เทพชวนเที่ยว
เทพชวนเที่ยว
เพจท่องเที่ยวและความบันเทิง
  • 178 คนติดตามเรื่องนี้
  • 6 โพสต์
  • 17 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • ท่องเที่ยวและเหตุการณ์
อัปเดตล่าสุด
  • แปลกแต่จริง ชื่อเกาะสุรินทร์ แต่อยู่ จ.พังงา ที่สุดแห่งป่าปะการังและวิถีชาวเล

    ครั้งพระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 88,282 ไร่ หรือ 141.25 ตารางกิโลเมตร 🥰

    ความเป็นมา🤠
    กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย
    กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 30 ของประเทศไทย และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยผนวกกองหินริเชลิว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550
    อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์ ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบ ด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี(เกาะสต๊อร์ค) เกาะไข่(เกาะตอรินลา) และเกาะกลาง(เกาะปาจุมบา) หมู่เกาะสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร

    หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นในเรื่องของความสวยงามใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการังนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลที่สวยงามมากมาย นอกจากนี้ หมู่เกาะสุรินทร์ ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก

    โดยมากประกอบด้วย ป่าใหญ่ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่ทั่วเขา ประเภทที่ 2 คือ ป่าชายหาด ประเภทที่ 3 คือ ป่าชายเลน
    หมู่เกาะสุรินทร์ มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจาก หมู่เกาะสุรินทร์ วางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของ หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ มีน้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน บนหมู่เกาะสุรินทร์

    เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

    หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ดำน้ำตื้นที่สวยที่สุดก็ว่าได้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาชมมากมาย ใครที่แวะกันมาที่ หมู่เกาะสุรินทร์ จะต้องมีกลับมารอบสองแน่นอน

    #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ #เทพชวนเที่ยว
    แปลกแต่จริง ชื่อเกาะสุรินทร์ แต่อยู่ จ.พังงา ที่สุดแห่งป่าปะการังและวิถีชาวเล ครั้งพระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 88,282 ไร่ หรือ 141.25 ตารางกิโลเมตร 🥰 ความเป็นมา🤠 กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 30 ของประเทศไทย และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยผนวกกองหินริเชลิว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์ ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบ ด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี(เกาะสต๊อร์ค) เกาะไข่(เกาะตอรินลา) และเกาะกลาง(เกาะปาจุมบา) หมู่เกาะสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นในเรื่องของความสวยงามใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการังนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลที่สวยงามมากมาย นอกจากนี้ หมู่เกาะสุรินทร์ ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยมากประกอบด้วย ป่าใหญ่ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่ทั่วเขา ประเภทที่ 2 คือ ป่าชายหาด ประเภทที่ 3 คือ ป่าชายเลน หมู่เกาะสุรินทร์ มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจาก หมู่เกาะสุรินทร์ วางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของ หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ มีน้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน บนหมู่เกาะสุรินทร์ เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ดำน้ำตื้นที่สวยที่สุดก็ว่าได้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาชมมากมาย ใครที่แวะกันมาที่ หมู่เกาะสุรินทร์ จะต้องมีกลับมารอบสองแน่นอน #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ #เทพชวนเที่ยว
    Like
    Love
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 749 มุมมอง 0 รีวิว
  • “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” อีกหนึ่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย

    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมี ลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่

    ความสำคัญทางประวัติศาสตร์😍
    เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาด เชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู ได้อย่างดีด้วย จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800) เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18, พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏ ในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงไม่สุภาพงออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัย มีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์ ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781) ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมือง ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้ เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่ กรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรี อยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้ง ขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอ สวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัย โบราณไว้ด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2533

    โบราณสถานที่สำคัญ😇
    เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียง เดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขต การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามา ใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อย กว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
    -โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิต ภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ

    บทความหน้า เพจเทพชวนเที่ยว จะพาไปเที่ยวที่ไหน กดติดตาม กดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะครับ🥰
    “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” อีกหนึ่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมี ลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่ ความสำคัญทางประวัติศาสตร์😍 เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาด เชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู ได้อย่างดีด้วย จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800) เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18, พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏ ในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงไม่สุภาพงออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัย มีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์ ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781) ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมือง ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้ เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่ กรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรี อยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้ง ขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอ สวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัย โบราณไว้ด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2533 โบราณสถานที่สำคัญ😇 เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียง เดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขต การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามา ใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อย กว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้ -โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิต ภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ บทความหน้า เพจเทพชวนเที่ยว จะพาไปเที่ยวที่ไหน กดติดตาม กดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะครับ🥰
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 909 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 196 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพจเทพชวนเที่ยววันนี้ ขอพาเพื่อนๆไปเที่ยว 'เกาะกูด' สถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม เกาะกูดมีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,625 ไร่ ความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 12 กิโลเมตร ถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของไทย รองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะตะรุเตา และเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในอ่าวไทย เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย อยู่ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ส่วนหนึ่งของอำเภอเกาะกูดในจังหวัดตราด😊

    เกาะกูดนั้นยังมีสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขาและที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำธาร ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือ 'น้ำตกคลองเจ้า' ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวยายกี๋ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว อ่าวง่ามโข่ หาดอ่าวเบ้า หาดคลองหิน อ่าวพร้าวจนสุดปลายแหลมเทียน ล้วนแต่เป็นหาดที่มีทรายสวยงามน้ำทะเลใส ประกอบกับธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด รวมทั้งเกาะแรดและเกาะไม้ซี้ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะกูด

    น้ำตกคลองเจ้า ถือว่าเป็นน้ำตกมหัศจรรย์ของเกาะกูด ที่มีน้ำใสไหลเย็นตลอดทั้งปี มีทัศนียภาพที่สวยงาม จึงทำให้ที่นี่คลายเป็นจุดเช็คอินคลายร้อนยอดฮิตอีกแห่งหนึ่งของเกาะกูด ที่มีเสน่ห์ไม่น้อยไปกว่าทะเลเลย🥰

    ประวัติ น้ำตกคลองเจ้า
    นอกจากจะเป็นที่เที่ยวธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ยังมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย ย้อนไปยังสมัยรัชกาลที่ 1 น้ำตกคลองเจ้า หรือ น้ำตกธารสนุก เคยเป็นสถานที่ลี้ภัยสงครามของ เจ้าญวน “องเชียงสือ” แห่งแคว้นอันนัม (เวียดนาม) จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ "น้ำตกคลองเจ้า" นั่นเอง จนกระทั่งสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จมายังเกาะกูด พระองค์ก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่เป็น “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อระลึกถึง องเชียงสือ แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกจนติดปากว่า น้ำตกคลองเจ้า เนื่องจากเป็นน้ำตกที่มีทั้งเจ้าญวน และพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จประพาสมาที่นี่นั่นเอง


    ไฮไลท์ น้ำตกคลองเจ้า
    น้ำตกคลองเจ้า เป็นน้ำตกขนาดกลาง ความสูงโดยรวม 10 เมตร มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นล่างจะมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างใสสะอาด เหมาะกับการมาเล่นน้ำคลายร้อนเป็นอย่างมาก ด้านหน้ามีก้อนหินใหญ่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ "วปร" ส่วนด้านบนสุดจะเป็นธารหินที่มีน้ำไหลลงสู่เบื้องล่าง จนเกิดเป็นทัศนียภาพอันงดงามจนน่าทึ่ง!!
    และแม้จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี จนสามารถมาท่องเที่ยวได้ตลอด แต่ช่วงเวลาที่สวยและน่าเที่ยวที่สุดก็คือ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคมค่ะ (ก็คือช่วงนี้นั่นเอง) เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่มีน้ำมาก ธรรมชาติโดยรอบก็มีความเขียวขจี อากาศชุ่มชื่นเย็นสบาย กลายเป็นสถานที่พักผ่อนคลายร้อนที่สดชื่นไม่แพ้ทะเลเลยทีเดียว😀

    เกาะกูด นอกจากจะเป็นพื้นทีที่ทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ที่รอนักท่องเที่ยวไปพิสูจน์ความสวยงามและน่าพิศวงอีกมากมาย เพื่อนๆท่านใดมีโปรแกรมว่าไปไปเที่ยวเกาะกูด หรือเคยไปมาแล้ว คอมเม้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก็ได้นะครับ🤩

    #เกาะกูด #ตราด #ท่องเที่ยว #น้ำตกคลองเจ้า
    เพจเทพชวนเที่ยววันนี้ ขอพาเพื่อนๆไปเที่ยว 'เกาะกูด' สถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม เกาะกูดมีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,625 ไร่ ความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 12 กิโลเมตร ถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของไทย รองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะตะรุเตา และเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในอ่าวไทย เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย อยู่ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ส่วนหนึ่งของอำเภอเกาะกูดในจังหวัดตราด😊 เกาะกูดนั้นยังมีสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขาและที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำธาร ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือ 'น้ำตกคลองเจ้า' ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวยายกี๋ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว อ่าวง่ามโข่ หาดอ่าวเบ้า หาดคลองหิน อ่าวพร้าวจนสุดปลายแหลมเทียน ล้วนแต่เป็นหาดที่มีทรายสวยงามน้ำทะเลใส ประกอบกับธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด รวมทั้งเกาะแรดและเกาะไม้ซี้ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะกูด น้ำตกคลองเจ้า ถือว่าเป็นน้ำตกมหัศจรรย์ของเกาะกูด ที่มีน้ำใสไหลเย็นตลอดทั้งปี มีทัศนียภาพที่สวยงาม จึงทำให้ที่นี่คลายเป็นจุดเช็คอินคลายร้อนยอดฮิตอีกแห่งหนึ่งของเกาะกูด ที่มีเสน่ห์ไม่น้อยไปกว่าทะเลเลย🥰 ประวัติ น้ำตกคลองเจ้า นอกจากจะเป็นที่เที่ยวธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ยังมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย ย้อนไปยังสมัยรัชกาลที่ 1 น้ำตกคลองเจ้า หรือ น้ำตกธารสนุก เคยเป็นสถานที่ลี้ภัยสงครามของ เจ้าญวน “องเชียงสือ” แห่งแคว้นอันนัม (เวียดนาม) จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ "น้ำตกคลองเจ้า" นั่นเอง จนกระทั่งสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จมายังเกาะกูด พระองค์ก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่เป็น “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อระลึกถึง องเชียงสือ แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกจนติดปากว่า น้ำตกคลองเจ้า เนื่องจากเป็นน้ำตกที่มีทั้งเจ้าญวน และพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จประพาสมาที่นี่นั่นเอง ไฮไลท์ น้ำตกคลองเจ้า น้ำตกคลองเจ้า เป็นน้ำตกขนาดกลาง ความสูงโดยรวม 10 เมตร มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นล่างจะมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างใสสะอาด เหมาะกับการมาเล่นน้ำคลายร้อนเป็นอย่างมาก ด้านหน้ามีก้อนหินใหญ่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ "วปร" ส่วนด้านบนสุดจะเป็นธารหินที่มีน้ำไหลลงสู่เบื้องล่าง จนเกิดเป็นทัศนียภาพอันงดงามจนน่าทึ่ง!! และแม้จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี จนสามารถมาท่องเที่ยวได้ตลอด แต่ช่วงเวลาที่สวยและน่าเที่ยวที่สุดก็คือ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคมค่ะ (ก็คือช่วงนี้นั่นเอง) เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่มีน้ำมาก ธรรมชาติโดยรอบก็มีความเขียวขจี อากาศชุ่มชื่นเย็นสบาย กลายเป็นสถานที่พักผ่อนคลายร้อนที่สดชื่นไม่แพ้ทะเลเลยทีเดียว😀 เกาะกูด นอกจากจะเป็นพื้นทีที่ทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ที่รอนักท่องเที่ยวไปพิสูจน์ความสวยงามและน่าพิศวงอีกมากมาย เพื่อนๆท่านใดมีโปรแกรมว่าไปไปเที่ยวเกาะกูด หรือเคยไปมาแล้ว คอมเม้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก็ได้นะครับ🤩 #เกาะกูด #ตราด #ท่องเที่ยว #น้ำตกคลองเจ้า
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 710 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 198 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 203 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม