• DRT มาเลเซีย ทลายข้อจำกัดรถไฟฟ้า

    แม้ว่ากรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย จะมีรถไฟฟ้าและรถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) ครอบคลุมพื้นที่หุบเขาแคลง (Klang Valley) กระจายไปยังเมืองบริวารในรัฐสลังงอร์ (Selangor) และปุตราจายา (Putrajaya) แต่มีประชาชนจำนวนน้อยใช้บริการเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากที่ตั้งสถานี อยู่ห่างไกลจากที่พักอาศัย ด้วยลักษณะทางกายภาพ เช่น ตั้งอยู่บนหุบเขา มีทางด่วนกั้นอยู่ ต้องเดินเท้านานกว่า 30 นาทีถึงสถานี ส่วนรถโดยสารประจำทางล่าช้าเนื่องจากการจราจรติดขัด

    แรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง จึงได้เริ่มให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT ซึ่งย่อมาจาก Demand Responsive Transport ภายใต้ชื่อ Rapid DRT เมื่อเดือน พ.ค.2566 เริ่มจากสายแรก สถานีรถไฟฟ้า LRT Universiti ไปยังมหาวิทยาลัยมาลายา ด้วยรถตู้ 1 คัน ค่าโดยสารโปรโมชันคนละ 1 ริงกิตต่อเที่ยว ต่อมาในเดือน ส.ค.2567 ขยายเป็น 9 เส้นทาง ด้วยรถตู้ 20 คัน และผู้ให้บริการ 3 ราย ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-23.30 น. ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวันกว่า 59% จาก 1,271 คน เป็น 2,023 คน

    สำหรับขั้นตอนการใช้บริการ เริ่มจากจองผ่านแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการ เลือกจุดขึ้นรถ จุดลงรถ และจำนวนผู้โดยสาร จากนั้นรอรถตู้มาถึง แตะบัตรโดยสารเพื่อชำระเงินแล้วขึ้นไปบนรถ ระหว่างทางรถตู้จะรับผู้โดยสารรายอื่น เมื่อถึงปลายทางก็ลงจากรถ คล้ายกับบริการเรียกรถ e-hailing มีรัศมีให้บริการประมาณ 2 กิโลเมตร

    จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้แรพิดบัสประกาศเปิดเพิ่มอีก 4 เส้นทางด้วยรถตู้ 10 คัน เชื่อมโยงรถไฟฟ้า LRT Bangsar รถไฟฟ้า MRT Putrajaya และอีก 2 เส้นทางใช้ช่องทางเดินรถประจำทาง นำผู้โดยสารจากย่านที่อยู่อาศัย มายังเส้นทางเดินรถบนถนนสายหลัก พร้อมกันนี้ยังเปลี่ยนชื่อบริการใหม่จาก Rapid DRT เป็น Rapid KL On-Demand ส่วนอีก 9 เส้นทางที่เหลือ จะปรับปรุงเส้นทาง จากปัจจุบันมีจุดจอด 203 จุด จะเพิ่มจุดจอดบนเส้นทางเป็นระยะ 50% ตามความต้องการของชุมชนโดยรอบ

    ก่อนหน้านี้นายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า บริษัทปราสรานา (Prasarana) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแรพิดบัส จะนำรถตู้อีก 300 คันมาให้บริการ DRT ซึ่งบริการนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้โดยสารไม่ต้องใช้เวลาเดินเท้าไปยังสถานีรถไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ขณะที่นายโมฮัมหมัด อาซารุดดิน มัต ซาห์ ประธานบริษัทปราสรานา กล่าวว่า มีแผนจะเปิดตัวบริการ DRT พื้นที่ใหม่ตามแนวเส้นทางรถไฟปุตราจายา กาจัง และอัมปัง รวมถึงในพื้นที่ที่ยังไม่มีรถไฟฟ้า หรือรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT

    #Newskit
    -----
    [วันนี้วันสุดท้าย] ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9

    ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 ก.พ. 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes
    DRT มาเลเซีย ทลายข้อจำกัดรถไฟฟ้า แม้ว่ากรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย จะมีรถไฟฟ้าและรถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) ครอบคลุมพื้นที่หุบเขาแคลง (Klang Valley) กระจายไปยังเมืองบริวารในรัฐสลังงอร์ (Selangor) และปุตราจายา (Putrajaya) แต่มีประชาชนจำนวนน้อยใช้บริการเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากที่ตั้งสถานี อยู่ห่างไกลจากที่พักอาศัย ด้วยลักษณะทางกายภาพ เช่น ตั้งอยู่บนหุบเขา มีทางด่วนกั้นอยู่ ต้องเดินเท้านานกว่า 30 นาทีถึงสถานี ส่วนรถโดยสารประจำทางล่าช้าเนื่องจากการจราจรติดขัด แรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง จึงได้เริ่มให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT ซึ่งย่อมาจาก Demand Responsive Transport ภายใต้ชื่อ Rapid DRT เมื่อเดือน พ.ค.2566 เริ่มจากสายแรก สถานีรถไฟฟ้า LRT Universiti ไปยังมหาวิทยาลัยมาลายา ด้วยรถตู้ 1 คัน ค่าโดยสารโปรโมชันคนละ 1 ริงกิตต่อเที่ยว ต่อมาในเดือน ส.ค.2567 ขยายเป็น 9 เส้นทาง ด้วยรถตู้ 20 คัน และผู้ให้บริการ 3 ราย ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-23.30 น. ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวันกว่า 59% จาก 1,271 คน เป็น 2,023 คน สำหรับขั้นตอนการใช้บริการ เริ่มจากจองผ่านแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการ เลือกจุดขึ้นรถ จุดลงรถ และจำนวนผู้โดยสาร จากนั้นรอรถตู้มาถึง แตะบัตรโดยสารเพื่อชำระเงินแล้วขึ้นไปบนรถ ระหว่างทางรถตู้จะรับผู้โดยสารรายอื่น เมื่อถึงปลายทางก็ลงจากรถ คล้ายกับบริการเรียกรถ e-hailing มีรัศมีให้บริการประมาณ 2 กิโลเมตร จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้แรพิดบัสประกาศเปิดเพิ่มอีก 4 เส้นทางด้วยรถตู้ 10 คัน เชื่อมโยงรถไฟฟ้า LRT Bangsar รถไฟฟ้า MRT Putrajaya และอีก 2 เส้นทางใช้ช่องทางเดินรถประจำทาง นำผู้โดยสารจากย่านที่อยู่อาศัย มายังเส้นทางเดินรถบนถนนสายหลัก พร้อมกันนี้ยังเปลี่ยนชื่อบริการใหม่จาก Rapid DRT เป็น Rapid KL On-Demand ส่วนอีก 9 เส้นทางที่เหลือ จะปรับปรุงเส้นทาง จากปัจจุบันมีจุดจอด 203 จุด จะเพิ่มจุดจอดบนเส้นทางเป็นระยะ 50% ตามความต้องการของชุมชนโดยรอบ ก่อนหน้านี้นายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า บริษัทปราสรานา (Prasarana) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแรพิดบัส จะนำรถตู้อีก 300 คันมาให้บริการ DRT ซึ่งบริการนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้โดยสารไม่ต้องใช้เวลาเดินเท้าไปยังสถานีรถไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ขณะที่นายโมฮัมหมัด อาซารุดดิน มัต ซาห์ ประธานบริษัทปราสรานา กล่าวว่า มีแผนจะเปิดตัวบริการ DRT พื้นที่ใหม่ตามแนวเส้นทางรถไฟปุตราจายา กาจัง และอัมปัง รวมถึงในพื้นที่ที่ยังไม่มีรถไฟฟ้า หรือรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT #Newskit ----- [วันนี้วันสุดท้าย] ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 ก.พ. 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 478 มุมมอง 0 รีวิว
  • 19/1/68

    ข่าวร้ายร้อนๆรับปีใหม่เรื่องต่อสัมปทานทางด่วนให้เอกชนมาแล้วจ้า

    เมื่อวานนี้ (14 มกราคม) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษ(กทพ.)ชุดใหม่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2567 พากันมา สวัสดีปีใหม่ดิฉัน และถือโอกาสพาคณะกรรมการชุดใหม่มาแนะนำตัว

    ดิฉันติดตามกรณีการล้วงใส้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งให้เอกชนรวย เรียกว่าปัจจุบันเป็นยุคสมัยแห่งการเซาะกร่อนบ่อนทำลายโครงสร้างเศรษกิจพื้นฐานของชาติและประชาชนโดยแท้

    การทางพิเศษ (กทพ.)ก็ไม่ต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆที่จะถูกจ้องล้วงไส้กอบโกยกำไรผ่องถ่ายไปให้เอกชนอย่างต่อเนื่อง กรณีของ กทพ.คือการหาเหตุต่อสัมปทานให้เอกชนอย่างไม่สิ้นสุด แทนที่หมดสัมปทานแล้วควรหยุดต่อสัมปทานให้เอกชนซึ่งได้กำไรร่ำรวยกันเกินสมควรแล้ว ให้โอกาสประชาชนได้ลดค่าทางด่วนลงไปบ้าง แต่ฝ่ายการเมืองร่วมมือกับฝ่ายบริหารจ้องต่อสัมปทานให้เอกชนหากินบนทางด่วนขูดเลือดประชาชนแบบชั่วกัลปวสาน โดยใช้อุบายแปะหน้าซองว่าต่อสัมปทานให้เอกชน แลกกับการได้ทางด่วนเพิ่มโดยไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องมีหนี้สาธารณะ พร้อมลดค่าผ่านทางให้อีก มีใครเชื่อบ้างว่าเป็นเรื่องจริง โดยไม่มีข้อมูลเบื้องหลัง !?!

    มีข่าวว่า ผู้บริหารกทพ.เร่งร้อนจะต่อสัมปทานให้เอกชนก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 บนทางพิเศษศรีรัช เรียกว่า double deck และจะลดค่าผ่านทางจาก 90 บาทให้เหลือแค่ 50 บาท นี่คือหน้าซองที่แปะป้ายไว้ให้ประชาชนเคลิบเคลิ้ม

    แต่เรื่องจริงที่อยู่เบื้องหลังที่ผู้บริโภคไม่ทราบ คือ การสร้างทางด่วนซ้อนขึ้นไปชั้นที่2 โดยบอกหน้าฉากว่าจะลดราคาให้ผู้บริโภคจาก 90 บาทเหลือ50 บาท แต่หลังฉากคือกทพ.ต้องแลกกับการแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก 10% ขยายเวลาต่อสัมปทานออกไปอีก 22 ปี ถึงพ.ศ.2601 ทั้งที่สัมปทานทางด่วนสายนี้จะหมดอายุในปี 2578 (อีก 10ปี ก็จะหมดสัมปทาน)

    ค่าก่อสร้างทางด่วนดับเบิ้ลเด็ค ลงทุนแค่ 30,000 กว่าล้าน

    แต่ถ้าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก็ต้องต่อสัมปทานให้เอกชนเพิ่มอีก 22ปี และ ให้ส่วนแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก10% คิดเป็นเงินที่ต้องแบ่งให้เอกชน เลขกลมๆก็ประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท

    ถ้า คูณ22 ปีก็ 150,000ล้านบาท !!!!

    ค่าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 มูลค่าแค่ 3 หมื่นล้านบาท แลกกับการเพิ่มค่าส่วนแบ่งรายได้ให้เอกชนอีก 1 แสนห้าหมื่นล้าน ตลอด 22ปี เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อกลุ่มทุนเจ้าของสัมปทานเดิมร่วมกับกลุ่มการเมืองที่หากินอันเดอร์เทเบิ้ลกันแน่ ?!

    ก็ต้องถามผู้บริหารกทพ. และรัฐมนตรีคมนาคมของพรรครัฐบาล ว่าจะรีบร้อนอ้างการสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก่อนสัมปทานหมดในอีก10ปี ทำเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่ ?!?

