• 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
    แนวโน้มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง
    ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัว
    จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ
    และในปี 2568 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
    แต่ในอัตราที่ลดลง

    🚩ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง
    โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้
    ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567-2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง

    🚩ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย
    และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย
    และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัว
    ของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง
    ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป

    🚩โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    ในปี 2567 จะหดตัวราว -10% (เทียบปีต่อปี) และหดตัวต่อเนื่องราว
    -1% ถึง -3% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568

    🚩ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567
    มีแนวโน้มหดตัวราว -9% (เทียบปีต่อปี) แต่อาจเริ่มทรงตัวได้
    หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2% (ปีต่อปี) ในปี 2568

    🚩ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัว
    ในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย
    เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า


    🚩การเปิดโครงการใหม่ในปี 2567-2568 ยังมีแนวโน้มหดตัว
    ต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ
    จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น

    🚩อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัย
    เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว
    -28% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2567 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว
    -2% ถึง -4% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568
    โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก
    เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ

    🚩นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรา
    กำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง
    ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน

    🚩ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไป
    อย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบาย
    สินค้าคงเหลือ มากขึ้นแทน


    🚩ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัย
    ที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้อง
    ปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ
    ควรให้ความสำคัญ ได้แก่

    🚩1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง
    🚩2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด
    🚩3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ
    🚩4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษา
    อัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ
    กับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น
    โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    ที่มา : scbeic
    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อสังหาริมทรัพย์ #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล แนวโน้มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัว จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ และในปี 2568 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ลดลง 🚩ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้ ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567-2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง 🚩ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัว ของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป 🚩โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในปี 2567 จะหดตัวราว -10% (เทียบปีต่อปี) และหดตัวต่อเนื่องราว -1% ถึง -3% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568 🚩ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัวราว -9% (เทียบปีต่อปี) แต่อาจเริ่มทรงตัวได้ หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2% (ปีต่อปี) ในปี 2568 🚩ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัว ในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า 🚩การเปิดโครงการใหม่ในปี 2567-2568 ยังมีแนวโน้มหดตัว ต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น 🚩อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัย เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว -28% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2567 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว -2% ถึง -4% (เทียบปีต่อปี) ในปี 2568 โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ 🚩นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรา กำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน 🚩ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไป อย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบาย สินค้าคงเหลือ มากขึ้นแทน 🚩ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัย ที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้อง ปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 🚩1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง 🚩2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด 🚩3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ 🚩4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษา อัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ กับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มา : scbeic #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อสังหาริมทรัพย์ #thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 677 Views 0 Reviews
  • 💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
    ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ
    อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย

    นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก
    เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน
    คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ
    ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม
    ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท
    และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา

    SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก
    จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย
    ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
    ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก
    ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน

    ปัจจัยภายในประเทศ :

    1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก :
    ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ
    ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป
    เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด
    ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต
    กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD)
    ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี
    เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD
    ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ
    และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์
    และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย
    จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า
    การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก
    ไทยทั้งหมดในปี 2566

    2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า :
    ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก
    ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า
    ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย
    ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ
    ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้
    อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก
    ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
    จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์
    สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก)

    ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก
    ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23%
    ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
    ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38%
    เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า
    ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
    มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้
    ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง
    และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า
    แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น
    ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน

    3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง :
    การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ
    ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น
    ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน
    ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย
    สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง
    และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้

    จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก
    ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์
    สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
    ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้?

    SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน
    จากต่างชาติที่ลดลง :

    1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ
    22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม
    เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ
    ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า
    และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ
    เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า
    เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

    2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง :
    FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย
    เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก
    รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง
    ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ
    อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3,
    และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank)

    สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก

    (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย
    ยังมีมากที่สุดในอาเซียน

    (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
    กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง
    เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป
    และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น

    (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง

    (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง
    นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน
    วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง
    และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ

    (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน
    ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง
    และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า

    ปัจจัยภายนอก :

    การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ

    ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ
    ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา
    กับสินค้าจีน

    2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี
    สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม

    3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว
    ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ
    ต่อการค้าโลก

    4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง
    สำคัญทั่วโลก

    (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย
    และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์


    ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย
    อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน
    ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้
    ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ
    ที่เปราะบาง

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว
    หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน
    โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน
    ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น
    และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว
    เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
    ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย
    แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย
    ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง
    การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ

    การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า
    ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์
    ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง
    แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า
    ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า
    ไปคันแล้วคันเล่า

    ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน ปัจจัยภายในประเทศ : 1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก : ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์ และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก ไทยทั้งหมดในปี 2566 2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า : ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์ สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก) ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23% ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38% เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้ ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน 3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง : การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้ จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์ สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้? SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน จากต่างชาติที่ลดลง : 1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ 22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง : FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3, และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย ยังมีมากที่สุดในอาเซียน (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า ปัจจัยภายนอก : การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา กับสินค้าจีน 2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม 3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ ต่อการค้าโลก 4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง สำคัญทั่วโลก (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้ ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ ที่เปราะบาง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์ ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า ไปคันแล้วคันเล่า ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 473 Views 0 Reviews
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยข้อมูล
    เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
    จะได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออก

    🚩โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    ในไตรมาส 4 จากกลุ่มตลาดประเทศระยะไกล
    รวมถึงการท่องเที่ยวในประเทศจะได้ปัจจัยบวก
    จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ
    ที่จะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ
    และเมืองน่าเที่ยว

    🚩การส่งออกไทยจะขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญ
    จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น อย่างไรก็ดี
    ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยยังฟื้นตัวได้ช้า
    และมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน
    ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง
    ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง
    จากสถานการณ์น้ำท่วมและค่าเงินบาทแข็ง

    🚩สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรเริ่มคลี่คลายลงบ้าง
    โดยพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบยังไม่สูงมากหากเทียบกับ
    ภัยน้ำท่วมในอดีต SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าความเสียหาย
    ในภาคเกษตรอยู่ที่ราว 4,700 ล้านบาท (0.03% ของจีดีพี)
    โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหาย 0.83 ล้านไร่

    🚩สำหรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท
    จะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ SCB EIC ประเมินโครงการนี้
    มีผลบวกต่อเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมด
    อาจไม่ได้ใช้จ่ายลงเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลสำรวจ
    SCB EIC consumer survey ที่พบว่า ผู้ได้รับสิทธิบางส่วน
    จะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้
    แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว สำหรับการบริโภค
    ภาคเอกชนคาดว่าจะแผ่วลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับ
    ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง 7 เดือนติดต่อกัน
    และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจไทย #จีดีพี
    #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยข้อมูล เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออก 🚩โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในไตรมาส 4 จากกลุ่มตลาดประเทศระยะไกล รวมถึงการท่องเที่ยวในประเทศจะได้ปัจจัยบวก จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ ที่จะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และเมืองน่าเที่ยว 🚩การส่งออกไทยจะขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญ จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยยังฟื้นตัวได้ช้า และมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง จากสถานการณ์น้ำท่วมและค่าเงินบาทแข็ง 🚩สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรเริ่มคลี่คลายลงบ้าง โดยพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบยังไม่สูงมากหากเทียบกับ ภัยน้ำท่วมในอดีต SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าความเสียหาย ในภาคเกษตรอยู่ที่ราว 4,700 ล้านบาท (0.03% ของจีดีพี) โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหาย 0.83 ล้านไร่ 🚩สำหรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท จะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ SCB EIC ประเมินโครงการนี้ มีผลบวกต่อเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมด อาจไม่ได้ใช้จ่ายลงเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลสำรวจ SCB EIC consumer survey ที่พบว่า ผู้ได้รับสิทธิบางส่วน จะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้ แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว สำหรับการบริโภค ภาคเอกชนคาดว่าจะแผ่วลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง 7 เดือนติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจไทย #จีดีพี #thaitimes
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 437 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥 ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล
    แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็กไทยปี 2568

    🚩โดยมองว่า การผลิตเหล็กในปี 2568 ของไทยมีแนวโน้ม
    ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น
    และอุปสงค์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างเป็นหลัก
    แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากเหล็กจีนที่เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง

    🚩ในปี 2567 นี้ อุปสงค์การใช้งานเหล็กที่หดตัวทั้งในภาคการก่อสร้าง
    และการผลิตรถยนต์ ประกอบกับเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ
    เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศปี 2567 นี้
    มีแนวโน้มหดตัว 12.7%

    🚩อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี 2568
    โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน จากอุปสงค์การใช้งาน
    ที่ขยายตัว โดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง

    🚩ขณะที่เหล็กจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ายังคงถูกนำเข้ามา
    ใช้งานต่อไป กระทบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของไทย
    ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 30%
    ซึ่งเป็นอัตราที่ถือว่าค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน

    🚩นอกจากนี้ การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
    ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุก
    ของผู้ผลิตและผู้ค้าเหล็กจากจีน ยังเป็นปัจจัยกดดันให้
    อุตสาหกรรมเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่หนักกว่าเดิม

