🔥🔥 ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล
แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็กไทยปี 2568

🚩โดยมองว่า การผลิตเหล็กในปี 2568 ของไทยมีแนวโน้ม
ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น
และอุปสงค์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างเป็นหลัก
แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากเหล็กจีนที่เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง

🚩ในปี 2567 นี้ อุปสงค์การใช้งานเหล็กที่หดตัวทั้งในภาคการก่อสร้าง
และการผลิตรถยนต์ ประกอบกับเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ
เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศปี 2567 นี้
มีแนวโน้มหดตัว 12.7%

🚩อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี 2568
โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน จากอุปสงค์การใช้งาน
ที่ขยายตัว โดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง

🚩ขณะที่เหล็กจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ายังคงถูกนำเข้ามา
ใช้งานต่อไป กระทบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของไทย
ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 30%
ซึ่งเป็นอัตราที่ถือว่าค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน

🚩นอกจากนี้ การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุก
ของผู้ผลิตและผู้ค้าเหล็กจากจีน ยังเป็นปัจจัยกดดันให้
อุตสาหกรรมเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่หนักกว่าเดิม

🚩สำหรับราคาเหล็กในปี 2568 ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง
ตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ
ในอุตสาหกรรมเหล็กต้องหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุน และ
การระบายสต็อกสินค้า เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ของราคาจำหน่ายสินค้าเหล็กที่มีโอกาสลดลง

ที่มา : SCBEIC

#หุ้นติดดอย #การลงทุน #อุตสาหกรรมเหล็กไทย #thaitimes
🔥🔥 ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็กไทยปี 2568 🚩โดยมองว่า การผลิตเหล็กในปี 2568 ของไทยมีแนวโน้ม ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างเป็นหลัก แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากเหล็กจีนที่เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง 🚩ในปี 2567 นี้ อุปสงค์การใช้งานเหล็กที่หดตัวทั้งในภาคการก่อสร้าง และการผลิตรถยนต์ ประกอบกับเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศปี 2567 นี้ มีแนวโน้มหดตัว 12.7% 🚩อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี 2568 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน จากอุปสงค์การใช้งาน ที่ขยายตัว โดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง 🚩ขณะที่เหล็กจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ายังคงถูกนำเข้ามา ใช้งานต่อไป กระทบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของไทย ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 30% ซึ่งเป็นอัตราที่ถือว่าค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน 🚩นอกจากนี้ การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุก ของผู้ผลิตและผู้ค้าเหล็กจากจีน ยังเป็นปัจจัยกดดันให้ อุตสาหกรรมเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่หนักกว่าเดิม 🚩สำหรับราคาเหล็กในปี 2568 ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง ตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมเหล็กต้องหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุน และ การระบายสต็อกสินค้า เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของราคาจำหน่ายสินค้าเหล็กที่มีโอกาสลดลง ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อุตสาหกรรมเหล็กไทย #thaitimes
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 551 มุมมอง 0 รีวิว