    รสนา โตสิตระกูล
    15 มกราคม 2568

    https://www.facebook.com/share/p/19hszQVEM7/?mibextid=wwXIfr
    19/1/68 ข่าวร้ายร้อนๆรับปีใหม่เรื่องต่อสัมปทานทางด่วนให้เอกชนมาแล้วจ้า เมื่อวานนี้ (14 มกราคม) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษ(กทพ.)ชุดใหม่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2567 พากันมา สวัสดีปีใหม่ดิฉัน และถือโอกาสพาคณะกรรมการชุดใหม่มาแนะนำตัว ดิฉันติดตามกรณีการล้วงใส้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งให้เอกชนรวย เรียกว่าปัจจุบันเป็นยุคสมัยแห่งการเซาะกร่อนบ่อนทำลายโครงสร้างเศรษกิจพื้นฐานของชาติและประชาชนโดยแท้ การทางพิเศษ (กทพ.)ก็ไม่ต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆที่จะถูกจ้องล้วงไส้กอบโกยกำไรผ่องถ่ายไปให้เอกชนอย่างต่อเนื่อง กรณีของ กทพ.คือการหาเหตุต่อสัมปทานให้เอกชนอย่างไม่สิ้นสุด แทนที่หมดสัมปทานแล้วควรหยุดต่อสัมปทานให้เอกชนซึ่งได้กำไรร่ำรวยกันเกินสมควรแล้ว ให้โอกาสประชาชนได้ลดค่าทางด่วนลงไปบ้าง แต่ฝ่ายการเมืองร่วมมือกับฝ่ายบริหารจ้องต่อสัมปทานให้เอกชนหากินบนทางด่วนขูดเลือดประชาชนแบบชั่วกัลปวสาน โดยใช้อุบายแปะหน้าซองว่าต่อสัมปทานให้เอกชน แลกกับการได้ทางด่วนเพิ่มโดยไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องมีหนี้สาธารณะ พร้อมลดค่าผ่านทางให้อีก มีใครเชื่อบ้างว่าเป็นเรื่องจริง โดยไม่มีข้อมูลเบื้องหลัง !?! มีข่าวว่า ผู้บริหารกทพ.เร่งร้อนจะต่อสัมปทานให้เอกชนก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 บนทางพิเศษศรีรัช เรียกว่า double deck และจะลดค่าผ่านทางจาก 90 บาทให้เหลือแค่ 50 บาท นี่คือหน้าซองที่แปะป้ายไว้ให้ประชาชนเคลิบเคลิ้ม แต่เรื่องจริงที่อยู่เบื้องหลังที่ผู้บริโภคไม่ทราบ คือ การสร้างทางด่วนซ้อนขึ้นไปชั้นที่2 โดยบอกหน้าฉากว่าจะลดราคาให้ผู้บริโภคจาก 90 บาทเหลือ50 บาท แต่หลังฉากคือกทพ.ต้องแลกกับการแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก 10% ขยายเวลาต่อสัมปทานออกไปอีก 22 ปี ถึงพ.ศ.2601 ทั้งที่สัมปทานทางด่วนสายนี้จะหมดอายุในปี 2578 (อีก 10ปี ก็จะหมดสัมปทาน) ค่าก่อสร้างทางด่วนดับเบิ้ลเด็ค ลงทุนแค่ 30,000 กว่าล้าน แต่ถ้าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก็ต้องต่อสัมปทานให้เอกชนเพิ่มอีก 22ปี และ ให้ส่วนแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก10% คิดเป็นเงินที่ต้องแบ่งให้เอกชน เลขกลมๆก็ประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท ถ้า คูณ22 ปีก็ 150,000ล้านบาท !!!! ค่าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 มูลค่าแค่ 3 หมื่นล้านบาท แลกกับการเพิ่มค่าส่วนแบ่งรายได้ให้เอกชนอีก 1 แสนห้าหมื่นล้าน ตลอด 22ปี เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อกลุ่มทุนเจ้าของสัมปทานเดิมร่วมกับกลุ่มการเมืองที่หากินอันเดอร์เทเบิ้ลกันแน่ ?! ก็ต้องถามผู้บริหารกทพ. และรัฐมนตรีคมนาคมของพรรครัฐบาล ว่าจะรีบร้อนอ้างการสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก่อนสัมปทานหมดในอีก10ปี ทำเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่ ?!? รสนา โตสิตระกูล 15 มกราคม 2568 https://www.facebook.com/share/p/19hszQVEM7/?mibextid=wwXIfr
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 326 มุมมอง 0 รีวิว
  • Saloma Link สะพานที่มากกว่าไฟสวย

    มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) จำนวนมาก ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน บันเทิง และการศึกษาหาความรู้ แม้ไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม แต่มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ River of Life บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Masjid Jamek และสะพาน Saloma Link บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru

    กล่าวถึงสะพาน Saloma Link (ซาโลมาลิงก์) เป็นสะพานขนาดไม่ใหญ่ ยาว 69 เมตร กว้าง 3 เมตร สูง 7 เมตร ข้ามทางด่วนสาย E12 อัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ (AKLEH) และแม่น้ำแคลงที่อยู่เกาะกลาง มีทางลาดลงไปยังด้านข้างสุสานอิสลามจาลันอัมปัง แล้วออกทางแยกหน้าอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์ ย่าน KLCC เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 โดยมีบริษัท VERITAS Design Group ออกแบบโครงสร้าง ใช้งบก่อสร้าง 31 ล้านริงกิต (237 ล้านบาท)

    จุดเด่นของสะพานซาโลมาลิงก์ คือการออกแบบโครงสร้างเหล็ก โดยได้แรงบันดาลใจจากการจัดช่อดอกไม้มงคลที่เรียกว่า ซิเระ จุนจุง (Sireh Junjung) ในพิธีแต่งงานของชาวมาเลย์ ประดับด้วยกระจกและแผงไฟ LED รูปทรงเพชร ฉายแสงในรูปแบบต่างๆ หลากสีสัน ชื่อสะพานมาจาก ซาโลมา ชื่อเรียกของ ซัลมาห์ อิสมาอิล (Salmah Ismail) นักร้อง นักแสดงชื่อดังชาวสิงคโปร์-มาเลเซีย ฉายามาริลิน มอนโรแห่งเอเชีย ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2526 ด้วยวัย 48 ปี และถูกฝังอยู่ในสุสานอิสลามจาลันอัมปัง

    ก่อนจะมาเป็นสะพานที่สวยงามแห่งนี้ แต่เดิมเคยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคลง จากกัวลาลัมเปอร์ไปยังกำปุงบารู (Kampung Baru) ชุมชนที่อยู่อีกฝั่ง แต่ได้รื้อสะพานเมื่อปี 2539 เพื่อก่อสร้างทางด่วนที่ยกสูงขึ้น เสมือนเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำที่อยู่ตรงกลาง

    ในยามค่ำคืน สะพานแห่งนี้จะเปิดไฟ LED หลากสีสันอย่างสวยงาม ล้อไปกับตึกแฝดปิโตรนาสทาวเวอร์ ที่เปิดไฟส่องไสวไปทั่วตึกเช่นกัน นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปสะพานโดยเฉพาะฝั่งกำปุงบารู จะเห็นด้านหลังทั้งสะพานและตึกปิโตรนาส เป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเลเซียต้องไม่พลาด ซึ่งฝั่งกำปุงบารูจะเป็นชุมชนเก่าแก่ขนาดเล็ก มีร้านอาหารแบบสตรีทฟู้ดจำหน่าย ขึ้นลงได้จากบันไดและลิฟต์ และมีทางเดินไปถึงสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน

    สะพานแห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่ 05.00-24.00 น. โปรดปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ความระมัดระวังในการถ่ายรูป ไม่ปีนป่ายราวสะพาน และระวังสิ่งของที่ติดตัวตกจากสะพาน

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Saloma Link สะพานที่มากกว่าไฟสวย มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) จำนวนมาก ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน บันเทิง และการศึกษาหาความรู้ แม้ไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม แต่มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ River of Life บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Masjid Jamek และสะพาน Saloma Link บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru กล่าวถึงสะพาน Saloma Link (ซาโลมาลิงก์) เป็นสะพานขนาดไม่ใหญ่ ยาว 69 เมตร กว้าง 3 เมตร สูง 7 เมตร ข้ามทางด่วนสาย E12 อัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ (AKLEH) และแม่น้ำแคลงที่อยู่เกาะกลาง มีทางลาดลงไปยังด้านข้างสุสานอิสลามจาลันอัมปัง แล้วออกทางแยกหน้าอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์ ย่าน KLCC เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 โดยมีบริษัท VERITAS Design Group ออกแบบโครงสร้าง ใช้งบก่อสร้าง 31 ล้านริงกิต (237 ล้านบาท) จุดเด่นของสะพานซาโลมาลิงก์ คือการออกแบบโครงสร้างเหล็ก โดยได้แรงบันดาลใจจากการจัดช่อดอกไม้มงคลที่เรียกว่า ซิเระ จุนจุง (Sireh Junjung) ในพิธีแต่งงานของชาวมาเลย์ ประดับด้วยกระจกและแผงไฟ LED รูปทรงเพชร ฉายแสงในรูปแบบต่างๆ หลากสีสัน ชื่อสะพานมาจาก ซาโลมา ชื่อเรียกของ ซัลมาห์ อิสมาอิล (Salmah Ismail) นักร้อง นักแสดงชื่อดังชาวสิงคโปร์-มาเลเซีย ฉายามาริลิน มอนโรแห่งเอเชีย ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2526 ด้วยวัย 48 ปี และถูกฝังอยู่ในสุสานอิสลามจาลันอัมปัง ก่อนจะมาเป็นสะพานที่สวยงามแห่งนี้ แต่เดิมเคยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคลง จากกัวลาลัมเปอร์ไปยังกำปุงบารู (Kampung Baru) ชุมชนที่อยู่อีกฝั่ง แต่ได้รื้อสะพานเมื่อปี 2539 เพื่อก่อสร้างทางด่วนที่ยกสูงขึ้น เสมือนเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำที่อยู่ตรงกลาง ในยามค่ำคืน สะพานแห่งนี้จะเปิดไฟ LED หลากสีสันอย่างสวยงาม ล้อไปกับตึกแฝดปิโตรนาสทาวเวอร์ ที่เปิดไฟส่องไสวไปทั่วตึกเช่นกัน นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปสะพานโดยเฉพาะฝั่งกำปุงบารู จะเห็นด้านหลังทั้งสะพานและตึกปิโตรนาส เป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเลเซียต้องไม่พลาด ซึ่งฝั่งกำปุงบารูจะเป็นชุมชนเก่าแก่ขนาดเล็ก มีร้านอาหารแบบสตรีทฟู้ดจำหน่าย ขึ้นลงได้จากบันไดและลิฟต์ และมีทางเดินไปถึงสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน สะพานแห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่ 05.00-24.00 น. โปรดปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ความระมัดระวังในการถ่ายรูป ไม่ปีนป่ายราวสะพาน และระวังสิ่งของที่ติดตัวตกจากสะพาน #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    Wow
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 722 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🚌 ขสมก. แจ้งประชาชนวางแผนการเดินทาง และรถโดยสาร 12 เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากการ "ปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี" (ถนนเพชรบุรี ฝั่งขาออก) เพื่อดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าราชเทวี (OR08) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2571 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป

    📌 รถโดยสาร ขสมก. ที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 12 เส้นทาง ดังนี้
    สาย 23E (3-4E) : สมุทรปราการ - เทเวศร์ (ทางด่วน)
    สาย 23 (3-5) : ปู่เจ้าสมิงพราย - เทเวศร์
    สาย 50 (2-7) : ท่าเรือพระราม 7 - สถานีรถไฟฟ้าลุมพินี
    สาย 59 (เดิม) : รังสิต - สนามหลวง
    สาย 60 (1-38) : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย
    สาย 79 (4-42) : บรมราชชนนี - ราชประสงค์
    สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่
    สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่ (ทางด่วน)
    สาย 1-7E : รังสิต - สนามหลวง (ทางด่วน)
    สาย 1-80E : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (ทางด่วน)
    สาย 2-2 : ท่าเรือปากเกร็ด - ท่าเรือสี่พระยา
    สาย 4-35 : คลองสาน - เทเวศร์ (วงกลม)
    📍ทั้งนี้จากการปิดช่องจราจรดังกล่าวอาจมีปริมาณรถสะสมเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ประชาชนวางแผนการเดินทาง และ สามารถสอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน Call Center โทร. 1348 ได้ทุกวัน ในเวลา 05.00 – 22.00 น.

    อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : t.ly/XjIIL
    🚌 ขสมก. แจ้งประชาชนวางแผนการเดินทาง และรถโดยสาร 12 เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากการ "ปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี" (ถนนเพชรบุรี ฝั่งขาออก) เพื่อดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าราชเทวี (OR08) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2571 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป 📌 รถโดยสาร ขสมก. ที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 12 เส้นทาง ดังนี้ สาย 23E (3-4E) : สมุทรปราการ - เทเวศร์ (ทางด่วน) สาย 23 (3-5) : ปู่เจ้าสมิงพราย - เทเวศร์ สาย 50 (2-7) : ท่าเรือพระราม 7 - สถานีรถไฟฟ้าลุมพินี สาย 59 (เดิม) : รังสิต - สนามหลวง สาย 60 (1-38) : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย สาย 79 (4-42) : บรมราชชนนี - ราชประสงค์ สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่ สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่ (ทางด่วน) สาย 1-7E : รังสิต - สนามหลวง (ทางด่วน) สาย 1-80E : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (ทางด่วน) สาย 2-2 : ท่าเรือปากเกร็ด - ท่าเรือสี่พระยา สาย 4-35 : คลองสาน - เทเวศร์ (วงกลม) 📍ทั้งนี้จากการปิดช่องจราจรดังกล่าวอาจมีปริมาณรถสะสมเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ประชาชนวางแผนการเดินทาง และ สามารถสอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน Call Center โทร. 1348 ได้ทุกวัน ในเวลา 05.00 – 22.00 น. อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : t.ly/XjIIL
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 477 มุมมอง 0 รีวิว
  • นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง

    รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ

    พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน

    จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล

    ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574

    ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568

    นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas)

    อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น

    #Newskit

    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574 ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568 นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 690 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สุริยะ” เปิดโปรเจกต์ลงทุน ”คมนาคม” ทั้งรถไฟ -ทางด่วน-มอเตอร์เวย์ ดันชง ครม.ต้นปี 68 มูลค่ารวม 6 แสนล้านบาท พร้อมสุด "สายสีแดง มธ.รังสิต” ลุ้นสภาพัฒน์ฯ เร่งเคาะ ทางคู่เฟส 2 อีก 6 เส้นทาง และไฮสปีดไทย-จีน ”โคราช-หนองคาย”

    นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2568 กระทรวงคมนาคม เตรียมพร้อมโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่คาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในช่วงต้นปี ได้แก่ โครงการลงทุนระบบราง โดยที่มีความพร้อมที่สุดคือ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง รังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงินลงทุน 6,473.98 ล้านบาท เสนอครม.เพื่อขอทบทวนมติครม.และปรับกรอบวงเงิน ซึ่งผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครบแล้ว และอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. มาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567

    การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและขออนุมัติรวมโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน -ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย -กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน -ศิริราช เข้าด้วยกัน เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นสัญญาเดียว ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ15,176.21 ล้านบาท

    ขณะนี้ อยู่ระหว่าง การพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ (สศช.)

