• 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
    แนวโน้มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง
    ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัว
    จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ
    และในปี 2568 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
    แต่ในอัตราที่ลดลง

    🚩ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง
    โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้
    ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567-2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง

    🚩ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย
    และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย
    และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัว
    ของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง
    ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป

    🚩โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    ในปี 2567 จะหดตัวราว -10% (เทียบปีต่อปี) และหดตัวต่อเนื่องราว
    -1% ถึง -3% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568

    🚩ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567
    มีแนวโน้มหดตัวราว -9% (เทียบปีต่อปี) แต่อาจเริ่มทรงตัวได้
    หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2% (ปีต่อปี) ในปี 2568

    🚩ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัว
    ในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย
    เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า


    🚩การเปิดโครงการใหม่ในปี 2567-2568 ยังมีแนวโน้มหดตัว
    ต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ
    จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น

    🚩อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัย
    เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว
    -28% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2567 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว
    -2% ถึง -4% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
    โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก
    เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ

    🚩นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรา
    กำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง
    ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน

    🚩ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไป
    อย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบาย
    สินค้าคงเหลือ มากขึ้นแทน


    🚩ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัย
    ที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้อง
    ปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ
    ควรให้ความสำคัญ ได้แก่

    🚩1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง
    🚩2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด
    🚩3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ
    🚩4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษา
    อัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ
    กับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น
    โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    ที่มา : scbeic
    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อสังหาริมทรัพย์ #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล แนวโน้มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัว จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ และในปี 2568 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ลดลง 🚩ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้ ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567-2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง 🚩ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัว ของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป 🚩โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในปี 2567 จะหดตัวราว -10% (เทียบปีต่อปี) และหดตัวต่อเนื่องราว -1% ถึง -3% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568 🚩ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัวราว -9% (เทียบปีต่อปี) แต่อาจเริ่มทรงตัวได้ หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2% (ปีต่อปี) ในปี 2568 🚩ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัว ในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า 🚩การเปิดโครงการใหม่ในปี 2567-2568 ยังมีแนวโน้มหดตัว ต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น 🚩อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัย เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว -28% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2567 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว -2% ถึง -4% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568 โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ 🚩นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรา กำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน 🚩ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไป อย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบาย สินค้าคงเหลือ มากขึ้นแทน 🚩ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัย ที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้อง ปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 🚩1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง 🚩2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด 🚩3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ 🚩4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษา อัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ กับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มา : scbeic #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อสังหาริมทรัพย์ #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 619 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยข้อมูล
    เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
    จะได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออก

    🚩โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    ในไตรมาส 4 จากกลุ่มตลาดประเทศระยะไกล
    รวมถึงการท่องเที่ยวในประเทศจะได้ปัจจัยบวก
    จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ
    ที่จะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ
    และเมืองน่าเที่ยว

    🚩การส่งออกไทยจะขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญ
    จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น อย่างไรก็ดี
    ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยยังฟื้นตัวได้ช้า
    และมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน
    ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง
    ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง
    จากสถานการณ์น้ำท่วมและค่าเงินบาทแข็ง

    🚩สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรเริ่มคลี่คลายลงบ้าง
    โดยพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบยังไม่สูงมากหากเทียบกับ
    ภัยน้ำท่วมในอดีต SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าความเสียหาย
    ในภาคเกษตรอยู่ที่ราว 4,700 ล้านบาท (0.03% ของจีดีพี)
    โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหาย 0.83 ล้านไร่

    🚩สำหรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท
    จะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ SCB EIC ประเมินโครงการนี้
    มีผลบวกต่อเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมด
    อาจไม่ได้ใช้จ่ายลงเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลสำรวจ
    SCB EIC consumer survey ที่พบว่า ผู้ได้รับสิทธิบางส่วน
    จะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้
    แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว สำหรับการบริโภค
    ภาคเอกชนคาดว่าจะแผ่วลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับ
    ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง 7 เดือนติดต่อกัน
    และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจไทย #จีดีพี
    #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยข้อมูล เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออก 🚩โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในไตรมาส 4 จากกลุ่มตลาดประเทศระยะไกล รวมถึงการท่องเที่ยวในประเทศจะได้ปัจจัยบวก จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ ที่จะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และเมืองน่าเที่ยว 🚩การส่งออกไทยจะขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญ จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยยังฟื้นตัวได้ช้า และมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง จากสถานการณ์น้ำท่วมและค่าเงินบาทแข็ง 🚩สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรเริ่มคลี่คลายลงบ้าง โดยพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบยังไม่สูงมากหากเทียบกับ ภัยน้ำท่วมในอดีต SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าความเสียหาย ในภาคเกษตรอยู่ที่ราว 4,700 ล้านบาท (0.03% ของจีดีพี) โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหาย 0.83 ล้านไร่ 🚩สำหรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท จะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ SCB EIC ประเมินโครงการนี้ มีผลบวกต่อเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมด อาจไม่ได้ใช้จ่ายลงเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลสำรวจ SCB EIC consumer survey ที่พบว่า ผู้ได้รับสิทธิบางส่วน จะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้ แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว สำหรับการบริโภค ภาคเอกชนคาดว่าจะแผ่วลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง 7 เดือนติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจไทย #จีดีพี #thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 379 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥 ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล
    แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็กไทยปี 2568

    🚩โดยมองว่า การผลิตเหล็กในปี 2568 ของไทยมีแนวโน้ม
    ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น
    และอุปสงค์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างเป็นหลัก
    แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากเหล็กจีนที่เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง

    🚩ในปี 2567 นี้ อุปสงค์การใช้งานเหล็กที่หดตัวทั้งในภาคการก่อสร้าง
    และการผลิตรถยนต์ ประกอบกับเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ
    เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศปี 2567 นี้
    มีแนวโน้มหดตัว 12.7%

