• สุราษฎร์ธานี -“ป้าติ๋ม” แม่บ้านคนสนิท แหม่มฝรั่งเศส เจ้าของวิลล่าหรู บนเกาะสมุย ส่อชวดมรดกมูลค่า 100 ล้าน หลัง ตร.เข้าแจ้งความเอาผิด 2 บริษัท รวมทั้งแหม่มที่เสียชีวิต และ 2 คนไทย ฐานเป็นนอมินี

    จากกรณีนางแคทเทอร์รีน อายุ 59 ปี นักธุรกิจวิลล่าให้เช่าบนเกาะสมุย ชาวฝรั่งเศส ใช้ปืนจ่อขมับปลิดชีพตัวเองในวิลล่าหรู ต.แม่น้ำ อ.เกาะสมุย เมื่อวันที่ 29 เม.ย.67 ที่ผ่านมา จนเป็นที่สนใจของสังคม เนื่องจากหลังเกิดเหตุมีการรายงานว่าผู้สียเสียชีวิต ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ นางณัฐวลัย หรือ ป้าติ๋ม ซึ่งเป็นแม่บ้านคนสนิท ประกอบด้วย บ้านหรือวิลลาหรูพร้อมที่ดินที่เกิดเหตุ เครื่องประดับ บางส่วน รวมถึงเงินสดในธนาคารอีกจำนวนหนึ่ง รวมมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท เช่นบ้านหรือวิลล่าหรูพร้อมที่ดินที่เกิดเหตุ มูลค่าราว 30 ล้านบาท ที่ดินเปล่า 2 แปลง ที่มีพื้นที่ติดกับวิลล่า มูลค่าราว 20
    ล้านและทรัพย์สิน เครื่องประดับ บางส่วนที่ตู้เซฟ รวมถึงเงินสดในธนาคารอีกจำนวนหนึ่ง

    อย่างไรก็ตาม หลังปรากฏเป็นข่าว นายรัชชพร พูลสวัสดิ์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเกี่ยวกับความถูกต้องในการถือครองทรัพย์สิน รวมถึงการดำเนินกิจการธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะที่ดินในประเทศไทย รวมถึงให้มีการตรวจสอบการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อครอบครองวิลล่าของชาวต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และต่อมา พล.ท.ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผอ.รมน.ภาค 4 ในขณะนั้น ได้สั่งการให้ชุดแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 กอ.รมน.ภาค 4 เข้าตรวจสืบสวนหาข่าว และรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ จนนำไปสู่การตรวจสอบการถือครองที่ดินของรัฐ และการประกอบธุรกิจวิลล่าหรูบนเกาะสมุย ตามข่าวที่นำเสนออย่างต่อเนื่องไปแล้วนั้น และนายเจษฎา จิตรัตน์ ผวจ.สุราษฎร์ธานีก็มี คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และสอบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรการป้องกันการถือครองที่ดินแทนคนต่างด้าว พื้นที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เข้าดำเนินการตรวจสอบเช่นกัน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/south/detail/9670000113720

