• 🇻🇳 ทัวร์เวียดนามสุดฮิต! ดานัง - ฮอยอัน - พักบนบานาฮิลล์ 3 วัน 2 คืน 🌤️
    เดินทางช่วงสงกรานต์ เที่ยวแบบฟีลดี ไม่มีเปียกน้ำ 💦

    📅 เดินทาง 2 รอบ
    12-14 เม.ย. 68
    14-16 เม.ย. 68

    ✈️ สายการบิน AirAsia (FD)
    🏨 โรงแรมระดับ 4 ดาว
    ⛰️ พักบนบานาฮิลล์ 1 คืน สุดพรีเมียม

    🔥 ลดพิเศษ 3,000 บาท
    💰 เหลือเพียง 17,899 บาท เท่านั้น!

    📸 เที่ยวครบจบในทริปเดียว
    เดินเล่นเมืองโบราณฮอยอัน
    ถ่ายรูปสะพานมือสุดปัง
    นั่งกระเช้าชมวิวบานาฮิลล์
    จิบกาแฟสวยๆ ชิลๆ ที่ดานัง

    #เวียดนามกลาง #ดานัง #ฮอยอัน #บานาฮิลล์ #สะพานมือ #เที่ยวเวียดนาม #สงกรานต์ไม่เปียกน้ำ #เที่ยวช่วงหยุดยาว #eTravelway #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ราคาถูก

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e92f7d

    ดูทัวร์เวียดนามทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/8d0826

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395
    🇻🇳 ทัวร์เวียดนามสุดฮิต! ดานัง - ฮอยอัน - พักบนบานาฮิลล์ 3 วัน 2 คืน 🌤️ เดินทางช่วงสงกรานต์ เที่ยวแบบฟีลดี ไม่มีเปียกน้ำ 💦 📅 เดินทาง 2 รอบ 12-14 เม.ย. 68 14-16 เม.ย. 68 ✈️ สายการบิน AirAsia (FD) 🏨 โรงแรมระดับ 4 ดาว ⛰️ พักบนบานาฮิลล์ 1 คืน สุดพรีเมียม 🔥 ลดพิเศษ 3,000 บาท 💰 เหลือเพียง 17,899 บาท เท่านั้น! 📸 เที่ยวครบจบในทริปเดียว เดินเล่นเมืองโบราณฮอยอัน ถ่ายรูปสะพานมือสุดปัง นั่งกระเช้าชมวิวบานาฮิลล์ จิบกาแฟสวยๆ ชิลๆ ที่ดานัง #เวียดนามกลาง #ดานัง #ฮอยอัน #บานาฮิลล์ #สะพานมือ #เที่ยวเวียดนาม #สงกรานต์ไม่เปียกน้ำ #เที่ยวช่วงหยุดยาว #eTravelway #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ราคาถูก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e92f7d ดูทัวร์เวียดนามทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/8d0826 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 175 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอร์เอเชียจากแม่สู่ลูก

    แคปิตอล เอ (Capital A) หรือกลุ่มแอร์เอเชียเดิม ผู้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย กำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และถูกตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia) จัดให้หุ้น CAPI อยู่ในสถานะ "PN17" หรือมีปัญหาทางการเงิน มาตั้งแต่ปี 2565 ล่าสุดได้รับอนุมัติแผนการปรับปรุงบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.

    โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปิตอล เอ เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งพิเศษ (EGM) ในเดือน เม.ย. เพื่อขออนุมัติแผน ก่อนยื่นเรื่องไปที่ศาลสูงเพื่อขออนุมัติแผนลดทุนจดทะเบียน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการขายหุ้น แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น กรุ๊ป (AAAGL) และมุ่งเน้นทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน หากปลดล็อกสถานะ PN17 ได้ จะสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ และเข้าถึงตลาดทุนมากขึ้น

    อีกด้านหนึ่ง โทนี่ยังได้เสนอขายหุ้นแบบส่วนตัว มูลค่า 1,000 ล้านริงกิต (7,700 ล้านบาท) เพื่อระดมทุนในกลุ่มบริษัทฯ ล่าสุดถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว แต่ปฎิเสธข่าวกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดิอาระเบีย (PIF) มีแผนที่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไม่ระบุว่าได้จองซื้อหุ้นจากการเสนอขายแบบส่วนตัวหรือไม่

    เมื่อปีที่แล้ว แคปิตอล เอ ประกาศว่าจะขายธุรกิจการบินแอร์เอเชียให้กับ แอร์เอเชีย เอ็กซ์ (Airasia X หรือหุ้น AIRX) ซึ่งแยกบริษัทออกมาทำธุรกิจการบินระยะไกล (มากกว่า 4 ชั่วโมง) ก่อนหน้านี้ ด้วยมูลค่า 6,800 ล้านริงกิต (52,000 ล้านบาท) และจะรวมแบรนด์แอร์เอเชีย เอ็กซ์ กับแอร์เอเชีย ภายใต้ชื่อ AirAsia เพียงแบรนด์เดียว

    ส่วนแคปิตอล เอ จะลดทุนจดทะเบียนเพื่อชดเชยการขาดทุนสะสม และปรับโครงสร้างธุรกิจเหลือเพียง 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจซ่อมบํารุงเครื่องบิน Asia Digital Engineering (ADE) สัดส่วนรายได้ 23% 2. ธุรกิจขนส่งสินค้า Teleport สัดส่วนรายได้ 40% 3. ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล AirAsia MOVE สัดส่วนรายได้ 19% 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน Santan 5. ธุรกิจฟินเทค BigPay 6. ธุรกิจบริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชีย Abc. International เป็นต้น

    ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แคปิตอล เอ เปิดเผยผลประกอบการปี 2567 พบว่าขาดทุนสุทธิ 475.1 ล้านริงกิต (3,632 ล้านบาท) จากปี 2566 มีกำไร 255.3 ล้านริงกิต (1,952 ล้านบาท) ส่วนใหญ่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,400 ล้านริงกิต (10,700 ล้านบาท) โดยเฉพาะธุรกิจการบิน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ล้านริงกิต (12,000 ล้านบาท) จาก 345.3 ล้านริงกิต (2,640 ล้านบาท) เมื่อปีก่อน

    #Newskit
    แอร์เอเชียจากแม่สู่ลูก แคปิตอล เอ (Capital A) หรือกลุ่มแอร์เอเชียเดิม ผู้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย กำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และถูกตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia) จัดให้หุ้น CAPI อยู่ในสถานะ "PN17" หรือมีปัญหาทางการเงิน มาตั้งแต่ปี 2565 ล่าสุดได้รับอนุมัติแผนการปรับปรุงบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปิตอล เอ เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งพิเศษ (EGM) ในเดือน เม.ย. เพื่อขออนุมัติแผน ก่อนยื่นเรื่องไปที่ศาลสูงเพื่อขออนุมัติแผนลดทุนจดทะเบียน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการขายหุ้น แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น กรุ๊ป (AAAGL) และมุ่งเน้นทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน หากปลดล็อกสถานะ PN17 ได้ จะสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ และเข้าถึงตลาดทุนมากขึ้น อีกด้านหนึ่ง โทนี่ยังได้เสนอขายหุ้นแบบส่วนตัว มูลค่า 1,000 ล้านริงกิต (7,700 ล้านบาท) เพื่อระดมทุนในกลุ่มบริษัทฯ ล่าสุดถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว แต่ปฎิเสธข่าวกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดิอาระเบีย (PIF) มีแผนที่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไม่ระบุว่าได้จองซื้อหุ้นจากการเสนอขายแบบส่วนตัวหรือไม่ เมื่อปีที่แล้ว แคปิตอล เอ ประกาศว่าจะขายธุรกิจการบินแอร์เอเชียให้กับ แอร์เอเชีย เอ็กซ์ (Airasia X หรือหุ้น AIRX) ซึ่งแยกบริษัทออกมาทำธุรกิจการบินระยะไกล (มากกว่า 4 ชั่วโมง) ก่อนหน้านี้ ด้วยมูลค่า 6,800 ล้านริงกิต (52,000 ล้านบาท) และจะรวมแบรนด์แอร์เอเชีย เอ็กซ์ กับแอร์เอเชีย ภายใต้ชื่อ AirAsia เพียงแบรนด์เดียว ส่วนแคปิตอล เอ จะลดทุนจดทะเบียนเพื่อชดเชยการขาดทุนสะสม และปรับโครงสร้างธุรกิจเหลือเพียง 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจซ่อมบํารุงเครื่องบิน Asia Digital Engineering (ADE) สัดส่วนรายได้ 23% 2. ธุรกิจขนส่งสินค้า Teleport สัดส่วนรายได้ 40% 3. ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล AirAsia MOVE สัดส่วนรายได้ 19% 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน Santan 5. ธุรกิจฟินเทค BigPay 6. ธุรกิจบริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชีย Abc. International เป็นต้น ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แคปิตอล เอ เปิดเผยผลประกอบการปี 2567 พบว่าขาดทุนสุทธิ 475.1 ล้านริงกิต (3,632 ล้านบาท) จากปี 2566 มีกำไร 255.3 ล้านริงกิต (1,952 ล้านบาท) ส่วนใหญ่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,400 ล้านริงกิต (10,700 ล้านบาท) โดยเฉพาะธุรกิจการบิน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ล้านริงกิต (12,000 ล้านบาท) จาก 345.3 ล้านริงกิต (2,640 ล้านบาท) เมื่อปีก่อน #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 534 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง

    หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน

    แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ

    ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก

    การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู

    ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น

    #Newskit
    แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 502 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศิลปินฟ้องแอร์เอเชีย ละเมิดสตรีทอาร์ตปีนัง

    งานเข้าอีกครั้งสำหรับโลว์คอสต์แอร์ไลน์สัญชาติมาเลเซีย อย่างสายการบินแอร์เอเชีย คราวนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่เป็นการนำผลงานสตรีทอาร์ตบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียไปใช้ โดยที่เจ้าของผลงานตัวจริงเห็นว่าไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและไม่ยุติธรรมสำหรับเขา

    อินสตาแกรม ernestzacharevic ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิช (Ernest Zacharevic) ศิลปินชาวลิทัวเนีย เจ้าของผลงานสตรีทอาร์ต "Children On A Bicycle" ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก โพสต์ข้อความในหัวข้อ "AIRASIA UPDATE: It’s Time to Talk" ระบุว่า เมื่อ 2 เดือนก่อนได้โพสต์วีดีโอคลิปเครื่องบินแอร์เอเชีย ที่มีภาพจิตรกรรมบนผนังของตน ซึ่งถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม

    "น่าเสียดายที่ไม่ใช่ครั้งแรก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพจิตรกรรมฝาผนังของผมปรากฎในแคมเปญผ่านอีเมล โฆษณา นิตยสารบนเที่ยวบิน และอื่นๆ ของแอร์เอเชีย โดยไม่ได้รับการให้เครดิต ความยินยอม หรือการชดเชยใดๆ ที่เหมาะสม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นบรรทัดฐานที่อันตราย นั่นหมายความว่าผลงานของศิลปินอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องรับผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่เรื่องของผมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนศิลปินทั้งหมด"

