• ศาลไม่รับคดีล้มล้าง ขาดหลักฐานชัดเจน จับตาคดีในมือ กกต.-ปปช.
    .
    ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อพิจารณารับหรือไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย
    .
    สำหรับคำร้องที่นายธีรยุทธยื่นมี 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่นายทักษิณ ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต
    .
    ประเด็นที่ 2 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
    .
    ประเด็นที่ 3 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิม ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    ประเด็นที่ 4 นายทักษิณสั่งการแทนพรรคเพื่อไทย โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ
    .
    ประเด็นที่ 5 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
    .
    ประเด็นที่ 6 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยนำนโยบายของนายทักษิณที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
    .
    ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่า บุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย และความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ
    .
    ข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6
    .
    สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
    .
    ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
    .
    ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายนภดล เทพพิทักษ์ เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
    .
    ด้านดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีตส.ว. แสดงความคิดเห็นว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ์ สุวรรณเกษรที่ขอให้สั่งหยุดการกระทำของคุณทักษิณและ พท.ทั้ง 6 ประเด็น เพราะข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯแต่ข้อเท็จจริงทั้ง 6 ประเด็นก็ยังมีผู้ยื่นคำร้องต่อ ปปช.และ กกต.กล่าวหานายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมทำผิดตามกฎหมายอื่นที่มีโทษรุนแรงทั้งต่อบุคคลและพรรคการเมือง ที่อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องไปสิ้นสุดการพิจารณาที่ศาลยุติธรรมหรือ ศาลรัฐธรรมนูญได้อีกเป็นหลายกรณี ประชาชนพลเมืองดีของไทยจึงยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามกันต่อไป
    ..............
    Sondhi X
    ศาลไม่รับคดีล้มล้าง ขาดหลักฐานชัดเจน จับตาคดีในมือ กกต.-ปปช. . ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อพิจารณารับหรือไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย . สำหรับคำร้องที่นายธีรยุทธยื่นมี 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่นายทักษิณ ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต . ประเด็นที่ 2 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา . ประเด็นที่ 3 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิม ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . ประเด็นที่ 4 นายทักษิณสั่งการแทนพรรคเพื่อไทย โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ . ประเด็นที่ 5 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล . ประเด็นที่ 6 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยนำนโยบายของนายทักษิณที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา . ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่า บุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย และความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ . ข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 . สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย . ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง . ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายนภดล เทพพิทักษ์ เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ . ด้านดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีตส.ว. แสดงความคิดเห็นว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ์ สุวรรณเกษรที่ขอให้สั่งหยุดการกระทำของคุณทักษิณและ พท.ทั้ง 6 ประเด็น เพราะข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯแต่ข้อเท็จจริงทั้ง 6 ประเด็นก็ยังมีผู้ยื่นคำร้องต่อ ปปช.และ กกต.กล่าวหานายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมทำผิดตามกฎหมายอื่นที่มีโทษรุนแรงทั้งต่อบุคคลและพรรคการเมือง ที่อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องไปสิ้นสุดการพิจารณาที่ศาลยุติธรรมหรือ ศาลรัฐธรรมนูญได้อีกเป็นหลายกรณี ประชาชนพลเมืองดีของไทยจึงยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามกันต่อไป .............. Sondhi X
    Sad
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 246 มุมมอง 0 รีวิว
  • แกนนำไทยภักดี ง้างปาก “ภูมิธรรม” ทำไมจึงยอมให้กัมพูชากำหนดพื้นทางทะเล ด้วยการเล็งมาที่ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด? ยกคำพูด “ทักษิณ” สวน “นายกฯ อิ๊งค์” mou44 ยกเลิกไม่ได้ก็ไม่จริง ดักยังดื้อจะเป็นพรรคเพื่อเขมรแทนเพื่อไทย

    วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่

    คุณภูมิธรรม มาลงพื้นที่เกาะกูด เพื่อมายืนยันว่า เกาะกูดเป็นของไทย เกาะกูดมีธรรมชาติที่สวยงาม พร้อมกับมาเยี่ยมกำลังพลที่ดูแลพื้นที่

    ผมยังยืนยันนะครับว่า วันนี้ประชาชนไทย หรือแม้แต่ประชาชนเกาะกูด ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย ย้ำนะครับว่า ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย เพราะเกาะกูดเป็นของไทยวันยังค่ำ

    ในเมื่อเกาะกูดเป็นของไทย พื้นที่ทางทะเลโดยรอบเกาะกูด 200 ไมล์ทะเล (370 กม.) ทั้งน้ำทะล กุ้งหอยปูปลา ผิวดินใต้ทะเล รวมทั้งพื้นดินใต้ผิวดินใต้ทะเล แหล่งพลังงาน ต้องเป็นของไทยด้วย ไม่ใช่เป็นของไทยแค่ตัวเกาะ

    สิ่งที่คนไทยกังวลใจกันมากๆ ก็คือ เมื่อเกาะกูดเป็นของไทย ไทยเราไปยอมรับเส้นอาณาเขตทางทะเล (ไหล่ทวีป) ของกัมพูชา ที่เล็งผ่านยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูด ออกไปอ่าวไทย ได้อย่างไร มันจึงเกิดพื้นที่ทับซ้อนมหาศาล

