที่ยวอันดับ 2 รองจากกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งใน Global Destination ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติจากทั่วโลก เดินทางเข้าสู่จังหวัดต่อปีไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคน มีท่าอากาศยานภูเก็ต รองรับผู้โดยสารได้ถึง 20 ล้านคนต่อปี ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวค่อนข้างสูง เฉลี่ย 8,355 บาทต่อคนต่อวัน รวมถึงคนไทยในพื้นที่ และชาวต่างชาติที่มาพำนักอยู่เป็นระยะเวลานาน (Expat) มีกำลังซื้อสูง และมีโรงเรียนนานาชาติมากถึง 15 แห่ง

    สำหรับการออกแบบ จะรังสรรค์ภายใต้คอนเซปต์พิเศษที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ คํานึงถึงการตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและรองรับการเติบโตของภูเก็ตอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีโครงการสนามบินนานาชาติอันดามัน จ.พังงา ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

    สำหรับศูนย์การค้าสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตั้งอยู่ริมถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 ประกอบด้วยร้านค้ากว่า 300 ร้าน ทั้งร้านค้าลักชัวรี่แบรนด์ แบรนด์ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล และแบรนด์ไทยต่างๆ ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผลประกอบการในปี 2566 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้เข้าใช้บริการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเช่าพื้นที่ของโครงการเต็ม 100%

    #Newskit #SiamPiwat #SiamPremiumOutletsPhuket
    สยามพรีเมียมเอาท์เล็ต จากกรุงเทพฯ สู่ภูเก็ต หลังจากเปิดให้บริการมานานกว่า 4 ปี ในที่สุด สยามพิวรรธน์ ไซม่อน (Siam Piwat Simon) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างสยามพิวรรธน์ กับไซม่อน บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศขยายการลงทุนศูนย์การค้าสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต (Siam Premium Outlet) แห่งที่ 2 ที่จังหวัดภูเก็ต แม้จะล่าช้าจากเดิมที่เคยประกาศเมื่อปี 2561 ว่าตั้งเป้า 3 ปี เปิด 3 แห่ง ในกรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคใต้ ใช้งบลงทุน 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และเศรษฐกิจซบเซา แม้จะยังไม่เปิดเผยทำเลว่า สยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ส่วนใด นอกจากระบุเพียงตั้งอยู่ใจกลางจังหวัดภูเก็ต แต่ได้ตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการในปี 2569 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า ท่ามกลางการแข่งขันของจำนวนห้างค้าปลีกที่มีมากถึง 14 แห่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ตอีก 19 แห่ง รวมทั้งเป็นทำเลจุดหมายสำคัญ ที่กลุ่มผู้ประกอบการทั้งผู้เช่าเดิมในโครงการสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต กรุงเทพ และผู้เช่าใหม่จำนวนมาก ต่างแสดงความต้องการและให้ข้อเสนอแนะให้บริษัทฯ ลงทุนขยายโครงการใหม่ จุดเด่นของภูเก็ต ถือเป็นเมืองยอดนิยมของนักท่องเที่ยวอันดับ 2 รองจากกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งใน Global Destination ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติจากทั่วโลก เดินทางเข้าสู่จังหวัดต่อปีไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคน มีท่าอากาศยานภูเก็ต รองรับผู้โดยสารได้ถึง 20 ล้านคนต่อปี ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวค่อนข้างสูง เฉลี่ย 8,355 บาทต่อคนต่อวัน รวมถึงคนไทยในพื้นที่ และชาวต่างชาติที่มาพำนักอยู่เป็นระยะเวลานาน (Expat) มีกำลังซื้อสูง และมีโรงเรียนนานาชาติมากถึง 15 แห่ง สำหรับการออกแบบ จะรังสรรค์ภายใต้คอนเซปต์พิเศษที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ คํานึงถึงการตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและรองรับการเติบโตของภูเก็ตอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีโครงการสนามบินนานาชาติอันดามัน จ.พังงา ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับศูนย์การค้าสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตั้งอยู่ริมถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 ประกอบด้วยร้านค้ากว่า 300 ร้าน ทั้งร้านค้าลักชัวรี่แบรนด์ แบรนด์ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล และแบรนด์ไทยต่างๆ ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผลประกอบการในปี 2566 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้เข้าใช้บริการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเช่าพื้นที่ของโครงการเต็ม 100% #Newskit #SiamPiwat #SiamPremiumOutletsPhuket
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1232 มุมมอง 0 รีวิว
  • บอร์ด AOT หรือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีมติให้ King Power Duty Free ยุติขายสินค้าปลอดภาษีในพื้นที่ขาเข้าท่าอากาศยานของ AOT ทั้ง 5 แห่ง ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2567ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานดอนเมือง

    .
    การประกาศให้ King Power Duty Free ยุติจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ท่าอากาศยานขาเข้า เป็นไปตามมาตรการส่งเสริมประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายที่ ครม. เห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อคาดหวังว่าจะเกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนภายในประเทศ มากขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี สำหรับพื้นที่ท่าอากาศยานขาเข้าที่ King Power Duty Free เช่ากับ AOT จากท่าอากาศยานทั้ง 5 แห่งรวมพื้นที่ทั้งสิ้น 2,250.60 ตารางเมตร และส่งผลให้ AOT มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ลดลงจากการให้เช่าพื้นที่ดังกล่าว

    ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก Marketeer

    #Thaitimes
    บอร์ด AOT หรือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีมติให้ King Power Duty Free ยุติขายสินค้าปลอดภาษีในพื้นที่ขาเข้าท่าอากาศยานของ AOT ทั้ง 5 แห่ง ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2567ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานดอนเมือง . การประกาศให้ King Power Duty Free ยุติจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ท่าอากาศยานขาเข้า เป็นไปตามมาตรการส่งเสริมประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายที่ ครม. เห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อคาดหวังว่าจะเกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนภายในประเทศ มากขึ้น . อย่างไรก็ดี สำหรับพื้นที่ท่าอากาศยานขาเข้าที่ King Power Duty Free เช่ากับ AOT จากท่าอากาศยานทั้ง 5 แห่งรวมพื้นที่ทั้งสิ้น 2,250.60 ตารางเมตร และส่งผลให้ AOT มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ลดลงจากการให้เช่าพื้นที่ดังกล่าว ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก Marketeer #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 378 มุมมอง 0 รีวิว