สแกนใบหน้าขึ้นเครื่อง เขาทำกันยังไง?

เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานในสังกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometric) มาใช้ ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition เพื่อลดขั้นตอนการเช็คบัตรโดยสาร นำร่องเฉพาะผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic) ใช้งานได้ก่อน จากนั้นในวันที่ 1 ธ.ค. 2567 จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ (International)

Newskit มีโอกาสเดินทางด้วยเครื่องบินไปต่างจังหวัดเมื่อวันก่อน พบว่าที่เคาน์เตอร์เช็กอินของสายการบิน พนักงานภาคพื้นจะทำการลงทะเบียนข้อมูลจากบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ก่อนที่จะให้ผู้โดยสารถ่ายรูปกับกล้องเพียง 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้จะให้ติดสติกเกอร์สีฟ้าไว้ แต่ปัจจุบันจะเขียนคำว่า "BIO" (ไบโอ) บนบัตรโดยสารเพื่อระบุว่าผ่านการลงทะเบียนใบหน้าแล้ว ส่วนคนที่เช็กอินผ่านเครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (CUSS) หลังจากเช็กอินเสร็จแล้วจะให้สแกนบาร์โค้ด เสียบบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และสแกนใบหน้า 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ระบบจะจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและเอกสารการเดินทางเอาไว้

สิ่งที่เห็นผลจากระบบไบโอเมตริกซ์ก็คือ จุดแรก จุดตรวจเอกสารการเดินทาง จากเดิมจะแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางให้ตรงกับใบหน้า เปลี่ยนเป็นเข้าไปสแกนใบหน้าในช่อง Face Registration หรือ Biometric แล้วเดินไปยังจุดตรวจค้นได้ทันที เปรียบเหมือนเวลาขับรถขึ้นทางด่วนที่เข้าช่องเงินสดกับช่อง EASY PASS จุดที่สอง คือทางออกขึ้นเครื่อง หลังจากเรียกผู้โดยสารตามโซนแถวที่นั่งพิเศษแล้ว สามารถเข้าช่อง Face Registration หรือ Biometric เพื่อขึ้นเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางแก่เจ้าหน้าที่อีก

อย่างไรก็ตาม แม้สนามบิน ทอท.ทั้ง 6 แห่งจะติดตั้งระบบไบโอเมตริกซ์เสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังเปิดใช้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์กับทุกสนามบินของ ทอท.ยังมีบางแห่งที่บางสายการบินยังให้ใช้ระบบเดิม สำหรับข้อมูลผู้โดยสาร ได้แก่ บัตรโดยสาร บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และภาพถ่ายใบหน้าผู้โดยสาร ทอท.จะเก็บข้อมูลไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำลายข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (กฎหมาย PDPA) ซึ่งระยะยาว ทอท.จะพัฒนาระบบเพื่อจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลไว้ยาวนาน แต่มีความปลอดภัยและผ่านขั้นตอนกฎหมาย PDPA ต่อไป

#Newskit
สแกนใบหน้าขึ้นเครื่อง เขาทำกันยังไง? เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานในสังกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometric) มาใช้ ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition เพื่อลดขั้นตอนการเช็คบัตรโดยสาร นำร่องเฉพาะผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic) ใช้งานได้ก่อน จากนั้นในวันที่ 1 ธ.ค. 2567 จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ (International) Newskit มีโอกาสเดินทางด้วยเครื่องบินไปต่างจังหวัดเมื่อวันก่อน พบว่าที่เคาน์เตอร์เช็กอินของสายการบิน พนักงานภาคพื้นจะทำการลงทะเบียนข้อมูลจากบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ก่อนที่จะให้ผู้โดยสารถ่ายรูปกับกล้องเพียง 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้จะให้ติดสติกเกอร์สีฟ้าไว้ แต่ปัจจุบันจะเขียนคำว่า "BIO" (ไบโอ) บนบัตรโดยสารเพื่อระบุว่าผ่านการลงทะเบียนใบหน้าแล้ว ส่วนคนที่เช็กอินผ่านเครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (CUSS) หลังจากเช็กอินเสร็จแล้วจะให้สแกนบาร์โค้ด เสียบบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และสแกนใบหน้า 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ระบบจะจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและเอกสารการเดินทางเอาไว้ สิ่งที่เห็นผลจากระบบไบโอเมตริกซ์ก็คือ จุดแรก จุดตรวจเอกสารการเดินทาง จากเดิมจะแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางให้ตรงกับใบหน้า เปลี่ยนเป็นเข้าไปสแกนใบหน้าในช่อง Face Registration หรือ Biometric แล้วเดินไปยังจุดตรวจค้นได้ทันที เปรียบเหมือนเวลาขับรถขึ้นทางด่วนที่เข้าช่องเงินสดกับช่อง EASY PASS จุดที่สอง คือทางออกขึ้นเครื่อง หลังจากเรียกผู้โดยสารตามโซนแถวที่นั่งพิเศษแล้ว สามารถเข้าช่อง Face Registration หรือ Biometric เพื่อขึ้นเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางแก่เจ้าหน้าที่อีก อย่างไรก็ตาม แม้สนามบิน ทอท.ทั้ง 6 แห่งจะติดตั้งระบบไบโอเมตริกซ์เสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังเปิดใช้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์กับทุกสนามบินของ ทอท.ยังมีบางแห่งที่บางสายการบินยังให้ใช้ระบบเดิม สำหรับข้อมูลผู้โดยสาร ได้แก่ บัตรโดยสาร บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และภาพถ่ายใบหน้าผู้โดยสาร ทอท.จะเก็บข้อมูลไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำลายข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (กฎหมาย PDPA) ซึ่งระยะยาว ทอท.จะพัฒนาระบบเพื่อจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลไว้ยาวนาน แต่มีความปลอดภัยและผ่านขั้นตอนกฎหมาย PDPA ต่อไป #Newskit
Like
Haha
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 617 มุมมอง 0 รีวิว