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000108138

    #MGROnline #เกาะกูด #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่
    แกนนำไทยภักดี ง้างปาก “ภูมิธรรม” ทำไมจึงยอมให้กัมพูชากำหนดพื้นทางทะเล ด้วยการเล็งมาที่ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด? ยกคำพูด “ทักษิณ” สวน “นายกฯ อิ๊งค์” mou44 ยกเลิกไม่ได้ก็ไม่จริง ดักยังดื้อจะเป็นพรรคเพื่อเขมรแทนเพื่อไทย • วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่ • คุณภูมิธรรม มาลงพื้นที่เกาะกูด เพื่อมายืนยันว่า เกาะกูดเป็นของไทย เกาะกูดมีธรรมชาติที่สวยงาม พร้อมกับมาเยี่ยมกำลังพลที่ดูแลพื้นที่ • ผมยังยืนยันนะครับว่า วันนี้ประชาชนไทย หรือแม้แต่ประชาชนเกาะกูด ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย ย้ำนะครับว่า ไม่ได้กังวลใจว่า เกาะกูดไม่ได้เป็นของไทย เพราะเกาะกูดเป็นของไทยวันยังค่ำ • ในเมื่อเกาะกูดเป็นของไทย พื้นที่ทางทะเลโดยรอบเกาะกูด 200 ไมล์ทะเล (370 กม.) ทั้งน้ำทะล กุ้งหอยปูปลา ผิวดินใต้ทะเล รวมทั้งพื้นดินใต้ผิวดินใต้ทะเล แหล่งพลังงาน ต้องเป็นของไทยด้วย ไม่ใช่เป็นของไทยแค่ตัวเกาะ • สิ่งที่คนไทยกังวลใจกันมากๆ ก็คือ เมื่อเกาะกูดเป็นของไทย ไทยเราไปยอมรับเส้นอาณาเขตทางทะเล (ไหล่ทวีป) ของกัมพูชา ที่เล็งผ่านยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูด ออกไปอ่าวไทย ได้อย่างไร มันจึงเกิดพื้นที่ทับซ้อนมหาศาล • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000108138 • #MGROnline #เกาะกูด #ภูมิธรรมไปเกาะกูดไม่มีอะไรใหม่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 263 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ทักษิณ"เมินพวกขุด MOU44 โจมตีรบ.-ไม่ต้องตกใจ! 09/11/67 #ทักษิณ #MOU 44 #รัฐบาล #พื้นที่ทับซ้อน
    "ทักษิณ"เมินพวกขุด MOU44 โจมตีรบ.-ไม่ต้องตกใจ! 09/11/67 #ทักษิณ #MOU 44 #รัฐบาล #พื้นที่ทับซ้อน
    Angry
    Like
    11
    4 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1060 มุมมอง 681 0 รีวิว
  • 8 พฤศจิกายน 2567- รายงานประชาติธุรกิจ ระบุว่า “ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข” นักรัฐศาสตร์ด้านความมั่นคง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความวิชาการถึง การอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ข้อสังเกตทางรัฐศาสตร์ รวมทั้งหมด 32 ข้อ

    https://www.prachachat.net/politics/news-1691393

    #Thaitimes
    8 พฤศจิกายน 2567- รายงานประชาติธุรกิจ ระบุว่า “ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข” นักรัฐศาสตร์ด้านความมั่นคง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความวิชาการถึง การอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ข้อสังเกตทางรัฐศาสตร์ รวมทั้งหมด 32 ข้อ https://www.prachachat.net/politics/news-1691393 #Thaitimes
    WWW.PRACHACHAT.NET
    สุรชาติ : เจรจาพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ไม่มี The Winner Take All
    พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา กลายเป็นประเด็นร้อนแรงทางการเมือง พรรคพลังประชารัฐเดินหน้าภายใต้การสั่งการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 487 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ พรรคพม่าเพิ่งตื่น พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา ออกอาการ ถามหาสัมปทานนายทุนพรรคทันที
    #7ดอกจิก
    ♣ พรรคพม่าเพิ่งตื่น พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา ออกอาการ ถามหาสัมปทานนายทุนพรรคทันที #7ดอกจิก
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 278 มุมมอง 67 0 รีวิว
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    11
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 517 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกัมพูชาไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ UNCLOS 1982 ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับและยึดถือกว่า 160 ประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักในการเจรจาความเมืองใด ๆ เกี่ยวกับทะเล

    ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณได้เขียนเรื่อง “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้ ”เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567ไว้ว่า

    “กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแถบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ

    เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส

    เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ?

    ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย

    ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม!

    ที่มา https://www.facebook.com/share/15FAF2zRds/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ทำไมกัมพูชาไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ UNCLOS 1982 ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับและยึดถือกว่า 160 ประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักในการเจรจาความเมืองใด ๆ เกี่ยวกับทะเล ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณได้เขียนเรื่อง “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้ ”เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567ไว้ว่า “กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแถบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ? ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม! ที่มา https://www.facebook.com/share/15FAF2zRds/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Yay
    Angry
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 319 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา

    4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน

    ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป
    อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ

    หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

    ที่มา NBT CONNEXT

    #Thaitimes
    นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา 4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ที่มา NBT CONNEXT #Thaitimes
    Like
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 414 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย

    4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้

    อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

    อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต”

    เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า
    [“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป
    รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต

    “ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต…

    ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป]

    ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล

    แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม

    รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์”

    รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย

    “ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย

    ** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง
    การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน

    อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย

    ** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง
    การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป”

    สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง

    เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง!

    และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย

    กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

    จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน”

    ที่มา News1
    https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw

    #Thaitimes
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย 4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต” เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า [“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต “ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต… ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป] ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย “ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย ** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย ** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป” สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง! และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน” ที่มา News1 https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw #Thaitimes
    NEWS1LIVE.COM
    “ธีระชัย” เปิดข้อมูล กัมพูชาลากเส้นในทะเลผิดหลักสากล 2 เด้ง MOU44 ส่อผิดไปด้วย
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 674 มุมมอง 0 รีวิว
  • จ.ตราด นทท.แห่เที่ยวเกาะกูด ไม่สนกระแสพื้นที่ทับซ้อน

    https://youtu.be/DZdu8Rfddx4
    จ.ตราด นทท.แห่เที่ยวเกาะกูด ไม่สนกระแสพื้นที่ทับซ้อน https://youtu.be/DZdu8Rfddx4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 80 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106205

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106205 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    Love
    Yay
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2019 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา
    .
    วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2567) กระทรวงการต่างประเทศเชิญสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปข้อมูลภูมิหลัง รวมทั้งสถานะล่าสุดเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยนายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญนางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมให้ข้อมูล
    .
    อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้อธิบายถึงเขตทางทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 รวมทั้งชี้แจงที่มาของพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีขนาดประมาณ 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU 2544
    .
    MOU 2544 เป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป
    .
    แนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ (1) ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้ (2) จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ (3) ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    .
    ต่อกรณีที่มีการเชื่อมโยงเรื่อง “เกาะกูด” จ. ตราด เข้าไปพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ชี้แจงว่า เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบันไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100%
    .
    อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ยืนยันว่า MOU 2544 เป็นเพียง “กรอบการเจรจา” (Agreement to Negotiate) ประเทศไทยและกัมพูชาไม่ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายกำหนดขึ้นเอง และใน MOU ก็ระบุชัดเจนว่า การเจรจาจะไม่มีผลต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของประเทศคู่เจรจา
    .
    ในเรื่องของการยกเลิก MOU 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยมีมติให้ยกเลิกเมื่อปี 2552 นั้น กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามีปัญหา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และการปะทะกันที่ชายแดน ทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว เห็นว่า MOU ยังมีความจำเป็น จึงได้เสนอให้รัฐบาลในชุดต่อๆ มาทบทวนมติ ครม. ปี 2552 และทุกรัฐบาลต่อมาก็มีมติให้ใช้ MOU 2544 ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้.
    ..............
    Sondhi X
    กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา . วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2567) กระทรวงการต่างประเทศเชิญสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปข้อมูลภูมิหลัง รวมทั้งสถานะล่าสุดเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยนายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญนางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมให้ข้อมูล . อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้อธิบายถึงเขตทางทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 รวมทั้งชี้แจงที่มาของพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีขนาดประมาณ 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU 2544 . MOU 2544 เป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป . แนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ (1) ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้ (2) จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ (3) ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง . ต่อกรณีที่มีการเชื่อมโยงเรื่อง “เกาะกูด” จ. ตราด เข้าไปพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ชี้แจงว่า เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบันไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100% . อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ยืนยันว่า MOU 2544 เป็นเพียง “กรอบการเจรจา” (Agreement to Negotiate) ประเทศไทยและกัมพูชาไม่ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายกำหนดขึ้นเอง และใน MOU ก็ระบุชัดเจนว่า การเจรจาจะไม่มีผลต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของประเทศคู่เจรจา . ในเรื่องของการยกเลิก MOU 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยมีมติให้ยกเลิกเมื่อปี 2552 นั้น กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามีปัญหา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และการปะทะกันที่ชายแดน ทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว เห็นว่า MOU ยังมีความจำเป็น จึงได้เสนอให้รัฐบาลในชุดต่อๆ มาทบทวนมติ ครม. ปี 2552 และทุกรัฐบาลต่อมาก็มีมติให้ใช้ MOU 2544 ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้. .............. Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 736 มุมมอง 0 รีวิว
  • มหาดไทย สั่งผู้ว่าฯตราด เร่งชี้แจงปมพิพาท 'เกาะกูด' หวั่นประชาชนเข้าใจผิด
    .
    ก่อนหน้านี้ได้เห็นท่าทีของกองทัพเรือที่มีต่อเรื่องปัญหาพื้นที่พิพาทเกี่ยวกับเกาะกูด จังหวัดตราด มาเวลานี้กระทรวงมหาดไทยกลายเป็นอีกหน่วยงานของรัฐอีกหน่วยงานหนึ่งที่ขยับในเรื่องนี้เช่นกัน โดยนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลงานด้านควรมั่นคง ได้เข้าประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราดทั้ง 2 คน และนายอำเภอทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดตราด
    .
    ทั้งนี้ ระหว่างการประชุม นายชำนาญวิทย์ ระบุว่า ปัญหาเรื่องกรณีเขตแดนอำเภอเกาะกูดที่ปัจจุบันมีการปั่นกระแสผ่านทางสื่อโซเชียลจำนวนมากและสับสนว่าเกาะกูดเป็นของใคร และพื้นที่ทับซ้อนที่เกิดทับซ้อนในทะเลนั้นเป็นอย่างไร และจะมีการแบ่งผลประโยชน์อย่างยุติธรรมอย่างไร ส่วนตัวกังวลว่า หากให้มีการดำเนินการปลุกปั่นกันอยู่อย่างนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกหรือทัศนคติเชิงลบของประชาชนชาวไทยให้เกิดขึ้นจนเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศในที่สุด ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และนายอำเภอเกาะกูดต้องตรวจสอบข้อมูล และเร่งทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนชาวตราดเปิดรับข้อมูลข่าวสารให้รอบด้าน
    .
    " นายอำเภอเกาะกูดท่านมีหน้าที่ในการไปศึกษาหาข้อมูลมานำเสนอให้ประชาชนชาวเกาะกูดรับทราบและต้องชัดเจนในการทำความเข้าใจ กับสิ่งที่สื่อโซเชียลไปโพสต์นั้นถูกต้องหรือไม่ไปตรวจสอบและทำความเข้าใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย วันนี้เห็นหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องของความรักชาติและปลุกกระแส เกาะกูดที่กำลังถูกปลุกและปั่นกระแสโดยอ้างความรักชาติมาเป็นเหตุผล แต่สถานการณ์แบบนี้เปราะบางและอาจจะบานปลายไปส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติได้" นายชำนาญวิทย์ ระบุ
    ..............
    Sondhi X
    มหาดไทย สั่งผู้ว่าฯตราด เร่งชี้แจงปมพิพาท 'เกาะกูด' หวั่นประชาชนเข้าใจผิด . ก่อนหน้านี้ได้เห็นท่าทีของกองทัพเรือที่มีต่อเรื่องปัญหาพื้นที่พิพาทเกี่ยวกับเกาะกูด จังหวัดตราด มาเวลานี้กระทรวงมหาดไทยกลายเป็นอีกหน่วยงานของรัฐอีกหน่วยงานหนึ่งที่ขยับในเรื่องนี้เช่นกัน โดยนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลงานด้านควรมั่นคง ได้เข้าประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราดทั้ง 2 คน และนายอำเภอทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดตราด . ทั้งนี้ ระหว่างการประชุม นายชำนาญวิทย์ ระบุว่า ปัญหาเรื่องกรณีเขตแดนอำเภอเกาะกูดที่ปัจจุบันมีการปั่นกระแสผ่านทางสื่อโซเชียลจำนวนมากและสับสนว่าเกาะกูดเป็นของใคร และพื้นที่ทับซ้อนที่เกิดทับซ้อนในทะเลนั้นเป็นอย่างไร และจะมีการแบ่งผลประโยชน์อย่างยุติธรรมอย่างไร ส่วนตัวกังวลว่า หากให้มีการดำเนินการปลุกปั่นกันอยู่อย่างนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกหรือทัศนคติเชิงลบของประชาชนชาวไทยให้เกิดขึ้นจนเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศในที่สุด ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และนายอำเภอเกาะกูดต้องตรวจสอบข้อมูล และเร่งทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนชาวตราดเปิดรับข้อมูลข่าวสารให้รอบด้าน . " นายอำเภอเกาะกูดท่านมีหน้าที่ในการไปศึกษาหาข้อมูลมานำเสนอให้ประชาชนชาวเกาะกูดรับทราบและต้องชัดเจนในการทำความเข้าใจ กับสิ่งที่สื่อโซเชียลไปโพสต์นั้นถูกต้องหรือไม่ไปตรวจสอบและทำความเข้าใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย วันนี้เห็นหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องของความรักชาติและปลุกกระแส เกาะกูดที่กำลังถูกปลุกและปั่นกระแสโดยอ้างความรักชาติมาเป็นเหตุผล แต่สถานการณ์แบบนี้เปราะบางและอาจจะบานปลายไปส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติได้" นายชำนาญวิทย์ ระบุ .............. Sondhi X
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 590 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย
    .
    เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544)
    .
    ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ
    .
    ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน
    .
    “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ”
    .
    สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ
    ..............
    Sondhi X
    ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย . เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) . ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ . ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน . “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ” . สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 607 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายอำเภอเกาะกูดแถลง กรณีเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ทับซ้อนกับกลุ่มรักชาติส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประชาชนบนเกาะกูดอย่างร้ายแรง