    🚩สำหรับราคาเหล็กในปี 2568 ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง
    ตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ
    ในอุตสาหกรรมเหล็กต้องหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุน และ
    การระบายสต็อกสินค้า เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
    ของราคาจำหน่ายสินค้าเหล็กที่มีโอกาสลดลง

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อุตสาหกรรมเหล็กไทย #thaitimes
    🔥🔥 ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็กไทยปี 2568 🚩โดยมองว่า การผลิตเหล็กในปี 2568 ของไทยมีแนวโน้ม ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างเป็นหลัก แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากเหล็กจีนที่เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง 🚩ในปี 2567 นี้ อุปสงค์การใช้งานเหล็กที่หดตัวทั้งในภาคการก่อสร้าง และการผลิตรถยนต์ ประกอบกับเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศปี 2567 นี้ มีแนวโน้มหดตัว 12.7% 🚩อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี 2568 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน จากอุปสงค์การใช้งาน ที่ขยายตัว โดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง 🚩ขณะที่เหล็กจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ายังคงถูกนำเข้ามา ใช้งานต่อไป กระทบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของไทย ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 30% ซึ่งเป็นอัตราที่ถือว่าค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน 🚩นอกจากนี้ การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุก ของผู้ผลิตและผู้ค้าเหล็กจากจีน ยังเป็นปัจจัยกดดันให้ อุตสาหกรรมเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่หนักกว่าเดิม 🚩สำหรับราคาเหล็กในปี 2568 ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง ตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมเหล็กต้องหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุน และ การระบายสต็อกสินค้า เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของราคาจำหน่ายสินค้าเหล็กที่มีโอกาสลดลง ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อุตสาหกรรมเหล็กไทย #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 482 Views 0 Reviews
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต
    ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568
    อยู่ที่ 2.5% และ 2.6%
    ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว
    ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้

    และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย
    ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่

    🚩1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย
    กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม
    เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน

    🚩2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ
    ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด
    จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ
    รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย

    🚩ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
    เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้
    และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน
    ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568 อยู่ที่ 2.5% และ 2.6% ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 🚩1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน 🚩2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย 🚩ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้ และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 1126 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์เผย
    ธุรกิจ เอส เอ็ม อี (SME) ไทย ในช่วง 8 เดือน ปี 2567 นี้
    มีการปิดกิจการไปแล้วกว่า 1 หมื่นราย โดย 3 อันดับธุรกิจ
    ที่มีการปิดตัวสูงสุดได้แก่
    🚩1. ธุรกิจประมง
    🚩2. ธุรกิจผู้ผลิตเหล็กและจำหน่ายเหล็ก
    🚩3. ธุรกิจโรงพิมพ์

    ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ธุรกิจSME #thaitimes
    🔥🔥SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์เผย ธุรกิจ เอส เอ็ม อี (SME) ไทย ในช่วง 8 เดือน ปี 2567 นี้ มีการปิดกิจการไปแล้วกว่า 1 หมื่นราย โดย 3 อันดับธุรกิจ ที่มีการปิดตัวสูงสุดได้แก่ 🚩1. ธุรกิจประมง 🚩2. ธุรกิจผู้ผลิตเหล็กและจำหน่ายเหล็ก 🚩3. ธุรกิจโรงพิมพ์ ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ธุรกิจSME #thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1061 Views 0 Reviews
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
    เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

    🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
    ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
    ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
    กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
    ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ

    🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทายรอบด้าน
    จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
    กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย

    🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
    ศักยภาพธุรกิจในระยะยาวโดย SME ไทย จะเน้นการลงทุน
    เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
    สารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้
    มีคุณภาพสูง

    4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
    กับกระแส ESG

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาวโดย SME ไทย จะเน้นการลงทุน เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้ มีคุณภาพสูง 4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 821 Views 202 0 Reviews
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
    เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

    🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
    ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
    ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
    กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
    ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ
    อยู่ในระดับต่ำ

    นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ
    ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
    ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า

    ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME
    ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน
    ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย
    และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด
    การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน
    ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ
    ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม
    การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ

    🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทายรอบด้าน
    จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
    กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย
    ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย

    อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ
    กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ

    อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ
    กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
    โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก
    ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ
    ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

    🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
    ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว
    โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า
    และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้
    เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย
    ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน
    ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร
    และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก

    ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ
    จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro)
    ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ
    และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา
    ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์
    เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ

    🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
    กับกระแส ESG
    SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย
    ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์
    รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด
    โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

    ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย
    โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว
    อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ
    ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้
    ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก
    และมีต้นทุนสูง

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC
    #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro) ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ 🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์ รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้ ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก และมีต้นทุนสูง #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 902 Views 0 Reviews