• Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4)
    *****************
    เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ
    เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน
    กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ
    ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย
    มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น
    พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น
    *****************
    USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ
    สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู
    ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้
    1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563
    2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566
    3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563
    4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571
    5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold

    *****************
    รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน
    การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ
    ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
    การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น
    *****************
    EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม
    ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA
    *****************
    ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
    พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน
    สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย
    เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้
    *****************
    อ้างอิง :
    • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia
    • World Gold Council https://www.gold.org/
    • EarthRights International
    Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4) ***************** เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น ***************** USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้ 1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563 2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566 3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563 4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571 5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold ***************** รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น ***************** EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA ***************** ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้ ***************** อ้างอิง : • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia • World Gold Council https://www.gold.org/ • EarthRights International
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 754 มุมมอง 0 รีวิว

  • ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 842 มุมมอง 0 รีวิว
  • 4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน

    ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥

    🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢

    แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ

    🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ

    จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣

    🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต

    ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี

    ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊

    เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น.

    🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน

    📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน
    9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่
    10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย
    11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที

    💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม

    📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง

    💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน

    คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด

    🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง

    📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค

    📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น

    ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠

    🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥

    🌐 คำถามที่คาใจ
    ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN?
    การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่?
    การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า?

    เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า

    🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา

    🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค

    พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม

    ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน

    พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง”

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568

    📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥 🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢 แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ 🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣 🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊ เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น. 🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน 📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน 9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่ 10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย 11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที 💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม 📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง 💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด 🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง 📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค 📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠 🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥 🌐 คำถามที่คาใจ ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN? การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่? การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า? เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า 🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา 🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง” ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568 📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 530 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอเอฟพี - ผู้ลี้ภัยในค่ายบรรเทาทุกข์ของพม่าที่สิ้นหวัง ได้รับความช่วยเหลือครั้งสุดท้ายจากโครงการอาหารโลกเมื่อวันพุธ (19) เนื่องจากหน่วยงานของสหประชาชาติเริ่มหยุดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนนับล้านในประเทศแห่งนี้เพราะขาดแคลนเงินทุน

    การตัดงบประมาณความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้โครงการอาหารโลกขาดแคลนเงินทุนอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้องตัดงบประมาณครั้งใหญ่ในพม่า ที่อยู่ในสถานการณ์สงครามกลางเมืองมาเป็นเวลา 4 ปี

    “ฉันภาวนาทุกคืนขอให้ข่าวนี้ไม่เป็นความจริง” บยาร์ มี ที่ได้รับความช่วยเหลือรายเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าประมาณ 50 ดอลลาร์ ซึ่งเธอใช้เลี้ยงดูครอบครัว 5 คน กล่าว

    “ฉันภาวนาต่อพระเจ้าให้ผู้บริจาคได้รับพรและให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือพวกเราได้อีกครั้ง ได้โปรดช่วยเหลือพวกเรา สงสารเราด้วย” บยาร์ มี กล่าวกับเอเอฟพี จากค่ายแห่งหนึ่งนอกเมืองมิตจีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

    นับตั้งแต่กองทัพพม่าเข้าโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนในปี 2564 ประเทศเผชิญกับความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายพันคน และทำให้ผู้คนหลายล้านต้องพลัดถิ่น และทำให้อัตราความยากจนเพิ่มขึ้น 50%

    เนื่องจากการตัดความช่วยเหลือ โครงการอาหารโลกระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือได้เพียง 35,000 คนในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นเพียงเศษเสี้ยวของ 15 ล้านคน ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาหารในแต่ละวันของตนเองได้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000026719

    #MGROnline #ผู้ลี้ภัย #ค่ายบรรเทาทุกข์ของพม่า #โครงการอาหารโลก #สหประชาชาติ
    เอเอฟพี - ผู้ลี้ภัยในค่ายบรรเทาทุกข์ของพม่าที่สิ้นหวัง ได้รับความช่วยเหลือครั้งสุดท้ายจากโครงการอาหารโลกเมื่อวันพุธ (19) เนื่องจากหน่วยงานของสหประชาชาติเริ่มหยุดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนนับล้านในประเทศแห่งนี้เพราะขาดแคลนเงินทุน • การตัดงบประมาณความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้โครงการอาหารโลกขาดแคลนเงินทุนอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้องตัดงบประมาณครั้งใหญ่ในพม่า ที่อยู่ในสถานการณ์สงครามกลางเมืองมาเป็นเวลา 4 ปี • “ฉันภาวนาทุกคืนขอให้ข่าวนี้ไม่เป็นความจริง” บยาร์ มี ที่ได้รับความช่วยเหลือรายเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าประมาณ 50 ดอลลาร์ ซึ่งเธอใช้เลี้ยงดูครอบครัว 5 คน กล่าว • “ฉันภาวนาต่อพระเจ้าให้ผู้บริจาคได้รับพรและให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือพวกเราได้อีกครั้ง ได้โปรดช่วยเหลือพวกเรา สงสารเราด้วย” บยาร์ มี กล่าวกับเอเอฟพี จากค่ายแห่งหนึ่งนอกเมืองมิตจีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ • นับตั้งแต่กองทัพพม่าเข้าโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนในปี 2564 ประเทศเผชิญกับความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายพันคน และทำให้ผู้คนหลายล้านต้องพลัดถิ่น และทำให้อัตราความยากจนเพิ่มขึ้น 50% • เนื่องจากการตัดความช่วยเหลือ โครงการอาหารโลกระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือได้เพียง 35,000 คนในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นเพียงเศษเสี้ยวของ 15 ล้านคน ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาหารในแต่ละวันของตนเองได้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000026719 • #MGROnline #ผู้ลี้ภัย #ค่ายบรรเทาทุกข์ของพม่า #โครงการอาหารโลก #สหประชาชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 615 มุมมอง 0 รีวิว
  • การสู้รบดุเดือดนาน 2 สัปดาห์ระหว่างกองทัพพม่าและกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหารใกล้กับพื้นที่พัฒนาของจีนในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ ทำให้พลเรือนมากกว่า 20,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนตนเอง และทำให้เกิดความต้องการด้านอาหารและยาอย่างเร่งด่วน ตามการระบุของคนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์

    กองทัพอาระกัน (AA) เป็นหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่แข็งแกร่งที่สุดของพม่า และกำลังต่อสู้เพื่อเข้าควบคุมเมืองจอก์พยู เมืองท่าชายฝั่งตะวันตก โดยกลุ่มติดอาวุธใกล้จะบรรลุเป้าหมายในการเอาชนะกองกำลังทหารของรัฐบาลที่เข้ายึดอำนาจในปี 2564 ได้หมดทั้งรัฐ

    เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ในเมืองจอก์พยูกล่าวว่าการปะทะกันระหว่างกองทัพอาระกันและกองทัพได้ทวีความรุนแรงขึ้นใกล้กับฐานทัพเรือธัญญาวดี ของรัฐบาลทหารใกล้เมืองจอก์พยู ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ. ทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงอย่างน้อย 10 แห่ง ต้องอพยพออกไป

    “จำนวนผู้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นจาก 10,000 คน เป็นประมาณ 20,000 คน นับตั้งแต่การสู้รบทวีความรุนแรงขึ้น” เจ้าหน้าที่ ระบุ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000021489

    #MGROnline #กองทัพพม่า #กลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหาร
    การสู้รบดุเดือดนาน 2 สัปดาห์ระหว่างกองทัพพม่าและกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหารใกล้กับพื้นที่พัฒนาของจีนในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ ทำให้พลเรือนมากกว่า 20,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนตนเอง และทำให้เกิดความต้องการด้านอาหารและยาอย่างเร่งด่วน ตามการระบุของคนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ • กองทัพอาระกัน (AA) เป็นหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่แข็งแกร่งที่สุดของพม่า และกำลังต่อสู้เพื่อเข้าควบคุมเมืองจอก์พยู เมืองท่าชายฝั่งตะวันตก โดยกลุ่มติดอาวุธใกล้จะบรรลุเป้าหมายในการเอาชนะกองกำลังทหารของรัฐบาลที่เข้ายึดอำนาจในปี 2564 ได้หมดทั้งรัฐ • เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ในเมืองจอก์พยูกล่าวว่าการปะทะกันระหว่างกองทัพอาระกันและกองทัพได้ทวีความรุนแรงขึ้นใกล้กับฐานทัพเรือธัญญาวดี ของรัฐบาลทหารใกล้เมืองจอก์พยู ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ. ทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงอย่างน้อย 10 แห่ง ต้องอพยพออกไป • “จำนวนผู้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นจาก 10,000 คน เป็นประมาณ 20,000 คน นับตั้งแต่การสู้รบทวีความรุนแรงขึ้น” เจ้าหน้าที่ ระบุ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000021489 • #MGROnline #กองทัพพม่า #กลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหาร
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 485 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 ปี “ก๊อด'ส อาร์มี่” บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี บทเรียนแห่งความสูญเสีย และความเด็ดขาด