    2 พฤศจิกายน 2567-รายงานข่าวNBT Connect ระบุว่า นายไพรัช สร้อยแสง นายอำเภอเกาะกูด จ.ตราด ออกแถลงการณ์ในนามอำเภอเกาะกูด กรณีเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ทับซ้อน ความว่า

    ตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อสารมวลชนต่างๆ ที่ลงข้อความเกี่ยวข้องกับอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ทับซ้อน การเสียดินแดนและข้อความอื่นๆ ซึ่งอำเภอเกาะกูดได้เคยชี้แจงกับสื่อมวลชนแล้วหลายครั้ง ว่า อำเภอเกาะกูด เป็นดินแดนของประเทศไทยอย่างชัดเจนตามสนธิสัญญา สยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449 (ค.ศ.1907 ) แต่ยังคงมีกลุ่มบุคคลผู้รักชาติพยายาม แสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ถึงกับจะลงมาจัดกิจกรรมในพื้นที่อำเภอเกาะกูด ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ของประชาชนบนเกาะกูดอย่างร้ายแรง

    อำเภอเกาะกูด เป็นอำเภอที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นหลัก ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาทางท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน สร้างรายได้ไห้กับ ประเทศไทยนับพันล้านบาท

    จึงขอวิงวอนกับกลุ่มผู้รักชาติที่เสนอข่าวเกี่ยวกับเกาะกูดได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนนำเสนอ เพราะจะกระทบต่อประชาชน และผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวของอำเภอเกาะกูด โดยตรง

    นายไพรัช สร้อยแสง
    นายอำเภอเกาะกูด
    (2 พฤศจิกายน พ.ศ.2567)

    ที่มา : NBTCONTEXT
    https://x.com/nnthotnews/status/1852623401992818725?s=46&t=nn3z3yuHSlOFcPbFyzmrQA