    ที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างยุติธรรมและเป็นมืออาชีพ แต่การตอบสนองของแอร์เอเชียมีแค่ออกแถลงการณ์ ปฏิเสธการละเมิดลิขสิทธิ์ในอดีต และยืดเยื้อการพูดคุย และเห็นว่าข้อเสนอสุดท้ายไม่สะท้อนถึงคุณค่าต่อผลงานของตน ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยเมื่อยื่นฟ้องแล้ว เขาจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

    ศิลปินรายนี้ยังได้แนบภาพหลักฐานที่ผลงานของตน ถูกแอร์เอเชียนำไปใช้แคมเปญโฆษณาต่างๆ มีทั้งการเปิดเส้นทางบินใหม่ระหว่างปีนังไปยังย่างกุ้ง กรุงเทพฯ และเวียดนาม นำไปตัดต่อเป็นสื่อโฆษณาของบริษัทในเครือ เช่น บริการดีลิเวอรีแอร์เอเชียฟู้ด บริการขนส่งสินค้าเทเลพอร์ต และล่าสุดคือลวดลายบนเครื่องบินแอร์เอเชีย

    สำหรับผลงานสตรีทอาร์ต Children On A Bicycle ตั้งอยู่ที่ถนนอาร์เมเนียนในเมืองจอร์จทาวน์ ถูกวาดโดยซาชาเรวิชเมื่อปี 2555 เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตบนเกาะปีนัง โดยใช้เด็กสองคนที่ชื่อว่า ด.ญ.ตัน ยี (Tan Yi) เมื่ออายุ 5 ขวบ และ ด.ช.ตัน เคิร์น (Tan Kern) เมื่ออายุ 3 ขวบมาเป็นแบบ กลายเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมาเยือน กระทั่งเวลาผ่านไป 12 ปี เมื่อเดือน ต.ค.2567 ซาชาเรวิช ได้บูรณะภาพวาดสตรีทอาร์ตดังกล่าว พร้อมกับงานศิลปะอีก 3 ภาพ ได้แก่ Boy On a Bike, Little Boy with a Pet Dinosaur และ Boy on Chair.

