• โปรดี UnionPay สแกนจ่ายผ่านแอป ลด 10% ไม่ต้องใช้แต้มแลก ไม่เกินครั้งละ50บาท

    ลองใช้แล้วได้จริงๆครับ สำหรับบัตรที่ขึ้นต้น 62

    แอปธนาคารที่รองรับ
    KTC Mobile
    ICBC Mobile Banking
    #เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สังคม
    #ตัวแทนพลังบุญ
    #ที่ปรึกษาประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
    #ประกันชีวิตควบการลงทุน
    #ที่ปรึกษาการลงทุน
    #ประสบการณ์ด้านการประกันกว่า20ปี
    #ThaiTimes
    โปรดี UnionPay สแกนจ่ายผ่านแอป ลด 10% ไม่ต้องใช้แต้มแลก ไม่เกินครั้งละ50บาท ลองใช้แล้วได้จริงๆครับ สำหรับบัตรที่ขึ้นต้น 62 แอปธนาคารที่รองรับ KTC Mobile ICBC Mobile Banking #เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สังคม #ตัวแทนพลังบุญ #ที่ปรึกษาประกันชีวิตและประกันวินาศภัย #ประกันชีวิตควบการลงทุน #ที่ปรึกษาการลงทุน #ประสบการณ์ด้านการประกันกว่า20ปี #ThaiTimes
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 314 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไปสั่งข้าวไว้กินกับลูก สแกนจ่ายไม่หด้ไม่มีเน็ต เลยไปกดตู้ตรงข้าม 7 มันมี Wifi True กดสแกนเรียบร้อยเดินออกมาขึ้นรถขี่ไปเอาข้าว อ้าว ! ลืมหยิบเงินตอนกดมา ขี้รถกลับไปอีกทีมีคนเอาไปแล้ว แล้วเค้าไม่ผิดด้วย เขาก็กดของเขาเงินมันออกมาทบกันเขาก็หยิบไปปกติ #ฟาดเคราะห์ ไป 😭
    ไปสั่งข้าวไว้กินกับลูก สแกนจ่ายไม่หด้ไม่มีเน็ต เลยไปกดตู้ตรงข้าม 7 มันมี Wifi True กดสแกนเรียบร้อยเดินออกมาขึ้นรถขี่ไปเอาข้าว อ้าว ! ลืมหยิบเงินตอนกดมา ขี้รถกลับไปอีกทีมีคนเอาไปแล้ว แล้วเค้าไม่ผิดด้วย เขาก็กดของเขาเงินมันออกมาทบกันเขาก็หยิบไปปกติ #ฟาดเคราะห์ ไป 😭
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 57 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิดตำนาน 20 ปี บัตรสมาร์ทเพิร์ส

    ในขณะที่คนไทยกำลังตื่นเต้น ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ผ่านบริการมายพร้อมคิวอาร์ (MyPromptQR) เฉพาะบางธนาคาร แต่อีกด้านหนึ่ง บัตรเซเว่นการ์ด (7-Card) ซึ่งเป็นบัตรสมาร์ทเพิร์สรุ่นสุดท้าย จะยกเลิกให้บริการ โดยปิดระบบเติมเงินในวันที่ 1 ม.ค. 2568 และสมาชิกสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึง 31 ม.ค. 2568

    หลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้งานบัตรได้ สมาชิกต้องลงทะเบียนขอรับเงินคืน และนำบัตร 7-Card ที่ทำลายแล้วพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีส่งทางไปรษณีย์ หากไม่ดำเนินการในอีก 120 วันจะหักแต้ม และหักค่ารักษาบัญชีจนหมด

    บัตรสมาร์ทเพิร์ส เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2548 โดยใช้ชื่อว่า "บัตรเชื่อมรัก" ของเคาน์เตอร์เซอร์วิส ใช้สำหรับส่งและรับเงินระหว่างกันที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่เข้าร่วมโครงการ 1,000 สาขา ตลอด 24 ชั่วโมง คิดค่าบริการครั้งละ 20 บาท

    กระทั่งวันที่ 15 ธ.ค. 2548 จึงได้เริ่มให้บริการบัตรสมาร์ทเพิร์ส นำร่องร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,500 สาขา ก่อนทยอยเปิดครบทุกสาขาในปี 2549 โดยบัตรจำหน่ายราคาใบละ 250 บาท เติมเงินขั้นต่ำ 50 บาท สูงสุด 10,000 บาท ผ่านไปปีแรก ในปี 2549 มีผู้ถือบัตรมากถึง 1.1 ล้านใบ และร้านค้ารับบัตร 7,000 แห่ง

    นอกจากนี้ ยังมีบัตรโคแบรนด์ที่ออกร่วมกับภาคเอกชน ร้านค้า สถานศึกษา มากกว่า 100 องค์กร และยังมีบัตรที่ออกร่วมกับธนาคาร เช่น บัตรเอทีเอ็มซีไอเอ็มบีไทย สมาร์ทพอยต์ ร่วมกับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บัตรเค-เดบิต เซเว่นพอยต์ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย แต่เป็นไปในลักษณะแยกกันคนละกระเป๋าเงิน ได้แก่ กระเป๋าเงินสมาร์ทเพิร์ส กับบัญชีธนาคาร

    กระทั่งเปิดตัวบัตรสมาชิก All Member ไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2562 จังหวะนั้นเอง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก็เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จํากัด จากผู้ถือหุ้นอื่นทุกราย เพื่อย้ายฐานสมาชิกบัตร 7-Card ไปเป็น ALL Member

    อิทธิพลของดิจิทัลดิสรัปชัน โดยเฉพาะโมบายเพย์เมนต์ อีกทั้งร้านค้าต่างทยอยยกเลิกรับบัตรสมาร์ทเพิร์ส เหลือร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่ยังรับบัตรอยู่ ขณะนั้นมีฐานสมาชิกบัตรที่ยังไม่หมดอายุกว่า 3 ล้านใบ และมีบัตรที่ใช้งานต่อเนื่อง 1.5 ล้านใบต่อเดือน

    แต่ระหว่างนั้นเซเว่นอีเลฟเว่นหันมาทำการตลาดกับทรูมันนี่วอลเล็ต ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney และ 7-App แทน กระทั่งวันสุดท้ายของบัตรใบนี้ก็มาถึง

    นับเป็นการปิดตำนานบัตรที่ใช้จ่ายแทนเงินสดในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างถาวร หลังจากให้บริการมานาน 20 ปี

    #Newskit #SmartPurse #7Card
    ปิดตำนาน 20 ปี บัตรสมาร์ทเพิร์ส ในขณะที่คนไทยกำลังตื่นเต้น ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ผ่านบริการมายพร้อมคิวอาร์ (MyPromptQR) เฉพาะบางธนาคาร แต่อีกด้านหนึ่ง บัตรเซเว่นการ์ด (7-Card) ซึ่งเป็นบัตรสมาร์ทเพิร์สรุ่นสุดท้าย จะยกเลิกให้บริการ โดยปิดระบบเติมเงินในวันที่ 1 ม.ค. 2568 และสมาชิกสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึง 31 ม.ค. 2568 หลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้งานบัตรได้ สมาชิกต้องลงทะเบียนขอรับเงินคืน และนำบัตร 7-Card ที่ทำลายแล้วพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีส่งทางไปรษณีย์ หากไม่ดำเนินการในอีก 120 วันจะหักแต้ม และหักค่ารักษาบัญชีจนหมด บัตรสมาร์ทเพิร์ส เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2548 โดยใช้ชื่อว่า "บัตรเชื่อมรัก" ของเคาน์เตอร์เซอร์วิส ใช้สำหรับส่งและรับเงินระหว่างกันที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่เข้าร่วมโครงการ 1,000 สาขา ตลอด 24 ชั่วโมง คิดค่าบริการครั้งละ 20 บาท กระทั่งวันที่ 15 ธ.ค. 2548 จึงได้เริ่มให้บริการบัตรสมาร์ทเพิร์ส นำร่องร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,500 สาขา ก่อนทยอยเปิดครบทุกสาขาในปี 2549 โดยบัตรจำหน่ายราคาใบละ 250 บาท เติมเงินขั้นต่ำ 50 บาท สูงสุด 10,000 บาท ผ่านไปปีแรก ในปี 2549 มีผู้ถือบัตรมากถึง 1.1 ล้านใบ และร้านค้ารับบัตร 7,000 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีบัตรโคแบรนด์ที่ออกร่วมกับภาคเอกชน ร้านค้า สถานศึกษา มากกว่า 100 องค์กร และยังมีบัตรที่ออกร่วมกับธนาคาร เช่น บัตรเอทีเอ็มซีไอเอ็มบีไทย สมาร์ทพอยต์ ร่วมกับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บัตรเค-เดบิต เซเว่นพอยต์ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย แต่เป็นไปในลักษณะแยกกันคนละกระเป๋าเงิน ได้แก่ กระเป๋าเงินสมาร์ทเพิร์ส กับบัญชีธนาคาร กระทั่งเปิดตัวบัตรสมาชิก All Member ไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2562 จังหวะนั้นเอง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก็เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จํากัด จากผู้ถือหุ้นอื่นทุกราย เพื่อย้ายฐานสมาชิกบัตร 7-Card ไปเป็น ALL Member อิทธิพลของดิจิทัลดิสรัปชัน โดยเฉพาะโมบายเพย์เมนต์ อีกทั้งร้านค้าต่างทยอยยกเลิกรับบัตรสมาร์ทเพิร์ส เหลือร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่ยังรับบัตรอยู่ ขณะนั้นมีฐานสมาชิกบัตรที่ยังไม่หมดอายุกว่า 3 ล้านใบ และมีบัตรที่ใช้งานต่อเนื่อง 1.5 ล้านใบต่อเดือน แต่ระหว่างนั้นเซเว่นอีเลฟเว่นหันมาทำการตลาดกับทรูมันนี่วอลเล็ต ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney และ 7-App แทน กระทั่งวันสุดท้ายของบัตรใบนี้ก็มาถึง นับเป็นการปิดตำนานบัตรที่ใช้จ่ายแทนเงินสดในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างถาวร หลังจากให้บริการมานาน 20 ปี #Newskit #SmartPurse #7Card
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 733 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้

    การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว

    ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว

    น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น

    ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568

    ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม

    #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้ การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    Like
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 798 มุมมอง 0 รีวิว
  • ร้านสะดวกซื้อ 7-11 สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคารได้แล้ว
    .
    ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เปิดให้สแกนจ่ายเงินได้แล้วโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือแอปฯ ของร้าน ชาวเน็ตแซว บังเอิญมาก จังหวะพอดีต้อนรับเงินหมื่น
    .
    วันนี้ (27 ก.ย.) กลายเป็นประเด็นที่ฮือฮาอย่างมากในโซเซียล เน็ตเวิร์ก เมื่อแฟนเพจเฟซบุ๊ก “ผู้บริโภค” กล่าวถึงร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของประเทศอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ที่เปิดให้สแกนจ่ายผ่านแอปธนาคารได้ โดยไม่ต้องพกเงินสดหรือใช้แอปฯ ของเซเว่น ได้เผยแพร่โพสต์ “ฝันที่ไม่กล้าฝัน เซเว่นรับสแกนแล้วจ้า!!!” พร้อมระบุข้อความว่า “น้ำตาจะไหล #ผู้บริโภค ว่าไง”
    .
    คลิกอ่าน >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000090968
    ร้านสะดวกซื้อ 7-11 สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคารได้แล้ว . ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เปิดให้สแกนจ่ายเงินได้แล้วโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือแอปฯ ของร้าน ชาวเน็ตแซว บังเอิญมาก จังหวะพอดีต้อนรับเงินหมื่น . วันนี้ (27 ก.ย.) กลายเป็นประเด็นที่ฮือฮาอย่างมากในโซเซียล เน็ตเวิร์ก เมื่อแฟนเพจเฟซบุ๊ก “ผู้บริโภค” กล่าวถึงร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของประเทศอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ที่เปิดให้สแกนจ่ายผ่านแอปธนาคารได้ โดยไม่ต้องพกเงินสดหรือใช้แอปฯ ของเซเว่น ได้เผยแพร่โพสต์ “ฝันที่ไม่กล้าฝัน เซเว่นรับสแกนแล้วจ้า!!!” พร้อมระบุข้อความว่า “น้ำตาจะไหล #ผู้บริโภค ว่าไง” . คลิกอ่าน >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000090968
    MGRONLINE.COM
    วันนี้ที่รอคอย ผู้บริโภคฮือฮา ร้านสะดวกซื้อ 7-11 สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคารได้แล้ว ชาวเน็ตแซวต้อนรับเงินหมื่น
    ผู้บริโภคฮือฮา! ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เปิดให้สแกนจ่ายเงินได้แล้วโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือแอปฯ ของร้าน ชาวเน็ตแซว บังเอิญมาก จังหวะพอดีต้อนรับเงินหมื่นกลายเป็นประเด็นที่ฮือฮาอย่างมากในโลกออนไลน์ เมื่อเฟซบุ๊กเพจผู้บริโภค กล
    Like
    22
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 634 มุมมอง 0 รีวิว
  • สถาบันการเมืองนักการเมืองเราล้วนต่างถูกพวกWEFนี้ครอบงำสั่งซ้ายหันขวาหัน ต้องไปรับนโยบายมาทำการก็ว่า,ติดเข็มกลัดสีรุ้งตรงหน้าอกตรึม 17ประการต้องรับงานมาทำ,พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศคือตัวเปิดในไทยเราเลยจึงพยายามดันร่างกฎหมายให้ผ่านทั้งสภาฯให้ได้ให้เงียบกริบไม่ให้คนไทยทั้งประเทศรู้ทัน,คาร์บอนเครดิตคือตัวการจะควบคุมสังคมไทยในอนาคตในการดำเนินกิจกรรมทางชีวิตคนไทยทั้งหมดในอนาคต ปลูกข้าวทำนาต้องมีเครดิตคาร์บอนรับรองจึงจะทำได้,อิสระภาพจะไม่มีในคนไทยเหมือนเดิม,นอกจากสังเกตุพฤติกรรมผ่านAI&ตังดิจิดัลหรือเน็ตๆที่เราๆใช้กัน เพื่ออีลิทควบคุมรอบด้านทุกๆมิติทั่วไทย&ทั่วโลก,รัฐบาลโลกเดียวก็ว่า,หายใจเข้าออกต้องจ่ายคาร์บอนเครดิตมา,ซื้อของ ขึ้นรถไฟฟ้าลงเรือต้องสแกนจ่ายเป็นเครดิตคาร์บอนข้อหาทำลายอากาศสร้างโลกร้อนมันว่า,ต้องจ่ายเป็นเครดิตคาร์บอนชดเชยทุกๆกิจกรรมตามกฎหมายที่ลงมติผ่านแล้วในสภาฯขัดขืนต้องถูกลงโทษ ข้อหาทำลายสภาพอากาศโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศผิดปกติพะนะมันอ้าง,คนไทยต้องตื่นรู้ค่าจริงความจริง ทาสยุคใหม่ชัดๆ,ตัดตอนแผนการมันคือห้ามมีพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนี้,อนาคตถ้ามี จะไม่ต่างจากทาสบ่อน้ำมันที่พวกลอร์ดต่างชาตินี้ปล้นยึดครองบ่อน้ำมันเราคนไทยไปเป็นของมันผ่านพรบ.