    #Thaitimes
    นายอำเภอเกาะกูดแถลง กรณีเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ทับซ้อนกับกลุ่มรักชาติส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประชาชนบนเกาะกูดอย่างร้ายแรง 2 พฤศจิกายน 2567-รายงานข่าวNBT Connect ระบุว่า นายไพรัช สร้อยแสง นายอำเภอเกาะกูด จ.ตราด ออกแถลงการณ์ในนามอำเภอเกาะกูด กรณีเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ทับซ้อน ความว่า ตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อสารมวลชนต่างๆ ที่ลงข้อความเกี่ยวข้องกับอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ทับซ้อน การเสียดินแดนและข้อความอื่นๆ ซึ่งอำเภอเกาะกูดได้เคยชี้แจงกับสื่อมวลชนแล้วหลายครั้ง ว่า อำเภอเกาะกูด เป็นดินแดนของประเทศไทยอย่างชัดเจนตามสนธิสัญญา สยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449 (ค.ศ.1907 ) แต่ยังคงมีกลุ่มบุคคลผู้รักชาติพยายาม แสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ถึงกับจะลงมาจัดกิจกรรมในพื้นที่อำเภอเกาะกูด ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ของประชาชนบนเกาะกูดอย่างร้ายแรง อำเภอเกาะกูด เป็นอำเภอที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นหลัก ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาทางท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน สร้างรายได้ไห้กับ ประเทศไทยนับพันล้านบาท จึงขอวิงวอนกับกลุ่มผู้รักชาติที่เสนอข่าวเกี่ยวกับเกาะกูดได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนนำเสนอ เพราะจะกระทบต่อประชาชน และผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวของอำเภอเกาะกูด โดยตรง นายไพรัช สร้อยแสง นายอำเภอเกาะกูด (2 พฤศจิกายน พ.ศ.2567) ที่มา : NBTCONTEXT https://x.com/nnthotnews/status/1852623401992818725?s=46&t=nn3z3yuHSlOFcPbFyzmrQA #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 491 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 696 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้!

    31 ต.ค.2567 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้” ระบุว่า กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแทบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ

    เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส

    เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ?

    ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย
    ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม!

    ที่มา https://www.thaipost.net/x-cite-news/682589/

    #Thaitimes
    'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้! 31 ต.ค.2567 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้” ระบุว่า กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแทบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ? ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม! ที่มา https://www.thaipost.net/x-cite-news/682589/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้!
    ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 485 มุมมอง 0 รีวิว
  • “หม่อมกร” ชี้จุดพึงระวัง MOU 2544 ไทยเปลี่ยนจุดยืนไม่รักษาสิทธิเขตแดนทางทะเลตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และหันไปยอมรับเส้นเขตแดนกัมพูชาที่ประกาศไม่มีกฎหมายสากลรองรับ จนเกิดพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ทำใหเไทยเสียเปรียบและเสี่ยงเสียดินแดนซ้ำรอยเขาพระวิหาร ชี้พิรุธเจรจารวบรัดแค่ 44 วันก็ลงนาม ขณะที่เขตทับซ้อนไทย-เวียดนาม ใช้เวลา 6 ปี ไทย-มาเลเซียใช้เวลา 7 ปี เพราะเจรจาอย่างรอบคอบ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105028

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “หม่อมกร” ชี้จุดพึงระวัง MOU 2544 ไทยเปลี่ยนจุดยืนไม่รักษาสิทธิเขตแดนทางทะเลตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และหันไปยอมรับเส้นเขตแดนกัมพูชาที่ประกาศไม่มีกฎหมายสากลรองรับ จนเกิดพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ทำใหเไทยเสียเปรียบและเสี่ยงเสียดินแดนซ้ำรอยเขาพระวิหาร ชี้พิรุธเจรจารวบรัดแค่ 44 วันก็ลงนาม ขณะที่เขตทับซ้อนไทย-เวียดนาม ใช้เวลา 6 ปี ไทย-มาเลเซียใช้เวลา 7 ปี เพราะเจรจาอย่างรอบคอบ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105028 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Love
    35
    4 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 2940 มุมมอง 1 รีวิว
  • สรุปข่าว เกาะกูด / MOU44 / พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา #เทรนด์วันนี้ #ไทย #กัมพูชา
    สรุปข่าว เกาะกูด / MOU44 / พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา #เทรนด์วันนี้ #ไทย #กัมพูชา
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 207 มุมมอง 68 0 รีวิว
  • อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า

    “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !

    ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2

    แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย

    นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้

    เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ

    ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121

    การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้

    - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)

    - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)

    - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)

    ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น

    ผิดทั้งหมด !

    เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว

    การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน

    แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !

    ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้

    นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554

    นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !

    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด

    “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้

    อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ

    เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา

    แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย

    จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !

    นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย

    โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน

    ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร

    ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…

    “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”

    การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก

    แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน

    พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U

    วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา

    MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี

    แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด

    หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง

    ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

    หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร

    ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !

    ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน

    ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย

    แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

    หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น

    เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !

    หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA

    #Thaitimes
    อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ! ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้ - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972) - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972) - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544) ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น ผิดทั้งหมด ! เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ ! ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้ นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด ! ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้ อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา ! นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ… “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้” การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ ! ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ ! หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้
    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 463 มุมมอง 0 รีวิว
  • อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #พื้นที่ทับซ้อน #อธิปไตยอ่าวไทย
    ตัดคลิปจากแนวหน้าออนไลน์
    youtube.com/live/eCvsgJgNm…
    อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #พื้นที่ทับซ้อน #อธิปไตยอ่าวไทย ตัดคลิปจากแนวหน้าออนไลน์ youtube.com/live/eCvsgJgNm…
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 139 0 รีวิว
  • ## ยก "เกาะกูด" ให้ เขมร ไม่ "กบฏ" ก็ "คนชายชาติ" ##
    ..
    ..
    เกาะกูด เป็นของประเทศไทย ชัดเจน ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน
    .
    ถ้า "นักการเมือง" มาเจรจาให้กลายเป็น "พื้นที่ทับซ้อน" แล้วไป "แบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพลังงาน" กัน...
    .
    ก็ให้ระวังตัวไว้...!!!
    .
    ตอนนี้หลายคนก็คงเริ่มฟิตร่างกาย เตรียมรองเท้า รอไว้แล้ว...!!!
    .
    🤬🤬🤬🤬
    .
    https://youtu.be/7h0Xockidb4?si=jWjUy6sUTJ3ais50
    ## ยก "เกาะกูด" ให้ เขมร ไม่ "กบฏ" ก็ "คนชายชาติ" ## .. .. เกาะกูด เป็นของประเทศไทย ชัดเจน ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน . ถ้า "นักการเมือง" มาเจรจาให้กลายเป็น "พื้นที่ทับซ้อน" แล้วไป "แบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพลังงาน" กัน... . ก็ให้ระวังตัวไว้...!!! . ตอนนี้หลายคนก็คงเริ่มฟิตร่างกาย เตรียมรองเท้า รอไว้แล้ว...!!! . 🤬🤬🤬🤬 . https://youtu.be/7h0Xockidb4?si=jWjUy6sUTJ3ais50
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 53 มุมมอง 0 รีวิว
  • “หม่อมกร” ชี้พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียดนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามกฎหมายสากลโดยสุจริตใจ และมีพื้นที่ทับซ้อนไม่มากนัก แต่กรณีไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นโดยไทยปฏิบัติตามกฎหมายสากลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายกัมพูชาลากเส้นโดยไม่มีกฎหมายใดรับรอง ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของไทยเกินสมควร เหตุใดรัฐบาลในปี 2544 ไม่ให้กัมพูชาลากเส้นใหม่ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ก่อนลงนาม MOU44

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000103306

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “หม่อมกร” ชี้พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียดนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามกฎหมายสากลโดยสุจริตใจ และมีพื้นที่ทับซ้อนไม่มากนัก แต่กรณีไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นโดยไทยปฏิบัติตามกฎหมายสากลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายกัมพูชาลากเส้นโดยไม่มีกฎหมายใดรับรอง ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของไทยเกินสมควร เหตุใดรัฐบาลในปี 2544 ไม่ให้กัมพูชาลากเส้นใหม่ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ก่อนลงนาม MOU44 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000103306 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Sad
    Haha
    56
    1 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 3113 มุมมอง 4 รีวิว
  • หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

    ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้

    หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น

    ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้

    โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย

    ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

    ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“

    การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว

    การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า

    “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“

    ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า

    “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“

    นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน

    เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด

    ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง

    การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73

    ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

    เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว

    ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย

    ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ

    พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้”

    แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย

    แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย

    หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น

    ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้

    และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    23 ตุลาคม 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/?

    #Thaitimes
    หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“ ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้ โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“ การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“ ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้” แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้ และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/? #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 832 มุมมอง 0 รีวิว
  • 23 ตุลาคม 2567-นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการ ออกบทความเรื่องล่าสุด "ยุบพรรคเพื่อไทย??? : ความชอบธรรมและความเป็นไปได้ทางกฎหมาย" ในลักษณะถาม-ตอบ มีเนื้อหาว่า

    ถาม ทำไมจะไปยุบพรรคเพื่อไทยโดยอ้างว่าถูกทักษิณครอบงำ ก็เขาเป็นคนตั้งพรรค
    รวมผู้คนมาตั้งแต่แรก แล้วใจคอจะไม่ให้ฟังกันบ้างเลยหรืออย่างไร
    ตอบ ทักษิณถูกจำคุกตามคำพิพากษาคดีคอร์รัปชัน สิ้นสิทธิทางการเมืองเป็นคนนอกพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เขาจะพูดจะแนะนำอะไร คณะกรรมการพรรคก็ยังรับฟังได้กฎหมายไม่ห้าม แต่ต้องไม่ถึงขั้นถูกครอบงำถึงขนาดขาดอิสระ ทักษิณชี้นกเป็นไม้ ก็ยอมหมด อย่างนี้กฎหมายรับไม่ได้

    ถาม แล้วมันผิดที่ตรงไหน ที่ไปฟังทักษิณ
    ตอบ พรรคการเมืองมีตัวตนอยู่ที่ “ความคิด” ประชาธิปไตยเสนอกันที่ความคิด เมื่อความคิดใครชนะคนนั้นต้องเป็นคนทำ รัฐธรรมนูญไทยเอาจริงถึงขั้นบังคับให้ สส.ต้องสังกัดพรรค และพรรคต้องเสนอชื่อนายกฯไว้ล่วงหน้าเลย
    เมื่อพรรคคือ “ความคิด” พรรคจึงต้องคิดเองตัดสินใจเอง จะเป็นแค่หุ่นเชิดของคนนอกพรรคไม่ได้ ถ้ายอมให้เชิดกันอย่างนี้ได้ ประชาธิปไตยในพรรคก็พลอยจะสิ้นความหมายไปด้วย

    ถาม กกต.ต้องพิสูจน์อะไรให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นบ้าง ว่าพรรคเพื่อไทยถูกทักษิณครอบงำ
    ตอบ อะไรที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการพรรค ถ้าพิสูจน์ว่าทักษิณสั่งได้ ก็โดนหมดล่ะครับ ทั้งการกำหนดนโยบายทางการเมือง, การตั้งคณะกรรมการบริหาร,การคัดเลือกส่งคนลงสมัคร สส., การเข้าร่วมรัฐบาล, การเลือกผู้เหมาะสมเป็นรัฐมนตรี, การเสนอร่างกฎหมาย เหล่านี้ล้วนเกิดเป็นเรื่องกล่าวหาได้ทั้งนั้น

