• พาสปอร์ตรถไฟไทย นักเดินทางของมันต้องมี

    หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำตราประทับของแต่ละสถานี พร้อมข้อความ "ตรวจสอบความถูกต้อง" ประทับบนตั๋วโดยสาร เพื่อยืนยันว่าตั๋วโดยสารที่ซื้อจากสถานีรถไฟนั้นๆ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โดยพบว่าแต่ละสถานีออกแบบโดยนำเอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรม และสถานที่สำคัญในพื้นที่ของแต่ละสถานีมาเป็นลวดลายบนตราประทับดังกล่าว ทำให้เริ่มมีผู้โดยสารนิยมสะสมตราประทับของแต่ละสถานี เพื่อบันทึกความทรงจำในการเดินทางด้วยรถไฟ

    ก่อนหน้านี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดทำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ (Passport to Thailand National Park) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ 156 แห่งทั่วประเทศ มีรางวัลแก่ผู้ที่สะสมตราประทับครบทุกแห่ง ด้วยการให้สิทธิ์เข้าอุทยานแห่งชาติฟรี 1 ปี และพักฟรี 2 ครั้ง แต่เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์ดัง "พี่จอง คัลเลน" นำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติมาโชว์ในคลิป ทำให้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก

    มาถึงการเดินทางด้วยรถไฟ เมื่อมีนักท่องเที่ยวและนักเดินทางสนใจตราประทับของแต่ละสถานี จึงเริ่มมีผู้สะสมตราประทับ และเริ่มมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรถไฟจัดทำหนังสือเดินทางขึ้น

    เริ่มจากพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย โดยมูลนิธิรถไฟไทย จัดทำหนังสือเดินทางรถไฟไทย (Thailand Railway Passport) ปกสีน้ำตาล คล้ายหนังสือเดินทางประเทศไทย จำหน่ายในราคาเล่มละ 120 บาท ซื้อได้ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดทำการ วันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 10.00-18.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สนใจสั่งซื้อจำนวนมากนับพันเล่ม จึงทำให้ต้องมีการลงชื่อสั่งจองล่วงหน้า และจำกัดการซื้อเฉพาะวอล์กอินจากต่างจังหวัดคนละ 1 เล่ม

    ด้านบุรฉัตรมูลนิธิ และฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ร.ฟ.ท. ได้จัดทำหนังสือเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (Thailand Railway Passport) ลวดลายประเทศไทย ธงชาติ ปกสีครีม จำหน่ายในราคาเล่มละ 100 บาท ซื้อได้ที่ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ หรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ ตึกบัญชาการรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงเรียนเทพศิรินทร์ หรือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ บริเวณห้องจำหน่ายตั๋ว และต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สถานีรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ

    สิ่งที่ต้องระวังสำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดินทาง หากเผลอนำตราประทับของสถานีรถไฟ ประทับลงในหนังสือเดินทาง "ฉบับจริง" ที่ยังไม่หมดอายุ หรือยังไม่ได้ยกเลิกใช้งาน ถือว่า "หนังสือเดินทางชำรุด" ต้องทำเล่มใหม่ ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศหรือดินแดนปลายทางปฎิเสธเข้าประเทศ