    🚩อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี 2568
    โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน จากอุปสงค์การใช้งาน
    ที่ขยายตัว โดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง

    🚩ขณะที่เหล็กจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ายังคงถูกนำเข้ามา
    ใช้งานต่อไป กระทบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของไทย
    ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 30%
    ซึ่งเป็นอัตราที่ถือว่าค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน

    🚩นอกจากนี้ การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
    ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุก
    ของผู้ผลิตและผู้ค้าเหล็กจากจีน ยังเป็นปัจจัยกดดันให้
    อุตสาหกรรมเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่หนักกว่าเดิม

    🚩สำหรับราคาเหล็กในปี 2568 ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง
    ตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ
    ในอุตสาหกรรมเหล็กต้องหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุน และ
    การระบายสต็อกสินค้า เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
    ของราคาจำหน่ายสินค้าเหล็กที่มีโอกาสลดลง

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อุตสาหกรรมเหล็กไทย #thaitimes
    🔥🔥 ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็กไทยปี 2568 🚩โดยมองว่า การผลิตเหล็กในปี 2568 ของไทยมีแนวโน้ม ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างเป็นหลัก แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากเหล็กจีนที่เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง 🚩ในปี 2567 นี้ อุปสงค์การใช้งานเหล็กที่หดตัวทั้งในภาคการก่อสร้าง และการผลิตรถยนต์ ประกอบกับเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศปี 2567 นี้ มีแนวโน้มหดตัว 12.7% 🚩อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี 2568 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน จากอุปสงค์การใช้งาน ที่ขยายตัว โดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง 🚩ขณะที่เหล็กจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ายังคงถูกนำเข้ามา ใช้งานต่อไป กระทบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของไทย ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 30% ซึ่งเป็นอัตราที่ถือว่าค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน 🚩นอกจากนี้ การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุก ของผู้ผลิตและผู้ค้าเหล็กจากจีน ยังเป็นปัจจัยกดดันให้ อุตสาหกรรมเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่หนักกว่าเดิม 🚩สำหรับราคาเหล็กในปี 2568 ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง ตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมเหล็กต้องหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุน และ การระบายสต็อกสินค้า เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของราคาจำหน่ายสินค้าเหล็กที่มีโอกาสลดลง ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อุตสาหกรรมเหล็กไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 443 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ข้อมูลธุรกิจ SME ที่ปิดตัวไป มากกว่า 1 หมื่นราย
    ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก SCBEIC)
    คือ อีก 1 สิ่งสำคัญ ที่รัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบ
    ก่อนปรับค่าแรงเป็น 400 บาท ทั่วประเทศ
    ว่าจะช่วยต่อลมหายใจพวกเค้าได้อย่างไร?
    และจะสนับสนุนส่งเสริม ยกระดับให้พวกเค้า
    เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้อย่างไร?

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #thaitimes
    💥💥ข้อมูลธุรกิจ SME ที่ปิดตัวไป มากกว่า 1 หมื่นราย ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก SCBEIC) คือ อีก 1 สิ่งสำคัญ ที่รัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบ ก่อนปรับค่าแรงเป็น 400 บาท ทั่วประเทศ ว่าจะช่วยต่อลมหายใจพวกเค้าได้อย่างไร? และจะสนับสนุนส่งเสริม ยกระดับให้พวกเค้า เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้อย่างไร? #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 986 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต
    ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568
    อยู่ที่ 2.5% และ 2.6%
    ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว
    ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้

    และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย
    ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่

    🚩1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย
    กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม
    เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน

    🚩2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ
    ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด
    จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ
    รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย

    🚩ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
    เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้
    และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน
    ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568 อยู่ที่ 2.5% และ 2.6% ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 🚩1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน 🚩2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย 🚩ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้ และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1093 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC
    ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย
    ใน 3 มิติ ดังนี้

    🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย)

    SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567
    เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6%
    ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว

    สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
    จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน
    บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์
    ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่

    🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567
    จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง
    ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้
    และต่อเนื่องไปในปีหน้า

    🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
    ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50%
    และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268
    จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น
    ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย
    #thaitimes
    💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย ใน 3 มิติ ดังนี้ 🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย) SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6% ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์ ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่ 🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567 จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ และต่อเนื่องไปในปีหน้า 🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268 จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1134 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
    เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

    🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
    ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
    ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
    กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
    ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ

    🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทายรอบด้าน
    จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
    กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย

    🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
    ศักยภาพธุรกิจในระยะยาวโดย SME ไทย จะเน้นการลงทุน
    เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
    สารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้
    มีคุณภาพสูง

    4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
    กับกระแส ESG

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาวโดย SME ไทย จะเน้นการลงทุน เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้ มีคุณภาพสูง 4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 774 มุมมอง 202 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
    เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

    🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
    ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
    ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
    กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
    ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ
    อยู่ในระดับต่ำ

    นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ
    ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
    ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า

    ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME
    ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน
    ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย
    และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด
    การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน
    ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ
    ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม
    การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ

    🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทายรอบด้าน
    จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
    กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย
    ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย

    อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ
    กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ

    อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ
    กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
    โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก
    ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ
    ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

    🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
    ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว
    โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า
    และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้
    เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย
    ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน
    ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร
    และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก

    ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ
    จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro)
    ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ
    และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา
    ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์
    เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ

    🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
    กับกระแส ESG
    SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย
    ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์
    รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด
    โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

    ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย
    โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว
    อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ
    ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้
    ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก
    และมีต้นทุนสูง

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC
    #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro) ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ 🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์ รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้ ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก และมีต้นทุนสูง #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 845 มุมมอง 0 รีวิว