ปิโตรเลียมที่มันสุมหัวเขียนขึ้นจากเดอะแก๊งพวกมันเองเช่นกัน จนคนไทยเราใช้น้ำมันราคาแพงและตัวพ่อที่ทำสินค้าทุกๆอย่างต้นทุนสูงจนแพงทั้งแผ่นดินไทย,ตัวต้นเหตุของปัญหาทั้งหมดในปัจจุบัน,ยุคอนาคต&ยุคใหม่ พรบ.นี้ก็เหมือนกัน ตัวปัญหามหากาฬภัยความมั่นคงด้านอิสระภาพแห่งการดำรงชีวิต&ใช้ชีวิตอย่างเสรี&เจตจำนงเสรีเลย,,มันจะทำให้เราเป็นทาส&ถูกควบคุมแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จกว่ายุคใดๆ,AIจะรับรู้คุณทุกๆกิริยากิจกรรม เป็นภัยต่อระบบMatrixมันแน่นอน,อายัดตัดกระแสตังคุณทันที ไร้ตังไร้เครดิตใดๆจะใช้ซื้อหาแลกเปลี่ยนกินอยู่ในสังคมชุมชนมันอดตายก็ว่า,เพราะทุกๆอย่างไม่ได้ใช้เงินสด,บวกฝังชิปอีก AIระเบิดตัวชิปให้คุณตายทันทีเรียลไทม์ ณ ตอนนั้นได้ทันทีด้วย.
    ..การตัดตอนมิให้มันมีพรบ.นี้ได้จึงสำคัญมาก,ทหารพระราชาเราเท่านั้นจะยุติพวกมันได้.เพราะศัตรูของพวกมันคือพระมหากษัตริย์แบบแผ่นดินไทยเรา พวกมันจึงพยายามทำลายสถาบันกษัตริย์เราทุกๆช่องทาง.
    สถาบันการเมืองนักการเมืองเราล้วนต่างถูกพวกWEFนี้ครอบงำสั่งซ้ายหันขวาหัน ต้องไปรับนโยบายมาทำการก็ว่า,ติดเข็มกลัดสีรุ้งตรงหน้าอกตรึม 17ประการต้องรับงานมาทำ,พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศคือตัวเปิดในไทยเราเลยจึงพยายามดันร่างกฎหมายให้ผ่านทั้งสภาฯให้ได้ให้เงียบกริบไม่ให้คนไทยทั้งประเทศรู้ทัน,คาร์บอนเครดิตคือตัวการจะควบคุมสังคมไทยในอนาคตในการดำเนินกิจกรรมทางชีวิตคนไทยทั้งหมดในอนาคต ปลูกข้าวทำนาต้องมีเครดิตคาร์บอนรับรองจึงจะทำได้,อิสระภาพจะไม่มีในคนไทยเหมือนเดิม,นอกจากสังเกตุพฤติกรรมผ่านAI&ตังดิจิดัลหรือเน็ตๆที่เราๆใช้กัน เพื่ออีลิทควบคุมรอบด้านทุกๆมิติทั่วไทย&ทั่วโลก,รัฐบาลโลกเดียวก็ว่า,หายใจเข้าออกต้องจ่ายคาร์บอนเครดิตมา,ซื้อของ ขึ้นรถไฟฟ้าลงเรือต้องสแกนจ่ายเป็นเครดิตคาร์บอนข้อหาทำลายอากาศสร้างโลกร้อนมันว่า,ต้องจ่ายเป็นเครดิตคาร์บอนชดเชยทุกๆกิจกรรมตามกฎหมายที่ลงมติผ่านแล้วในสภาฯขัดขืนต้องถูกลงโทษ ข้อหาทำลายสภาพอากาศโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศผิดปกติพะนะมันอ้าง,คนไทยต้องตื่นรู้ค่าจริงความจริง ทาสยุคใหม่ชัดๆ,ตัดตอนแผนการมันคือห้ามมีพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนี้,อนาคตถ้ามี จะไม่ต่างจากทาสบ่อน้ำมันที่พวกลอร์ดต่างชาตินี้ปล้นยึดครองบ่อน้ำมันเราคนไทยไปเป็นของมันผ่านพรบ.ปิโตรเลียมที่มันสุมหัวเขียนขึ้นจากเดอะแก๊งพวกมันเองเช่นกัน จนคนไทยเราใช้น้ำมันราคาแพงและตัวพ่อที่ทำสินค้าทุกๆอย่างต้นทุนสูงจนแพงทั้งแผ่นดินไทย,ตัวต้นเหตุของปัญหาทั้งหมดในปัจจุบัน,ยุคอนาคต&ยุคใหม่ พรบ.นี้ก็เหมือนกัน ตัวปัญหามหากาฬภัยความมั่นคงด้านอิสระภาพแห่งการดำรงชีวิต&ใช้ชีวิตอย่างเสรี&เจตจำนงเสรีเลย,,มันจะทำให้เราเป็นทาส&ถูกควบคุมแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จกว่ายุคใดๆ,AIจะรับรู้คุณทุกๆกิริยากิจกรรม เป็นภัยต่อระบบMatrixมันแน่นอน,อายัดตัดกระแสตังคุณทันที ไร้ตังไร้เครดิตใดๆจะใช้ซื้อหาแลกเปลี่ยนกินอยู่ในสังคมชุมชนมันอดตายก็ว่า,เพราะทุกๆอย่างไม่ได้ใช้เงินสด,บวกฝังชิปอีก AIระเบิดตัวชิปให้คุณตายทันทีเรียลไทม์ ณ ตอนนั้นได้ทันทีด้วย. ..การตัดตอนมิให้มันมีพรบ.นี้ได้จึงสำคัญมาก,ทหารพระราชาเราเท่านั้นจะยุติพวกมันได้.เพราะศัตรูของพวกมันคือพระมหากษัตริย์แบบแผ่นดินไทยเรา พวกมันจึงพยายามทำลายสถาบันกษัตริย์เราทุกๆช่องทาง.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 480 มุมมอง 60 0 รีวิว
  • 🚌ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ขสมก. จัดการเดินรถเส้นทางตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ เต็มรูปแบบครบ 107 เส้นทาง ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 วันที่ 5 กรกฎาคม 2562