    #Newskit
    พาสปอร์ตรถไฟไทย นักเดินทางของมันต้องมี หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำตราประทับของแต่ละสถานี พร้อมข้อความ "ตรวจสอบความถูกต้อง" ประทับบนตั๋วโดยสาร เพื่อยืนยันว่าตั๋วโดยสารที่ซื้อจากสถานีรถไฟนั้นๆ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โดยพบว่าแต่ละสถานีออกแบบโดยนำเอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรม และสถานที่สำคัญในพื้นที่ของแต่ละสถานีมาเป็นลวดลายบนตราประทับดังกล่าว ทำให้เริ่มมีผู้โดยสารนิยมสะสมตราประทับของแต่ละสถานี เพื่อบันทึกความทรงจำในการเดินทางด้วยรถไฟ ก่อนหน้านี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดทำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ (Passport to Thailand National Park) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ 156 แห่งทั่วประเทศ มีรางวัลแก่ผู้ที่สะสมตราประทับครบทุกแห่ง ด้วยการให้สิทธิ์เข้าอุทยานแห่งชาติฟรี 1 ปี และพักฟรี 2 ครั้ง แต่เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์ดัง "พี่จอง คัลเลน" นำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติมาโชว์ในคลิป ทำให้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก มาถึงการเดินทางด้วยรถไฟ เมื่อมีนักท่องเที่ยวและนักเดินทางสนใจตราประทับของแต่ละสถานี จึงเริ่มมีผู้สะสมตราประทับ และเริ่มมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรถไฟจัดทำหนังสือเดินทางขึ้น เริ่มจากพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย โดยมูลนิธิรถไฟไทย จัดทำหนังสือเดินทางรถไฟไทย (Thailand Railway Passport) ปกสีน้ำตาล คล้ายหนังสือเดินทางประเทศไทย จำหน่ายในราคาเล่มละ 120 บาท ซื้อได้ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดทำการ วันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 10.00-18.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สนใจสั่งซื้อจำนวนมากนับพันเล่ม จึงทำให้ต้องมีการลงชื่อสั่งจองล่วงหน้า และจำกัดการซื้อเฉพาะวอล์กอินจากต่างจังหวัดคนละ 1 เล่ม ด้านบุรฉัตรมูลนิธิ และฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ร.ฟ.ท. ได้จัดทำหนังสือเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (Thailand Railway Passport) ลวดลายประเทศไทย ธงชาติ ปกสีครีม จำหน่ายในราคาเล่มละ 100 บาท ซื้อได้ที่ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ หรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ ตึกบัญชาการรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงเรียนเทพศิรินทร์ หรือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ บริเวณห้องจำหน่ายตั๋ว และต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สถานีรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ สิ่งที่ต้องระวังสำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดินทาง หากเผลอนำตราประทับของสถานีรถไฟ ประทับลงในหนังสือเดินทาง "ฉบับจริง" ที่ยังไม่หมดอายุ หรือยังไม่ได้ยกเลิกใช้งาน ถือว่า "หนังสือเดินทางชำรุด" ต้องทำเล่มใหม่ ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศหรือดินแดนปลายทางปฎิเสธเข้าประเทศ #Newskit
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 336 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟความเร็วสูงไทย ไปให้สุดถึงหนองคาย

    แม้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 251 กิโลเมตร ยังคงไปไม่ถึงไหน เพราะช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองยังไม่ก่อสร้าง และช่วงบ้านโพ-พระแก้ว กำลังปรับแบบก่อสร้างสถานีรถไฟอยุธยา ตามคำแนะนำของยูเนสโก แต่ล่าสุดรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร อนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย หรือโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท

    สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย มีระยะทาง 357.12 กิโลเมตร ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ 1. สถานีบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 2. สถานีบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 3. สถานีขอนแก่น 4. สถานีอุดรธานี และ 5. สถานีหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2578 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2575 พร้อมกันนี้ จะมีก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย สำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ระหว่างขนาดทาง 1 เมตร ของรถไฟไทย กับขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) อีกด้วย

    อีกด้านหนึ่ง ยังมีโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว หนองคาย-เวียงจันทน์ แห่งที่ 2 ห่างจากสะพานมิตรภาพเดิม 30 เมตร โดยจะมีทั้งทางรถไฟขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร เชื่อมต่อระหว่างสถานีหนองคาย ประเทศไทย กับสถานีเวียงจันทน์ใต้ ของโครงการรถไฟลาว-จีน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย.2568 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการก่อสร้างสะพานระหว่างไทยและลาว คาดว่าจะก่อสร้างได้ในไตรมาสที่ 3/2569 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2572

    ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย กับกิจการร่วมค้า ช.ทวี-เอเอส ก่อสร้าง (บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท ทิพากร จำกัด และ บริษัท เค เอส ร่วมค้า จำกัด) ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินสัญญา 28,679 ล้านบาท ประกอบด้วยทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม พร้อมก่อสร้างอาคารสถานี 14 สถานี ที่หยุดรถ 4 แห่ง ลานบรรทุกสินค้า 3 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเงินกู้จากกระทรวงการคลังงวดแรกก่อนออกหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ในเดือน เม.ย.2568 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2571

    #Newskit
    รถไฟความเร็วสูงไทย ไปให้สุดถึงหนองคาย แม้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 251 กิโลเมตร ยังคงไปไม่ถึงไหน เพราะช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองยังไม่ก่อสร้าง และช่วงบ้านโพ-พระแก้ว กำลังปรับแบบก่อสร้างสถานีรถไฟอยุธยา ตามคำแนะนำของยูเนสโก แต่ล่าสุดรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร อนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย หรือโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย มีระยะทาง 357.12 กิโลเมตร ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ 1. สถานีบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 2. สถานีบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 3. สถานีขอนแก่น 4. สถานีอุดรธานี และ 5. สถานีหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2578 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2575 พร้อมกันนี้ จะมีก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย สำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ระหว่างขนาดทาง 1 เมตร ของรถไฟไทย กับขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) อีกด้วย อีกด้านหนึ่ง ยังมีโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว หนองคาย-เวียงจันทน์ แห่งที่ 2 ห่างจากสะพานมิตรภาพเดิม 30 เมตร โดยจะมีทั้งทางรถไฟขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร เชื่อมต่อระหว่างสถานีหนองคาย ประเทศไทย กับสถานีเวียงจันทน์ใต้ ของโครงการรถไฟลาว-จีน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย.2568 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการก่อสร้างสะพานระหว่างไทยและลาว คาดว่าจะก่อสร้างได้ในไตรมาสที่ 3/2569 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2572 ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย กับกิจการร่วมค้า ช.ทวี-เอเอส ก่อสร้าง (บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท ทิพากร จำกัด และ บริษัท เค เอส ร่วมค้า จำกัด) ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินสัญญา 28,679 ล้านบาท ประกอบด้วยทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม พร้อมก่อสร้างอาคารสถานี 14 สถานี ที่หยุดรถ 4 แห่ง ลานบรรทุกสินค้า 3 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเงินกู้จากกระทรวงการคลังงวดแรกก่อนออกหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ในเดือน เม.ย.2568 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2571 #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 358 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพถ่ายสุภาพบุรุษนายช่างกลหนุ่มในเครื่องแบบกรมรถไฟไทย
    นักเรียนนอกจากเมืองน้ำหอมฝรั่งเศส ภาพถ่ายในปี พ.ศ.๒๔๘๓
    ..........................................
    นายช่าง "อาชว์ กุญชร ณ อยุธยา"
    อาจารย์ใหญ่คนที่ ๒ ของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
    ๐๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๘๖
    ..........................................
    ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากองโรงงาน
    ราชการฝ่ายการช่างกล กรมรถไฟ
    ภาพถ่ายสุภาพบุรุษนายช่างกลหนุ่มในเครื่องแบบกรมรถไฟไทย นักเรียนนอกจากเมืองน้ำหอมฝรั่งเศส ภาพถ่ายในปี พ.ศ.๒๔๘๓ .......................................... นายช่าง "อาชว์ กุญชร ณ อยุธยา" อาจารย์ใหญ่คนที่ ๒ ของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ๐๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๘๖ .......................................... ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากองโรงงาน ราชการฝ่ายการช่างกล กรมรถไฟ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 251 มุมมอง 0 รีวิว
  • บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1312 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์

    ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์

    ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท

    แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

    จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท

    นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้

    #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์ ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้ #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 951 มุมมอง 0 รีวิว