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/business/detail/9680000000022

    #MGROnline #สุริยะ #คมนาคม #รถไฟ #ทางด่วน #มอเตอร์เวย์
    "สุริยะ” เปิดโปรเจกต์ลงทุน ”คมนาคม” ทั้งรถไฟ -ทางด่วน-มอเตอร์เวย์ ดันชง ครม.ต้นปี 68 มูลค่ารวม 6 แสนล้านบาท พร้อมสุด "สายสีแดง มธ.รังสิต” ลุ้นสภาพัฒน์ฯ เร่งเคาะ ทางคู่เฟส 2 อีก 6 เส้นทาง และไฮสปีดไทย-จีน ”โคราช-หนองคาย” • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2568 กระทรวงคมนาคม เตรียมพร้อมโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่คาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในช่วงต้นปี ได้แก่ โครงการลงทุนระบบราง โดยที่มีความพร้อมที่สุดคือ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง รังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงินลงทุน 6,473.98 ล้านบาท เสนอครม.เพื่อขอทบทวนมติครม.และปรับกรอบวงเงิน ซึ่งผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครบแล้ว และอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. มาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567 • การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและขออนุมัติรวมโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน -ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย -กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน -ศิริราช เข้าด้วยกัน เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นสัญญาเดียว ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ15,176.21 ล้านบาท • ขณะนี้ อยู่ระหว่าง การพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ (สศช.) • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000000022 • #MGROnline #สุริยะ #คมนาคม #รถไฟ #ทางด่วน #มอเตอร์เวย์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 469 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5

    แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท

    สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน

    ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย

    จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572

    #Newskit
    ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5 แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 657 มุมมอง 0 รีวิว
  • ล้างตำนานสาย 8 คว้าผู้โดยสาร-รายได้สูงสุด

    หลังให้บริการรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 2 ปี ในที่สุดรถเมล์เส้นทางปฎิรูปสาย 2-38 หรือสาย 8 แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ ของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด กลายเป็นเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารและรายได้สูงสุดจากทั้งหมด 124 เส้นทาง โดยมีผู้โดยสารสูงสุด 20,500 คนต่อวัน รายได้สูงสุด 358,328 บาทต่อวัน ล้างอาถรรพ์ตำนานรถเมล์นรก ที่ขึ้นชื่อว่าซิ่งปาดซ้ายปาดขวา มารยาทแย่ อุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม

    รถเมล์สาย 8 เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดพร้าว ถึงห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จอดที่เกาะราชวิถี (เที่ยวกลับจอดที่เกาะพหลโยธิน) ไปตามถนนราชวิถี เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระรามที่ 6 เลี้ยวขวาแยกศรีอยุธยา ข้ามทางรถไฟ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก ถึงแยกยมราชตรงไปตามถนนหลานหลวง เลี้ยวซ้ายไปตามถนนจักรพรรดิพงษ์ เลี้ยวขวาที่วัดบพิตรพิมุข แล้วชิดซ้ายลอดใต้สะพาน สิ้นสุดที่ท่าน้ำสะพานพุทธ

    ให้บริการกับคนกรุงเทพฯ กว่า 90 ปี โดยมีบริษัท นายเลิศ จำกัด เป็นผู้ประกอบการรายแรก ก่อนที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้สัมปทาน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยบัสขนส่ง บริษัทกลุ่ม 39 และบริษัททรัพย์ 888 เมื่อกรมการขนส่งทางบกเข้ามากำกับดูแลและปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด จึงชนะการประมูลไป แม้ผู้ประกอบการเดิมยังแอบให้บริการเป็นรถเถื่อน แต่กรมขนส่งฯ ก็สั่งหยุดเดินรถตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2567 จึงทำให้ไทยสมายล์บัสเดินรถแต่เพียงผู้เดียว

    ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ สาย 4-25L (สาย 147L) วงกลม การเคหะธนบุรี-บางแค ผู้โดยสาร 14,000 คน รายได้ 250,421 บาท อันดับ 3 สาย 4-46 (สาย 84) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ผู้โดยสาร 13,000 คน รายได้ 240,000 บาท อันดับ 4 สาย 4-23E (สาย 140) ทางด่วน แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้โดยสาร 12,000 คน รายได้ 237,191 บาท อันดับ 5 สาย 1-18E (สาย 504) ทางด่วน รังสิต-บางรัก ผู้โดยสาร 9,000 คน รายได้ 177,159 บาท

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยสมายล์บัส เปิดเผยว่า ในปี 2568 จะเพิ่มรถโดยสารอีก 350 คัน จากทั้งหมด 1,650 คัน และติดตั้งระบบติดตามการปล่อยรถคล้ายหอบังคับการบิน ส่วนนายวรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า ในปี 2568 เตรียมรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นำร่องแอปพลิเคชันถุงเงิน วางแผนรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต VISA และ Mastercard รวมทั้ง China T-Union ของจีน

    #Newskit
    ล้างตำนานสาย 8 คว้าผู้โดยสาร-รายได้สูงสุด หลังให้บริการรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 2 ปี ในที่สุดรถเมล์เส้นทางปฎิรูปสาย 2-38 หรือสาย 8 แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ ของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด กลายเป็นเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารและรายได้สูงสุดจากทั้งหมด 124 เส้นทาง โดยมีผู้โดยสารสูงสุด 20,500 คนต่อวัน รายได้สูงสุด 358,328 บาทต่อวัน ล้างอาถรรพ์ตำนานรถเมล์นรก ที่ขึ้นชื่อว่าซิ่งปาดซ้ายปาดขวา มารยาทแย่ อุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม รถเมล์สาย 8 เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดพร้าว ถึงห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จอดที่เกาะราชวิถี (เที่ยวกลับจอดที่เกาะพหลโยธิน) ไปตามถนนราชวิถี เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระรามที่ 6 เลี้ยวขวาแยกศรีอยุธยา ข้ามทางรถไฟ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก ถึงแยกยมราชตรงไปตามถนนหลานหลวง เลี้ยวซ้ายไปตามถนนจักรพรรดิพงษ์ เลี้ยวขวาที่วัดบพิตรพิมุข แล้วชิดซ้ายลอดใต้สะพาน สิ้นสุดที่ท่าน้ำสะพานพุทธ ให้บริการกับคนกรุงเทพฯ กว่า 90 ปี โดยมีบริษัท นายเลิศ จำกัด เป็นผู้ประกอบการรายแรก ก่อนที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้สัมปทาน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยบัสขนส่ง บริษัทกลุ่ม 39 และบริษัททรัพย์ 888 เมื่อกรมการขนส่งทางบกเข้ามากำกับดูแลและปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด จึงชนะการประมูลไป แม้ผู้ประกอบการเดิมยังแอบให้บริการเป็นรถเถื่อน แต่กรมขนส่งฯ ก็สั่งหยุดเดินรถตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2567 จึงทำให้ไทยสมายล์บัสเดินรถแต่เพียงผู้เดียว ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ สาย 4-25L (สาย 147L) วงกลม การเคหะธนบุรี-บางแค ผู้โดยสาร 14,000 คน รายได้ 250,421 บาท อันดับ 3 สาย 4-46 (สาย 84) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ผู้โดยสาร 13,000 คน รายได้ 240,000 บาท อันดับ 4 สาย 4-23E (สาย 140) ทางด่วน แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้โดยสาร 12,000 คน รายได้ 237,191 บาท อันดับ 5 สาย 1-18E (สาย 504) ทางด่วน รังสิต-บางรัก ผู้โดยสาร 9,000 คน รายได้ 177,159 บาท น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยสมายล์บัส เปิดเผยว่า ในปี 2568 จะเพิ่มรถโดยสารอีก 350 คัน จากทั้งหมด 1,650 คัน และติดตั้งระบบติดตามการปล่อยรถคล้ายหอบังคับการบิน ส่วนนายวรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า ในปี 2568 เตรียมรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นำร่องแอปพลิเคชันถุงเงิน วางแผนรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต VISA และ Mastercard รวมทั้ง China T-Union ของจีน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 598 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม

    วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร

    ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง"

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270

    #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม • วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร • ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง" • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270 • #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 521 มุมมอง 0 รีวิว
  • BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น

    เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง

    และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582

    มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน

    ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

    บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า

    อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน

    #Newskit
    BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582 มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 602 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ที่ดิน 102 ตรว.(+ 3 ตรว.) พร้อมบ้านไม้เก่า 1 หลัง เขตกรุงเทพฯชั้นใน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี ใกล้ BTS และ MRT
    - เลขที่ 39 ซอยสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 12 ถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กทม. ห่างจากจุดตัดถนนกรุงธนบุรี ตรงแยกตากสินถึงที่ดินระยะทาง 370 เมตร
    - ขายราคา 280,000 บาท/ตรว. 102 ตรว.+ รวมเป็นเงิน 28,560,000 บาท ค่าโอนฝ่ายละครึ่ง
    ********************************
    #ข้อมูลจำเพาะของที่ดิน
    - ผังเมืองสีน้ำตาล ย.9-22 (ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก)
    - หน้ากว้าง 20 เมตร ลึก 21 เมตร ติดถนนซอยตากสิน 12 ห่างจากถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 120 เมตร
    - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่ ประมาณ 750 เมตร
    - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS โพธิ์นิมิตร ประมาณ 720 เมตร
    - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT สำเหร่ (ตรงข้ามไปรษณีย์สำเหร่ แล้วสร็จปี 2571) ประมาณ 500 เมตร
    - เดินทางสะดวกด้วยรถโดยสาร รถรับจ้างสาธารณะ และ รถส่วนบุคคล ใกล้ด่านทางด่วน พระราม 3 พระราม 2 และ ด่านทางด่วน ถ.สีลม ถ.สาทร และ ถ.จันทน์
    - ใกล้ ถ.กรุงธนบุรี ถ.รัชดาภิเษก ถ.เจริญนคร ถ.ประชาธิปก ถ.สาทร- บางรัก
    - ใกล้ เดอะมอลล์ท่าพระ ห้างฯบิ๊กซีดาวคะนอง ไอคอนสยาม ท่าเรือคลองสาน ท่าเป๊ปซี่
    - ใกล้ รพ.สมิติเวช ธนบุรี รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า รพ.กรุงเทพคริสเตียน
    - สิ่งแวดล้อมดี บรรยากาศเงียบสงบเป็นส่วนตัว เพราะอยู่ในซอยไม่ลึกมากคนและยานพาหนะไม่พลุกพล่าน ความปลอดภัยสูง
    - ที่ดินเหมาะสำหรับปลูกบ้านพักอาศัย สร้างโฮสเทลสำหรับนักท่องเที่ยว B2B ทำโฮมออฟฟิศ ทาวน์เฮ้าส์ คลังสินค้าในเมือง และ อื่นๆ
    ********************************
    สนใจถามรายละเอียดเพิ่มเติม
    - คุณกรณ์ 083 061 4654
    - m.me/SBJ.kornkampee
    - พิกัดแปลงที่ดิน : 13.718644046460595, 100.48887519999998
    >> https://goo.gl/maps/SD7eShYWTXAfvgyw6

