• เที่ยว #ฉงชิ่ง 🔥🔥
    ไม่ลงร้าน😍

    🗓 จำนวนวัน 4 วัน 3 คืน
    ✈ G5-ไชนาเอ็กซเพรสแอร์ไลน์
    🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐

    📍 มหาศาลาประชาคม
    📍 นั่งรถไฟทะลุตึก
    📍 ถนนโบราณหลงเหมินฮ่าว
    📍 วัดหลัวฮั่น
    📍 ไคว่ชิงโหล
    📍 หมู่บ้านโบราณฉือช่อโข่ว
    📍 ตึกตะเกียบ

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8

    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์จีน #ทัวร์ฉงชิ่ง #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    เที่ยว #ฉงชิ่ง 🔥🔥 ไม่ลงร้าน😍 🗓 จำนวนวัน 4 วัน 3 คืน ✈ G5-ไชนาเอ็กซเพรสแอร์ไลน์ 🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐ 📍 มหาศาลาประชาคม 📍 นั่งรถไฟทะลุตึก 📍 ถนนโบราณหลงเหมินฮ่าว 📍 วัดหลัวฮั่น 📍 ไคว่ชิงโหล 📍 หมู่บ้านโบราณฉือช่อโข่ว 📍 ตึกตะเกียบ รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์จีน #ทัวร์ฉงชิ่ง #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 325 มุมมอง 5 0 รีวิว
  • สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 818 มุมมอง 0 รีวิว
  • เฉิงตู # ฉงชิ่ง # 1
    บางครั้งก้อหลง บางครั้งไม่หลง # คนชอบเที่ยว..เองงงงงง
    เฉิงตู # ฉงชิ่ง # 1 บางครั้งก้อหลง บางครั้งไม่หลง # คนชอบเที่ยว..เองงงงงง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 130 มุมมอง 0 รีวิว
  • ริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช แอนด์ หม่าล่า (Riverside Grilled Fish & Mala) ร้านอาหารจีน เซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมเสิร์ฟเมนูซิกเนเจอร์ ปลาย่างกระทะร้อนสไตล์ฉงชิ่ง มีจุดเด่นอยู่ที่ซอสสูตรลับเฉพาะของร้านที่ทุกคนต้องลอง รวมถึงเมนูเด็ด หม่าล่าผัด ที่ลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบได้ตามสไตล์ที่อยากทาน ตลอดจนเมนูอาหารจีนรสชาติตำรับแท้สไตล์ฉงชิ่ง-เสฉวนอีกมากมาย ให้สายอาหารจีนได้มาลิ้มลองซ้ำๆ ได้แบบไม่มีเบื่อ

    พิกัด : https://maps.app.goo.gl/FJouypVMvvpLFToo7
    ที่อยู่ : ชั้น 6 centralwOrld โซน beacOn
    ร้านเปิดบริการ : 10.00 - 21.00 น.