    #MGROnline #ป้าติ๋ม #แม่บ้านคนสนิท #แหม่มฝรั่งเศส #เจ้าของวิลล่าหรู #เกาะสมุย
    สุราษฎร์ธานี -“ป้าติ๋ม” แม่บ้านคนสนิท แหม่มฝรั่งเศส เจ้าของวิลล่าหรู บนเกาะสมุย ส่อชวดมรดกมูลค่า 100 ล้าน หลัง ตร.เข้าแจ้งความเอาผิด 2 บริษัท รวมทั้งแหม่มที่เสียชีวิต และ 2 คนไทย ฐานเป็นนอมินี • จากกรณีนางแคทเทอร์รีน อายุ 59 ปี นักธุรกิจวิลล่าให้เช่าบนเกาะสมุย ชาวฝรั่งเศส ใช้ปืนจ่อขมับปลิดชีพตัวเองในวิลล่าหรู ต.แม่น้ำ อ.เกาะสมุย เมื่อวันที่ 29 เม.ย.67 ที่ผ่านมา จนเป็นที่สนใจของสังคม เนื่องจากหลังเกิดเหตุมีการรายงานว่าผู้สียเสียชีวิต ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ นางณัฐวลัย หรือ ป้าติ๋ม ซึ่งเป็นแม่บ้านคนสนิท ประกอบด้วย บ้านหรือวิลลาหรูพร้อมที่ดินที่เกิดเหตุ เครื่องประดับ บางส่วน รวมถึงเงินสดในธนาคารอีกจำนวนหนึ่ง รวมมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท เช่นบ้านหรือวิลล่าหรูพร้อมที่ดินที่เกิดเหตุ มูลค่าราว 30 ล้านบาท ที่ดินเปล่า 2 แปลง ที่มีพื้นที่ติดกับวิลล่า มูลค่าราว 20 ล้านและทรัพย์สิน เครื่องประดับ บางส่วนที่ตู้เซฟ รวมถึงเงินสดในธนาคารอีกจำนวนหนึ่ง • อย่างไรก็ตาม หลังปรากฏเป็นข่าว นายรัชชพร พูลสวัสดิ์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเกี่ยวกับความถูกต้องในการถือครองทรัพย์สิน รวมถึงการดำเนินกิจการธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะที่ดินในประเทศไทย รวมถึงให้มีการตรวจสอบการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อครอบครองวิลล่าของชาวต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และต่อมา พล.ท.ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผอ.รมน.ภาค 4 ในขณะนั้น ได้สั่งการให้ชุดแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 กอ.รมน.ภาค 4 เข้าตรวจสืบสวนหาข่าว และรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ จนนำไปสู่การตรวจสอบการถือครองที่ดินของรัฐ และการประกอบธุรกิจวิลล่าหรูบนเกาะสมุย ตามข่าวที่นำเสนออย่างต่อเนื่องไปแล้วนั้น และนายเจษฎา จิตรัตน์ ผวจ.สุราษฎร์ธานีก็มี คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และสอบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรการป้องกันการถือครองที่ดินแทนคนต่างด้าว พื้นที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เข้าดำเนินการตรวจสอบเช่นกัน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9670000113720 • #MGROnline #ป้าติ๋ม #แม่บ้านคนสนิท #แหม่มฝรั่งเศส #เจ้าของวิลล่าหรู #เกาะสมุย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 244 มุมมอง 0 รีวิว
  • งานชักพระ เกาะสมุย ๒๕๖๗
    งานชักพระ เกาะสมุย ๒๕๖๗
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 32 มุมมอง 0 รีวิว
  • Michelin Key ลูกเล่นใหม่มิชลินไกด์

    นับเป็นครั้งแรกที่มิชลินไกด์ (Michelin Guide) คู่มือแนะนำร้านอาหารที่มีชื่อเสียงระดับโลก เปิดตัวรางวัลมิชลินคีย์ (Michelin Key) ตราสัญลักษณ์ที่มอบให้กับโรงแรมที่พักในประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่ผ่านมา หลังจากแนะนำที่พักมากกว่า 6,000 แห่งใน 120 ประเทศ โดยวัดจาก 1. ราคาเหมาะสมกับคุณภาพและประสบการณ์ที่ได้รับ 2. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะท้อนถึงคุณลักษณะดั้งเดิมของโรงแรมที่พัก 3. คุณภาพและความสม่ำเสมอในการให้บริการ รวมถึงความสะดวกสบายและการบำรุงรักษา 4. สถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายใน และ 5. เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง มีส่วนนำเสนอความเป็นท้องถิ่น

    ปรากฎว่าในปี 2567 มีโรงแรมในประเทศไทยได้รางวัล 58 แห่ง โดยรางวัลกุญแจ 3 ดอก มี 8 แห่ง ได้แก่ แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ, เดอะ สยาม กรุงเทพฯ, กีมาลา จ.ภูเก็ต, อมันปุรี จ.ภูเก็ต, โฟร์ซีซั่นส์ รีสอร์ต จ.เชียงใหม่, โซเนวา คีรี รีสอร์ท เกาะกูด จ.ตราด, ซามูจาน่า วิลล่า เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ ภูเล เบย์ อะ ริทซ์-คาร์ลตัน รีเซิร์ฟ จ.กระบี่ ส่วนรางวัลกุญแจ 2 ดอก มี 19 แห่ง และรางวัลกุญแจ 1 ดอก มี 31 แห่ง

    แม้โรงแรมที่ได้รับรางวัลมิชลินคีย์ เป็นคนละรางวัลกับโรงแรมที่มีร้านอาหารรางวัลดาวมิชลิน แต่ก็มีโรงแรมได้ทั้งมิชลินคีย์และมิชลินไกด์ปี 2566 อาทิ แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ (3 ดอก) มีร้านเลอ นอร์ม็องดี บาย อลัง รูซ์ (2 ดาว), ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ (2 ดอก) มีร้านเอเลเมนท์ อินสไปร์ บาย เซล เบลอ (1 ดาว), โคโม เมโทรโพลิแทน กรุงเทพฯ (1 ดอก) มีห้องอาหารน้ำ (1 ดาว), ตรีสรา จ.ภูเก็ต (1 ดอก) มีร้านพรู (1 ดาว) เป็นต้น

