• “ทราย สก๊อต” ไม้ขีดไฟประกายแสงแห่งความจริง : คนเคาะข่าว 30-04-68
    ร่วมสนทนา
    ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์
    #ทรายสก๊อต #ทะเลไทย #นักอนุรักษ์
    #คนเคาะข่าว #news1
    “ทราย สก๊อต” ไม้ขีดไฟประกายแสงแห่งความจริง : คนเคาะข่าว 30-04-68 ร่วมสนทนา ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์ #ทรายสก๊อต #ทะเลไทย #นักอนุรักษ์ #คนเคาะข่าว #news1
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 99 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • 🔴Live SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep290 (live)
    ดรามา “ทราย สก๊อต” สะเทือนอุทยาน นักอนุรักษ์สุดโต่ง หรือ ขัดผลประโยชน์
    #Live #Liveสด #thaitimes #sondhitalk #ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง
    🔴Live SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep290 (live) ดรามา “ทราย สก๊อต” สะเทือนอุทยาน นักอนุรักษ์สุดโต่ง หรือ ขัดผลประโยชน์ #Live #Liveสด #thaitimes #sondhitalk #ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง
    Like
    Love
    47
    25 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 1772 มุมมอง 3 รีวิว
  • ถือเป็นอีกหนึ่งทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ อันร้อนแรงบนสังคมโซเชียลบ้านเราต่อกรณี “ทราย สก๊อต” ที่แม้จะถูกปลดออกจากหน้าที่ แต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่ทำมาหากินกับท้องทะเลไทยในพื้นที่ได้อย่างใหญ่หลวง

    “ทราย สก๊อต” หรือ “สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี” เป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของจำนง ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกา

    ทราย สก๊อต สร้างชื่อจากการเป็นเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเลข้ามเกาะโดยไม่ใช่เครื่องช่วยชีวิตรวดเดียว 30 กิโลเมตร จนได้รับฉายาว่า “อควาแมนเมืองไทย” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอินฟลูคนดังด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลของเมืองไทย

    ทราย สก๊อต ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ซึ่งเขาถูกยกให้เป็นนักอนุรักษ์ทะเลไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ไม่ว่าจะเป็น เป็นลูกคนรวย เก่ง มีการศึกษาดี ภาษาอังกฤษเยี่ยม และเชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียล

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037394

    #MGROnline #ทรายสก๊อต #อุทยาน #ทะเลภาคใต้ #กรมอุทยานแห่งชาติ
    ถือเป็นอีกหนึ่งทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ อันร้อนแรงบนสังคมโซเชียลบ้านเราต่อกรณี “ทราย สก๊อต” ที่แม้จะถูกปลดออกจากหน้าที่ แต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่ทำมาหากินกับท้องทะเลไทยในพื้นที่ได้อย่างใหญ่หลวง • “ทราย สก๊อต” หรือ “สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี” เป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของจำนง ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกา • ทราย สก๊อต สร้างชื่อจากการเป็นเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเลข้ามเกาะโดยไม่ใช่เครื่องช่วยชีวิตรวดเดียว 30 กิโลเมตร จนได้รับฉายาว่า “อควาแมนเมืองไทย” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอินฟลูคนดังด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลของเมืองไทย • ทราย สก๊อต ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ซึ่งเขาถูกยกให้เป็นนักอนุรักษ์ทะเลไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ไม่ว่าจะเป็น เป็นลูกคนรวย เก่ง มีการศึกษาดี ภาษาอังกฤษเยี่ยม และเชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียล • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037394 • #MGROnline #ทรายสก๊อต #อุทยาน #ทะเลภาคใต้ #กรมอุทยานแห่งชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ทราย สก๊อต” หนุ่มนักอนุรักษ์ อดีตที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ เผยถูกฟ้องหมิ่นประมาทจากกรณีลงคลิปให้อาหารเต่า แล้วถ่ายติดชื่อบริษัทเจ้าของเรือ ยันไม่ได้มีเจตนาให้ร้ายใคร แต่อยากให้โฟกัสเรื่องเต่า พร้อมบอกว่าตนทำทุกอย่างตามกฎที่มีไว้ ไม่เคยล้ำเส้นใครและไม่ได้เอาแต่ใจตัวเอง เป็นแค่คนที่รักทะเล และถ้าทุกคนรักทะเลจริงจะไม่ทำร้ายทะเลกันตั้งแต่แรก

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037250

    #MGROnline #ทรายสก๊อต #ธรรมชาติ #รักทะเล
    “ทราย สก๊อต” หนุ่มนักอนุรักษ์ อดีตที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ เผยถูกฟ้องหมิ่นประมาทจากกรณีลงคลิปให้อาหารเต่า แล้วถ่ายติดชื่อบริษัทเจ้าของเรือ ยันไม่ได้มีเจตนาให้ร้ายใคร แต่อยากให้โฟกัสเรื่องเต่า พร้อมบอกว่าตนทำทุกอย่างตามกฎที่มีไว้ ไม่เคยล้ำเส้นใครและไม่ได้เอาแต่ใจตัวเอง เป็นแค่คนที่รักทะเล และถ้าทุกคนรักทะเลจริงจะไม่ทำร้ายทะเลกันตั้งแต่แรก • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037250 • #MGROnline #ทรายสก๊อต #ธรรมชาติ #รักทะเล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • สรุปดรามา "ทราย สก๊อต” นักอนุรักษ์ท้องทะเล ยุติบทบาทที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ สู่ย้อนดราม่าท ผู้กล้าสู้ทัวริสต์เหยียดคนไทย แลกหลุดตำแหน่ง จนท.อุทยานฯ
    สรุปดรามา "ทราย สก๊อต” นักอนุรักษ์ท้องทะเล ยุติบทบาทที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯ สู่ย้อนดราม่าท ผู้กล้าสู้ทัวริสต์เหยียดคนไทย แลกหลุดตำแหน่ง จนท.อุทยานฯ
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 508 มุมมอง 23 0 รีวิว
  • 33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