    #ร้านอาหารในห้าง #ร้านอร่อยรีวิว #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    ริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช แอนด์ หม่าล่า (Riverside Grilled Fish & Mala) ร้านอาหารจีน เซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมเสิร์ฟเมนูซิกเนเจอร์ ปลาย่างกระทะร้อนสไตล์ฉงชิ่ง มีจุดเด่นอยู่ที่ซอสสูตรลับเฉพาะของร้านที่ทุกคนต้องลอง รวมถึงเมนูเด็ด หม่าล่าผัด ที่ลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบได้ตามสไตล์ที่อยากทาน ตลอดจนเมนูอาหารจีนรสชาติตำรับแท้สไตล์ฉงชิ่ง-เสฉวนอีกมากมาย ให้สายอาหารจีนได้มาลิ้มลองซ้ำๆ ได้แบบไม่มีเบื่อ พิกัด : https://maps.app.goo.gl/FJouypVMvvpLFToo7 ที่อยู่ : ชั้น 6 centralwOrld โซน beacOn ร้านเปิดบริการ : 10.00 - 21.00 น. #ร้านอาหารในห้าง #ร้านอร่อยรีวิว #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1025 มุมมอง 0 รีวิว
  • ครั้งแรก! จีนเผยโฉม "ชุดมนุษย์อวกาศ" สำหรับสำรวจดวงจันทร์
    .
    วานนี้ (28 ก.ย.) ใน "เวทีเสวนาเทคโนโลยีชุดอวกาศที่สาม (第三屆航天服技術論壇)" ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน องค์การอวกาศจีน (China Manned Space Agency) ได้เปิดตัวชุดมนุษย์อวกาศสำหรับการสำรวจดวงจันทร์ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ได้ดำเนินโครงการสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์อย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยมีแผนที่จะนำมนุษย์อวกาศชาวจีนขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ก่อนปี 2573 (ค.ศ.2030)
    .
    อนึ่งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ในวันที่ 2 มิถุนายน 2567 จีนได้นำยานอวกาศไร้ลูกเรือลงจอดบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ได้สำเร็จ พร้อมกับเก็บตัวอย่างหินและดินจากซีกมืดของดวงจันทร์กลับมายังโลกเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ภารกิจดังกล่าวถือเป็นภารกิจครั้งที่ 2 ของจีนในบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ และเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีประเทศใดไปถึง เนื่องจากด้านไกลของดวงจันทร์นี้ หันหน้าหนีโลกอยู่ตลอด ทั้งเต็มไปด้วยแอ่งลึกและมืดมิด ทำให้การสื่อสารและปฏิบัติการลงจอดหุ่นยนต์เจองานท้าทายกว่าภารกิจปกติ
    .
    ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ในการแถลงข่าวภารกิจเสินโจว-16 ขึ้นสู่สถานีอวกาศเทียนกง นายหลิน ซีเฉียง หัวหน้าองค์การอวกาศจีน ได้ประกาศเป้าหมายในการนำมนุษย์อวกาศชาวจีนไปสู่ดวงจันทร์ ซึ่งหากสำเร็จประเทศจีนจะกลายเป็นประเทศที่สองที่สามารถส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ได้ หลังจากสหรัฐฯ ที่นำมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ได้โดยโครงการอพอลโลเมื่อปี 2512 หรือ เมื่อ 55 ปีทีแล้ว
    .
    ขณะที่ในปัจจุบันสหรัฐฯ ก็พยายามผลักดันโครงการนำมนุษย์ขึ้นสู่ดวงจันทร์ให้ได้อีกครั้งผ่านโครงการอาร์ทิมิส ซึ่งตั้งเป้าในการนำมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์ภายในปี 2568 (ค.ศ.20205)
    .
    Cr ภาพ : สำนักข่าว Xinhua
    ครั้งแรก! จีนเผยโฉม "ชุดมนุษย์อวกาศ" สำหรับสำรวจดวงจันทร์ . วานนี้ (28 ก.ย.) ใน "เวทีเสวนาเทคโนโลยีชุดอวกาศที่สาม (第三屆航天服技術論壇)" ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน องค์การอวกาศจีน (China Manned Space Agency) ได้เปิดตัวชุดมนุษย์อวกาศสำหรับการสำรวจดวงจันทร์ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ได้ดำเนินโครงการสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์อย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยมีแผนที่จะนำมนุษย์อวกาศชาวจีนขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ก่อนปี 2573 (ค.ศ.2030) . อนึ่งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ในวันที่ 2 มิถุนายน 2567 จีนได้นำยานอวกาศไร้ลูกเรือลงจอดบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ได้สำเร็จ พร้อมกับเก็บตัวอย่างหินและดินจากซีกมืดของดวงจันทร์กลับมายังโลกเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ภารกิจดังกล่าวถือเป็นภารกิจครั้งที่ 2 ของจีนในบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ และเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีประเทศใดไปถึง เนื่องจากด้านไกลของดวงจันทร์นี้ หันหน้าหนีโลกอยู่ตลอด ทั้งเต็มไปด้วยแอ่งลึกและมืดมิด ทำให้การสื่อสารและปฏิบัติการลงจอดหุ่นยนต์เจองานท้าทายกว่าภารกิจปกติ . ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ในการแถลงข่าวภารกิจเสินโจว-16 ขึ้นสู่สถานีอวกาศเทียนกง นายหลิน ซีเฉียง หัวหน้าองค์การอวกาศจีน ได้ประกาศเป้าหมายในการนำมนุษย์อวกาศชาวจีนไปสู่ดวงจันทร์ ซึ่งหากสำเร็จประเทศจีนจะกลายเป็นประเทศที่สองที่สามารถส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ได้ หลังจากสหรัฐฯ ที่นำมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ได้โดยโครงการอพอลโลเมื่อปี 2512 หรือ เมื่อ 55 ปีทีแล้ว . ขณะที่ในปัจจุบันสหรัฐฯ ก็พยายามผลักดันโครงการนำมนุษย์ขึ้นสู่ดวงจันทร์ให้ได้อีกครั้งผ่านโครงการอาร์ทิมิส ซึ่งตั้งเป้าในการนำมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์ภายในปี 2568 (ค.ศ.20205) . Cr ภาพ : สำนักข่าว Xinhua
    Like
    Love
    25
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 783 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงการคลังจีน จะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป

    18 กันยายน 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า กระทรวงการคลังของจีนแถลงเมื่อวันพุธนี้ว่า จีนจะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป

    กระทรวงการคลังจีนกล่าวว่าภาษีสินค้าเหล่านี้จะถูกนำไปปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่มีอยู่

    “การที่ไต้หวันใช้มาตรการเลือกปฏิบัติ เช่น การห้ามและจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์จากแผ่นดินใหญ่โดยฝ่ายเดียว ได้ขัดขวางความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างช่องแคบไต้หวันอย่างร้ายแรง” แถลงการณ์ระบุ

    ก่อนหน้านี้ไต้หวันก็ได้ใช้มาตรการจำกัดทางการค้าฝ่ายเดียวกับสินค้าส่งออกของจีนมากกว่า 2,500 รายการ ซึ่งถือว่าผิดเจตนารมณ์ของ ECFA ที่มุ่งลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกัน

    ขณะที่จีนพยายามกดดันรัฐบาล ไล่ ชิงเต๋อ ด้วยการยกเลิกสิทธิพิเศษบางส่วนภายใต้เงื่อนไข ECFA โดยใช้มาตรการระงับยกเว้นภาษีสินค้าไต้หวันแต่วันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมาโดยครอบคลุมสินค้า 134 ชนิดที่นำเข้าจากเกาะไต้หวัน รวมถึงน้ำมันพื้นฐาน (base oils) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น น้ำมันหล่อลื่น (lubricants) เป็นต้น

    ทั้งนี้ ECFA เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไต้หวัน (Economic Cooperation Framework Agreement) เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ณ เมืองฉงชิ่ง เพื่อเปิดการค้าระหว่างประเทศ

    ตามข้อมูลจากศูนย์บริการ ECFA ของไต้หวัน ณ สิ้นปี 2023 ไต้หวันได้รับการลดภาษีจากแผ่นดินใหญ่ภายใต้ ECFA มูลค่า 10,100 ล้านดอลลาร์ในช่วง 13 ปี ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้รับการลดภาษีจากเกาะไต้หวันเพียง 1,080 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน

    #Thaitimes
    กระทรวงการคลังจีน จะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป 18 กันยายน 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า กระทรวงการคลังของจีนแถลงเมื่อวันพุธนี้ว่า จีนจะระงับการยกเว้นภาษีสินค้าเกษตร 34 รายการที่นำเข้าจากไต้หวัน รวมถึงผลไม้สด ผัก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป กระทรวงการคลังจีนกล่าวว่าภาษีสินค้าเหล่านี้จะถูกนำไปปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่มีอยู่ “การที่ไต้หวันใช้มาตรการเลือกปฏิบัติ เช่น การห้ามและจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์จากแผ่นดินใหญ่โดยฝ่ายเดียว ได้ขัดขวางความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างช่องแคบไต้หวันอย่างร้ายแรง” แถลงการณ์ระบุ ก่อนหน้านี้ไต้หวันก็ได้ใช้มาตรการจำกัดทางการค้าฝ่ายเดียวกับสินค้าส่งออกของจีนมากกว่า 2,500 รายการ ซึ่งถือว่าผิดเจตนารมณ์ของ ECFA ที่มุ่งลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกัน ขณะที่จีนพยายามกดดันรัฐบาล ไล่ ชิงเต๋อ ด้วยการยกเลิกสิทธิพิเศษบางส่วนภายใต้เงื่อนไข ECFA โดยใช้มาตรการระงับยกเว้นภาษีสินค้าไต้หวันแต่วันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมาโดยครอบคลุมสินค้า 134 ชนิดที่นำเข้าจากเกาะไต้หวัน รวมถึงน้ำมันพื้นฐาน (base oils) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น น้ำมันหล่อลื่น (lubricants) เป็นต้น ทั้งนี้ ECFA เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไต้หวัน (Economic Cooperation Framework Agreement) เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ณ เมืองฉงชิ่ง เพื่อเปิดการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อมูลจากศูนย์บริการ ECFA ของไต้หวัน ณ สิ้นปี 2023 ไต้หวันได้รับการลดภาษีจากแผ่นดินใหญ่ภายใต้ ECFA มูลค่า 10,100 ล้านดอลลาร์ในช่วง 13 ปี ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้รับการลดภาษีจากเกาะไต้หวันเพียง 1,080 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2931 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟ้าหลังฝนปรากฎ "เมฆสีรุ้ง" ในเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
    .
    ทั้งนี้ในภาษาจีนเรียกขาน "เมฆสีรุ้ง" ว่า "ชีไฉ่เสียงหยุน (七彩祥雲) หรือแปลเป็นไทยแบบตรงตัวคือ "เมฆมงคล 7 สี"
    .
    Cr : 人民日報
    ฟ้าหลังฝนปรากฎ "เมฆสีรุ้ง" ในเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา . ทั้งนี้ในภาษาจีนเรียกขาน "เมฆสีรุ้ง" ว่า "ชีไฉ่เสียงหยุน (七彩祥雲) หรือแปลเป็นไทยแบบตรงตัวคือ "เมฆมงคล 7 สี" . Cr : 人民日報
    Like
    Wow
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 561 มุมมอง 149 0 รีวิว