    สำหรับคู่มือมิชลินไกด์ ฉบับประจำปีครั้งที่ 8 (2025) มีกำหนดเปิดตัวในช่วงปลายปี 2567 โดยได้เพิ่มร้านอาหารจังหวัดชลบุรี ต่อจากกรุงเทพฯ, ภูเก็ต-พังงา, เชียงใหม่, พระนครศรีอยุธยา, ภาคอีสาน 4 จังหวัด (นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น) และเกาะสมุย-สุราษฎร์ธานี

    โครงการ The Michelin Guide Thailand มีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นเจ้าของโครงการ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2560 ทำข้อตกลงสัญญา 5 ปีกับบริษัท Michelin Travel Partner France วงเงิน 4.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อมาวันที่ 5 ต.ค. 2564 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ ททท. ก่อหนี้ผูกพันสนับสนุนการจัดโครงการฯ ประจำปี 2565-2569 วงเงิน 4.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 135.3 ล้านบาท) โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละ 820,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 27.06 ล้านบาท)

    #Newskit #MichelinKey #MichelinGuideThailand
    Michelin Key ลูกเล่นใหม่มิชลินไกด์ นับเป็นครั้งแรกที่มิชลินไกด์ (Michelin Guide) คู่มือแนะนำร้านอาหารที่มีชื่อเสียงระดับโลก เปิดตัวรางวัลมิชลินคีย์ (Michelin Key) ตราสัญลักษณ์ที่มอบให้กับโรงแรมที่พักในประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่ผ่านมา หลังจากแนะนำที่พักมากกว่า 6,000 แห่งใน 120 ประเทศ โดยวัดจาก 1. ราคาเหมาะสมกับคุณภาพและประสบการณ์ที่ได้รับ 2. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะท้อนถึงคุณลักษณะดั้งเดิมของโรงแรมที่พัก 3. คุณภาพและความสม่ำเสมอในการให้บริการ รวมถึงความสะดวกสบายและการบำรุงรักษา 4. สถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายใน และ 5. เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง มีส่วนนำเสนอความเป็นท้องถิ่น ปรากฎว่าในปี 2567 มีโรงแรมในประเทศไทยได้รางวัล 58 แห่ง โดยรางวัลกุญแจ 3 ดอก มี 8 แห่ง ได้แก่ แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ, เดอะ สยาม กรุงเทพฯ, กีมาลา จ.ภูเก็ต, อมันปุรี จ.ภูเก็ต, โฟร์ซีซั่นส์ รีสอร์ต จ.เชียงใหม่, โซเนวา คีรี รีสอร์ท เกาะกูด จ.ตราด, ซามูจาน่า วิลล่า เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ ภูเล เบย์ อะ ริทซ์-คาร์ลตัน รีเซิร์ฟ จ.กระบี่ ส่วนรางวัลกุญแจ 2 ดอก มี 19 แห่ง และรางวัลกุญแจ 1 ดอก มี 31 แห่ง แม้โรงแรมที่ได้รับรางวัลมิชลินคีย์ เป็นคนละรางวัลกับโรงแรมที่มีร้านอาหารรางวัลดาวมิชลิน แต่ก็มีโรงแรมได้ทั้งมิชลินคีย์และมิชลินไกด์ปี 2566 อาทิ แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ (3 ดอก) มีร้านเลอ นอร์ม็องดี บาย อลัง รูซ์ (2 ดาว), ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ (2 ดอก) มีร้านเอเลเมนท์ อินสไปร์ บาย เซล เบลอ (1 ดาว), โคโม เมโทรโพลิแทน กรุงเทพฯ (1 ดอก) มีห้องอาหารน้ำ (1 ดาว), ตรีสรา จ.ภูเก็ต (1 ดอก) มีร้านพรู (1 ดาว) เป็นต้น สำหรับคู่มือมิชลินไกด์ ฉบับประจำปีครั้งที่ 8 (2025) มีกำหนดเปิดตัวในช่วงปลายปี 2567 โดยได้เพิ่มร้านอาหารจังหวัดชลบุรี ต่อจากกรุงเทพฯ, ภูเก็ต-พังงา, เชียงใหม่, พระนครศรีอยุธยา, ภาคอีสาน 4 จังหวัด (นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น) และเกาะสมุย-สุราษฎร์ธานี โครงการ The Michelin Guide Thailand มีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นเจ้าของโครงการ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2560 ทำข้อตกลงสัญญา 5 ปีกับบริษัท Michelin Travel Partner France วงเงิน 4.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อมาวันที่ 5 ต.ค. 2564 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ ททท. ก่อหนี้ผูกพันสนับสนุนการจัดโครงการฯ ประจำปี 2565-2569 วงเงิน 4.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 135.3 ล้านบาท) โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละ 820,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 27.06 ล้านบาท) #Newskit #MichelinKey #MichelinGuideThailand
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 674 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพจเทพชวนเที่ยววันนี้ ขอพาเพื่อนๆไปเที่ยว 'เกาะกูด' สถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม เกาะกูดมีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,625 ไร่ ความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 12 กิโลเมตร ถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของไทย รองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะตะรุเตา และเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในอ่าวไทย เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย อยู่ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ส่วนหนึ่งของอำเภอเกาะกูดในจังหวัดตราด😊

    เกาะกูดนั้นยังมีสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขาและที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำธาร ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือ 'น้ำตกคลองเจ้า' ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวยายกี๋ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว อ่าวง่ามโข่ หาดอ่าวเบ้า หาดคลองหิน อ่าวพร้าวจนสุดปลายแหลมเทียน ล้วนแต่เป็นหาดที่มีทรายสวยงามน้ำทะเลใส ประกอบกับธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด รวมทั้งเกาะแรดและเกาะไม้ซี้ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะกูด

    น้ำตกคลองเจ้า ถือว่าเป็นน้ำตกมหัศจรรย์ของเกาะกูด ที่มีน้ำใสไหลเย็นตลอดทั้งปี มีทัศนียภาพที่สวยงาม จึงทำให้ที่นี่คลายเป็นจุดเช็คอินคลายร้อนยอดฮิตอีกแห่งหนึ่งของเกาะกูด ที่มีเสน่ห์ไม่น้อยไปกว่าทะเลเลย🥰

    ประวัติ น้ำตกคลองเจ้า
    นอกจากจะเป็นที่เที่ยวธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ยังมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย ย้อนไปยังสมัยรัชกาลที่ 1 น้ำตกคลองเจ้า หรือ น้ำตกธารสนุก เคยเป็นสถานที่ลี้ภัยสงครามของ เจ้าญวน “องเชียงสือ” แห่งแคว้นอันนัม (เวียดนาม) จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ "น้ำตกคลองเจ้า" นั่นเอง จนกระทั่งสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จมายังเกาะกูด พระองค์ก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่เป็น “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อระลึกถึง องเชียงสือ แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกจนติดปากว่า น้ำตกคลองเจ้า เนื่องจากเป็นน้ำตกที่มีทั้งเจ้าญวน และพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จประพาสมาที่นี่นั่นเอง


    ไฮไลท์ น้ำตกคลองเจ้า
    น้ำตกคลองเจ้า เป็นน้ำตกขนาดกลาง ความสูงโดยรวม 10 เมตร มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นล่างจะมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างใสสะอาด เหมาะกับการมาเล่นน้ำคลายร้อนเป็นอย่างมาก ด้านหน้ามีก้อนหินใหญ่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ "วปร" ส่วนด้านบนสุดจะเป็นธารหินที่มีน้ำไหลลงสู่เบื้องล่าง จนเกิดเป็นทัศนียภาพอันงดงามจนน่าทึ่ง!!
    และแม้จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี จนสามารถมาท่องเที่ยวได้ตลอด แต่ช่วงเวลาที่สวยและน่าเที่ยวที่สุดก็คือ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคมค่ะ (ก็คือช่วงนี้นั่นเอง) เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่มีน้ำมาก ธรรมชาติโดยรอบก็มีความเขียวขจี อากาศชุ่มชื่นเย็นสบาย กลายเป็นสถานที่พักผ่อนคลายร้อนที่สดชื่นไม่แพ้ทะเลเลยทีเดียว😀

    เกาะกูด นอกจากจะเป็นพื้นทีที่ทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ที่รอนักท่องเที่ยวไปพิสูจน์ความสวยงามและน่าพิศวงอีกมากมาย เพื่อนๆท่านใดมีโปรแกรมว่าไปไปเที่ยวเกาะกูด หรือเคยไปมาแล้ว คอมเม้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก็ได้นะครับ🤩

    #เกาะกูด #ตราด #ท่องเที่ยว #น้ำตกคลองเจ้า
    เพจเทพชวนเที่ยววันนี้ ขอพาเพื่อนๆไปเที่ยว 'เกาะกูด' สถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม เกาะกูดมีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,625 ไร่ ความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 12 กิโลเมตร ถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของไทย รองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะตะรุเตา และเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในอ่าวไทย เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย อยู่ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ส่วนหนึ่งของอำเภอเกาะกูดในจังหวัดตราด😊 เกาะกูดนั้นยังมีสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขาและที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำธาร ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือ 'น้ำตกคลองเจ้า' ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวยายกี๋ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว อ่าวง่ามโข่ หาดอ่าวเบ้า หาดคลองหิน อ่าวพร้าวจนสุดปลายแหลมเทียน ล้วนแต่เป็นหาดที่มีทรายสวยงามน้ำทะเลใส ประกอบกับธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด รวมทั้งเกาะแรดและเกาะไม้ซี้ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะกูด น้ำตกคลองเจ้า ถือว่าเป็นน้ำตกมหัศจรรย์ของเกาะกูด ที่มีน้ำใสไหลเย็นตลอดทั้งปี มีทัศนียภาพที่สวยงาม จึงทำให้ที่นี่คลายเป็นจุดเช็คอินคลายร้อนยอดฮิตอีกแห่งหนึ่งของเกาะกูด ที่มีเสน่ห์ไม่น้อยไปกว่าทะเลเลย🥰 ประวัติ น้ำตกคลองเจ้า นอกจากจะเป็นที่เที่ยวธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ยังมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย ย้อนไปยังสมัยรัชกาลที่ 1 น้ำตกคลองเจ้า หรือ น้ำตกธารสนุก เคยเป็นสถานที่ลี้ภัยสงครามของ เจ้าญวน “องเชียงสือ” แห่งแคว้นอันนัม (เวียดนาม) จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ "น้ำตกคลองเจ้า" นั่นเอง จนกระทั่งสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จมายังเกาะกูด พระองค์ก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่เป็น “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อระลึกถึง องเชียงสือ แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกจนติดปากว่า น้ำตกคลองเจ้า เนื่องจากเป็นน้ำตกที่มีทั้งเจ้าญวน และพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จประพาสมาที่นี่นั่นเอง ไฮไลท์ น้ำตกคลองเจ้า น้ำตกคลองเจ้า เป็นน้ำตกขนาดกลาง ความสูงโดยรวม 10 เมตร มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นล่างจะมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างใสสะอาด เหมาะกับการมาเล่นน้ำคลายร้อนเป็นอย่างมาก ด้านหน้ามีก้อนหินใหญ่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ "วปร" ส่วนด้านบนสุดจะเป็นธารหินที่มีน้ำไหลลงสู่เบื้องล่าง จนเกิดเป็นทัศนียภาพอันงดงามจนน่าทึ่ง!! และแม้จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี จนสามารถมาท่องเที่ยวได้ตลอด แต่ช่วงเวลาที่สวยและน่าเที่ยวที่สุดก็คือ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคมค่ะ (ก็คือช่วงนี้นั่นเอง) เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่มีน้ำมาก ธรรมชาติโดยรอบก็มีความเขียวขจี อากาศชุ่มชื่นเย็นสบาย กลายเป็นสถานที่พักผ่อนคลายร้อนที่สดชื่นไม่แพ้ทะเลเลยทีเดียว😀 เกาะกูด นอกจากจะเป็นพื้นทีที่ทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ที่รอนักท่องเที่ยวไปพิสูจน์ความสวยงามและน่าพิศวงอีกมากมาย เพื่อนๆท่านใดมีโปรแกรมว่าไปไปเที่ยวเกาะกูด หรือเคยไปมาแล้ว คอมเม้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก็ได้นะครับ🤩 #เกาะกูด #ตราด #ท่องเที่ยว #น้ำตกคลองเจ้า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 577 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี

    ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง

    หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน

    นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี

    ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง

    ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท

    แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน

    ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง

    การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้

    ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

    สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565

    ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน

    ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย

    #Newskit #SRT #Butterworth
    ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้ ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย #Newskit #SRT #Butterworth
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 984 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์

    หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567

    ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways)

    สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น

    #Newskit #SubangAirport #SZB
    ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์ หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways) สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น #Newskit #SubangAirport #SZB
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 735 มุมมอง 0 รีวิว