• ข้อมูลธุรกิจ SME ที่ปิดตัวไป มากกว่า 1 หมื่นราย
    ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก SCBEIC)
    คือ อีก 1 สิ่งสำคัญ ที่รัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบ
    ก่อนปรับค่าแรงเป็น 400 บาท ทั่วประเทศ
    ว่าจะช่วยต่อลมหายใจพวกเค้าได้อย่างไร?
    และจะสนับสนุนส่งเสริม ยกระดับให้พวกเค้า
    เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้อย่างไร?

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #thaitimes
    💥💥ข้อมูลธุรกิจ SME ที่ปิดตัวไป มากกว่า 1 หมื่นราย ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก SCBEIC) คือ อีก 1 สิ่งสำคัญ ที่รัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบ ก่อนปรับค่าแรงเป็น 400 บาท ทั่วประเทศ ว่าจะช่วยต่อลมหายใจพวกเค้าได้อย่างไร? และจะสนับสนุนส่งเสริม ยกระดับให้พวกเค้า เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้อย่างไร? #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 477 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต
    ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568
    อยู่ที่ 2.5% และ 2.6%
    ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว
    ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้

    และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย
    ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่

    1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย
    กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม
    เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน

    2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ
    ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด
    จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ
    รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย

    ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
    เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้
    และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน
    ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568 อยู่ที่ 2.5% และ 2.6% ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 🚩1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน 🚩2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย 🚩ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้ และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 556 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC
    ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย
    ใน 3 มิติ ดังนี้

    1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย)

    SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567
    เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6%
    ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว

    สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
    จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน
    บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์
    ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่

    2. อัตราเงินเฟ้อของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567
    จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง
    ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้
    และต่อเนื่องไปในปีหน้า

    3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
    ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50%
    และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268
    จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น
    ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย
    #thaitimes
    💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย ใน 3 มิติ ดังนี้ 🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย) SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6% ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์ ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่ 🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567 จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ และต่อเนื่องไปในปีหน้า 🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268 จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 704 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
    เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

    1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
    ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
    ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
    กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
    ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ

    2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทายรอบด้าน
    จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
    กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย

    3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
    ศักยภาพธุรกิจในระยะยาวโดย SME ไทย จะเน้นการลงทุน
    เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
    สารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้
    มีคุณภาพสูง

    4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
    กับกระแส ESG

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาวโดย SME ไทย จะเน้นการลงทุน เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้ มีคุณภาพสูง 4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 688 มุมมอง 200 0 รีวิว
  • ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
    เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

    1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
    ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
    ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
    กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
    ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ
    อยู่ในระดับต่ำ

    นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ
    ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
    ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า

    ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME
    ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน
    ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย
    และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด
    การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน
    ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ
    ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม
    การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ

    2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทายรอบด้าน
    จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
    กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย
    ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย

    อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ
    กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ

    อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ
    กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
    โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก
    ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ
    ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

    3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
    ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว
    โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า
    และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้
    เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย
    ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน
    ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร
    และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก

    ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ
    จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro)
    ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ
    และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา
    ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์
    เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ

    4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
    กับกระแส ESG
    SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย
    ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์
    รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด
    โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

    ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย
    โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว
    อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ
    ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้
    ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก
    และมีต้นทุนสูง

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC
    #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro) ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ 🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์ รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้ ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก และมีต้นทุนสูง #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 720 มุมมอง 0 รีวิว