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ศิลปินฟ้องแอร์เอเชีย ละเมิดสตรีทอาร์ตปีนัง งานเข้าอีกครั้งสำหรับโลว์คอสต์แอร์ไลน์สัญชาติมาเลเซีย อย่างสายการบินแอร์เอเชีย คราวนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่เป็นการนำผลงานสตรีทอาร์ตบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียไปใช้ โดยที่เจ้าของผลงานตัวจริงเห็นว่าไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและไม่ยุติธรรมสำหรับเขา อินสตาแกรม ernestzacharevic ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิช (Ernest Zacharevic) ศิลปินชาวลิทัวเนีย เจ้าของผลงานสตรีทอาร์ต "Children On A Bicycle" ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก โพสต์ข้อความในหัวข้อ "AIRASIA UPDATE: It’s Time to Talk" ระบุว่า เมื่อ 2 เดือนก่อนได้โพสต์วีดีโอคลิปเครื่องบินแอร์เอเชีย ที่มีภาพจิตรกรรมบนผนังของตน ซึ่งถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม "น่าเสียดายที่ไม่ใช่ครั้งแรก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพจิตรกรรมฝาผนังของผมปรากฎในแคมเปญผ่านอีเมล โฆษณา นิตยสารบนเที่ยวบิน และอื่นๆ ของแอร์เอเชีย โดยไม่ได้รับการให้เครดิต ความยินยอม หรือการชดเชยใดๆ ที่เหมาะสม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นบรรทัดฐานที่อันตราย นั่นหมายความว่าผลงานของศิลปินอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องรับผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่เรื่องของผมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนศิลปินทั้งหมด" ที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างยุติธรรมและเป็นมืออาชีพ แต่การตอบสนองของแอร์เอเชียมีแค่ออกแถลงการณ์ ปฏิเสธการละเมิดลิขสิทธิ์ในอดีต และยืดเยื้อการพูดคุย และเห็นว่าข้อเสนอสุดท้ายไม่สะท้อนถึงคุณค่าต่อผลงานของตน ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยเมื่อยื่นฟ้องแล้ว เขาจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ศิลปินรายนี้ยังได้แนบภาพหลักฐานที่ผลงานของตน ถูกแอร์เอเชียนำไปใช้แคมเปญโฆษณาต่างๆ มีทั้งการเปิดเส้นทางบินใหม่ระหว่างปีนังไปยังย่างกุ้ง กรุงเทพฯ และเวียดนาม นำไปตัดต่อเป็นสื่อโฆษณาของบริษัทในเครือ เช่น บริการดีลิเวอรีแอร์เอเชียฟู้ด บริการขนส่งสินค้าเทเลพอร์ต และล่าสุดคือลวดลายบนเครื่องบินแอร์เอเชีย สำหรับผลงานสตรีทอาร์ต Children On A Bicycle ตั้งอยู่ที่ถนนอาร์เมเนียนในเมืองจอร์จทาวน์ ถูกวาดโดยซาชาเรวิชเมื่อปี 2555 เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตบนเกาะปีนัง โดยใช้เด็กสองคนที่ชื่อว่า ด.ญ.ตัน ยี (Tan Yi) เมื่ออายุ 5 ขวบ และ ด.ช.ตัน เคิร์น (Tan Kern) เมื่ออายุ 3 ขวบมาเป็นแบบ กลายเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมาเยือน กระทั่งเวลาผ่านไป 12 ปี เมื่อเดือน ต.ค.2567 ซาชาเรวิช ได้บูรณะภาพวาดสตรีทอาร์ตดังกล่าว พร้อมกับงานศิลปะอีก 3 ภาพ ได้แก่ Boy On a Bike, Little Boy with a Pet Dinosaur และ Boy on Chair. #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 776 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 น. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โพสต์ประกาศ แจ้งความคืบหน้ากรณีการช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน แอร์เอเชียมูฟ (AirAsia Move) โดยชำระเงินแล้ว แต่ระบบแจ้งว่าการจองไม่สำเร็จ และยังไม่ได้รับเงินคืนแม้เวลาจะผ่านไปหลายเดือนสคบ. ชี้แจงการดําเนินการกรณีผู้บริโภคร้องเรียนจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่าน แอปพลิเคชัน AirAsia Moveจากกรณีที่ผู้บริโภคได้จองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move ซึ่งผู้บริโภค ได้ชําระเงินแล้ว มีอีเมลมาแจ้งว่าไม่สามารถจองได้สําเร็จ โดยให้ติดต่อขอรับเงินคืน ซึ่งผ่านมาหลายเดือนแล้ว ผู้บริโภคยังไม่ได้เงินคืนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขอชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและได้มีการตรวจสอบ ไปยังสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ซึ่งสายการบินแจ้งว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จํากัด เป็นบริษัทที่ จดทะเบียนนิติบุคคลที่ประเทศมาเลเซีย และเป็นบริษัท ที่ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com แอปพลิเคชัน AirAsia Moveอีกทั้ง สํานักงานคณะกรรมการผู้บริโภค ได้ประสานขอข้อมูลและแนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภคกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ในฐานะที่กํากับดูแลสายการบิน ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งได้รับแจ้งว่ากรณีจองบัตรโดยสารเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move นั้น ผู้ให้บริการมีสํานักงานอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย โดยสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะรับไปดําเนินการโดยประสานผ่านผู้ให้บริการ สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย (ในประเทศไทย) เพื่อให้คืนเงินให้กับผู้บริโภคโดยเร็วทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีก สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะบูรณาการการทํางานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกําหนด มาตรการในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีดังกล่าวต่อไปจากการตรวจสอบของ สคบ. พบว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จำกัด ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com และแอปพลิเคชัน AirAsia Move เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศมาเลเซียดังนั้น สคบ. จึงได้ประสานงานกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เพื่อขอความช่วยเหลือในการติดต่อบริษัทดังกล่าว ซึ่งทาง สคบ. จะรับเรื่องไปดำเนินการโดยประสานผ่านสายการบินไทยแอร์เอเชียในประเทศไทย เพื่อเร่งรัดให้คืนเงินแก่ผู้บริโภคโดยเร็วที่สุดนอกจากนี้ สคบ. และสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
    เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 น. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โพสต์ประกาศ แจ้งความคืบหน้ากรณีการช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน แอร์เอเชียมูฟ (AirAsia Move) โดยชำระเงินแล้ว แต่ระบบแจ้งว่าการจองไม่สำเร็จ และยังไม่ได้รับเงินคืนแม้เวลาจะผ่านไปหลายเดือนสคบ. ชี้แจงการดําเนินการกรณีผู้บริโภคร้องเรียนจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่าน แอปพลิเคชัน AirAsia Moveจากกรณีที่ผู้บริโภคได้จองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move ซึ่งผู้บริโภค ได้ชําระเงินแล้ว มีอีเมลมาแจ้งว่าไม่สามารถจองได้สําเร็จ โดยให้ติดต่อขอรับเงินคืน ซึ่งผ่านมาหลายเดือนแล้ว ผู้บริโภคยังไม่ได้เงินคืนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขอชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและได้มีการตรวจสอบ ไปยังสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ซึ่งสายการบินแจ้งว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จํากัด เป็นบริษัทที่ จดทะเบียนนิติบุคคลที่ประเทศมาเลเซีย และเป็นบริษัท ที่ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com แอปพลิเคชัน AirAsia Moveอีกทั้ง สํานักงานคณะกรรมการผู้บริโภค ได้ประสานขอข้อมูลและแนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภคกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ในฐานะที่กํากับดูแลสายการบิน ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งได้รับแจ้งว่ากรณีจองบัตรโดยสารเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move นั้น ผู้ให้บริการมีสํานักงานอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย โดยสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะรับไปดําเนินการโดยประสานผ่านผู้ให้บริการ สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย (ในประเทศไทย) เพื่อให้คืนเงินให้กับผู้บริโภคโดยเร็วทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีก สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะบูรณาการการทํางานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกําหนด มาตรการในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีดังกล่าวต่อไปจากการตรวจสอบของ สคบ. พบว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จำกัด ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com และแอปพลิเคชัน AirAsia Move เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศมาเลเซียดังนั้น สคบ. จึงได้ประสานงานกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เพื่อขอความช่วยเหลือในการติดต่อบริษัทดังกล่าว ซึ่งทาง สคบ. จะรับเรื่องไปดำเนินการโดยประสานผ่านสายการบินไทยแอร์เอเชียในประเทศไทย เพื่อเร่งรัดให้คืนเงินแก่ผู้บริโภคโดยเร็วที่สุดนอกจากนี้ สคบ. และสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 490 มุมมอง 0 รีวิว
  • แคปปิตอล เอ(Capital A) ไฟเขียวขาย AirAsia ให้ AirAsia X แยกกิจการสายการบินออกจาก Capital A โฟกัสเพียงธุรกิจสี่เสาหลักคือ แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส,มูฟดิจิทัล, เทเลพอร์ตและธุรกิจดูแล แบรนด์ เอเอ

    15 ตุลาคม 2567 – แคปปิตอล เอ(Capital A) ได้ประกาศผลการประชุมผู้ถือหุ้นได้ลงมติเห็นชอบต่อการเสนอขายธุรกิจการบินของกลุ่มบริษัทให้กับแอร์เอเชีย เอ็กซ์(AAX) ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น(EGM) วานนี้(14 ตุลาคม 2567)

    แคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด นั้นเดิมเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย อันประกอบไปด้วยแอร์เอเชีย มาเลเซีย(AK) และเป็นบริษัทแม่ของบริษัทที่มีการร่วมลงทุนในสายการบินแอร์เอเชียในประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย(FD) อินโดนีเซียแอร์เอเชีย(QZ) ฟิลิปปินส์แอร์เอเชีย(Z2) และแอร์เอเชียกัมพูชา(KT) ในขณะที่แอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด นั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการสายการบินแอร์เอเชีย เอ็กซ์ มาเลเซีย(D7) และเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนในสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์(XJ)

    การอนุมัติครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมุ่งเน้นไปที่สี่เสาหลักทางกลยุทธ์ ซึ่งจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทให้เป็นบริษัทบริการด้านการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในอนาคต ผ่านบริษัท แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส(Capital A Aviation Services -CAPAS) มูฟดิจิทัล(MOVE Digital) เทเลพอร์ต(Teleport) และบริษัท แบรนด์ เอเอ

    นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด กล่าวว่า “นี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับแคปปิตอล เอ และกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย โดยต่อยอดจากมูลค่ามหาศาลที่เราได้สร้างขึ้นในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ด้วยการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการขายธุรกิจการบิน เรากำลังปลดล็อกอนาคตที่สดใส โดยแยกธุรกิจการบินแบบเดิมออกจากบริการสนับสนุนการบิน ความชัดเจนนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ถือหุ้นและลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกำหนดอนาคตใหม่ของการเดินทางในภูมิภาคนี้ได้”

    “กลยุทธ์ที่กว้างขึ้นของแคปปิตอล เอ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบริการการบินและธุรกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมาก การแยกธุรกิจการบินและธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบินออกจากกัน จะทำให้เราสามารถมุ่งเน้นไปที่การเติบโตของธุรกิจสนับสนุนการบินและธุรกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพสูงซึ่งเราได้สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจการบิน เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของแอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด(AAX) ในการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 16 ตุลาคม ธุรกิจการบินจะสามารถรวมตัวกันเพื่อสร้างกลุ่มแอร์เอเชียที่พลิกเกมได้ โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างการดำเนินงานเที่ยวบินระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำกำไร และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น"

    นายโทนี่ยังเน้นย้ำว่า แคปปิตอล เอ อยู่ในสถานะที่ดีที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว “ตั้งแต่การเดินทางดิจิทัลไปจนถึงโลจิสติกส์และการจัดการแบรนด์ เรากำลังสร้างระบบนิเวศบริการการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง การอนุมัติในวันนี้จากผู้ถือหุ้นของเรา ยังเปิดทางให้แคปปิตอล เอ มุ่งสู่โครงสร้างทางการเงินที่โปร่งใสและมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสรุปแผนการฟื้นฟูสถานะของเราและออกจากสถานะพีเอ็น17(PN17) ในไม่ช้า”

    การปรับโครงสร้างนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทในการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่คล่องตัวและเน้นเทคโนโลยี โดยมีสี่เสาหลักสำคัญ ได้แก่

    แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส - สร้างมูลค่าผ่านการให้บริการซ่อมบำรุงและปรับปรุงเครื่องบิน(MRO) โดยความร่วมมือกับบริษัท เอเชีย ดิจิทัล เอ็นจิเนียริ่ง (ADE) และขยายการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มบนเที่ยวบิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ค้าปลีกของซันตัน(Santan)

    มูฟดิจิทัล - นำเสนอนวัตกรรมในการเดินทางและฟินเทค ผ่านแอร์เอเชีย มูฟ และบิ๊กเพย์

    เทเลพอร์ต - ขยายบริการโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนด้วยการเสริมสร้างการดำเนินงานด้านขนส่งสินค้าและบริการข้ามพรมแดน

    แบรนด์ เอเอ - บริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชียที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกผ่านการให้สิทธิ์ใช้งานและความร่วมมือทางกลยุทธ์

    “เรารู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนอย่างมั่นคงของผู้ถือหุ้นของเรา การลงมติในวันนี้สะท้อนถึงความเชื่อร่วมกันในมูลค่าระยะยาวที่แคปปิตอล เอ สามารถสร้างได้ทั้งในภาคธุรกิจการบินและนอกธุรกิจการบิน” นายโทนี่กล่าวเสริม

    หลังจากการอนุมัติครั้งสำคัญในวันนี้ แคปปิตอล เอ จะดำเนินการขอคำสั่งศาลเพื่อแจกจ่ายหุ้นพิจารณาให้แก่ผู้ถือหุ้นผ่านการลดและชำระคืนทุนจดทะเบียนของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทจะขอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตราสารหนี้อิสลามที่สามารถแปลงสภาพได้แบบไม่รับประกัน(RCUIDS) ในการประชุมวันที่ 14 ตุลาคม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในเส้นทางของแคปปิตอล เอ

    ขั้นตอนสำคัญเหล่านี้จะทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมีโครงสร้างทางการเงินที่ชัดเจนและมุ่งเน้นไปที่การยื่นแผนการฟื้นฟูสถานะก่อนสิ้นปี โดยมีเป้าหมายที่จะออกจากสถานะ พีเอ็น17"

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/mEr2rA6mhS57iGXE/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    แคปปิตอล เอ(Capital A) ไฟเขียวขาย AirAsia ให้ AirAsia X แยกกิจการสายการบินออกจาก Capital A โฟกัสเพียงธุรกิจสี่เสาหลักคือ แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส,มูฟดิจิทัล, เทเลพอร์ตและธุรกิจดูแล แบรนด์ เอเอ 15 ตุลาคม 2567 – แคปปิตอล เอ(Capital A) ได้ประกาศผลการประชุมผู้ถือหุ้นได้ลงมติเห็นชอบต่อการเสนอขายธุรกิจการบินของกลุ่มบริษัทให้กับแอร์เอเชีย เอ็กซ์(AAX) ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น(EGM) วานนี้(14 ตุลาคม 2567) แคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด นั้นเดิมเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย อันประกอบไปด้วยแอร์เอเชีย มาเลเซีย(AK) และเป็นบริษัทแม่ของบริษัทที่มีการร่วมลงทุนในสายการบินแอร์เอเชียในประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย(FD) อินโดนีเซียแอร์เอเชีย(QZ) ฟิลิปปินส์แอร์เอเชีย(Z2) และแอร์เอเชียกัมพูชา(KT) ในขณะที่แอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด นั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการสายการบินแอร์เอเชีย เอ็กซ์ มาเลเซีย(D7) และเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนในสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์(XJ) การอนุมัติครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมุ่งเน้นไปที่สี่เสาหลักทางกลยุทธ์ ซึ่งจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทให้เป็นบริษัทบริการด้านการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในอนาคต ผ่านบริษัท แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส(Capital A Aviation Services -CAPAS) มูฟดิจิทัล(MOVE Digital) เทเลพอร์ต(Teleport) และบริษัท แบรนด์ เอเอ นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแคปปิตอล เอ เบอร์ฮัด กล่าวว่า “นี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับแคปปิตอล เอ และกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย โดยต่อยอดจากมูลค่ามหาศาลที่เราได้สร้างขึ้นในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ด้วยการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการขายธุรกิจการบิน เรากำลังปลดล็อกอนาคตที่สดใส โดยแยกธุรกิจการบินแบบเดิมออกจากบริการสนับสนุนการบิน ความชัดเจนนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ถือหุ้นและลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกำหนดอนาคตใหม่ของการเดินทางในภูมิภาคนี้ได้” “กลยุทธ์ที่กว้างขึ้นของแคปปิตอล เอ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบริการการบินและธุรกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมาก การแยกธุรกิจการบินและธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบินออกจากกัน จะทำให้เราสามารถมุ่งเน้นไปที่การเติบโตของธุรกิจสนับสนุนการบินและธุรกิจดิจิทัลที่มีศักยภาพสูงซึ่งเราได้สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจการบิน เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของแอร์เอเชีย เอ็กซ์ เบอร์ฮัด(AAX) ในการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 16 ตุลาคม ธุรกิจการบินจะสามารถรวมตัวกันเพื่อสร้างกลุ่มแอร์เอเชียที่พลิกเกมได้ โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างการดำเนินงานเที่ยวบินระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำกำไร และผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น" นายโทนี่ยังเน้นย้ำว่า แคปปิตอล เอ อยู่ในสถานะที่ดีที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว “ตั้งแต่การเดินทางดิจิทัลไปจนถึงโลจิสติกส์และการจัดการแบรนด์ เรากำลังสร้างระบบนิเวศบริการการบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง การอนุมัติในวันนี้จากผู้ถือหุ้นของเรา ยังเปิดทางให้แคปปิตอล เอ มุ่งสู่โครงสร้างทางการเงินที่โปร่งใสและมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสรุปแผนการฟื้นฟูสถานะของเราและออกจากสถานะพีเอ็น17(PN17) ในไม่ช้า” การปรับโครงสร้างนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทในการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่คล่องตัวและเน้นเทคโนโลยี โดยมีสี่เสาหลักสำคัญ ได้แก่ แคปปิตอล เอ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส - สร้างมูลค่าผ่านการให้บริการซ่อมบำรุงและปรับปรุงเครื่องบิน(MRO) โดยความร่วมมือกับบริษัท เอเชีย ดิจิทัล เอ็นจิเนียริ่ง (ADE) และขยายการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มบนเที่ยวบิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ค้าปลีกของซันตัน(Santan) มูฟดิจิทัล - นำเสนอนวัตกรรมในการเดินทางและฟินเทค ผ่านแอร์เอเชีย มูฟ และบิ๊กเพย์ เทเลพอร์ต - ขยายบริการโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนด้วยการเสริมสร้างการดำเนินงานด้านขนส่งสินค้าและบริการข้ามพรมแดน แบรนด์ เอเอ - บริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชียที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกผ่านการให้สิทธิ์ใช้งานและความร่วมมือทางกลยุทธ์ “เรารู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนอย่างมั่นคงของผู้ถือหุ้นของเรา การลงมติในวันนี้สะท้อนถึงความเชื่อร่วมกันในมูลค่าระยะยาวที่แคปปิตอล เอ สามารถสร้างได้ทั้งในภาคธุรกิจการบินและนอกธุรกิจการบิน” นายโทนี่กล่าวเสริม หลังจากการอนุมัติครั้งสำคัญในวันนี้ แคปปิตอล เอ จะดำเนินการขอคำสั่งศาลเพื่อแจกจ่ายหุ้นพิจารณาให้แก่ผู้ถือหุ้นผ่านการลดและชำระคืนทุนจดทะเบียนของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทจะขอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตราสารหนี้อิสลามที่สามารถแปลงสภาพได้แบบไม่รับประกัน(RCUIDS) ในการประชุมวันที่ 14 ตุลาคม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในเส้นทางของแคปปิตอล เอ ขั้นตอนสำคัญเหล่านี้จะทำให้แคปปิตอล เอ สามารถมีโครงสร้างทางการเงินที่ชัดเจนและมุ่งเน้นไปที่การยื่นแผนการฟื้นฟูสถานะก่อนสิ้นปี โดยมีเป้าหมายที่จะออกจากสถานะ พีเอ็น17" ที่มา https://www.facebook.com/share/p/mEr2rA6mhS57iGXE/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 587 มุมมอง 0 รีวิว
  • “แอร์เอเชียต้องการคำตอบและค่าชดเชย”

    เหตุการณ์ Microsoft outage ที่บริษัทเอกชนและภาคธุรกิจสำคัญ อาทิ สายการบิน ธนาคาร สื่อมวลชน และโรงพยาบาลในหลายประเทศ ได้รับผลกระทบจากปัญหาไอทีขัดข้องทั่วโลก จากระบบปฎิบัติการ Windows ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบของ CrowdStrike บริษัทเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันศุกร์ (19 ก.ค.) ที่ผ่านมา

    แม้ปัญหาดังกล่าวจะได้รับการคลี่คลาย แต่ภาคธุรกิจและสังคมยังคงตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงความรับผิดชอบจาก Microsoft และ CrowdStrike สองบริษัทด้านไอทีของสหรัฐอเมริกา

    หนึ่งในนั้นคือ โทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแคปิตอล เอ ผู้ก่อตั้งสายการบินแอร์เอเชีย ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย โพสต์ข้อความผ่าน Linkedin ระบุว่า เป็นเรื่องดีที่ CrowdStrike ขอโทษ แต่จะรอฟังจาก Microsoft ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้สายการบินสูญเสียรายได้หลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    แต่ที่สำคัญกว่านั้น ความล้มเหลวของระบบได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายมากมายในชีวิตของผู้คนอย่างไร

    "บริษัทเทคโนโลยีไม่ค่อยมีความเห็นอกเห็นใจ สิ่งที่เราเจอในช่วงโควิด-19 พวกเขาไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ตอนนี้พวกเขามีปัญหาที่พวกเขาคาดหวังให้เราทุกคนเข้าใจ ฉันจะไม่ทำแบบนั้น สายการบินต้องการคำตอบและค่าชดเชย แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะเรียนรู้และเติบโตจากสิ่งนี้" โทนี่ ระบุ

    แอร์เอเชียเป็นหนึ่งในสายการบินทั่วโลกที่ประสบปัญหาเหตุขัดข้องด้านไอที ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทุกสนามบิน หนึ่งในนั้นคืออาคารผู้โดยสาร 2 (KLIA2) ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สายการบินต้องใช้ระบบแมนวล (Manual) ในการบริหารจัดการทั้งหมด ตั้งแต่การเช็กอิน การพิมพ์บัตรโดยสาร และโหลดสัมภาระใต้ท้องเครื่อง

    โทนี่ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้นึกถึงเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ทุกอย่างทำด้วยระบบแมนวล แต่ก็ภูมิใจที่ทำให้การยกเลิกเที่ยวบินลดเหลือน้อยที่สุด เนื่องจากความคล่องตัวในการเปลี่ยนไปใช้ระบบแมนวล แม้ว่าการให้บริการจะมีความล่าช้าไปบ้าง แต่ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำพาผู้โดยสารทุกคนไปยังจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยที่สุด

    อนึ่ง สายการบินแอร์เอเชียกลับมาใช้ระบบออนไลน์ในการปฎิบัติงาน รวมทั้งการเช็กอินออนไลน์แก่ผู้โดยสาร ตั้งแต่บ่ายวันเสาร์ (20 ก.ค.) ที่ผ่านมา

    #Newskit #AirAsia #TonyFernandes
    “แอร์เอเชียต้องการคำตอบและค่าชดเชย” เหตุการณ์ Microsoft outage ที่บริษัทเอกชนและภาคธุรกิจสำคัญ อาทิ สายการบิน ธนาคาร สื่อมวลชน และโรงพยาบาลในหลายประเทศ ได้รับผลกระทบจากปัญหาไอทีขัดข้องทั่วโลก จากระบบปฎิบัติการ Windows ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบของ CrowdStrike บริษัทเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันศุกร์ (19 ก.ค.) ที่ผ่านมา แม้ปัญหาดังกล่าวจะได้รับการคลี่คลาย แต่ภาคธุรกิจและสังคมยังคงตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงความรับผิดชอบจาก Microsoft และ CrowdStrike สองบริษัทด้านไอทีของสหรัฐอเมริกา หนึ่งในนั้นคือ โทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแคปิตอล เอ ผู้ก่อตั้งสายการบินแอร์เอเชีย ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย โพสต์ข้อความผ่าน Linkedin ระบุว่า เป็นเรื่องดีที่ CrowdStrike ขอโทษ แต่จะรอฟังจาก Microsoft ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้สายการบินสูญเสียรายได้หลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ที่สำคัญกว่านั้น ความล้มเหลวของระบบได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายมากมายในชีวิตของผู้คนอย่างไร "บริษัทเทคโนโลยีไม่ค่อยมีความเห็นอกเห็นใจ สิ่งที่เราเจอในช่วงโควิด-19 พวกเขาไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ตอนนี้พวกเขามีปัญหาที่พวกเขาคาดหวังให้เราทุกคนเข้าใจ ฉันจะไม่ทำแบบนั้น สายการบินต้องการคำตอบและค่าชดเชย แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะเรียนรู้และเติบโตจากสิ่งนี้" โทนี่ ระบุ แอร์เอเชียเป็นหนึ่งในสายการบินทั่วโลกที่ประสบปัญหาเหตุขัดข้องด้านไอที ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทุกสนามบิน หนึ่งในนั้นคืออาคารผู้โดยสาร 2 (KLIA2) ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สายการบินต้องใช้ระบบแมนวล (Manual) ในการบริหารจัดการทั้งหมด ตั้งแต่การเช็กอิน การพิมพ์บัตรโดยสาร และโหลดสัมภาระใต้ท้องเครื่อง โทนี่ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้นึกถึงเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ทุกอย่างทำด้วยระบบแมนวล แต่ก็ภูมิใจที่ทำให้การยกเลิกเที่ยวบินลดเหลือน้อยที่สุด เนื่องจากความคล่องตัวในการเปลี่ยนไปใช้ระบบแมนวล แม้ว่าการให้บริการจะมีความล่าช้าไปบ้าง แต่ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำพาผู้โดยสารทุกคนไปยังจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยที่สุด อนึ่ง สายการบินแอร์เอเชียกลับมาใช้ระบบออนไลน์ในการปฎิบัติงาน รวมทั้งการเช็กอินออนไลน์แก่ผู้โดยสาร ตั้งแต่บ่ายวันเสาร์ (20 ก.ค.) ที่ผ่านมา #Newskit #AirAsia #TonyFernandes
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 937 มุมมอง 0 รีวิว
  • XJ กลับดอนเมือง เหลือไฟล์ตกัวลาลัมเปอร์

    XJ คือรหัสเที่ยวบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งทำการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ สู่เส้นทางโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และโซล ประเทศเกาหลีใต้ มาตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ล่าสุดประกาศว่า ย้ายทุกเที่ยวบินมาให้บริการที่สนามบินดอนเมือง 1 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ผู้โดยสารที่จองตั๋วไว้แล้วจะปรับเปลี่ยนเที่ยวบินโดยอัตโนมัติ

    เส้นทางที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นรหัสเที่ยวบินขึ้นต้นด้วย XJ ทั้งหมด ได้แก่ เที่ยวบินตรงเข้าออกกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โตเกียว โอซาก้า นาโกย่า ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

    เหตุผลที่ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ย้ายกลับจากสุวรรณภูมิมาดอนเมืองเพื่อลดต้นทุน เพราะรันเวย์และแท็กซี่เวย์ระยะสั้นกว่า และค่าบริการขึ้น-ลงอากาศยาน กับค่าบริการที่เก็บอากาศยานถูกกว่า รวมทั้งเชื่อมต่อผู้โดยสารกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย ที่มีเส้นทางบินรวมกว่า 93 เส้นทาง หรือ 1,250 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ช่วยให้มีผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเส้นทางสุวรรณภูมิ-กัวลาลัมเปอร์ ที่ดำเนินการโดย แอร์เอเชียเอ็กซ์ มาเลเซีย (รหัสเที่ยวบิน D7) ให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิตามเดิม เช่นเดียวกับเที่ยวบิน FD เส้นทางจากสุวรรณภูมิ ไปเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่

    ปัจจุบัน สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งคนละส่วนกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีฝูงบินแอร์บัส เอ 330 รวม 8 ลำ และจะทยอยเพิ่มเป็น 11 ลำ ภายในสิ้นปี 2567 หลังจากนั้นวางแผนรับเครื่องบินเพิ่มปีละ 3-5 ลำ เพื่อเพิ่มความถี่เเละเปิดบินเส้นทางใหม่อย่างต่อเนื่อง

    #Newskit #AirasiaX #DMK
    XJ กลับดอนเมือง เหลือไฟล์ตกัวลาลัมเปอร์ XJ คือรหัสเที่ยวบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งทำการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ สู่เส้นทางโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และโซล ประเทศเกาหลีใต้ มาตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ล่าสุดประกาศว่า ย้ายทุกเที่ยวบินมาให้บริการที่สนามบินดอนเมือง 1 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ผู้โดยสารที่จองตั๋วไว้แล้วจะปรับเปลี่ยนเที่ยวบินโดยอัตโนมัติ เส้นทางที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นรหัสเที่ยวบินขึ้นต้นด้วย XJ ทั้งหมด ได้แก่ เที่ยวบินตรงเข้าออกกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โตเกียว โอซาก้า นาโกย่า ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เหตุผลที่ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ย้ายกลับจากสุวรรณภูมิมาดอนเมืองเพื่อลดต้นทุน เพราะรันเวย์และแท็กซี่เวย์ระยะสั้นกว่า และค่าบริการขึ้น-ลงอากาศยาน กับค่าบริการที่เก็บอากาศยานถูกกว่า รวมทั้งเชื่อมต่อผู้โดยสารกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย ที่มีเส้นทางบินรวมกว่า 93 เส้นทาง หรือ 1,250 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ช่วยให้มีผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเส้นทางสุวรรณภูมิ-กัวลาลัมเปอร์ ที่ดำเนินการโดย แอร์เอเชียเอ็กซ์ มาเลเซีย (รหัสเที่ยวบิน D7) ให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิตามเดิม เช่นเดียวกับเที่ยวบิน FD เส้นทางจากสุวรรณภูมิ ไปเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ ปัจจุบัน สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งคนละส่วนกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีฝูงบินแอร์บัส เอ 330 รวม 8 ลำ และจะทยอยเพิ่มเป็น 11 ลำ ภายในสิ้นปี 2567 หลังจากนั้นวางแผนรับเครื่องบินเพิ่มปีละ 3-5 ลำ เพื่อเพิ่มความถี่เเละเปิดบินเส้นทางใหม่อย่างต่อเนื่อง #Newskit #AirasiaX #DMK
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1091 มุมมอง 0 รีวิว