    เช้าตรู่แห่งความเปลี่ยนแปลง
    ย้อนไปเมื่อ 25 ปี ที่ผ่านมา ในเช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 ถือเป็นวันที่ชาวราชบุรี และประเทศไทยทั้งประเทศ ไม่มีวันลืมได้ นายพินิจ ปองมณี คนขับรถบัสสาย 18 ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้พบกับเหตุการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ไปตลอดกาล เมื่อชายสองคนโบกรถ และกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของปฏิบัติการก่อการร้าย ที่สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

    "ก๊อด'ส อาร์มี่" กองกำลังที่อยู่เบื้องหลัง
    กองกำลัง "ก๊อด'ส อาร์มี่" เป็นกลุ่มติดอาวุธ ที่มีจุดกำเนิดจากชายแดนไทย-พม่า กลุ่มนี้นำโดยคู่แฝด “ลูเธอร์ ทู” และ “จอห์นนี่ ทู” ซึ่งได้รับการยกย่อง จากผู้ติดตามว่าเป็น “นักบุญ” และมีพลังเหนือธรรมชาติ แนวทางของกลุ่มคือ การต่อต้านรัฐบาลพม่า เพื่อเรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง ของชาวกะเหรี่ยง

    ด้วยแรงกดดัน จากการโจมตีของกองทัพพม่า กลุ่มนี้หันมาใช้วิธีการรุนแรง เช่น การจับตัวประกัน และบุกยึดสถานที่สำคัญ โดยหวังให้ทั่วโลกสนใจ ประเด็นผู้อพยพชายแดน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนนั้น

    เหตุการณ์การยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
    เมื่อชายฉกรรจ์ทั้ง 10 คน พร้อมอาวุธครบมือขึ้นรถบัส พวกเขาเริ่มดำเนินแผนการณ์ ด้วยการบุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี สถานที่ที่มีหมอ พยาบาล และผู้ป่วยที่ต้องการการดูแล ในขณะนั้น

    การดำเนินการของกลุ่มก่อการร้าย เป็นไปอย่างรวดเร็ว พวกเขาสามารถควบคุมตัวบุคลากร และผู้ป่วยรวมกว่า 780 คน และตั้งฐานในบริเวณชั้น 2 ของโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายหลักคือ การบีบบังคับให้รัฐบาลไทย ตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือผู้อพยพ

    ข้อเรียกร้องที่แฝงด้วยความสิ้นหวัง
    ข้อเรียกร้องของ "ก๊อด'ส อาร์มี่" ในครั้งนี้ สะท้อนถึงความสิ้นหวังของพวกเขา
    - ให้หยุดยิงปืนใหญ่ที่ชายแดน ซึ่งกระทบต่อชีวิตผู้อพยพ
    - เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แก่ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง
    - เปิดชายแดนไทย-พม่า เพื่อให้ผู้อพยพมีที่พักพิง
    - กดดันรัฐบาลพม่า ให้หยุดการสู้รบ
    - นำแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ ไปรักษากองกำลังกะเหรี่ยง ในชายแดน

    แม้ข้อเรียกร้องเหล่านี้ จะดูมีความหมายในแง่มนุษยธรรม แต่การกระทำของพวกเขา ได้ละเมิดอธิปไตยของไทย และสร้างความเสียหาย ต่อภาพลักษณ์ของกลุ่ม อย่างร้ายแรง

    แผนปฏิบัติการช่วยเหลือ
    รัฐบาลไทยเผชิญกับ ทางเลือกที่ยากลำบาก ระหว่างการตอบสนอง ต่อข้อเรียกร้องของผู้ก่อเหตุ หรือการใช้กำลัง เพื่อยุติสถานการณ์ ในที่สุด พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบก ในขณะนั้น ได้วางแผนปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อรินทราช 26 และนเรศวร 261 เพื่อเข้าเคลียร์พื้นที่และช่วยเหลือตัวประกัน

    ปฏิบัติการช่วงชิงเวลา
    ในคืนวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 หลังการเจรจาที่ไม่เป็นผลสำเร็จ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ได้ตัดสินใจบุกยึดพื้นที่ในช่วงเวลาที่ผู้ก่อเหตุเริ่มอ่อนล้า ด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และรัดกุม โดยสามารถสังหารผู้ก่อเหตุทั้งหมด 10 คน และช่วยเหลือตัวประกันได้สำเร็จ โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต ของพลเรือน

    บทเรียนที่ได้รับ ความสำคัญของการประสานงานหลายฝ่าย
    เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึง การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างกองทัพ ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถลดความสูญเสีย ได้อย่างมาก

    จุดยืนของประเทศไทย
    การปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ประเทศไทยจะไม่ยอมจำนน ต่อการก่อการร้าย และพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของตน

    ผลกระทบต่อกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่
    การสูญเสียผู้นำสำคัญ ในการปฏิบัติการครั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ อ่อนแอลงอย่างมาก และในที่สุด ก็สลายตัวลงในปีถัดมา

    25 ปีผ่านไป บทเรียนสู่อนาคต
    เหตุการณ์ในวันนั้น ยังคงเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ให้แก่หน่วยงานด้านความมั่นคง และคนไทยทุกคน การเผชิญหน้ากับความท้าทายเช่นนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ความเด็ดขาด และความเสียสละ จากทุกฝ่าย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241345 ม.ค. 2568

    #GodsArmy #ราชบุรี #เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ #บุกโรงพยาบาล #ข่าวด่วนราชบุรี #กองกำลังติดอาวุธ #ประเทศไทย
    25 ปี “ก๊อด'ส อาร์มี่” บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี บทเรียนแห่งความสูญเสีย และความเด็ดขาด เช้าตรู่แห่งความเปลี่ยนแปลง ย้อนไปเมื่อ 25 ปี ที่ผ่านมา ในเช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 ถือเป็นวันที่ชาวราชบุรี และประเทศไทยทั้งประเทศ ไม่มีวันลืมได้ นายพินิจ ปองมณี คนขับรถบัสสาย 18 ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้พบกับเหตุการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ไปตลอดกาล เมื่อชายสองคนโบกรถ และกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของปฏิบัติการก่อการร้าย ที่สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย "ก๊อด'ส อาร์มี่" กองกำลังที่อยู่เบื้องหลัง กองกำลัง "ก๊อด'ส อาร์มี่" เป็นกลุ่มติดอาวุธ ที่มีจุดกำเนิดจากชายแดนไทย-พม่า กลุ่มนี้นำโดยคู่แฝด “ลูเธอร์ ทู” และ “จอห์นนี่ ทู” ซึ่งได้รับการยกย่อง จากผู้ติดตามว่าเป็น “นักบุญ” และมีพลังเหนือธรรมชาติ แนวทางของกลุ่มคือ การต่อต้านรัฐบาลพม่า เพื่อเรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง ของชาวกะเหรี่ยง ด้วยแรงกดดัน จากการโจมตีของกองทัพพม่า กลุ่มนี้หันมาใช้วิธีการรุนแรง เช่น การจับตัวประกัน และบุกยึดสถานที่สำคัญ โดยหวังให้ทั่วโลกสนใจ ประเด็นผู้อพยพชายแดน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนนั้น เหตุการณ์การยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อชายฉกรรจ์ทั้ง 10 คน พร้อมอาวุธครบมือขึ้นรถบัส พวกเขาเริ่มดำเนินแผนการณ์ ด้วยการบุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี สถานที่ที่มีหมอ พยาบาล และผู้ป่วยที่ต้องการการดูแล ในขณะนั้น การดำเนินการของกลุ่มก่อการร้าย เป็นไปอย่างรวดเร็ว พวกเขาสามารถควบคุมตัวบุคลากร และผู้ป่วยรวมกว่า 780 คน และตั้งฐานในบริเวณชั้น 2 ของโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายหลักคือ การบีบบังคับให้รัฐบาลไทย ตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ที่เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือผู้อพยพ ข้อเรียกร้องที่แฝงด้วยความสิ้นหวัง ข้อเรียกร้องของ "ก๊อด'ส อาร์มี่" ในครั้งนี้ สะท้อนถึงความสิ้นหวังของพวกเขา - ให้หยุดยิงปืนใหญ่ที่ชายแดน ซึ่งกระทบต่อชีวิตผู้อพยพ - เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แก่ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง - เปิดชายแดนไทย-พม่า เพื่อให้ผู้อพยพมีที่พักพิง - กดดันรัฐบาลพม่า ให้หยุดการสู้รบ - นำแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ ไปรักษากองกำลังกะเหรี่ยง ในชายแดน แม้ข้อเรียกร้องเหล่านี้ จะดูมีความหมายในแง่มนุษยธรรม แต่การกระทำของพวกเขา ได้ละเมิดอธิปไตยของไทย และสร้างความเสียหาย ต่อภาพลักษณ์ของกลุ่ม อย่างร้ายแรง แผนปฏิบัติการช่วยเหลือ รัฐบาลไทยเผชิญกับ ทางเลือกที่ยากลำบาก ระหว่างการตอบสนอง ต่อข้อเรียกร้องของผู้ก่อเหตุ หรือการใช้กำลัง เพื่อยุติสถานการณ์ ในที่สุด พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบก ในขณะนั้น ได้วางแผนปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อรินทราช 26 และนเรศวร 261 เพื่อเข้าเคลียร์พื้นที่และช่วยเหลือตัวประกัน ปฏิบัติการช่วงชิงเวลา ในคืนวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 หลังการเจรจาที่ไม่เป็นผลสำเร็จ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ได้ตัดสินใจบุกยึดพื้นที่ในช่วงเวลาที่ผู้ก่อเหตุเริ่มอ่อนล้า ด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และรัดกุม โดยสามารถสังหารผู้ก่อเหตุทั้งหมด 10 คน และช่วยเหลือตัวประกันได้สำเร็จ โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต ของพลเรือน บทเรียนที่ได้รับ ความสำคัญของการประสานงานหลายฝ่าย เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึง การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างกองทัพ ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถลดความสูญเสีย ได้อย่างมาก จุดยืนของประเทศไทย การปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ประเทศไทยจะไม่ยอมจำนน ต่อการก่อการร้าย และพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของตน ผลกระทบต่อกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ การสูญเสียผู้นำสำคัญ ในการปฏิบัติการครั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ อ่อนแอลงอย่างมาก และในที่สุด ก็สลายตัวลงในปีถัดมา 25 ปีผ่านไป บทเรียนสู่อนาคต เหตุการณ์ในวันนั้น ยังคงเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ให้แก่หน่วยงานด้านความมั่นคง และคนไทยทุกคน การเผชิญหน้ากับความท้าทายเช่นนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ความเด็ดขาด และความเสียสละ จากทุกฝ่าย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241345 ม.ค. 2568 #GodsArmy #ราชบุรี #เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ #บุกโรงพยาบาล #ข่าวด่วนราชบุรี #กองกำลังติดอาวุธ #ประเทศไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 883 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตือนข่าวสด อย่าตกเป็นเครื่องมือตะวันตก
    ปั่นกระแส“ว้าแดงรุกล้ำ ปลุกไทยสู้รบ”
    .
    ข่าวการรุกล้ำดินแดนไทยของทหารว้าเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคเหนือของรัฐฉานกำลังเริ่มจะคลี่คลาย มีสัญญาณบวกเกิดขึ้นหลายสัญญาณ หลังจากที่จีนออกหน้าเป็นตัวกลางให้มีการเจรจาสันติภาพกันระหว่างกองทัพพม่า กับกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ที่สู้รบกันดุเดือดมาตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน
    .
    การมีการสู้รบทางภาคเหนือของรัฐฉาน เชื่อกันว่ามีอเมริกาและประเทศตะวันตกอยู่เบื้องหลัง เพราะพื้นที่สู้รบอยู่บนเส้นทางคมนาคมหลักของระเบียงเศรษฐกิจจีน พม่า ที่จีนตั้งใจจะใช้เป็นทางออกทะเลสู่มหาสมุทรอินเดีย
    .
    กองทัพว้า เป็นกองทัพขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง เรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ของกองทัพทั้งสองที่กำลังรบอยู่กับกองทัพพม่า
    .
    กองทัพว้า มีความใกล้ชิดกับทั้งจีนและกองทัพพม่า ในกระบวนการเจรจาสันติภาพในภาคเหนือของรัฐฉานที่มีจีนเป็นตัวกลาง กองทัพว้ามีบทบาทร่วมกดดันให้กองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ยุติการสู้รบกับกองทัพพม่า โดยใช้วิธีตัดความช่วยเหลือทุกด้านที่กองทัพว้าเคยให้กับกองทัพทั้งสองตามคำร้องขอของจีน
    .
    เรื่องกองกำลังว้าแดงแถวแม่ฮ่องสอนรุกเข้ามาที่ไทย เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เป็นเรื่องที่เราเคยล้ำเส้นเขา เขาล้ำเส้นเรา ว้าแดงคือคนพื้นที่ที่อยู่ตรงนั้นมานานแล้ว อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ใช้เทคโนโลยีจีน มีรถถัง มีขีปนาวุธ เพราะจีนหนุนว้าแดงเพื่อให้ปราบชนกลุ่มน้อยที่ไปเข้ายืนข้างทางตะวันตก แล้วหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ก็ตกเป็นเครื่องมือของทางตะวันตกอย่างเต็มตัว
    .
    ข่าวสด ครับ ฟังทางนี้นะครับ หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า วิทยุเอเชียเสรี เป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ของรัฐบาลสหรัฐฯ นี่เอง แท้จริงแล้วไม่ใช่สื่อเสรี แต่เป็นสื่อทำตามธงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นั่นเอง
    .
    ในภาพใหญ่ เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตกใช้เพื่อดำเนินการกดดันและปิดล้อมการแผ่อิทธิพลของจีนอย่างแน่นอน โดยใช้ประเทศไทยเราเป็นหมากเบี้ย ปั่นให้เราทะเลาะกับว้านั่นเอง น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ตกเป็นเครื่องมือของตะวันตกโดยไม่รู้ตัว
    เตือนข่าวสด อย่าตกเป็นเครื่องมือตะวันตก ปั่นกระแส“ว้าแดงรุกล้ำ ปลุกไทยสู้รบ” . ข่าวการรุกล้ำดินแดนไทยของทหารว้าเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคเหนือของรัฐฉานกำลังเริ่มจะคลี่คลาย มีสัญญาณบวกเกิดขึ้นหลายสัญญาณ หลังจากที่จีนออกหน้าเป็นตัวกลางให้มีการเจรจาสันติภาพกันระหว่างกองทัพพม่า กับกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ที่สู้รบกันดุเดือดมาตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน . การมีการสู้รบทางภาคเหนือของรัฐฉาน เชื่อกันว่ามีอเมริกาและประเทศตะวันตกอยู่เบื้องหลัง เพราะพื้นที่สู้รบอยู่บนเส้นทางคมนาคมหลักของระเบียงเศรษฐกิจจีน พม่า ที่จีนตั้งใจจะใช้เป็นทางออกทะเลสู่มหาสมุทรอินเดีย . กองทัพว้า เป็นกองทัพขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง เรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ของกองทัพทั้งสองที่กำลังรบอยู่กับกองทัพพม่า . กองทัพว้า มีความใกล้ชิดกับทั้งจีนและกองทัพพม่า ในกระบวนการเจรจาสันติภาพในภาคเหนือของรัฐฉานที่มีจีนเป็นตัวกลาง กองทัพว้ามีบทบาทร่วมกดดันให้กองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ยุติการสู้รบกับกองทัพพม่า โดยใช้วิธีตัดความช่วยเหลือทุกด้านที่กองทัพว้าเคยให้กับกองทัพทั้งสองตามคำร้องขอของจีน . เรื่องกองกำลังว้าแดงแถวแม่ฮ่องสอนรุกเข้ามาที่ไทย เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เป็นเรื่องที่เราเคยล้ำเส้นเขา เขาล้ำเส้นเรา ว้าแดงคือคนพื้นที่ที่อยู่ตรงนั้นมานานแล้ว อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ใช้เทคโนโลยีจีน มีรถถัง มีขีปนาวุธ เพราะจีนหนุนว้าแดงเพื่อให้ปราบชนกลุ่มน้อยที่ไปเข้ายืนข้างทางตะวันตก แล้วหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ก็ตกเป็นเครื่องมือของทางตะวันตกอย่างเต็มตัว . ข่าวสด ครับ ฟังทางนี้นะครับ หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า วิทยุเอเชียเสรี เป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ของรัฐบาลสหรัฐฯ นี่เอง แท้จริงแล้วไม่ใช่สื่อเสรี แต่เป็นสื่อทำตามธงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นั่นเอง . ในภาพใหญ่ เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตกใช้เพื่อดำเนินการกดดันและปิดล้อมการแผ่อิทธิพลของจีนอย่างแน่นอน โดยใช้ประเทศไทยเราเป็นหมากเบี้ย ปั่นให้เราทะเลาะกับว้านั่นเอง น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ตกเป็นเครื่องมือของตะวันตกโดยไม่รู้ตัว
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 691 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปูมตำ ทำไรอยู่ ตะหานพม่ายัดข้อหาลูกเรือไทยเอี่ยวกลุ่มต่อต้านกองทัพพม่า ทั้งที่มีลูกเรือไทยอยู่ 5 คน มีลูกเรือพม่า 25 คน
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    ปูมตำ ทำไรอยู่ ตะหานพม่ายัดข้อหาลูกเรือไทยเอี่ยวกลุ่มต่อต้านกองทัพพม่า ทั้งที่มีลูกเรือไทยอยู่ 5 คน มีลูกเรือพม่า 25 คน #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 332 มุมมอง 0 รีวิว
  • แรงมา-แรงไป ! การสู้รบในภาคเหนือของรัฐฉาน เริ่มดุเดือดและโหดหนักขึ้นเรื่อยๆ หลังกองทัพโกก้างนำโดรนบินไปทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลทหารในเมืองล่าเสี้ยว คร่าชีวิตนายทหารหลายสิบนายที่กำลังนอนรักษาตัว ขณะที่กองทัพพม่าตอบโต้กลับ ส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดโรงพยาบาลในเล่าก์ก่ายกลางดึก ชาวบ้านเสียชีวิต 10 คน