    📌ขสมก. ยังคงเดินรถเส้นทาง (เดิม) ควบคู่กับเส้นทางปฏิรูปที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ และจะหยุดวิ่งเส้นทาง (เดิม) ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    #ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าโดยสาร : เงินสด / บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ทุกประเภท / บัตรเครดิต - เดบิต ที่มีสัญลักษณ์คอนแทคเลสทุกธนาคาร / สแกนจ่ายผ่านโมบายแบงค์กิ้ง / สิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ

    ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    Call Center 1348 / Facebook ขสมก. พร้อมบวก / www.bmta.co.th
    🚌ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ขสมก. จัดการเดินรถเส้นทางตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ เต็มรูปแบบครบ 107 เส้นทาง ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 📌ขสมก. ยังคงเดินรถเส้นทาง (เดิม) ควบคู่กับเส้นทางปฏิรูปที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ และจะหยุดวิ่งเส้นทาง (เดิม) ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป #ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าโดยสาร : เงินสด / บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ทุกประเภท / บัตรเครดิต - เดบิต ที่มีสัญลักษณ์คอนแทคเลสทุกธนาคาร / สแกนจ่ายผ่านโมบายแบงค์กิ้ง / สิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1348 / Facebook ขสมก. พร้อมบวก / www.bmta.co.th
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 369 มุมมอง 0 รีวิว
  • แตะเพื่อสแกน Widget ใหม่แบงก์กรุงเทพ

    ใครที่ใช้แอปพลิเคชัน Bangkok Bank โมบายล์แบงกิ้งธนาคารกรุงเทพ เวอร์ชันล่าสุด (Version 3.35.0) และชื่นชอบการสแกนจ่าย (Scan to Pay) ไม่ควรพลาดกับการสร้างวิดเจ็ต (Widget) บนหน้าจอมือถือ ที่ทำให้การสแกนจ่ายง่ายภายใน 3 วินาที

    วิดเจ็ตของ Bangkok Bank เหมือนเมนูลัดสำหรับสแกนจ่ายโดยเฉพาะ มีโลโก้ธนาคารกรุงเทพ พร้อมข้อความ "แตะเพื่อสแกน" โดยระบบ iOS ติดตั้งได้ทั้งหน้าจอหลัก หน้าจอล็อก และหน้าจอมุมมองวันนี้ ส่วน Android ติดตั้งได้เฉพาะหน้าจอหลัก

    เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว เวลาจะใช้สแกนจ่าย สามารถกดที่ Widget แล้วระบบจะนำพาไปยังหน้าจอสแกนจ่ายได้เลย

    ถ้าต้องการสแกนจ่ายให้รวดเร็วขึ้นไปอีก สามารถตั้งค่าวงเงินควิกเพย์ ช่วยให้สามารถสแกนจ่ายได้ทันทีโดยไม่ต้องใส่ PIN เหมาะสำหรับคนทำธุรกรรมแบบเร่งรีบ โดยสามารถปรับวงเงินได้สูงสุดถึง 5,000 บาทต่อวัน

    เหตุผลที่ธนาคารกรุงเทพออกแบบมา เพราะลูกค้านิยมสแกนจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 10-15 วินาที กว่าจะเรียกแอปฯ ธนาคาร โหลดข้อมูล และกดทำรายการสแกน จึงได้ออกแบบมุ่งเน้นเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าเป็นหลัก

    ปัจจุบัน แอปฯ Bangkok Bank นอกจากสแกนจ่ายผ่าน PromptPay QR Code ในไทยแล้ว ยังสแกนจ่ายที่เมืองนอกได้ ผ่านบริการ Cross-Border Payment ที่เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง

    นอกจากนี้ สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ VISA และ Mastercard ยังสามารถสแกนจ่ายผ่านบริการ “สแกนจ่ายคิวอาร์โค้ดผ่านบัตรเครดิต” เทียบเท่ากับการรูดบัตรเครดิต โดยไม่ต้องใช้บัตรตัวจริง

    #Newskit #BangkokBank #โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
    แตะเพื่อสแกน Widget ใหม่แบงก์กรุงเทพ ใครที่ใช้แอปพลิเคชัน Bangkok Bank โมบายล์แบงกิ้งธนาคารกรุงเทพ เวอร์ชันล่าสุด (Version 3.35.0) และชื่นชอบการสแกนจ่าย (Scan to Pay) ไม่ควรพลาดกับการสร้างวิดเจ็ต (Widget) บนหน้าจอมือถือ ที่ทำให้การสแกนจ่ายง่ายภายใน 3 วินาที วิดเจ็ตของ Bangkok Bank เหมือนเมนูลัดสำหรับสแกนจ่ายโดยเฉพาะ มีโลโก้ธนาคารกรุงเทพ พร้อมข้อความ "แตะเพื่อสแกน" โดยระบบ iOS ติดตั้งได้ทั้งหน้าจอหลัก หน้าจอล็อก และหน้าจอมุมมองวันนี้ ส่วน Android ติดตั้งได้เฉพาะหน้าจอหลัก เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว เวลาจะใช้สแกนจ่าย สามารถกดที่ Widget แล้วระบบจะนำพาไปยังหน้าจอสแกนจ่ายได้เลย ถ้าต้องการสแกนจ่ายให้รวดเร็วขึ้นไปอีก สามารถตั้งค่าวงเงินควิกเพย์ ช่วยให้สามารถสแกนจ่ายได้ทันทีโดยไม่ต้องใส่ PIN เหมาะสำหรับคนทำธุรกรรมแบบเร่งรีบ โดยสามารถปรับวงเงินได้สูงสุดถึง 5,000 บาทต่อวัน เหตุผลที่ธนาคารกรุงเทพออกแบบมา เพราะลูกค้านิยมสแกนจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 10-15 วินาที กว่าจะเรียกแอปฯ ธนาคาร โหลดข้อมูล และกดทำรายการสแกน จึงได้ออกแบบมุ่งเน้นเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าเป็นหลัก ปัจจุบัน แอปฯ Bangkok Bank นอกจากสแกนจ่ายผ่าน PromptPay QR Code ในไทยแล้ว ยังสแกนจ่ายที่เมืองนอกได้ ผ่านบริการ Cross-Border Payment ที่เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง นอกจากนี้ สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ VISA และ Mastercard ยังสามารถสแกนจ่ายผ่านบริการ “สแกนจ่ายคิวอาร์โค้ดผ่านบัตรเครดิต” เทียบเท่ากับการรูดบัตรเครดิต โดยไม่ต้องใช้บัตรตัวจริง #Newskit #BangkokBank #โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 737 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์

    ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์

    ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท

    แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

    จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท

    นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้

    #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์ ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้ #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 724 มุมมอง 0 รีวิว