    ถาม แล้วชัดเจนถึงขนาดไหนล่ะครับ ถึงจะฟังได้ว่าเป็นการ “ครอบงำ” ผมเห็นคนพรรคเพื่อไทยเขาท้าทายว่า มีพยานหลักฐานชัดเจนไหมว่า เมื่อวันนั้นวันนี้ ทักษิณสั่งนายโน้นนายนี้ใหทำอย่างนั้นอย่างนี้
    ตอบ นี่ไม่ใช่คดีอาญา แต่เป็นคดีคุ้มครองประชาธิปไตยในบ้านเมือง ถ้าพรรคใดยอมตนเป็นหุ่นให้อิทธิพลทุจริต เราก็ต้องยุบพรรคนั้น ถ้าพยานหลักฐานมันแวดล้อมให้เชื่อได้เช่นนั้น ทั้งตั้งลูกสาวเป็นหัวหน้าพรรคโดยไม่มีที่มาที่ไปทางคุณสมบัติ ทั้งเรื่องที่ทักษิณโผล่หน้ามาชี้แจงนโยบายพรรคต่อคนทั้งประเทศ ทั้งเรื่องมีบทบาทคัดคนลงสมัคร นายก อบจ.หรือ สส.สั่งเปลี่ยนโผให้เป็นโน้นคนนี้ หรือแม้กระทั่งเรียกทุกพรรคมาประชุมจันทร์ส่องหล้า แล้วตกลงตั้งรัฐบาลในสูตรเดิม ทั้งหมดนี้ ถ้าคุณเป็นศาลรัฐธรรมนูญ คุณว่ามันพอหรือไม่ ที่จะตัดสินว่าพรรคเพื่อไทยอยู่ใต้บงการของคนชื่อทักษิณ

    ถาม ถ้ามองเป็นเรื่องบงการกันอย่างนี้ การที่พรรคร่วมรัฐบาลแห่ไปพบทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้าแล้วตกลงร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทยต่อไปเหมือนเดิม ก็ไม่ใช่เรื่องต้องถูกยุบพรรคใช่ไหมครับ
    ตอบ ถูกต้องครับ พรรคเหล่านี้เขาแค่ไปคุยแล้วตกลงกับทักษิณว่าเราจะรักษาสูตรรัฐบาลไว้ต่อไปเท่านั้นหรือไม่ นี่เป็นเริ่องไปเจรจาตกลง ไม่ใช่เรื่องอยู่ใต้บงการทักษิณแต่อย่างใด
    คุณต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า ความผิดมันไม่ใช่อยู่ที่เห็นตรงกับทักษิณ หรือไปคุยกับทักษิณ แต่มันอยู่ตรงที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจว่ามีพรรคไหนไปอยู่ใต้บงการเขาหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลใดนอกจากเพื่อไทยเท่านั้น ที่มีปัญหาว่าไปเป็นขี้ข้าเขาแบบนั้นหรือไม่

    ถาม แล้ว กกต. ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทยเลยได้ไหมครับ ข้างพรรคเพื่อไทยจะเถียงอะไรก็ให้ไปว่ากันในศาล
    ตอบ งานนี้เป็นเรื่องชี้ขาดกันด้วยพยานแวดล้อม ถ้าพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมันล้อมเข้ามาจนชัดเจน และรู้กันทั่วไป เพียงเท่านี้ กกต.ก็ฟ้องได้แล้วครับว่า แต่ละพฤติการณ์ประกอบกันเข้ามาให้เชื่อได้แล้วว่า ทักษิณคือผู้ครอบครองพรรคเพื่อไทย

    ถาม เห็น รองนายกฯภูมิธรรม เขาบอกว่าไม่น่ามาร้องเรียนอะไรกันเลย รัฐบาลลุยจนเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นอยู่แล้ว
    ตอบ ฟื้นจริงไหม? ฟื้นเพื่อใคร? มีใครที่ครอบงำพรรคแล้วรอเสวยประโยชน์อยู่โดยทุจริตหรือไม่ ทั้งเรื่อง สัมปทานบ่อน และ เจรจาพื้นที่ทับซ้อนกับเขมร?
    ตรงนี้เป็นปัญหาความสะอาด ความเลว ความชั่ว ในระบบรัฐบาล ที่ต้องเคลียร์ให้ได้ชัดเจนจริงๆ
    เศรษฐกิจมันฟื้นจากพื้นฐานที่สกปรกไม่ได้ รู้จักมียางอายกันบ้างเถิดครับ

    https://www.thaipost.net/hi-light/677990/

    #Thaitimes
    23 ตุลาคม 2567-นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการ ออกบทความเรื่องล่าสุด "ยุบพรรคเพื่อไทย??? : ความชอบธรรมและความเป็นไปได้ทางกฎหมาย" ในลักษณะถาม-ตอบ มีเนื้อหาว่า ถาม ทำไมจะไปยุบพรรคเพื่อไทยโดยอ้างว่าถูกทักษิณครอบงำ ก็เขาเป็นคนตั้งพรรค รวมผู้คนมาตั้งแต่แรก แล้วใจคอจะไม่ให้ฟังกันบ้างเลยหรืออย่างไร ตอบ ทักษิณถูกจำคุกตามคำพิพากษาคดีคอร์รัปชัน สิ้นสิทธิทางการเมืองเป็นคนนอกพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เขาจะพูดจะแนะนำอะไร คณะกรรมการพรรคก็ยังรับฟังได้กฎหมายไม่ห้าม แต่ต้องไม่ถึงขั้นถูกครอบงำถึงขนาดขาดอิสระ ทักษิณชี้นกเป็นไม้ ก็ยอมหมด อย่างนี้กฎหมายรับไม่ได้ ถาม แล้วมันผิดที่ตรงไหน ที่ไปฟังทักษิณ ตอบ พรรคการเมืองมีตัวตนอยู่ที่ “ความคิด” ประชาธิปไตยเสนอกันที่ความคิด เมื่อความคิดใครชนะคนนั้นต้องเป็นคนทำ รัฐธรรมนูญไทยเอาจริงถึงขั้นบังคับให้ สส.ต้องสังกัดพรรค และพรรคต้องเสนอชื่อนายกฯไว้ล่วงหน้าเลย เมื่อพรรคคือ “ความคิด” พรรคจึงต้องคิดเองตัดสินใจเอง จะเป็นแค่หุ่นเชิดของคนนอกพรรคไม่ได้ ถ้ายอมให้เชิดกันอย่างนี้ได้ ประชาธิปไตยในพรรคก็พลอยจะสิ้นความหมายไปด้วย ถาม กกต.ต้องพิสูจน์อะไรให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นบ้าง ว่าพรรคเพื่อไทยถูกทักษิณครอบงำ ตอบ อะไรที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการพรรค ถ้าพิสูจน์ว่าทักษิณสั่งได้ ก็โดนหมดล่ะครับ ทั้งการกำหนดนโยบายทางการเมือง, การตั้งคณะกรรมการบริหาร,การคัดเลือกส่งคนลงสมัคร สส., การเข้าร่วมรัฐบาล, การเลือกผู้เหมาะสมเป็นรัฐมนตรี, การเสนอร่างกฎหมาย เหล่านี้ล้วนเกิดเป็นเรื่องกล่าวหาได้ทั้งนั้น ถาม แล้วชัดเจนถึงขนาดไหนล่ะครับ ถึงจะฟังได้ว่าเป็นการ “ครอบงำ” ผมเห็นคนพรรคเพื่อไทยเขาท้าทายว่า มีพยานหลักฐานชัดเจนไหมว่า เมื่อวันนั้นวันนี้ ทักษิณสั่งนายโน้นนายนี้ใหทำอย่างนั้นอย่างนี้ ตอบ นี่ไม่ใช่คดีอาญา แต่เป็นคดีคุ้มครองประชาธิปไตยในบ้านเมือง ถ้าพรรคใดยอมตนเป็นหุ่นให้อิทธิพลทุจริต เราก็ต้องยุบพรรคนั้น ถ้าพยานหลักฐานมันแวดล้อมให้เชื่อได้เช่นนั้น ทั้งตั้งลูกสาวเป็นหัวหน้าพรรคโดยไม่มีที่มาที่ไปทางคุณสมบัติ ทั้งเรื่องที่ทักษิณโผล่หน้ามาชี้แจงนโยบายพรรคต่อคนทั้งประเทศ ทั้งเรื่องมีบทบาทคัดคนลงสมัคร นายก อบจ.หรือ สส.สั่งเปลี่ยนโผให้เป็นโน้นคนนี้ หรือแม้กระทั่งเรียกทุกพรรคมาประชุมจันทร์ส่องหล้า แล้วตกลงตั้งรัฐบาลในสูตรเดิม ทั้งหมดนี้ ถ้าคุณเป็นศาลรัฐธรรมนูญ คุณว่ามันพอหรือไม่ ที่จะตัดสินว่าพรรคเพื่อไทยอยู่ใต้บงการของคนชื่อทักษิณ ถาม ถ้ามองเป็นเรื่องบงการกันอย่างนี้ การที่พรรคร่วมรัฐบาลแห่ไปพบทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้าแล้วตกลงร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทยต่อไปเหมือนเดิม ก็ไม่ใช่เรื่องต้องถูกยุบพรรคใช่ไหมครับ ตอบ ถูกต้องครับ พรรคเหล่านี้เขาแค่ไปคุยแล้วตกลงกับทักษิณว่าเราจะรักษาสูตรรัฐบาลไว้ต่อไปเท่านั้นหรือไม่ นี่เป็นเริ่องไปเจรจาตกลง ไม่ใช่เรื่องอยู่ใต้บงการทักษิณแต่อย่างใด คุณต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า ความผิดมันไม่ใช่อยู่ที่เห็นตรงกับทักษิณ หรือไปคุยกับทักษิณ แต่มันอยู่ตรงที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจว่ามีพรรคไหนไปอยู่ใต้บงการเขาหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลใดนอกจากเพื่อไทยเท่านั้น ที่มีปัญหาว่าไปเป็นขี้ข้าเขาแบบนั้นหรือไม่ ถาม แล้ว กกต. ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทยเลยได้ไหมครับ ข้างพรรคเพื่อไทยจะเถียงอะไรก็ให้ไปว่ากันในศาล ตอบ งานนี้เป็นเรื่องชี้ขาดกันด้วยพยานแวดล้อม ถ้าพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมันล้อมเข้ามาจนชัดเจน และรู้กันทั่วไป เพียงเท่านี้ กกต.ก็ฟ้องได้แล้วครับว่า แต่ละพฤติการณ์ประกอบกันเข้ามาให้เชื่อได้แล้วว่า ทักษิณคือผู้ครอบครองพรรคเพื่อไทย ถาม เห็น รองนายกฯภูมิธรรม เขาบอกว่าไม่น่ามาร้องเรียนอะไรกันเลย รัฐบาลลุยจนเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นอยู่แล้ว ตอบ ฟื้นจริงไหม? ฟื้นเพื่อใคร? มีใครที่ครอบงำพรรคแล้วรอเสวยประโยชน์อยู่โดยทุจริตหรือไม่ ทั้งเรื่อง สัมปทานบ่อน และ เจรจาพื้นที่ทับซ้อนกับเขมร? ตรงนี้เป็นปัญหาความสะอาด ความเลว ความชั่ว ในระบบรัฐบาล ที่ต้องเคลียร์ให้ได้ชัดเจนจริงๆ เศรษฐกิจมันฟื้นจากพื้นฐานที่สกปรกไม่ได้ รู้จักมียางอายกันบ้างเถิดครับ https://www.thaipost.net/hi-light/677990/ #Thaitimes
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 452 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts