**การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ**
สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน
การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร
ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย
เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน
และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี
บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ
การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว
ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า
ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)
Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html
#ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน
การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร
ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย
เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน
และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี
บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ
การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว
ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า
ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)
Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html
#ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
**การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ**
สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน
การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร
ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย
เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน
และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี
บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ
การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว
ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า
ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)
Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html
#ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
1 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
47 มุมมอง
0 รีวิว