    2 สิงหาคม 2567- สำนักข่าว Khit Thit Media สื่อซึ่งให้การสนับสนุนความเคลื่อนไหวของรัฐบาลเงา (NUG) และกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) ได้รายงานสถานการณ์ในเมืองล่าเสี้ยว ภาคเหนือของรัฐฉาน ซึ่งยังคงมีการสู้รบกันอย่างดุเดือดระหว่างกองทัพโกก้าง (MNDAA) กับกองทัพพม่า ระบุว่า เมื่อวานนี้(1 ส.ค.) กองทัพโกก้าง ได้บังคับโดรนให้บินไปทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลทหารหมายเลข 9 ขนาด 100 เตียง ของกองบัญชาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเมืองล่าเสี้ยว

    ตามรายงานของ Khit Thit Media ยืนยันว่า การโจมตีด้วยระเบิดของกองทัพโกก้างครั้งนี้ ส่งผลให้นายทหารหลายสิบนาย ซึ่งกำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลแห่งนี้ ต้องเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ในนี้ รวมถึง พล.ต.โซติ้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก็เสียชีวิตจากเหตุระเบิดครั้งนี้

    ขณะที่ Eleven Media Group รายงานว่า หลังจากโดรนได้บินไปทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลแล้ว ยังมีกำลังทหารโกก้างจำนวนมาก บุกเข้าไปโจมตีทหารพม่าที่เคลื่อนไหวอยู่ภายในโรงพยาบาล เกิดการยิงต่อสู้กัน ซึ่งได้คร่าชีวิต แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลในช่วงนั้นไปมากกว่า 100 คน

    สำนักข่าว Shan News รายงานว่า หลังเกิดเหตุกองทัพโกก้าง ได้โจมตีโรงพยาบาลทหารในเมืองล่าเสี้ยวด้วยระเบิดเมื่อวานนี้แล้ว ช่วงเวลาประมาณ 01.00 น. ของวันนี้(2 ส.ค.) กองทัพพม่าได้ส่งเครื่องบินรบ บินไปทิ้งระเบิดลงยังโรงพยาบาลในเมืองเล่าก์ก่าย เมืองหลวงของพื้นที่พิเศษหมายเลข 1 เขตปกครองตนเองชนชาติโกก้าง ชายแดนรัฐฉาน-จีน ตรงข้ามกับเขตปกครองตนเองชนชาติไตและว้า กึ่งม้า จังหวัดหลินชาง มณฑลยูนนาน

    ตามรายงานของ Shan News ระบุว่า แรงระเบิด นอกจากสร้างความเสียหายแก่โรงพยาบาลแล้ว ยังทำลายอาคารที่ตั้งอยู่โดยรอบโรงพยาบาลได้รับความเสียหายไปอีกมากกว่า 10 หลัง มีชาวบ้านเล่าก์ก่าย 10 คน เสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 10 คน จากการทิ้งระเบิดครั้งนี้

    https://sondhitalk.com/detail/9670000069987

    #Thaitimes
    แรงมา-แรงไป ! การสู้รบในภาคเหนือของรัฐฉาน เริ่มดุเดือดและโหดหนักขึ้นเรื่อยๆ หลังกองทัพโกก้างนำโดรนบินไปทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลทหารในเมืองล่าเสี้ยว คร่าชีวิตนายทหารหลายสิบนายที่กำลังนอนรักษาตัว ขณะที่กองทัพพม่าตอบโต้กลับ ส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดโรงพยาบาลในเล่าก์ก่ายกลางดึก ชาวบ้านเสียชีวิต 10 คน 2 สิงหาคม 2567- สำนักข่าว Khit Thit Media สื่อซึ่งให้การสนับสนุนความเคลื่อนไหวของรัฐบาลเงา (NUG) และกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) ได้รายงานสถานการณ์ในเมืองล่าเสี้ยว ภาคเหนือของรัฐฉาน ซึ่งยังคงมีการสู้รบกันอย่างดุเดือดระหว่างกองทัพโกก้าง (MNDAA) กับกองทัพพม่า ระบุว่า เมื่อวานนี้(1 ส.ค.) กองทัพโกก้าง ได้บังคับโดรนให้บินไปทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลทหารหมายเลข 9 ขนาด 100 เตียง ของกองบัญชาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเมืองล่าเสี้ยว ตามรายงานของ Khit Thit Media ยืนยันว่า การโจมตีด้วยระเบิดของกองทัพโกก้างครั้งนี้ ส่งผลให้นายทหารหลายสิบนาย ซึ่งกำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลแห่งนี้ ต้องเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ในนี้ รวมถึง พล.ต.โซติ้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก็เสียชีวิตจากเหตุระเบิดครั้งนี้ ขณะที่ Eleven Media Group รายงานว่า หลังจากโดรนได้บินไปทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลแล้ว ยังมีกำลังทหารโกก้างจำนวนมาก บุกเข้าไปโจมตีทหารพม่าที่เคลื่อนไหวอยู่ภายในโรงพยาบาล เกิดการยิงต่อสู้กัน ซึ่งได้คร่าชีวิต แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลในช่วงนั้นไปมากกว่า 100 คน สำนักข่าว Shan News รายงานว่า หลังเกิดเหตุกองทัพโกก้าง ได้โจมตีโรงพยาบาลทหารในเมืองล่าเสี้ยวด้วยระเบิดเมื่อวานนี้แล้ว ช่วงเวลาประมาณ 01.00 น. ของวันนี้(2 ส.ค.) กองทัพพม่าได้ส่งเครื่องบินรบ บินไปทิ้งระเบิดลงยังโรงพยาบาลในเมืองเล่าก์ก่าย เมืองหลวงของพื้นที่พิเศษหมายเลข 1 เขตปกครองตนเองชนชาติโกก้าง ชายแดนรัฐฉาน-จีน ตรงข้ามกับเขตปกครองตนเองชนชาติไตและว้า กึ่งม้า จังหวัดหลินชาง มณฑลยูนนาน ตามรายงานของ Shan News ระบุว่า แรงระเบิด นอกจากสร้างความเสียหายแก่โรงพยาบาลแล้ว ยังทำลายอาคารที่ตั้งอยู่โดยรอบโรงพยาบาลได้รับความเสียหายไปอีกมากกว่า 10 หลัง มีชาวบ้านเล่าก์ก่าย 10 คน เสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 10 คน จากการทิ้งระเบิดครั้งนี้ https://sondhitalk.com/detail/9670000069987 #Thaitimes
    SONDHITALK.COM
    เหี้ยมพอกัน! โดรนโกก้างทิ้งระเบิด รพ.ทหารล่าเสี้ยว ทัพพม่าโต้กลับบอมบ์ รพ.เล่าก์ก่าย
    การสู้รบในภาคเหนือของรัฐฉาน เริ่มโหดร้ายหนักขึ้นเรื่อยๆ หลังกองทัพโกก้างนำโดรนบินไปทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลทหารในเมืองล่าเสี้ยว คร่าชีวิตนายทหารหลายสิบนายที่กำลังนอนรักษาตัว กองทัพพม่าตอบโต้กลับ ส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดโรงพยาบาลใ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 642 มุมมอง 0 รีวิว