💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
แนวโน้มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัว
จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ
และในปี 2568 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
แต่ในอัตราที่ลดลง
🚩ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567-2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
🚩ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย
และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย
และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัว
ของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง
ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป
🚩โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ในปี 2567 จะหดตัวราว -10% (เทียบปีต่อปี) และหดตัวต่อเนื่องราว
-1% ถึง -3% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
🚩ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567
มีแนวโน้มหดตัวราว -9% (เทียบปีต่อปี) แต่อาจเริ่มทรงตัวได้
หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2% (ปีต่อปี) ในปี 2568
🚩ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัว
ในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย
เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า
🚩การเปิดโครงการใหม่ในปี 2567-2568 ยังมีแนวโน้มหดตัว
ต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ
จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น
🚩อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัย
เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว
-28% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2567 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว
-2% ถึง -4% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก
เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ
🚩นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรา
กำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง
ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน
🚩ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไป
อย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบาย
สินค้าคงเหลือ มากขึ้นแทน
🚩ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัย
ที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้อง
ปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ
ควรให้ความสำคัญ ได้แก่
🚩1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง
🚩2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด
🚩3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ
🚩4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษา
อัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ
กับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น
โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา : scbeic
#หุ้นติดดอย #การลงทุน #อสังหาริมทรัพย์ #thaitimes
แนวโน้มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัว
จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ
และในปี 2568 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
แต่ในอัตราที่ลดลง
🚩ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567-2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
🚩ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย
และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย
และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัว
ของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง
ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป
🚩โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ในปี 2567 จะหดตัวราว -10% (เทียบปีต่อปี) และหดตัวต่อเนื่องราว
-1% ถึง -3% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
🚩ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567
มีแนวโน้มหดตัวราว -9% (เทียบปีต่อปี) แต่อาจเริ่มทรงตัวได้
หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2% (ปีต่อปี) ในปี 2568
🚩ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัว
ในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย
เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า
🚩การเปิดโครงการใหม่ในปี 2567-2568 ยังมีแนวโน้มหดตัว
ต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ
จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น
🚩อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัย
เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว
-28% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2567 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว
-2% ถึง -4% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก
เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ
🚩นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรา
กำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง
ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน
🚩ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไป
อย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบาย
สินค้าคงเหลือ มากขึ้นแทน
🚩ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัย
ที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้อง
ปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ
ควรให้ความสำคัญ ได้แก่
🚩1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง
🚩2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด
🚩3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ
🚩4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษา
อัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ
กับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น
โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา : scbeic
#หุ้นติดดอย #การลงทุน #อสังหาริมทรัพย์ #thaitimes
💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
แนวโน้มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัว
จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ
และในปี 2568 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
แต่ในอัตราที่ลดลง
🚩ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้
ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567-2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
🚩ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย
และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย
และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัว
ของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง
ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป
🚩โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ในปี 2567 จะหดตัวราว -10% (เทียบปีต่อปี) และหดตัวต่อเนื่องราว
-1% ถึง -3% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
🚩ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567
มีแนวโน้มหดตัวราว -9% (เทียบปีต่อปี) แต่อาจเริ่มทรงตัวได้
หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2% (ปีต่อปี) ในปี 2568
🚩ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัว
ในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย
เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า
🚩การเปิดโครงการใหม่ในปี 2567-2568 ยังมีแนวโน้มหดตัว
ต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ
จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น
🚩อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัย
เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว
-28% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2567 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว
-2% ถึง -4% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก
เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ
🚩นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรา
กำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง
ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน
🚩ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไป
อย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบาย
สินค้าคงเหลือ มากขึ้นแทน
🚩ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัย
ที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้อง
ปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ
ควรให้ความสำคัญ ได้แก่
🚩1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง
🚩2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด
🚩3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ
🚩4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษา
อัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ
กับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น
โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา : scbeic
#หุ้นติดดอย #การลงทุน #อสังหาริมทรัพย์ #thaitimes