• วลีรักจาก <จันทราอัสดง>

    สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก

    วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl)

    แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร?

    ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน

    “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น

    หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง

    เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี

    วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804
    https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502
    http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html
    https://www.621seo.cn/a/83.html

    #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    วลีรักจาก <จันทราอัสดง> สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl) แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร? ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้ เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00 https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804 https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502 http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html https://www.621seo.cn/a/83.html #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    2 Comments 0 Shares 228 Views 0 Reviews
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    《一念关山》:刘诗诗更适合“独美”
    澎湃,澎湃新闻,澎湃新闻网,新闻与思想,澎湃是植根于中国上海的时政思想类互联网平台,以最活跃的原创新闻与最冷静的思想分析为两翼,是互联网技术创新与新闻价值传承的结合体,致力于问答式新闻与新闻追踪功能的实践。
    1 Comments 0 Shares 242 Views 0 Reviews
  • วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก

    “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า

    เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花)

    ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า?

    เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ

    แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html
    http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/
    https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/
    https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html
    https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html
    https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花) ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า? เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/ https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/ https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    1 Comments 0 Shares 304 Views 0 Reviews
  • วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว

    ความมีอยู่ว่า
    ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน”
    นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน
    เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี...
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ

    ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心)

    บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส

    บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน)
    เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา
    เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา

    สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้

    มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html
    http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx
    https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml

    #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว ความมีอยู่ว่า ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心) บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน) เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้ มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694 https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    3G.163.COM
    任嘉伦白鹿新戏《周生如故》,朝堂线太过儿戏,剧情偏平淡_手机网易网
    任嘉伦,白鹿的新戏《周生如故》开播了。任嘉伦出演周生辰,坐拥数十万兵马的小南辰王,驻守西州的不败将军。白鹿出演漼时宜,世家大族漼家的嫡女,指腹为婚的未来太子妃。无论是周生辰还是漼时宜他们的事业线、感情线都和朝堂线有密切的联系,甚至是决定性作用。
    1 Comments 0 Shares 464 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง

    ความมีอยู่ว่า
    ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก”
    เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะ
    เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน”
    เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก”
    ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก

    เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้
    นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน
    นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู
    นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี

    ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง

    หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ

    (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mydramalist.com/photos/eVR3n
    https://www.sohu.com/a/474755225_419393
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushiji.cc/gushi/170.html
    https://baike.baidu.com/item/王风·采葛
    https://www.sohu.com/a/462824147_120340030
    https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html

    #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง ความมีอยู่ว่า ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก” เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?” ตี้จวินส่ายศีรษะ เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?” ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน” เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก” ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้ นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mydramalist.com/photos/eVR3n https://www.sohu.com/a/474755225_419393 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushiji.cc/gushi/170.html https://baike.baidu.com/item/王风·采葛 https://www.sohu.com/a/462824147_120340030 https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    1 Comments 0 Shares 577 Views 0 Reviews
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    0 Comments 0 Shares 1351 Views 0 Reviews
  • วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน

    วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย)

    ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ

    ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน

    บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน

    ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด

    และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2)

    บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป

    สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/584621129_114988
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html
    https://mgronline.com/china/detail/9670000114488
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://m.shangshiwen.com/71990.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx
    https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย) ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2) บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/584621129_114988 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html https://mgronline.com/china/detail/9670000114488 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://m.shangshiwen.com/71990.html https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1388 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1153 Views 0 Reviews
  • สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    0 Comments 0 Shares 1361 Views 0 Reviews