    📅 ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย

    หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน 🌳🌿

    🔎 น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์

    📚 เส้นทางการศึกษา
    ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
    ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ
    ✅ ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476)

    หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว

    🌿 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์
    ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496

    🏡 ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า

    📖 เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่
    ✅ การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์
    ✅ การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า
    ✅ การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า
    ✅ การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า

    หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น
    📗 สัตว์ป่าเมืองไทย
    📘 วัวแดง
    📕 แรดไทย
    📗 ช้างไทย

    รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

    ⚖️ ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า
    หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    📜 ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า

    🎯 ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น
    🌳 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย
    🌲 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย

    👑 พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ
    ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ

    🎗️ แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น
    ✅ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
    ✅ อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย
    ✅ หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์
    ✅ แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่

    💚 "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล 🌏

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568

    📌 #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 📅 ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน 🌳🌿 🔎 น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ 📚 เส้นทางการศึกษา ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ ✅ ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476) หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว 🌿 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์ ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496 🏡 ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า 📖 เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่ ✅ การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ✅ การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า ✅ การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ✅ การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น 📗 สัตว์ป่าเมืองไทย 📘 วัวแดง 📕 แรดไทย 📗 ช้างไทย รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ⚖️ ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย 📜 ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า 🎯 ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น 🌳 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย 🌲 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย 👑 พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ 🎗️ แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ✅ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ ✅ อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย ✅ หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์ ✅ แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ 💚 "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล 🌏 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568 📌 #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1311 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล

    เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

    หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด

    ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562

    #ปะการัง7สี
    ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 #ปะการัง7สี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 503 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา

    พื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่เขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลาเป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติจะเป็นพื้นที่ป่าบาลาที่ครอบคลุม อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น ต้นยวน ต้นยูคาลิบตัส ต้นสยา เป็นไม้เด่นของป่าฮาลา-บาลา เพราะเป็นแหล่งทำรังที่สำคัญของนกเงือก ยังมีสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น ชะนีดำใหญ่ หรือ เซียมัง นอกจากนั้นยังมีกบทูด ซึ่งเป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

    ผู้ที่มีความประสงค์เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาธรรมชาติ ต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ตู้ ปณ. 3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือฝ่ายกิจการเขตรักษาพันธุ์ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกรุงเทพฯ โทร 0-2561-0777 ต่อ 1615 ในวันเวลาราชการ หรือเข้าชมเว็บไซต์ที่ www.dnp.go.th

    การเดินทาง สามารถขับไปตามทางหลวงหมายเลข 4057 มุ่งหน้าไปอำเภอแว้ง จนถึงบ้านบูเก๊ะตา จะมีป้ายบอกทางให้ขับต่ไปทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
    เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา พื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่เขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลาเป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติจะเป็นพื้นที่ป่าบาลาที่ครอบคลุม อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น ต้นยวน ต้นยูคาลิบตัส ต้นสยา เป็นไม้เด่นของป่าฮาลา-บาลา เพราะเป็นแหล่งทำรังที่สำคัญของนกเงือก ยังมีสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น ชะนีดำใหญ่ หรือ เซียมัง นอกจากนั้นยังมีกบทูด ซึ่งเป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ที่มีความประสงค์เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาธรรมชาติ ต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ตู้ ปณ. 3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือฝ่ายกิจการเขตรักษาพันธุ์ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกรุงเทพฯ โทร 0-2561-0777 ต่อ 1615 ในวันเวลาราชการ หรือเข้าชมเว็บไซต์ที่ www.dnp.go.th การเดินทาง สามารถขับไปตามทางหลวงหมายเลข 4057 มุ่งหน้าไปอำเภอแว้ง จนถึงบ้านบูเก๊ะตา จะมีป้ายบอกทางให้ขับต่ไปทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 821 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล

    เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

    หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด

    ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562

    #ปะการัง7สี
    ปะการังเจ็ดสี Unseen กองหินขาว จ.สตูล เอ่ยถึงจังหวัดสตูล หลายคนมักจะถึงเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ อาดังราวี แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จังหวัดสตูล ยังมีทะเลอีกหนึ่งจุดที่รอนักท่องเที่ยวมาสัมผัสความงามใต้ท้องทะเลลึก ณ กองหินขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หลายปีที่ผ่านมา ชื่อของกองหินขาว โด่งดังขึ้นมา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเหล่านักวิชาการ -นักอนุรักษ์มองว่าการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับกองหินขาว และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นจึงมีการนำภาพนิ่ง - วีดีโอ ต่างๆของท้องทะเลใต้กองหินขาวและบริเวณรอบๆมานำเสนอต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ ได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีของดีล้ำค่าเพียงใด ผลของการออกโรงของนักวิชาการ -นักอนุรักษ์ รวมไปถึงชุมชนที่หวั่นว่าจะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้รัฐบาลโดยกรมเจ้าท่า ได้ลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นคู่สัญญายุติโครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียด (EHIA) โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ (ปากบารา) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 #ปะการัง7สี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 672 มุมมอง 0 รีวิว