    #ที่ดินทำเลทอง #ใกล้ย่านธุรกิจ #โรงเรียน #โรงพยาบาล #โรงแรม #แหล่งท่องเที่ยว #ตลาดสด #สถานที่ราชการหลายแห่ง #เดินทางสะดวก #รถไฟฟ้า #ถนนตากสิน #BTS #MRT #เฉลิมมหานคร #วงเวียนใหญ่ #สำเหร
    #ที่ดิน 102 ตรว.(+ 3 ตรว.) พร้อมบ้านไม้เก่า 1 หลัง เขตกรุงเทพฯชั้นใน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี ใกล้ BTS และ MRT - เลขที่ 39 ซอยสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 12 ถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กทม. ห่างจากจุดตัดถนนกรุงธนบุรี ตรงแยกตากสินถึงที่ดินระยะทาง 370 เมตร - ขายราคา 280,000 บาท/ตรว. 102 ตรว.+ รวมเป็นเงิน 28,560,000 บาท ค่าโอนฝ่ายละครึ่ง ******************************** #ข้อมูลจำเพาะของที่ดิน - ผังเมืองสีน้ำตาล ย.9-22 (ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) - หน้ากว้าง 20 เมตร ลึก 21 เมตร ติดถนนซอยตากสิน 12 ห่างจากถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 120 เมตร - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่ ประมาณ 750 เมตร - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS โพธิ์นิมิตร ประมาณ 720 เมตร - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT สำเหร่ (ตรงข้ามไปรษณีย์สำเหร่ แล้วสร็จปี 2571) ประมาณ 500 เมตร - เดินทางสะดวกด้วยรถโดยสาร รถรับจ้างสาธารณะ และ รถส่วนบุคคล ใกล้ด่านทางด่วน พระราม 3 พระราม 2 และ ด่านทางด่วน ถ.สีลม ถ.สาทร และ ถ.จันทน์ - ใกล้ ถ.กรุงธนบุรี ถ.รัชดาภิเษก ถ.เจริญนคร ถ.ประชาธิปก ถ.สาทร- บางรัก - ใกล้ เดอะมอลล์ท่าพระ ห้างฯบิ๊กซีดาวคะนอง ไอคอนสยาม ท่าเรือคลองสาน ท่าเป๊ปซี่ - ใกล้ รพ.สมิติเวช ธนบุรี รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า รพ.กรุงเทพคริสเตียน - สิ่งแวดล้อมดี บรรยากาศเงียบสงบเป็นส่วนตัว เพราะอยู่ในซอยไม่ลึกมากคนและยานพาหนะไม่พลุกพล่าน ความปลอดภัยสูง - ที่ดินเหมาะสำหรับปลูกบ้านพักอาศัย สร้างโฮสเทลสำหรับนักท่องเที่ยว B2B ทำโฮมออฟฟิศ ทาวน์เฮ้าส์ คลังสินค้าในเมือง และ อื่นๆ ******************************** สนใจถามรายละเอียดเพิ่มเติม - คุณกรณ์ 083 061 4654 - m.me/SBJ.kornkampee - พิกัดแปลงที่ดิน : 13.718644046460595, 100.48887519999998 >> https://goo.gl/maps/SD7eShYWTXAfvgyw6 #ที่ดินทำเลทอง #ใกล้ย่านธุรกิจ #โรงเรียน #โรงพยาบาล #โรงแรม #แหล่งท่องเที่ยว #ตลาดสด #สถานที่ราชการหลายแห่ง #เดินทางสะดวก #รถไฟฟ้า #ถนนตากสิน #BTS #MRT #เฉลิมมหานคร #วงเวียนใหญ่ #สำเหร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 748 มุมมอง 0 รีวิว
  • น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย

    สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

    นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

    แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล

    นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง

    #Newskit
    น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1122 มุมมอง 0 รีวิว
  • “คมนาคม”ลุ้นครม.โค้งสุดท้ายปลายปี ธ.ค. 67 นี้ ดัน 4 โปรเจ็กต์ 1.09 แสนล้านบาท จ่อคิวอนุมัติลงทุน”มอเตอร์เวย์”บางขุนเทียน-บางบัวทอง, ต่อขยายโทลล์เวย์,สีแดง มธ.รังสิต ส่วนต้นปี 68 ชงอีก 9 โครงการ”ทางด่วน -มอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่ -ไฮสปีดเฟส 2 “ต่อเนื่อง

    นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 ได้มีการติดตามโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม ที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งขณะนี้มีโครงการที่ผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. แล้ว จำนวน 5 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากครม.ภายในเดือนธ.ค. 2567

    ได้แก่ โครงการทางบก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุน 56,035 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost ที่เอกชนลงทุนงานโยธาด้วยเป็นเส้นทางแรก

    โครงการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,358 ล้านบาท โดยจะดำเนินการในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยเอกชนลงทุนในส่วนก่อสร้างงานโยธาและงาน O&M ทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมได้เคยดึงเรื่องกลับมาเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการและรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เช่น ให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการลงทุนก่อสร้างเองได้ แต่พบว่า รูปแบบ PPP Gross Cost เหมาะสมที่สุด จึงเสนอไปครม.อีกครั้ง

    #MGROnline #คมนาคม
    “คมนาคม”ลุ้นครม.โค้งสุดท้ายปลายปี ธ.ค. 67 นี้ ดัน 4 โปรเจ็กต์ 1.09 แสนล้านบาท จ่อคิวอนุมัติลงทุน”มอเตอร์เวย์”บางขุนเทียน-บางบัวทอง, ต่อขยายโทลล์เวย์,สีแดง มธ.รังสิต ส่วนต้นปี 68 ชงอีก 9 โครงการ”ทางด่วน -มอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่ -ไฮสปีดเฟส 2 “ต่อเนื่อง • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 ได้มีการติดตามโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม ที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งขณะนี้มีโครงการที่ผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. แล้ว จำนวน 5 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากครม.ภายในเดือนธ.ค. 2567 • ได้แก่ โครงการทางบก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุน 56,035 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost ที่เอกชนลงทุนงานโยธาด้วยเป็นเส้นทางแรก • โครงการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,358 ล้านบาท โดยจะดำเนินการในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยเอกชนลงทุนในส่วนก่อสร้างงานโยธาและงาน O&M ทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมได้เคยดึงเรื่องกลับมาเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการและรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เช่น ให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการลงทุนก่อสร้างเองได้ แต่พบว่า รูปแบบ PPP Gross Cost เหมาะสมที่สุด จึงเสนอไปครม.อีกครั้ง • #MGROnline #คมนาคม
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 504 มุมมอง 0 รีวิว
  • สแกนใบหน้าขึ้นเครื่อง เขาทำกันยังไง?

    เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานในสังกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometric) มาใช้ ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition เพื่อลดขั้นตอนการเช็คบัตรโดยสาร นำร่องเฉพาะผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic) ใช้งานได้ก่อน จากนั้นในวันที่ 1 ธ.ค. 2567 จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ (International)

    Newskit มีโอกาสเดินทางด้วยเครื่องบินไปต่างจังหวัดเมื่อวันก่อน พบว่าที่เคาน์เตอร์เช็กอินของสายการบิน พนักงานภาคพื้นจะทำการลงทะเบียนข้อมูลจากบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ก่อนที่จะให้ผู้โดยสารถ่ายรูปกับกล้องเพียง 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้จะให้ติดสติกเกอร์สีฟ้าไว้ แต่ปัจจุบันจะเขียนคำว่า "BIO" (ไบโอ) บนบัตรโดยสารเพื่อระบุว่าผ่านการลงทะเบียนใบหน้าแล้ว ส่วนคนที่เช็กอินผ่านเครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (CUSS) หลังจากเช็กอินเสร็จแล้วจะให้สแกนบาร์โค้ด เสียบบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และสแกนใบหน้า 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ระบบจะจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและเอกสารการเดินทางเอาไว้

    สิ่งที่เห็นผลจากระบบไบโอเมตริกซ์ก็คือ จุดแรก จุดตรวจเอกสารการเดินทาง จากเดิมจะแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางให้ตรงกับใบหน้า เปลี่ยนเป็นเข้าไปสแกนใบหน้าในช่อง Face Registration หรือ Biometric แล้วเดินไปยังจุดตรวจค้นได้ทันที เปรียบเหมือนเวลาขับรถขึ้นทางด่วนที่เข้าช่องเงินสดกับช่อง EASY PASS จุดที่สอง คือทางออกขึ้นเครื่อง หลังจากเรียกผู้โดยสารตามโซนแถวที่นั่งพิเศษแล้ว สามารถเข้าช่อง Face Registration หรือ Biometric เพื่อขึ้นเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางแก่เจ้าหน้าที่อีก

    อย่างไรก็ตาม แม้สนามบิน ทอท.ทั้ง 6 แห่งจะติดตั้งระบบไบโอเมตริกซ์เสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังเปิดใช้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์กับทุกสนามบินของ ทอท.ยังมีบางแห่งที่บางสายการบินยังให้ใช้ระบบเดิม สำหรับข้อมูลผู้โดยสาร ได้แก่ บัตรโดยสาร บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และภาพถ่ายใบหน้าผู้โดยสาร ทอท.จะเก็บข้อมูลไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำลายข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (กฎหมาย PDPA) ซึ่งระยะยาว ทอท.จะพัฒนาระบบเพื่อจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลไว้ยาวนาน แต่มีความปลอดภัยและผ่านขั้นตอนกฎหมาย PDPA ต่อไป

    #Newskit
    สแกนใบหน้าขึ้นเครื่อง เขาทำกันยังไง? เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานในสังกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometric) มาใช้ ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition เพื่อลดขั้นตอนการเช็คบัตรโดยสาร นำร่องเฉพาะผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic) ใช้งานได้ก่อน จากนั้นในวันที่ 1 ธ.ค. 2567 จะพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ (International) Newskit มีโอกาสเดินทางด้วยเครื่องบินไปต่างจังหวัดเมื่อวันก่อน พบว่าที่เคาน์เตอร์เช็กอินของสายการบิน พนักงานภาคพื้นจะทำการลงทะเบียนข้อมูลจากบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ก่อนที่จะให้ผู้โดยสารถ่ายรูปกับกล้องเพียง 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้จะให้ติดสติกเกอร์สีฟ้าไว้ แต่ปัจจุบันจะเขียนคำว่า "BIO" (ไบโอ) บนบัตรโดยสารเพื่อระบุว่าผ่านการลงทะเบียนใบหน้าแล้ว ส่วนคนที่เช็กอินผ่านเครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (CUSS) หลังจากเช็กอินเสร็จแล้วจะให้สแกนบาร์โค้ด เสียบบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และสแกนใบหน้า 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น ระบบจะจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและเอกสารการเดินทางเอาไว้ สิ่งที่เห็นผลจากระบบไบโอเมตริกซ์ก็คือ จุดแรก จุดตรวจเอกสารการเดินทาง จากเดิมจะแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางให้ตรงกับใบหน้า เปลี่ยนเป็นเข้าไปสแกนใบหน้าในช่อง Face Registration หรือ Biometric แล้วเดินไปยังจุดตรวจค้นได้ทันที เปรียบเหมือนเวลาขับรถขึ้นทางด่วนที่เข้าช่องเงินสดกับช่อง EASY PASS จุดที่สอง คือทางออกขึ้นเครื่อง หลังจากเรียกผู้โดยสารตามโซนแถวที่นั่งพิเศษแล้ว สามารถเข้าช่อง Face Registration หรือ Biometric เพื่อขึ้นเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแสดงบัตรโดยสารพร้อมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางแก่เจ้าหน้าที่อีก อย่างไรก็ตาม แม้สนามบิน ทอท.ทั้ง 6 แห่งจะติดตั้งระบบไบโอเมตริกซ์เสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังเปิดใช้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์กับทุกสนามบินของ ทอท.ยังมีบางแห่งที่บางสายการบินยังให้ใช้ระบบเดิม สำหรับข้อมูลผู้โดยสาร ได้แก่ บัตรโดยสาร บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และภาพถ่ายใบหน้าผู้โดยสาร ทอท.จะเก็บข้อมูลไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำลายข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (กฎหมาย PDPA) ซึ่งระยะยาว ทอท.จะพัฒนาระบบเพื่อจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลไว้ยาวนาน แต่มีความปลอดภัยและผ่านขั้นตอนกฎหมาย PDPA ต่อไป #Newskit
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 741 มุมมอง 0 รีวิว
  • #หลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญวาส ปี 2506 ประสบการณ์ตรงอีกรุ่น ของผู้เขียน...ในบรรดาพิธีปลุกเสกพระเครื่อง ที่แทบจะถอดเกจิยุค 25 พศ. มายกชุด คือ รุ่นนี้...อ.ทิม วัดช้างไห้ก็มา ..เกจิระดับสุดยอดมาเพียบ ..พอดีลุงของผู้เขียน บ้านอยู่ ตรอกเขียวไข่กา แบบเดินแปปเดียวถึงวัด...จึงมีพระรุ่นนี้มาก...30 กว่าปีก่อนจึงขอท่านมา 1 องค์...และห้อยเดี่ยวๆ ตอนช่วงอายุ 20 ต้นๆ ยาวเป็น 10 ปี...ประสบการณ์ด้านอื่นไม่ชัดเจน..ที่ชัดเจนมี 2 ครั้ง คือ ขับรถทั้งคู่...ครั้งแรก หลับใน..กำลังจะขึ้นเกาะกลาง..เหมือนมีคนกระชากอย่างแรง...!! ตื่นหักพวงมาลัยทัน....อีกครั้งเช้ามืด คือดื่มยันเข้า ขับรถกลับบ้าน..ทั้งเมาทั้งง่วง...หลับในอีกเช่นเคย...นึกภาพ ถ้าทางด่วนมาจากดินแดง แถวทางลงสุขุมวิท ท่านต้องเบียดเข้าขวา..ทางจะบีบเข้ามา (ตอนยังไม่มีถนนเชื่อม) ..เราหลับก็พุ่งตรงไปเลย ในความเร็วประมาณ 100 ...คือ ไม่เบี่ยงขวา...เพราะหลับ ซึ่งอีกนิดเดียว ก็เหาะลงทางด่วนเลย...เหมือนเดิม...มีคนกระชาก....!! ตื่น...หักขวาแบบไม่ดูเลย..โชคดีรถข้างขวาเรา เขาเป็นมวย เขาก็หลบทัน..รอดไปอีกครั้ง...และมีอีกนับไม่ถ้วน เพราะดื่มแล้วขับรถเป็นประจำ... แต่...ข้อห้ามหลักเลย...#ห้ามเล่นการพนันเด็ดขาดมีแต่เสีย...ผู้เขียนรับทราบด้วยตนเองมาตลอด ที่แขวนท่าน และเก็บข้อมูลจากพรรคพวกอีกจำนวนมาก...เสียงเดียวกันหมด....ขึ้นขื่อหลวงปู่ทวด วัดไหนก็ใช้ได้ ...ไม่งั้นคงไม่เป็นพระเครื่อง อันดับ 1 ที่ทุกวัดทั่วประเทศจัดสร้างหรอก.เสียดายผู้เขียนทำหายไป...กลับไปขอใหม่กับพี่น้องลูกลุง..แต่.เขาจำหน่ายจ่ายแจกไปหมดแล้ว... #น่าเสียดาย#..
    #หลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญวาส ปี 2506 ประสบการณ์ตรงอีกรุ่น ของผู้เขียน...ในบรรดาพิธีปลุกเสกพระเครื่อง ที่แทบจะถอดเกจิยุค 25 พศ. มายกชุด คือ รุ่นนี้...อ.ทิม วัดช้างไห้ก็มา ..เกจิระดับสุดยอดมาเพียบ ..พอดีลุงของผู้เขียน บ้านอยู่ ตรอกเขียวไข่กา แบบเดินแปปเดียวถึงวัด...จึงมีพระรุ่นนี้มาก...30 กว่าปีก่อนจึงขอท่านมา 1 องค์...และห้อยเดี่ยวๆ ตอนช่วงอายุ 20 ต้นๆ ยาวเป็น 10 ปี...ประสบการณ์ด้านอื่นไม่ชัดเจน..ที่ชัดเจนมี 2 ครั้ง คือ ขับรถทั้งคู่...ครั้งแรก หลับใน..กำลังจะขึ้นเกาะกลาง..เหมือนมีคนกระชากอย่างแรง...!! ตื่นหักพวงมาลัยทัน....อีกครั้งเช้ามืด คือดื่มยันเข้า ขับรถกลับบ้าน..ทั้งเมาทั้งง่วง...หลับในอีกเช่นเคย...นึกภาพ ถ้าทางด่วนมาจากดินแดง แถวทางลงสุขุมวิท ท่านต้องเบียดเข้าขวา..ทางจะบีบเข้ามา (ตอนยังไม่มีถนนเชื่อม) ..เราหลับก็พุ่งตรงไปเลย ในความเร็วประมาณ 100 ...คือ ไม่เบี่ยงขวา...เพราะหลับ ซึ่งอีกนิดเดียว ก็เหาะลงทางด่วนเลย...เหมือนเดิม...มีคนกระชาก....!! ตื่น...หักขวาแบบไม่ดูเลย..โชคดีรถข้างขวาเรา เขาเป็นมวย เขาก็หลบทัน..รอดไปอีกครั้ง...และมีอีกนับไม่ถ้วน เพราะดื่มแล้วขับรถเป็นประจำ... แต่...ข้อห้ามหลักเลย...#ห้ามเล่นการพนันเด็ดขาดมีแต่เสีย...ผู้เขียนรับทราบด้วยตนเองมาตลอด ที่แขวนท่าน และเก็บข้อมูลจากพรรคพวกอีกจำนวนมาก...เสียงเดียวกันหมด....ขึ้นขื่อหลวงปู่ทวด วัดไหนก็ใช้ได้ ...ไม่งั้นคงไม่เป็นพระเครื่อง อันดับ 1 ที่ทุกวัดทั่วประเทศจัดสร้างหรอก.เสียดายผู้เขียนทำหายไป...กลับไปขอใหม่กับพี่น้องลูกลุง..แต่.เขาจำหน่ายจ่ายแจกไปหมดแล้ว... #น่าเสียดาย#..
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 598 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨วันนี้ในอดีต ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพคลองเจ๊ก คลองบางจาก และคลองบางอ้อ บริเวณที่ตัดกับทางด่วนพิเศษ ซึ่งคลองสายต่างๆ ดังกล่าวเป็นคลองที่ชักน้ำจากพื้นที่บริเวณที่มีสภาพน้ำท่วมขังอยู่สองฝั่งถนนสุขุมวิทระหว่างคลองพระโขนง กับทางหลวงสายบางนา-ตราด ผ่านท่อลอดทางด่วนพิเศษ แล้วระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยการระบายน้ำทางประตูระบายน้ำที่ทำนบคลองเจ๊ก ทำนบคลองบางจาก และทำนบคลองบางอ้อ ตลอดจนการสูบน้ำด้วย Cr. สำนักราชเลขาธิการ #วันนีัในอดีต #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #ข่าวในพระราชสํานัก #save112
    ✨วันนี้ในอดีต ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพคลองเจ๊ก คลองบางจาก และคลองบางอ้อ บริเวณที่ตัดกับทางด่วนพิเศษ ซึ่งคลองสายต่างๆ ดังกล่าวเป็นคลองที่ชักน้ำจากพื้นที่บริเวณที่มีสภาพน้ำท่วมขังอยู่สองฝั่งถนนสุขุมวิทระหว่างคลองพระโขนง กับทางหลวงสายบางนา-ตราด ผ่านท่อลอดทางด่วนพิเศษ แล้วระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยการระบายน้ำทางประตูระบายน้ำที่ทำนบคลองเจ๊ก ทำนบคลองบางจาก และทำนบคลองบางอ้อ ตลอดจนการสูบน้ำด้วย Cr. สำนักราชเลขาธิการ #วันนีัในอดีต #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #ข่าวในพระราชสํานัก #save112
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 712 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม.ย้ำ 15 พฤศจิกายนนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เริ่มปิดเบี่ยงจราจร 1 ช่องทาง ส่วนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ประชาชนยังสัญจรได้ตามปกติ

    ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการนำเสนอข่าวโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จะเริ่มดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 นั้น

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบัน บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ในฐานะผู้รับจ้างของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ร่วมลงทุน) หรือ BEM มีกำหนดจะเริ่มปิดเบี่ยงจราจรในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง 5 สถานีแรก ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ยกเว้นสถานีศิริราช จะเป็นการจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อช่องจราจร สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/business/detail/9670000109231

    #MGROnline #โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
    รฟม.ย้ำ 15 พฤศจิกายนนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เริ่มปิดเบี่ยงจราจร 1 ช่องทาง ส่วนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ประชาชนยังสัญจรได้ตามปกติ • ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการนำเสนอข่าวโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จะเริ่มดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 นั้น • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบัน บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ในฐานะผู้รับจ้างของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ร่วมลงทุน) หรือ BEM มีกำหนดจะเริ่มปิดเบี่ยงจราจรในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง 5 สถานีแรก ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ยกเว้นสถานีศิริราช จะเป็นการจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อช่องจราจร สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9670000109231 • #MGROnline #โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 622 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ต้องอ่านให้จบ**หายนะกำลังมาเยือนประชาชนคนไทย!!

    ขอนำบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาเสนอค่ะ
    เครดิต พิมพ์ชนก พิทักษ์ชัยยะบุตร

    Somkiat Osotsapa
    January 31 at 5:18am ·
    พาไปเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯกัน
    -------------------------
    เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ผมไปรพ. จุฬาฯ เป็นประสบการณ์ใหม่ของชีวิต
    ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยป่วยนอนโรงพยาบาลเลย เคยแต่ไปเฝ้าไข้รพ.เอกชน ซื่งสบายมาก มีเชฟอาหาร ทั้งจีน อินเดีย ไทย ชั้นเลิศ ออกแนวบันเทิง มีร้านกาแฟแบรนด์เนม ที่จริงก็ไปตรวจนี่นั่น ที่รพ.เอกชนเหมือนกัน มันสะดวกมาก

    แล้วผมก็เกิดอยากจะรู้ว่าถ้าผมจะใช้สิทธิข้าราชการของผมบ้าง จะต้องทำอย่างไร ลองไปรพจุฬา

    แวะไปครั้งที่หนื่ง เข้าคิวอยู่ยาวช่วงบ่าย บอกว่าต้องมาเอาคิว ในวันรุ่งขึ้น

    สอบถามได้ความว่าถ้าจะตรวจในวันรุ่งขึ้น ต้องมาเข้าคิวเอาบัตรคิวที่ตู้ที่จะเปิดตอนตี 5 ครื่ง

    อ๊ะ! ถ้างั้นต้องตื่นตีสี่ ไปเข้าคิวตีห้า…

    เมื่อผมไปถึงตอนตีห้า มีคนอยู่ร่วมหนื่งพันคน ตั้งแต่บัตรประกันสังคม คนไข้ส่งต่อ แรงงานต่างด้าว ร่วม 12 ประเภท หลากหลายช่องมาก
    คิดถึงอารมณ์พระพุทธเจ้า เห็นทุกขเวทนาตัดสินใจออกบวชทันที
    เอาว่าคนเคยไปรพ.เอกชน จะช้อค
    แต่ผมอยากรู้ว่าคนเขาลำบากอย่างไร…ไม่เส้น…ตามคิว…

    แล้วก็รู้ว่า:-
    ๑ งานรพ.นี่เหนื่อยมากๆ คนมะรุมมะตุ้มถามโน่นนี่เยอะ
    แต่เจ้าหน้าที่ก็ใจเย็น สุภาพเท่าที่จะทำได้ รับความเครียด แรงกดดันได้ดีสุดๆ คนป่วย คนมาตรวจมากมาย แต่ทุกคนก็ช่วยตัวเองกันดีนะครับ หลายคนก็ทุกขเวทนาทีเดียว
    งานรพ.นี่สาหัสทีเดียว คิดในใจ

    ๒ สถานที่ของรพ.ดีขื้นกว่าแต่ก่อนมาก ขอบคุณเงินค่าเช่ามาบุญครอง และสยามสแควร์ มีตืกใหม่ มีแอร์ มีระบบคิวที่ดีงาม

    ๓ เนื่องจากคนไข้มาก รอกันนาน ทำใจเถอะ แต่คนไข้จำนวนมากที่ป่วยมีอาการ นั่งกระจุกกันเป็นหลายร้อยเนี่ย ทำให้รู้สืกว่าติดเชื้อง่ายมาก
    หมอ เจ้าหน้าที่สตรองมาก
    นักเรียนที่อยากเรียนแพทย์ พยาบาลควรมาหาประสบการณ์ ถ้าชอบและไหวก็เอา แต่ของผมลองนึกว่า ต้องไปทำงานห้องนั้น ทุกวัน จะให้เป็นหมอคงไม่เอา มันหดหู่นะ

    ๔ ดูเหมือนมีขบวนการของต่างชาติมาเอาคิวเป็นอาชีพ และมีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมารักษาฟรี โดยทำบัตรต่างด้าวปลอม รัฐบาลควรส่งคนไปดูนะ เป็นขบวนการทีเดียว

    รพ.น่ะไม่รู้เห็นด้วยหรอก คิดรพ.ใหญ่ทั่วประเทศ รายจ่ายเยอะมาก

    นั่งเครื่องมาเลย มีทำบัตรปลอมขายแน่นอน งบปท.ไทยไม่น่าเอาอยู่ แต่งตัวกันดี๊ดี

    ๕ เห็นนักศืกษาแพทย์ปีห้าโดนอาจารย์เอาปากกาเคาะหัวตลอด เรียนแพทย์เนี่ยเครียดมากนะครับ บอกเลย

    ๖ ค่ายา รพ.เอกชนแพงกว่ารพ. รัฐ เกินสิบเท่า หมอจุฬานี่เก่งนะครับ ความรู้เยอะ…

    ดีใจที่ได้ใช้สิทธิอดีตข้าราชการ มันน่าจะดีกว่านี้
    แต่เอางบไปแบ่งให้ประชาชนก็ดีแล้ว ร่วมทุกข์สุขกัน
    ถ้ากระทรวงคลังเอาส่วนของข้าราชการไปแบ่งลงทุนไว้ น่าจะรักษาได้ระดับ รพ.เอกชน

    ก็อย่างว่า…ชีวิตคนในรพ.มันเหนื่อยนะ ใครไม่เคยตื่นไปเข้าคิวตีสี่เหมือนผม ห้ามวิจารณ์เรื่องงบสาธารณสุข

    นักการเมืองทุกคน ควรไปตอนตีสี่ จะเข้าใจชีวิตและปชช.มากขื้น

    นิสิตจุฬาทุกคนควรไปอย่างยิ่ง ขอบอก นี่คือมหาวิทยาลัยชีวิตครับ

    บัณฑิตต้องรู้จักประชาชน

    Somkiat Osotsapa
    February 5 at 12:31am ·

    เมื่อประเทศไทยถูกยึด ม้าอารีต้องออกมายืนตากฝน คนไทยจะเข้าหาหมอได้อย่างไร
    --------------------------
    อาชีพที่ทำรายได้สูงกว่าบุคลากรการแพทย์ในรพ.จุฬาฯ

    คือ ล่ามต่างชาติ ที่ขนคนไข้ประเทศเพื่อนบ้าน มารายละไม่ต่ำกว่าสิบคนต่อวันต่อล่ามหนื่งคน

    มีรายได้จากคนไข้ตปท.รายละ 500 บาท วันละเกิน5000 บาท

    ล่ามของแต่ละชาติมีมากมาย (หมอจุฬาผู้รักชาติหลังไมค์มาบอก)

    ด้วยเหตุนี้ คนไข้ที่นั่งรอหมอจึงเป็นคนจากปท.เพื่อนบ้านร่วม 50%

    คนไทยที่จะเข้ารพ.จุฬาฯ มีวิธีเข้ารักษาอย่างรวดเร็วได้ โดยอาศัยทางด่วน คือ รถของมูลนิธิปอเต๊กตื๊ง
    เช่น ถูกรถชน ถูกยิง แทง ฟัน งูกัด เข้าห้องอุบัติเหตุ ฝั่งสวนลุมได้เลย

    ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่าระบบประกัน ทำให้คนไทยไปรักษามาก ต้องเก็บเงินผู้ป่วยไทยเพิ่ม หมอไม่พอ อุปกรณ์ไม่พอ นี่…ไร้สาระมาก…

    รายจ่ายเพิ่มเพราะรับคนไข้จากตปท.มาตรึม…

    การทำคลอดทำให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย…

    รู้กันทั้งภูมิภาคเอเชียว่ามารักษาที่เมืองไทย แค่บอกว่าไม่มีเงินก็ฟรี…

    ตอนนี้ข่าวสารกระจายไปทั่ว จัดเป็นธุรกิจข้ามชาติใหญ่โตมาก

    ทำบัตรเสร็จ ตรวจสุขภาพเสร็จ หางานทำได้เลย
    เศรษฐกิจดีมาก หางานง่าย

    ไปบีบให้คนไทยลาออก พวกเราเยอะ เครือข่ายเพียบ เบิกล่วงหน้าได้

    ผมมีรายงานต้นทุนการรักษาผู้ป่วยของรพ.ทุกประเภท ทั่วปท. รายกลุ่มโรค คลอดแบบไหนเท่าไร ค่าใช้จ่ายประเภทค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อม…รู้หมด

    งบประมาณแผ่นดินของรพ.จุฬาแห่งเดียว เพิ่มจากราวสองพันล้านมาเป็นหกพันล้าน

    เพิ่มสามเท่าในเวลา 3-4 ปี ศิริราชก็บอกว่าขาดทุน รพ.ศูนย์ รพ.ท้องถิ่น รพ.ชุมชนขาดแคลนไปหมด

    หมอ พยาบาล เภสัช รังสี บุคลากรอื่นๆทำงานกันหนักมาก เศรษฐกิจไทย ระบบสาธารณสุขไทยจะล่มในไม่กี่ปี

    ตอนนี้อุตสาหกรรมขนคนเข้าปท.ไทยกำลังเติบใหญ่ ทั้งในลาว กัมพูชา พม่า

    อาฟริกันยังมาเลย เขาพูดกันว่าเมืองไทยแม่งโง่ ชอบอวดรวย ทั้งๆที่คนไทยจนจะตายห่า ผู้นำบ้ายอ ชมๆแม่งไป
    --------------------------
    ผมรู้ว่าคนไทยกำลังเครียดรุนแรง แต่อายไม่กล้าพูด

    ระวังว่ามันจะระเบิด

    ทั้งถูกแย่งคิวรพ. แย่งงาน แย่งที่ขายของ แย่งที่นั่งในรถเมล์แดง รถไฟฟรี ยึดสวนสาธารณะ อิทธิพลขั้นสูง คนจนทั้งนั้น ทุกสีเสื้อ

    ผู้บริหารสภากาชาด ครม คสช สนช สปท อะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้
    ไม่เคยมายืนเข้าคิวตอนตี 4

    ปัญหาของประเทศนี้คือ ผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้วางแผน ไม่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสทุกข์ยากของปชช. ตัดสินใจผิดมากๆ

    เมื่อเห็นต่างชาติเยอะมาก ผมก็ออกมาเดินดูรอบนอก แถวร้านกาแฟขายลาตเต้นั่นแหละครับ

    เจอเลย ขบวนการ มีผู้กำกับงาน แต่งตัวดีมาก ผมฟังภาษาออก เจ้าหน้าที่รบ.ปท.เพื่อนบ้านก็มี

    กำลังคุยถึงที่จะมาอีกหลายระลอก ผ่านด่านต่างๆ

    ดูรวย มีความสุข เขากำลังทำงานให้ชาติของเขา ส่งคนมารักษาที่ไทยฟรี…
    ขำที่คนไทยดูทุเรศ ทุกขเวทนา
    วันนี้ คุยกับพรรคพวกที่รู้เรื่องดี จะได้รู้ต้นน้ำ กลาง น้ำ ปลายน้ำ
    อือม์ มันน่ากลัว…
    เขื่อนความมั่นคงประเทศพังแล้ว
    --------------

    ความขัดแย้งรุนแรงเกิดขื้นเมื่อคนในชาติรู้สึกว่าพื้นที่ทำมาหากิน พื้นที่ชีวิตของเขาถูกรุกราน ถูกคุกคาม
    เยอรมัน เรียกว่า libensraum แปลว่า life space

    ตอนนี้หนักมาก สงครามเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในทุกที่…
    สวีเดน เดนมาร์กจึงเอาผู้อพยพออก เศรษฐกิจยุโรปจะพังเอา ก็เพราะแบบไทยตอนนี้…คนไทยจะจ่ายเงินหนัก ขาดแคลน แล้วจะโวย แล้วจะระเบิด…

    ผมไปนั่งคุยกับพรรคพวก…
    ๑ คนในปท.รอบบ้านเราไม่ได้รวยแบบที่มีข่าวในไทยหรอก
    ค่าแรงคนทั่วๆไปในพม่าก็ราวเดือนละ 6-7ร้อย ค่าแรงขั้นต่ำที่สู้กันเต็มที่ก็ 2,200 ต่อเดือน

    ที่กัมพูชาสูงกว่านี้นิดนึง เวียดนามราวเดือนละ 3,000
    แต่ยังมีคนไม่ได้ทำงานในระบบที่ค่าจ้างระดับนี้เยอะ

    ตอนนี้คนต่างชาติ มาอยู่ในปท. ไทย ไม่ใช่ 3 ล้าน
    อาจถึง 6 ล้านแล้ว เขาบอกต้องไปดูที่ด่านที่เข้ามา…
    ราชการไม่มีตัวเลข - ที่มีก็ผิด

    มามาก ก็เข้ารพ.มาก ญาติพี่น้องเจ็บป่วยก็พามา ถูกกว่าไปพนมเปญ ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ ซื่งหมอไม่เก่ง ยาไม่มี เครื่องมือไม่มี แพงกว่าเมืองไทยด้วย

    ๒ ตอนนี้ระบบจัดตั้ง เครือข่ายแน่นหนามาก คนทางโน้นก็รู้ว่ามาเมืองไทยแล้วรวย

    ผมถามว่าที่สำรวจบอกว่ามาแล้วจะกลับไป…เขาบอกกลับไปที่ไหน…มีแต่กำลังแห่กันมา! มาแล้วมีบริการหางาน หาที่พัก ทำบัตรแรงงาน มีนายจ้าง ทำบัตรสุขภาพ พาไปรพ. หักเงินทีหลังก็ได้
    มีนายทุน กองทุนระดับเป็นหมื่นล้าน มีตั้งแต่บริการขนส่ง ต้นทาง ถึงปลายทางแบบโรฮิงยา

    ได้สัญชาติกันเยอะ ซื้อบัตร เอาลูกมาใส่ชื่อพ่อคนไทย ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาก จะได้มาเรียนฟรีที่เมืองไทย ได้เข้ามหาวิทยาลัย รักษาฟรี อยู่ฟรีกับนายจ้าง อาหารพร้อม ไม่ต้องจ่ายแวต ส่งเงินกลับไปได้เยอะมาก

    มาคลอดเมืองไทย ค่าคลอด ดูแลทั้งปี 365.-บาทเท่านั้น ถ้าผ่าออกก็แค่นี้ ต้นทุนสองหมื่นกว่านะครับ
    จะหาที่ขายของ เปิดร้าน ใช้คนไทยเป็นโนมินีก็มี ทำแบบแบ่งเปอร์เซนต์ก็ได้

    มามากก็เข้ารพ.มาก ทำบัตรสุขภาพราวปีละ 1,300.- รักษาทุกโรค 55 ---------------

    ๓ เขาบอกว่าเมืองไทยโฆษณา AEC เกินจริง จนคนและขรก. เข้าใจว่าแรงงานคนต่างชาติเข้าไทยได้ฟรี คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเช่นนั้น ด่านจืงเปิด

    ยุคนี้ป่วยรุนแรง เหมารถจากพนมเปญมาเลย นอนรพ.3เดือน ให้ออกซิเจนตลอด จ่าย2หมื่น ต้นทุนจริงๆหลายแสน รวมค่าอุปกรณ์

    ผ่าหัวใจฟรี ไปรพ.เอกชนสี่แสน ต้นทุนของรัฐแสนกว่า

    ไม่เจ๊งไงไหว
    ---------------------

    ๔ เดินทางมาไทยง่าย ถูก…
    เมืองไทยไม่มีระบบตรวจสอบคนที่มาแล้วไม่กลับ

    เงินซื้อได้ทุกอย่าง ตอนนี้เครือข่ายจัดหาคนเป็นพ่อ ทำงานดี เพราะรายได้มาก กำลังมากันเพียบ พลเมืองไทยจะเยอะมาก เตรียมงบไว้
    --------------
    ๕ อุตสาหกรรม(พาคนมาไทย) รุ่งเรืองมากในปท.เพื่อนบ้าน กำไรดี ลูกค้าเยอะมาก ช่วงนี้ข่าวไปทั่ว
    -------------------

    ๖ การจะรักษาในไทย ก็แค่หาชื่อนายจ้าง ซื่งจัดไว้แล้ว ไปซื้อบัตรสุขภาพ รบ.ไทยบริการดีมาก…

    ๗ ที่ผิดกฏหมายทำไง ก็จ่ายเดือนละพันต่อคนเหมือนเดิม 55 ก็ต้องมีรายได้อะไรสักอย่าง

    ไอ้คนที่ผมคุยด้วย มีหน้าที่แบ่งลูกน้องไปเก็บเงินรายหัวส่งทุกเดือน…วันนี้นั่งคุยละเอียด มึงจ่ายให้ใครกันบ้าง ไอ้นั่นย้ายแล้วเหรอ ตอนนี้ใครคุม…
    ชีวิตธรรมดาคุยกันยังงี้ครับ
    --------------
    ยังไม่บอกว่าจะแก้อย่างไรนะครับ ต้องเล่าสถานการณ์ก่อน
    --------------

    ผมแนะว่าต่อไป ถ้าป่วยไปรักษาแถวจังหวัดที่ไม่มีต่างด้าว เช่น ชัยภูมิ เลย น่าจะสะดวกกว่านะ
    ช่วงนี้ก็สตรองหน่อย ถ้าพ่อแม่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ยาลดลง ไม่มีเตียงก็ขอให้ทำใจ

    ผมจะไปเข้าคิวเป็นเพื่อน

    ตอนนี้เตรียมแผนจะไปศิริราช ติดต่อไว้แล้ว ต่อไปจะไปราชวิถี รามา วชิระ ไปขอนแก่น อุดร สุราษฏร์

    ที่จริง คสช ครม ควรส่งภรรยาไปเข้าคิวบ้างนะ

    กรรมการสภากาชาดด้วย

    ไปพรุ่งนี้เลย จะได้รับรู้ความรู้สืกคนไทย

    ผมเขียนไป ผมเศร้ามาก

    เงินที่รบ.สัญญาว่าจะดูแลพยาบาลผมตอนแก่ แบ่งไปให้คนไทยอื่นๆ ผมมีความสุขนะ เจ็บ ตายด้วยกัน

    แต่ตอนนี้ ผมแก่ ผมต้องนั่งรอคิวยาว

    ตอนใกล้จะถึงคิว มันแทรกเข้ามา เอาลูกค้ามาแซงสิบคนนี่ผมไม่พอใจมาก

    ถาม ขาใหญ่มันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เอาต่างชาติเข้ามา มันหัวเราะ บอกรายได้ของหลายคนจะดีมากทีเดียว
    มันถามว่าใครคิดวะ คนไทยได้อะไรบ้าง พวกนี้รักชาตินะครับ
    ------------------
    ต่างชาติบอกผู้นำไทยไม่ติดดิน บ้าลูกยอ บ้า AEC งี่เง่า ชอบเอาหน้า ไม่รู้เรื่อง สบาย หมูที่สุดในปท.ย่านนี้

    เพื่อนผมบอก ผมไม่ได้พูดนะ
    จะแก้ปัญหาต้องพูดกันให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้…

    วันนี้เขียนไม่เป็นระบบ มึนไวน์มานิดหน่อย
    ความรู้ที่เพื่อนเพจเล่ามา เป๊ะมาก ผมจึงพอมีภูมิไปคุยกับเขา
    เห็นอะไรช่วยบอกมานะครับ…ช่วยกัน…
    **ต้องอ่านให้จบ**หายนะกำลังมาเยือนประชาชนคนไทย!! ขอนำบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาเสนอค่ะ เครดิต พิมพ์ชนก พิทักษ์ชัยยะบุตร Somkiat Osotsapa January 31 at 5:18am · พาไปเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯกัน ------------------------- เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ผมไปรพ. จุฬาฯ เป็นประสบการณ์ใหม่ของชีวิต ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยป่วยนอนโรงพยาบาลเลย เคยแต่ไปเฝ้าไข้รพ.เอกชน ซื่งสบายมาก มีเชฟอาหาร ทั้งจีน อินเดีย ไทย ชั้นเลิศ ออกแนวบันเทิง มีร้านกาแฟแบรนด์เนม ที่จริงก็ไปตรวจนี่นั่น ที่รพ.เอกชนเหมือนกัน มันสะดวกมาก แล้วผมก็เกิดอยากจะรู้ว่าถ้าผมจะใช้สิทธิข้าราชการของผมบ้าง จะต้องทำอย่างไร ลองไปรพจุฬา แวะไปครั้งที่หนื่ง เข้าคิวอยู่ยาวช่วงบ่าย บอกว่าต้องมาเอาคิว ในวันรุ่งขึ้น สอบถามได้ความว่าถ้าจะตรวจในวันรุ่งขึ้น ต้องมาเข้าคิวเอาบัตรคิวที่ตู้ที่จะเปิดตอนตี 5 ครื่ง อ๊ะ! ถ้างั้นต้องตื่นตีสี่ ไปเข้าคิวตีห้า… เมื่อผมไปถึงตอนตีห้า มีคนอยู่ร่วมหนื่งพันคน ตั้งแต่บัตรประกันสังคม คนไข้ส่งต่อ แรงงานต่างด้าว ร่วม 12 ประเภท หลากหลายช่องมาก คิดถึงอารมณ์พระพุทธเจ้า เห็นทุกขเวทนาตัดสินใจออกบวชทันที เอาว่าคนเคยไปรพ.เอกชน จะช้อค แต่ผมอยากรู้ว่าคนเขาลำบากอย่างไร…ไม่เส้น…ตามคิว… แล้วก็รู้ว่า:- ๑ งานรพ.นี่เหนื่อยมากๆ คนมะรุมมะตุ้มถามโน่นนี่เยอะ แต่เจ้าหน้าที่ก็ใจเย็น สุภาพเท่าที่จะทำได้ รับความเครียด แรงกดดันได้ดีสุดๆ คนป่วย คนมาตรวจมากมาย แต่ทุกคนก็ช่วยตัวเองกันดีนะครับ หลายคนก็ทุกขเวทนาทีเดียว งานรพ.นี่สาหัสทีเดียว คิดในใจ ๒ สถานที่ของรพ.ดีขื้นกว่าแต่ก่อนมาก ขอบคุณเงินค่าเช่ามาบุญครอง และสยามสแควร์ มีตืกใหม่ มีแอร์ มีระบบคิวที่ดีงาม ๓ เนื่องจากคนไข้มาก รอกันนาน ทำใจเถอะ แต่คนไข้จำนวนมากที่ป่วยมีอาการ นั่งกระจุกกันเป็นหลายร้อยเนี่ย ทำให้รู้สืกว่าติดเชื้อง่ายมาก หมอ เจ้าหน้าที่สตรองมาก นักเรียนที่อยากเรียนแพทย์ พยาบาลควรมาหาประสบการณ์ ถ้าชอบและไหวก็เอา แต่ของผมลองนึกว่า ต้องไปทำงานห้องนั้น ทุกวัน จะให้เป็นหมอคงไม่เอา มันหดหู่นะ ๔ ดูเหมือนมีขบวนการของต่างชาติมาเอาคิวเป็นอาชีพ และมีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมารักษาฟรี โดยทำบัตรต่างด้าวปลอม รัฐบาลควรส่งคนไปดูนะ เป็นขบวนการทีเดียว รพ.น่ะไม่รู้เห็นด้วยหรอก คิดรพ.ใหญ่ทั่วประเทศ รายจ่ายเยอะมาก นั่งเครื่องมาเลย มีทำบัตรปลอมขายแน่นอน งบปท.ไทยไม่น่าเอาอยู่ แต่งตัวกันดี๊ดี ๕ เห็นนักศืกษาแพทย์ปีห้าโดนอาจารย์เอาปากกาเคาะหัวตลอด เรียนแพทย์เนี่ยเครียดมากนะครับ บอกเลย ๖ ค่ายา รพ.เอกชนแพงกว่ารพ. รัฐ เกินสิบเท่า หมอจุฬานี่เก่งนะครับ ความรู้เยอะ… ดีใจที่ได้ใช้สิทธิอดีตข้าราชการ มันน่าจะดีกว่านี้ แต่เอางบไปแบ่งให้ประชาชนก็ดีแล้ว ร่วมทุกข์สุขกัน ถ้ากระทรวงคลังเอาส่วนของข้าราชการไปแบ่งลงทุนไว้ น่าจะรักษาได้ระดับ รพ.เอกชน ก็อย่างว่า…ชีวิตคนในรพ.มันเหนื่อยนะ ใครไม่เคยตื่นไปเข้าคิวตีสี่เหมือนผม ห้ามวิจารณ์เรื่องงบสาธารณสุข นักการเมืองทุกคน ควรไปตอนตีสี่ จะเข้าใจชีวิตและปชช.มากขื้น นิสิตจุฬาทุกคนควรไปอย่างยิ่ง ขอบอก นี่คือมหาวิทยาลัยชีวิตครับ บัณฑิตต้องรู้จักประชาชน Somkiat Osotsapa February 5 at 12:31am · เมื่อประเทศไทยถูกยึด ม้าอารีต้องออกมายืนตากฝน คนไทยจะเข้าหาหมอได้อย่างไร -------------------------- อาชีพที่ทำรายได้สูงกว่าบุคลากรการแพทย์ในรพ.จุฬาฯ คือ ล่ามต่างชาติ ที่ขนคนไข้ประเทศเพื่อนบ้าน มารายละไม่ต่ำกว่าสิบคนต่อวันต่อล่ามหนื่งคน มีรายได้จากคนไข้ตปท.รายละ 500 บาท วันละเกิน5000 บาท ล่ามของแต่ละชาติมีมากมาย (หมอจุฬาผู้รักชาติหลังไมค์มาบอก) ด้วยเหตุนี้ คนไข้ที่นั่งรอหมอจึงเป็นคนจากปท.เพื่อนบ้านร่วม 50% คนไทยที่จะเข้ารพ.จุฬาฯ มีวิธีเข้ารักษาอย่างรวดเร็วได้ โดยอาศัยทางด่วน คือ รถของมูลนิธิปอเต๊กตื๊ง เช่น ถูกรถชน ถูกยิง แทง ฟัน งูกัด เข้าห้องอุบัติเหตุ ฝั่งสวนลุมได้เลย ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่าระบบประกัน ทำให้คนไทยไปรักษามาก ต้องเก็บเงินผู้ป่วยไทยเพิ่ม หมอไม่พอ อุปกรณ์ไม่พอ นี่…ไร้สาระมาก… รายจ่ายเพิ่มเพราะรับคนไข้จากตปท.มาตรึม… การทำคลอดทำให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย… รู้กันทั้งภูมิภาคเอเชียว่ามารักษาที่เมืองไทย แค่บอกว่าไม่มีเงินก็ฟรี… ตอนนี้ข่าวสารกระจายไปทั่ว จัดเป็นธุรกิจข้ามชาติใหญ่โตมาก ทำบัตรเสร็จ ตรวจสุขภาพเสร็จ หางานทำได้เลย เศรษฐกิจดีมาก หางานง่าย ไปบีบให้คนไทยลาออก พวกเราเยอะ เครือข่ายเพียบ เบิกล่วงหน้าได้ ผมมีรายงานต้นทุนการรักษาผู้ป่วยของรพ.ทุกประเภท ทั่วปท. รายกลุ่มโรค คลอดแบบไหนเท่าไร ค่าใช้จ่ายประเภทค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อม…รู้หมด งบประมาณแผ่นดินของรพ.จุฬาแห่งเดียว เพิ่มจากราวสองพันล้านมาเป็นหกพันล้าน เพิ่มสามเท่าในเวลา 3-4 ปี ศิริราชก็บอกว่าขาดทุน รพ.ศูนย์ รพ.ท้องถิ่น รพ.ชุมชนขาดแคลนไปหมด หมอ พยาบาล เภสัช รังสี บุคลากรอื่นๆทำงานกันหนักมาก เศรษฐกิจไทย ระบบสาธารณสุขไทยจะล่มในไม่กี่ปี ตอนนี้อุตสาหกรรมขนคนเข้าปท.ไทยกำลังเติบใหญ่ ทั้งในลาว กัมพูชา พม่า อาฟริกันยังมาเลย เขาพูดกันว่าเมืองไทยแม่งโง่ ชอบอวดรวย ทั้งๆที่คนไทยจนจะตายห่า ผู้นำบ้ายอ ชมๆแม่งไป -------------------------- ผมรู้ว่าคนไทยกำลังเครียดรุนแรง แต่อายไม่กล้าพูด ระวังว่ามันจะระเบิด ทั้งถูกแย่งคิวรพ. แย่งงาน แย่งที่ขายของ แย่งที่นั่งในรถเมล์แดง รถไฟฟรี ยึดสวนสาธารณะ อิทธิพลขั้นสูง คนจนทั้งนั้น ทุกสีเสื้อ ผู้บริหารสภากาชาด ครม คสช สนช สปท อะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้ ไม่เคยมายืนเข้าคิวตอนตี 4 ปัญหาของประเทศนี้คือ ผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้วางแผน ไม่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสทุกข์ยากของปชช. ตัดสินใจผิดมากๆ เมื่อเห็นต่างชาติเยอะมาก ผมก็ออกมาเดินดูรอบนอก แถวร้านกาแฟขายลาตเต้นั่นแหละครับ เจอเลย ขบวนการ มีผู้กำกับงาน แต่งตัวดีมาก ผมฟังภาษาออก เจ้าหน้าที่รบ.ปท.เพื่อนบ้านก็มี กำลังคุยถึงที่จะมาอีกหลายระลอก ผ่านด่านต่างๆ ดูรวย มีความสุข เขากำลังทำงานให้ชาติของเขา ส่งคนมารักษาที่ไทยฟรี… ขำที่คนไทยดูทุเรศ ทุกขเวทนา วันนี้ คุยกับพรรคพวกที่รู้เรื่องดี จะได้รู้ต้นน้ำ กลาง น้ำ ปลายน้ำ อือม์ มันน่ากลัว… เขื่อนความมั่นคงประเทศพังแล้ว -------------- ความขัดแย้งรุนแรงเกิดขื้นเมื่อคนในชาติรู้สึกว่าพื้นที่ทำมาหากิน พื้นที่ชีวิตของเขาถูกรุกราน ถูกคุกคาม เยอรมัน เรียกว่า libensraum แปลว่า life space ตอนนี้หนักมาก สงครามเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในทุกที่… สวีเดน เดนมาร์กจึงเอาผู้อพยพออก เศรษฐกิจยุโรปจะพังเอา ก็เพราะแบบไทยตอนนี้…คนไทยจะจ่ายเงินหนัก ขาดแคลน แล้วจะโวย แล้วจะระเบิด… ผมไปนั่งคุยกับพรรคพวก… ๑ คนในปท.รอบบ้านเราไม่ได้รวยแบบที่มีข่าวในไทยหรอก ค่าแรงคนทั่วๆไปในพม่าก็ราวเดือนละ 6-7ร้อย ค่าแรงขั้นต่ำที่สู้กันเต็มที่ก็ 2,200 ต่อเดือน ที่กัมพูชาสูงกว่านี้นิดนึง เวียดนามราวเดือนละ 3,000 แต่ยังมีคนไม่ได้ทำงานในระบบที่ค่าจ้างระดับนี้เยอะ ตอนนี้คนต่างชาติ มาอยู่ในปท. ไทย ไม่ใช่ 3 ล้าน อาจถึง 6 ล้านแล้ว เขาบอกต้องไปดูที่ด่านที่เข้ามา… ราชการไม่มีตัวเลข - ที่มีก็ผิด มามาก ก็เข้ารพ.มาก ญาติพี่น้องเจ็บป่วยก็พามา ถูกกว่าไปพนมเปญ ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ ซื่งหมอไม่เก่ง ยาไม่มี เครื่องมือไม่มี แพงกว่าเมืองไทยด้วย ๒ ตอนนี้ระบบจัดตั้ง เครือข่ายแน่นหนามาก คนทางโน้นก็รู้ว่ามาเมืองไทยแล้วรวย ผมถามว่าที่สำรวจบอกว่ามาแล้วจะกลับไป…เขาบอกกลับไปที่ไหน…มีแต่กำลังแห่กันมา! มาแล้วมีบริการหางาน หาที่พัก ทำบัตรแรงงาน มีนายจ้าง ทำบัตรสุขภาพ พาไปรพ. หักเงินทีหลังก็ได้ มีนายทุน กองทุนระดับเป็นหมื่นล้าน มีตั้งแต่บริการขนส่ง ต้นทาง ถึงปลายทางแบบโรฮิงยา ได้สัญชาติกันเยอะ ซื้อบัตร เอาลูกมาใส่ชื่อพ่อคนไทย ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาก จะได้มาเรียนฟรีที่เมืองไทย ได้เข้ามหาวิทยาลัย รักษาฟรี อยู่ฟรีกับนายจ้าง อาหารพร้อม ไม่ต้องจ่ายแวต ส่งเงินกลับไปได้เยอะมาก มาคลอดเมืองไทย ค่าคลอด ดูแลทั้งปี 365.-บาทเท่านั้น ถ้าผ่าออกก็แค่นี้ ต้นทุนสองหมื่นกว่านะครับ จะหาที่ขายของ เปิดร้าน ใช้คนไทยเป็นโนมินีก็มี ทำแบบแบ่งเปอร์เซนต์ก็ได้ มามากก็เข้ารพ.มาก ทำบัตรสุขภาพราวปีละ 1,300.- รักษาทุกโรค 55 --------------- ๓ เขาบอกว่าเมืองไทยโฆษณา AEC เกินจริง จนคนและขรก. เข้าใจว่าแรงงานคนต่างชาติเข้าไทยได้ฟรี คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเช่นนั้น ด่านจืงเปิด ยุคนี้ป่วยรุนแรง เหมารถจากพนมเปญมาเลย นอนรพ.3เดือน ให้ออกซิเจนตลอด จ่าย2หมื่น ต้นทุนจริงๆหลายแสน รวมค่าอุปกรณ์ ผ่าหัวใจฟรี ไปรพ.เอกชนสี่แสน ต้นทุนของรัฐแสนกว่า ไม่เจ๊งไงไหว --------------------- ๔ เดินทางมาไทยง่าย ถูก… เมืองไทยไม่มีระบบตรวจสอบคนที่มาแล้วไม่กลับ เงินซื้อได้ทุกอย่าง ตอนนี้เครือข่ายจัดหาคนเป็นพ่อ ทำงานดี เพราะรายได้มาก กำลังมากันเพียบ พลเมืองไทยจะเยอะมาก เตรียมงบไว้ -------------- ๕ อุตสาหกรรม(พาคนมาไทย) รุ่งเรืองมากในปท.เพื่อนบ้าน กำไรดี ลูกค้าเยอะมาก ช่วงนี้ข่าวไปทั่ว ------------------- ๖ การจะรักษาในไทย ก็แค่หาชื่อนายจ้าง ซื่งจัดไว้แล้ว ไปซื้อบัตรสุขภาพ รบ.ไทยบริการดีมาก… ๗ ที่ผิดกฏหมายทำไง ก็จ่ายเดือนละพันต่อคนเหมือนเดิม 55 ก็ต้องมีรายได้อะไรสักอย่าง ไอ้คนที่ผมคุยด้วย มีหน้าที่แบ่งลูกน้องไปเก็บเงินรายหัวส่งทุกเดือน…วันนี้นั่งคุยละเอียด มึงจ่ายให้ใครกันบ้าง ไอ้นั่นย้ายแล้วเหรอ ตอนนี้ใครคุม… ชีวิตธรรมดาคุยกันยังงี้ครับ -------------- ยังไม่บอกว่าจะแก้อย่างไรนะครับ ต้องเล่าสถานการณ์ก่อน -------------- ผมแนะว่าต่อไป ถ้าป่วยไปรักษาแถวจังหวัดที่ไม่มีต่างด้าว เช่น ชัยภูมิ เลย น่าจะสะดวกกว่านะ ช่วงนี้ก็สตรองหน่อย ถ้าพ่อแม่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ยาลดลง ไม่มีเตียงก็ขอให้ทำใจ ผมจะไปเข้าคิวเป็นเพื่อน ตอนนี้เตรียมแผนจะไปศิริราช ติดต่อไว้แล้ว ต่อไปจะไปราชวิถี รามา วชิระ ไปขอนแก่น อุดร สุราษฏร์ ที่จริง คสช ครม ควรส่งภรรยาไปเข้าคิวบ้างนะ กรรมการสภากาชาดด้วย ไปพรุ่งนี้เลย จะได้รับรู้ความรู้สืกคนไทย ผมเขียนไป ผมเศร้ามาก เงินที่รบ.สัญญาว่าจะดูแลพยาบาลผมตอนแก่ แบ่งไปให้คนไทยอื่นๆ ผมมีความสุขนะ เจ็บ ตายด้วยกัน แต่ตอนนี้ ผมแก่ ผมต้องนั่งรอคิวยาว ตอนใกล้จะถึงคิว มันแทรกเข้ามา เอาลูกค้ามาแซงสิบคนนี่ผมไม่พอใจมาก ถาม ขาใหญ่มันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เอาต่างชาติเข้ามา มันหัวเราะ บอกรายได้ของหลายคนจะดีมากทีเดียว มันถามว่าใครคิดวะ คนไทยได้อะไรบ้าง พวกนี้รักชาตินะครับ ------------------ ต่างชาติบอกผู้นำไทยไม่ติดดิน บ้าลูกยอ บ้า AEC งี่เง่า ชอบเอาหน้า ไม่รู้เรื่อง สบาย หมูที่สุดในปท.ย่านนี้ เพื่อนผมบอก ผมไม่ได้พูดนะ จะแก้ปัญหาต้องพูดกันให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้… วันนี้เขียนไม่เป็นระบบ มึนไวน์มานิดหน่อย ความรู้ที่เพื่อนเพจเล่ามา เป๊ะมาก ผมจึงพอมีภูมิไปคุยกับเขา เห็นอะไรช่วยบอกมานะครับ…ช่วยกัน…
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1418 มุมมอง 0 รีวิว
  • เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์

    ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร

    แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์

    ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย

    อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC)

    ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว

    เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    #Newskit #AlorSetar #Kedah
    เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์ ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ #Newskit #AlorSetar #Kedah
    Like
    Love
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1077 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชีวิตไม่ใช่ทางด่วนที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เป็นเส้นตรง
    แต่เป็นถนนคดเคี้ยวต่างหาก

    จากหนังสือ |อย่านึกถึงอนาคตจนลืมความสุขในปัจจุบัน

    #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน
    #ทัศนคติ #Thaitimes #ความคิดเชิงบวก
    #อย่านึกถึงอนาคตจนลืมความสุขในปัจจุบัน
    ชีวิตไม่ใช่ทางด่วนที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เป็นเส้นตรง แต่เป็นถนนคดเคี้ยวต่างหาก จากหนังสือ |อย่านึกถึงอนาคตจนลืมความสุขในปัจจุบัน #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน #ทัศนคติ #Thaitimes #ความคิดเชิงบวก #อย่านึกถึงอนาคตจนลืมความสุขในปัจจุบัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 264 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด

    จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567

    พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่

    แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4

    ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street)

    เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4

    ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569

    #Newskit #OneBangkok
    วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่ แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4 ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street) เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4 ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569 #Newskit #OneBangkok
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1003 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1044 มุมมอง 0 รีวิว
  • บขส. เตรียมกลับมาเปิดให้บริการ เส้นทางอุดรธานี – วังเวียง (สปป.ลาว) ดีเดย์ 1 พ.ย.นี้ พร้อมใช้ทางด่วนในการเดินรถ ช่วยประหยัดเวลาเดินทาง 2 ชม. ครึ่ง

    ที่มา nbtconnext

    #Thaitimes
    บขส. เตรียมกลับมาเปิดให้บริการ เส้นทางอุดรธานี – วังเวียง (สปป.ลาว) ดีเดย์ 1 พ.ย.นี้ พร้อมใช้ทางด่วนในการเดินรถ ช่วยประหยัดเวลาเดินทาง 2 ชม. ครึ่ง ที่มา nbtconnext #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 402 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันที่ 13 ตุลาคม 2567
    วันนวมินทรมหาราช
    ขึ้นทางด่วนฟรี!

    ที่มา เพจ LivingPop https://www.facebook.com/share/p/DafpqwrTx2m6u1nK/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    วันที่ 13 ตุลาคม 2567 วันนวมินทรมหาราช ขึ้นทางด่วนฟรี! ที่มา เพจ LivingPop https://www.facebook.com/share/p/DafpqwrTx2m6u1nK/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 635 มุมมอง 0 รีวิว
  • สักครู่ดูคลิป อ.คนดัง...ออกมาพูดว่า พุทธคุณพระเครื่อง ถ้ามีจริง ต้องใช้ได้กับทุกคนสิ....เอาประสบการณ์ของผู้เขียนเอง. และพบเจอกับมหาเศรษญีเมืองไทย นักเลง โจร ก็มากมาย....
    ..ผู้เขียน ขับรถ หลับใน ครั้งแรก รถกำลังจะขึ้นเกาะกลาง..มีคนกระชากตัวอย่างแรง จนตื่น หักพวงมาลัยทัน....
    ..ครั้งที่ 2 หลับเช่นเคย 6 โมงเช้า เพิ่งเลิกดื่ม...อยู่บนทางด่วน..รถเองแถไป..กำลังจะพุงลงทางด่วน...เช่นเคย มีคนกระขากจนตื่น...หักพวงมาลัยกลับทัน..และรถข้างๆที่หักไปหาเขาก็หลบเราทันด้วย...
    ....2 ครั้งนี้ พระองค์เดียวกัน คือ หลวงปู่ทวด...
    ..อีกครั้งนึง เราทำธุรกิจ แล้วมีศัตรู...ปกติทุกเช้า จะออกจากบ้าน 9.00 น. คือ รอให้รถหายติดก่อน....วันนั้นก็เช่นเคย...มีลางสังหรณ์ว่า อย่าเพิ่งออกไป...ก็กลับมากินกาแฟ อ่านหนังสือ อะไรไปเรื่อยจนถึง 10.30 น. ....พอเปิดรั้ว..เห็นก้นบุหรี่จำนวนมาก..เลยเดินไปถามบ้านตรงข้ามว่า ใครมายืนสูบและทิ้งตรงนี้ ...ได้คำตอบว่า มีคนแต่งกายเหมือนทหาร..ครึ่งท่อน 3 คน..เดินวนไปมา .ตั้งนานแล้ว..เพิ่งไปเมื้อสักครู่....ก็อ่อเลย..คือ จะมาดักอุ้มเราแน่...
    ..ตอนนั้น ห้อย เสือเผ่น ปี 17 หลวงพ่อสุดวัดกาหลง เดี๋ยวๆเลย.
    ,...ต่อ Ep 2
    สักครู่ดูคลิป อ.คนดัง...ออกมาพูดว่า พุทธคุณพระเครื่อง ถ้ามีจริง ต้องใช้ได้กับทุกคนสิ....เอาประสบการณ์ของผู้เขียนเอง. และพบเจอกับมหาเศรษญีเมืองไทย นักเลง โจร ก็มากมาย.... ..ผู้เขียน ขับรถ หลับใน ครั้งแรก รถกำลังจะขึ้นเกาะกลาง..มีคนกระชากตัวอย่างแรง จนตื่น หักพวงมาลัยทัน.... ..ครั้งที่ 2 หลับเช่นเคย 6 โมงเช้า เพิ่งเลิกดื่ม...อยู่บนทางด่วน..รถเองแถไป..กำลังจะพุงลงทางด่วน...เช่นเคย มีคนกระขากจนตื่น...หักพวงมาลัยกลับทัน..และรถข้างๆที่หักไปหาเขาก็หลบเราทันด้วย... ....2 ครั้งนี้ พระองค์เดียวกัน คือ หลวงปู่ทวด... ..อีกครั้งนึง เราทำธุรกิจ แล้วมีศัตรู...ปกติทุกเช้า จะออกจากบ้าน 9.00 น. คือ รอให้รถหายติดก่อน....วันนั้นก็เช่นเคย...มีลางสังหรณ์ว่า อย่าเพิ่งออกไป...ก็กลับมากินกาแฟ อ่านหนังสือ อะไรไปเรื่อยจนถึง 10.30 น. ....พอเปิดรั้ว..เห็นก้นบุหรี่จำนวนมาก..เลยเดินไปถามบ้านตรงข้ามว่า ใครมายืนสูบและทิ้งตรงนี้ ...ได้คำตอบว่า มีคนแต่งกายเหมือนทหาร..ครึ่งท่อน 3 คน..เดินวนไปมา .ตั้งนานแล้ว..เพิ่งไปเมื้อสักครู่....ก็อ่อเลย..คือ จะมาดักอุ้มเราแน่... ..ตอนนั้น ห้อย เสือเผ่น ปี 17 หลวงพ่อสุดวัดกาหลง เดี๋ยวๆเลย. ,...ต่อ Ep 2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 206 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts