• ปัญหาไฟไหม้รถบัส ต้นตอจากนโยบายรัฐ เอื้อประโยชน์ทุนพลังงาน
    .
    หากจะมีประเด็นให้พูดถึงอยู่บ้างสำหรับกรณีรถบัสเพลิงไหม้ที่คร่าครูและเด็กนักเรียนไปมากกว่า 20 ชีวิต นอกเหนือไปจากเรื่องคดีความแล้วนั้นน่าจะเป็นมาตรกระบวนการล้อมคอกของหน่วยงานภาครัฐ ที่เวลาดูเหมือนว่ากำลังจะใกล้เป็นปรากฎการณ์ไฟไหม้ฟางมากขึ้นไปทุกที
    .
    โดยจากที่เคยขึงขังประกาศโรดแมปจัดระเบียบรถโดยสารขับเคลื่อนพลังก๊าซของ 'สุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ' รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปรากฎว่าความขึงขังที่เคยมีนั้นกำลังมีแนวโน้มไปสู่การหย่อนยานมากขึ้นตามลำดับ
    .
    อย่างไรก็ตาม แก่นแท้ของปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่ความประมาทของเจ้าของรถบัสต้นเหตุแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ด้านหนึ่งต้องยอมรับว่านโยบายของภาครัฐในภาพใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนให้รถโดยสารใช้ก๊าซ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของปัญหาไม่ต่างกัน โดยในเรื่องนี้มีการแสดงความคิดเห็นและให้แง่มุมมาจาก หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการและกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ
    .
    โดยนักวิชาการด้านพลังงานรายนี้ เป็นคนแรกๆที่ออกมาฉายภาพของปัญหาผ่านเฟซบุ๊กตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า เนื่องจากรัฐมุ่งโปรโมตขายก๊าซ NGV ใช้ในรถขนส่งผู้โดยสาร จนชะล่าใจ วางมาตรฐานความปลอดภัยต่ำ โดยเฉพาะมาตรฐานวาล์วที่หัวถังอันตรายมาก ดังนั้นการโยนความผิดให้เอกชนฝ่ายเดียวจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก่อนอื่นเลยเราต้องเข้าใจว่า หลายประเทศในทวีปยุโรป นั้นใช้ก๊าซในยานยนต์มานานก่อนประเทศไทย ได้มีบทเรียนและสร้างมาตรฐานยุโรป ที่เรียกว่า ECE R110 ซึ่งกำหนดว่า ยานพาหนะที่ติดก๊าซ NGV ทุกชนิด จะต้องใช้วาล์วที่ต้องปิดเปิดอัตโนมัติด้วยระบบไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า โซลินอยด์ วาล์ว และเมื่อเกิดเหตุก๊าซรั่ว หรือปิดเครื่องยนต์ หรือใช้น้ำมัน จะต้องปิดวาล์ทันทีแบบอัตโนมัติ ซึ่งช้าสุดต้องไม่เกิน 2 วินาที
    .
    มาตรฐานการติดตั้งก๊าซ LPG ในยานยนต์ของประเทศไทยนั้น ได้ปรากฏเป็นประกาศกรมขนส่งทางบก ลงประกาศราชกิจจานุเบกษามีมาตั้งแต่ วันที่ 17 ธันวาคม 2551 กำหนดให้รถที่ติดก๊าซ LPG ใช้ “ลิ้นปิดเปิดอัตโนมัติ” ที่หัวถัง หากก๊าซรั่วแม้แต่เพียงเล็กน้อย หากสลับใช้น้ำมัน และหากดับเครื่องยนต์ วาล์วโซลินอยด์จะปิดอัตโนมัติทันที แต่การติดก๊าซ NGV ในยานยนต์ของประเทศไทยนั้น กลับเป็นเรื่องแปลกประหลาด
    .
    เพราะได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยต่ำกว่ายุโรป และต่ำกว่าก๊าซ LPG ด้วย คือ กำหนดให้ผู้ติดตั้งก๊าซ NGV ในยานยนต์เลือกได้ ว่าจะใช้วาล์วแบบไหนก็คือ จะเป็น “วาล์วแบบอัตโนมัติ” ก็ได้ หรือจะเป็น “วาล์วแบบใช้มือปิดเปิด” ก็ได้
    .
    "เมื่อกำหนดให้เลือกได้ว่าจะให้มีมาตรฐานความปลอดภัยปิดเปิดแก๊สอัตโนมัติตามแบบยุโรปก็ได้ หรือจะเป็นวาล์วที่ใช้มือปิดเปิดก็ได้ ผู้ติดตั้งก๊าซ NGV ในเมืองไทย ส่วนใหญ่จึงเลือก “วาล์วอัตโนมือ - ที่ใช้มือปิดเปิด” เกือบทั้งหมด เพราะ ถูกกว่า-ประหยัดกว่า และภาครัฐอนุญาตให้ทำอย่างนั้น" ประเด็นสำคัญที่หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ ชี้ให้เห็น
    .
    ไม่เพียงเท่านี้ นโยบายดังกล่าวยังได้มาซึ่งความอู้ฟู่อของปตท.อีกด้วยภายใต้แผนการขยายการใช้ NGV เพื่อเป็นทางเลือกเชื้อเพลิงในภาคขนส่งในปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น โดยเป็นสารตั้งต้นที่นำมาซึ่งการส่งเสริมการใช้ก๊าซNGVครั้งใหญ่
    .
    โดยหม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ อธิบายในประเด็นนี้ว่า สามารถทำให้รัฐบาลมีมาตรการสั่งไปได้หลายกระทรวง รวมถึงมาตรการบังคับ ให้ยานยนต์ขนส่งมวลชน ให้มาติดก๊าซ NGV ให้หมด คือ แท็กซี่ในกรุงเทพ, รถให้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ, รถเมล์, รถบขส., รถตู้โดยสาร, รถบัส, รถเก็บขยะใน กทม., รถของหน่วยราชการ, รถของรัฐวิสากิจ ปตท. และรัฐบาลถึงขนาดประชาสัมพันธ์ว่า ก๊าซ NGV ทนความร้อนได้สูงกว่า ก๊าซลอยตัวขึ้นสูงจึงปลอดภัยกว่า ทำให้คนหลงเชื่อผิด ๆ และอยากติดก๊าซ NGV มากขึ้น
    .
    ไม่รู้เหมือนกันว่าข้อคิดเห็นของหม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ ซึ่งมีความน่าสนใจและชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหานั้นจะไปถึงผู้มีอำนาจในรัฐบาลหรือไม่ในยามที่เรื่องนี้กำลังจะเลือนหายไปจากสังคม หรือบางทีอาจจะไปถึงโต๊ะของรัฐมนตรี แต่ก็ถูกโยนทิ้งเพราะมองว่าเป็นข้อเสนอจากคนของพรรคพลังประชารัฐที่เป็นคู่แข่งในทางการเมืองเท่านั้น
    ..............
    Sondhi X
    ปัญหาไฟไหม้รถบัส ต้นตอจากนโยบายรัฐ เอื้อประโยชน์ทุนพลังงาน . หากจะมีประเด็นให้พูดถึงอยู่บ้างสำหรับกรณีรถบัสเพลิงไหม้ที่คร่าครูและเด็กนักเรียนไปมากกว่า 20 ชีวิต นอกเหนือไปจากเรื่องคดีความแล้วนั้นน่าจะเป็นมาตรกระบวนการล้อมคอกของหน่วยงานภาครัฐ ที่เวลาดูเหมือนว่ากำลังจะใกล้เป็นปรากฎการณ์ไฟไหม้ฟางมากขึ้นไปทุกที . โดยจากที่เคยขึงขังประกาศโรดแมปจัดระเบียบรถโดยสารขับเคลื่อนพลังก๊าซของ 'สุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ' รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปรากฎว่าความขึงขังที่เคยมีนั้นกำลังมีแนวโน้มไปสู่การหย่อนยานมากขึ้นตามลำดับ . อย่างไรก็ตาม แก่นแท้ของปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่ความประมาทของเจ้าของรถบัสต้นเหตุแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ด้านหนึ่งต้องยอมรับว่านโยบายของภาครัฐในภาพใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนให้รถโดยสารใช้ก๊าซ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของปัญหาไม่ต่างกัน โดยในเรื่องนี้มีการแสดงความคิดเห็นและให้แง่มุมมาจาก หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการและกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ . โดยนักวิชาการด้านพลังงานรายนี้ เป็นคนแรกๆที่ออกมาฉายภาพของปัญหาผ่านเฟซบุ๊กตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า เนื่องจากรัฐมุ่งโปรโมตขายก๊าซ NGV ใช้ในรถขนส่งผู้โดยสาร จนชะล่าใจ วางมาตรฐานความปลอดภัยต่ำ โดยเฉพาะมาตรฐานวาล์วที่หัวถังอันตรายมาก ดังนั้นการโยนความผิดให้เอกชนฝ่ายเดียวจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก่อนอื่นเลยเราต้องเข้าใจว่า หลายประเทศในทวีปยุโรป นั้นใช้ก๊าซในยานยนต์มานานก่อนประเทศไทย ได้มีบทเรียนและสร้างมาตรฐานยุโรป ที่เรียกว่า ECE R110 ซึ่งกำหนดว่า ยานพาหนะที่ติดก๊าซ NGV ทุกชนิด จะต้องใช้วาล์วที่ต้องปิดเปิดอัตโนมัติด้วยระบบไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า โซลินอยด์ วาล์ว และเมื่อเกิดเหตุก๊าซรั่ว หรือปิดเครื่องยนต์ หรือใช้น้ำมัน จะต้องปิดวาล์ทันทีแบบอัตโนมัติ ซึ่งช้าสุดต้องไม่เกิน 2 วินาที . มาตรฐานการติดตั้งก๊าซ LPG ในยานยนต์ของประเทศไทยนั้น ได้ปรากฏเป็นประกาศกรมขนส่งทางบก ลงประกาศราชกิจจานุเบกษามีมาตั้งแต่ วันที่ 17 ธันวาคม 2551 กำหนดให้รถที่ติดก๊าซ LPG ใช้ “ลิ้นปิดเปิดอัตโนมัติ” ที่หัวถัง หากก๊าซรั่วแม้แต่เพียงเล็กน้อย หากสลับใช้น้ำมัน และหากดับเครื่องยนต์ วาล์วโซลินอยด์จะปิดอัตโนมัติทันที แต่การติดก๊าซ NGV ในยานยนต์ของประเทศไทยนั้น กลับเป็นเรื่องแปลกประหลาด . เพราะได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยต่ำกว่ายุโรป และต่ำกว่าก๊าซ LPG ด้วย คือ กำหนดให้ผู้ติดตั้งก๊าซ NGV ในยานยนต์เลือกได้ ว่าจะใช้วาล์วแบบไหนก็คือ จะเป็น “วาล์วแบบอัตโนมัติ” ก็ได้ หรือจะเป็น “วาล์วแบบใช้มือปิดเปิด” ก็ได้ . "เมื่อกำหนดให้เลือกได้ว่าจะให้มีมาตรฐานความปลอดภัยปิดเปิดแก๊สอัตโนมัติตามแบบยุโรปก็ได้ หรือจะเป็นวาล์วที่ใช้มือปิดเปิดก็ได้ ผู้ติดตั้งก๊าซ NGV ในเมืองไทย ส่วนใหญ่จึงเลือก “วาล์วอัตโนมือ - ที่ใช้มือปิดเปิด” เกือบทั้งหมด เพราะ ถูกกว่า-ประหยัดกว่า และภาครัฐอนุญาตให้ทำอย่างนั้น" ประเด็นสำคัญที่หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ ชี้ให้เห็น . ไม่เพียงเท่านี้ นโยบายดังกล่าวยังได้มาซึ่งความอู้ฟู่อของปตท.อีกด้วยภายใต้แผนการขยายการใช้ NGV เพื่อเป็นทางเลือกเชื้อเพลิงในภาคขนส่งในปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น โดยเป็นสารตั้งต้นที่นำมาซึ่งการส่งเสริมการใช้ก๊าซNGVครั้งใหญ่ . โดยหม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ อธิบายในประเด็นนี้ว่า สามารถทำให้รัฐบาลมีมาตรการสั่งไปได้หลายกระทรวง รวมถึงมาตรการบังคับ ให้ยานยนต์ขนส่งมวลชน ให้มาติดก๊าซ NGV ให้หมด คือ แท็กซี่ในกรุงเทพ, รถให้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ, รถเมล์, รถบขส., รถตู้โดยสาร, รถบัส, รถเก็บขยะใน กทม., รถของหน่วยราชการ, รถของรัฐวิสากิจ ปตท. และรัฐบาลถึงขนาดประชาสัมพันธ์ว่า ก๊าซ NGV ทนความร้อนได้สูงกว่า ก๊าซลอยตัวขึ้นสูงจึงปลอดภัยกว่า ทำให้คนหลงเชื่อผิด ๆ และอยากติดก๊าซ NGV มากขึ้น . ไม่รู้เหมือนกันว่าข้อคิดเห็นของหม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ ซึ่งมีความน่าสนใจและชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหานั้นจะไปถึงผู้มีอำนาจในรัฐบาลหรือไม่ในยามที่เรื่องนี้กำลังจะเลือนหายไปจากสังคม หรือบางทีอาจจะไปถึงโต๊ะของรัฐมนตรี แต่ก็ถูกโยนทิ้งเพราะมองว่าเป็นข้อเสนอจากคนของพรรคพลังประชารัฐที่เป็นคู่แข่งในทางการเมืองเท่านั้น .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 885 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุริยะ ล้อมคอก เปิดทางทุจริต หากินกับชีวิตเด็ก

    'สุริยะ' นักการเมืองมือเก็บ ระดับแมว 9 ชีวิต ระวังจะพลาดสะดุดขาตัวเอง ทำนายกฯอุ๊งอิ๊ง รับเคราะห์ไปด้วยก็เป็นได้

    #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ #สุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ #เปิดทางทุจริต #นักการเมือง
    สุริยะ ล้อมคอก เปิดทางทุจริต หากินกับชีวิตเด็ก 'สุริยะ' นักการเมืองมือเก็บ ระดับแมว 9 ชีวิต ระวังจะพลาดสะดุดขาตัวเอง ทำนายกฯอุ๊งอิ๊ง รับเคราะห์ไปด้วยก็เป็นได้ #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ #สุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ #เปิดทางทุจริต #นักการเมือง
    Like
    Wow
    Angry
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1820 มุมมอง 661 0 รีวิว