‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ
สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม
...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
- จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา
ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)
‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)
สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป
เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้
แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้
ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า
พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง
“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/
#ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม
...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
- จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา
ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)
‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)
สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป
เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้
แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้
ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า
พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง
“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/
#ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ
สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม
...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
- จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา
ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)
‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)
สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป
เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้
แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้
ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า
พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง
“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/
#ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
109 มุมมอง
0 รีวิว