สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท
ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน
นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย
เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้
Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ
#StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000 http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html https://www.sohu.com/a/251827031_100152441 #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท
ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน
นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย
เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้
Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000
http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html
https://www.sohu.com/a/251827031_100152441
#ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