วันที่ true ล่ม บอกอะไรเรา

10 โมงเช้า 22 พ.ค. ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายทรู (True) ที่หลังควบรวมกับดีแทค (dtac) กลายเป็นเครือข่ายอันดับหนึ่งด้วยผู้ใช้งานรวม 48.8 ล้านเลขหมาย ประสบปัญหาเครือข่ายล่ม ขึ้นข้อความว่าไม่มีบริการ (No Service) ไม่สามารถโทรออกและรับสายได้ อินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ ยกเว้นลูกค้าดีแทคประมาณ 20 ล้านเลขหมายไม่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่จะกลับมาใช้ได้เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. สำนักงาน กสทช. สั่งให้ทรูหาทางเยียวยาลูกค้า ขณะผู้ใช้งานที่ไม่ได้เชื่อมต่อไว-ไฟต่างไม่ทราบข่าว พยายามเปิด-ปิดเน็ตและมือถือ เพราะคิดว่ามือถือมีปัญหา กว่าจะรู้ตัวก็ทราบข่าวจากคนรอบข้าง เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวัน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

ตัวอย่างเช่น ใช้แอปฯ ธนาคารไม่ได้ สแกนจ่ายไม่ได้ ร้านอาหาร ข้าวแกง อาหารตามสั่งที่รับสแกนจ่ายก็รับเงินจากลูกค้าไม่ได้ แพลตฟอร์มส่งอาหารเกิดออเดอร์ค้าง ติดต่อไรเดอร์ไม่ได้ ส่วนฝั่งไรเดอร์ที่ใช้ซิมทรูก็ติดต่อลูกค้าไม่ได้ ติดต่อร้านอาหารไม่ได้ ยกเลิกก็ไม่ได้ ส่วนคนที่ทำธุรกิจ คนที่ใช้ซิมทรูติดต่อประสานงานไม่ได้ ธุรกิจได้รับความเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ และคนที่ปฎิบัติภารกิจเกี่ยวกับความเป็นความตาย เช่น คนที่ทำหน้าที่รถฉุกเฉินในโรงพยาบาล แต่ใช้ซิมทรู ก็ติดต่อห้องฉุกเฉินไม่ได้ จะส่งรายงานคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ใช้เน็ตมือถือไม่ได้ ต้องใช้วิทยุสื่อสารแทน

ที่ผ่านมาคนที่รู้ตัวดีว่าค่ายมือถือในไทยยุคนี้มีลักษณะกึ่งผูกขาด เพราะแข่งขันจริงจังแค่สองค่าย คือทรูและเอไอเอส (AIS) พึ่งพาอะไรไม่ได้ จะมีโทรศัพท์มือถือสองเครื่องหรือสองซิมการ์ดต่างเครือข่าย ประกอบด้วยเบอร์ที่ใช้ประจำและเบอร์อีกค่ายที่ใช้สำรอง ย่อมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

จุฑา สังขชาติ อนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค มองว่า ความเสียหายของประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่ใช้ทรูประเมินค่าไม่ได้ เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บางครั้งก็ไม่มีการเยียวยา สะท้อนว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่จำนวนผู้ให้บริการ แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลักเหลือเพียง 2 ราย กำลังสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ สิทธิของผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยเฉพาะหลังควบรวมกิจการ

ทั้งนี้ สภาผู้บริโภค เรียกร้องให้ กสทช.เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และออกมาตรการชดเชยแบบอัตโนมัติให้ผู้บริโภคทุกคนที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมระบบอินเทอร์เน็ตกลางของภาครัฐ เพื่อใช้เป็นเครือข่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินและลดการพึ่งพาเอกชน

#Newskit
วันที่ true ล่ม บอกอะไรเรา 10 โมงเช้า 22 พ.ค. ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายทรู (True) ที่หลังควบรวมกับดีแทค (dtac) กลายเป็นเครือข่ายอันดับหนึ่งด้วยผู้ใช้งานรวม 48.8 ล้านเลขหมาย ประสบปัญหาเครือข่ายล่ม ขึ้นข้อความว่าไม่มีบริการ (No Service) ไม่สามารถโทรออกและรับสายได้ อินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ ยกเว้นลูกค้าดีแทคประมาณ 20 ล้านเลขหมายไม่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่จะกลับมาใช้ได้เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. สำนักงาน กสทช. สั่งให้ทรูหาทางเยียวยาลูกค้า ขณะผู้ใช้งานที่ไม่ได้เชื่อมต่อไว-ไฟต่างไม่ทราบข่าว พยายามเปิด-ปิดเน็ตและมือถือ เพราะคิดว่ามือถือมีปัญหา กว่าจะรู้ตัวก็ทราบข่าวจากคนรอบข้าง เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวัน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ตัวอย่างเช่น ใช้แอปฯ ธนาคารไม่ได้ สแกนจ่ายไม่ได้ ร้านอาหาร ข้าวแกง อาหารตามสั่งที่รับสแกนจ่ายก็รับเงินจากลูกค้าไม่ได้ แพลตฟอร์มส่งอาหารเกิดออเดอร์ค้าง ติดต่อไรเดอร์ไม่ได้ ส่วนฝั่งไรเดอร์ที่ใช้ซิมทรูก็ติดต่อลูกค้าไม่ได้ ติดต่อร้านอาหารไม่ได้ ยกเลิกก็ไม่ได้ ส่วนคนที่ทำธุรกิจ คนที่ใช้ซิมทรูติดต่อประสานงานไม่ได้ ธุรกิจได้รับความเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ และคนที่ปฎิบัติภารกิจเกี่ยวกับความเป็นความตาย เช่น คนที่ทำหน้าที่รถฉุกเฉินในโรงพยาบาล แต่ใช้ซิมทรู ก็ติดต่อห้องฉุกเฉินไม่ได้ จะส่งรายงานคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ใช้เน็ตมือถือไม่ได้ ต้องใช้วิทยุสื่อสารแทน ที่ผ่านมาคนที่รู้ตัวดีว่าค่ายมือถือในไทยยุคนี้มีลักษณะกึ่งผูกขาด เพราะแข่งขันจริงจังแค่สองค่าย คือทรูและเอไอเอส (AIS) พึ่งพาอะไรไม่ได้ จะมีโทรศัพท์มือถือสองเครื่องหรือสองซิมการ์ดต่างเครือข่าย ประกอบด้วยเบอร์ที่ใช้ประจำและเบอร์อีกค่ายที่ใช้สำรอง ย่อมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จุฑา สังขชาติ อนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค มองว่า ความเสียหายของประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่ใช้ทรูประเมินค่าไม่ได้ เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บางครั้งก็ไม่มีการเยียวยา สะท้อนว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่จำนวนผู้ให้บริการ แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลักเหลือเพียง 2 ราย กำลังสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ สิทธิของผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยเฉพาะหลังควบรวมกิจการ ทั้งนี้ สภาผู้บริโภค เรียกร้องให้ กสทช.เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และออกมาตรการชดเชยแบบอัตโนมัติให้ผู้บริโภคทุกคนที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมระบบอินเทอร์เน็ตกลางของภาครัฐ เพื่อใช้เป็นเครือข่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินและลดการพึ่งพาเอกชน #Newskit
Like
2
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 120 มุมมอง 0 รีวิว