อริยสาวกพึงศึกษาลักษณะแห่งสิกขาสามอันได้แก่สีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์
สัทธรรมลำดับที่ : 973
ชื่อบทธรรม :- ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973
เนื้อความทั้งหมด :-
--ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด
--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ !
#อริยสีลขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=อริโย+สีลกฺขนฺโธ
ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้
ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
--มาณพ !
ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด,
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
+--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า
“ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง;
การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ
ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”,
ดังนี้.
+--โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่
และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด
ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
+--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้
เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ &ถึงพร้อมด้วยศีล
....
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว
มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่
....ฯลฯ ....
(ข้อความต่อจากที่กล่าวนี้ ตั้งแต่ คำว่า
เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน
.... ไปจนถึงคำว่า
.... (จบอริยสีลขันธ์)
....
).
๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด
--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ !
#อริยสมาธิขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
http://etipitaka.com/read/pali/9/255/?keywords=อริโย+สมาธิกฺขนฺโธ
ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน
ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
(บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ)
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
+--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว
ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว)
ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ;
อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด,
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา
ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.
+--(ในกรณีแห่ง
อินทรีย์คือหู
อินทรีย์คือจมูก
อินทรีย์คือลิ้น
อินทรีย์คือกาย และ
อินทรีย์คือ ใจ
ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).
....
--มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?
+--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ
ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง,
การแลดู การเหลียวดู,
การคู้ การเหยียด,
การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด,
การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.
....
+--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ?
+--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่)
ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ.
+--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น
: เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้.
....
+--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ(สันตุฏฐิ)ด้วยอาการอย่างนี้แล.
(การเจริญสมาธิ)
--ภิกษุนั้น
ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย
ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย
ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย
ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว,
เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง),
ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว
เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
....ฯลฯ....
(ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวก ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว
มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า ....
(จบอริยสมาธิขันธ์)
...
) .
๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด
--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ!
#อริยปัญญาขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
http://etipitaka.com/read/pali/9/263/?keywords=อริโย+ปญฺญากฺขนฺโธ
ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน
ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
--ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ.
เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่
มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด
ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา,
แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น;
(เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว
แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง,
ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง,
บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้
เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว
สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง.
ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน.
แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.
....ฯลฯ....
(ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ตั้งแต่คำว่า
ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ.
เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้
.... ไปจนถึงคำว่า
.... (จบอริยปัญญาขันธ์)
).-
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/284 - 304/318 - 337.
http://etipitaka.com/read/thai/9/284/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๕๒ - ๒๗๒/๓๑๘ - ๓๓๗.
http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83&id=973 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83
ลำดับสาธยายธรรม : 83 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_83.mp3 อริยสาวกพึงศึกษาลักษณะแห่งสิกขาสามอันได้แก่สีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์
สัทธรรมลำดับที่ : 973
ชื่อบทธรรม :- ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973
เนื้อความทั้งหมด :-
--ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด
--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสีลขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=อริโย+สีลกฺขนฺโธ
ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้
ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
--มาณพ !
ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด,
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
+--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า
“ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง;
การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ
ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”,
ดังนี้.
+--โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่
และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด
ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
+--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้
เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ &ถึงพร้อมด้วยศีล
....
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว
มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่
....ฯลฯ ....
(ข้อความต่อจากที่กล่าวนี้ ตั้งแต่ คำว่า
เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน
.... ไปจนถึงคำว่า
.... (จบอริยสีลขันธ์)
....
).
๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด
--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสมาธิขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
http://etipitaka.com/read/pali/9/255/?keywords=อริโย+สมาธิกฺขนฺโธ
ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน
ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
(บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ)
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
+--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว
ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว)
ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ;
อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด,
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา
ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.
+--(ในกรณีแห่ง
อินทรีย์คือหู
อินทรีย์คือจมูก
อินทรีย์คือลิ้น
อินทรีย์คือกาย และ
อินทรีย์คือ ใจ
ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).
....
--มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?
+--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ
ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง,
การแลดู การเหลียวดู,
การคู้ การเหยียด,
การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด,
การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.
....
+--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ?
+--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่)
ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ.
+--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น
: เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้.
....
+--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ(สันตุฏฐิ)ด้วยอาการอย่างนี้แล.
(การเจริญสมาธิ)
--ภิกษุนั้น
ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย
ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย
ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย
ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว,
เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง),
ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว
เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
....ฯลฯ....
(ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวก ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว
มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า ....
(จบอริยสมาธิขันธ์)
...
) .
๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด
--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ! #อริยปัญญาขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
http://etipitaka.com/read/pali/9/263/?keywords=อริโย+ปญฺญากฺขนฺโธ
ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน
ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
--ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ.
เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่
มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด
ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา,
แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น;
(เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว
แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง,
ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง,
บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้
เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว
สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง.
ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน.
แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.
....ฯลฯ....
(ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ตั้งแต่คำว่า
ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ.
เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้
.... ไปจนถึงคำว่า
.... (จบอริยปัญญาขันธ์)
).-
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/284 - 304/318 - 337.
http://etipitaka.com/read/thai/9/284/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๕๒ - ๒๗๒/๓๑๘ - ๓๓๗.
http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83&id=973
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83
ลำดับสาธยายธรรม : 83 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_83.mp3